แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: [1] 2 3 ... 674
1
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ และคณะกรรมการมูลนิธิ ร่วมในพิธีมอบห้องผ่าตัดปลอดเชื้อ มาตรฐาน ISO7 มูลค่า 4,180,000 บาท (สี่ล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กล่าวขอบคุณ และคณะกรรมการฯ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ร่วมรับมอบ ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคาร 2 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ

การสนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ริเริ่มสนับสนุนครั้งใหญ่เนื่องในโอกาสครบรอบ 110 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เมื่อปีพ.ศ.2563 รวมทั้งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยได้มีการสนับสนุนเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นการมอบครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มอบรถพยาบาลติดตั้งอุปกรณ์ มอบรถ X-Ray เคลื่อนที่ระบบดิจิทัล เป็นต้น รวมมูลค่าการสนับสนุนทางการแพทย์ไม่ต่ำกว่า 197 ล้านบาท

เดลินิวส์
10 ธค 2567

2
ครอบครัวคาใจ ชายวัย 31 ปี ดับ หลังถูกส่งบำบัดเหล้าที่โรงพยาบาล ส่งร่างตรวจชันสูตร พบเสียชีวิตจากสมองถูกกระแทก ด้าน รพ. เตรียมพบญาติ แถลงข้อเท็จจริง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2567 นายสะอาด บุญลา อายุ 31 ปี ชาวตำบลขนุน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เสียชีวิตอย่างไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่โรงพยาบาลกันทรลักษ์ ทำให้ทางญาติเกิดความเคลือบแคลงใจ นำไปสู่การนำร่างของนายสะอาด ผู้ตาย ไปชันสูตรที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ โดยผลชันสูตรสาเหตุของการตาย สันนิษฐานว่า สมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกของแข็งทำให้ทางครอบครัวของผู้ตาย มั่นใจว่านายสะอาดถูกทำร้ายจนเสียชีวิต

โดยนายทองสุข แก้วรักษา อายุ 62 ปี พ่อของผู้ตาย เปิดเผยว่า สาเหตุที่พาลูกชายเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากลูกชายมีอาการช็อก สั่น เพราะขาดเหล้า จึงนำตัวส่งโรงพยาบาลกันทรลักษ์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา รักษาอยู่เป็นเวลา 2 คืน หลังจากนั้นวันที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 03.00 น. เจ้าหน้าที่ได้ย้ายลูกชายไปรักษาอีกตึกหนึ่ง เนื่องจากพยาบาลแจ้งว่าลูกชายมีอาการพูดคุยไม่รู้เรื่อง เมื่อไปถึงตึก มีแพทย์แจ้งให้ไปรอข้างนอก โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลจะจัดการกันเอง ในขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่ 4 คน ชาย 2 หญิง 2 อยู่ภายใน

ต่อมาตนได้ยินเสียงร้องของลูกชาย และพบว่าลูกชายถูกรุมทำร้าย แต่ไม่ทราบว่าด้วยวิธีใด หลังเกิดเหตุตนไม่ได้ถามเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด แต่เมื่อพบหน้าของลูกชาย พบว่าบริเวณใบหน้าของลูกชายปูดบวม คิ้วแตก หน้าผาก โหนกแก้ม ปากบวม ลูกชายร้องด้วยความเจ็บปวด แต่ไม่ได้ทักท้วงอะไร คิดว่าจะไม่รุนแรงขนาดนี้

ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคม 2567 ลูกชายตนได้เสียชีวิต หลังเกิดเหตุ มีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโทรศัพท์ติดต่อตนไม่ทราบว่าใคร และแจ้งว่าทำรุนแรงไปหน่อย และยังไม่มีการพูดคุยกับทางโรงพยาบาลแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตนมั่นใจว่าลูกชายถูกทำร้ายจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ตนยังติดใจที่ลูกชายถูกทำร้ายจนเสียชีวิต และอยากขอความเป็นธรรมให้กับลูกชายของตน อีกทั้งลูกชายตนเป็นเสาหลักของครอบครัว หลังเกิดเหตุยังไม่มีการติดต่อจากทางโรงพยาบาลแต่อย่างใด

ด้าน นางมลิวัลย์ แก้วรักษา อายุ 61 ปี ป้าของผู้เสียชีวิต กล่าวว่า มีข้อผิดสังเกตหลายอย่าง ในการเสียชีวิตของญาติตน ทั้งในเรื่องของบาดแผลหลายๆ จุด และการให้รีบเอาศพออกในเวลาการเกิดแบบเร่งด่วน ซึ่งตนยังไม่ทราบถึงสาเหตุของการเสียชีวิตที่แน่ชัด โดยตนขอไปดูศพก่อน ซึ่งจะเห็นว่ามีบาดแผลหลายแห่ง ตนจึงขอให้มีการพิสูจน์ศพ

โดยในครั้งแรกนำร่างไปทำการชันสูตรที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยจากผลการชันสูตรเครื่องสแกนสมอง ก็ไม่พบอาการผิดปกติแต่อย่างใด ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ จึงได้ประสานขอนำร่างของผู้ตายไปชันสูตรที่โรงพยาบาลตำรวจ จนกระทั่งมาพบว่า ผู้ตายเสียชีวิตจากสมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกของแข็ง ซึ่งผู้ตายเป็นเสาหลักของบ้าน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ครอบครัวต้องสูญเสียคนสำคัญไป ตนจึงออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมในเรื่องนี้

ผู้สื่อข่าวได้โทรศัพท์สอบถามข้อเท็จจริงกับ นายแพทย์ลักษณะเลิศ วรรณภาสนี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกันทรลักษ์ ได้ให้ข้อมูลว่า เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จะลงพื้นที่บ้านของผู้เสียชีวิต เพื่อพูดคุยกับทางญาติ และได้มอบสิ่งของเยียวยาจิตใจ

ส่วนรายละเอียดเรื่องของสาเหตุของการเสียชีวิตนั้น จะต้องมีการพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่ง ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และอาจจะมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยผู้บริหารระดับสูง จะเป็นคนแถลงชี้แจงในเรื่องนี้ ซึ่งตอนนี้ก็มีการหาข้อมูลในรอบด้าน

แต่ในส่วนของที่สื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลออกไป ก็เป็นข้อเท็จจริงในส่วนหนึ่ง ที่เราต้องหาข้อมูลในเรื่องนี้ แต่หากจะถามว่ามีการทำร้ายร่างกายกันไหม ต้องมองว่าเป็นความชุลมุนมากกว่า แต่ทำร้ายหรือไม่ ต้องให้เจ้าหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ต่อไป.

Thairath Online
10 ธันวาคม 2567

3
สาธารณสุข ยันเคส "ผิง ชญาดา" นักร้องสาว ไม่ได้ดับจากร้านนวด เผยผลวินิจฉัยเป็น 'โรคไขสันหลังอักเสบ' อยากให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเสียชีวิตของ "ผิง ชญาดา" ที่ระบุว่ามีสาเหตุมาจากการนวดบิดคอ ที่ร้านนวดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ว่า ตนได้รับรายงานเรียบร้อยแล้ว โดยผู้เสียชีวิต ได้มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ปวดเมื่อย เป็นเวลาหลายวัน ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา และไปตรวจที่โรงพยาบาลในวันที่ 28 ตุลาคม ซึ่งเข้าออกโรงพยาบาลหลายครั้ง โดยมีการเอกซเรย์ และทำเอ็มอาร์ไอ เป็นภาพที่ชัดเจนว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการนวดแผนไทย ซึ่งตนก็อยากให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากรายงานพบว่า วันที่ 6-11 พฤศจิกายน ผู้เสียชีวิตได้เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.อุดรธานี ได้แอดมิทแผนกกระดูกและข้อ โดยแพทย์ตรวจพบว่า แขนขาอ่อนแรง และตรวจเอ็มอาร์ไอเพิ่ม พบว่าไม่มีกระดูกคอหัก หรือเคลื่อน ตรวจโดยเจาะน้ำไขสันหลัง สรุปวินิจฉัยเป็น โรคไขสันหลังอักเสบ ซึ่งได้ให้ยารักษา หลังจากนั้นอาการเริ่มดีขึ้น จึงกลับไปพักที่บ้าน

แต่หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ยังมีอาการเกร็งกระตุกตามร่างกาย จนวันที่ 22 พฤศจิกายน มีอาการเกร็งและอ่อนแรงมากขึ้น จึงเข้าไอซียู รพ.อุดรธานี มีอาการช็อคจากติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ส่วนรายละเอียดทั้งหมดนั้น ตนขอให้รอฟังจากผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อถามว่า จะสร้างความมั่นใจเรื่องการนวดอย่างไร เพราะเกี่ยวข้องกับนโยบายแพทย์แผนไทยด้วย นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ขอให้มั่นใจ เพราะผลการตรวจเอ็มอาร์ไอ เป็นที่ชัดเจนแล้ว ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยียืนยัน จึงขอให้ประชาชนสบายใจ

9 ธ.ค.2567
ข่าวสด

4
นวดเท่ากับเอาชีวิตไปเสี่ยง จริงหรือ? หลังสังคมแตกตื่นสืบเนื่องจากปม "ผิง ชญาดา" นักร้องรถแห่ วัย 20 ปี ดับปริศนา พุ่งสงสัยท่า "นวดบิดคอ" สาเหตุพรากชีวิตเด็กสาวผู้เป็นแก้วตาดวงใจของครอบครัว

ธรรมชาติของมนุษย์ หากหวาดกลัวต่อสิ่งใดย่อมเอาตัวออกห่างออกจากสิ่งนั้น ซึ่ง ณ เวลานี้ การนวด กิจกรรมบรรเทาปวดเมื่อย ที่มีร้านรวงให้บริการกระจายอยู่ทั่วตรอก ซอย หัวมุมถนน ก่อนหน้านี้การเดินเข้าร้านนวดแทบไม่ต้องคิดอะไรมาก ทว่า ตอนนี้การนวดกลายเป็นกิจกรรมที่หลายคนเป็นกังวลว่าหากไปนวดแล้วจะเกิดอันตรายตามมาหรือไม่ อย่างไร

นวด เป็นกิจกรรมเสี่ยงจริงหรือ?
เสี่ยงอันตรายแน่ หาก "หมอนวด" ไม่มีใบรับรองจบหลักสูตรหรือใบประกอบผ่านการอบรม รวมถึงสถานประกอบการที่ไม่มีใบอนุญาต สองสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าคุณกำลังใช้บริการ นวดเถื่อน ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจได้รับบาดเจ็บ เป็นอันตรายได้ หรือ นวดในจุดห้ามนวด หรือ ท่านวดนอกตำรา นวดท่าลักษณะอันตราย ยกตัวอย่างเช่น

เพจฯ Brainwell Medical : Advanced Brain Stimulation อ้างอิงข้อมูลจาก พญ.ฐิตาพร วันดี แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่อนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูลเตือนใจกับประชาชน กรณี "นวดซ้ำย้ำจนพิการ" เคสจริง อันตรายจริง หมอนวดใช้น้ำหนักตัวกดให้ดัง "กรึ๊บ" ที่คอและหลัง ผลปรากฏว่าคนไข้หายปวดทันทีเพราะชาไปทั้งตัว ร่างกายไม่รู้สึก ขยับแขนขาไม่ได้ อัมพาตแขนขาฉับพลัน ทำ MRI เป็นไขสันหลังบาดเจ็บระดับคอ C5-6 (Cervical Spondylotic Myelopathy)

ข้อคิดสำหรับเคสนี้

- การนวดได้ผล "ดี" ถ้าทำถูกต้อง รู้จริง รู้ลึก ไม่ประมาท ไม่หลงตัวเอง
- “จัดกระดูก” ไม่ใช่ใครก็ทำได้ อย่าฝากความพิการทั้งชีวิตที่มือคนอื่น
- การนวดหรือจัดกระดูก ทำแล้ว กรึ๊บ อาจทำให้โล่ง สบาย แต่ไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป ขึ้นอยู่กับโรค
- เมื่อใดก็ตามที่นวด จัดกระดูก แล้วขยับแขน หรือ ขาไม่ได้ เรื่องใหญ่มาก ต้องรีบไป รพ. มักช่วยทัน
- คนนวดหรือจัดกระดูกควรดู film x-ray or MRI ทุกครั้ง ต้องระวังในเคสที่มีปัญหา เช่น ปวดเรื้อรัง ตามข้อ รูมาตอยด์ ข้อติด แคลเซียมเกาะ หมอนรองกระดูกปลิ้น กระดูกเลื่อน ฯลฯ
- ถ้าคนที่ชอบนวดจัดกระดูก ชอบกรึ๊บๆ เราควรไปหาหมอเฉพาะทางใกล้บ้านสักหน่อย ตรวจ x-ray ให้เรียบร้อย ให้คุณหมอท่านช่วยให้ความเห็นว่าทำได้หรือไม่ ส่วนใหญ่มักแนะนำอย่าให้รุนแรงมาก
- ส่วนตัวปวดคอบ่าไหล่หลังบ้าง แต่เป็นหมอเฉพาะทาง ก็จะไม่ค่อยทำให้กรึ๊บรุนแรง ยกเว้นว่าประเมินตัวเองอย่างละเอียดแล้วเป็นจากการติด ขัด เกร็งจากกล้ามเนื้อหรือเอ็นจริงๆ x-ray, MRI เรียบร้อยแล้ว โดยเราจะให้เฉพาะนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำให้เท่านั้น เพราะชีวิตตัวเองมูลค่าแพงมาก ไม่เสี่ยงกับความพิการด้วยมือคนอื่นเด็ดขาด

ควรนวดกับใคร ?

ส่วนตัวจะขอคนนวดประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 5-10 ปี คุยตั้งแต่แรกว่าจะเอาแค่ไหน เน้นความปลอดภัย ไม่เน้นท่าพิสดาร ใครขี้โม้โอ้อวดเปลี่ยนเลย

คนเก่งจริงมักจะไม่ขี้โม้ ไม่โอ้อวด ไม่โฆษณาเกินจริง และระวังความปลอดภัยเป็นหลัก

ส่วนคนขี้โม้โอ้อวดโฆษณาเกินจริง = คนประมาท ต่อให้นวดจัดกระดูกมา 999 เคสแล้วดี ดาราไปทำเยอะ นักการเมืองไปทำเยอะ แต่ถ้าประมาทเคสที่ 1,000 พิการ แล้วแจ็คพอตมาที่เราล่ะ?

ปล.

- สงสารคนไข้และญาติที่ต้องพิการตลอดชีวิต
- คนที่มาผ่าตัดรักษา มาดูแลต่อเนื่องคือ หมอผ่าตัด หมอฟื้นฟู นักกายภาพ นักกิจกรรมบำบัด พยาบาล ฯลฯ​ ไม่ใช่คนที่ทำให้คนไข้พิการ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนวดในไทย
มีผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านที่ออกมาให้ข้อมูล นวดอย่างปลอดภัย รวมไปถึงให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนวดในไทย โดย ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ กรรมการแพทยสภา และนายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย เผยถึงเรื่องนี้ว่า

"ขอเล่าให้ฟังเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนวดในไทย

ร้านนวดที่พบเห็นกันทั่วไปในไทยนั้น จะเปิดทำการได้ต้องขออนุญาตตาม พรบ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) หรือ สสจ. ก่อน โดยคนที่จะมานวดในร้านนี้ได้ ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนวดตามที่ สบส. กำหนด (หลักสูตรส่วนใหญ่เป็นการนวดไทย แต่ก็มีนวดแบบอื่นๆ ด้วยเช่น นวดเท้า) แล้วคนที่ผ่านการอบรมต้องไปขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการกับ สบส. หรือ สสจ. จึงจะทำการนวดในร้านนวดได้ ซึ่งการนวดแบบนี้เป็นการนวดเพื่อผ่อนคลายมากกว่าที่จะรักษาโรคใดๆ เพราะเป็นหลักสูตรสั้นๆ

ส่วนกรณีนวดแผนไทยแบบครบๆ ก็จะมีแพทย์แผนไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ด้านการนวดไทย ซึ่งกลุ่มนี้จะเรียนการนวดแผนไทยอย่างละเอียด มีการสอบเพื่อรับใบอนุญาต และจะเน้นรักษาโรคโดยการนวดตามหลักการแพทย์แผนไทย ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ (รามาธิบดีก็มีนะครับ หากใครสนใจ) หรือคลินิกแพทย์แผนไทยที่ต้องขออนุญาตตามพรบ. สถานพยาบาล

การนวดถ้าตามหลักสูตรทั้งแบบข้อ 1. และ 2. ไม่มีการนวดโดยการบิดคอ

การนวดแบบมีการบิดคอ เท่าที่ผมทราบจะเป็นวิธีการนวดตามหลักไคโรแพรคติก ซึ่งในไทยคนที่จะทำได้ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องจบหลักสูตรปริญญาหรือเทียบเท่าทางด้านนี้ และจะต้องสอบผ่านในไทย จนได้รับหนังสืออนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์ไคโรแพรคติก ซึ่งเป็นหนังสืออนุญาตตาม พรบ. ประกอบโรคศิลปะ เท่าที่ผมทราบคือในไทยมีไม่เกิน 50 คนที่มีหนังสืออนุญาต และต้องทำในสถานพยาบาลเท่านั้น

สุดท้ายที่เห็นว่านวดตามร้านนวดแล้วมีการบิดคอ ที่คนที่ไปนวดเจอกันบ่อยๆ อาจจะเกิดจากเป็นหมอนวดเถื่อนไม่ได้ขึ้นทะเบียนบวกกับร้านก็ไม่ได้ขออนุญาต หรือผู้นวดทำเพิ่มเองนอกเหนือจากหลักสูตร ดังนั้น คนที่จะไปนวดแผนไทย ควรตรวจสอบก่อนว่า ร้านนวดได้รับอนุญาตไหมและคนนวดได้ขึ้นทะเบียนไหม และควรระบุให้ชัดไปเลยว่าห้ามบิดคอในการนวดเพื่อกันการทำเพิ่มเองนอกเหนือหลักสูตร

อันนี้ขอเน้นเรื่องการบิดคอ เพราะการบิดคอไม่ถูกวิธีจะทำให้เส้นเลือดที่คอขาดหรือผิดปกติ จนทำให้เสียชีวิตได้ มีรายงานทางนิติเวชเรื่อยๆ ส่วนกรณีในข่าวที่อ้างว่า นวดจนเสียชีวิต เนื่องจากข้อมูลยังไม่ครบ ขอไม่กล่าวถึงนะครับ

เพิ่มเติม คนที่ใช้วิธีการนวดเพื่อการรักษาได้อีก ก็อาจมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์กลุ่มอื่นๆ ซึ่งก็ต้องทำในสถานพยาบาล โดยมักทำควบคู่กับวิธีการอื่นๆ ในศาสตร์แผนปัจจุบันด้วย"

ตรวจสอบสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (สปา นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมความงาม) คลิก

ข้อเท็จจริงอีกมุมในวันที่ "การนวด" ศาสตร์แห่งบำบัดตกเป็นผู้ต้องสงสัย
ข้อเท็จจริงอีกมุมในวันที่ "การนวด" ศาสตร์แห่งบำบัดตกเป็นผู้ต้องสงสัย
ตำแหน่งใดในร่างกายห้ามนวด
1. คอ : บริเวณนนี้มีจุดชีพจร หากกดผิดจุดอาจทำให้เกิดอันตรายกับเส้นเลือดในสมอง ถ้านวดหรือกดบริเวณเส้นเลือดแดงใหญ่อาจทำให้สมองขาดเลือด
2. ขมับ : เป็นบริเวณที่กระดูกไม่แข็งแรงและกล้ามเนื้อที่คลุมศีรษะบาง ถ้ากดแรงอาจทำให้บาดเจ็บได้ง่าย เช่น เส้นเลือดแตก
3. กระดูกสันหลัง อุ้งเชิงกราน : ผู้นวดที่ไม่มีความเชี่ยวชาญแนะนำให้หลีกเลี่ยงเพราะถ้านวดไม่ระมัดระวังและนวดรุนแรงเกินไปทำให้กระดูกสันหลังและอุ้งเชิงกรานเคลื่อนหรือหักได้
4. รักแร้ : บริเวณนี้มีเส้นเลือดและเส้นประสาทอยู่มากถ้ามีการกดหรือกระชากบริเวณไหล่และรักแร้อาจดึงเส้นประสาทฉีกขาด
5. ท้อง : ภายในช่องท้องมีอวัยวะสำคัญหากนวดด้วยความรุนแรงทำให้จุกและปวดท้อง

คนที่ไม่ควรนวด
• กำลังตั้งครรภ์
• ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
• คนที่เป็นโรคกระดูกพรุน
• เป็นโรคที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น เลือดไหลไม่หยุด แค่ถ้ากินยากันการแข็งตัวของเลือดอยู่สามารถนวดเบาๆ ได้
• ผื่นหรือแผลเปิดที่เชื้อโรคสามารถเข้าได้
• โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
• บริเวณที่กระดูกหัก เนื่องจากอาจเกิดลิ่มเลือดตามเส้นเลือดได้
• เป็นโรคติดต่อที่แพร่เชื้อได้ เช่น โควิด-19 วัณโรค หรืออีสุกอีใส
• ผู้ที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ สามารถนวดได้หลังจากรับประทานอาหาร 30 นาทีขึ้นไป
• ผู้มีอาการบาดเจ็บ
• เป็นไข้
• ห้ามนวดบริเวณที่มีการผ่าตัดน้อยกว่า 1 เดือน

จากข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญสะท้อนให้เห็นว่า การนวดไม่เป็นอันตรายหากการนวดนั้นทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีใบรับรองฯ สถานประกอบที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ที่สำคัญข้อควรรู้ก่อนนวดเป็นสิ่งจำเป็น และต้องประเมินสภาพร่างกายของตนเองว่ามีภาวะ อาการ เจ็บป่วยใดที่อยู่ในเกณฑ์ห้ามหรือไม่ หรือหากมีอาการปวด ปวดเรื้อรัง แนะนำรีบพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดว่าเกิดความผิดปกติกับร่างกายตรงส่วนใด แพทย์จะได้ทำการรักษาได้อย่างตรงจุด

รวบรวมข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลรามาธิบดี, Smith Fa Srisont, โรงพยาบาลรามาธิบดี, ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์, พญ.ฐิตาพร วันดี, Brainwell Medical : Advanced Brain Stimulation

อมรินทร์ทีวี
9ธค2567

5
สบส.แนะสังเกตร้านนวดที่ได้รับรองมาตรฐาน ต้องมีสัญลักษณ์ ‘มือจีบสีทอง-กล้วยไม้สีม่วง’

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ดร.นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อตนได้รับทราบข้อมูลการเสียชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุการรับบริการนวด ก็ได้สั่งการให้ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 8 ประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ในการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทันที โดยจากการตรวจสอบพบว่าร้านนวดซึ่งถูกกล่าวอ้างนั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี เปิดให้บริการนวดตัว นวดเท้า มีการขออนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 และในระหว่างเข้าตรวจสอบพบผู้ให้บริการนวด จำนวน 7 ราย โดยผู้ให้บริการทั้ง 7 ราย มีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

“จากการตรวจสอบในเบื้องต้นก็พบว่าร้านนวดดังกล่าว มีการดำเนินการตามมาตรฐานตามกฎหมายอย่างถูกต้อง แต่เพื่อให้เกิดความกระจ่างต่อสาเหตุการเสียชีวิต และให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย พนักงานเจ้าหน้าที่จะมีการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม และส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบว่าการให้บริการนวดถูกต้องตามแบบแผนการนวดหรือไม่ และเพื่อป้องกันมิให้เกิดความสูญเสีย หรือผลกระทบต่อประชาชนผู้รับบริการอีกในอนาคต สบส. จะดำเนินการเชิงรุกในการประชาสัมพันธืให้ความรู้ประชาชนในการเลือกรับบริการร้านนวด ยกระดับผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น มีการติดตาม ประเมินผล จัดระเบียบสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทั่วประเทศให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดปรับบทลงโทษผู้ประกอบการและหมอนวดเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความตระหนักและระมัดระวังในการให้บริการ” ดร.นพ.ภานุวัฒน์ กล่าว

ด้าน ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า การให้บริการของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ทั้งสปา หรือนวดเพื่อสุขภาพนั้น ล้วนเป็นบริการที่มีความใกล้ชิดกับผู้รับบริการ หากขาดการควบคุมคุณภาพมาตรฐานย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บ การแพร่เชื้อโรค หรือมีการล่วงละเมิดทางเพศได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย จะต้องเลือกรับบริการจากสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ได้มีการอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่

โดยสามารถตรวจสอบจากหลักฐานสำคัญ 3 ประการ ซึ่งจะแสดงไว้ ณ จุดบริการ ได้แก่
1.มีการแสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ออกโดย สบส.หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
2.มีการแสดงตราสัญลักษณ์มาตรฐาน สบส. เป็นรูปมือจีบสีทองและดอกกล้วยไม้สีม่วง และ
3.หากเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภทสปา จะต้องมีการแสดงใบอนุญาตของผู้ดำเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพอีกด้วย

หากตรวจแล้วไม่มีการแสดงหลักฐาน หรือแสดงไม่ครบ ก็ไม่ควรรับบริการเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้ ทั้งนี้ เพื่อความมั่นใจประชาชนสามารถตรวจสอบใบอนุญาตได้ว่าจริงหรือไม่โดยแสกนดูข้อมูลในQR Code ในใบอนุญาตว่าตรงกันหรือไม่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อร้านนวดและผู้ให้บริการที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ที่เว็บไซต์กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ https://hss.moph.go.th

9 ธันวาคม 2567
มติชน

6
แพทย์ เผย ยอดคนไข้ เสริมความงาม ได้รับผลข้างเคียงกว่า 60ราย ในรอบ 12เดือน บางรายหน้าเบี้ยว เส้นเลือดอุดตัน สูญเสียการมองเห็น แนะ ตรวจสอบหมอ-คลินิก-ผลิตภัณฑ์

วันที่ 7 ธ.ค.2567 รศ.พิเศษ พญ.วิไล ธนสารอักษร กรรมการและประชาสัมพันธ์สมาคมเวชสำอางและศัลยศาสตร์ผิวพรรณ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการแถลงข่าวจัดกิจกรรม "Master of Complication หัตถการความงาม” ซึ่งจัดโดยสมาคมเวชสำอางและศัลยศาสตร์ผิวพรรณ (Thai Society of Cosmetic Dermatology and Surgery) เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า

ปัจจุบันการดูแลความงามเป็นที่สนใจและเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางการแพทย์ด้านความงามในประเทศไทยอย่างก้าวกระโดดจนเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำของโลก อย่างไรก็ตาม การรักษาที่มากขึ้นทั้งจำนวนผู้รักษา และความหลากหลายของหัตถการย่อมทำให้เกิดกรณีศึกษาเกี่ยวกับผลข้างเคียงทางการรักษา

แพทย์ เผย ยอดคนไข้ เสริมความงาม ได้รับผลข้างเคียงกว่า 60ราย ในรอบ 12เดือน บางรายหน้าเบี้ยว เส้นเลือดอุดตัน สูญเสียการมองเห็น แนะ ตรวจสอบหมอ-คลินิก-ผลิตภัณฑ์

เช่น ภาวะการอุดตันของเส้นเลือด การสูญเสียการมองเห็น การติดเชื้อหลังการรักษาด้วยสารเติมเต็ม การเกิดภาวะผิวไหม้ แผลเป็น จากการรักษาด้วยเลเซอร์ คลื่นเสียง และคลื่นวิทยุ รวมถึงภาวะหน้าผิดรูป การติดเชื้อ และผลข้างเคียงอื่น ๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจและความพิการ จนถึงอาจอันตรายถึงชีวิตได้


ทั้งนี้ เคยมีคนไข้ที่เข้ามารับการรักษาผลข้างเคียงจากเสริมความงามว่าตามไปทำกับหมอกระเป๋าที่โกดังแห่งหนึ่ง ซึ่งอันตรายมาก พอเกิดการติดเชื้อแล้ววุ่นวายเลย และจากข้อมูลของโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งมีเซ็นเตอร์รับคนไข้

พบว่าคนไข้ที่ได้รับผลกระทบจากการรับบริการเสริมความงามที่ไม่ถูกต้องในรอบ 12 เดือนก่อนหน้านี้กว่า 60 ราย ที่ฉีดฟิลเลอร์จากคนที่ไม่ใช่แพทย์ แล้วทำให้เกิดปัญหาฟิลเลอร์แล้วเข้าสู่หลอดเลือด

ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้เกิดตาบอด ถ้าไปอุดตันเส้นเลือดหัวใจ อุดตันเส้นเลือดสมองกลายเป็นโสตรก และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ แต่ที่รายงานเข้ามานั้นยังไม่มีเคสเสียชีวิต

รศ.พิเศษ พญ.วิไล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ขอเตือนไปยังประชาชนว่า การรับบริการความงาม ต้องตรวจสอบว่าแพทย์ผู้ให้บริการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจริงหรือไม่ ผ่านทางเว็บไซต์ของแพทยสภา

ตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และตรวจสอบสถานพยาบาลว่าขึ้นทะเบียนหรือไม่ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)

7 ธ.ค.2567
ข่าวสด

7
ผลสำรวจใหม่ของ Soliant Health ซึ่งได้สำรวจแนวโน้มการจ้างงานในสายอาชีพดูแลสุขภาพ ประจำปี 2024 พบว่า บุคลากรด้านการแพทย์รุ่น Gen Z ในสหรัฐ ราวๆ หนึ่งในห้าหรือประมาณ 22% มีแผนจะลาออกจากสายอาชีพนี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมนี้กำลังจะขาดแคลนบุคลากรมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้

เมื่อเทียบแนวโน้มการ “ลาออก” ของวัยทำงานสายอาชีพนี้ในแต่ละเจนเนอเรชัน ก็พบว่าคนรุ่นก่อนๆ ที่ทำงานด้านการดูแลสุขภาพและสาธารณสุข (แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ) มีแนวโน้มที่จะลาออกจากงานน้อยกว่าคนรุ่น Gen Z อย่างเห็นได้ชัด

โดยบุคลากรการแพทย์รุ่นมิลเลนเนียล (Gen Y) มีเพียง 5.4% เท่านั้นที่วางแผนจะออกจากสายงานนี้ ส่วนกลุ่มคนรุ่น Gen X ยิ่งมีจำนวนน้อยกว่านั้นมากไปอีก คือมีเพียง 2.5% ที่อยากลาออกจากงาน ในขณะที่กลุ่มคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ที่มีแนวโน้มจะเกษียณอายุเร็วๆ นี้ มีอยู่ที่ประมาณ 15.2% ซึ่งก็ยังต่ำกว่าตัวเลขของคนรุ่น Gen Z อย่างมาก

เมื่อที่ทำงาน Toxic ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรการแพทย์หรือสายอาชีพไหนก็อยากลาออก
สำหรับสาเหตุที่ทำให้บุคลากรการแพทย์รุ่นใหม่ มีแนวโน้มอยากลาออกจากงานมากกว่ารุ่นอื่นๆ นั้น เหตุผลอันดับ 1 คือ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเป็นพิษในที่ทำงานที่ไม่ดีต่อสุขภาพจิตใจ รวมถึงข้อจำกัดในการก้าวหน้าในอาชีพ ในขณะที่เหตุผลรองลงมา คือ ความเครียดและความเหนื่อยล้าจากการทำงาน

ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้าน HR อย่าง ไบรอัน ดริสโคลล์ (Bryan Driscoll) ให้ความเห็นประเด็นนี้ผ่าน Newsweek ว่า บริบทของโลกการทำงานยุคนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่วัฒนธรรมองค์กรหลายแห่งยังไม่ปรับตาม อีกทั้งคนรุ่น Gen Z พวกเขาคาดหวังในเรื่องความโปร่งใส ความเท่าเทียม และจุดมุ่งหมายในการทำงานที่มีความหมาย เมื่อสถานที่ทำงานไม่สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ พวกเขาก็พร้อมจะลาออก

“สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่า คนรุ่น Gen Z กำลังเผชิญกับภูมิทัศน์การทำงานที่เต็มไปด้วยความท้าทายที่คนรุ่นอื่นไม่เคยเห็นมาก่อน รวมถึงความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและโรคระบาดทั่วโลก ก็ได้เข้ามาเปลี่ยนแนวคิดเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน และสุขภาพจิตไปอย่างสิ้นเชิง” ดริสโคลล์ อธิบาย

เขาตั้งข้อสังเกตอีกว่า จุดแตกหักที่ทำให้คนรุ่นใหม่อยากลาออกจากงานไม่ว่าจะสายอาชีพอะไรก็ตาม นั่นคือ พวกเขาเบื่อหน่ายกับระบบที่ปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนเป็นแค่ทรัพยากรหนึ่งขององค์กร ทั้งที่พวกเขาเป็นมนุษย์ คนรุ่นใหม่อยากได้รับการสนับสนุนในเรื่องขอบเขตการทำงาน พวกเขาเห็นว่าการทำงานแบบไม่ยั่งยืน ไม่ดูแลสุขภาพ สามารถทำลายชีวิตได้ พวกเขาจึงกล้าที่จะให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งจะโทษพวกเขาในเรื่องนี้ได้เหรอ?

ความเครียด-ภาวะหมดไฟ ส่งอิทธิพลสูงในการมองหางานอื่น
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว กลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียล คนรุ่น X และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ต่างพบว่า ความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นสาเหตุสำคัญในการมองหางานอื่น

รอน วอชเบิร์น (Ron Washburn) รองประธานบริหารของ Soliant Health บอกว่า ผลการศึกษาครั้งนี้เน้นย้ำว่ามันมีความจำเป็นเร่งด่วนที่นายจ้างของสายอาชีพนี้ ต้องเร่งจัดการกับความเครียดที่ส่งผลกระทบต่อพนักงานและบุคลากรของตน

สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงแรงจูงใจและความท้าทายด้านอาชีพการงาน ที่บุคลากรด้านกรแพทย์รุ่น Gen Z กำลังเผชิญ นายจ้างต้องปรับตัวให้เข้ากับค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีความยืดหยุ่นและสามารถทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ขณะที่ดริสคอลล์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หากแนวโน้มการลาออกนี้ยังคงดำเนินต่อไป อุตสาหกรรมการแพทย์และการดูแลสุขภาพอาจเผชิญกับวิกฤติขาดแคลนบุคลากรที่มีพรสวรรค์ได้ แต่หากมองในแง่ดี การที่คนรุ่นใหม่ลาออกจากสายงานนี้จำนวนมาก อาจบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบโครงสร้างของการทำงานได้จริง ในอนาคตอาจได้เห็นภาพว่า บุคลากรทางการแพทย์มีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น ฝ่ายบริหารมีการลงทุนด้านความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานอย่างแท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่เส้นทางอาชีพที่ยั่งยืนมากขึ้น


กรุงเทพธุรกิจ
ึ7 ธค 2567

8
หมอชีวกโกมารภัจจ์ คือ ผู้มีความสามารถด้านการแพทย์ในสมัยพุทธกาล นอกจากความรู้ทางการแพทย์ที่สั่งสม จนได้รับตำแหน่งแพทย์ของพระเจ้าพิมพิสาร และหมอประจำของพระพุทธเจ้า “หมอชีวกโกมารภัจจ์” ยังอุทิศตัวเพื่อพุทธศาสนา โดยหนึ่งในหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ก็คือ พระธรรมวินัยว่าด้วยเรื่องโรคอันตราย 5 ประการ ที่ไม่สามารถบวชได้ อันได้แก่ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ (โรคหลอดลมพอง) และ โรคลมบ้าหมู

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เกี่ยวข้องอันใดกับเรื่องนี้?

ก่อนเฉลย ขอเกริ่นถึงประวัติหมอชีวกโกมารภัจจ์เสียก่อน ใน “พระไตรปิฎก” กล่าวไว้ว่า ชีวกกุมารเป็นบุตรของนางสาลวดี หรือหญิงงามเมืองประจำนครราชคฤห์ ที่มีค่าตัวถึงคืนละ 100 กษาปณ์ เชี่ยวชาญ และเก่งกาจ ด้านการฟ้อนรำ ขับร้อง รวมไปถึงบรรเลงเครื่องดนตรี

ทว่าวันหนึ่ง นางสาลวดีเกิดตั้งครรภ์ขึ้น พอคลอดออกมา และทราบว่าเป็นเพศชาย ก็ไม่ต้องการเลี้ยงดู เพราะบุตรชายนั้น ไม่มีประโยชน์อันใดต่ออาชีพของนาง ก่อนจะสั่งให้หญิงคนใช้เอาเด็กไปทิ้งกองขยะ

โชคยังเป็นของเด็กชาย เมื่อพระอภัยราชกุมารผ่านมาพบเข้า จึงทรงสั่งให้คนไปดูทารก ระหว่างนั้น ทรงร้องถามว่ายังมีชีวิตหรือไม่ คนที่ไปดูทูลตอบว่ายังมีชีวิตอยู่ เป็นที่มาของนาม “ชีวก” ซึ่งแปลว่า ชีวิต หรือมีชีวิตอยู่ พระอภัยราชกุมารทรงเลี้ยงดูชีวกกุมาร ในฐานะพระโอรสบุญธรรมด้วยความรักใคร่เอ็นดู ก่อนจะประทานชื่อให้เพิ่มเติมว่า “โกมารภัจจ์” หมายถึง ผู้ที่พระราชกุมารเลี้ยง จนกลายมาเป็น “ชีวกโกมารภัจจ์”

อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ปรากฏในหนังสือบาลี-สันสกฤต ชื่อ “คัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสต” กลับอธิบายประวัติหมอชีวกโกมารภัจจ์แตกต่างออกไป โดยกล่าวว่า ชีวกกุมารเป็นบุตรของหญิงชาวบ้านคนหนึ่ง ที่พระเจ้าพิมพิสารลักลอบมีสัมพันธ์ลับ ๆ ในเวลาที่สามีของนางออกไปทำงานต่างเมือง เมื่อตั้งครรภ์นางจึงรีบกราบทูลให้พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบทันที พระองค์ได้พระราชทานแหวนให้หนึ่งวง และทรงสัญญากับหญิงนั้นว่า คลอดแล้วให้วางทารกไว้บริเวณหน้าพระราชวัง

ขณะที่พระเจ้าพิมพิสารประทับอยู่กับพระอภัยราชกุมาร ข้าราชบริพารได้กราบทูลว่า พบตะกร้าหน้าประตูพระราชวัง เมื่อเจ้าชายทรงได้ยินเรื่องตะกร้า จึงกราบทูลพระราชาว่า สิ่งที่มีอยู่ในนั้นควรมอบให้แก่หม่อมฉัน พอทราบว่าภายในเป็นเด็กทารก พระราชาก็ตรัสถามว่า ทารกนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ก่อนจะทรงทราบว่ายังมีชีวิตอยู่

เมื่อพระองค์ทรงเห็นแหวนที่เคยมอบให้หญิงชาวบ้านคนนั้น ทำให้ทรงทราบโดยนัยว่า ทารกคือใคร จึงพระราชทานทารกให้กับพระอภัยราชกุมาร ต่อมาเจ้าชายได้ให้พระนามว่า “ชีวกกุมารภฤตะ” เนื่องจากพระเจ้าพิมพิสารเคยตรัสถามว่า “มีชีวิตอยู่หรือไม่?” และได้รับการเลี้ยงดูจากพระอภัยราชกุมาร

แม้ไม่ทราบว่า ชาติกำเนิดแท้จริงเป็นเช่นไร แต่ต่อมาชีวกโกมารภัจจ์ได้เติบโตเป็นหมอผู้มีชื่อเสียง จากการรักษาชาวบ้านให้หายจากโรคภัย ไม่เกี่ยงว่าเป็นคนรวย หรือจน

ความเก่งกาจของหมอชีวกโกมารภัจจ์ระบือไกลไปทั่วเมือง ได้ถวายการรักษาพระเจ้าพิมพิสาร และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก ก่อนจะกลายเป็นแพทย์ประจำของพระพุทธเจ้า และถวายตัวให้กับพระพุทธศาสนา รวมถึงช่วยรักษาพระสงฆ์ที่เจ็บป่วย

วันหนึ่ง แคว้นมคธเกิดโรคระบาด ผู้คนมากมายต่างล้มป่วยด้วย 5 โรคร้าย ได้แก่ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ และ โรคลมบ้าหมู ทุกคนต่างหวังพึ่งพาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แต่หมอเองก็มีคนป่วยที่ต้องดูแลรักษาอยู่ล้นมือ ทำให้ต้องปฏิเสธชาวบ้านเหล่านั้นไป แม้ว่าชาวบ้านจะยอมจ่ายทรัพย์สินจำนวนมาก หรือยอมเป็นทาสเพื่อให้หมอรักษาก็ตาม

ด้วยความกลัวตาย ชาวบ้านที่เป็นชายจึงบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ เนื่องจากทราบว่า ชีวิตของพระสงฆ์นั้น เต็มไปด้วยความสบาย ทั้งหมอชีวกโกมารภัจจ์ยังรักษาพระสงฆ์ที่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นอย่างดี แล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามคาด หมอชีวกโกมารภัจจ์รักษาพวกเขา

เมื่อหายจากโรคร้าย ร่างกายกลับมาแข็งแรง ชาวบ้านก็ลาสิกขาทันที แม้หมอชีวกโกมารภัจจ์สงสัย แต่ก็ไม่ได้ถามถึงสาเหตุการลาสึก จนวันหนึ่ง ได้เอ่ยปากถามชาวบ้านที่เคยบวชพระ และได้คำตอบว่า เหตุผลที่เข้ามาในร่มกาสาวพัสตร์ ก็เพราะต้องการให้หมอชีวกโกมารภัจจ์รักษาโรคให้เท่านั้นเอง ไม่ได้บวชประสงค์รู้ใด ๆ ทั้งสิ้น

เมื่อรู้เหตุผลที่แท้จริง หมอผู้มีฝีมือในสมัยพุทธกาลท่านนี้ จึงทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ ดังปรากฏในบทความ “บทบาทหมอชีวกโกมารภัจจ์ต่อพระพุทธศาสนา” ของพระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย หัวหน้าภาควิชาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่า

“…หมอชีวกได้ฟังดังนั้นกล่าวตำหนิไปต่าง ๆ แล้วนำความไปกราบทูลพระพุทธองค์ถึงผลกระทบจากการที่มีคนเข้ามาบวชในลักษณะดังกล่าว จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่หมู่พระสงฆ์เป็นอย่างมาก นำพาความเดือดร้อนวุ่นวายมาให้ในภายหลัง

ฉะนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนแก้ จึงกราบทูลพระพุทธองค์ขอให้ทรงมีพระบัญญัติห้ามไม่ให้บวชคนที่เป็นโรคติดต่อ ประกอบไปด้วยโรคที่ผู้คนในแคว้นมคธเป็นกันอยู่ในขณะนั้น 5 ชนิดคือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคไข้มองคร่อ โรคลมบ้าหมู ซึ่งเน้นหนักไปที่โรคผิวหนังที่สามารถติดต่อกันได้ ที่ไม่สามารถติดต่อกันได้แต่ก็ทำให้ผิวไม่น่าดูเป็นที่น่ารังเกียจ ดังนั้น จึงไม่ควรให้บวช”

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงมีการระบุเรื่องโรคอันตราย 5 ประการ ที่รับรู้กันในปัจจุบัน

อ้างอิง :
พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย. “บทบาทหมอชีวกโกมารภัจจ์ต่อพระพุทธศาสนา.” วารสาร “ศึกษาศาสตร์” มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย 5, ฉ. 1 (มกราคม-มิถุนายน, 2560): 61-75.
วินัย อินเสมียน และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. “หมอชีวกกับการรักษาโรคในพุทธศาสนา.” วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม 8, ฉ. 1 (มกราคม-มิถุนายน, 2564): 128-136.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. “หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก.” สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 https://www.matichon.co.th/columnists/news_1072128.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 21 มีนาคม 2566

เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม

9
หมอบอกคนไทย “ร้อนง่าย” ไม่ใช่อากาศ แต่เป็น “หัว” ที่แค่ถูกสะกิดก็พร้อม “ระเบิดอารมณ์” มาหาคำตอบกันว่า เพราะอะไรภาพของ “คนเมืองยิ้ม” ในอดีต ถึงได้เปลี่ยนไป จนบางคนกลายเป็นอาการ “เสพติดการหัวร้อน” ไปแล้ว

** อย่า “สะกิด” เดี๋ยว “ระเบิด” **

“หนุ่มเทสล่า” ขับรถปาดช้าย-แซงขวา ตีรถวน “ขวางถนน”บน “ท่างด่วน”อ้างทำไปเพราะ “หัวร้อน” ทะเลาะกับแฟนเรื่องเปิด GPS หรือจะเป็น “มอเตอร์ไซค์รับจ้าง” แอปฯ ดัง “ต่อยปาก”แหม่มสาวรัสเซีย เพราะ “หัวร้อน” ที่แหม่มรัสเซียไม่ยอมไป ถ้าไม่มีหมวกกันน็อก

อีกเคสเป็นของ “ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน”ด่ากราด 2 แม่ลูก กลางร้านส่งพัสดุ เพียงเพราะ “หัวร้อน” ที่ “รองเท้าตัวเองหาย” และคิดว่าต้องเป็นฝีมือของเด็กวัย 4 ขวบ แต่สุดท้ายก็ลงเอยด้วย “กระเช้าขอโทษ"

ที่หนักหน่อยเห็นจะเป็นที่พัทยา เมื่อเก๋งคันนึงมาจอดรถใกล้ๆ กับวินมอเตอร์ไซค์ เหล่าวินก็หวังดี นึกว่าเป็น นักท่องเที่ยวมาถามทาง เลยเดินไปเคาะกระจก แต่หนุ่มขับเก๋งกลับ“ควักปืน” ออกมาพร้อมถามว่า “ข้องใจหรือเปล่า”
ก่อนสาวที่มาด้วย จะเข้ามาห้ามและขับรถยนต์หนีไป จากปากคำของคนในที่เกิดเหตุ คาดว่าฝ่ายชายน่าจะ ทะเลาะกับแฟน จน “หัวร้อน” พาลหาเรื่องคนอื่น

เห็นภาพชัดขึ้นไหม จากมหากาพย์ข่าว “คนหัวร้อน” แล้วสุดท้ายก็จบด้วยการ “บันดานโทสะ” ซึ่งเป็นเรื่อง ที่มีให้คนยุคนี้เห็นแทบจะทุกวัน จนอดสงสัยไม่ได้ว่า บ้านเรากลายเป็น “เมืองคนหัวร้อน” ไปแล้วหรือเปล่า?

ที่น่าสนใจคือ “นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์” ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต เคยให้สัมภาษณ์สื่อไว้ว่า คนไทย “หัวร้อน” จนนำไปสู่การแสดง “ความก้าวร้าว” หรือแม้แต่ “ก่ออาชญากรรม” มากขึ้น ซึ่งมันเป็นผลมาจาก “ความเครียด”



แต่อะไรกันที่สะกิดให้คนพวกนี้ “ระเบิดอารมณ์ออกมา” แล้วกลายเป็นข่าวอย่างที่เห็นๆ กัน ทีมข่าวจึงขอต่อสายหา “ดร.อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช”อาจารย์ประจำวิชาจิตวิทยาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้หายข้องใจ

“สังคมปัจจุบันมันเครียดด้วยนะคะ ความเครียดสะสมอะไรต่างๆ มันก็เลยทำให้เราเหมือนกับน้ำ ที่มันเต็มแก้วแล้ว คืออีกนิดเดียวก็ทนไม่ไหวแล้วอะค่ะ”

ทำให้คนบางคน เมื่อมีอะไรมาสะกิดนิดหน่อย ก็พร้อมจะระเบิดอารมณ์ออกมา ซึ่งคนไทยเครียดสะสมเพิ่มขึ้นจริงๆ จากแบบทดสอบ “Mental Health Check In” ของกรมสุขภาพจิต ในปี 67 พบว่า มีคนที่ “เครียดสะสม” มีถึง 15.5% จากปีก่อน(66) ที่มีเพียงแค่ 4.5% เท่านั้น

แต่ “ความเครียดสะสม”จาก “ปัญหาสังคม”หรือ “เศรษฐกิจ”เป็นปัจจัยนึงเท่านั้น “การเลี้ยงดูอบรม” ตั้งแต่เด็กก็มีผล หรือจะเป็น “สิ่งแวดล้อม”จากการ “เสพสื่อ” ที่มีความรุนแรง ก็ทำให้เกิด “พฤติกรรมเลียนแบบ” ได้

“ดร.อภิชญา” อธิบายว่า ถ้าเราเห็น “ข่าว” หรือ “สื่อบันเทิง”ที่มี “ความรุนแรง” มันจะทำให้เริ่ม “ชินชา”กับ “ความก้าวร้าว” และไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดของคนอื่น

“แล้วยิ่งถ้าเกิดเขาทำแล้วเนี่ย มันได้รับการเสริมแรง ว่าถ้าคุณเกรี้ยวกราดออกมา แล้วทุกคนยอมคุณหมดเลยอย่างนี้ เขาก็จะยิ่งได้ใจ ก็ยิ่งทำอีก จนกว่าเขาจะไปเจอคนที่เสมอกัน”

** ยิ่งเสพติด เพราะ “คนดีหัวร้อน” ถูกหนุน **

ในโลกความเป็นจริง “คนหัวร้อน” ก็ไม่ได้ถูกสังคมประณามทุกครั้ง บางครั้งคนที่ไม่ทนกับการถูกเอาเปรียบ “ต้องมาด่ากราด-ระเบิดอารมณ์ออกมา” ก็มีอยู่ไม่น้อย แต่สังคมก็พร้อม “สรรเสริญ” ว่าเป็นการกระทำที่ถูกแล้ว

แต่รู้หรือเปล่าว่า การทำแบบนี้ มันกลายเป็นดาบสองคม ผลักให้ใครบางคนมีอาการที่เรียกว่า “เสพติดการหัวร้อน” หรือ “การหัวร้อนของคนดี”
คือเชื่อว่า สิ่งที่ตัวเองทำไปนั้น “ถูกต้องแล้ว” เพราะคือการต่อสู้กับความ “อยุติธรรม” หรือ ปกป้องความดีอะไรบางอย่าง

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นักจิตวิทยาอย่าง “ดร.เจเรมี เชอร์แมน (Jeremy Sherman)” อธิบายไว้ว่า จริงๆ แล้วคนพวกนี้ไม่ได้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องหรอก พวกเขาแค่อยาก“ รู้สึกดี” ที่ได้ระบายความโกรธกับคนอื่น โดยยกเหตุผลเหล่านี้มาอ้าง

ด้านกูรูจิตวิทยาอย่าง “ดร.อภิชญา” เสริมประเด็นนี้ว่า มันคือ “ทฤษฎีความไม่สอดคล้อง ทางการรู้คิดกับพฤติกรรม” หรือ “Cognitive Dissonance Theory”

“ทางจิตวิทยาสังคมจะค่อนข้างพูดทฤษฎีนี้กันเยอะค่ะ คือพอเราแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมไปแล้วเนี่ย เขาก็จะพยายามหาเหตุผลมาอ้าง”

การแสดง “ความเกรี้ยวกราด-ก้าวร้าว”

ไม่ว่าจะเพราะอะไร มันก็เป็นเรื่องไม่ดี ซึ่ง “มนุษย์” ทุกคนมีการ “นับถือตัวเอง” ที่ “สูง” ไม่อยากรู้สึกว่า ตัวเองเป็นคนไม่ดี แต่เมื่อระเบิดอารมณ์ไปแล้ว ทีนี้จะทำยังไงล่ะ?

“เราก็จะต้องบิดเบือนโลกภายนอกให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ตัวตนเรารู้สึกไม่เลวร้ายจนเกินไป เช่น บอกว่าฉันทำแบบนี้ก็เหมาะสมแล้ว คนคนนั้นเขาเป็นคนไม่ดี ขับรถปาดหน้าฉันเอง ฉันก็ควรที่จะด่าหรือบีบแตรไล่ ก็เหมาะสมแล้ว”

มันคือ “กลไกทางจิตใจ” เพื่อปกป้องตัวเอง แต่เรื่องนี้ปรบมือข้างเดียวมันก็ไม่ดัง “สังคม”เองก็มีส่วนส่งเสริมให้คนเสพติดอาการหัวร้อน เพราะถ้าเราเห็นการหัวร้อนของคนดีเมื่อไหร่ “สังคมก็จะออกมาเชียร์”ว่า คนที่ถูกเหวี่ยง “สมควรโดนแล้ว”

และถ้าสังคมยังคอยเชียร์แบบนี้ นอกจากจะเป็นการตอกย้ำว่า การทำพฤติกรรมแบบนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ความน่ากังวลอีกเรื่องที่ “ดร.อภิชญา” บอกคือ มันจะกลายเป็น “การสร้างบรรทัดฐานใหม่ของสังคม”

“ว่าความก้าวร้าวรุนแรง ในสังคมไทยเป็นเรื่องปกติ เพราะฉะนั้น ทำอะไรไม่ได้ดังใจ เราต้องแสดงแบบนี้ แล้วเราจะได้”

ปัญหา “คนหัวร้อน” นอกจากเรื่องบุคคลที่ต้องรู้วิธี “จัดการอารมณ์” ของตัวเองแล้ว ภาพใหญ่อย่าง “ภาวะเศรษฐกิจ-สังคม” ที่ทำให้ “คนลำบาก” จน “เครียดสะสม” แบบนี้ก็ต้องถูกแก้ด้วย
อาจารย์จิตวิทยาสังคมรายนี้บอกว่า ถ้าเราไม่ต้อง “ปากกัดตีนถีบ” มากนัก เพื่อให้อยู่รอดในสังคม “การหัวร้อนของเราก็จะน้อยลง มันไปด้วยกันหมดนะคะ”


2 ธ.ค. 2567  ผู้จัดการออนไลน์

10
นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล โฆษกกระทรวงสาธารณสุขและผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวในเวทีเสวนา AWS Public Sector Day Thailand 2024 ว่า กระทรวงสาธารณสุขเริ่มต้นเรื่อง AI มาตั้งแต่ปี 2560 โดยสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการฝึกฝนด้าน Machine Learning และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทำให้การผลักดันนโยบายด้าน AI เริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วเพราะมีพื้นฐานบุคลากรที่ไม่ได้เริ่มจากศูนย์

“การวินิจฉัยโรคเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน จำเป็นต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ ประสบการณ์ของแพทย์ และการพิจารณาจากหลายปัจจัยของคนไข้ ซึ่งในหลายกรณีนั้นยากที่จะอธิบายกระบวนการการวินิจฉัยออกมาเป็นอัลกอริทึม ดังนั้นการเริ่มต้นพัฒนา AI เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคจึงเป็งานที่ท้าทาย ซับซ้อน ใช้เวลา และต้องผ่านการรับรองที่เข้มงวด หรือ การทดลองทางคลินิก ซึ่งอาจทำให้โครงการหยุดชะงักไปก่อน” นพ.สุรัคเมธ อธิบาย

DMIND แอปพลิเคชันคัดกรองซึมเศร้าเป็นหนึ่งตัวอย่างของการนำ AI มาใช้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความสำเร็จของ DMIND ไม่ได้เกิดจากการแก้ปัญหาทางการแพทย์โดยตรง แต่เป็นการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม คือ การช่วยให้กลุ่มผู้มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงได้รับการดูแลก่อน

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ด้านจิตเวช (AIMET) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า DMIND เป็นเครื่องมือที่ใช้ AI Multimodel ผสานการวิเคราะห์ภาพ เสียง และข้อความเพื่อประเมินระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ใช้งานในระดับสีเขียว เหลือง และแดง สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มสีแดง ระบบจะส่งต่อข้อมูลไปยังกรมสุขภาพจิตและสายด่วน 1323 เพื่อให้ความช่วยเหลือทันที ช่วยลดเวลารอสายและเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรอง โดยลดจำนวนผู้รอสายลงมากกว่า 60% พร้อมพัฒนา Voicebot เพื่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้น ทำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มสีแดงหรือสีส้มได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วขึ้น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ AI ในการจัดการทรัพยากรให้เข้าถึงผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้ตรงจุด

.“อีกปัจจัยสำคัญในการพัฒนา AI ให้ประสบความสำเร็จ คือ การทำงานร่วมกันระหว่างทีมเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ (Domain Expert) ทีมแพทย์ด้านจิตวิทยาที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีเป็นสะพานเชื่อมที่ทำให้ทั้งสองทีมเข้าใจโจทย์ เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ

ด้าน ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ  หรือ  เนคเทค สวทช. ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาเทคโนโลยีต้นน้ำด้าน AI ในประเทศไทยเป็นเรื่องท้าทาย และยังจำเป็นต้องพัฒนาแอปพลิเคชันหรือโดเมนต่าง ๆ เพิ่มเติมขึ้นอีกจำนวนมาก

ดังนั้น แผน AI แห่งชาติ จึงมุ่งสนับสนุนการเติมเต็มระบบนิเวศการพัฒนา AI เติมเต็มสิ่งที่ยังขาดในหลายด้าน จากผลการสำรวจดัชนีความพร้อมด้าน AI ของรัฐบาลไทย ปี 2566 (Government AI Readiness Index 2023) โดย Oxford Insight ประเทศไทยมีความพร้อมอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 197 ประเทศ โดยพบประเด็นที่ต้องเร่งการพัฒนาใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

1) การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
“การวิจัยและพัฒนา AI ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ สิ่งที่ต้องสนับสนุนอย่างยิ่งกลับไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีเสมอไป แต่หากเป็นเรื่องการเข้าถึงข้อมูล” ดร.ชัย ตั้งข้อสังเกต

ยกตัวอย่าง การวิจัยและพัฒนา AI ในด้านการแพทย์และสาธารณะสุข จำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ที่มากเพียงพอ และเปิดเป็นข้อมูลสาธารณะให้ได้มากที่สุดโดยไม่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (Data Privacy) ถึงการพัฒนาเครื่องมือ AI ให้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) รวมถึงข้อมูลด้านมาตรฐานด้านความปลอดภัย การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ (Responsibility AI) เป็นต้น โดยเนคเทค สวทช. มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนรวบรวมและแชร์ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้พัฒนานวัตกรรมด้าน AI

2) ด้านกำลังคน (Human Capital)
การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน AI เป็นปัญหาใหญ่ในการพัฒนา AI ของประเทศ แผน AI แห่งชาติจึงตั้งเป้าพัฒนากำลังคนด้าน AI กว่า 30,000 คนภายในปี 2570 ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น Super AI Engineer ที่จะขยายศูนย์ภูมิภาคจาก 6 เป็น 11 แห่ง และเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในรอบไฟนอลจาก 200 เป็น 400 คนในปีหน้า พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการลงทุนด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน AI จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการนำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร

3) การพัฒนา AI ภายในประเทศ (In-house AI Development)
 การใช้งาน AI ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในลักษณะการประยุกต์ใช้มากกว่าการพัฒนาเอง แผน AI แห่งชาติจึงมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อสนับสนุนการพัฒนา AI ภายในประเทศ เช่น LANTA ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) สำหรับการเทรนด์โมเดล AI ขนาดใหญ่ โดย ThaiSC สวทช. เปิดให้บริการในราคาที่เข้าถึงได้ รวมถึงแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย หรือ AI for Thai ซึ่งใช้บริการ APIs AI ครอบคลุมทั้งด้านเสียง ภาพ และข้อความ ทั้งงานวิจัยจากเนคเทค สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการสนับสนุนและเป็นตัวเร่งการพัฒนา AI ภายในประเทศ

 “ผู้บริหารต้องเข้าใจขีดจำกัดของ AI และตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับธุรกิจ อย่าคาดหวังกับ AI สูงมากเกินไปจนคิดว่า AI ทำได้ทุกอย่าง โดยเนคเทค สวทช. มีแผนในการพัฒนาส่วนให้คำปรึกษาการพัฒนา AI อย่างเป็นระบบมากขึ้น อาจให้บริการแบบ Counter Service ที่ตอบโจทย์หน่วยงานรัฐและเอกชน” ดร.ชัย กล่าวทิ้งท้าย


Thansettakij
4 ธค 2567

11
"โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์" เปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง วัดจอมคีรีนาคพรต เพื่อยกระดับบริการด้านสุขภาพ หวังช่วยประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 น.ส.ชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดจอมคีรีนาคพรต โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (สปร.) พร้อมด้วย นายวีระกร คำประกอบ อดีต ส.ส.จังหวัดนครสวรรค์ และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครสวรรค์ นายแพทย์จักราวุธ จุฑาสงฆ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ นายใหญ่ โรจน์สุวณิชการ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นพ.อภิชาต วิสิทธิ์วงษ์ อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ คุณอรชุน เหลืองวิเศษกาล ประธานกรรมการประสานงานส่วนภูมิภาค ภาค 8 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณไพลิน พรปิยะรัศมี ผู้มีอุปการคุณแก่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และแพทย์หญิงรจนา ขอนทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เข้าร่วม โดยมี พระธรรมวชิรธีรคุณ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ เจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

น.ส.ชุติพร กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ตนรู้สึกเป็นเกียรติที่มาเป็นประธานเปิดศูนย์ฯ ดังกล่าว ขณะนี้การก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อย และพร้อมให้บริการแก่คนไข้แล้ว ซึ่งนับได้ว่าโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์มีความโชคดี ที่ได้รับความเมตตาจาก คุณอรชุน เหลืองวิเศษกาล ที่ได้บริจาคที่ดินในการก่อสร้าง จำนวน 3 งาน 37.8 ตารางวา มูลค่า 8 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีผู้มีอุปการคุณที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบก่อสร้างอีก จำนวนทั้งสิ้น 11,015,916 บาท ซึ่งความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ คุณอรชุน ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ทุกท่าน ที่ร่วมมือกันจนทำให้การก่อสร้างและการจัดงานครั้งนี้สำเร็จเรียบร้อย เพื่อให้บริการประชาชนตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ทางด้าน นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า การก่อสร้างอาคารศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดจอมคีรีนาคพรต โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ได้จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ในระยะแรกทางโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ได้ยืมสถานที่ของโรงพยาบาลแม่และเด็กให้บริการประชาชนชั่วคราว

ต่อมา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ได้ดำเนินการหาสถานที่จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บนที่เช่าของเอกชน อยู่ติดถนนสายเอเชีย มีรถประจำทางผ่าน ผู้รับบริการเดินทางสะดวก จึงเช่าอาคารแห่งนี้ พร้อมดำเนินการปรับปรุงด้วยเงินบริจาคของ อาจารย์ฉลาด ศิริภาพ นายกสมาคมวัฒนธรรมหญิง จำนวน 3 แสนบาท และตั้งชื่ออาคารว่า "อาคารหลวงไตรกิศยการ" ตามนามบิดาของอาจารย์ฉลาด และใช้ชื่อศูนย์ว่า "ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดจอมคีรีนาคพรต" ซึ่งเป็นชื่อที่ประชาชนจำได้ง่าย

โดยสถานที่ใหม่แห่งนี้เริ่มเปิดดำเนินการให้ประชาชนมารับบริการได้ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา ต่อมาศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดจอมคีรีนาคพรต ได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าอาวาสวัดจอมคีรีนาคพรต ให้ไปใช้อาคารเดิมขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ออก เพื่อใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่แทนที่เดิม นอกจากนี้ ทางโรงพยาบาลยังได้รับความอนุเคราะห์จาก อาจารย์ฉลาด สนับสนุนเงินเพื่อปรับปรุงอาคารเพิ่มเติมอีก จำนวน 3 ล้านบาท

จากจำนวนผู้รับบริการที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ใช้สอยน้อย ทางโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่ให้บริการเพิ่มเติม ซึ่งต่อมามูลนิธิสวรรค์ประชารักษ์ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณอรชุน บริจาคที่ดินว่างเปล่ากว่า 3 งาน ให้มูลนิธิสวรรค์ประชารักษ์จัดหารายได้ ดังนั้นโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์จึงดำเนินการเช่าจากมูลนิธิฯ เพื่อสร้างศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองวัดจอมคีรีนาคพรต และได้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์สุขภาพดังกล่าว รวมระยะเวลาก่อสร้าง 300 วัน แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567

ขณะที่ แพทย์หญิงรจนา ขอนทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองวัดจอมคีรีนาคพรต เปิดให้บริการแก่ประชาชน โดยเน้นนโยบายใกล้บ้านใกล้ใจ ลดความแออัดจากโรงพยาบาลแม่ข่าย มีผู้รับบริการในความรับผิดชอบ 9 ชุมชน จำนวนประชากรประมาณ 6,000 คน ประชาชนจากสถานีอนามัยใกล้เคียงอีก 8 สถานีอนามัย และเขตรับผิดชอบจากโรงพยาบาลพยุหะคีรี ที่มีพื้นที่ใกล้ศูนย์ชุมชนเมืองวัดจอมฯ อีก 4 สถานีอนามัย เฉลี่ยแล้วจะมีคนเข้ารับบริการประมาณ 100 คนต่อวัน เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. โดยเปิดให้บริการดังนี้ 1.ตรวจรักษาโรคทั่วไป ฉุกเฉิน วางแผนครอบครัว 2.ทันตกรรม 3.แพทย์แผนไทย 4.วัคซีนเด็ก และ 5.งานเชิงรุกในชุมชน

ส่วนจุดเด่นของศูนย์ชุมชนเมืองวัดจอมฯ นั้น จะมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เราจึงให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ศูนย์ดังกล่าวยังมีแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เข้มแข็ง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงตามชุมชนทุกวัน เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องถูกวิธี เพื่อลดอาการ ลดความรุนแรง หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ให้กับผู้ป่วย อีกทั้งศูนย์ฯ ดังกล่าวยังมีแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมเปิดให้บริการภาคบ่ายเพิ่มในปี 2568 เพื่อรองรับนโยบาย OPD no walk in เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์.


Thairath Online
3 ธันวาคม 2567

12
รพ.ปัตตานี เร่งทำคลอดฉุกเฉินสาวท้อง ท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วม แม่-ลูกปลอดภัยแล้ว สธ.เผย สถานบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบรวม 132 แห่ง

วันที่ 3 ธ.ค.2567 นพ.ศักดา อัลภาชน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมใน 6 จังหวัดภาคใต้ ว่า ขณะนี้ยังมีสถานบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบรวม 132 แห่ง สามารถเปิดบริการได้ตามปกติ 42 แห่ง เปิดบริการบางส่วน 8 แห่ง และปิดบริการ 82 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

ส่วนโรงพยาบาลชุมชนที่ได้รับผลกระทบ 9 แห่ง แบ่งเป็น สงขลา 4 แห่ง คือ รพ.สมเด็จฯ นาทวี รพ.จะนะ รพ.เทพา รพ.สะเดา และปัตตานี 5 แห่ง คือ รพ.โคกโพธิ์ รพ.ยะหริ่ง รพ.ทุ่งยางแดง รพ.หนองจิก และ รพ.แม่ลาน

ซึ่งก่อนหน้านี้ปัตตานีต้องปิดบริการ 4 แห่ง หลังเร่งดำเนินการฟื้นฟูล่าสุดสามารถกลับมาเปิดบริการได้แล้ว 3 แห่ง รวมเปิดบริการได้ 8 แห่ง เหลือ รพ.หนองจิกเพียงแห่งเดียว ที่ยังต้องปิดบริการ แต่ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการประชาชนแทน 2 จุด

“ในรอบวันที่ผ่านมา พบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 ราย จากนราธิวาส 1 ราย เป็นเด็กหญิงอายุ 2 ขวบ จากการจมน้ำ และอีก 1 ราย ที่สงขลา จากการถูกไฟฟ้าชอร์ต ซึ่งต้องขอย้ำพ่อแม่ผู้ปกครองให้ระมัดระวังบุตรหลานโดยเฉพาะเด็กเล็กไม่ให้คลาดสายตา และห้ามลงเล่นน้ำเด็ดขาด เพราะอาจพลัดตกน้ำหรือถูกน้ำพัดไปได้ รวมขณะนี้มีผู้เสียชีวิตสะสม 27 ราย บาดเจ็บสะสม 37 ราย ไม่มีผู้สูญหาย” นพ.ศักดากล่าว

นพ.ศักดา กล่าวต่อว่า สำหรับการดูแลช่วยเหลือประชาชน มีการจัดตั้งศูนย์พักพิงใน ยะลา นราธิวาส สงขลา และปัตตานี รวม 489 แห่ง รองรับได้ 66,800 ราย มีผู้เข้าพักเพิ่มขึ้นเป็น 40,768 ราย จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 134 ทีม ดูแลประชาชนรวม 129,840 ราย

และดูแลกลุ่มเปราะบาง 18,648 ราย แยกเป็น ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 1,355 ราย ผู้พิการ 4,043 ราย ผู้สูงอายุ 9,096 ราย ผู้ป่วยฟอกไตและจิตเวช 3,957 ราย และหญิงตั้งครรภ์ 197 ราย

โดยช่วงเช้าวันนี้ รพ.ปัตตานี ได้ออกให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ในการช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรพร้อมส่งต่อทั้งแม่และลูกไปยังโรงพยาบาลด้วยความปลอดภัย ส่วนทีมเยียวยาจิตใจ (MCATT) 132 ทีม ออกประเมินสุขภาพจิตประชาชนรวม 8,860 ราย พบมีภาวะเครียดสูง 29 ราย ได้ให้คำแนะนำดูแลเบื้องต้นแล้ว

นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุนยารักษาน้ำกัดเท้า 2,680 หลอด และยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย 5,650 ชุด ส่วนการเฝ้าระวังโรคติดต่อทั้งไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคปอดอักเสบ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอุจจาระร่วง โรคหัด และโรคไอกรน ยังไม่พบสัญญาณการเกิดโรค

3 ธ.ค.2567
ข่าวสด

13


30บาทรักษาทุกที่  สุขภาพดี เริ่มที่ใกล้บ้าน ของ สปสช ทางเลือกใหม่ (สำหรับอาการป่วยเล็กน้อย) สะดวก ไม่ต้องรอคิว ลดความแออัดในโรงพยาบาล 32อาการ รับยาฟรีที่ร้านยาคุณภาพ กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหลายแง่มุม ในที้นี้จะขอเสนอมุมมองด้านกฎหมายของประเทศไทย (แต่ละประเทศมีกฎหมายของตัวเอง ซึ่งแตกต่างกัน ตามบริบทของประเทศนั้นๆ)

เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องรักษา ประชาชนก็จะไปหาหมอ(+พยาบาล) ที่สถานพยาบาล นี้เป็นสิ่งที่รับรู้และปฏิบัติกันมาตลอด หากคิดว่าตัวเองเป็นไม่มาก (หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ) ก็จะดูแลตัวเอง ด้วยการบำบัดเบื้องต้น(พื้นบ้าน/ทางเลือก)ตามความรู้ที่สืบทอดกันมา หรือไปซื้อยากินเอง ที่ร้านขายยา (+-เภสัชกร แนะนำ) หายหรือไม่หาย ก็แล้วแต่ภาวะของโรคที่เป็น ถ้าไม่หายก็จะไปรักษาที่สถานพยาบาล (ภาครัฐ หรือเอกชน) นี่คือ บริบทของสังคมไทยที่เป็นมาแต่ดั่งเดิม




30 บาทรักษาทุกที่ มีบริการเพิ่มเติมอะไรบ้าง :
สปสช. ที่ผ่านได้เพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอยู่เรื่อยๆ นอกจากไปรับบริการที่สถานพยาบาล เช่น  คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น: เจ็บ ไข้ ไอ ปวด รับบริการตรวจรักษาโรคทั่วไปแบบผู้ป่วยนอก และคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น: รับบริการการพยาบาลพื้นฐาน เช่น ทำแผล ล้างแผล และตรวจรักษาโรคเบื้องต้น 32 อาการ  ซึ่งไม่มีประเด็นในแง่ของกฎหมาย เพราะ คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น ตรวจ/รักษาโดยแพทย์ (ตาม พรบ.วิชาชีพเวชกรรม) และ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น (ตาม พรบ.วิชาชีพการพยาบาลฯ และข้อบังคับสภาการพยาบาล) ซึ่งมีการตรวจ และรักษาตามมาตรฐานของบริการสาธารณสุข 


* (ภาครัฐมีหลายระดับ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล “รพ.สต.”, โรงพยาบาลชุมชน “รพช.”, โรงพยาบาลทั่วไป “รพท.” หรือ โรงพยาบาลศูนย์ “รพศ.” เป็นต้น)





ล่าสุด ร้านยาคุณภาพ: เจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ปรึกษาเภสัชกรและรับยาตามอาการ มีคำถามตามมา เช่น เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย (32 อาการ) ไปที่ร้านยาคุณภาพ(ที่เข้าโครงการกับ สปสช.) แล้วมีการตรวจ (ดูแล, บำบัด)รักษา หรือไม่

- ถ้ามีการตรวจรักษา ใครเป็นผู้ตรวจรักษา ซึ่งตามกฎหมายเปิดให้ทำได้โดย แพทย์ และพยาบาล(เวชปฏิบัติ) ในกรณีนี้ผู้ป่วย(อาการเล็กน้อย 32 อาการ)ก็จะเป็นผู้รับบริการ (ตาม พรบ.หลักประกันแห่งชาติ)
- ถ้าไม่มีการตรวจรักษา จะถือเป็นบริการสาธารณสุข ตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้หรือไม่?  ผู้ป่วย(อาการเล็กน้อย 32 อาการ)จะเป็นผู้รับบริการหรือไม่? แล้วใครเป็นผู้ให้บริการ?

ซึ่งต่างจากการที่ประชาชนไปซื้อยาที่ร้านยา ซึ่งถือเป็นการขายยา (ตาม พรบ.ยา) ซึ่งไม่ได้เป็นการบริการสาธารณสุขที่รัฐมีให้ประชาชน

คำถามต่อมา คือ ตามมาตรา 41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการในกรณีที่ได้รับความเสียหาย หากผู้ป่วย(32 อาการเล็กน้อย) แย่ลง หรือเสียหายจากการไปรับยาตามโครงการของ สปสช. จะขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (ม.41) ได้หรือไม่?

"อาการ(symptoms)"เป็นความรู้สึก/ความคิดของผู้ป่วย ว่า "มาก" หรือ"น้อย" ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่า เจ็บป่วย(ด้วยโรคที่)เล็กน้อย หรือรุนแรงตามความรู้สึกของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบริการสาธารณสุข การตรวจเพื่อหา "อาการแสดง(signs)" จะนำไปสู่การวินิจฉัย ว่า เป็นโรคที่เล็กน้อย หรือรุนแรงกันแน่
 
ดังนั้นเราจะไม่รู้เลยว่า เป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือไม่ จนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการตรวจ และวินิจฉัยโรค




ถ้าจะไม่ให้มีประเด็นปัญหาทางกฎหมาย  ทางออกในเบื้องต้นของโครงการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ผู้ที่จะให้บริการดูแลรักษาอาการเล็กน้อย(เบื้องต้น)ที่ร้านยาคุณภาพ อย่างน้อยน่าจะเป็น “พยาบาลเวชปฏิบัติ” ตามกฎหมายเท่าที่มีอยู่ (เหมือนคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น)



นอกจากประเด็นด้านกฎหมายแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ความจำเป็น, ความปลอดภัย และความคุ้มค่า ของโครงการ


*จำนวนหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำแนกตามระดับของสถานพยาบาล
โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)35 แห่ง  โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.)92 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน(รพช.)776 แห่ง สาธารณสุขอำเภอ(สสอ.)878 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)9,781 แห่ง  (ข้อมูลจาก HDC Dashboard กระทรวงสาธารณสุข 2566)

14
28 พฤศจิกายน 2567 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้ นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน เป็นประธานประชุมทางไกลเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ครั้งที่ 34/2567 เพื่อติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้

เบื้องต้นมีข้อสั่งการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพื้นที่ประสบภัย ดังนี้

1. ป้องกันและลดผลกระทบต่อสถานพยาบาลในพื้นที่เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องกรณีมีการปิดสถานพยาบาลชั่วคราวให้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่หรือจุดบริการสำรอง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง

2. ประชาสัมพันธ์และสื่อสารความเสี่ยงถึงประชาชนในการป้องกันภัยที่มาจากน้ำท่วม ได้แก่ การจมน้ำ ไฟดูด แมลงและสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์มีพิษกัดต่อย

3. เคลื่อนย้ายประชาชนกลุ่มเปราะบางที่บ้านพักมีแนวโน้มไม่สามารถพักอาศัยได้ ไปยังศูนย์อพยพหรือโรงพยาบาลที่มีความปลอดภัย โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

4. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชเฝ้าระวังสถานการณ์โรค "เลปโตสไปโรชิส" หรือโรคฉี่หนู ในพื้นที่น้ำท่วมขังและเฝ้าระวังสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากในวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ตามพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

5. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ประสานขอรับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาลทุ่งยางแดง และกำหนดเกณฑ์อพอพเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในของโรงพยาบาลทุ่งยางแดง ไปยังโรงพยาบาลปัตตานี

6. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เฝ้าระวังผลกระทบต่อโรงพยาบาลหาดใหญ่และโรงพยาบาลสงขลา โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบสนับสนุนบริการทางการแพทย์ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหารถยกสูง รวมถึงเรือเพื่อรับส่งต่อผู้ป่วยจากพื้นที่ประสบภัยไปยังโรงพยาบาลรับส่งต่อ

7. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีมีการเปิด-ปิดบริการของสถานพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และแจ้งให้ประชาชนรับทราบถึงการจัดบริการทดแทน

8. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ประสานไปยัง อบจ. กรณีรพ.สต.ปิดให้บริการ 13 แห่ง เพื่อสื่อสารข้อมูลและประชาสัมพันธ์การเข้ารับบริการของประชาชนในพื้นที่

นพ.สฤษดิ์เดช กล่าวว่า สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 ราย รวมสะสม 3 ราย สาเหตุมาจากการจมน้ำ ผู้บาดเจ็บสะสม 3 ราย

สถานบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบทั้งหมด 56 แห่ง ได้แก่ สงขลา 16 แห่ง ยะลา 10 แห่ง ปัตตานี 16 แห่ง และนราธิวาส 14 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาล 7 แห่ง เปิดให้บริการตามปกติ, รพ.สต. 46 แห่ง เปิดบริการ 6 แห่ง เปิดบางส่วน 7 แห่ง ปิดบริการ 33 แห่ง สาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง เปิดบริการปกติ และหน่วยบริการปฐมภูมิ 2 แห่ง ปิดบริการ 1 แห่ง เปิดบางส่วน 1 แห่ง

หน่วยงานในพื้นที่ได้จัดทีมแพทย์ดูแลช่วยเหลือประชาชนรวม 2,011 ราย แบ่งเป็น ตรวจรักษา 149 ราย ให้สุขศึกษา 759 ราย เยี่ยมบ้าน 1,096 ราย ส่งต่อ 7 ราย จำนวนนี้เป็นกลุ่มเปราะบาง 128 ราย

เปิดศูนย์พักพิงแล้ว 33 แห่ง ได้แก่ ยะลา 15 แห่ง นราธิวาส 13 แห่ง และสงขลา 5 แห่ง สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์รวม 4,300 ชุด โดยส่วนกลางได้สนับสนุนยาช่วยเหลือผู้ประสบภัย 8 รายการจำนวน 5,650 ชุด และยาน้ำกัดเท้า 1,600 หลอด

Thansettakij
28 พฤศจิกายน 2567

15
น้ำทะลักเข้าท่วม 4 โรงพยาบาลที่ปัตตานี ย้ายคนไข้หนี เผยระดับน้ำยังสูงไม่หยุด ชาวบ้านเดือดร้อน เริ่มหาซื้อ ตุนอาหารไว้ยามฉุกเฉินแล้ว

เมื่อวันที่ 29 พ.ย.67 สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ระดับน้ำยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดน้ำเข้าท่วมโรงพยาบาลแล้ว จนต้องประกาศปิดโรงพยาบาลเป็นการชั่วคราว 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลหนองจิก โรงพยาบาลยะหริ่ง โรงพยาบาลทุ่งยางแดง และโรงพยาบาลแม่ลาน โดยทั้ง 4 โรงพยาบาลเป็นพื้นที่ติดแม่น้ำทั้ง 2 สาย คือแม่น้ำปัตตานี และ แม่น้ำสายบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมสูงของจังหวัดปัตตานี

นพ.อนุรักษ์ สารภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า วันนี้มีโรงพยาบาลต้องปิดชั่วคราวแล้วจำนวน 4 แห่ง เนื่องจากน้ำท่วมสูงภายในโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้ว และมีการตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ต้องย้ายออกจากโรงพยาบาล รวมถึงส่งเจ้าหน้าที่ ทั้งหมอ และพยาบาลลงพื้นที่ เพื่อเข้าตรวจเยี่ยมผู้ป่วย ที่ไม่สามารเดินทางเข้ามาที่โรงพยาบาลได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ป่วยชั่วคราวในสภาวการณ์น้ำท่วมนี้

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ล่าสุดระดับน้ำยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ยังคงตกลงมาในพื้นที่ รวมกับเกิดน้ำทะเลหนุนเมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์น้ำยังคงวิกฤตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ติดแม่น้ำทั้ง 2 สาย ทั้งแม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำปัตตานี รวม 7 อำเภอที่ยังคงมีระดับน้ำท่วมสูงขึ้นกว่าเมื่อวาน เจ้าหน้าที่ยังต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะที่พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของจังหวัดปัตตานี สถานการณ์น้ำล่าสุดพบว่าระดับน้ำสูงขึ้นกว่าเมื่อวานนี้ประมาณ 10 เซนติเมตร ทำให้ร้านค้าต่างๆ ภายในเขตเทศบาลเมืองต้องปิดตัว เป็นวันที่ 3 ติดต่อกันแล้ว ส่วนประชาชนในพื้นที่ต้องออกมา เพื่อมาจับจ่ายเพื่อตุนสินค้าแล้ว เนื่องจากว่าประชาชนเริ่มไม่มั่นใจแล้วว่าน้ำท่วมต้องใช้เวลากี่วัน เพราะถ้าหากน้ำจากยะลาเข้ามาสมทบอีก เชื่อว่าน่าจะอยู่อีกหลายวัน

ด้านนายบูรฮาน ประชานในพื้นที่กล่าวว่า ตอนนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากน้ำได้เข้าท่วมบ้านแล้ว และไม่สามารถสัญจรไปไหนมาหนได้ลำบากมาก ขนาดออกมาซื้อของกินยังไม่มีเลย เพราะร้านค้าไม่ได้ออกมาขาย หากร้านไหนมีสิ้นค้า ตนก็ซื้อตุนไว้ก่อน เพราะตนเชื่อว่าสถานการณ์น้ำอาจจะเพิ่มมากกว่านี้ เพราะน้ำเหนือจากจังหวัดยะลายังไหลลงมาไม่มากนัก ถ้าน้ำจากยะลามาถึงและหากมีน้ำทะเลหนุนเพิ่มเชื่อว่าระดับน้ำสูงขึ้นแน่นอน

ขณะที่บรรยากาศร้านค้าภายในตลาดเทศวิวัฒน์ พบมีแม่ค้านำสินค้ามาขายน้อยรายมาก ส่วนใหญ่จะปิดร้าน และพบว่าบางร้านที่ปิดนั้น มีอุปกรณ์ของร้านไดรับความเสียหาย ถูกน้ำพัด ส่วนร้านค้าที่เปิดอยู่ต่างก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากขายไม่ได้เพราะไม่มีลูกค้าออกมาซื้อ

ด้านคุณฉันทิตา เจ้าของร้านภายในตลาดเทศวิวัฒน์ กล่าวว่า ตอนนี้ที่ร้านถูกน้ำเข้าท่วมเป็นวันที่ 3 แล้ว ตอนนี้เดือดร้อนมาก คนซื้อจะเข้ามาก็ไม่ได้ ลูกค้าหายหมด รายได้ก็ขาด อยากให้ทางรัฐเข้ามาช่วยเหลือ ส่วนสินค้าภายในร้าน โชคดีที่เสียหายนิดหน่อย เนื่องจากตนเตรียมการไว้ล่วงหน้า

29 พ.ย.67
ข่าวสด

หน้า: [1] 2 3 ... 674