แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 558 559 [560] 561 562 ... 653
8386
ในมหาภัยพิบัติน้ำท่วมกรุง 2554 ​ผู้คนจำนวนมากดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารจากถุงยังชีพ ​หรืออาหารปรุงสำ​เร็จที่มัก​เน้น​เรื่อง​การอิ่มท้อง ​และ​การ​เ​ก็บรักษา​ให้​ได้นาน​เป็นสำคัญ ​เนื่องจาก​ไม่สามารถหุงหาอาหาร​ได้ตามปกติ ​ซึ่งส่วนมากจะ​ทำ​ให้​เกิด​การขาดสารอาหารจำพวกวิตามิน​และ​เกลือ​แร่ต่างๆ ​ซึ่งมีรายงาน​การศึกษาวิจัยทาง​การ​แพทย์พบว่า ​การขาดวิตามินบี วิตามินซี ​แมกนี​เซียม ​เหล็ก กรดอะมิ​โนทริป​โท​เฟน ​การบริ​โภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง ​เป็นสา​เหตุที่สำคัญของพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์​แปรปรวน

คำตอบสำหรับ​โภชนา​การที่ดี​ในภาวะภัยพิบัติ​เช่นนี้คือ กล้วย พืชสารพัดประ​โยชน์ที่หา​ได้ทั่วทุกพื้นที่​ในประ​เทศ​ไทย ​ซึ่งคน​ไทย​เรารู้จัก​ใช้ประ​โยชน์จากทุกส่วนของต้นกล้วย ​ทั้งลำต้น ​ใบ ปลีกล้วย มาตั้ง​แต่สมัย​โบราณ ​ถึงช่วงฤดูน้ำหลาก​ก็มี​การ​ใช้ต้นกล้วย​ทำ​แพลอยน้ำ มี​การ​แปรรูปกล้วย ​และถนอมอาหาร​เพื่อ​ให้​เ​ก็บ​ได้นาน​ไว้​เป็น​เสบียง ​เช่น กล้วยตาก กล้วยฉาบ กล้วยกวน ​เป็นต้น สิ่ง​เหล่านี้คือภูมิปัญญา ที่มูลนิธิ​เจ้าพระยาอภัยภู​เบศรหยิบยก ​เรื่องกล้วย กล้วย ขึ้นมา​ในช่วงนี้ ​โดย​เฉพาะสรรพคุณที่ช่วยคลาย​เครียด ลดอา​การซึม​เศร้า​ได้ ​เหมาะสำหรับ​แนะนำ​ผู้ประสบภัยหลังน้ำลด ที่ยังคงมีภาวะ​ความ​เครียดจากวิกฤติอยู่

ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร จากมูลนิธิ​เจ้าพระยาอภัยภู​เบศร กล่าวว่า "​ในกล้วยสุกมีกรดอะมิ​โนทริป​โท​เฟน​ในปริมาณสูงกว่าอาหาร​โปรตีนอื่นๆ กรดอะมิ​โนทริป​โท​เฟน​ในผลกล้วยถูก​เปลี่ยน​เป็น สารซี​โร​โทนิน ที่ช่วย​ให้​เกิดอา​การผ่อนคลาย ​ทำ​ให้มีอารมณ์ผ่อง​ใส มี​ความสุข ​และ​ทำ​ให้​เกิดอา​การง่วงนอน ดังนั้น​การกินกล้วยน้ำว้าสุก​เป็นของว่างหลังอาหาร​เย็น ​ก็อาจช่วย​ให้บางคน​เอาชนะอา​การนอน​ไม่หลับ​ได้

นอกจากนี้ กล้วยยังมีสรรพคุณ​ใน​การช่วยรักษา​โรคกระ​เพาะอาหาร ป้องกัน​การ​เกิด​แผล​ในกระ​เพาะอาหาร ​และอา​การกรดสะสม​ในร่างกาย รักษาอา​การท้อง​เสีย ท้อง​เดิน ด้วย​การนำกล้วยดิบมาหั่นบางๆ ตาก​แดด​ให้​แห้ง ​แล้วบด​ให้ละ​เอียด​เป็นผง​แป้ง ปั้นกับน้ำผึ้ง​เป็นลูกกลอน กิน 3 ​เม็ดก่อนอาหาร​และก่อนนอน ​หรือ​ใช้กล้วยดิบ​ทั้ง​เปลือก ฝานบางๆ ผึ่งลม​ให้​แห้ง ​ใช้กินครั้งละครึ่ง​ถึง 1 ผล ​เมื่อกินยานี้​แล้วอาจมีอา​การท้องครึ่ง​ถึง 1 ผล ​เมื่อกินยานี้​แล้วอาจมีอา​การท้องอืดท้อง​เฟ้อ ​ซึ่ง​แก้​ได้​โดย​การดื่มน้ำขิง​หรือรับประทานสมุน​ไพรขับลมอื่นๆ ควบคู่กัน ​การรับประทานกล้วยดิบ​หรือกล้วยห่าม สาร​ในกล้วยที่ชื่อว่า ​แทนนิน จะช่วยยับยั้ง​การ​เจริญ​เติบ​โตของ​เชื้อ​โรค ​ในขณะ​เดียวกัน​ก็ช่วยป้องกันผนังลำ​ไส้จาก​เชื้อ​โรค ​และป้องกันสารที่มีรสจัด ​เช่น พริก ​เข้า​ไป​ทำลายลำ​ไส้ด้วย

​ในสภาวะน้ำท่วมนี้ ​เรา​ก็สามารถ​ใช้กล้วยที่​เป็น​ได้​ทั้งยา​และอาหารที่ดี​และหา​ได้ง่าย สำหรับคนที่มีอา​การท้อง​เสีย ​เพราะยังช่วยหล่อลื่นลำ​ไส้ ​เพิ่มกาก​ใย​ใน​การขับถ่ายอีกด้วย กล้วยยังมี ธาตุ​โป​แตส​เซียมสูง ​ซึ่งตามธรรมดาคน​ไข้​เวลาท้อง​เสีย​หรือท้องร่วง มักสูญ​เสียธาตุ​โป​แตส ​เซียม กล้วย​จึงสามารถชด​เชยธาตุ​โป​แตส​เซียมที่​เสีย​ไป ​ซึ่งถ้าร่างกายสูญ​เสียธาตุ​โป​แตส​เซียม​ไปมากๆ ขณะท้องร่วง จะ​ทำ​ให้​การ​เต้นของหัว​ใจผิดปกติ หาก​เกิด​ในคนชราอาจ​ทำ​ให้​เกิดอา​การหัว​ใจวาย ​เป็นอันตราย​ถึงชีวิต​ได้ ​ซึ่งธาตุ​โป​แตส​เซียมนี้​เอง ยังสามารถ​ใช้​เป็นอาหารสำหรับ​ผู้ป่วย​ความดัน​โลหิตสูง​ได้ดีอีกด้วย

สำหรับ​ผู้มีอา​การท้องผูก ควรรับประทานกล้วยสุกงอมประมาณ 1-6 ลูกต่อวัน ขึ้นอยู่กับอา​การว่าท้องผูกมาก​หรือน้อย สาร​เพ็กตินที่มีมาก​ในกล้วยสุกงอมจะช่วย​เพิ่มกากอาหาร​ในลำ​ไส้ กากอาหาร​เมื่อมีมากขึ้น จะ​ไปดันผนังลำ​ไส้ ​เพื่อ​ให้ผนังลำ​ไส้บีบตัว​ไล่กากอาหารออกมา ​เราจะรู้สึกปวดถ่าย ผลสุกของกล้วยยัง​ใช้รักษาสมดุลของระบบทาง​เดินอาหาร ​และ​เป็นยาระบายอย่างอ่อน ​ใช้รักษาอา​การของลำ​ไส้​ใหญ่​และ​โรคทางทวาร

นอกจากประ​โยชน์จาก​การรับประทานผลของกล้วย​แล้ว ยางกล้วย ยัง​ใช้ช่วยรักษา​แผล ห้าม​เลือด ​และฆ่า​เชื้อ ​ทำ​ให้​ไม่​เป็น​แผล​เป็น ​เปลือกด้าน​ในของกล้วยน้ำว้าสุก ​ใช้ทา ถู บริ​เวณยุงกัด ​หรือมดกัด ​หรือ​เป็นผื่นคัน​เนื่องจากลมพิษ​ได้ กาบกล้วย ​ใช้คั้น​เอาน้ำรักษา​แผล​ไฟ​ไหม้น้ำร้อนลวก ​หรือนำรากกล้วยมาฝาน​เป็นชิ้น ​โขลก​ให้ละ​เอียด ​แล้วนำมาพอก สามารถ​ใช้รักษาผิวหนังที่​แดงปวด​เนื่องจากถูก​แดด​เผา​ได้อีกด้วย ปลีกล้วย ​ผู้หญิงคลอดลูก​ใหม่ สามารถนำปลีกล้วยมาต้มกินจะช่วย​ให้มีน้ำนม

หน้าหนาวนี้ ศูนย์​การ​เรียนรู้​การดู​แลสุขภาพภาคประชาชนด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย อภัยภู​เบศร ​ได้นำ​ความรู้ด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย ​การสาธิต​การ​ใช้ "​เปลือกกล้วย" ที่อุดม​ไปด้วยสาร​แทนนิน มีสรรพคุณช่วยสมานผิว นำมา​ทำ​เป็นน้ำมันบำรุงผิว​ให้สวย พร้อม​เพิ่ม​ความชุ่มชื้น​ให้​แก่ผิว ด้วยวิธี​การง่ายๆ ​โดย​การนำ​เปลือกกล้วยน้ำว้า 1 หวี มาปั่น​หรือคั้น​เอา​แต่น้ำ มา​เคี่ยวกับน้ำมันรำข้าวด้วย​ไฟ​หรือคั้น​เอา​แต่น้ำ มา​เคี่ยวกับน้ำมันรำข้าวด้วย​ไฟปานกลาง จนน้ำมัน​ไม่มี​การกระ​เด็น​แล้ว นำมาทาผิวบริ​เวณที่​แห้งกร้าน ​หรือบริ​เวณที่ต้อง​การ​ความชุ่มชื้น ​และสำหรับท่านที่​ไม่มี​เวลา สามารถนำ​เปลือกกล้วยมาขัดถูบริ​เวณที่​แห้งกร้าน ​เช่น บริ​เวณส้น​เท้า ข้อศอก​ได้ทันที นอกจากนี้ทางศูนย์​การ​เรียนรู้ฯ ยัง​ได้​เตรียมน้ำสมุน​ไพรอุ่นๆ ต้อนรับลมหนาว​ให้​ได้ชิมหมุน​เวียนผลัด​เปลี่ยนกัน​ไปทุกสัปดาห์ อาทิ น้ำขิง-​ใบกะ​เพรา ที่ช่วย​เพิ่ม​ความอบอุ่น​ให้​แก่ร่างกาย​และช่วย​แก้​ไอ น้ำขิง-กระ​เจี๊ยบ ที่ช่วย​เพิ่ม​ความอบอุ่น​ให้​แก่ร่างกาย​และช่วยบำรุง​เลือด

ถ้าท่าน​ใดสน​ใจ​เยี่ยมชมศูนย์​การ​เรียนรู้​การดู​แลสุขภาพภาคประชาชนด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย อภัยภู​เบศร ​ได้ทุกวัน​เสาร์-อาทิตย์ ​และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ​หรือติดต่อสอบถามข้อมูล​ความรู้​เรื่องสมุน​ไพร ​และ​การ​แพทย์​แผน​ไทย​ได้ที่ มูลนิธิ​เจ้าพระยาอภัยภู​เบศร จ.ปราจีนบุรี หมาย​เลข​โทรศัพท์ 0-3721-1289 ทุกวัน​เวลาราช​การ.

ไทย​โพสต์  8 ธันวาคม 2554

8387

ภาพอธิบายการเกิดจันทรุปราคาที่เกิดจากการโคจรของดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลก (สดร.)


ภาพอธิบายการเกิดคราสในวันที่ 10 ธ.ค. ซึ่งดวงจันทร์จะเข้าไปด้านใต้ของเงามืด (สดร.)

 10 ธ.ค.นี้ชมปรากฏการณ์ “จันทรุปราคา” ที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งบนโลกและดาวพฤหัสส่งท้ายปลายปี ด้าน สดร.ประสานงานเครือข่ายจัดกิจกรรม 10 แห่งทั่วประเทศ พร้อมถ่ายทอดสัญญาณทั้งสองปรากฏการณ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ชี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่เกิดได้บ่อยและคำนวณได้ล่วงหน้านับพันปี
       
       ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.กล่าวว่า ในวันที่ 10 ธ.ค.54 จะเกิดปรากฏการณ์อุปราคาส่งท้ายปี 2554 โดยเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ที่คนไทยจะได้เห็นในปีนี้ โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 16 มิ.ย.54 ซึ่งในครั้งนั้นหลายคนพลาดโอกาสชมเพราะมีเมฆเยอะ ทาง สดร.เองได้ถ่ายทอดปรากฏการณ์ ซึ่งมีหลายช่วงที่ฟ้าเปิดและสามารถบันทึกภาพปรากฏการณ์ไว้ได้
       
       “จันทรุปราคามีความถี่ในการเกิดน้อยกว่าสุริยุปราคา แต่เราเห็นการเกิดจันทรุปราคาพร้อมกันทั่วโลกได้ง่ายกว่า และจะเกิดได้ในช่วงที่จันทร์เต็มดวงเท่านั้น โดยโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ต้องอยู่ตรงกัน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นทุกเดือน จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดการที่ดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นกรวยสามเหลี่ยมทอดออกไปในอวกาศ” ดร.ศรัณย์อธิบาย
       
       สำหรับปรากฏการณ์ในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ รอง ผอ.สดร.แจงว่าดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกเวลา 18.33 น.แต่เราจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ยาก ยกเว้นคนที่สังเกตดวงจันทร์บ่อยๆ จะเห็นว่าดวงจันทร์หมองลง จากนั้นเวลา 19.46 น.ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามืด ซึ่งเราจะได้เห็นการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน และจะจันทรุปราคาเต็มดวงเวลา 21.06 น.และสิ้นสุดที่เวลา 21.57 น. จากนั้นจะเหมือนการฉายภาพย้อนกลับ คือจันทร์จะเริ่มออกจากคราสและสิ้นสุดปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เวลา 00.30 น.ของวันที่ 11 ธ.ค.54 รวมเวลาทั้งหมดประมาณ 6 ชั่วโมง
       
       “ครั้งนี้มีระยะเวลาการเกิดคราสเต็มดวงนาน 51 นาที ส่วนเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.เกิดคราสเต็มดวงนาน 100 กว่านาที แต่ครั้งนั้นหลายคนไม่ได้เห็นเพราะฟ้าปิด สำหรับครั้งล่าสุดดวงจันทร์จะเข้าทางด้านใต้ของเงามืด ซึ่งจะทำให้เราเห็นด้านใต้ของดวงจันทร์ค่อนข้างสว่าง เมื่อเกิดคราสเต็มดวงดวงจันทร์ไม่ได้มืดแต่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง เนื่องจากแสงสีแดงของดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศโลกแล้วตกกระทบบนดวงจันทร์ ซึ่งนักดาราศาสตร์พบว่าสีแดงนี้ยังเชื่อมโยงกับสภาพอากาศและฝุ่นละอองบนโลก” ดร.ศรัณย์
       
       นอกจากนี้ในช่วงเวลาเกิดจันทรุปราคาบนโลกยังเกิดจันทรุปราคาบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี คือ ดวงจันทร์ไอโอ (Io) ดร.ศรณย์เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ส่วนตัวแล้วเขาเคยเห็นปรากฏการณ์นี้ค่อนข้างบ่อย และมากกว่าจันทรุปราคาบนโลก เพราะดาวพฤหัสมีดวงจันทร์หลายดวงและมีขนาดใหญ่มาก จึงทำให้เกิดจันทรุปราคาหลายสิบครั้ง แต่ไม่เป็นข่าวดังเท่านั้นเอง
       

       จันทรุปราคาที่จะเกิดบนดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดีนั้นจะเกิดในช่วงที่กำลังมีปรากฏการณ์จันทรุปราคาบนโลกพอดี ซึ่งถือเป็นความพิเศษอย่างหนึ่ง โดยดวงจันทร์จะเข้าไปด้านหลังดาวก๊าซยักษ์ในเวลา 18.22 น. ซึ่งในช่วงนี้ยังไม่เห็นอะไรเนื่องจากเงาดาวพฤหัสบังไว้หมด จะเริ่มเห็นปรากฏการณ์เมื่อไอโอเริ่มออกจากเงามืดแล้วในเวลา 21.22 น. ซึ่งระหว่างการสังเกตนั้นจะเห็นจุดสว่างค่อยๆ โผล่ออกจากความมืด ทั้งนี้ เราไม่สามารถเห็นปรากฏการณ์อุปราคาของดาวเพื่อนบ้านได้ด้วยตาเปล่า แต่สังเกตได้ด้วยอุปกรณ์กล้องส่องทางไกลหรืออุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีกำลังขยาย 80 เท่าขึ้นไป
       
       ทั้งนี้ ทาง สดร.ได้เตรียมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาทั้งดวงจันทรืของโลกและที่เกิดขึ้นบนดวงจันทร์ไอโอผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบัน ซึ่งได้ปรับปรุงให้สามารถรองรับการเข้าชมจำนวนมากๆ ได้ หลังจากมีประสบการณ์เซิร์ฟเวอร์ล่มเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้นผู้คนจำนวนมากเข้าชมการถ่ายทอดสด เนื่องจากหลายพื้นมีเมฆบดบังจนไม่สามารถสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ ในส่วนของจันทรุปราคาบนโลกนั้นจะถ่ายทอดสัญญาณการเกิดปรากฏการณ์จากเชียงใหม่และยังได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏิ์ ร่วมถ่ายทอดสัญญาณปรากฏการณ์จาก จ.ฉะเชิงเทราด้วย
       
       พร้อมกันนี้ สดร.ได้ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมสังเกตจันทรุปราคาทั่วประเทศจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก, น่าน, ลพบุรี, อุบลราชธานี, อุดรธานี, นครราชสีมา,ขอนแก่น, ภูเก็ต และ สงขลา ซึ่งทางสถาบันได้จักิจกรรมที่บริเวณลานกิจกรรมหน้าอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ พร้อมตั้งกล้องโทรทรรศน์กว่า 10 ตัวไว้ให้บริการ รวมถึงฉายภาพยนตร์ 3 มิติภายในโดมดิจิทัลจากรัสเซียด้วย (ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ จ.เชียงใหม่ แจ้งความจำนงได้ที่ 0-5322-5569 ต่อ 305) ซึ่งสามารถร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
       
       “เราชวนให้ดูปรากฏการณ์นี้เพราะอยากให้เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สามารถคำนวณได้แม่นยำนระดับวินาที คำนวณได้ล่วงหน้าเป็นพันๆ ปี และไม่ได้เกิดขึ้นแค่บนโลก แต่ยังเกิดขึ้นที่ดาวเพื่อนบ้านของเราด้วย” ดร.ศรัณย์กล่าว
       
       ทั้งนี้จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงให้คนไทยได้ชมอีกครั้ง ในวันที่ 8 ต.ค.57

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2554

8388
เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - ไห่หนานหรือไหหลำเกาะใต้สุดแดนมังกร กำลังตั้งเป้าว่าจะกลายเป็น “ฮาวายแห่งตะวันออก” โดยกำหนดแผนพัฒนาเกาะให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ รัฐบาลมณฑลจะร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำของกองทัพปลดแอกประชาชนดำริโครงการขึ้น
       
       หลัว เป่าหมิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลไห่หนาน แถลงในฮ่องกง (5 ธ.ค.) ว่า โรงพยาบาลกองทัพปลดแอกประชาชน หมายเลข 301 (ที่บรรดาผู้นำแนวหน้าของพรรคฯ นิยมใช้บริการ) กำลังจะเปิดสาขาแห่งแรกบนเกาะไห่หนานในปลายเดือนหน้า ซึ่งจะช่วยดึงดูดผู้ป่วยให้เข้ามารับการรักษา ทั้งชาวต่างชาติและประชาชนในท้องที่
       
       “พวกเรามีเป้าหมายให้เกาะไห่หนานกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ภายในปี 2558” หลัวกล่าว
       
       โรงพยาบาลกองทัพฯ หมายเลข 301 ซึ่งอยู่แถบตะวันตกของกรุงปักกิ่งนั้น เป็นโรงพยาบาลสำหรับผู้นำระดับสูง โดยส่วนใหญ่ผู้นำแนวหน้าของพรรคคอมมิวนิสต์เจ็บป่วยก็จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ อาทิ ผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิง อดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน ตลอดจนคณะกรรมาธิการพรรคฯ ระดับสูงอีกหลายคน
       
       รัฐบาลมณฑลไห่หนาน เผยว่า ศูนย์กลางทางการแพทย์ของไห่หนาน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองซานย่า จะเปิดให้บริการด้านการแพทย์และฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับคนในท้องที่และนักท่องเที่ยวที่ต้องการได้รับการรักษาแบบ “คุณภาพเลิศ บรรยากาศเยี่ยม”
       
       ทั้งหลัวและ เจี่ยง ติ้งจื่อ รักษาการผู้ว่าการมณฑลฯ ได้ออกนำเสนอผลงานในฮ่องกง เพื่อสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยว (5 ธ.ค.) ของไห่หนาน
       
       เว็บไซต์ไห่หนานเดลี รายงานเมื่อปีที่แล้วว่า ศูนย์กลางทางการแพทย์อาจจะก่อสร้างบนพื้นที่ 186,000 ตร.ม. และมีเตียงผู้ป่วยจำนวน 675 เตียง
       
       จัง ฮุ่ย หัวหน้าภาควิชาการท่องเที่ยวแห่งมหาวิทยาลัยเป่ยจิงเจียวทง เผยว่า โรงพยาบาลสาขาของกองทัพฯ หมายเลข 301 นั้น น่าจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ อาจจะมีการเสนอให้บริการแบบอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น การรักษาสุขภาพของบุคคลทั่วไป ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุ

       คณะมุขมนตรีจีนได้เคยเผยแผนแปลงเมืองไห่หนานให้กลายเป็น “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวสากล” ในปลายปี 2552 และออกแบบมณฑลให้กลายเป็นแหล่งปฏิรูปการท่องเที่ยวด้วย เมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลกลางเสนอคืนภาษี 11 เปอร์เซ็นต์ให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเกาะไห่หนาน รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาจากฮ่องกง เพื่อสนับสนุนให้ไห่หนานมีชื่อเสียงระดับโลก
       
       อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาก็ยังคงเป็นคนแผ่นดินใหญ่ ขณะเดียวกันแผนการท่องเที่ยวได้เล็งขยายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากภายในจีนมณฑลอื่น ๆ เข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้นด้วย
       
       ผลที่ตามมาจากวิกฤติการเงินโลก ทำให้ไห่หนานมีนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างแดนน้อยลงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ในปี 2552 แต่หลัวเผยว่า วิกฤติหนี้ในยุโรปดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีผลกระทบกับจำนวนนักท่องเที่ยวเท่าใดนัก
       
       “ผมไม่ค่อยเห็นผลกระทบเท่าใดนัก เพราะนักท่องเที่ยวหลักของเรามาจากแผ่นดินใหญ่ และบรรดานักลงทุนส่วนใหญ่ก็มาจากเอเชีย แค่มีคนจีนจากแผ่นดินใหญ่จำนวน 1,300 ล้านเดินทางท่องเที่ยวไปมา แค่นี้ก็ทำให้ตลาดเราบูมไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว”
       
       ใน 10เดือนแรกของปีนี้ เกาะไห่หนานรับนักท่องเที่ยวจำนวน 23.7 ล้านคน ซึ่งร้อยละ 97 เป็นนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อปีที่ผ่านมาทั้งปีมีนักท่องเที่ยวจำนวน 25.9 ล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
       
       หลัวเผยว่า ร้านปลอดภาษีในสนามบิน หรือดิวตี้ฟรี จะเปิดใหม่ในเดือนนี้ในเมืองไหโข่ว เมืองเอกของมณฑลไห่หนาน และในปีหน้าจะมีการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแห่งใหม่เพิ่มอีก
       
       ขณะที่ศาสตราจารย์ซ่ง ไห่เอี๋ยน ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงโพลีเทคนิค เผยว่า ไห่หนานยังคงต้องพยายามให้มากกว่านี้
       
       “ยังมีอีกหลายอย่างที่รัฐบาลฯ ต้องเข้าไปยกระดับ ตั้งแต่คุณภาพการให้บริการ ไปจนถึงความหลากหลายของสินค้า จากยุทธศาสตร์การตลาดไปจนถึงการสร้างแบรนด์.. มันคงต้องกินเวลานานโขกว่าจะทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไฮคลาส มิใช่ทำได้กันแค่ข้ามคืน” ซ่ง ทิ้งท้าย.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2554   

8389
“หมอวิสุทธิ์-ผู้พันตึ๋ง” ผู้ต้องขังโทษคดีสังหารได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษในปีนี้เหลือคนละ 13 ปี ด้าน “ชลอ เกิดเทศ” ได้รับการอภัยโทษจำคุกตลอดชีวิตเหลือ 50 ปี ส่วน “เสริม สาครราษฎร์” พ้นคุก 18 ธ.ค.
       
       วันนี้ (7 ธ.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า การปล่อยผู้ต้องขังภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดย พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า กรมราชทัณฑ์ได้ประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการปล่อยตัวผู้ต้องขังทั่วประเทศ และในกรุงเทพฯ จะจัดงานวันที่ 8 ธันวาคมนี้ เวลา 09.00 น. ซึ่งมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ลานสนามหญ้าหน้าเรือนจำกลางคลองเปรม โดยเบื้องต้นมีผู้ต้องขังที่พร้อมปล่อยตัวจากเรือนจำเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 4,500 คน
       
       รายงานข่าวระบุว่า จากพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 ส่งผลให้นักโทษเด็ดขาดในคดีสำคัญหลายคดีได้รับพระมหากรุณาธิคุณอภัยโทษโดยการลดวันต้องโทษครั้งนี้ เช่น นพ.วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ อดีตสูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต้องโทษคดีฆาตกรรม พญ.ผัสพร บุญเกษมสันติ แพทย์โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร เหลือโทษจำคุก 21 ปี และ พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือผู้พันตึ๋ง ต้องโทษคดีสังหารนายปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ทั้ง 2 คนได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษ เมื่อปี 2550 ได้ลดโทษจากโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต, ปี 2553 ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องอีกครั้ง จากจำคุกตลอดชีวิต เหลือจำคุก 50 ปี และปีนี้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษเช่นเดียวกัน จากจำคุก 50 ปี ตามพระราชกฤษฎีกาจะได้ลดวันต้องโทษ ตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์คนละ 13 ปี
       
       ส่วน พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องโทษคดีอุ้มฆ่าสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขันธ์ เพิ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษครั้งแรก ปี 2553 จากโทษประหารชีวิตเหลือจำคุกตลอดชีวิต และปีนี้ได้อภัยโทษให้ลดโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเหลือ 50 ปี ส่วนนายเสริม สาครราษฎร์ ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตในคดีฆ่าหั่นศพแฟนสาว ได้รับการลดโทษ 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2547 และล่าสุดปี 2554 ได้รับพระราชทานอภัยโทษอีก 1 ใน 3 เหลือโทษ 8 ปี แต่จำคุกมาจะครบ 8 ปี วันที่ 18 ธันวาคมนี้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2554   

8390
 สพศท.จี้ “วิทยา” แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความผิด กรณี สปสช.มีมูลความผิดปกติในการบริหารงบฯ ด้านเจ้าตัวเผยแต่งตั้ง 7 ธ.ค.นี้
       
       วานนี้ (6 ธ.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) เดินทางเข้ายื่นหนังสือ เรื่อง ขอให้พิจารณาความผิดและลงโทษเลขาธิการ สปสช.และคณะกรรมการ สปสช.ที่ดำรงตำแหน่งระหว่างปีงบประมาณ 2546-2553 ที่ได้ร่วมกระทำความผิด 7 ประเด็น ตามที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบและประเมินผล และยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการ สปสช.และยกเลิกคณะอนุกรรมการทุกชุดที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการชุดเดิม ต่อ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยมี นายสง่า จงเพิ่มดำรงชัย เลขานุการส่วนตัว นายวิทยา รับหนังสือแทน
       
       พญ.ประชุมพร กล่าวว่า เมื่อ สตง.ได้ตรวสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสปสช.ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546-2553 พบว่า การบริหารจัดการงบฯบริหารสำนักงานและงบฯกองทุน สปสช.ไม่ถูกต้องใน 7 ประเด็น จึงขอให้นายวิทยา ดำเนินการใน 5 เรื่องอย่างเร่งด่วน คือ 1.แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความผิดและลงโทษ เลขาธิการ สปสช.และคณะกรรมการชุดเดิมและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันกระทำความผิด 7 ประเด็น 2.ให้ส่งผลตรวจไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เพื่อดำเนินการทางอาญาแผ่นดินต่อไป 3.ยกเลิกคณะอนุกรรมการทุกชุดที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการชุดเดิม 4.ยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการ สปสช.และ 5.เรียกคืนเงินงบประมาณที่เสียหายตามที่
สตง.ตรวจพบ ทั้ง 7 ประเด็น ทั้งนี้ หาก รมว.สธ.ไม่ดำเนินการจะมีความผิดตามมาตรา 157 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
       
       พญ.ประชุมพร กล่าวอีกว่า สำหรับรายละเอียดผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะของสตง. เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2554 มีประเด็นหลัก ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้องและไม่ประหยัด พบว่า มีการจ่ายเงินไม่ถูกต้องและไม่ประหยัด คือ การปรับอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการ สปสช.ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดให้การปรับเงินเดือนเป็นไปตามผลงานเป็นระยะตลอดอายุสัญญา แต่ในการปฏิบัติงาน 1 ปี เลขาธิการ สปสช.คนปัจจุบันได้รับการปรับอัตราเงินเดือนจาก 171,600 บาท และเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 42,900 บาท เป็น 200,000 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดทันที จึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.รวมถึงการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการ ตรวจสอบสูงเกินกว่าที่มติครม.กำหนด โดยในปีงบประมาณ 2548-2553 ประธานอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุม อัตรา 20,000 บาทต่อคนต่อเดือน ขณะที่อัตราเบี้ยประชุมที่ควรได้รับ คือ 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน อนุกรรมการชุดที่ 1 ได้รับ 16,000 บาทต่อคนต่อเดือน อัตราที่ควรได้รับ คือ 6,000 บาทต่อคนต่อเดือน และอนุกรรมการชุดที่ 2 ได้รับ 16,000 บาทต่อคนต่อเดือน อัตราที่ควรได้รับ 6,000 บาทต่อคนต่อเดือน รวมค่าเบี้ยประชุมอนุกรรมการตรวจสอบที่สูงเกินไป 3,105,000 บาท อีกทั้งการจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม โดยมีการจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและใช้สัญญาฉบับเดียวแล้วต่อสัญญาไปเรื่อยๆ และบางปีไม่มีการทำสัญญาจ้างแต่มีการจ่ายเงินค่าจ้าง
       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า เมื่อสตง.มีข้อท้วงติงการดำเนินการของ สปสช.มาเช่นนี้ก็พร้อมน้อมรับ แต่ในบางเรื่องเป็นการตรวจสอบในปี 2546 ซึ่งบางเรื่องสปสช.ได้มีการแก้ไขปรับปรุงไปแล้ว และบางเรื่องเป็นการเรื่องของการตีความข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน เช่น ระเบียบบางอย่าง สตง.ตีความตามระเบียบสำนักนายกฯ แต่สปสช.มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ จึงปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จึงเป็นเรื่องของการตีความเท่านั้น ซึ่ง สปสช.ยินดีปฏิบัติตามที่ สตง.ทักท้วง แต่การท้วงติงทั้งหมดไม่มีเรื่องการทุจริต เพียงแต่เป็นเรื่องระเบียบปฏิบัติ และไม่มีการสั่งให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการทุจริตแต่อย่างใด หากมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตนก็พร้อมชี้แจงในทุกประเด็น
       
       ขณะที่ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ. กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวตามที่ สตง.ตรวจสอบ แล้ว โดยจะมีการเชิญตัวแทนอัยการมาร่วมในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับรายชื่อคาดว่าจะได้ในวันที่ 7 ธ.ค.ซึ่งตนจะลงนามตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจสอบให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะมีการใช้งบประมาณปี 2555

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2554

8391
รพ.จุฬาฯ ​เร่งรณรงค์​ให้กลุ่มชาย​ไทยวัย 50ปีขึ้น​ไป ​เข้ารับ​การตรวจ​โรคต่อมลูกหมาก ​เผย​ความชุกของ​การ​เป็น​โรค​ในอนาคตมี​แนว​โน้ม​เพิ่มสูงขึ้น จากวิถีชีวิต อาหาร​การกิน ​และสิ่ง​แวดล้อมที่​เปลี่ยน​ไป ระบุ​ผู้ป่วยที่​เป็น​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมาก หากพบอา​การ​ในระยะ​เริ่มต้น สามารถรักษา​ให้หายขาด​ได้ ด้วยวิทยา​การที่ก้าวหน้าของ​เครื่องมือทาง​การ​แพทย์ ​โดย​เฉพาะหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่สามารถ​เคลื่อน​ไหว​ในที่คับ​แคบด้วยประสิทธิภาพสูง

นาย​แพทย์จุลินทร์ ​โอภานุรักษ์ อาจารย์ประจำคณะ​แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว​ถึง​โรคต่อมลูกหมาก​โตว่า ​โรคต่อมลูกหมาก​แบ่งออกมา​เป็น 3 ชนิด​ใหญ่ๆ คือ 1.ต่อมลูกหมากติด​เชื้อ พบ​ในกลุ่ม​ผู้ชายวัย 30-40 ปี กลุ่มนี้พบ​ไม่บ่อยมากนัก 2.ต่อมลูกหมาก​โต​เนื้อธรรมดา พบ​ในชายวัยตั้ง​แต่ 50 ปีขึ้น​ไป ส่วน​ใหญ่​เกิดจากสา​เหตุฮอร์​โมนชายถูกกระตุ้นซ้ำ​ในวัยหนุ่ม ​โดยกลุ่มชายวัย 50 ปีขึ้น​ไป ​และ3.ต่อมลูกหมาก​โตชนิดที่​เป็นมะ​เร็ง

​ทั้งนี้ปัจจัยที่​ทำ​ให้​เป็นมะ​เร็งต่อมลูกหมาก คุณหมอกล่าวว่า มีหลายประ​การ​ได้​แก่ อายุที่​เพิ่มขึ้น กรรมพันธุ์ ถ้าหากพ่อ​หรือพี่ชาย​เป็นมะ​เร็ง ​ทำ​ให้มี​ความ​เสี่ยงสูงกว่าครอบครัวที่​ไม่​เป็นมะ​เร็ง ​และ ​เชื้อชาติ จาก​การศึกษาพบว่า​ผู้คน​ในชาติ​แถบตะวันตก​เป็นมะ​เร็งต่อมลูกหมากมากกว่าคน​ในภูมิภาค​เอ​เชีย ​โดย​โรคมะ​เร็งที่​ผู้ชายตะวันตก​เป็นมากอันดับ 1 คือ​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับ อา​การของมะ​เร็งต่อมลูกหมากคือ ปัสสาวะพุ่ง​ไม่​แรง ต้อง​เบ่ง ปัสสาวะบ่อยขึ้น กลางคืนจะลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อยครั้ง บางรายพบปัสสาวะ​เป็น​เลือด ​ไตอาจจะวาย ถ้ามี​การกระจาย​ไปยังกระดูก ​ทำ​ให้ปวดบริ​เวณกระดูก​ได้ ​แต่​ในบางรายอาจจะ​ไม่มีอา​การ​แสดง​เลย​ก็​ได้

​โรคนี้ยัง​ไม่มีวิธีป้องกัน ​เพราะ​โดยธรรมชาติร่างกาย​ผู้ชายจะผลิตฮอร์​โมนตั้ง​แต่วัยหนุ่ม ​แต่สามารถลด​ความ​เสี่ยงภายนอก​ได้บ้าง ​โดย​การหันมารับประทานอาหารตามวิถี​ไทย ​เลือก​แต่อาหาร​เพื่อสุขภาพ ​เน้นผักผล​ไม้ ดำรงชีวิต​แบบ​ไทย ​เน้น​การอยู่​แบบพอ​เพียง ​และ​ใช้ชีวิต​ในสิ่ง​แวดล้อมที่ดี

ส่วน​แนว​โน้มของชาย​ไทยที่ป็น​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมาก คาดว่าจะ​เพิ่มมากขึ้น​เรื่อยๆ ​เนื่องจากวิถี​การดำรงชีวิตที่​เปลี่ยน​แปลง​ไป คน​ไทยหัน​ไปกินอาหาร​และ​ใช้ชีวิต​แบบวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น รวม​ถึงสิ่ง​แวดล้อมที่​เปลี่ยน​ไป

​ทั้งนี้ วิธี​การรักษา นาย​แพทย์จุลินทร์ ​โอภานุรักษ์ กล่าวว่า ​ในกลุ่ม​ผู้ป่วยที่​เป็น​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีรักษาหลากหลายรูป​แบบ ​ทั้ง​การผ่าตัด, ฉาย​แสง, ฝัง​แร่ ​และ ​การ​ให้ฮอร์​โมนขึ้นอยู่กับระยะของ​โรคที่​เป็น ถ้า​เป็นระยะ​เริ่มต้น มะ​เร็งยังคงอยู่​ในต่อมลูกหมาก สามารถรักษา​ได้ด้วยวิธีผ่าตัด​หรือฝัง​แร่ ​ผู้ป่วยมี​โอกาสหายขาดสูง ส่วน​ในรายที่​เป็นออกมา นอกต่อมลูกหมาก​แล้ว ​การรักษาจะ​เป็น​การฉาย​แสง​หรือ​ให้ฮอร์​โมน

“วิธี​การผ่าตัด​แพทย์จะ​ทำ​การ​เจาะรู วิธีนี้ขนาดของ​แผลจะ​เล็กลง ​เสีย​เลือดน้อย ​ผู้ป่วยสามารถกลับพักฟื้นที่บ้าน​ได้​เร็ว ปัจจุบันวิทยา​การ​ใน​การรักษา​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมากมี​ความก้าวหน้าอย่างมาก มี​การผลิตหุ่นยนต์​เพื่อ​ใช้​เป็น​เครื่องมือช่วยผ่าตัด​ในที่คับ​แคบ​ได้อย่างสะดวก ​ทำ​ให้​ผู้ป่วยมีภาวะ​แทรกซ้อนน้อยมาก”

อย่าง​ไร​ก็ตาม ชาย​ไทยวัยตั้ง​แต่ 50 ปีขึ้น​ไปควร​เข้ารับ​การตรวจสุขภาพอย่างต่อ​เนื่อง ​เพื่อ​การรักษาที่ทันท่วงที ​และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แนวหน้า  7 ธันวาคม 2554

8392
ประเด็นที่ 4    การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดอำนาจในการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล โดยเฉพาะโครงสร้างองค์กรหรือการจัดแบ่งส่วนงานเป็นอำนาจของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 19 ที่ระบุว่า “ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(1) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงาน
(2) อนุมัติแผนการเงินของสำนักงาน
(3) ควบคุมดูแลการดำเนินงานและบริหารงานทั่วไปตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน การติดตามประเมินผลและการดำเนินการอื่นของสำนักงาน”

จากการตรวจสอบการออกประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันพบว่าไม่ถูกต้อง คือ

4.1 ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการแบ่งส่วนงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2546 ลงนามโดยเลขาธิการ สปสช. (ภาคผนวกที่ 2) โดยประกาศฉบับนี้อาศัยอำนาจในการออกประกาศตามความในมาตรา 31 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งอำนาจทั้งหมดเป็นอำนาจของเลขาธิการ พร้อมทั้งอ้างมติจากการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2545 ภายหลังมีการแบ่งส่วนงานใหม่และมีการออกประกาศโดยอาศัยอำนาจ
ในการออกประกาศเหมือนข้างต้น

4.2 ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงาน ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2551 (ภาคผนวกที่ 3) ลงนามโดยเลขาธิการ สปสช. โดยประกาศฉบับนี้อาศัยอำนาจในการออกประกาศตามความในมาตรา 31 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และข้อ 10 แห่งข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่มีการกล่าวถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากไม่ได้นำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อมาได้มีการแก้ไขอีก 3 ครั้ง ได้แก่ แก้ไขฉบับที่ 2 วันที่ 23 กรกฎาคม 2552 แก้ไขฉบับที่ 3 วันที่ 30 กันยายน 2552 และแก้ไขฉบับที่ 4 วันที่ 28 มกราคม 2553 ซึ่งประกาศฯ ทั้งหมดลงนามโดยเลขาธิการ สปสช. และอาศัยอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับประกาศข้างต้น

จากการสอบถามเลขาธิการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของ สปสช. ชี้แจงว่าไม่มีการนำเรื่องเกี่ยวกับการจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงไม่มีการกล่าวอ้างมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในประกาศ เนื่องจากถือว่าข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) ซึ่งลงนามโดยประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ 10 ที่ว่า “สำนักงานจะมีผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งใด ประเภทใด ระดับใด อยู่ในส่วนงานใด จำนวนเท่าใด ให้เลขาธิการเป็นผู้กำหนด โดยคำนึงถึงความจำเป็น ลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงาน ภายใต้กรอบนโยบาย เป้าหมาย แผนงานและวงเงินงบประมาณรวมทุกด้านเกี่ยวกับบุคคล ที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ” เป็นการมอบอำนาจเรื่องการจัดแบ่งส่วนงานให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ และในทางปฏิบัติก็มิได้นำโครงสร้างองค์กรหรือการจัดแบ่งส่วนงานใหม่เสนอเพื่อให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทราบหรือเห็นชอบ

จากข้อบังคับฯ ข้างต้นไม่ถือเป็นการมอบอำนาจให้เลขาธิการประกาศการจัดส่วนงานหรือโครงสร้างองค์กร แต่ให้อำนาจในการจัดคนลงในส่วนงานต่าง ๆ นอกจากนั้นรายงานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12/2550 วันที่ 28 ธันวาคม 2550 วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา หัวข้อ 4.1 เรื่องระบบการบริหารบุคลากรของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติที่ประชุม 2 ข้อ คือ

(1) อนุมัติการปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคลากรของ สปสช. ตามที่ผ่านความเห็นชอบเบื้องต้นจากคณะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์และให้ สปสช. จัดทำคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน (Job Specification) ของบุคลากร และ

(2) มอบคณะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ติดตามผลการบริหารงานบุคลากรของ สปสช. เสนอคณะกรรมการเพื่อทราบในอีก 4 เดือนข้างหน้า แต่จากข้อเท็จจริงพบว่าภายหลังจากมีมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวในปีงบประมาณ 2551 จนถึงปัจจุบันปีงบประมาณ 2553 สปสช. ไม่เคยมีการนำเสนอเรื่องบุคลากรให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาใด ๆ และภายหลังจากการประชุมดังกล่าวมีการปรับและแก้ไขโครงสร้างองค์กรหลายครั้งที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ตามประกาศวันที่ 3 มิถุนายน 2551 วันที่ 23 กรกฎาคม 2552 วันที่ 30 กันยายน 2552 และวันที่ 28 มกราคม 2553 ก็ไม่มีการนำเสนอให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 4    การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

เพื่อให้การดำเนินการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปโดยถูกต้องสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาสั่งการให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินำเสนอการจัดแบ่งส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อคณะกรรมการก่อนการประกาศใช้
...

8393
ประเด็นที่ 3    การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงินสวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม

การจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมจะได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับองค์การเภสัชกรรมว่าด้วยเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้ภาครัฐที่มีสิทธิจะได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจะต้องจัดทำโครงการเสนอให้องค์การเภสัชกรรมพิจารณาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 สปสช. ใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมเพื่อแจกจ่ายให้แก่หน่วยบริการต่าง ๆ การจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 มีจำนวน 2,307,195,769.54 บาท และ 3,330,137,933.50 บาทตามลำดับ ทำให้ สปสช. มีสิทธิได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมเป็นจำนวนเงินรวม 189,339,067.38 บาท ปรากฏดังตาราง

ที่มา : Commission summary report (only customer 2551 – 2552) องค์การเภสัชกรรม
หมายเหตุ :
1. ในปีงบประมาณ 2546 - 2550 สปสช. ไม่ได้จัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรม เนื่องจากงบประมาณทั้งหมดจัดสรรให้หน่วยบริการ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้จัดซื้อ ต่อมาผลการประเมินการดำเนินงานของหน่วยบริการพบว่า ประชาชนมีปัญหาในการเข้าถึงยาบางชนิด บางแห่งจัดซื้อในราคาแพงมาก ดังนั้นยาบางชนิด สปสช. จึงดำเนินการจัดซื้อเอง เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ยาต้านวัณโรค ยาต้านไวรัสเอดส์ และน้ำยาล้างไต เป็นต้น
2. ในปีงบประมาณ 2552 มีการจัดซื้อยาจำนวนมากแต่ได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐไม่แตกต่างจากปีงบประมาณ 2551 เนื่องจากยาบางชนิดไม่ได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ เช่น กลุ่มยาฉีด เป็นต้น

ในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 สปสช. ได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐเป็นจำนวนเงิน 165,564,740.00 บาท เงินจำนวนดังกล่าว สปสช. ได้รับเป็นเงินบริจาคเข้ากองทุนสวัสดิการตามระเบียบ สปสช. ว่าด้วยการจัดสวัสดิการของสำนักงาน พ.ศ. 2550 และ สปสช. ได้เบิกจ่ายเงินจากกองทุนสวัสดิการไปจัดทำโครงการเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เป็นเงิน 90,435,151.82 บาท ทำให้ สปสช. มีเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐคงเหลือในกองทุนสวัสดิการ จำนวน 75,129,588.18 บาท ปรากฏดังตาราง


จากการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากกองทุนสวัสดิการพบว่า สปสช. เบิกจ่ายเงินไปจัดสวัสดิการในหลาย ๆ ด้าน เช่น การจัดทำโครงการศึกษาดูงานต่างประเทศ การจ่ายเพื่อการช่วยเหลือแก่ผู้ทำประโยชน์แก่สำนักงาน และการจ่ายเพื่อประโยชน์แก่การสนับสนุน
การปฏิบัติงาน

จากข้อมูลข้างต้นแม้ว่าทั้งองค์การเภสัชกรรมและ สปสช. จะมีการกำหนดข้อบังคับและระเบียบเพื่อให้มีการเบิกจ่ายและใช้จ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง มีกฎ ระเบียบรองรับ แต่เงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ สปสช. ได้รับจากองค์การเภสัชกรรมเป็นผลมาจากการใช้เงินจากกองทุน

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดซื้อ ควรนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาบุคลากรในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังนั้นการนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐไปใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างและพนักงานของ สปสช. จึงไม่เหมาะสม

ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 3   การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงินสวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม

เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1. กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ได้รับจากองค์การเภสัชกรรมให้เป็นการนำไปใช้เพื่อประโยชน์โดยตรงต่อหน่วยบริการ

2. กรณีเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ได้จากองค์การเภสัชกรรมมาแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปรับเป็นการดำเนินการโครงการที่ให้ประโยชน์กับหน่วยบริการโดยตรง
...

8394
2.2 การคัดเลือกผู้ขาย/ผู้รับจ้างในการจัดหาโดยวิธีเปรียบเทียบราคาด้วยการเปิดประมูลทั่วไปไม่เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การต่อรองราคาในการประกวดราคาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีกรณีราคาที่เสนอของรายที่สมควรซื้อจ้างนั้นเสนอราคาสูงกว่าวงเงินงบประมาณ

จากการตรวจสอบวิธีการพิจารณาผลการคัดเลือกผู้ขาย/ผู้รับจ้างโดยวิธีเปรียบเทียบราคาด้วยการเปิดประมูลทั่วไป พบว่า สปสช. ไม่ได้พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วมีคุณภาพและคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในขั้นตอนการยื่นซองเสนอราคา แต่พิจารณาคัดเลือกตามเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ปรากฏในประกาศการจัดหาพัสดุโดยวิธีเปรียบเทียบราคา เงื่อนไขเพิ่มเติมดังกล่าว คือ “สปสช. โดยคณะกรรมการดำเนินการจัดหาพัสดุจะดำเนินการเรียกผู้เสนอราคาต่ำมากกว่าหนึ่งรายมาต่อรองราคาทีละราย ทั้งนี้การดำเนินการต่อรองราคาแต่ละราย คณะกรรมการฯ จะไม่เปิดเผยราคาให้ผู้เสนอราคารายอื่น ๆ ทราบ เมื่อทำการต่อรองราคาทุกรายแล้ว คณะกรรมการฯ อาจเรียกผู้เสนอราคาเฉพาะรายต่ำสุดครั้งหลังสุดมาต่อรองราคาอีกครั้งก็ได้ และการต่อรองราคานี้ถือว่าสิ้นสุด”

ขั้นตอนการต่อรองราคาที่ สปสช. กำหนดขึ้นเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาคัดเลือกคู่สัญญาดำเนินการจัดหาพัสดุนี้ไม่ได้ปรากฏอยู่ในข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2546 และประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องแนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 แต่อย่างใด ทำให้บางกรณีผู้ยื่นซองเสนอราคาต่ำสุดในชั้นต้นไม่ได้รับเลือกให้เป็นคู่สัญญา รายละเอียดปรากฏดังตาราง
ตัวอย่างการจัดหาพัสดุโดยวิธีเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นซองเสนอราคาต่ำสุดไม่ได้รับคัดเลือกให้เป็นคู่สัญญา




ที่มา : สำนักบริหารการเงิน สปสช. / จากการรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

โดยหลักการต่อรองราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 43 ได้กำหนดไว้ว่า การต่อรองราคาจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรณีราคาที่เสนอของรายที่เห็นสมควรซื้อหรือจ้างนั้นสูงกว่าวงเงินงบประมาณ ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา/พิจารณาผลการประกวดราคาเรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ก่อน แต่หากดำเนินการแล้วไม่ได้ผลให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา และคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้ยืนยันหลักการต่อรองราคาดังกล่าวตามหนังสือหารือของ กวพ. ที่ นร (กวพ) 1204/8049 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2540 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเงื่อนไขที่จะต่อรองราคาได้นั้น จะต้องเกิดจากราคาของผู้เสนอราคาต่ำสุดเกินกว่าวงเงินงบประมาณ และหากต่อรองไม่ได้ผลจึงให้เรียกทุกรายมาต่อรองใหม่ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาพร้อมกัน

ดังนั้นการที่ สปสช. กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคัดเลือกผู้ขาย/ผู้รับจ้างเพิ่มเติมในประกาศนอกจากจะขัดกับหลักการต่อรองราคาตามระเบียบพัสดุที่มุ่งเน้นให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรมกับผู้เสนอราคาแล้ว การเรียกผู้เสนอราคามาต่อรองราคาทีละรายตามที่ สปสช. กำหนดเงื่อนไขขึ้นมาเองยังอาจขัดต่อหลักการจัดหาที่โปร่งใส เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบและให้ความเชื่อมั่นได้ว่าข้อมูลราคาเป็นความลับระหว่างผู้เสนอแต่ละราย รวมทั้งการเจรจาต่อรองไม่มีข้อเสนอเรื่องผลประโยชน์อื่นใดอันจะทำให้ผู้เสนอรายอื่นเสียเปรียบ ตลอดจนไม่สามารถยืนยันได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการพิจารณาผลในกระบวนการต่อรองราคานั้นมีความโปร่งใสและเป็นธรรมหรือไม่อย่างไร กรณีเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดหาพัสดุของ สปสช. นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการจัดหาพัสดุที่ดี ที่เน้นให้ทุกกระบวนการมีความโปร่งใสและเป็นธรรมกับผู้เสนอทุกราย นอกจากนี้ในอนาคตเงื่อนไขดังกล่าวอาจเกิดปัญหาร้องเรียนเรื่องความเป็นธรรมในการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอได้

ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 2 การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

เพื่อให้การบริหารพัสดุของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีความถูกต้องเหมาะสม สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1. ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2546 โดยเคร่งครัดโดยเฉพาะการจัดทำแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในระยะเวลาที่กำหนด และแผนการจัดซื้อจัดจ้างต้องจัดทำรายละเอียดรายการให้ครบถ้วน ทั้งกรณีทำเป็นสัญญาและใบสั่งซื้อสั่งจ้าง

2. สั่งการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ข้อ 8 และคู่มือการจัดหาพัสดุข้อ (1) (ค) อย่างเคร่งครัด

3. สั่งการให้เจ้าหน้าที่ให้เลขที่ใบสั่งซื้อหรือจ้างที่ทำด้วยมือให้ครบถ้วนโดยจัดเรียง
ไปตามลำดับก่อนหลัง โดยไม่ว่างหมายเลขไว้

4. แก้ไขระเบียบการจัดหาพัสดุของ สปสช. ให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะหลักการและวิธีการจัดหาพัสดุ และหากเนื้อความในประกาศการจัดหาพัสดุใดจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กำหนดหรือแบบที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้วโดยข้อความดังกล่าวมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างหรือแบบของ กวพ. และไม่ทำให้ทางราชการเสียเปรียบให้สามารถกระทำได้ เว้นแต่พิจารณาแล้วเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอให้ส่งร่างประกาศการจัดหาพัสดุไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน
...

8395
ประเด็นที่ 2   การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดข้อบังคับ สปสช. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 เพื่อใช้สำหรับการจัดหาและบริหารงานพัสดุของสำนักงาน โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวค่อนข้างเปิดกว้างมากกว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และมีการปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวไม่เคร่งครัด

2.1 การบริหารพัสดุของ สปสช. ไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และข้อบังคับที่กำหนดไว้ ดังนี้

2.1.1 การบริหารพัสดุของ สปสช. ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

2.1.1.1 สปสช. ไม่ได้ส่งแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในกำหนดเวลาอย่างช้าภายในวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี ตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2546 ข้อ 5 โดยในปีงบประมาณ 2550 – 2552 สปสช. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามหนังสือลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 และ วันที่ 19 ธันวาคม 2551 ตามลำดับ

2.1.1.2 แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างมีรายการไม่ครบถ้วน ตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2546 ข้อ 4(1) แผนที่จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับครุภัณฑ์ที่มีราคาเกิน 100,000.00 บาท และที่ดินสิ่งก่อสร้างที่มีราคาเกิน 2,000,000.00 บาท

   จากการตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบรายการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ 2552 กับการจัดซื้อจัดจ้างจริง พบว่า สปสช. จัดซื้อจัดจ้างจริงมากกว่ารายการตามแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ปรากฏดังตาราง

จากตาราง รายการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ปรากฏในแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีจำนวน 28 สัญญา หรือคิดเป็นร้อยละ 77.78 โดยรายการที่ไม่ได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการจัดหาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่ายังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องในรายจ่ายที่เป็นค่าครุภัณฑ์ จึงไม่ได้นำรายการรายจ่ายเกี่ยวกับการจัดหาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มาจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง

2.1.2 สปสช. ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 และคู่มือการจัดหาพัสดุ

ข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 หมวด 2 การจัดหา ข้อ 8 กำหนดว่า “ให้ผู้ปฏิบัติงานที่มีความประสงค์จะขอให้จัดหาพัสดุเพื่อใช้งาน แสดงความจำนงต่อเจ้าหน้าที่พัสดุโดยเสนอบันทึกตามแบบที่เลขาธิการกำหนด แสดงวัตถุประสงค์หรือความจำเป็นในการใช้งาน รายละเอียดของพัสดุที่ขอให้จัดหา กำหนดเวลาที่ต้องการใช้และรายละเอียดที่จำเป็น” และในคู่มือการจัดหาพัสดุได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดหาคือ ให้สำนักต่าง ๆ จัดทำบันทึกเสนอเลขาธิการขออนุมัติหลักการในการจัดหาพัสดุ โดยแบบของเนื้อหาบันทึกอย่างน้อยต้องมีข้อความดังนี้

(ก) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดหา
(ข) รายละเอียดของพัสดุ รวมทั้ง Spec (ถ้ามี)
(ค) ราคามาตรฐาน ราคากลาง หรือราคาอ้างอิงในตลาด หรือราคาที่เคยจัดหาครั้งหลังสุด
(ง) ระยะเวลาที่จะใช้ หรือให้งานแล้วเสร็จ
(จ) วงเงินที่จะใช้ / หมวดเงิน
(ฉ) วิธีที่จะจัดหา และเหตุผลที่จะต้องใช้วิธีนั้น ๆ

จากการตรวจสอบการจัดหาพัสดุของสำนักต่าง ๆ ระหว่างปีงบประมาณ 2552 - 2553 จำนวน 42 รายการพบว่า บันทึกเสนอเลขาธิการเพื่อขออนุมัติหลักการในการจัดหาพัสดุไม่มีเนื้อหาข้อ (ค) ราคามาตรฐาน ราคากลาง หรือราคาอ้างอิงในตลาดหรือราคาที่เคยจัดหาครั้งหลังสุดทุกรายการ และจากการสอบถามผู้อำนวยการสำนักต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้จัดทำบันทึกขออนุมัติหลักการการจัดหาพัสดุเสนอเลขาธิการจำนวน 8 สำนัก ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่ามีการสืบหาราคามาตรฐาน ราคากลาง หรือราคาอ้างอิงในตลาด หรือราคาที่เคยจัดหาครั้งหลังสุดก่อนทำบันทึกขออนุมัติแต่ไม่ได้นำข้อมูลเสนอไป

ในการเสนอขออนุมัติ นอกจากนี้จากการสอบถามเจ้าหน้าที่พัสดุ สำนักบริหารทั่วไป ซึ่งทำหน้าที่จัดซื้อได้รับข้อมูลสอดคล้องกันว่าไม่ได้ทำการตรวจสอบบันทึกเสนอขออนุมัติของสำนักต่าง ๆ ว่ามีเนื้อหาครบตามที่คู่มือกำหนดหรือไม่ ทั้งนี้ในรายงานผลการจัดหาของคณะกรรมการจัดหาพัสดุส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ระบุว่าได้นำข้อมูลเกี่ยวกับราคากลางมาใช้ประกอบการตัดสินใจแต่อย่างใด กรณีที่การจัดหาพัสดุของเจ้าหน้าที่ สปสช. ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการใช้ราคากลางเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบเพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสมในการจัดหาพัสดุนั้น ย่อมส่งผลให้มีการจัดหาพัสดุในราคาที่สูงเกินไป แม้บางกรณีหากมีการต่อรองราคาแล้วผู้เสนอหรือผู้เข้าแข่งขันราคาจะยอมลดราคาลงให้อย่างมากก็ตาม

2.1.3 การให้เลขที่ใบสั่งซื้อสั่งจ้างในทะเบียนคุมใบสั่งซื้อสั่งจ้างไม่ครบทุกรายการ ข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ข้อ 12 กำหนดหลักฐานในการจัดหาพัสดุไว้ 3 แบบดังนี้

(ก) ใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของ ใช้สำหรับการจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคาซึ่งผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถส่งมอบพัสดุทั้งหมดได้ทันทีหรือเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนหรือมีเหตุฉุกเฉิน

(ข) ใบสั่งซื้อหรือจ้าง ใช้สำหรับการจัดหาพัสดุที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างทั้งหมดได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่สำนักงานตกลงซื้อหรือจ้าง

(ค) หนังสือสัญญา ใช้สำหรับกรณีนอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 หรือเป็นการจัดหาพัสดุที่มีการส่งมอบเป็นงวด การเช่า การแลกเปลี่ยน หรือการจัดหาพัสดุที่เลขาธิการเห็นสมควรให้ทำเป็นหนังสือสัญญา

ใบสั่งซื้อหรือจ้างซึ่งเป็นหลักฐานในการจัดหาพัสดุรูปแบบหนึ่งของ สปสช. ที่ใช้ในการจัดซื้อหรือจ้างกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ สปสช. ตกลงซื้อหรือจ้างนั้น สปสช. สามารถจัดทำใบสั่งซื้อหรือจ้างได้ 2 ลักษณะ คือ

(1) ใบสั่งซื้อหรือจ้างจากระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบ SAP จะใช้ในกรณีที่จัดหาโดยใช้งบบริหาร และ

(2) ใบสั่งซื้อหรือจ้างที่จัดทำด้วยมือจะใช้ในกรณีที่เป็นการจัดหาโดยใช้งบบริหารผ่านเงินยืมทดรอง การจัดหาโดยใช้งบกองทุน และงบสวัสดิการ

จากการตรวจสอบพบว่าทะเบียนคุมใบสั่งซื้อหรือจ้างที่จัดทำด้วยมือไม่มีหมายเลขใบสั่งซื้อหรือจ้างจำนวนมาก โดยในปีงบประมาณ 2551 ไม่มีหมายเลขใบสั่งซื้อหรือจ้าง จำนวน 47 หมายเลข คิดเป็นร้อยละ 26.86 ของจำนวนหมายเลขทั้งหมดที่เรียงลำดับในทะเบียนคุมทั้งสิ้น 175 หมายเลข และปีงบประมาณ 2552 ไม่มีหมายเลขใบสั่งซื้อหรือจ้าง จำนวน 228 หมายเลข คิดเป็นร้อยละ 49.78 ของจำนวนหมายเลขทั้งหมดที่เรียงลำดับในทะเบียนคุมทั้งสิ้น 458 หมายเลข กรณีดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักการควบคุมภายในที่ดีเนื่องจากไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นได้ว่าจำนวนใบสั่งซื้อหรือจ้างที่ สปสช. ออกทั้งหมดมีจำนวนกี่รายการ และมีความครบถ้วนหรือไม่เพียงใด
......................................................................................

8396
ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 1การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด

เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ประหยัด และคุ้มค่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
•การปรับอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
1.1 แก้ไขการกำหนดอัตราเงินเดือนของเลขาธิการให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
•การจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบ
1.2 ให้ตรวจสอบการจ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โดยหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีความเห็นว่าการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบไม่ได้เป็นการมาประชุมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการจ่ายผลตอบแทนให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบในการปฏิบัติงานตรวจสอบ
•การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส)
1.3 ทบทวนการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยประสานงานกับสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง
1.4 ควบคุมกำกับให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปฏิบัติตามมติคณะกรรมการในการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ (เงินโบนัส) และนำเสนอจำนวนเงินที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้บุคลากรทุกประเภทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีต่อคณะกรรมการ
• การจ้างที่ปรึกษา
1.5 ออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาให้มีความชัดเจน โดยในระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวให้มีรายละเอียดข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
1.   ความหมายของที่ปรึกษาสำนักงาน
2.   ลักษณะขอบเขตงานที่ต้องจ้างหรือใช้บริการที่ปรึกษา
3.    จำนวนที่ปรึกษาในแต่ละปี
4.   กรอบอัตราผลตอบแทน
5.   ระยะเวลาในการจ้าง
6.   เกณฑ์การพิจารณาผลงาน

อย่างไรก็ตามสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรให้ความสำคัญกับความจำเป็นที่ต้องมีที่ปรึกษาและกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ไม่สูงมากเกินไป

2. เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
•การใช้จ่ายเงินกรณีการประชุม อบรม สัมมนา
2.1 แก้ไขประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หรือกำหนดเป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิจารณากำหนดอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงให้เหมาะสมกรณีมีการจัดบริการอาหารให้ในระหว่างการประชุม อบรม สัมมนา เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณของแผ่นดินเกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เกิดความซ้ำซ้อนกับรายจ่ายอื่นที่หน่วยงานได้จ่ายให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมไปแล้ว
2.2 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับหลักฐานที่ใช้ประกอบการเบิกจ่าย เช่น กรณีเดินทางโดยเครื่องบินต้องกำหนดให้มีบัตรที่นั่งโดยสารเครื่องบินแนบรายการขอเบิกทุกครั้ง และหากมีการอนุมัติให้ผู้ปฏิบัติงานที่ตำแหน่งต่ำกว่ารองผู้อำนวยการสำนักเดินทางโดยเครื่องบิน ต้องระบุถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบินให้ชัดเจน โดยเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวต้องคำนึงถึงความประหยัดและคุ้มค่าเป็นสำคัญ
..............................................................................

8397
1.5 การจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีการจ้างที่ปรึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จากการตรวจสอบพบว่าการจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม ดังนี้

1.5.1 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูง
สปสช. เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2546 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีการจ้างที่ปรึกษาโดยทำเป็นสัญญาและใช้ชื่อว่า “สัญญาจ้างพนักงาน” และกำหนดให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงาน (ที่ปรึกษาอาวุโส) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบันปีงบประมาณ 2552 รายละเอียดข้อมูลที่ปรึกษาอาวุโสและอัตราค่าจ้าง ปรากฏดังตาราง


หมายเหตุ :   
1. ปีงบประมาณ 2549 - 2552 จ้างเจ้าหน้าที่ สปสช. ที่เกษียณแล้วเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
1.1 นพ.ปัญญา  กีรติหัตถยากร เกษียณในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เงินเดือน 96,130.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548
1.2 พญ.เรณู  ศรีสมิต เกษียณในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพ เงินเดือน121,540.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2548
1.3 เจ้า นางเขมรัสมี  ขุนศึกเม็งราย เกษียณในตำแหน่งผู้อำนวยการ สปสช. เขต 1 เชียงใหม่ เงินเดือน 112,400.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโสเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551

2. ปีงบประมาณ 2553 ยังคงมีการจ้างที่ปรึกษาอาวุโส 3 คน ตามข้อ 1 และมีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มจำนวน 3 คน
2.1 นายวิญญู พิทักษ์ปกรณ์ เริ่มจ้างหลังเกษียณจาก สปสช. ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย จ้างในอัตราเดือนละ 70,000 บาท
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552
2.2 นพ.สมชาย นิ้มวัฒนากุล อดีตเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดนครศรีธรรมราช จ้างในอัตราเดือนละ 80,000.00 บาท
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552
2.3 นพ.นิพนธ์ โตวิวัฒน์ อดีตเป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกันประจำสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี จ้างในอัตราเดือนละ 41,500.00 บาท เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2553

จากตารางข้างต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 - 2552 สปสช. มีการจ้างที่ปรึกษาอาวุโส จำนวน 3 คน โดยทั้ง 3 คน เป็นเจ้าหน้าที่ของ สปสช. มาก่อนและหลังจากจ้างแล้วจะมีการจ้างอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยสัญญาที่จัดทำในช่วงปีงบประมาณ 2549 - 2550 จะจัดทำทุกปี โดยมีเงื่อนไขในสัญญาว่าจะต่ออายุเมื่อผ่านการประเมินผล ต่อมาในปีงบประมาณ 2551 - 2552 มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายละเอียดในหัวข้อระยะเวลาการจ้าง โดยกำหนดเพิ่มในวรรคสอง คือ

“ในกรณีที่ระยะเวลาตามสัญญาจ้างพนักงานนี้ใกล้จะสิ้นสุดลง หากสำนักงานต้องการจ้างพนักงานปฏิบัติงานต่อไปอีกให้ถือว่าสัญญาจ้างพนักงานนี้ขยายออกไปอีกทุก ๆ หนึ่งปี เว้นแต่สำนักงานจะมีการยุบหรือยกเลิกตำแหน่งและได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าแล้ว ให้สัญญานี้สิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา” และยังคงต้องให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง โดยรูปแบบการประเมินผลให้เป็นไปตามที่ผู้รับจ้างกำหนด

ข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สปสช. มีการจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและใช้สัญญาฉบับเดียวแล้วมีการต่ออายุสัญญาไปเรื่อย ๆ นอกจากนั้นพิจารณาจากอัตราค่าจ้างของแต่ละคนพบว่ามีอัตราที่ค่อนข้างสูงและในปีงบประมาณ 2553 มีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มอีกจำนวน 3 คน เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ สปสช. 1 คน และบุคคลภายนอก 2 คน

1.5.2   การจัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน
   จากการตรวจสอบการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาทั้ง 3 คน พบว่า สปสช. จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน ปรากฏดังตาราง

หมายเหตุ :  เจ้า นางเขมรัสมี  ขุนศึกเม็งราย เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2551 และในปีงบประมาณ 2552 ใช้สัญญาจ้างของปีงบประมาณ 2551

จากตารางข้างต้น สปสช. จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาไม่ครบถ้วน ดังนี้

1.5.2.1 สัญญาจ้าง นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2549 และได้ทำสัญญาจ้างในปีงบประมาณ 2549 - 2550 สำหรับปีงบประมาณ 2551 ไม่ได้จัดทำสัญญาแต่มีการจ่ายเงินค่าจ้าง และเริ่มมาจัดทำสัญญาจ้างอีกครั้งในปีงบประมาณ 2552
1.5.2.2 สัญญาจ้าง พญ.เรณู ศรีสมิต เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2549 และได้ทำสัญญาจ้างในปีงบประมาณ 2549 - 2550 สำหรับปีงบประมาณ 2551- 2552 ไม่ได้จัดทำสัญญา แต่มีการจ่ายเงินค่าจ้างต่อเนื่องทุกปี
1.5.2.3 สัญญาจ้าง เจ้า นางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย เริ่มจ้างในปีงบประมาณ 2551 และได้ทำสัญญาในปีงบประมาณ 2551 โดยในสัญญาฉบับนี้ได้มีการระบุระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องว่า

“ในกรณีที่ระยะเวลาตามสัญญาจ้างพนักงานนี้ใกล้จะสิ้นสุดลง หากสำนักงานต้องการจ้างพนักงานปฏิบัติงานต่อไปอีก ให้ถือว่าสัญญาจ้างพนักงานนี้ขยายออกไปอีกทุก ๆ หนึ่งปี เว้นแต่สำนักงานจะมีการยุบหรือยกเลิกตำแหน่งและได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าแล้ว ให้สัญญานี้สิ้นสุดลงตามระยะเวลา ที่กำหนดในสัญญา” ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2552 จึงเป็นการจ้างต่อเนื่องตามสัญญาในปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2553 สปสช. ได้จัดทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาใหม่ทั้งหมด และระบุระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องเช่นเดียวกับสัญญาที่ทำในปีงบประมาณ 2551

1.5.3   สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ้างที่ปรึกษาทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูง
จากการสอบถามผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดประกอบสัญญาจ้าง พบว่า สปสช. จ้างที่ปรึกษาอาวุโสทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงเช่นเดียวกับเลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ โดยได้กำหนดในขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละคนดังนี้
1.5.3.1 นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญา
ในปีงบประมาณ 2550 - 2553 คือ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขที่สถานบริการอื่น การติดตามเงินลงทุนและการพิจารณาเงื่อนไขการชำระหนี้ การประสานงานด้านการเมือง การชี้แจงข้อมูลแก่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สนับสนุนและกำกับการพัฒนาคุณภาพของหน่วยบริการ ติดตามและตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย
1.5.3.2 พญ.เรณู ศรีสมิต มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาปีงบประมาณ 2550 - 2553 คือ สนับสนุนการบริการผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี โครงการโรคลมชัก โครงการยิ้มสวยเสียงใส การพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ การบริหารจัดการงบประมาณสำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการและการควบคุมกำกับติดตามและประเมินผลหน่วยบริการ
ในส่วนของศูนย์ตติยภูมิเฉพาะด้าน การพัฒนาระบบคุณภาพและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย
1.5.3.3 เจ้า นางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาปีงบประมาณ 2551 - 2553 คือ การสนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบบริการคุณภาพ (Quality Management System : QMS) เน้นหนักด้าน Management review ระบบตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข การทบทวนเวชระเบียนในสถานพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital Accreditation : HA) และการประเมินคุณภาพการรักษา (Clinical audit) การพัฒนาเครือข่ายบริการรวมทั้งระบบส่งต่อ - ส่งกลับ การพัฒนาการชดเชยเพื่อรับรองการพัฒนาระบบบริการ การพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ มาตรฐานการบริการเป็นรายกรณีและรายโรค การติดตามและตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ การสนับสนุนและปฏิบัติงานร่วมกับส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย และงานอื่น ๆ ที่เลขาธิการมอบหมาย (ภาคผนวกที่ 3)

จากข้อเท็จจริงการปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตความรับผิดชอบดังกล่าวจะมีหน่วยงานและผู้ปฏิบัติรับผิดชอบอยู่แล้วในแต่ละภารกิจ แต่กำหนดให้มีที่ปรึกษาทำงานเต็มเวลาเหมือนเจ้าหน้าที่ของ สปสช.

1.5.4 เอกสารการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาสำหรับปีงบประมาณ 2551 และ 2552 ไม่สมบูรณ์

จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทั้ง 3 คน ชี้แจงว่า รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่การประเมินผลใช้มติการประชุมของคณะกรรมการนโยบายทรัพยากรบุคคลที่ประกอบด้วยคณะกรรมการ 4 คน คือ เลขาธิการ และรองเลขาธิการ 3 คน แต่การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวไม่เป็นทางการ และไม่ได้จัดทำรายงานการประชุม การต่อสัญญาที่ปรึกษาใช้การแจ้งผลการลงมติของคณะกรรมการดังกล่าวที่แจ้งให้สำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลงด้วยวาจาไม่มีการแจ้งผลการลงมติเป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ตามแม้ว่าในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาจะระบุว่ารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แต่รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติการของที่ปรึกษาในลักษณะดังกล่าวไม่เหมาะสมเนื่องจากไม่มีหลักฐานการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นทางการ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2552 สปสช. จึงมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาอาวุโสประจำปีงบประมาณ 2551 เป็นลายลักษณ์อักษรแต่พิจารณาจากเอกสารรายงานผลการประเมินพบว่าไม่มีการลงวันที่ที่ทำการประเมินผลและลายมือชื่อรับทราบผลการประเมินซึ่งระบุไว้ในแบบฟอร์ม ต่อมา
ในปีงบประมาณ 2552 ได้มีการปรับแบบฟอร์มประเมินผลงานที่ปรึกษาใหม่ โดยในแบบฟอร์มไม่มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการประเมินจึงถือว่าเป็นการจัดทำเอกสารที่ไม่สมบูรณ์
.........................................................................................

8398
1.4 การใช้จ่ายเงินบางรายการเป็นไปโดยไม่ประหยัด
จากการวิเคราะห์รายการค่าใช้จ่ายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่ามีการใช้จ่ายเงินโดยไม่ประหยัด กล่าวคือมีการเลือกเบิกค่าพาหนะเดินทางประเภทรถส่วนตัวมากกว่าการเบิกค่าพาหนะประจำทาง การเบิกค่าเครื่องบินไม่เป็นไปตามประกาศที่ สปสช. กำหนด และการเบิกเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางที่ซ้ำซ้อนกับค่าอาหาร โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.4.1 การเดินทางโดยเครื่องบินไม่เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดประกาศฯ กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานตำแหน่งอื่น ๆ ตั้งแต่ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักลงมาสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็น แต่จากการตรวจสอบพบว่า การเดินทางโดยเครื่องบินของผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานตำแหน่งอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือรองผู้อำนวยการสำนัก หากเป็นการเดินทางมาจากจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสนามบินภายในประเทศแล้ว ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมประชุมจะเดินทางโดยเครื่องบินและการขอเบิกค่าโดยสารเครื่องบินทุกรายการไม่ได้ระบุถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบิน ไม่ว่าการเดินทางดังกล่าวนั้นจะได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการพื้นที่สาขาเขตหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างปรากฏดังตาราง
ตัวอย่างโครงการและจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เดินทางโดยเครื่องบินโดยไม่ประหยัดและไม่ได้ระบุเหตุผลความจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2552

ที่มา : เอกสารประกอบการเบิกค่าใช้จ่ายในการประชุมอบรมสัมมนา สำนักบริหารการเงิน สปสช.

1.4.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทาง
การจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางในการจัดประชุมอบรมสัมมนาถือปฏิบัติตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยในการเข้าร่วมประชุมอบรมสัมมนาเมื่อมีการจัดอาหารเลี้ยงก็ยังคงเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้เต็มสิทธิ แต่จากระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 ข้อ 20 ได้กำหนดกรณีที่มีการจัดอาหารให้แก่ผู้เข้าประชุมอบรมสัมมนาที่ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงด้วยนั้น ให้หักค่าเบี้ยเลี้ยงได้ในอัตรามื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายต่อวัน แต่ประกาศของ สปสช. ดังกล่าวไม่ได้วางหลักเกณฑ์ข้อนี้ไว้ทำให้หน่วยงานมีการเบิกค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน เนื่องจากผู้เข้าประชุมอบรมสัมมนาจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเต็มจำนวนแม้ในการอบรมดังกล่าวจะได้มีการจัดอาหารให้ครบทุกมื้อแล้วก็ตาม
...




8399
1.3 การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน และลูกจ้างไม่เหมาะสม

สปสช. เริ่มมีนโยบายให้จ่ายเงินโบนัสให้เจ้าหน้าที่ของ สปสช. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 การจ่ายเงินโบนัสพิจารณาจากผลการดำเนินงานในภาพรวมของ สปสช. ซึ่งประเมินโดยบริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (Thai Rating & Information Service Co., Ltd. : TRIS ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทริส คอร์ปอชั่น จำกัด TRIS Corporation Limited หรือ ทริส (TRIS)) และจากมติของคณะกรรมการกำหนดกรอบวงเงินโบนัสจากการประเมินผลงานในภาพรวมโดย ทริส ซึ่งแบ่งผลงานออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับ A คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 81 ได้รับกรอบเงินโบนัสร้อยละ 12 ของเงินเดือน
ระดับ B คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 71 - 80 ได้รับกรอบเงินโบนัสร้อยละ 8 ของเงินเดือน และ
ระดับ C คะแนนระหว่างร้อยละ 60 - 70 ได้รับกรอบวงเงินโบนัสร้อยละ 4 ของเงินเดือน
โดยมีแนวทางและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัส ที่ประกอบด้วยการพิจารณาผลการปฏิบัติงานดังนี้
ส่วนที่ 1 ให้เจ้าหน้าที่ของ สปสช. ทุกสำนักทุกคนเท่า ๆ กัน ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ช่วยผลักดันเป้าหมายของ สปสช. ให้บรรลุเป้าหมาย
ส่วนที่ 2 จัดสรรให้สำนักไม่เท่ากัน โดยให้ตามผลงานของสำนัก และทุกคนในสำนักเดียวกันได้เท่ากัน ในฐานะเป็นหนึ่งของทีมสำนัก และรับผิดชอบต่อผลงานของสำนักร่วมกัน
ส่วนที่ 3 ให้แต่ละคนไม่เท่ากันโดยให้ตามผลงานส่วนบุคคล

ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 - 2552 การประเมินผลงานของ สปสช. โดยรวมที่ประเมินโดยทริสนั้น สปสช. มีผลงานอยู่ในระดับ A ทั้ง 5 ปี โดยมีคะแนนระหว่าง 90.95 - 93.80 โดยมีรายละเอียดผลการประเมินแต่ละปีงบประมาณปรากฏดังตาราง


จากผลการประเมินผลการดำเนินงานโดยทริสตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 - 2552 สปสช. จึงมีการจ่ายเงินโบนัส ให้แก่เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 - 2552 จ่ายเงินโบนัสให้พนักงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 - 2552 และจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552เป็นต้นมา ปรากฏดังตาราง


หมายเหตุ :
1. ปีงบประมาณ 2548 - 2551 สปสช. มีการจ้างบุคคลปฏิบัติงานใช้ชื่อเรียกว่า “พนักงาน” ต่อมาในปีงบประมาณ 2552 มีการปรับจากพนักงานเป็นเจ้าหน้าที่ประมาณ 150 ตำแหน่ง และที่เหลือบางส่วนปรับเป็นลูกจ้างทำให้ปีงบประมาณ 2552 มีเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นมาก

2. ปีงบประมาณ 2548 - 2549 มีพนักงานจำนวน 158 คน และ 204 คน ตามลำดับ แต่ไม่มีการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) และ สปสช. จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้แก่พนักงานในปีงบประมาณ 2550 - 2551 เป็นเงินจำนวน 2,751,615.00 บาท

3. ปีงบประมาณ 2552 จ่ายเงินโบนัสเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 

จากการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลการจ่ายเงินโบนัสให้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน และลูกจ้างของ สปสช. พบว่าไม่ได้นำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนต่อคณะกรรมการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.3.1   ในปีงบประมาณ 2549 การจ่ายเงินโบนัสของ สปสช. เป็นการจ่ายโดยไม่มีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการ ซึ่ง สปสช. จ่ายเงินโบนัสให้เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง เป็นจำนวนเงิน 18,702,836.00 บาท โดย สปสช. นำมติคณะกรรมการเรื่องการจ่ายโบนัสในปีงบประมาณ 2548 มาใช้สำหรับการจ่ายโบนัสในปีงบประมาณ 2549 ในขณะที่ปีอื่น ๆ จะมีมติคณะกรรมการอนุมัติให้จ่าย

1.3.2   ในปีงบประมาณ 2550 - 2551 สปสช. จ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ สปสช. จ้างตามข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2546 ข้อ 15 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นลูกจ้างของ สปสช. แต่เป็นพนักงานจ้างเหมาเฉพาะกรณี ซึ่งจากการสอบถามเลขาธิการ สปสช. ชี้แจงว่าพนักงานสามารถได้รับค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงาน (ลูกจ้างสัญญาจ้าง) พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 ข้อ 11 พนักงานนอกจากได้รับค่าจ้างตามอัตราจ้างแล้วอาจได้รับเงินค่าตอบแทนอื่น เงินเพิ่มพิเศษ ค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายอื่น สวัสดิการ การสงเคราะห์และประโยชน์เกื้อกูล ตามที่คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลกำหนด การจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานในปีงบประมาณ 2550 - 2551 จำนวน 2,751,615.00 บาท นั้นเป็นการจ่ายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดนโยบายบริหารทรัพยากรบุคคล และไม่ได้นำเสนอการจ่ายโบนัสให้พนักงานเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการทำให้คณะกรรมการยังไม่ได้พิจารณาว่าการจ่ายโบนัสให้พนักงานถูกต้องตามแนวทางหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสที่คณะกรรมการกำหนด
...

8400
ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ

จากการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ใช้งบบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (งบบริหาร) และงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (งบกองทุน) พบว่า การบริหารจัดการยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมในหลายประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1   การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด
ประเด็นที่ 2   การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ประเด็นที่ 3   การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงิน สวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม
ประเด็นที่ 4   การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ประเด็นที่ 5   ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Job Specification)
ประเด็นที่ 6   การใช้จ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ที่กำหนดในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ประเด็นที่ 7   การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เป็นไปตามที่คู่มือกำหนด

รายละเอียดแต่ละประเด็นข้อตรวจพบมีดังนี้

ประเด็นที่ 1    การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด
จากการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินจากงบบริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่ามีการจ่ายเงินไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด ดังนี้
1.1 การปรับอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี

จากการตรวจสอบสัญญาจ้างเลขาธิการ สปสช. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 - 2553 พบว่าไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
เลขาธิการ สปสช. คนปัจจุบัน เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 ในอัตราค่าจ้างเดือนละ 171,600.00 บาท และเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 42,900.00 บาท ต่อมาเมื่อมีการประเมินผลการปฏิบัติงานปีที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2551 - 31 มีนาคม 2552 คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นเดือนละ 200,000.00 บาท และเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 50,000.00 บาท

จากกรณีข้างต้นในช่วงเวลาปฏิบัติงาน 1 ปี เลขาธิการได้รับการปรับเงินเดือนจากอัตราเดือนละ 171,600.00 บาท เป็นเดือนละ 200,000.00 บาท หรือเป็นกรอบอัตราสูงสุดของกรอบเงินเดือนเลขาธิการตามมติ ครม. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.55 ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของการได้รับเงินเดือนของเลขาธิการ ตามมติ ครม.ที่กำหนดว่า “การกำหนดอัตราค่าตอบแทนพื้นฐานในส่วนของเงินเดือนประจำในระยะเริ่มแรกไม่ควรกำหนดไว้ให้ใกล้เคียงกับขั้นสูงสุดเพื่อให้สามารถปรับอัตราค่าตอบแทนพื้นฐาน (เงินเดือน) ได้ตามผลงานเป็นระยะ ๆ ตลอดอายุสัญญา” ดังนั้นการกำหนดอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการจากการปฏิบัติงานปีแรกแล้วปรับเป็นอัตราสูงสุดตามกรอบถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี

1.2 การจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบ 4 คน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 และมีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบชุดใหม่มีจำนวน 5 คน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือน หรือค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบโดยให้ประธานอนุกรรมการได้รับเดือนละ 20,000.00 บาท และอนุกรรมการได้รับคนละ 16,000.00 บาทต่อเดือน
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนฯ หลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมฯ และการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชน โดยมติคณะรัฐมนตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบอัตราเงินเดือนและประโยชน์
ตอบแทนอื่นและเบี้ยประชุม ให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะให้อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเบี้ยประชุมของประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ และมีการจ่ายจริง ดังนี้

1.2.1   สปสช. เป็นองค์การมหาชนในกลุ่มที่ 3 กำหนดอัตราเบี้ยประชุมกรรมการขั้นต่ำและขั้นสูงเท่ากับ 6,000.00 - 12,000.00 บาท จากการตรวจสอบพบว่ากรรมการได้รับเบี้ยประชุมคนละ 12,000.00 บาทต่อเดือน
1.2.2   ประธานกรรมการให้ได้รับอัตราสูงกว่ากรรมการร้อยละ 25 ดังนั้น ขั้นต่ำและขั้นสูงของประธานกรรมการเท่ากับ 7,500.00 - 15,000.00 บาท จากการตรวจสอบพบว่าประธานกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเดือนละ 15,000.00 บาท
1.2.3   อนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของอัตราเบี้ยประชุมกรรมการ ดังนั้นจากข้อมูลตามข้อ 1.2.1 อนุกรรมการตรวจสอบจะได้รับเบี้ยประชุมในอัตราสูงสุดไม่เกินคนละ 6,000.00 บาทต่อเดือน จากการตรวจสอบพบว่าอนุกรรมการตรวจสอบยังคงได้รับเบี้ยประชุมในอัตราคนละ 16,000.00 บาทต่อเดือน
1.2.4   ประธานอนุกรรมการให้ได้รับในอัตราสูงกว่าอนุกรรมการร้อยละ 25 ดังนั้นจากข้อมูลตามข้อ 1.2.2 ประธานอนุกรรมการตรวจสอบจะได้รับเบี้ยประชุมในอัตราสูงสุดไม่เกินเดือนละ 7,500.00 บาท จากการตรวจสอบประธานอนุกรรมการตรวจสอบยังคงได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดือนละ 20,000.00 บาท

กล่าวโดยสรุปตั้งแต่มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 กันยายน 2547 ถึงปัจจุบันเดือนมีนาคม 2553 เป็นระยะเวลา 5 ปี 6 เดือนที่ สปสช. จ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบสูงเกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นเงินจำนวน 3,105,000.00 บาท ปรากฏดังตาราง


หมายเหตุ :    
1. อัตราเบี้ยประชุมที่ควรได้รับ หมายถึง อัตราเบี้ยประชุมที่คำนวณมาจากฐานอัตราเบี้ยประชุมของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือครึ่งหนึ่งของอัตราเบี้ยประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2. รวมเบี้ยประชุมที่จ่ายสูงเกินไปใช้ระยะเวลาคำนวณ 5 ปี 6 เดือน หรือ 66 เดือน (1 ตุลาคม 2547 – 31 มีนาคม 2553)
3. คณะอนุกรรมการชุดที่ 1 มีอนุกรรมการจำนวน 3 คน คำสั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546  คำนวณการประชุมตั้งแต่มีมติคณะรัฐมนตรี (เดือนตุลาคม 2547) ถึงวันที่ได้อนุกรรมการชุดที่ 2 (เดือนกันยายน 2550) เป็นระยะเวลา 36 เดือน
4. คณะอนุกรรมการชุดที่ 2 มีอนุกรรมการจำนวน 4 คน คำสั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 คำนวณการประชุมตั้งแต่มีคำสั่งแต่งตั้งเดือนตุลาคม 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2553 เป็นระยะเวลา 30 เดือน
...

หน้า: 1 ... 558 559 [560] 561 562 ... 653