แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 559 560 [561] 562 563 ... 648
8401
แนวคิดของกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับค่าตอบแทน แบ่งเป็น ๓ ส่วน (แต่ไม่รู้ว่าจะเอาจริงหรือเปล่า...)



ส่วนแรก ...เงินเดือน
แพทย์จบใหม่ จะได้เงินเดือนในแท่งวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ประมาณหมื่นกว่าๆ แต่เอกชน (ไม่ว่าจะเป็นคลินิกเกี่ยวกับความงามที่มีเป็นดอกเห็ด) จะได้ระดับแสนต่อเดือน


ส่วนที่สอง ...พื้นที่พิเศษ และความขาดแคลน
ความสำคัญอยู่ที่ พื้นที่ไหน คือ พื้นที่พิเศษ ใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์ เป็นที่ยอมรับกันได้หรือเปล่า หรือคิดเอาเองเหมือนที่ผ่านมา ลองมาดูหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังใช้ในการกำหนดพื้นที่พิเศษ(ใช้กันทุกกระทรวง... นอกจากสาธารณสุข) คือ พระราชกฤษฎิกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ



หลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในมาตรา ๖


เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ น่าสนใจ


การประเมินว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษ ใช้แบบประเมินนี้

8402
ระพี ชี้น้ำท่วม 2485 รุนแรงกว่าแนะอย่าคิดเอาชนะธรรมชาติ

ระพี สาคริก ระบุน้ำท่วมปี 2485 รุนแรงกว่า 2554 ย้ำไม่เคยมีมนุษย์หน้าไหนชนะธรรมชาติ แถมน้ำท่วมครั้งนี้เพิ่มขยะใหม่คือ จิตใจมนุษย์
ศ.ระพี สาคริก ได้เขียนบทความ"อ่านจิตใจมนุษย์ผ่านวิกฤติน้ำท่วม" ตีพิมพ์ในคมชัดลึกฉบับ 14 พ.ย.2554 ระบุว่า

เธอที่รักของฉัน ฉันนั่งพิจารณาดูเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้แล้วรู้สึกว่ามันเกิดเรื่องราวขึ้นเพราะมนุษย์มีความเห็นแก่ตัวสูง เหตุผลก็คือ ในอดีตที่ผ่านมา คนไทยส่วนใหญ่ขาดความรักความสามัคคีซึ่งกันและกัน แม้น้ำท่วมครั้งนี้ จะรวมตัวกันก็ตามแต่ก็คงประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น

หวลกลับไปนึกถึงการพัฒนาชนบทของไทยเท่าที่ผ่านมาแล้ว ฉันกล้าพูดว่ามันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ถ้าจะเปรียบเทียบน้ำท่วมครั้งนี้กับเมื่อปี พ.ศ.2485 แล้ว ครั้งก่อนมันมากกว่านี้ ที่ฉันกล้าพูดก็เพราะว่า ตนเองอยู่ในเหตุการณ์มาตลอดหนึ่งเดือนเต็มๆ

แต่สังคมในครั้งนั้น บรรยากาศในกรุงเทพฯ ก็ยังไม่มีคนแออัดเหมือนเดี๋ยวนี้ ฉันเฝ้าสังเกตดูกรุงเทพฯ มาตลอด และพูดมานานแล้วว่า การพัฒนาชนบทมันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ตัวบ่งชี้ก็คือ แผงลอยข้างถนนมันแน่นขนัดยิ่งขึ้นทุกวัน

แม้แต่นั่งรถแท็กซี่ ฉันก็ชอบที่จะถามว่ามาจากจังหวัดไหน ส่วนใหญ่ก็มักจะอพยพมาจากภาคอีสาน เรื่องมีขโมยขโจนในกรุงเทพฯ แต่ก่อนมันก็ไม่มี ทุกคนกล้าเดินกลางคืนบนถนนหนทางได้อย่างมีความสุข และยังมีอีกหลายเรื่องที่สังเกตให้เห็นได้ว่ามีคนอพยพมาจากต่างจังหวัด

แม้แต่ปัญหาชุมชนแออัด ซึ่งครั้งหนึ่งในช่วง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เคยเชิญให้ฉันและคุณหมอประเวศ วะสี ไปปรึกษาเพื่อคิดวิธีแก้ไขปัญหา

ครั้นคุยกันไปได้พักหนึ่ง เราก็บอกว่า การแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ นั้นจะต้องคิดแก้ไขในต่างจังหวัด ความจริงเรื่องนั้น ก็คือหลักธรรม ที่ว่า ถ้าเกิดปัญหาขึ้นที่ไหน ก็ควรหวนกลับไปแก้ไขอีกด้านหนึ่ง

สรุปแล้ว การแก้ไขปัญหาในชนบท คนกรุงเทพฯ จะต้องมีใจกว้างและมีความเมตตา กรุณา ต่อคนที่อยู่ต่ำกว่าเรา
 นอกจากนั้น คนไทยส่วนใหญ่ เห่อความมีหน้ามีตา มีรถยนต์หรูๆ ราคาแพง และยังนิยมเล่นพรรคเล่นพวก แทนที่จะมีจิตใจซื่อสัตย์ สุจริต จึงทำให้แม้แต่การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด เราก็ยังแก้ไม่ตก

เมื่อด้านหนึ่งมันเพิ่มขึ้น อีกด้านหนึ่งมันก็ย่อมเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นเมื่อมีวัตถุเพิ่มขึ้น จิตใจคนมันก็ยิ่งโลภมาก ได้เท่านี้ยังจะเอาเท่านั้นแล้วเราจะมาพูดเรื่องความพอเพียง ก็คงจะพูดได้แต่ปาก

ประชากรในกรุงเทพฯ ซึ่งขาดการศึกษาที่ดี ย่อมมีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น มีอะไรนิดหน่อยก็จะทะเลาะเบาะแว้งกัน จนกระทั่งบางครั้งถึงกับฆ่ากันเอง แม้แต่อยู่ในซอยเดียวกัน ก็ไม่พูดกัน บ้านไหนมาก่อนก็ย่อมเคราะห์ร้าย เพราะถมดินแข่งกัน ต่างคนต่างสูงยิ่งขึ้นไปทุกที

ส่วนน้ำที่ไหลมามันตรงไปตรงมา ดังนั้นจึงหาทางออกได้ยาก ถ้าฉันจะพูดว่า คนไทยส่วนใหญ่ใจแคบจึงปิดทางน้ำให้มันเดิน นี่แหละ คือบาปกรรมที่ทำเอาไว้ เสมือนเราจับน้ำมาขังคุก

ฉันเชื่อว่าไม่เคยมีมนุษย์หน้าไหนเอาชนะอิทธิพลธรรมชาติได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมนุษย์กำแหงก็คงต้องรับกรรมแบบนี้ ยิ่งคนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยลืมง่ายด้วยแล้ว แม้น้ำท่วมหนักขนาดนี้ ก็คงไม่รู้ว่าสาเหตุมันมาจากไหน

บางคนพูดว่าตัวเองไม่ได้ทำกรรมไว้ แต่เหตุไฉนจึงต้องมารับกรรม ความจริงชีวิตของทุกคนย่อมมีกรรมด้วยกันทั้งนั้น เว้นไว้แต่ว่ามีมากมีน้อย และโดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อทำอะไรผิดเอาไว้ก็มักไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเราจึงควรอยู่อย่างยอมรับความจริงน่าจะดีกว่า

สรุปแล้ว น้ำท่วมครั้งนี้ย่อมมีขยะใหม่ขึ้นมาให้เราได้เห็น แต่ขยะตัวจริงนั้นไม่ใช่สิ่งสกปรกในน้ำ หากแต่เป็นจิตใจของมนุษย์นี่แหละ

ความจริงแล้วขยะที่อยู่ในน้ำนั้น ไม่มีตัวตนให้ต้องไปยึดติด ที่ฉันพูดว่าไม่มีตัวตน ก็เพราะเหตุว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ามนุษย์มีปัญญาที่จะใช้ให้หมด มันก็คงไม่มีขยะหลงเหลืออยู่อีก

แม้แต่พ่อฉันก็เคยสอนว่า เวลากินข้าวอย่าเหลือข้าวสุกติดก้นจาน นี่ก็เป็นสัจธรรม ซึ่งฉันคิดว่ามันคือสมบัติอันล้ำค่า ที่ฉันได้รับมาจากพ่อ

เพราะฉะนั้นน้ำท่วมครั้งนี้โปรดอย่าโทษน้ำเลย ขอให้หวนกลับมาพิจารณาที่มนุษย์น่าจะดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตัวเราเอง

คมชัดลึก/ฉบับ 14พ.ย.2554

8403
สธ.​เร่ง​เอกซ​เรย์ พื้นที่หลังน้ำลดป้องกัน​โรคระบาด คุม​เข้มน้ำ​เน่าที่ท่วมขัง​และขยะ ​เล็งงัด กม.สิ่ง​แวดล้อมมาบังคับ ​ใช้​ใน​เขตกรุง​เทพฯ ​และปริมณฑล

นายต่อพงษ์ ​ไชยสาส์น รัฐ มนตรีช่วยว่า​การกระทรวงสาธารณ สุข (สธ.) กล่าวภายหลัง​การประ ชุม​ผู้บริหารระดับสูง สธ.ว่าตน​ได้สั่งกำชับ​ให้​เจ้าหน้าที่สาธารณสุข​เอกซ​เรย์พื้นที่น้ำลดทุกตำบลทุกจังหวัด ​เพื่อ​เฝ้าระวัง​โรคระบาด หลังน้ำลด หน่วยงานที่ต้องปฏิบัติ หน้าที่​เฝ้าระวัง​ได้​แก่ กรมอนามัย, กรมวิทยาศาสตร์​การ​แพทย์, สำนักงานคณะกรรม​การอาหาร​และยา, กรมสนับสนุนบริ​การสุขภาพ ​ซึ่งมีอสม.ทุกหมู่บ้านดำ ​เนิน​การสำรวจข้อมูล​ในสถาน ​การณ์พื้นที่จริง รวม​ทั้งสิ่งที่จะก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสี่ยงของ​โรคระบาด ​เพื่อนำข้อมูลมาวิ​เคราะห์​เชิงลึก ​และวาง​แผน​ความพร้อมป้อง กันควบคุมอย่าง​เข้มข้น​ไม่​ให้​เกิด​โรคระบาด ​และหากจำ​เป็น​ให้นำกฎหมาย พ.ร.บ.​การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ​ซึ่งอยู่​ใน​ความดู​แลของ สธ. มา​ใช้​เพื่อจัด​การปัญหาสิ่ง​แวดล้อมภายหลังน้ำท่วม ​เพื่อ​ให้​การควบคุม​โรคบรรลุ​เป้าหมาย ​โดย​เฉพาะปัญหาขยะ​และน้ำ​เน่า​เสีย ​ซึ่งมีจำนวนมาก​โดย​เฉพาะ​ในพื้นที่ กทม.​และปริมณฑล

นอกจากนี้ สถาน​การณ์น้ำท่วมจะสร้าง​ความ​เสียหาย​ให้ กับหน่วยบริ​การสาธารณสุข​เป็น จำนวนมาก ​ซึ่งคาดว่าจะต้อง​ใช้งบประมาณ​ใน​การฟื้นฟูจำนวน 660 ล้านบาท ​โดย​เงินจำนวนดัง กล่าวจะขอจากงบประมาณกลาง ประมาณ 400 ล้านบาท​เพื่อดู​แล พื้นที่หลัก ​เช่นที่ รพ.พระนคร ศรีอยุธยา, รพ.พระนั่ง​เกล้า ​และจะของบประมาณจากสำนักงานคณะกรรม​การหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) ประมาณ 250 ล้านบาท ​เพื่อดู​แลฟื้นฟู รพ.ส่ง​เสริมสุขภาพตำบล, สถานีอนามัย

นพ.​ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าวว่า ขณะนี้ สธ.​ได้จัด​ทำ​แผนพื้นฟูหลังน้ำลด​ทั้งหมด​แล้ว วัตถุประสงค์หลักคือ ป้องกัน​ไม่​ให้​เกิด​โรคระบาดที่สำคัญ 10 ​โรค ​เช่น ​โรคอุจจาระร่วง, ​โรคฉี่หนู, ​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่ ​และ​โรคตา​แดง ​เป็นต้น.

ไทย​โพสต์  17 พฤศจิกายน 2554

8404
  วันนี้ (17 พ.ย.) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการแถลงข่าว การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการผนึกกำลัง ร่วมใจสู้ภัยน้ำท่วม ว่าสธ. และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เพื่อการเยียวยาจิตใจประชาชนในสถานการณ์ภัยพิบัติ ได้ร่วมมือกันในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อการเยียวยาฟื้นฟูจิตใจประชาชนให้มีความเข้มแข็ง ทั้งนี้ เชื่อว่า กอ.รมน.มีบุคลากรเครือข่ายและทีมงานที่สามารถสื่อสารในระดับท้องถิ่น กระจายอยู่ใน 76 จังหวัด ซึ่งจะสามารถเป็นกำลังสำคัญในการ เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในการมองด้านดีๆ และจะสามารถเยียวยาและฟื้นฟูความเข้มแข็งทางจิตใจให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่ประสบภัยมากยิ่งขึ้น
       
       พล.ต.ฦๅชา มั่นศุข รองผู้อำนวยการสำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน.กล่าวว่า ด้วยกองรมน.เป็นองค์กรหนึ่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคงรวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นเพื่อป้องกันภัยและให้การช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะในขณะนี้ เกิดอุทุกภัยในหลายจังหวัดส่งผลทั้งความเป็นอยู่และจิตใจ ด้วย กอ.รมน.มีเครือข่ายการดำเนินงานครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ หากเครือข่ายได้รับการอบรมเพิ่มความรู้ด้านสุขภาพจิตเพื่อเยียวยาจิตใจและความรู้สำหรับถ่ายทอดต่อแก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดที่สะสมของผู้ประสบภัยได้ และสร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่ทั้งสองฝ่าย
       
       ด้าน นพ.เกียรติภูมิ  วงศ์รจิต  รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การจัดโครงการครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 2 ระดับ ได้แก่

1.เพื่อสร้างสื่อบุคคลส่งผ่านความช่วยเหลือด้านจิตใจให้กับเครือข่าย กอ.รมน.จำนวน 150 คนสำหรับถ่ายทอดขยายผลความรู้และแนวทางปฏิบัติในการเยียวยาจิตใจให้ผู้ประสบภัย วิธรการประเมินสุขภาพจิต การดูแลจิตใจรวมทั้งเทคนิคการผ่อนคลายความเครียดในรูปแบบต่างแก้ผู้ปฏิบัติงาน

2.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผ่อนคลายความเครียดและการสร้างความมั่นคงทางจิตใจของกรมสุขภาพจิตสู้ประชาชนผ่านสถานีวิทยุในสังกัด กอ.รมน.ที่มีมากกว่า 700 แห่งทั่วประเทศ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 พฤศจิกายน 2554

8405
 แพทย์ห่วงทหารใจดี ช่วยประชาชนช่วงน้ำท่วม แช่น้ำนานเท้าอาจเน่า-ติดเชื้อในอวัยวะเพศ ขณะที่ทหารหลายรายมีอาการติดเชื้อที่บริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ และ บางคนมีภาวะบวมแดงติดเชื้อที่อัณฑะ ชี้ หากดูแลไม่ดีเสี่ยงเป็นหนอง
       
       วานนี้ (16 พ.ย.) พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังจากรับมอบยาสำหรับทาแผลติดเชื้อฟิวิดีนครีม และยาหยอดตาฟิวซิทาลมิค ของบริษัท LEO Pharma ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเวชภัณฑ์ยาที่เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังสำหรับผู้ป่วยวิกฤตจากประเทศเดนมาร์ก มูลค่ากว่า 1.2 ล้านบาท ว่า จากการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม พบว่า ขณะนี้ ตัวเลขของผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางผิวหนัง ที่เกิดจากการลุยน้ำเป็นเวลานาน รวมทั้งถูกของมีคมบาด จนเป็นแผลเพิ่มขึ้นอย่างมาก ที่น่าเป็นห่วงอีกกลุ่มหนึ่ง ก็คือ ทหาร เจ้าหน้าที่ และ จิตอาสา ที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นเวลานาน กำลังประสบปัญหาอย่างมาก จากโรคติดเชื้อทางผิวหนัง ซึ่งการติดเชื้อบาดแผลในลักษณะนี้ หากไม่มีการดูแลที่ดีพอ จะเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ทำให้เชื้อโรคที่มากับน้ำเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยเชื้อโรคจะทำให้แผลอักเสบ เกิดการติดเชื้อและอาจลุกลามจนเป็นอันตรายร้ายแรงได้ เนื่องจากกระแสน้ำ พัดพาสิ่งสกปรก เชื้อโรค ของเสียและสารเคมีกระจายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ อย่างมาก

แฟ้มภาพ
       ด้านนพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้รับผิดชอบหน่วยแพทย์และรพ.สนามของกรมการแพทย์ในพื้นที่เขต กทม.กล่าวว่า แหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดแผลติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบ (dermatitis) น้ำกัดเท้า และโรคตาแดง ซึ่งเกิดจากการติดต่อสัมผัสโดยตรงกับน้ำ ที่น่าเป็นห่วงคือ ขณะนี้ ทหารจำนวนหลายสิบรายมีอาการติดเชื้อจากแผลน้ำกัด และแผลที่ถูกของมีคมบาด อีกทั้งในบางพื้นที่ที่น้ำท่วมสูงในระดับเอว หรือ อก พบว่า ทหารหลายรายมีอาการติดเชื้อที่บริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ และ บางคนมีภาวะบวมแดงติดเชื้อที่อัณฑะ ซึ่งถือว่าอันตรายมาก ที่สำคัญ ทหารเหล่านี้เหน็ดเหนื่อยกับการทำงานมานาน อาจไม่มีเวลาพักผ่อน ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ โอกาสที่จะติดเชื้อรุนแรงก็เป็นไปได้สูง ยิ่งหากไม่มีการดูแลที่ดีพอ อาจลุกลามเป็นหนองและมีไข้ร่วมด้วย
       
       ด้านนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัญหาการติดเชื้อที่บาดแผลขณะนี้ พบว่า จำนวนผู้ป่วยเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นหนังกำพร้า โดยได้รับเชื้อมาจากผู้สัมผัส หรือจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เมื่อเกิดรอยข่วน หรือรอยถลอกที่ผิวหนัง แม้แต่เพียงเล็กน้อยก็สามารถเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
       
       ที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ บาดแผลที่ได้รับจากการบาดเจ็บ อาจมีการติดเชื้อที่อาจจะก่อให้เกิดโรคบาดทะยัก เช่น เชื้อ Tetanus เนื่องจากบาดแผลสกปรกมากที่ผ่านมาพบได้ไม่บ่อย แต่ก็เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในช่วงที่น้ำลด อาจมีดิน โคลน หรือน้ำขังเฉอะแฉะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อเหล่านี้ รวมทั้งแบคทีเรียเลปโตสไปรา ที่ทำให้เกิดโรคเลปโตสไปโรซีสหรือโรคฉี่หนูด้วย
       
       ด้านภก.วิรัตน์ โพธิ์ทองคำนธุ์ ผู้จัดการอาวุโสบริษัท LEO Pharma กล่าวว่า ยาที่นำมามอบให้ครั้งนี้ เป็นยาจากต่างประเทศ ที่สามารถฆ่าเชื้อจากการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ ส่วนยาหยอดตา เป็นยาหยอดตาชนิดพิเศษ มีลักษณะเป็นเจลสำหรับใช้รักษาโรคตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากผู้ประสบภัยต้องอยู่กับน้ำที่ไม่สะอาด อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียทีทำให้ตาแดงและตาอักเสบได้ ยาตัวนี้จะช่วยครอบผิวที่ดวงตาพร้อมกับฆ่าเชื้อได้ด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 พฤศจิกายน 2554

8406
กระทรวงสาธารณสุขถือเป็นกระทรวงที่โชคดี แม้ว่าจะเป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมอย่างหนัก ซ้ำหัวน้ำยังจ่ออยู่ตรงแยกพงษ์เพชร ถนนงามวงศ์วาน แต่น้ำก็เดินทางข้ามมาไม่ถึงกระทรวง และไหลไปทางถนนวิภาวดีแทน จึงถูกเรียกเป็นพื้นที่ไข่แดง เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากก้อนน้ำมหาศาลในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่เป็นพื้นที่ระยะประชิด

                ทั้งนี้แม้ว่าที่ตั้งกระทรวงสาธารณสุขจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ต้องยอมรับว่าข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขส่วนใหญ่ต่างมีบ้านเรือน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ซึ่งส่วนใหญ่ต่างประสบปัญหาน้ำท่วมที่เข้าขั้นวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่บางบัวทอง ไทรน้อยและท่าอิฐ เป็นต้น ซึ่งต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และต่างต้องการความช่วยเหลือเบื้องต้นจากหน่วยงานต้นสังกัด ในการดูแลชีวิตเช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น

                แต่ที่ผ่านมากลับได้ยินเสียงบ่นด้วยความน้อยใจจากข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ดังเป็นเสียงเดียวกัน ถึงการไม่ได้รับความเหลียวแลและช่วยเหลือใดๆ จากกระทรวง แม้แต่การจะขอยืมเรือที่จอดไว้เฉยๆ เพื่อรอการติดตั้งเครื่องยนต์ เพียงแค่วันเดียว เพื่อเข้าไปรับพ่อแม่ที่ติดอยู่ในบ้านก็ไม่ได้รับอนุญาตให้หยิบยืม

                ไม่นับรวมกรณีถุงยังชีพและยาที่ควรได้รับ เพราะในฐานะข้าราชการชั้นผู้น้อยที่บ้านถูกน้ำท่วม ย่อมไม่แตกต่างไปจากชาวบ้านที่ประสบภัยเช่นกัน แต่กลับถูกปฏิเสธและให้ขอรับที่ศาลากลางจังหวัดแทน เช่นเดียวกับการช่วยเหลือเบื้องต้นในด้านที่พัก ทำให้ต้องวิ่งไปขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น

                สิ่งเหล่านี้ จึงกลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ในกระทรวงเอง เพราะเหมือนถูกหน่วยงานทอดทิ้งยามเดือดร้อน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปรียบเทียบความช่วยเหลือพนักงานและเจ้าหน้าที่ซึ่งประสบภัยน้ำท่วมของหน่วยงานอื่นๆ

              ปัญหาที่เกิดขึ้น ... จึงน่ามาจากการบริหารจัดการ
  ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่เป็นหน่วยงานดูแลงานด้านการสาธารณสุข และรักษาพยาบาลความเจ็บป่วยของประชาชน โดยเฉพาะในยามที่ช่วงประเทศเกิดภาวะวิกฤติเหตุการณ์ต่างๆ ต้องยอมรับว่า เป็นหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่นี้ได้ดี และในสถานการณ์น้ำท่วมนี้เช่นกัน ภาพที่เห็นจนชินตาผ่านทางสื่อ จึงมีทั้งการออกหน่วยแพทย์ช่วยเหลือชาวบ้าน การรักษาพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งในพื้นที่น้ำท่วมและตามศูนย์อพยพ รวมไปถึงการลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรค ที่ต่างสร้างความประทับใจให้กับชาวบ้านและได้รับเสียงชื่นชม โดยผลงานที่ปรากฏเหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้พลังจากคนในกระทรวงที่ต่างช่วยกันทำหน้าที่

                ดังนั้น ขวัญกำลังใจของคนในหน่วยงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องอย่าลืมที่จะดูแลกัน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554

8407
 ลอสแองเจลิสไทมส์ - ณ ฝั่งตรงกันข้ามกับบ้านของลุงหลี่ สิ่วฉิน ชายวัย 68 ปี ซึ่งอาศัยในหมู่บ้านซุนอี้ ที่กรุงปักกิ่งมาตลอดชีวิตนั้น เป็นที่ตั้งของสวนปลูกผัก ที่ดูผิดสังเกตพิกล มันกั้นอาณาเขตด้วยรั้วสูง 6 ฟุต ตรงปลายเป็นเหล็กแหลม มียามเฝ้าหน้าประตู และเปิดให้เฉพาะรถยนต์บางคันเข้าไป
       
       สถานที่แห่งนั้นเคยมีป้ายติดประกาศว่าเป็น “แหล่งปลูกผักของสำนักงานศุลกากรแห่งปักกิ่งและคันทรี่คลับ” จนกระทั่งเมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ป้ายก็ถูกรื้อออก หลังจากนักข่าวชาวจีนเล็ดลอดเข้าไปข้างใน และรายงานเรื่องราวเกี่ยวกับสวนผักแห่งนี้ ซึ่งผลิตอาหารด้วยวิธีการแบบเกษตรอินทรีย์ ที่ปลอดสารพิษถึงขนาด ที่สามารถเด็ดผลแตงกวาจากต้น มากินได้เลย โดยไม่ต้องนำมาล้างให้สะอาดเสียก่อน
       
       หากเป็นที่อื่นในโลก การมีสวนผักสุดยอดแบบนี้อาจเป็นเรื่อง ที่ต้องนำคุยอวดคุณสมบัติกันใหญ่โต ทว่าไม่มีสิ่งนี้เกิดขึ้นในจีน !
       
       การทำสวนเกษตรอินทรีย์บนแดนมังกรเป็นเรื่อง ที่ต้องเหยียบเอาไว้ อย่าแพร่งพรายเป็นอันขาด เพราะผลผลิต ซึ่งสุดแสนจะสะอาด และปลอดภัยที่สุดเหล่านี้ สุดท้ายปลายทางของมันก็คืออยู่บนโต๊ะอาหารของพวกคนร่ำรวย และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
       
       "สวนนี่สำหรับพวกเจ้าหน้าที่เท่านั้นแหละคุณ เขาปลูกผักปลอดสารพิษ พริกเอย หอมหัวใหญ่เอย ถั่ว ดอกกะหล่ำ แต่ไม่ขายให้ประชาชนหรอก" ลุงหลี่เล่าให้ฟัง
       
       " ชาวบ้านธรรมดาอย่าหวังได้เข้าไปเล้ย" แกว่า
       
       บริษัทผู้ผลิตอาหาร ที่ดีที่สุดหลายรายของจีนก็ไม่เผยแพร่โฆษณา เพราะไม่ต้องการให้สาธารณชนรู้ว่าผลผลิต ที่มีจำกัดนี้ ถูกส่งไปให้เจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์ ส่งไปยังห้องรับประทานอาหารของนักกีฬาชั้นยอด นักการทูตต่างชาติ และคนระดับบนพวกอื่น ๆ
       
       ส่วนประชาชนทั่วไปกินอาหาร ซึ่งนับวันมีแต่สารปนเปื้อนเพิ่มขึ้น หรือถูกสุขอนามัยน้อยลง เช่น เนื้อสัตว์เจือสารสเตียรอยด์ ปลาจากบ่อ ที่ใส่ฮอร์โมนกระตุ้นให้โตไว ๆ หรือนมปนเปื้อนสารเมลามีน
       
       "พวกเจ้าหน้าที่รัฐไม่สนหรอกว่า ชาวบ้านทั่วไปกินอะไร เพราะเขากับครอบครัวมีอาหาร ที่ผลิตป้อนให้เป็นพิเศษเฉพาะ" นายเกา จื้อหยง ซึ่งทำงานกับบริษัทผลิตอาหาร ซึ่งเป็นของรัฐ และเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ ระบุ
       
       ในเมืองจีนนั้น การจัดส่งเสบียงอาหาร ซึ่งทำขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะ มีมาตั้งแต่ยุคต้น ๆ ในสมัยการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ และมีหน่วยผลิตอาหาร คอยจัดสรรให้ตามฐานะตำแหน่ง
       
       "พวกผู้นำต้องการให้แน่ใจว่าพวกเขามีอาหารกินเพียงพอ และอาหารไม่ถูกใส่ยาพิษ" นายเกาอธิบาย
       
       ในหนังสือชีวประวัติของท่านประธานเหมา เจ๋อตง ซึ่งแต่งโดยนายแพทย์ประจำตัวของเขาเล่าว่า ในช่วงทศวรรษ 1950 ที่ปรึกษาชาวโซเวียตได้ช่วยจีนจัดตั้งแผนกจัดส่งอาหาร โดยมีเครื่องไม้เครื่องมือตรวจตราความปลอดภัยพร้อมสรรพสำหรับพวกผู้นำ
       
       การปันส่วนอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับล่าง มีการแบ่งระดับของเจ้าหน้าที่ออกเป็น 25 ระดับ คุณภาพและปริมาณอาหารในการปันส่วนก็ลดหลั่นกันไปตามระดับ
       
       ครั้นมาถึงยุคปัจจุบัน ระบบการส่งป้อนอาหารพิเศษเฉพาะสำหรับชนชั้นสูงแดนมังกรเกิดขึ้นในสภาพการณ์ ที่สิ่งแวดล้อมกำลังเสื่อมโทรม และการผลิตอาหารปลอดสารพิษมีอย่างจำกัด
       
       Phelim Kine เจ้าหน้าที่ของกลุ่มฮิวแมน ไรตส ว็อตช์ ประจำฮ่องกงระบุว่า มีคนกลุ่มเดียวในสังคมจีนที่ได้กินอาหาร ที่เชื่อถือได้ว่าปลอดภัยก็คือพวกเจ้าหน้าที่ในพรรคคอมมิวนิสต์
       
       ในกรุงปักกิ่ง ฟาร์มผลิตอาหารจำหน่ายสำหรับลูกค้ากลุ่มพิเศษนั้นตั้งอยู่ใกล้กับสนามบิน ซึ่งเป็นละแวกอาศัยขอชาวต่างชาติ ที่ร่ำรวย มีโรงเรียนนานาชาติตั้งอยู่หลายแห่ง ส่วนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเป็นย่านผู้คนอาศัยแออัด เหม็นกลิ่นควันพิษ และการจราจรบนท้องถนนจอแจคับคั่ง
       
       ตรงเชิงเขาทางด้านตะวันตกเป็นที่ตั้งของฟาร์มจี้ซาน ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีปลูกพืชผักป้อนให้แก่ห้องครัวส่วนตัวของท่านประธานเหมา ปัจจุบัน ยังดำเนินการภายใต้การอุปถัมภ์ของแคปปิตอลอะกริบิสซิเนส กรุ๊ป ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่จัดหาอาหารสำหรับการประชุมต่าง ๆ ในระดับชาติ
       
       ด้านคณะรัฐมนตรีของจีนเองก็มีผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารส่งให้โดยเฉพาะ ตั้งแต่อาหารชนิด ที่มีราคาแพง ไปจนถึงอาหารประเภทไข่เป็ดเค็ม
       
       โฆษกของบริษัทเว่ยซานหูโลตัสฟู้ด ในมณฑลชานตงระบุว่า ทางบริษัทจัดส่งอาหารให้คณะรัฐมนตรีมานานเกือบ 20 ปีแล้ว
       
       "ผลิตภัณฑ์ของเราหาซื้อในร้านซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปไม่ได้ เพราะปริมาณการผลิตของเราน้อยมาก" โฆษกเปิดเผย
       
       นอกจากนั้น เกษตรกร ซึ่งทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์หลายรายยังถูกกดดันให้จำหน่ายผลผลิต ที่มีจำกัดของตนให้แก่ทางการ
       
       "รัฐบาลอยากให้เราป้อนผลผลิตให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐมากขึ้น แต่เราคิดว่าการที่ผู้คนทั่วไปจะได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของเราก็เป็นเรื่องที่สำคัญ" นายหวัง จ้านหลี่ เจ้าของโรงผลิตนมโคเกษตรอินทรีย์ "กรีน ยาร์ด" ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรรับรองเมื่อปี 2549 ตั้งอยู่ในย่านหยานชิงของกรุงปักกิ่งกล่าวในตอนท้าย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 พฤศจิกายน 2554

8408
สำรวจ โครงสร้างโรงพยาบาล "เฉพาะกิจ" เพื่อคอยดูแลสุขภาพของผู้ประสบภัย ทั้ง หมอ พยาบาล อาจารย์ และนักศึกษา ต่างช่วยกัน "รันระบบ" ให้ไม่แพ้โรงพยาบาลจริงๆ ที่จมน้ำอยู่

ความเคลื่อนไหวของผู้คนกว่าครึ่งพัน ทำให้ "บริเวณ" ของอาคารกองกิจการนักศึกษา ในรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ดูเล็กลงไปถนัดตา

นับตั้งแต่ที่นี่ประกาศตัวเป็น "ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัย" เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2554 จนมาถึงวันนี้ ก็ยังมีผู้คนเดินทางเข้ามา "หลบน้ำ" อย่างต่อเนื่อง

ทั้ง "บ้านใกล้" อย่าง อ.บางเลน อ.นครชัยศรี หรือ "เรือนเคียง" จากฝั่งธนฯ กรุงเทพฯ และปทุมธานี

อาคาร 4 ชั้น กินพื้นที่ไปถึงสนามหญ้า ลานดินโดยรอบถูก "ใช้สอย" และ "แบ่งส่วน" สำหรับรองรับการใช้ชีวิตของผู้ประสบภัย แบบ "ครบวงจร" ไม่ว่าจะเป็น ที่กิน ที่อยู่ ศูนย์ประสานงาน รวมไปถึงกิจกรรมจากหน่วยงาน และภาคส่วนต่างๆ ที่ระดมมาช่วยเหลือ

ทำให้ 624 ชีวิตของผู้ประสบภัย (ยอดวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554) เมื่อบวกกับ อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ มีสภาพไม่ต่างอะไรกับชุมชนขนาดย่อม

จนล่าสุด ภายในศูนย์พักพิงได้เปิด "โรงพยาบาลสนาม" ขึ้นมา เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ต้องอาศัย "เรือนนอน" และ "บุคลากรทางการแพทย์" หลังจากเปิดพื้นที่ช่วยเหลือมายังไม่เต็มเดือนดี

    โมเดล "30 เตียง"

ด้วยสภาพร่างกายที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวยในการเดินทางสักเท่าไหร่อยู่แล้ว เมื่อถูกอาการเส้นเลือดในสมองตีบทำให้ร่างกายซีกซ้ายใช้การไม่ได้ "เล่นงาน" เข้าไปอีก ทำให้ชีวิตของ วิไลวรรณ รุ่งโรจน์ ในวัย 77 ปี ค่อนข้างลำบากพอสมควร

ทางครอบครัวจึงตัดสินใจ ส่งตัว "คุณยาย" จากบ้านใน ซอยวัดดงมูลเหล็ก บางกอกน้อย เข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลศิริราช ก่อนจะมาพักฟื้นต่อยัง ศูนย์ภูมิบำบัดราชพฤกษ์ ตลิ่งชัน เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา

เมื่อตลิ่งชัน "จมน้ำ" เธอจึงกลายเป็นผู้ประสบภัยไปโดยปริยาย และถูก "ส่งต่อ" มาที่นี่ พร้อมๆ กับผู้ป่วยจากสถานพยาบาลอื่นๆ ในละแวกพื้นที่ใกล้เคียง

โรงพยาบาลสนาม เกิดขึ้นจากการประสานงานของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) กับมหาวิทยาลัยที่ต้องการ "พื้นที่" สำหรับรองรับผู้ป่วยจากสถานพยาบาลที่ถูกมวลน้ำ "เล่นงาน" อยู่ในขณะนี้

"จริงๆ เราทำก่อนหน้านั้นอยู่แล้วค่ะ" ผศ.ดร.หทัยชนก บัวเจริญ หรือ "อาจารย์นก" อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ที่รั้งตำแหน่งผู้ดูแลระบบบริการโรงพยาบาลสนามเท้าความ

ที่ทำอยู่ก่อน... ในความหมายของเธอก็คือ การดูแลผู้ป่วยที่เป็นผู้พักพิง ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้ใช้พื้นที่ชั้น 2 ของอาคารจัดเป็นส่วนพยาบาล นอกจากห้องพยาบาลใต้ถุนอาคารที่เป็นฐานหลักในการดูแลผู้อพยพ และมีอาสาสมัครนักศึกษาพยาบาลของมหาวิทยาลัยมาช่วย

"เราจัดเซ็ตการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid) ให้ อย่างผู้ป่วยอัมพฤกษ์ของ 2 ครอบครัวที่เป็นผู้พักพิง เอาหนังสือมาให้ จัดเวรเด็กให้มาเยี่ยม วัดความดัน คอยแวะมาพูดคุย"

หลังจากผู้ป่วยเริ่มมีปริมาณมากขึ้น จนทาง สสจ. แสดงความจำนงอยากใช้พื้นที่ตั้งเป็นที่พักผู้ป่วยขนาด 30 เตียง ระบบ "โรงพยาบาลสนาม" จึงเป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดยได้อาคารห้องสมุดของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่เพิ่งสร้างใหม่มาปรับเป็น "อาคารพยาบาล" หรือ "เรือนนอน"

ส่วน อุปกรณ์ หรือเวชภัณฑ์ต่างๆ นอกจากที่คณะฯ นำมาใช้เอง และขอรับบริจาคแล้ว ทาง สสจ.ก็ยังส่งมาช่วยเพิ่มเติมโดยเฉพาะ ทีมพยาบาลวิชาชีพ และแพทย์ ทั้งจากโรงพยาบาลในนครปฐมเอง และโรงพยาบาลชุมชน จากราชบุรี ซึ่งประสานงานผ่านโรงพยาบาลศูนย์นครปฐมเป็นแม่ข่าย โดยใช้ระบบเดียวกับการควบคุมโรค หรือติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นมาตรฐาน ทั้งการแยกถังขยะติดเชื้อ จัดเรื่องการล้างมือ เรื่องอุปกรณ์ เรื่องดูแลผู้ป่วย เป็นต้น

บทบาทหลักของตัวโรงพยาบาลที่ถูกวางไว้ก็คือ การเป็นที่พักพิง-ส่งต่อในกรณีที่ แพทย์เห็นว่า "ตึงมือ"

"ถ้าหายใจเองไม่ได้ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เราจะไม่รับ" อาจารย์นก ยกตัวอย่าง

หรือกรณี ต้องฉีดยาติดต่อกัน มีอาการติดเชื้อรุนแรง และแพร่กระจายเชื้อกับคนอื่น อย่าง วัณโรคปอด ตลอดจน กรณีที่มีอาการทางจิตประสาท ก่อกวนคนอื่น ทางโรงพยาบาลแห่งนี้ก็ต้อง "ขอผ่าน"

แต่คนไข้ทั้ง 26 คน ที่ประจำเตียงอยู่วันนี้ ก็มีตั้งแต่ภาวะติดเชื้อเรื้อรัง เส้นเลือดในสมองแตก เบาหวาน ความดัน หรือเคสที่ต้องรับยาต่อเนื่อง และคนไข้โรคจิต-ประสาทที่มีอยู่ แน่นอนว่าไม่ได้เบากว่าเคสที่ปฏิเสธไปสักเท่าไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง.. "ผู้สูงอายุทั้งนั้นค่ะ" เธอบอก

    พยาบาล "ลูกผสม"

"เพราะเราไม่มีคนดูแล มีแต่นักศึกษาที่ประสบการณ์ยังไม่ถึง เด็กปี 2 เราเรื่องการพยาบาลยังไม่ได้ ได้แค่พื้นฐานดูแล ความสุขสบายทั่วไป" นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมพยาบาลที่ประจำอยู่ในส่วนนี้ จึงหน้า "ละอ่อน" กันส่วนใหญ่
 ด้วยความเป็นคณะเปิดใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ปีที่ 2 ของการศึกษา นักศึกษายังไม่เคยผ่านภาคปฏิบัติมาก่อน แต่สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ว่าที่พยาบาลทั้ง 54 คน ได้ลองลง "สนามจริง" ไปโดยปริยาย

"กลัว แถมเกร็งด้วยค่ะ" เป็นคำสารภาพของ อาย - ภัสราภรณ์ สมบุตร นักศึกษาพยาบาลปี 2 หนึ่งในพยาบาลจำเป็นที่มารับหน้าเสื่อครั้งนี้

ขณะที่ อะตอม - วิทย์วุฒิ จันทร์กระแจะ นักศึกษาพยาบาลร่วมห้องอีกคน มองว่าเป็นอะไรที่ต่างจากตำราอย่างสิ้นเชิง

"ตอนเรียนจะมีขั้นตอนค่อนข้างซับซ้อนอยู่แล้ว แต่ก็ฝึกกับหุ่น แต่พอมาเจอคนจริงๆ เขาเคลื่อนไหวตัวเองได้ ซึ่งก็ทำให้เป็นอุปสรรค บางคนก็มีโลกส่วนตัว บางเคสก็ต้องรีบทำแข่งกับเวลาก็มี ต้องปรับเฉพาะหน้าเยอะครับ" เขาแบ่งปันประสบการณ์

ทั้งอาย อะตอม และเพื่อนๆ ถูกเรียกตัวกลับระหว่างปิดภาคเรียน ภายหลังจากที่ โรงพยาบาลสนามเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 โดยก่อนหน้านั้น จะเป็นการ "ขอแรง" ช่วยดูแลผู้อพยพในศูนย์พักพิงฯ มากกว่า

"นักศึกษาเราทั้ง 2 ชั้นปี มีทั้งหมด 99 คน แต่เรียกกลับมาได้ 54 คน เพราะที่เหลือติดน้ำท่วม" อาจารย์นกเสริม
 แน่นอนว่า การเรียกกลับมานอกจากจะช่วย "ผ่อนแรง" ทีมพยาบาลวิชาชีพที่ถูกส่งมาประจำแล้ว "หน้างาน" ตรงนี้ยังถูกปรับให้กลายเป็น "วิชาเรียน" ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับตัวนักศึกษาเองก่อนลงปฏิบัติจริงอีกด้วย

"นอกจากเราบริการสังคมแล้ว เราก็ขอเรียนรู้จากสังคมด้วย" รศ.ดร.สุนุตตรา ตะบูนพงศ์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มองถึง "โอกาส" ใน "วิกฤติ" คราวนี้

ลักษณะการทำงานภายในอาคารโรงพยาบาลสนามจึงเป็นแบบ "คู่ขนาน" ที่นอกจากจะมีพยาบาลวิชาชีพประจำเวรตั้งแต่ 7.00 - 19.00 น. และ 19.00 - 7.00 น.ตามปกติแล้ว ยังมี "เวรเด็ก" ที่ทำงานล้อกันไปด้วย

"แต่เด็กจะอยู่แค่ 4 ทุ่มค่ะ คือ เวรเช้า 7.00 -15.00 เวรเย็น 15.00-22.00 ถือเป็นฝึกปฏิบัติเลย มีอาจารย์เข้ามาดูแล" ผู้ดูแลระบบโรงพยาบาลคนเดิมอธิบาย

ที่สำคัญ ถึงพยาบาลจะมีนักศึกษาเป็นส่วนผสม แต่ก็ไม่ได้ทำให้ "มาตรฐาน" โรงพยาบาลตกลงแต่อย่างใด

"ไม่แตกต่างค่ะ" วาสนา ภูมิชัยศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพุทธมณฑล หนึ่งในทีมพยาบาลที่มารับหน้าที่ระหว่างโรงพยาบาลต้นสังกัดกำลังจมน้ำยืนยัน เพราะความพร้อมด้านสถานที่ และอุปกรณ์จะไม่เท่าโรงพยาบาล แต่ก็ต้องปรับให้ได้มาตรฐานเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นโซนสะอาด หรือโซนติดเชื้อ

"อย่างน้อยคนไข้ที่มาอยู่ที่นี่ก็ต้องไม่ติดเชื้อเพิ่ม" เธอบอก

    "อาสา" พยุงระบบ

การมีโรงพยาบาลภาคสนาม ทำให้ภายในศูนย์พักพิงแบ่งระบบการดูแลออกเป็น 2 ส่วน คือ โซนศูนย์พักพิง และโซนเรือนนอน เพื่อให้การดูแลด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างทั่วถึง

เมื่อศักยภาพการดูแลเพิ่ม ปริมาณคน และปริมาณของ ย่อมเพิ่มตามไปโดยปริยาย บุคลากร เวชภัณฑ์ และการประสานงาน จึงถือเป็นปัญหาแรกๆ ที่อาจารย์นกในฐานะผู้ดูแลระบบต้องเจอ

วันนี้ แม้ทางศูนย์จะได้กำลังจาก นพ.พนมพันธ์ ศิริวัฒนานุกูล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คุณหมออีกคนที่ "ตกงาน" เพราะน้ำท่วมโรงพยาบาล มาช่วยนั่งประจำห้องตรวจให้

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ทุกอย่าง "เสถียร" ขึ้น

"ปกติทาง สสจ.ก็จะหาแพทย์มา จาก รพ.พุทธมณฑล และรพ.นครปฐม มาตรวจทุกวัน แต่ตอนนี้ระบบยังไม่นิ่ง เขาก็เลยมาบางวัน บางเวลา แต่ก็มีมาทุกวัน" เธอบอก

ปริมาณเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ ก็ยังเป็นปัญหาอยู่

"อุปกรณ์อะไรขาด ถ้าที่คณะมีก็มาหนุนเสริม ในช่วงแรก ของขาด ขอบริจาค ก็อาจารย์ และนักศึกษานี่แหละค่ะ ไปขอในตลาดองค์พระ เราก็ทำลิสต์รายการเวชภัณฑ์ รายการยา พ่อค้าแม่ค้า คนเดินตลาดก็ให้มาเยอะ ทั้งยา ผ้าถุง ผ้าปูเตียง ผ้าอ้อม ยาพื้นฐาน ก็ได้มา"

ยังไม่นับเรื่องการบริหารจัดการคนไข้ อาทิ บางกรณีที่พยาบาลไม่สามารถจ่ายยาเองได้ ก็พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล หรือไม่ก็เจียดเวลาหมอให้เข้ามาตรวจรักษา ซึ่งทั้งหมด เป็นสถานการณ์ที่ต้องแก้แบบ "วันต่อวัน" มากกว่า

"เฉพาะหน้ามากค่ะ" เธอยืนยัน

และ "ค่าใช้จ่าย" ที่เป็น "ปัญหาคลาสสิก" ตลอดเวลา

ภาระกว่า 20,000 บาทต่อวัน เฉพาะค่ายา ค่าอุปกรณ์ ไม่ได้นับค่าน้ำค่าไฟ หรือค่าแรงที่ส่วนใหญ่เป็นจิตอาสา ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่า

..ส่วนนี้ ใครจ่าย ?

"ต้องทำใจนะ เพราะหน่วยราชการเรารู้ว่าทำงานยังไง" ผศ.สมเดช นิลพันธุ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม บอกเอาไว้ตั้งแต่วันแรกๆ ที่ตัดสินใจรับทำเรื่องโรงพยาบาลสนาม

สิ่งที่เขาวางแผนเอาไว้ก็คือ "ควักเนื้อ" การขออนุมัติงบประมาณจากสภามหาวิทยาลัยไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินการของโรงพยาบาล หากไม่มีหน่วยงานใดแสดงความรับผิดชอบ ตลอดระยะเวลาประมาณการ 2 เดือนเพื่อรอน้ำลด

"ตอนนี้โชคดีที่เรายังไม่ได้ใช้เงินมหาวิทยาลัย วันนี้เรายังมีเงินบริจาคที่บริจาคเข้ามา ยาก็องค์การเภสัชกรรม มีบางส่วนที่ซื้อบ้าง ที่จำเป็นจริงๆ ก็ใช้เงินบริจาคจัดหามา ใช้หน้าเสื่อตรงนี้  ได้มาใช้ไป จนท้ายสุด โอเค ไม่มีใครบริจาคแล้ว จึงเอาเงินที่มีอยู่มาใช้  เพราะการทำงานในมหาวิทยาลัยบางคนก็เห็นด้วย บางคนก็ไม่เห็นด้วย ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้เงินตรงนี้เหมือนกัน"

ความระมัดระวังที่ ผศ.สมเดชพูดถึงก็คือ การตรวจสอบการใช้เงิน เพราะถึงแม้จะเห็นว่าเป็นการช่วยเหลือประชาชนจริงๆ แต่ด้วยระบบราชการ "การใช้เงินผิดวัตถุประสงค์" ก็อาจทำให้ ถูกตีความว่า "ทุจริต" ก็ได้

อย่างไรก็ตาม ภาพการดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ของบรรดาอาสาสมัครพยาบาล ก็ทำให้บรรยากาศในโรงพยาบาลเฉพาะกิจแห่งนี้ เต็มไปด้วยชีวิตชีวา และเป็นยาบำรุงกำลังใจขนานเอกให้ผู้ประสบภัยสามารถยิ้มสู้ปัญหาผ่านไปได้อย่างดีอีกด้วย

"เหยียบไว้นะ หลานๆ เขาดูแลดีกว่าบางโรงพยาบาลที่เคยไปอีก" เสียงยายวิไลวรรณกระซิบกระซาบด้วยรอยยิ้ม

---------------
ส่งน้ำใจให้โรงพยาบาลสนาม

ผู้ที่ต้องการสนับสนุนศูนย์พักพิง และโรงพยาบาลสนามของ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สามารถบริจาคได้ที่ บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม เลขที่ 980-6-68225-4 โครงการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมร่วมใจต้นภัยน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

รายการสิ่งของที่ต้องการับบริจาค : ผงซักฟอกแบบห่อ 10 บาท, แปรงสี, ขวดนม, ผ้าอ้อมสำเร็จรูปผู้ใหญ่ ไซค์ใหญ่ กลาง, เจลล้างมือ, เชือกตากผ้า, แป้ง, หมอนผ้าห่ม, ชุดชั้นใน, ผ้าถุง, เสื้อผ้า, รองเท้า, น้ำยาซักผ้าเด็ก, แปรงล้างขวดนม, โลชั่นทาผิวแบบซอง, แปรงซักผ้า, พริกไทย, น้ำมันพืช, พริกแกงทุกชนิด, ซอสมะเขือเทศ, ซอสหอยนางรม, หมูบด, ไก่สับ, ต้นหอม, ผักชี, หอมแดง, ซี้อิ๋วดำ, กะปิ, กระเทียม, น้ำตาลปีบ, น้ำตาลทราย

โดย : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี
กรุงเทพธุรกิจ 16 พฤศจิกายน 2554

8409
เมเปิลครอฟต์ บริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดทำแผนที่ของอังกฤษ ดำเนินการศึกษา 193 ประเทศทั่วโลก

ระบุว่า ประเทศและเมืองขนาดใหญ่ในทวีปเอเชียและแอฟริกามีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะต้องเผชิญกับอิทธิพลของสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ขณะที่ระบุว่าประเทศไอซ์แลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดในโลก

เมเปิลครอฟต์ได้จัดอันดับประเทศไทยเสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติ 10 อันดับ

1 เฮติ 2 บังกลาเทศ 3 ซิมบับเว 4 เซียร์ราลีโอน 5 มาดากัสการ์ 6 กัมพูชา 7 โมซัมบิก 8 คองโก 9 มาลาวี 10 ฟิลิปปินส์

และไทยอยู่อันดับที่ 37

รายงานบอกด้วยว่า หลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรเกิน 10 ล้านคน จะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล อุทกภัย พายุหรือภัยแล้ง

ในภูมิภาคอาเซียนมี 2 ประเทศที่ติด 10 อันดับแรกของโลก ได้แก่ กัมพูชาอันดับ 6 ฟิลิปปินส์อันดับ 10

ในส่วนของประเทศไทยซึ่งรั้งอันดับที่ 37 ผลการศึกษาระบุว่าเป็นอีกประเทศเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และกำลังเผชิญกับภัยพิบัติครั้งรุนแรงซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ขณะเดียวกัน เมเปิลครอฟต์ศึกษามหานครที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลก 20 แห่ง ระบุกรุงธากา เมืองหลวงของบังกลาเทศเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด

ขณะที่กรุงเทพมหานครอยู่ในกลุ่มเมืองที่มีความเสี่ยงระดับสูง

ที่มา : โพสต์ทูเดย์, 27 ตุลาคม 2554

8410
    เมื่อเวลา 01.30 น.เจ้าหน้าที่วิทยุ สภ.หลังสวน จ.ชุมพร รับแจ้งจาก รพ.หลังสวนว่า มีผู้ป่วยจะกระโดดสะพานลอยคนข้ามถนนเพื่อฆ่าตัวตาย จึงแจ้งตำรวจสายตรวจรถยนต์ พร้อมด้วยหน่วยกู้ภัยสมาคมพุทธประทีปหลังสวน นำกำลังไปยังที่เกิดเหตุ บริเวณกลางสะพานลอยคนข้ามถนนหน้า รพ.หลังสวน หมู่ที่ 4 ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร บนถนนสายเอเซีย41 ท่ามกลางความมืดมีเพียงไฟสลัวๆข้างถนนเท่านั้น พบนางปราณี จันทมา อายุ 28 ปี ทราบเพียงแต่ว่าบ้านเดิม อยู่ จ.หนองคาย กำลังยืนร้องไห้ สายตาเหม่อลอยทำท่าจะปีนราวสะพาน เจ้าหน้าที่จึงต้องพยายามพูดเกลี้ยกล่อม จนนางปราณี ยอมเดินลงจากสะพานลอยกลับเข้าไปใน รพ.หลังสวน
    จากการสอบถามนายสมศักดิ์ รื่นรมย์ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 181 หมู่ที่ 6 ต.น้ำเป็น อ.เขาชะเมา จ.ระยอง อาชีพรับจ้าง สามีของนางปราณี ได้การว่า ในช่วงหัวค่ำ นางปราณีได้ใช้ผ้าเช็ดตัว และ ผ้าถุงต่อกัน แล้วแขวนคอตายในห้องน้ำในบ้านพัก แต่นายสมศักดิ์ไปพบเสียก่อน จึงช่วยนำส่ง รพ.หลังสวนในสภาพหายใจรวยริน แพทย์ต้องปั้มหัวใจ จนฟื้นขึ้นมาและให้นอนดูอาการในห้องผู้ป่วย ในจังหวะที่ไม่มีใครสังเกตุ นางปราณีได้หนีออกจากห้องผู้ป่วยเดินลัดเลาะท่ามกลางความมืดไปยัง สะพานลอยคนข้ามถนนหน้า รพ.หลังสวน นายสมศักดิ์จึงแจ้ง จนท.รักษาความปลอดภัยของ รพ.หลังสวนช่วยค้นหาจนพบว่า กำลังจะกระโดดสะพานลอยฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังได้เขียนหนังสือลาตาย ระบุถึงความไม่ดีของตัวเองที่ไม่รักลูก และ ความรักที่ไม่ประสบความสำเร็จ
    นายสมศักดิ์ ยังเล่าอีกว่า นางปราณีเคยมีสามีและมีลูกด้วยกัน 1 คนมาก่อนแต่ได้เลิกรากันและได้มาอยู่กินกับนายสมศักดิ์กระทั่งมีลูกด้วยกัน 1 คน แต่เมื่อไม่นานเพิ่งทราบว่านายสมศักดิ์ ซึ่งมีภรรยาอยู่ที่ จ.ระยองอีกคนทำให้นางปราณีเครียดและพยายามฆ่าตัวตาย

เนชั่นทันข่าว 16 พย. 2554

8411
 วิทยา” เตรียมนัดกินข้าวภาคประชาชนกรณีเลือกผู้ทรงคุณวุฒิด้านแพทย์แผนไทย ในคณะกรรมการ สปสช. ขณะ “นิมิตร” ชู “ภญ.สำลี” นั่งแท่นแทน นพ.พิพัฒน์
       
       จากกรณีที่นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตรียมเสนอชื่อ “นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์” เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) แทน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากก่อนหน้านี้ภาคประชาชนได้ออกมาคัดค้านนพ.พิพัฒน์ ว่าไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง กระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศจะคัดเลือกใหม่ และเสนอชื่อดังกล่าวนั้น
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 17 พ.ย.นี้ ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวิทยา ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. เรียกประชุมคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยขึ้น ซึ่งเลื่อนจากเดิมที่กำหนดคัดเลือกในวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่ติดปัญหาน้ำท่วม จึงต้องเลื่อนมาเป็นวันดังกล่าว ขณะเดียวกัน มีกระแสข่าวว่า นายวิทยาได้นัดทานข้าวกับภาคประชาชน นำโดยนายนิมิตร เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ในการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และยังมีกระแสข่าวว่ามีการหารือถึงการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอีกด้วย

       นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า นายวิทยาได้นัดหารือประเด็นภาพรวม แต่ไม่ได้เจาะจงเรื่องนี้ เพียงแต่มีพูดถึงในลักษณะว่าขอให้เชื่อใจว่าจะทำงานได้ ซึ่งพวกตนก็ไม่ได้ต้องการสร้างศัตรูกับใคร แต่ก็เสนอเหมือนเดิมที่เคยยืนยันมาตลอดว่า การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแทนนพ.พิพัฒน์ นั้น ไม่ควรต้องสรรหาใหม่ แต่ควรให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกอันดับสองเข้ารับตำแหน่งโดยทันที คือ ภญ.สำลี ใจดี อดีตผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด สปสช.ชุดเดิม ซึ่งมีความสามารถอยู่แล้ว แต่หากสุดท้ายไม่เป็นเช่นนั้นก็พร้อมยอมรับ
       
       ต่อข้อถามว่า ก่อนหน้านี้ทางภาคประชาชนได้ออกมาเรียกร้องว่าให้มีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด 7 คนใหม่ เหตุไม่มีความยุติธรรม เนื่องจากมีการล็อบบี้กันเอง หากไม่ดำเนินการจะฟ้องศาลปกครองนั้น นายนิมิตร์ตอบว่าจะให้โอกาสในการทำงานก่อน เพราะอย่างไรเสียพวกตนก็ต้องทำงานด้วยกัน เพื่อพัฒนาการบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ดียิ่งขึ้น ส่วนจะฟ้องร้องหรือไม่ขอพิจารณาหลังจากนี้
       
       อนึ่ง สำหรับประวัติ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เบื้องต้นทราบว่า ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจแอนด์ดับบลิว ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด (J&W Development) ดำเนินธุรกิจหลักในด้านการพัฒนาและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ หลากหลายโครงการ และเป็นหนึ่งในเครือบริษัทเดคคอร์มาร์ท จำกัด ดำเนินธุรกิจเฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิอีก 6 คนที่คัดเลือกไปแล้ว ประกอบด้วย ด้านการประกันสุขภาพ คือ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ด้านการแพทย์ทางเลือก นพ.พินิจ หิรัญโชติ ด้านการเงินการคลัง นางวรนุช หงสประภาส ด้านกฎหมาย นายเสงี่ยม บุญจันทร์ และด้านสังคม นาวอากาศเอกพิเศษ นพ.อิทธพร คณะเจริญ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 พฤศจิกายน 2554

8412
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เสด็จเป็นประธานปล่อยคาราวาน เฮลิคอปเตอร์โปรยอาหาร-เวชภัณฑ์ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ใน 12 จุดที่ประสบเหตุน้ำท่วมที่ยากต่อการเข้าถึง
       
       วันนี้ (15 พ.ย.) ที่สนามกีฬา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ.นนทบุรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีปล่อยคาราวานเฮลิคอปเตอร์โปรยเวชภัณฑ์และถุงอาหารประทังชีพเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ซึ่งคาราวานดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อม (ทส.) ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. และข้าราชการ สธ.เฝ้าฯ รอรับเสด็จ
       
       โดยนายวิทยากล่าวถวายรายงานถึงสถานการณ์น้ำท่วมและการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนี้ว่า เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ได้ขยายวงกว้างอย่างมาก และมีผู้ประสบภัยหลายพื้นที่เกิดปัญหาในการอพยพไม่ทัน ประกอบกับอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งยากต่อการให้การช่วยเหลือทางรถและเรือ จึงจำเป็นต้องประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายให้มีการนำเฮลิคอปเตอร์เข้าให้การช่วยเหลือประชาชนในครั้งนี้
       
       รศ.ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) กล่าวถวายรายงานถึงวัตถุประสงค์ในการปล่อยคาราวานฯ ครั้งนี้ว่า เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้มีทั้งนำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง ทำให้ประชาชนบางส่วนต้องติดอยู่ในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงการช่วยเหลือซึ่งจากการสำรวจพื้นที่นั้นพบว่า ขณะนี้มี 12 จุดที่ต้องนำคาราวานเฮลิคอปเตอร์โปรยเวชภัณฑ์ช่วยเหลือ
       
       อนึ่ง พื้นที่ 12 จุดได้แก่
1.บ้านศรีสมบูรณ์ เทศบาลอ้อมน้อย อ.กระทุ่มเบน จ.สมุทรสาคร
2.วัดลาดปลาดุก อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
3.อบต.บ้านม่วง หมู่บ้านพร้อมจิตร
4.สถานีอนามัยลำโพ อ.บางบัวทอง
5.ร.ร.ชุมชนบ้านใหม่ ต.ลุมพุก อ.บางใหญ๋ จ.นนทบุรี
6.อบต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
7.ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
8.ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว ชุมชนมุสลิมคลองบางโคเหนือ
9.อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
10.ลำลูกกา จ. ปทุมธานี
11.บ้านปิ่นเจริญ ดอนเมือง กทม. และ
12.ชุมชนบางคู้บอน กทม.
       
       ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าวว่า ในการดำเนินงานโปรยอาหารและเวชภัณฑ์ ใน 12 จุด นั้นทางหน่วยงานได้มีการสำรวจพื้นที่อย่างจริงจัง ตลอดจนมีการคัดเลือกอาหารและเวชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นที่น้ำหนักเบา มีภาชนะห่อหุ้มมิดชิด สามารถลอยน้ำได้ โดยสิ่งของทุกอย่างกำหนดวันหมดอายุในอีก 2 ปี ซึ่งทุกพื้นที่นั้นได้รับรายงานความเดือดร้อยโดยตรงจากผู้นำชุมชน และในการดำเนินการโปรยอาหารทางอากาศครั้งนี้จะทำโดยผู้เชี่ยวชาญทุกด้าน ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 6 ลำได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การแพทย์ กทม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแหละสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะทยอยลำเลียงอาหารและเวชภัณฑ์กระจายสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเสร็จสิ้นการถวายรายงานของผู้บริหารแล้ว พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ได้ทรงโบกธงปล่อยคาราวานเฮลิคอปเตอร์เพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ โดยจะบรรจุอาหารและเวชภัณฑ์ได้เฉลี่ยลำละ 25 ชุด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 พฤศจิกายน 2554

8413
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ​เห็นชอบ​แผนจัด​การ​เพื่อคุ้มครองสมุน​ไพร​ในพื้นที่​เขตอนุรักษ์ พ.ศ.2555-2557(​แผนระยะสั้น) ตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง​และส่ง​เสริมภูมิปัญญา​การ​แพทย์​แผน​ไทย พ.ศ.2542 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข​เสนอ

​ทั้งนี้กรมพัฒนา​การ​แพทย์​แผน​ไทย​และ​การ​แพทย์ทาง​เลือก ​และจังหวัดกาญจนบุรี กำ​แพง​เพชร นครพนม พิษณุ​โลก สตูล สระ​แก้ว อุดรธานี ร่วมกับชุมชน ส่วนราช​การ/หน่วยงาน/องค์กรที่​เกี่ยวข้อง ​ได้สำรวจ​และศึกษาสภาพของสมุน​ไพร​ในพื้นที่​เขตอนุรักษ์ประกอบ​การพิจารณาจัด​ทำ​แผนดังกล่าว​เนื่องจาก​เห็นว่า บริ​เวณถิ่นกำ​เนิดของสมุน​ไพร​ซึ่ง​เป็นระบบนิ​เวศน์​เฉพาะถูก​ทำลายอย่างต่อ​เนื่อง ​และ​การ​เปลี่ยน​แปลงป่าธรรมชาติ​เป็นป่าปลูก​หรือพื้นที่​เกษตรกรรม​ซึ่ง​เป็น​การ​เปลี่ยน​แปลงระบบนิ​เวศน์​โดยถาวร​ทำ​ให้ชนิดพันธุ์สมุน​ไพร​และบริ​เวณถิ่นกำ​เนิดของสมุน​ไพร​ในหลายพื้นที่อาจ​ไม่สามารถฟื้นคืนสภาพ ​โดยมีสา​เหตุจาก​การลักลอบ​เข้า​ไป​ในพื้นที่​เขตอนุรักษ์ ​เพื่อ​เ​ก็บหาสมุน​ไพร ​การ​เ​ก็บหาของป่า ​การล่า/​หรือดักจับสัตว์ป่าของชาวบ้าน​ในบริ​เวณ​ใกล้​เคียงที่อาศัยอยู่รอบบริ​เวณพื้นที่ พฤติ​การณ์ดังกล่าวขัดต่อกฎ​หรือระ​เบียบของหน่วยงานที่กำกับดู​แลพื้นที่​และมีผลกระทบต่อสมุน​ไพร​และระบบนิ​เวศน์ที่​เป็นถิ่นกำ​เนิดของสมุน​ไพร

สำหรับพื้นที่​เขตอนุรักษ์ 7 ​แห่ง ประกอบด้วย
พื้นที่​เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานสม​เด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี,
พื้นที่อุทยาน​แห่งชาติ​แม่วงก์ จังหวัดกำ​แพง​เพชร,
พื้นที่อุทยาน​แห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม,
พื้นที่อุทยาน​แห่งชาติทุ่ง​แสลงหลวง จังหวัดพิษณุ​โลก,
พื้นที่อุทยาน​แห่งชาติทะ​เลบัน จังหวัดสตูล,
พื้นที่อุทยาน​แห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระ​แก้ว ​และ
พื้นที่อุทยาน​แห่งชาตินายูง-น้ำ​โสม จังหวัดอุดรธานี

​โดยมี​แผนงาน​และ​แนวทางดำ​เนินงาน 4 ด้าน ​ได้​แก่
1.​การ​เสริมสร้าง​ความรู้ ​ความ​เข้า​ใจ​และประชาสัมพันธ์​เกี่ยวกับ​เงื่อน​ไข​ใน​การอนุญาต​ให้บุคคล​เข้า​ไป​ในพื้นที่​เขตอนุรักษ์อย่างถูกต้อง
2.​การกำหนดวิธี​การจัด​การ​เฉพาะ​ในพื้นที่ ​โดยประสาน​ความร่วมมือกับส่วนราช​การที่​เกี่ยวข้อง​และชุมชน​เพื่อ​ให้​เกิดกระบวน​การมีส่วนร่วม​ใน​การอนุรักษ์คุ้มครองสมุน​ไพร​และถิ่นกำ​เนิด
3.​การสำรวจ​และศึกษาสมุน​ไพร​แต่ละพื้นที่ ​เพื่อ​ให้มีระบบฐานข้อมูล ​และนำ​ไปสู่​การจัด​การอนุรักษ์​และ​ใช้ประ​โยชน์อย่าง​เหมาะสม ​และ
4.​การกำกับติดตาม ตรวจสอบ​และประ​เมินผล​การดำ​เนิน​การตาม​แผน​และกฎหมาย รวม​ทั้งรวบรวมรายชื่อสมุน​ไพรที่สำรวจพบ​ใน​แต่ละพื้นที่ ​และจำ​แนก​เป็น 3 กลุ่ม ​ได้​แก่ สมุน​ไพรที่มีค่าต่อ​การศึกษา​หรือวิจัย สมุน​ไพรที่มี​ความสำคัญทาง​เศรษฐกิจ สมุน​ไพรที่อาจสูญพันธุ์ ​และประมาณ​การงบประมาณ​ทั้ง 7 พื้นที่ รวม​ทั้งสิ้น 9,455,000 บาท

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.ยัง​เห็นชอบ​ให้​เพิกถอนพื้นที่​เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐานบางส่วน จำนวน​เนื้อที่ประมาณ 840 ​ไร่ ​เพื่อก่อสร้าง​โครง​การอ่าง​เ​ก็บน้ำห้วยตา​เปอะ(อัน​เนื่องมาจากพระราชดำริ) ตำบลบ้านค้อ อำ​เภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ตามที่กระทรวง​เกษตร​และสหกรณ์​เสนอ

อิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554

8414
เหตุการณ์น้ำท่วมน้ำแล้งและดินโคลนถล่ม กำลังส่งสัญญาณสำคัญว่าประเทศไทยจะปล่อยให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างไร้ทิศทางอย่างนี้หรือ?  ให้ใครก็ตามที่มีเงิน เศรษฐีต่างชาติ นักการเมือง หรืออดีตข้าราชการผู้ใหญ่สามารถใช้เงินวิ่งเต้นทำอะไรก็ได้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและให้ประเทศต้องรับภาระความเสียหาย กรณีน้ำท่วมประเทศไทยที่สร้างความสูญเสียมหาศาลถูกอ้างเสมอว่าเกิดขึ้นเพราะฝนตกชุกฝนตกมากแต่แท้จริงแล้วต้นตอสำคัญของน้ำท่วมคือการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภทจากการแสวงหาประโยชน์
   
เราเห็นการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง  เราเห็นพื้นที่ชายเขากลายเป็นสวนยางพาราหรือไร่ส้มและทำให้ชุมชนด้านล่างต้องเผชิญกับปัญหาดินโคลนถล่ม  กลุ่มทุนใช้พื้นที่ต้นน้ำในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้ทำลายความสามารถของธรรมชาติในการทำหน้าที่เป็นฟองน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติเพื่อดูดซับน้ำฝนและอุ้มน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งจนนำมาสู่ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้   ที่ดินที่จัดไว้เพื่อเกษตรกรรมย่านรังสิตแปรสภาพไปเป็นหมู่บ้านจัดสรร   พื้นที่ๆ ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ เช่น อยุธยา ถูกล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม เราเห็นการสร้างบ้านเรือนบุกรุกเข้าไปในทางไหลของน้ำ  มีการสร้างบ้านจัดสรร ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ขวางทางน้ำ  นิคมอุตสาหกรรมขยายตัวเข้าไปในพื้นที่กันชนหรือพื้นที่สีเขียวและมีโรงงานสร้างติดรั้วโรงเรียน ฯลฯ
   
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะมีบางคนในประเทศนี้ไม่เชื่อในเรื่องของการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่เชื่อเรื่องการกำหนดโซนนิ่ง (zoning) หรือ การบังคับใช้ผังเมืองของประเทศนั่นเอง คนกลุ่มนี้เชื่อว่าเจ้าของที่ดินมีสิทธิส่วนบุคคลที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของตัวเองอย่างไรก็ได้ ความคิดเช่นนี้ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และที่สำคัญคือทำให้สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีความเปราะบางไม่สามารถรองรับภัยธรรมชาติได้
   
ขอยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพนะครับว่า ในบ้านเราเองแท้ๆ เราจะปล่อยให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปโดยไม่มีกฎเกณฑ์เลยหรือครับ ในบ้านของเราๆ มีห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น สนามหญ้า ฯลฯ ท่านคิดว่าบ้านหลังนี้จะน่าอยู่มั๊ยครับถ้าเราปล่อยให้มีการทอดไข่เจียวในห้องนอน มีคนเข้าไปนอนในห้องน้ำ มีการอาบน้ำในห้องนั่งเล่น หรือมีคนไปยืนปัสสาวะที่สนามหญ้าหน้าบ้าน ดังนั้น แม้แต่ในบ้านของเราเองแท้ๆ เรายังอ้างสิทธิส่วนบุคคลและทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้เลย  แล้วในระดับประเทศจะมาอ้างว่าท่านมีที่ดิน 100 ไร่ 200 ไร่ แล้วจะลงทุนทำอะไรก็ได้เพราะเป็นสิทธิของท่านก็คงจะทำไม่ได้เหมือนกันเพราะท้ายสุด แล้วสังคมโดยรวมเป็นผู้สูญเสียจากการที่เราปล่อยให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปอย่างไม่เป็นที่เป็นทาง
   
ดังนั้นการที่ประเทศต้องจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็น ที่คนอยู่ ที่อยู่ป่า ทางเดินน้ำ และที่ทำกิน หรือการมีผังเมืองไทย จึงเป็นโจทย์สำคัญสำหรับประเทศไทยวันนี้ และเป็นบททดสอบสำหรับนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ รวมถึงนักวิชาการต่างๆ ด้วยว่าจะสามารถตั้งใจทำงานเพื่อร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตให้กับประเทศได้หรือไม่
   
การมีผังเมืองไทยเพื่อจัดแบ่งที่ทางให้เป็นสัดเป็นส่วนว่าพื้นที่เกษตรที่เหมาะสมจะอยู่ที่ไหน นิคมอุตสาหกรรมควรอยู่จังหวัดใดบ้างที่จะไม่ถูกน้ำท่วมได้ง่าย พื้นที่ป่าต้นน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติควรมีเท่าไหร่ ทางน้ำไหลมีเพียงพอแล้วหรือยัง และจะให้น้ำส่วนเกินไหลไปทางไหน คนจะสร้างบ้านเรือนย่านใดได้บ้าง และย่านธุรกิจจะอยู่ตรงไหน สิ่งเหล่านี้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ สร้างความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติ และที่สำคัญคือลดความขัดแย้งในสังคมไม่เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่า ขณะที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งสร้างทำนบกั้นน้ำก็มีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งไปทำลายทำนบกั้นน้ำ และอื่น ๆ
   
การจัดแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นสัดเป็นส่วนไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ที่จะไปขัดกับหลักการทางธุรกิจอย่างที่บางคนอาจคิด ในทางตรงข้ามกลับพบว่าธรรมชาติของการทำธุรกิจเองก็มีการจัดแบ่งธุรกิจต่างๆ ตามเขตหรือตาม “ย่าน” อยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกสำหรับผู้บริโภคเองในการซื้อหาสินค้าและสะดวกสำหรับผู้ประกอบการในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เช่น ร้านทองจะรวมตัวกันแถวย่านเยาวราช ร้านผ้าจะอยู่พาหุรัด อุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่แถวคลองถม ร้านต้นไม้รวมตัวกันที่อยู่ที่รังสิต เป็นต้น ดังนั้น การจัดให้กิจการต่างๆ มีการดำเนินการเป็นหลักแหล่งตามประเภทของธุรกิจนั้นๆ จึงเป็นสิ่งปกติอยู่แล้วในเชิงธุรกิจ หากภาครัฐจะเข้ามาดำเนินการเสริมภาคเอกชนโดยมีการกำหนดและบังคับใช้ผังเมืองไทยในระดับประเทศจึงเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้สูงและสมควรดำเนินการอย่างยิ่ง
   
มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ 5 ประการที่สนันสนุนการบังคับใช้ “ผังเมืองไทย”
   
ประการที่หนึ่ง การบังคับใช้ผังเมืองไทยทำให้การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพราะมีการใช้ที่ดินตามศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมเป็นพื้นที่ต้นน้ำก็ต้องอนุรักษ์ไว้ให้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำโดยไม่ปล่อยให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ให้ประโยชน์ต่อสังคมต่ำกว่า   พื้นที่ๆ มีความได้เปรียบด้านการขนส่งทางเรือก็ควรจัดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและสร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าส่งออกของไทย ส่วนที่ลุ่มหรือพื้นที่รับน้ำก็ควรจัดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อตักตวงประโยชน์ด้านการชลประทาน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และถูกน้ำท่วมอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เต็มตามศักยภาพจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทย ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการและแรงงานไทยไปในตัว
   
ประการที่สอง เมื่อกิจกรรมต่างๆ ถูกจัดให้อยู่อย่างเป็นที่เป็นทางก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบสาธารณูปโภค เช่น หากพื้นที่เกษตรกรรมอยู่อย่างกระจัดกระจายรัฐก็ต้องเสียงบประมาณสูงขึ้นในการลงทุนในระบบชลประทานในหลายๆพื้นที่ แต่ถ้ากิจกรรมการเกษตรอยู่ร่วมกันก็จะใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานร่วมกันได้ เช่นเดียวกันกับพื้นที่ๆ อยู่อาศัยของประชาชน หากมีการจัดให้ชุมชนที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็จะทำให้การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนก็ดีหรือระบบป้องกันน้ำท่วมก็ดีเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณของรัฐลดภาระหนี้ของประเทศ และลดภาระภาษีของประชาชนด้วย
   
ประการที่สาม การมีผังเมืองไทยเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องกับประชาชน ทำให้ประชาชน นักลงทุน ทั้งชาวไทยและนักลงทุนชาวต่างชาติสามารถวางแผนธุรกิจล่วงหน้าด้วยความมั่นใจ ปัจจุบันคนที่ซื้อบ้านเพราะวางแผนจะใช้ชีวิตในพื้นที่ๆ สภาพอากาศดีและสงบเงียบกลับฝันสลาย เมื่อมีโรงงานหรือสนามบินนานาชาติมาตั้งอยู่ข้างบ้าน ดังนั้นการขาดการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินแก่ประชาชนก็นำมาสู่ปัญหาเช่นกัน ดังตัวอย่าง ความขัดแย้งระหว่างเจ้าของบ้านกับสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น การบังคับใช้ผังเมืองยังจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนเพราะจะทำให้นักธุรกิจทราบว่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะไม่ถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่รับน้ำท่วมในที่สุดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  การบังคับใช้ผังเมืองจึงเป็นการสร้างความเป็นธรรมและสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ และจะส่งผลทางอ้อมให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
   
ประการที่สี่ เมื่อมีการประกาศอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ใดจะเป็นเขตเศรษฐกิจและพื้นที่ใดจะเป็นพื้นที่รับน้ำ จะนำไปสู่การพัฒนากลไกในการสร้างความเป็นธรรมในสังคมระหว่างผู้ที่อาศัยในพื้นที่รับน้ำกับผู้ที่อาศัยในพื้นที่ปลอดน้ำ รัฐบาลสามารถพัฒนาระบบการคลังสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรมโดยการเก็บภาษีที่ดินเพิ่มเติมจาก เขตเศรษฐกิจที่ปลอดน้ำท่วมและนำเงินมาจ่ายชดเชยให้ประชาชนที่อาศัยในเขตรับน้ำ สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถดำเนินการได้หากมีการบังคับใช้ผังเมืองและประกาศชัดเจนว่าพื้นที่ใดทำบทบาทอะไรซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่กำลังเกิดอยู่ในปัจจุบัน
   
ประการที่ห้า ผังเมืองไทยเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศไทยให้มีความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติได้ดีขึ้น การที่ประเทศไทยมีการรักษาระบบนิเวศต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อทำหน้าที่เป็นอ่างน้ำธรรมชาติ มีการสร้างทางไหลของน้ำให้เพียงพอ มีการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเขตเมืองหรือเขตนิคมอุตสาหกรรมให้อยู่ในพื้นที่สูงหรือ มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำฝนเมื่อยามจำเป็นบ้าง สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินมีความสอดคล้องกับธรรมชาติ ลดความเปราะบางของระบบนิเวศและสร้างความสามารถในการรองรับกับภัยธรรมชาติด้วย ในที่สุดสังคมที่ประชาชนมีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติจะไม่ต้องเผชิญกับความขัดแย้ง และความสูญเสีย ทั้งในรูปของชีวิต ทรัพย์สินรวมไปถึงงบประมาณของรัฐ
   
แน่นอนว่า การที่ประเทศไทยจะมีการจัด ที่คนอยู่ ที่อยู่ป่า ทางเดินน้ำ และที่ทำกิน หรือการมีผังเมืองไทย จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งในเรื่องของข้อจำกัดของกฎระเบียบที่เป็นสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศไทย การบริหารน้ำแบบแยกส่วนที่ให้ความสำคัญกับความเป็น “กรม” หรือ “จังหวัด” มากกว่าการร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การป้องกันน้ำท่วมที่มีการเมืองและผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องโดยไม่คำนึงถึงความสูญเสียของคนส่วนใหญ่ และที่สำคัญคือ ระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้ไม่มีใครกล้าพูดความจริง และไม่กล้าพอที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง

ท้ายสุดผู้เขียนอยากบอกว่า น้ำฝนเป็นสิ่งที่ฟ้าประทานมาให้ น้ำให้กำเนิดชีวิตไม่ว่าจะเป็นคน พืช หรือสัตว์ น้ำเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาเป็นเวลาช้านานจนประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็น “อู่ข้าว อู่น้ำ” ตั้งแต่อดีตกาลมา วิถีชีวิตคนไทยอยู่คู่กับน้ำมาโดยตลอดจนเกิดคำพังเพยมากมายที่คนเฒ่าคนแก่ใช้สอนลูกสอนหลาน ไม่ว่าจะเป็น “น้ำมาปลากิดมด น้ำลดมดกินปลา” หรือ “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง” แต่ทุกวันนี้การพัฒนาประเทศแบบผิดๆ ได้ทำให้ “น้ำ” กลายเป็นอุปสรรต่อการดำเนินชีวิตและนำความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่มาสู่ประเทศไทย

“ผังเมืองไทย” เป็นการทำให้เรามาจัดระเบียบบ้านเมืองกันใหม่เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความสอดคล้องกับธรรมชาติมากขึ้น รู้จักที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างชาญฉลาดดังเช่นเคยเป็นมาแต่ในอดีต.

รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา adis@nida.ac.th
คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ
ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

เดลินิวส์ 27 ตุลาคม 2554

8415
ดร.พอล เดนนิสัน แห่ง Educational Kinesiology Foundation ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้คิดค้นพัฒนาวิธีบริหารสมองมากว่า 20 ปี เพื่อช่วยให้สมองทั้งด้านซ้ายด้านขวาทำงานประสานกันได้ดี ผ่านวิธีฝึกแบบ Brain Gym ข้อมูลจากนิตยสาร ผู้หญิงวันนี้

จิบน้ำเปล่าทีละน้อยตลอดวัน วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจและร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา และสมองก็จะเปิดว่าง สามารถรับข่าวสาร และข้อมูลได้ดี เพราะน้ำช่วยปรับสารเคมีที่สำคัญในสมองและระบบประสาท ในช่วงเวลาที่รู้สึกเครียด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายขาดน้ำ ฉะนั้นจึงควรจิบน้ำเปล่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้น้ำไปหล่อเลี้ยงระบบของร่างกาย

บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ ใช้มือซ้ายจับไหล่ขวา บีบกล้ามเนื้อให้แน่น พร้อมกับหายใจเข้า ลำดับต่อไป ให้หายใจออกและหันศีรษะไปทางซ้าย จนกระทั่งสามารถมองข้ามไหล่ซ้ายของตัวเองไปได้ จากนั้น ให้สูดลมหายใจลึก ๆ วางแขนซ้าย ลงบนไหล่ขวา พร้อมกับห่อไหล่ ค่อย ๆ หันศีรษะกลับ ไปตรงกลาง และเลยไปด้านขวา จนกระทั่งสามารถมองข้ามไหล่ขวาไปได้ ยืดไหล่ทั้ง 2 ข้างออก ก้มคางลง จรดหน้าอก พร้อมกับ สูดหายใจลึก ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อ ได้ผ่อนคลาย เปลี่ยนมาใช้มือขวาจับไหล่ซ้ายบ้าง และทำซ้ำกัน ข้างละ 2 ครั้ง วิธีบริหารแบบนี้ จะช่วยกระตุ้นความชำนาญด้านการฟังและการได้ยิน

บริหารขาสวย ส่งผลดีต่อสมอง ยืนตรงให้เท้าชิดกัน ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง โดยยกส้นเท้าขึ้น งอเข่าขวาเล็กน้อย แล้วโน้ม ไปข้างหน้าเล็กน้อยให้ก้นจะอยู่ในแนวเดียวกับส้นเท้าขวา สูดลมหายใจเข้า และ ผ่อนออก ในขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนี้ ค่อย ๆ กดส้นเท้าซ้าย ให้วางลงบนพื้นพร้อมกับ งอเข่า ขวาเพิ่มขึ้น หลังเหยียดตรง สูดลมหายใจเข้า แล้วกลับไปตั้งต้นใหม่อีกครั้ง เปลี่ยนจากขาข้าง ซ้ายเป็นขาข้างขวา โดยออกกำลังในท่านี้ทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน การบริหารในท่านี้จะดีสำหรับการปรับปรุงสมาธิ รวมทั้งเพิ่มอัตราความเร็วในการอ่านหนังสือ

ขีด ๆ เขียน ๆ บริหารสมอง เขียนเส้นขยุกขยิก หรือ อะไรก็ได้ลงบนกระดาษ โดยเขียนด้วยมือทั้งสองข้างพร้อมกัน ลายเส้นที่ได้อาจจะดูเพี้ยน ๆ แต่ได้ผลดี ต่อระบบสมองมากวิธีนี้จะช่วยปรับปรุง ระบบการประสานงานของสมอง ผลดีคือเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำในเรื่องทิศทาง และความชำนาญด้านการสะกดคำ การคำนวณ

นวดใบหู กระตุ้นความเข้าใจ นั่งพักสบาย ๆ แตะปลายนิ้วทั้ง 2 ข้างที่ใบหู เคลื่อนนิ้วไปยังส่วนบนของหู จากนั้นบีบนวด และ คลี่รอยพับของใบหูทั้ง 2 ข้างออก ค่อย ๆ เคลื่อนนิ้ว ลงมานวดบริเวณอื่น ๆ ของใบหู ดึงเบาๆ เมื่อถึงติ่งหู ดึงลง ให้ทำซ้ำกัน 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการได้ยิน และ ทำให้ความ เข้าใจดีขึ้น

นวดจุดเชื่อมสมอง วางมือข้างหนึ่งไว้บนสะดือ ส่วนมืออีกข้างหนึ่ง ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือ และ นิ้วชี้ วางบนกระดูก หน้าอกบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า ค่อย ๆ นวดทั้ง 2 ตำแหน่งประมาณ 10 วินาที วิธีการนี้จะช่วยลดความงง หรือความสับสน และกระตุ้นพลังงาน ช่วยให้มีความคิดแจ่มใส

กดจุด คลายเครียด ใช้นิ้ว 2 นิ้วกดลงบนหน้าผากทั้ง 2 ด้าน ประมาณกึ่งกลางระหว่างขนคิ้ว และ ตีนผม กดค้าง ไว้ประมาณ 3 - 10 นาที วิธีนี้จะช่วยคลายความตึงเครียด และ เพิ่มการหมุนเวียนโลหิตเข้าสู่สมอง

เดลินิวส์  27 ตุลาคม 2554

หน้า: 1 ... 559 560 [561] 562 563 ... 648