แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 490 491 [492] 493 494 ... 536
7366
ทหารหนุ่มยศสิบเอก เครียดป่วยโรคมาลาเรีย คิดสั้นกระโดดอาคาร รพ.พหลพลพยุหเสนา ร่างกระแทกพื้นดับสยอง กรามหัก ฟันหลุด หัวเข่าบิดเบี้ยวทั้ง 2 ข้าง...

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 31 พ.ค. พ.ต.ท.วัชรากร เนียมหอม พงส.(สบ 2) สภ.เมืองกาญจนบุรี รับแจ้งจากโรงพยาบาลพหลหลพยุหเสนา มีคนไข้กระโดดตึกฆ่าตัวตาย จึงรายงานผู้บังคับบัญชาแล้วพร้อมด้วย พ.ต.อ.สมเดช ฐิตวัฒนะสกุล ผกก.สภ.เมืองกาญจนบุรี เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและกู้ภัยมูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ไปตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณระเบียงชั้น 2 ของอาคารสมเด็จญาณสังวรฯ ภายในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา พบศพชายสวมชุดคนไข้นอนคว่ำ สภาพกรามล่างหัก ฟันหลุด หัวเข่าผิดรูปทั้ง 2 ข้าง คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง ต่อมาทราบชื่อคือ ส.อ.มนต์ชัย เพ็งไสย อายุ 29 ปี ทหารสังกัดกองทัพบก อยู่บ้านเลขที่ 283/222 หมู่ 1 ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งจากการประมวลเหตุการณ์คาดว่า กระโดดลงมาจากบริเวณชั้น 5 ของตึกดังกล่าว

ด้าน นพ.สมเจตน์ เหล่าลือเกียรติ ผอ.โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตป่วยเป็นโรคมาลาเรียเคยรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ก่อนจะเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เมื่อช่วงเย็นวันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยพักรักษาตัวที่อาคารกาญจนาภิเษกชั้น 3

เบื้องต้น ตำรวจคาดว่า ผู้ตายเกิดความเครียดจึงตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย ซึ่งจะได้เร่งสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุที่แน่ชัด พร้อมดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ไทยรัฐออนไลน์ 31 พค 2554

7367

10 กว่าปี ที่ สำหรับงานที่ต้องเดินทางไปทุกหนทุกแห่ง ทุกจังหวัดที่มีพี่น้องนักพัฒนาทำงาน ทำให้ได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง เรื่องราวสุขๆทุกข์ๆ ตามลำดับของความผูกพันและก็มีเรื่องเดียวที่สะท้อนใจคล้ายๆ ในทุกๆ ที่ ที่ทำให้คนทำงานท้อแท้มากที่สุด อ่อนหล้าและเลิกล้มชีวิตการทำงานบนเส้นทางนี้ หมายความว่า ปัจจุบันคนทำงานพัฒนาทยอยละเลิกอุดมคติการทำงานเพื่อมวลชน เพื่อชุมชน เพื่อพัฒนาสังคมไปเกือบหมดก็เพราะ ปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุน

มันช่างเป็นเรื่องปวดร้าว ที่คนทำงานพัฒนามาเกือบทั้งชีวิตหรือกว่าหนึ่งของครึ่งชีวิต แต่วันหนึ่งต้องผันตนเองมาปลูกผัก เลี้ยงหมู ขายก๋วยเตี๋ยว ขายกาแฟ หรือข้าวแกง มีชีวิตบั้นปลายที่ลำเค็ญ แต่หลายคนกำลังมีไฟเพราะเพิ่งอยู่ในวัย 20 ปลายๆ หรือ 30 ต้นๆ แต่ก็ต้องพับเก็บสิ่งที่เรียกว่า อุดมการณ์เพื่อสังคมไป

ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่คนมีอุดมการณ์จริงๆ จังๆ ไร้ที่ยืนหมดทางเดิน ยุคของคนที่ทำงานจริงจังฝังตัวกับพี่น้องชาวบ้าน กับคนชายขอบกำลังจะหมดไป เหลือแต่คนที่เขียนโครงการเก่งๆ หว่านล้อมเป็น พูดจาสร้างภาพเป่าหูดูดี ยุคที่ NGOs ออกสื่อสุขสบาย ยุคที่ระบบคุณธรรมในวงการพัฒนาเสื่อมถอยเหลือแต่ระบบถ่อยๆ ที่เต็มไปด้วยวาระซ่อนเร้นเส้นสาย เล่นพรรคเล่นพวกและเคลือบแคลงผลประโยชน์ทับซ้อนกับแหล่งทุน ซึ่งองค์กรใหญ่สุด ณ เวลานี้ ก็คือ สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รองๆ ลงมาก็เป็น พอช. หรือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ซึ่งระยะหลังๆ พอช. ที่ตัดข้ามกลไกคนทำงานพัฒนาแล้วผันไปทำงานกับชุมชนโดยตรงไปเลย

ความอดสูและอับจนใจจนต้องทดท้อและยอมถอยก็เพราะขบวนการหมอเข้ามาควบคุมระบบการกระจายทุน ทำให้งานพัฒนาปัจจุบันอยู่ภายใต้กรอบคิดหมอที่แสนคับแคบ เพ้อฝัน เป็นนามธรรมและไม่ฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ใครๆ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ชมชอบแต่คำสดุดี เยินยอ ทำให้ 10 ปีขององค์กรแหล่งทุนอย่าง สสส.หรือ พอช. จึงเต็มไปด้วยบริวารผลประโยชน์ มีทั้ง NGOs บริวาร อบต. และชุมชนบริวาร โดยไม่มีเสียงสะท้อน ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล ทัดทาน ตีแผ่วิจารณ์อะไรได้เลย ยิ่ง สสส. ในระยะหลังๆ เอาเงินภาษีจากคนบาปจำนวนมหาศาลไปละลายแม่น้ำ อาทิ โครงการให้เงินเดือน นายกฯ อบต. เดือนละ 30,000 บาท  หรือ สนับสนุนกิจกรรมคลื่นมนุษย์ (Human wave) หรือที่เรียกกันว่าเล่นเวฟ ออกทีวีไม่รู้หมดไปเท่าไหร่  เมื่อตอนวันสงกรานต์ สวนทางกับสภาพคนทำงานพัฒนา องค์กรชุมชน ทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ที่ทยอยปิดโครงการปิดตัว หรือบางองค์กรก็ต้องหันมาประกอบอาชีพใหม่ หารายได้เสริมเพื่อเอารายได้มาทำงาน มาหล่อเลี้ยงอุดมคติ

ความน่าอัปยศของแหล่งทุนสนับสนุนงานพัฒนาในประเทศไทยที่บริหารเงินภาษีประชาชนแบบมีอคติ เลือกปฏิบัติ ขาดการรับฟัง ไม่เปิดกว้างรับความคิดเห็นจากกลุ่มอื่นๆ คนอื่นๆ  โดยเฉพาะที่ไม่ใช่กลุ่มหมอ และที่สำคัญใช้ไปเพื่อสนองทิศทางความคิดของตนฝ่ายเดียว ผ่านพรรคพวกบริวารของตนมากกว่ากระจายให้ทั่วถึง เสมอภาคและเพื่อกระตุ้นให้สังคมเกิดกลุ่ม องค์กรเกิดโอกาส เกิดความเท่าเทียม  เกิดความเข้มแข็ง เกิดการถ่วงดุลตรวจสอบกันและกันในสังคม ทำให้งานพัฒนาปัจจุบันที่ถูกสนับสนุนโดย สสส. หรือ อื่นๆ กำลัง กลายเป็นขบวนการงานพัฒนาแบบโป๊งๆ ฉึ่ง ฉาบฉวยมีแต่สีสัน มากขึ้น หลา่่ยงานเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หวือหวา จนกำเนิด NGOs Event รุ่นใหม่ๆ เต็มบ้านเต็มเมือง ที่ทำงานเน้นการสร้างภาพ กลายเป็น NGOs ไม่ติดดิน มองข้ามความสนใจแก้ไขปัญหาสังคมเชิงรากฐาน อีกทั้งไม่เข้าใจปัญหาสังคมที่เกิดจากโครงสร้าง ที่ขาดความเสมอภาคเท่าเทียมเป็นธรรม

ในขณะที่กระบวนการเข้าถึงเงินทุนของ สสส. ในปัจจุบัน กำลังกลายเป็นเรื่องเกินกำลัง เกินสติปัญญา สำหรับองค์กรรากหญ้า หรือเอ็นจีโอขนาดเล็กไปแล้ว เพราะกว่าจะยื่นเข้าผ่าน กว่าจะฝ่าด่านการถูกซักถาม ปรับแก้ และกว่าจะผ่านการตรวจสอบการบริหารการใช้จ่ายอย่างละเอียด พร้อมรายงานอย่างยาก เหมือนกับมีมาตรฐานระดับสูง (โดยไม่ทราบว่ามาตรฐานเดียวกับ NGOs หมอหรือเปล่า ?) ทำให้องค์กรชาวบ้าน NGOs ขนาดเล็ก ต่างหวาดกลัว เข็ดขยาดไปตามๆ กัน แต่ในตัวองค์กร สสส. กลับไม่เคยให้ใครเข้าไปตรวจสอบ ? และไม่เคยชี้แจงให้ประชาชนรับทราบ ว่าบริหารเงินภาษีประชาชนไปอย่างไร สมเหตุสมผลและตรงตามความต้องการของหรือประชาชนหรือไม่

ทำให้นักพัฒนาหลายคนมีสรุปตรงกัน หลังจากที่ติดตาม เฝ้ารอ วาดหวัง ไปจนถึงมีโอกาสได้ไปสัมผัส ชนชั้นหมออำมาตยาที่ควบคุมทิศทางเงินทุนอันมาจาก “ภาษีของประชาชน”   ว่า  “หากใครต้องการโอกาสเข้าถึงเงินทุนที่เหล่าหมอๆ หรือพวกอำมาตยา นั่งควบคุมบงการอยู่นั้น ต้องรู้จักท่องคาถา 9  ข้อ”   นี้ให้จงได้ คือ

1 )  ศรัทธาในระบบแพทยาธิปไตย 
2 ) พร่ำพรรณนาถึงความดีงามของสังคม ความพอเพียงประณามอบายมุข ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ย้ำคิดย้ำทำย้ำสนใจแต่เรื่องสุขภาพตัวเองเป็นหลัก
3 ) ใช้เงินทุนอย่างไรก็ได้ ขอให้ป้ายแหล่งทุนได้ ออกออกทีวี ดูดี…
4 )  ต้องเข้าใจและใช้ทฤษฎี สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาในการอธิบายสังคม และต้องเอ่ยถึงเจ้าของทฤษฎีสามเหลี่ยม อย่างซาบซึ้งหาที่สุดมิได้
5 ) หัดสมาสคำไทยให้เป็นให้เท่ห์ เข้าใจยากแต่ฟังไพเราะ อาทิ ธรรมาธิปไตย การจัดการองค์ความรู้ สังคมสมานุภาพ ฯลฯเป็นต้น   
6 )  คบกับหมอ เชิดชูหมอ บูชาหมอ กราบไหว้และต้องให้หมอมาเป็นประธานหรือที่ปรึกษา กลุ่ม องค์กร ของตนเอง…จะดีที่สุด !! 
7 ) ต้องหัดพูดจาให้หมอฟังได้ ไม่ระคายหู ไม่ระคายตา เห็นภาพสวยหรู ดูดีขึ้นป้าย แปะสติกเกอร์ โลโก้ คำขวัญ ทุกซอกทุกมุม ทุกอาณาบริเวณชีวิต 
8 ) อาจจะต้อง มีรูปหมอ หรือบุคคลสำคัญในแหล่งทุน หรือที่แหล่งทุนเคารพนับถือแขวนไว้บนหัวนอน ในห้องทำงาน ในสำนักงาน เพื่อเป็นศิริมงคลต่อเนื่อง ด้านเงินทุน 
9 ) ศรัทธาสุดใจ โดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ตั้งคำถาม ใดๆ ทั้งสิ้น

10 ปี สสส. องค์กรแหล่งทุนแห่งเดียวของประเทศที่ใหญ่ที่สุด กำลังกลายเป็นขุมทรัพย์มหาศาลของเหล่าหมอๆ ที่วางมือจากเข็มฉีดยามาทำงานพัฒนา จนหมอนักวิพากษ์บางรายถึงกับปริปากว่า รักษาคนไข้แทบตายยังไม่รวยไวเท่ามาเป็น NGOsเลย…

ดังนั้น หากเป็นไปได้ คงจะถึงเวลาแล้วสำหรับการตั้งคำถามองค์กรแหล่งทุนของประเทศนี้ ทุกแหล่งทุนที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนา ทั้ง สสส. พอช. สกว. ว่าควรจะให้ประชาชนหรือมีกระบวนการกำหนดทิศทางแบบส่วนร่วม มากกว่านี้ ได้หรือยัง ? และควรจะเปิดเผยให้ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ โดยทราบทั่วกัน เพราะนั่นคือเงินภาษีของประชาชน !!   

จริงอยู่ นักแสวงบุญ กับหมออาจจะคิดตรงกันว่า นี่คือเงินบาป หรือภาษีบาป ที่หักเอาจาก บุหรี่ เหล้า แต่ก็ภาษีของประชาชน ที่ประชาชนควรจะมีสิทธิ์เข้าถึง รับรู้และมีสิทธิ์ร่วมกำหนดจุดหมาย ทิศทางการใช้ประโยชน์ และที่สำคัญ การเสริมสร้างให้องค์กรรากหญ้า หรือ NGOs ขนาดเล็กเข้มแข็ง ถือว่าสำคัญ มิใช่เน้นยุทธศาสตร์ “ตอนหรือทำหมัน”NGOs ไทยโดยเฉพาะสายหัวก้าวหน้า !!”  ทำให้ชะตากรรม NGOs เมืองไทยบางสาย ที่มิใช่สายประชาคม ไม่ใช่สายหมอ ย่ำแย่และเสื่อมหายตายลงทุกวัน ท่ามกลางสภาพสังคมที่ผันแปรหลากหลายปัญหาที่กำลังรุมเร้าสังคม ซึ่งต้องการองค์กรหลากหลายลุกขึ้นมาดูแล ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ต้องทุ่มพลังทุ่มทรัพยากรสร้างองค์กร สร้างความเข้มแข็งหลากหลาย สร้างภารกิจต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสรรค์สังคม

การรื้อปรับโครงสร้างและภารกิจองค์กรแหล่งทุนอย่าง สสส. หรือ พอช. ตลอดจนทุกแหล่งทุนที่ใช้เงินภาษีประชาชน ร่วมถึงการขยายหรือเพิ่มกระบวนการใหม่ๆ เปิดรับความคิดเห็นอื่นๆ จึงจำเป็นเร่งด่วนมากในยามนี้ เพื่อระดมทรัพยากรไปลงทุนในสังคม เพื่อฟื้นฟูรากฐานขบวนงานพัฒนาสังคมให้กลับมาเข้มแข็งมีบทบาทอีกครั้ง วันนี้จึงอยากเสนอให้รื้อระบบแพทยาธิปไตยและวัฒนธรรมอำมาตยาที่ฝังรากอยู่ในแหล่งทุนที่สนับสนุนงานพัฒนาทิ้งให้หมด….ครับ

บทบรรณาธิการ  พ.ค. 9, 2011
thaingo.org

7368
กรมบัญชีกลาง ปรับเกณฑ์เบิกจ่ายค่ายาสมุนไพร 2 รายการ “ยาผลิตเองใน รพ.-ยาปรุงสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย” อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย เชื่อ ช่วยสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรไทยใน รพศ.รพท.พุ่ง 10%
       
       วันนี้ (30 พ.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ.ว่า กรมบัญชีกลางได้มีการออกระเบียบเรื่องหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยให้ยกเลิกหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มจากเดิมที่ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะยาที่ใช้บำบัดโรค 2 รายการ คือ 1.รายการยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2.รายการที่เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ มาเป็นการอนุมัติให้เบิกจ่ายได้ในอีก 2 รายการที่ประกาศเพิ่ม คือ 1.รายการยาที่อยู่ในเภสัชตำรับโรงพยาบาล หมายถึงยาสมุนไพรที่สถานพยาบาลแต่ละแห่งผลิตเอง ในส่วนที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้เป็นไปตามการสั่งใช้ยาของแพทย์แผนปัจจุบันที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแพทย์แผนไทยผู้มีใบประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมแผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทย 2.รายการยาที่ปรุงสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายให้เป็นไปตามการสั่งใช้ยาของแพทย์ แผนไทยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมแผนไทยหรือสาขาการ แพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554

       “โดยในวันนี้ที่ประชุมได้รับทราบและได้สั่งการให้ผู้ตรวจราชการสาธารณสุข แจ้งให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลรับทราบเพื่อดำเนินการต่อไป” นายจุรินทร์ กล่าว
       
       ด้านพญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า จากการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว น่าจะทำให้อัตราการใช้ยาแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 5 ในปี 2554 ในส่วนของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ/รพท.) และน่าจะมีการใช้อยู่ที่ร้อยละ 10 ในโรงพยาบาลชุมชน จากเดิมที่ใช้แค่ร่อยละ 3 ในปี 2553 และคาดว่าหากมีการเบิกจ่ายยาแผนไทยเพิ่มขึ้นก็จะช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลแบบแพทย์แผนปัจจุบันด้วย เนื่องจากยาแผนไทยมีราคาที่ถูกกว่า เนื่องจากปัจจุบันยาแผนไทยได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น ยารักษาข้อเข่าจากเถาวัลย์เปรียง
       
       “สำหรับการเบิกจ่ายยานั้น ขอย้ำว่า ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์แผนไทยที่ได้รับใบประกอบโรคศิลปแล้วเท่านั้น และเบิกจ่ายได้ในส่วนของยารักษาโรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น ไม่สามารถเบิกจ่ายในส่วนของความสวย ความงาม ซึ่งทางกรมบัญชีกลางได้แจ้งเป็นหนังสือเวียนตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2554 เป็นหนังสือเลขที่ กค.0422.2/ว33” พญ.วิลาวัณย์ กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 พฤษภาคม 2554

7369
 “ประชานิยม” แนวคิดพื้นฐานการหาเสียงของพรรคการเมืองที่กำลังมีการแข่งขันอย่างร้อนระอุ ความขาดแคลนทางวัตถุ ความเจริญ เงินทอง ความสะดวกสบาย และความมั่นคงทางการใช้ชีวิตกลับกลายมาเป็นประเด็นแต่ละพรรคงัดเอามากำหนดนโยบายเพื่อเปิดทางให้ตัวเอง ได้ก้าวมานั่งเก้าอี้ผู้บริหารประเทศ แต่เมื่อมองเฉพาะนโยบายด้านสาธารณสุข (สธ.) และสุขภาพ ซึ่งพรรคการเมืองยังมีการกล่าวถึงน้อย แม้ว่าความจริงจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการใช้ชีวิตที่มีสุขก็ตาม

 “การจะกำหนดนโยบายพรรคให้หลุดพ้นจากประชานิยมนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะนักการเมืองเชื่อว่า จะทำอะไรก็ตามต้องตามใจคนส่วนใหญ่ แน่นอนว่าแนวคิดดังกล่าวใช้ได้กับนโยบายด้านอื่น แต่จะใช้ประชานิยมอย่างเดียวมากำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสาธารณสุขและสุขภาพไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ต้องมองวงกว้าง คือ เขียนแผนในลักษณะของเพิ่มศักยภาพการดูแลตัวเองแก่ประชาชน เช่น กระจายอำนาจการบริหารขององค์กรสาธารณสุข ลงสู่ระดับปฐมภูมิให้มาก เพื่อให้คนกลุ่มเล็ก ห่างไกลความเจริญที่เจ็บป่วยเล็กน้อย สามารถรักษาตัวในโรงพยาบาลชุมชนระดับตำบล อำเภอ ได้” นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ให้มุมมองในการเขียนนโยบายฯ
       
       การกระจายอำนาจที่ว่านี้ ควรเป็นไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่บุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้ทำหน้าที่เป็นเสมือนหมอประจำครอบครัว และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ ตลอดจนติดตามประเมินผลและผลกระทบหลังการรักษา ในกลุ่มเล็กๆ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคได้ด้วย ซึ่งหากทำได้ก็จะช่วยลดภาระสถานพยาบาลขนาดใหญ่ได้ และแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างยั่งยืน อาทิ ปัญหาบุคลากร ปัญหาเรื่อง, รพ.ขาดสภาพคล่อง, ความแออัดของผู้ป่วยและที่สำคัญเพิ่มความเป็นธรรมทางการเข้าถึงระบบบริการได้ด้วย ซึ่งแนวทางนี้เป็นไปได้สูง แต่แปลกที่ยังไม่มีพรรคใดลงมือทำ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความขัดแย้งทางการเมือง

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ
       นอกจากมุมมองดังกล่าวแล้ว ความอ่อนด้อยที่ตอกย้ำความล้มเหลวของนโยบายฯ ที่ชัดเจนอีกอย่าง คือ เรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและเครือญาติ ซึ่ง นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท มองว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองขณะนี้ยังไม่มีใครกล้าการันตีว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ......จะเกิดขึ้นหรือไม่ เข้าใจว่า อาจเป็นเพราะเกรงกลัวจะเสียคะแนนความนิยม จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อย่าลืมว่า ประชาชนต้องการผู้นำที่เด็ดขาดและตัดสินใจโดยเร็ว เพราะการจัดการปัญหาสุขภาพจะมามุ่งเน้นเอาใจใครไม่ได้แต่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
       ด้านพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวว่า นโยบายที่เห็นจะมีการสานต่อของแต่ละพรรค คือ เรื่องหลักประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นรักษาฟรี หรือรักษาแบบเสียเงิน 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อที่สร้างความเสียหายแก่วงการสาธารณสุขระดับกว้าง เพราะแม้ว่าประชาชนจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลในราคาถูกได้ แต่ก็ไม่ใช่กับทุกโรค และเมื่อประชาชนทุกระดับหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการมากขึ้น บุคลากรก็ทำงานหนัก รพ.ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ส่อแววจะแย่ลงทุกขณะ
       
       “ความจำเป็นในการบริการประชาชนด้านสาธารณสุข ที่นำไปสู่ความเสมอภาคอย่างการออกนโยบายรักษาฟรีนี้ มุ่งเรียกคะแนนนิยมบางครั้ง ความเสมอภาคก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่แย่กว่าเดิม คือ คนรวย คนจนก็ต้องจ่ายค่ารักษาเท่ากัน ทั้งที่คนรวยย่อมมีศักยภาพการจ่ายค่ารักษาพยาบาลมากกว่า” พญ.เชิดชู อธิบาย
       
       ประธาน สพผท.เสนอแนะในตอนท้ายว่าหากจะออกนโยบายเพื่อมาแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำจริงๆ คือ จะต้องเลิกขายฝันหลอกลวงเพื่อโกยคะแนนเสียที แต่ต้องเขียนแนวทางในการจัดการระบบบริการตามความเป็นจริง คือ “คนมีมากจ่ายมาก คนมีน้อยจ่ายน้อย แต่คนเดือดร้อนต้องได้รับการช่วยเหลือ” ซึ่งส่วนนี้หากทำได้เชื่อว่าช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างจริงจัง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 พฤษภาคม 2554

7370
ผอ.รพ.ทุ่งสง รับตัว " น้องบุ๋ม "นักศึกษาสาวมหาวิทยาลัยมหิดล นักกีฬากระโดสูงทีมชาติไทยที่เสริมจมูกจนกลายเป็นอัมพาต นอนซมอยู่กับบ้านมาถึง 3 ปีเศษ มารักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว...

จากกรณี น.ส.ชไมภรณ์ หรือ " น้องบุ๋ม " แก้วเกื้อ อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล และนักกีฬากระโดดสูงทีมชาติไทย ไปทำการผ่าตัดเสริมจมูกที่คลีนิคชื่อดังย่านรัชดา เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร หลังผ่าตัดเสริมจมูก น.ส.ชไมภรณ์ เกิดสลบไสลไม่รู้สึกตัว แพทย์ที่ทำการผ่าตัดนำตัวส่ง รพ.รามคำแหง และต่อมานำส่ง รพ เกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์ และ รพ.ศิริราช แพทย์ที่ผ่าตัดยันเด็กหายแน่ จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้จำนวน 130,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายให้ รพ.เกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์

ต่อมาทาง รพ.ศิริราช แนะนำให้นำคนป่วยมารักษาตัวที่บ้านพัก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ปรากฏว่าตั้งแต่ตอนเกิดเหตุจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 3 ปีเศษ น.ส.ชไมภรณ์ กลับเป็นอัมพาต มือเท้าลีบ พูดจาไม่ได้ พ่อ กับแม่ต้องผลัดเปลี่ยนกันเฝ้าดูแล วอนขอความช่วยเหลือ ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ ต่อมาเมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 30 พ.ค. นี้ หลังจากทราบข่าวจาก นสพ.ไทยรัฐ น.พ.จรัส จันทรตระกูล ผอ.รพ.ทุ่งสง ได้ส่งแพทย์และพยาบาลนำรถฉุกเฉินของ รพ.ไปที่บ้านเลขที่ 59/2 หมู่ที่ 12 ต.ควนกรด อ.ทุ่งสง รับตัว น.ส.ชไมภรณ์ แก้วเกื้อ มาที่ รพ. และระดมนายแพทย์เฉพาะทางร่วมตรวจสอบร่างกายทันที

น.พ.จรัส เปิดเผยว่าในชั้นนี้ทาง ร.พ.จะตรวจเช็คสุขภาพคนไข้โดยรวมก่อน และจะเอ๊กซเรย์ดูว่าปอดอักเสบหรือไม่ ถ้าหากตรวจพบว่าปอดอักเสบ ก็ต้องให้คนไข้พักที่ ร.พ. แต่ถ้าหากว่าเป็นปกติ ก็จะให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านพักเหมือนเดิมในขณะเดียวกันทาง รพ.ก็จะประสานไปทางโรงพยาบาลมหาวิทลัยสงขลานครินทร์ เพื่อขอทราบประวัติคนป่วยประกอบไปด้วยเพราะทราบว่าคนป่วยไปให้แพทย์ที่ ร.พ.ม.อ.ตรวจทุกเดือน วันนี้หากตรวจแล้วไม่พบว่าปอดอักเสบก็จะให้คนไข้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน แล้วจะให้แพทย์ไปตรวจร่างกายทุกระยะ

น.พ.จรัส กล่าวเพิ่มเติมว่าคนไข้ปกติดีปอดไม่อักเสบ พร้อมกับให้รถพยาบาลนำคนป่วยไปส่งที่บ้านพักแล้ว

ไทยรัฐ 30 พค 2554

7371
ศ.นพ.สมศักดิ์ ​โล่ห์​เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมาร​แพทย์​แห่งประ​เทศ​ไทย ร่วมด้วย รศ.นพ.ชัยยศ ธีรผกาวงศ์ นายกสมาคมมะ​เร็งนรี​เวช​ไทย ​และ ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคม​โรคติด​เชื้อ​ใน​เด็ก​แห่งประ​เทศ​ไทย ​เป็นตัว​แทน 6 องค์กรวิชาชีพทาง​การ​แพทย์ ประกอบด้วย ราชวิทยาลัยสูตินรี​แพทย์​แห่งประ​เทศ​ไทย ราชวิทยาลัยกุมาร​แพทย์​แห่งประ​เทศ​ไทย สมาคมมะ​เร็งนรี​เวช​ไทย สมาคม​โรคติด​เชื้อ​ใน​เด็ก​แห่งประ​เทศ​ไทย สมาคม​โรคติด​เชื้อ​แห่งประ​เทศ​ไทย ​และสมาคมอนามัย​เจริญพันธุ์ (​ไทย) ​แถลงข้อ​เสนอ​แนะ​เรื่อง​การฉีดวัคซีน​เอชพีวีป้องกันมะ​เร็งปากมดลูก​ใน​เด็กหญิง 12 ปี ฟรี ​เพื่อ​แก้ปัญหามะ​เร็งปากมดลูก​ในหญิง​ไทย ณ ห้องประชุม ​แพทยสภา ​เมื่อ​เร็วๆ นี้

ไทย​โพสต์  28 พฤษภาคม 2554

7372
นับตั้ง​แต่ที่พระบาทสม​เด็จพระมงกุฎ​เกล้า​เจ้าอยู่หัว ​ได้ทอดพระ​เนตร​โรงพยาบาลของสภากาชาดญี่ปุ่น​เป็นที่สง่างาม  ​จึงมีพระราชดำริ​ให้พระ​เจ้าพี่ยา​เธอ กรมหลวงนคร​ไชยศรีสุร​เดช ​และสม​เด็จพระ​เจ้าน้องยา​เธอ ​เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุ​โลกประชานารถ จัดสร้าง​โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ​เพื่อ​การสง​เคราะห์​ผู้​เจ็บป่วย ​และ​เป็นสถานที่ศึกษาของนาย​แพทย์ ตลอดจน​เพื่อ​เป็น​การสร้าง​โรงพยาบาลอันวิจิตร กอปร​ไปด้วย​เครื่องมือ​เครื่อง​ใช้อัน​เป็นอย่างดีที่สุด ​ให้พระนครมีสถานพยาบาลอัน​เท่า​เทียมนานาประ​เทศ​ทั้งปวง ​เสด็จพระราชดำ​เนินทรง​ไขกุญ​แจ​เปิดประตู​โรงพยาบาล​เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2457 จน​ถึงปัจจุบัน  ปี พ.ศ.2554 นี้ ครบรอบ 97 ปี ​แห่ง​การประกอบกิจ​การด้านมนุษยธรรม​โดย​ไม่​เลือกชั้นวรรณะ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาด​ไทย "องค์กรระดับสากล"​และคณะ​แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "สถาบัน​เสาหลักของ​แผ่นดิน" ​ได้พัฒนาผลงาน​เป็นที่ประจักษ์  1.ด้านบริ​การ  ​โรงพยาบาลมี​การพัฒนา​การด้าน​การ​แพทย์ ผลงานบุก​เบิกด้าน​การผ่าตัดหัว​ใจ ​การ​เปลี่ยนอวัยวะ ​การผ่าตัดด้วย​เล​เซอร์ ​การผ่าตัดส่องกล้อง ตลอดจนนวัตกรรมต่างๆ ผลงาน​เด่น​ในช่วงนี้  ​ได้​แก่ ​การผ่าตัดลด​ความอ้วน,  ​การริ​เริ่มส​เตม​เซลส์​ใน​การรักษา​โรค, ​การ​ใช้หุ่นยนต์​เพิ่ม​ความสะดวก​และ​ความ​แม่นยำ​ในห้องปฏิบัติ​การตรวจ​เลือด, ห้องปฏิบัติ​การวิ​เคราะห์​โรคอัต​โนมัติครบวงจร​และทันสมัยที่สุด, ​เครื่องตรวจวินิจฉัยมะ​เร็ง​เต้านมที่ทันสมัยที่สุด, ​การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ด้วย​เครื่องที่ทันสมัยที่สุด, ​เครื่องฉายรังสีรักษา​ผู้ป่วยมะ​เร็ง, ​เครื่อง​เอกซ​เรย์คอมพิว​เตอร์ 640 ส​ไลด์ที่ทันสมัยที่สุด​ในประ​เทศ​ไทย หมุนหนึ่งรอบภาย​ใน 35 วินาที

นอกจากนี้ ​โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยัง​ได้ส่ง​เสริม​การจัดตั้งศูนย์​แห่ง​ความ​เป็น​เลิศ​ในด้านต่างๆ ​เป็นที่ยอมรับ​ทั้ง​ในระดับชาติ​และนานาชาติ
2.ด้าน​การ​เรียน​การสอน

​โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะ​แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ​ใน​การผลิต​แพทย์ที่มี​ความรู้คู่กับ​การ​เน้นปลูกฝังคุณธรรม

ตลอดจน​เป็นสถานฝึกอบรม​แพทย์ประจำบ้านที่​เป็นที่นิยม ​การฝึกพยาบาล ​เจ้าหน้าที่รังสี​เทคนิค ​และนิสิตคณะ​เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจน​การร่วมผลิต​แพทย์​เพิ่ม​เพื่อชาวชนบท ตอบสนอง​ความต้อง​การของประ​เทศ หลักสูตรคณะ​แพทยศาสตร์ ​เป็นที่ยอมรับ​ในระดับนานาชาติ
3.ด้านงานวิจัย

งานวิจัยที่​เกิดขึ้น​ใน​โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ​และคณะ​แพทยศาสตร์ มีสัดส่วนปริมาณต่อจำนวนบุคลากรสูงที่สุด​แห่งหนึ่งของประ​เทศ สัดส่วนของศาสตราจารย์ต่ออาจารย์​ทั้งหมด 1 : 9 งานวิจัยที่สำคัญ​ได้​แก่ งานวิจัย​โรค​เอดส์, ​โรคพิษสุนัขบ้า, งานวิจัย​โรคอุบัติ​ใหม่, ​โรคจากสัตว์สู่คน, ​โรคฉี่หนู, งานวิจัยส​เตม​เซลล์, งานวิจัย นา​โน​เทค​โน​โลยี, ​ไข้หวัดนก, ​ไข้หวัด​ใหญ่ ฯลฯ บุคลากรของสถาบัน​ได้รับรางวัล​การวิจัย รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดี​เด่น นักวิจัยดี​เด่น จำนวนมากที่สุด​แห่งหนึ่งของประ​เทศ

นับ​ได้ว่า​โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์​ได้พัฒนา​ให้​เกิด​ความก้าวหน้าทาง​การ​แพทย์สมดังพระราชปณิธาน​ใน​การก่อตั้งจวบจนบัดนี้มีอายุครบ 97 ปี ​ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 ​ซึ่งทาง​โรงพยาบาล​ได้จัดกิจกรรม​ในวันครบรอบวันสถาปนา​โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ​จึงขอ​เชิญชวน​ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคซื้อดอกกุหลาบ​แดง สัญลักษณ์วันสถาปนา​โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สมทบ "กองทุน 30 พฤษภาฯ" ​เพื่อนำดอกผล​เป็นค่ารักษาพยาบาล​ผู้ป่วยยาก​ไร้ พระภิกษุอาพาธ ตลอดจนกิจ​การของ​โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บริจาค​ได้ที่ศาลาทินทัต ​โทร.0-2256-4397 ​หรือหน่วยพิธี​การ ตึกวชิรญาณวงค์ ​โทร  0-2256-4382, 0-2256-4505
​โดย/ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์


บ้าน​เมือง 28 พฤษภาคม 2554

7373
กระทรวงสาธารณสุข เผย สำนักงบประมาณ อนุมัติจ่ายค่าตอบแทน ให้ผู้ปฏิบัติงานใน ร.พ.ทุกระดับ



น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2554 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการวงเงินงบกลางค่าตอบแทนบุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะปี 2554 จำนวน 4,200 ล้านบาท โดยให้พิจารณาเบื้องต้นจากงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขก่อนแล้วจึงจะสมทบด้วยงบกลาง โดยเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุข ได้ตกลงรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ ได้ข้อสรุปดังนี้

1. ค่าตอบแทนจะจ่ายให้บุคลากร ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลทุกระดับ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และ ร.พ.ศูนย์

2. โดยแบ่งการเบิกจ่ายเป็น 2 งวด เบื้องต้น 2,100 ล้านบาท โดยใช้เงินเหลือจ่ายจากงบลงทุนของกระทรวงสาธารณสุขก่อน แล้วจึงเพิ่มด้วยงบกลาง

ส่วนระเบียบวิธีการเบิกจ่ายให้ใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง ซึ่งจะมีการตกลงกับกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ต้นเดือนมิถุนายน นี้

ไอเอ็นเอ็น 28   พฤษภาคม   2554

7374
แพทย์ชนบท ติง พรรคการเมืองออกนโยบาย สธ.แบบนามธรรม ไม่ลงรายละเอียด   ร้องให้ทุกพรรค มีความชัดเจนเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงการนำเสนอนโยบายด้านสาธารณสุข (สธ.) ของพรรคการเมืองช่วงที่กำลังมีการหาเสียง  ว่า  ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัยการกำหนดนโยบายขอทุกพรรคก็ยังเหมือนเดิม คือ ให้น้ำหนักกับด้านสาธารณสุขน้อยมาก  โดยจากการสังเกตนโยบายพรรคการเมืองใหญ่ 4 พรรค พบว่า แต่ละพรรคเขียนถึงแบบฉาบฉวย คือ กว้างๆ เป็นนามธรรม ยากที่จะยึดมาปฏิบัติได้ เมื่อขึ้นเป็นรัฐบาล  ซึ่งแน่นอนว่า ยากที่จำทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุข   
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า  ขณะนี้ยังไม่เห็นในนโยบายของพรรคการเมืองใดออกมากล่าวถึง เรื่อง ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข ที่ค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรมานาน  และไม่มีพรรคใดมาพูดชัดเจนว่า จะเดินหน้าเรื่อง พ.ร.บ.อย่างไร ที่พบเห็นก็มีแค่นโยบายที่เกี่ยวกับถนนปลอดฝุ่น หรือ เกษตรกร เพราะประชาชนเข้าใจมากกว่า
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากเห็นในการกำหนดนโยบายด้านสาธารณสุขจากพรรคการเมือง คือ การสร้างนโยบายที่ทำให้เกิดความสมดุล ระหว่างการให้บริการและรับบริการ เพราะรัฐถือเป็นตัวแทนของประชาชน และ กลุ่มแพทย์ การบริหารด้วยนโยบายที่ทำให้เกิดความเท่าเทียม ที่สำคัญอย่างลืมให้ความสำคัญกับแนวทางการกระจายงบประมาณอย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารด้าน สาธารณสุขอย่างแท้จริง  นอกจากนี้ อยากเห็นนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการ ซึ่งคิดว่า พ.ร.บ.ที่ยังค้างอยู่ในสภาฯก็ถือว่า เป็นส่วนหนึ่ง หากว่ามีพรรคการเมืองใดกล้าที่จะออกมาพูดว่า จะดำเนินการอย่างไรน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนด้านสาธารณสุขที่ชัดเจนขึ้น 

ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 พฤษภาคม 2554

7375
 กรมการแพทย์แผนไทยฯ เผย  คู่มือตำรับยา 7 เล่ม อยู่ในช่วงตรวจสอบสูตรปรุงยาในฉบับร่าง ยังไม่เปิดเผย ระบุตรีผลา ฆ่าเซลล์มะเร็งเต้านม   ย้ำต้องจัดยาโดยแพทย์พื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญให้กับผู้ป่วยเฉพาะรายเท่านั้น
       
         วันนี้ ( 27  พ.ค.)   พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมฯได้จัดทำคู่มือสมุนไพรพื้นบ้านลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน ซึ่งมีทั้งหมด 7 เล่ม โดยจัดอยู่ในช่วงการตรวจสอบฉบับร่าง  ในตำราฉบับดังกล่าวนี้มีการแสดงสูตรยาสำหรับยับยั้งเซลล์มะเร็ง  เช่น   ตำรับตรีผลา ยับยั้งและฆ่าเซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งปอด 
       
       “ขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างการศึกษาและทบทวนวิธีการปรุงยา จังยังไม่สามารถเผยแพร่ได้  แต่ ขอย้ำว่าในการสั่งจัดยาเหล่านี้จะต้องดำเนินการโดยแพทย์แผนไทยผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับใบรับรองการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย และต้องสั่งยาให้กับผู้ป่วยเฉพาะรายเท่านั้น” พญ.วิลาวัณย์ กล่าว 
       
        อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์ฯ กล่าวด้วยว่า  จากกรณีที่ได้มีการรรวบรวมสูตรยาพื้นบ้านไทยที่มีสรรพคุณในการลดการป่วยจากโรคมะเร็งเกือบ 2,000 พันตำรับนั้น ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือว่าเริ่มมีบุคคลแอบอ้างนำยา สมุนไพรไปขายโดยอ้างว่าเป็นสูตรยารักษามะเร็งที่กรมฯรับรอง จึงขอบอกว่ากรมฯยังไม่เคยเผยแพร่สูตรตำรับยาให้กับบุคคลใดทั้งสิ้น เว้นแต่จะเป็นหมอพื้นบ้านที่ได้รับใบรับรองการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์ แผนไทยบางคนเท่านั้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของประชาชนขออย่างเพิ่งหลงเชื่อ  หรือหากมีข้อสงสัยก็ให้โทรมาสอบถามที่ สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย ก่อนได้
       
          ขณะ ที่นางเสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กล่าวว่า กรมฯอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาตำรับยาโรคมะเร็งจากแพทย์พื้นบ้านจำนวน 31 คน ในพื้นที่ 29 จังหวัด ทางกรมจะติดตามผลจากตำรับยากว่า 100 ตำรับ โดยมุ่งเน้นที่การตรวจและติดตามผลจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษากับแพทย์พื้น บ้าน โดยเบื้องต้นพบว่า มีความซ้ำของพืช และสัตว์วัตถุอยู่มาก เช่น ซากงู จะพบในตำรับยามะเร็งเป็นส่วนมาก โดยตำรับยาที่ศึกษามีทั้งช่วยเรื่องมะเร็งเต้านม มะเร็งปอดและมะเร็งตับ เป็นต้น
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์    27 พฤษภาคม 2554

7376
ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน  ยืนกรานไม่เคยหวั่นแม้ศาลแรงงานไม่รับฟ้องคดีสิทธิเหลื่อมล้ำ  ของประกันสังคม พึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญแทน   ด้าน “หมอชูชัย” ระบุ อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล
       
       น.ส.สารี อ๋องสมหวัง โฆษกชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวถึงความคืบหน้าภายหลังศาลแรงงานมีคำสั่งไม่รับฟ้องกรณีชมรมฯ ทำหนังสือฟ้องสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ขอให้คืนเงินแก่ผู้ประกันตน เนื่องจากเป็นการลิดรอนสิทธิ เพราะระบบสุขภาพอื่นๆ ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง และสวัสดิการข้าราชการกลับไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว ว่า เมื่อศาลแรงงานมีคำสั่งเช่นนี้ โดยให้เหตุผลว่า ไม่สามารถดำเนินการฟ้องร้องในลักษณะรวมกลุ่ม แต่ต้องแยกเป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นรายละเอียดในข้อกฎหมาย แต่ชมรมฯ ก็ไม่ท้อถอย เพราะเรื่องนี้เป็นสิทธิที่ควรได้ จึงได้เดินหน้าพึ่งพาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ในการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งล่าสุด มีข่าวดีว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเตรียมเดินเรื่องดังกล่าวโดยจะเป็นผู้ฟ้องกรณีนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญแทน คาดว่าในราวอีก 1 เดือนข้างหน้า จะดำเนินการได้
       
       “สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ และควรได้รับอย่างเท่าเทียม ไม่เหลื่อมล้ำเหมือนเช่นทุกวันนี้ เพราะปัจจุบัน สปส.เป็นระบบเดียวที่ยังเรียกเก็บจากผู้ประกันตนในอัตราร้อยละ 1 ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 30 ที่ระบุถึงการได้รับความเสมอภาคทางด้านสุขภาพของบุคคลมาตรา 51 การมีความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และมาตรา 80(2) ที่ระบุว่า รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ดังนั้น เรื่องสิทธิยังคงจำเป็นเสมอ”  น.ส.สารี กล่าว
       
       น.ส.สารี กล่าวด้วยว่า  ที่ผ่านมา แม้หลายฝ่ายจะมองว่า การเรียกร้องความเป็นธรรมด้านนี้ต้องการเพื่อโอนให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มาเป็นผู้จัดการกองทุน จริงๆ แล้วไม่ใช่ เราต้องการให้รัฐเป็นผู้จ่ายเงินสมทบในส่วนรักษาพยาบาล ส่วนใครจะเป็นผู้จัดการกองทุนไม่สำคัญ สปส.หรือ สปสช.ก็ได้ แต่ดูเหมือนเรื่องนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ยิ่งขณะนี้อยู่ในช่วงเลือกตั้งก็ดูเหมือนว่า พรรคการเมืองทั้งหลายไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้ประกันตนเลย แม้แต่นโยบายสุขภาพก็ยังไม่มีความชัดเจน จึงอยากฝากให้ทุกพรรคการเมืองมีความกล้าหาญในเรื่องนี้ด้วย” โฆษกชมรมฯ กล่าว
       
       ด้านนพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงกรณีนี้ ว่า  ในขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ คงต้องขอเวลาในการศึกษาข้อมูล และต้องเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าหารือก่อน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 พฤษภาคม 2554

7377
กระทรวงสาธารณสุขขาดเอกภาพในการทำงานเพื่อประชาชน

  ข่าวจาก ASTV ผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 24 พฤษภาคม 2554 อ้างถึงว่า นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวว่าในปีพ.ศ. 2554 กระทรวงสาธารณสุขต้องการแพทย์ 22,855 คน แต่ในความเป็นจริงในปีนี้ มีแพทย์ทำงานในกระทรวงสาธารณสุขเพียง 13,083 คน ยังขาดแพทย์อยู่อีก 9,772 คน โดยแพทย์ 1 คน ดูแลประชากรเฉลี่ย 7,000 คน
 แต่จำนวนแพทย์ที่ว่ามีอยู่ 13,083 คนนี้ โฆษกกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้บอกว่า เป็นแพทย์ที่กำลังอยู่ในระหว่างการลาไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางอยู่อีก กี่พันคน และเป็นแพทย์ผู้บริหารที่ไม่ทำงานตรวจรักษาผู้ป่วยอีกกี่คน (ซึ่งแพทย์ทั้ง 2 ประเภทนี้ น่าจะมีรวมๆกันแล้วเกือบ 5,000 คน
   ฉะนั้นการที่นับเฉลี่ยว่ามีแพทย์ 1 คน ดูแลประชากร 7,000 คนนั้น น่าจะไม่เป็นความจริง น่าจะเป็นแพทย์ 1 คน ต่อประชาชมากกว่า 10,000 คน ซึ่งนับว่าแพทย์ 1 คนต้องรับผิดชอบในการดูแลรักษาประชาชนจำนวนมาก โดเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทที่ห่างไกล ในบางอำเภอ อาจจะมีแพทย์เพียง 1 คนเท่านั้น
  แต่ก็ไม่เห็นว่า ท่านโฆษกกระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวถึงการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์เกือบ 10,000 คน ในกระทรวงสาธารณสุขว่าจะบริหารจัดการอย่างไร ได้แต่กล่าวถึงการจัดสรรแพทย์ใช้ทุน ให้ไปอยู่โรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภออย่างน้อยแห่งละ 3คน และยืนยันว่า มีแพทย์ครบทุกอำเภอ แต่เมื่ออ่านต่อไปก็จะพบว่า บางอำเภอไม่มีแพทย์อยู่ประจำ ต้องไปขอยืมตัวมาจากอำเภออื่น เช่นแพทย์ 1 คนที่เกาะกูด ต้องยืมมาจากเกาะช้าง แสดงว่า แพทย์ท่านนี้เก่งมากที่ถ่างขาควบการทำงานได้ 2 เกาะ เพียงคนเดียว น่าจะปูนบำเหน็จความชอบให้เป็นพิเศษ ให้รับเงินเดือนเท่ากับ 2 คนเลยดีไหม ท่านปลัดกระทรวง?
  ฉะนั้น ที่โฆษกกระทรวงสาธารณสุขบอกว่ามีหมอครบทุกอำเภอ ก็ไม่ใช่เรื่องจริง มีหมอในรพช.อย่างน้อยแห่งละ 3 คน ก็ไม่ใช่เรื่องจริงอีก พูดว่ามีหมอ 1 คน ดูแลประชาชน 7,000 คน ก็ไม่ใช่เรื่องจริง และพูดว่าแพทย์ใช้ทุนปี 1 ต้องอยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป  9 เดือนก่อนออกไปประจำโรงพยาบาลชุมชน ก็ไม่จริงอีก เพราะหลายคน ต้องออกไปอยู่โรงพยาบาลชุมชนก่อนจะมีโอกาสเพิ่มพูนทักษะในรพ.ศ./รพ.ทั่วไป
  ฉะนั้น จะไปหวังพึ่งพากระทรวงสาธารณสุขให้แก้ปัญหาแพทย์ขาดแคลนคงจะยาก เพราะสิ่งที่ท่านโฆษกพูดยังหาความน่าเชื่อถือไม่ได้ แล้วจะไปเชื่อถือให้แก้ปัญหาอื่นๆ คงจะทำได้ยาก
   ในข่าวเดียวกันนี้ ท่านโฆษกพูดว่า การจัดสรรแพทย์ได้จัดสรรตามจำนวนประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบตามระบบภูมิศาสตร์ แต่ประชาชนไทยมีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำงานหาเลี้ยงชีพในท้องถิ่นต่างๆมากมาย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร เมืองอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยว หรือเมืองชายแดน ฯลฯ โดยส่วนมากประชาชนมักมิได้แจ้งย้ายสำมะโนครัวไปด้วย ซึ่งปรากฏให้เห็นเสมอว่า บางอำเภอหรือจังหวัดมีจำนวนประชาชนน้อยกว่าจำนวนในทะเบียนบ้าน บางจังหวัดมีประชาชนมากกว่าจำนวนในทะเบียนบ้าน นอกจากนี้ยังมีคนต่างด้าวอพยพมาทำงานอีกมาก รวมทั้งจังหวัดชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ก็อาจจะมีจำนวนประชาชนต่างด้าวมารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าจำนวนตามทะเบียนบ้าน จึงทำให้จำนวนผู้ป่วยที่มารัฐการบริการที่โรงพยาบาล ไม่สอดคล้องกับจำนวนประชาชนจริง
  ฉะนั้นการจัดสรรแพทย์ตามระบบ GIS อย่างที่กระทรวงสาธารณสุขทำอยู่ จึงไม่สอดคล้องกับภาระงานจริง ของโรงพยาบาลต่างๆ เนื่องจากมีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานของพลเมืองดังกล่าวแล้ว  แต่กระทรวงสาธารณสุขควรจัดสรรจำนวนบุคลากรตามภาระงานจริงของแต่ละโรงพยาบาล (ตามสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการในแต่ละปี) ก็จะทำให้มีบุคลากรเหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยและภาระงานที่แท้จริง จะช่วยแก้ปัญหาความแออัดของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
  นอกจากการจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับภาระงานจนเกิดความขาดแคลนดังกล่าวแล้ว ก็ไม่เห็นว่าผู้ปบริหารกระทรวงสาธารณสุขจะมีแผนการแก้ปัญหาความขาดแคลนนี้อย่างไร รอถึงฤดูกาลแพทย์เรียนจบการศึกษาใหม่ ก็จะออกมาพูดแบบนี้ปีละครั้ง แล้วก็ฝากความหวังไว้กับการ “ผลิตแพทย์เพิ่ม” ตามโครงการต่างๆ  สลับกับการออกมาให้ข่าวว่า พยาบาลก็ขาดแคลนเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่เห็นว่าจะมีความพยายามในการรักษาแพทย์/พยาบาลให้ยังคงทำงานบริการประชาชนในกระทรวงสาธารณสุขอย่างไร
นอกจากขาดแคลนบุคลากรแล้ว บุคลากรที่มีอยู่ก็ขาดตำแหน่งบรรจุ ขาดความมั่นคงและความก้าวหน้าในการรับราชการ กระทรวงสาธารณสุขมัวคิดติดกรอบ คือส่งคนไปเจรจากับก.พ.ทุกปี เพื่อจะขอตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น ขอเพิ่มซี และความก้าวหน้าในราชการเพิ่มขึ้น แต่ถ้าก.พ.ไม่เห็นด้วย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขก็จะกลับมาตีหน้าเศร้า เล่าให้บุคลากรที่เฝ้ารอตำแหน่งและการเลื่อนขั้นว่า  “ได้ไปขอแล้ว แต่ก.พ. ไม่อนุมัติ”
  ฉะนั้นในการบริหารจัดการด้านบุคลากร กระทรวงสาธารณสุขก็ต้องไปอ้อนวอนขอจากก.พ. ซึ่งก.พ.เองคงไม่เข้าใจว่า การจัดสรรจำนวนตำแหน่งงาน และความเชี่ยวชาญเฉพาะควรจะทำอย่างไรให้เหมาะสม
    ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ระดับปลัดกระทรวงลงไปถึงอธิบดีต่างๆ ไม่เคยที่จะคิดนอกกรอบ แยกออกจากก.พ.แล้วไปกำหนดตำแหน่ง เงินเดือน/ค่าตอบแทน และความก้าวหน้าของบุคลากรเอง เพื่อให้เหมาะสมกับภาระงานและความรับผิดชอบ เพื่อจะเป็นขวัญกำลังใจและแรงจูงใจให้บุคลากรทั้งหลาย มีความรักและความสุขในการทำงานบริการประชาชน ภายใต้การบริหารของกระทรวงสาธารณสุข
งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขก็ต้องมีคนกลางมาจ่าย ไม่ได้รับโดยตรงจากสำนักงบประมาณ
ในเรื่องงบประมาณที่จะใช้จ่ายในการบริหารงานเพื่อพัฒนาการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข  รวมทั้งเงินเดือนของบุคลากรนั้น แทนที่กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับมาโดยตรงจากงบประมาณแผ่นดินเหมือนกับกระทรวงทบวงกรมอื่นๆ กระทรวงสาธารณสุขต้องไปขอรับงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งทำตัวเหมือนเป็นผู้สั่งงานกระทรวงสาธารณสุขอีกทีหนึ่ง แทนที่สปสช.จะจ่ายเงินค่ารักษาประชาชนตามรายหัวประชาชนตามที่สปสช.ขอมา
   แต่สปสช.กลับมาวางแผนคิดโครงการต่างๆเพื่อให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทำตามแผนการ/โครงการของสปสช. ถ้ารพ.ไหนไม่ทำตามแผนการ/โครงการของสปสช. ก็จะไม่ได้รับเงินงบประมาณมารักษาผู้ป่วยโรคนั้นๆ กระทรวงสาธารณสุขอยากจะทำโครงการบริการประชาชนอย่างไร ก็ต้องไปขอเงินจากสปสช. ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาโรคเอดส์ ตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน โครงการไตวาย โครงการรักษาโรคหัวใจ ผ่าตัดตา ฯลฯ รวมทั้งสปสช.ยังมีเงินพิเศษมาจ่ายเงินให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบางสาขาในการรักษาผู้ป่วยอีกด้วย จึงเห็นได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขนั้น ไม่สามารถวางแผนการในการพัฒนาการจัดบริการสาธารณสุขแก่ประชาชนเองได้ เพราะไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ เมื่อจะไปของบประมาณจากสปสช. ก็ต้องทำตามแผนการและนโยบายของสปสช.เท่านั้น
 การพัฒนาอาคารสถานที่ อุปกรณ์การแพทย์  เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยี ของสถานบริการทางการแพทย์ต่างๆ กระทรวงสาธารณสุข ก็ไม่ได้รับงบประมาณโดยตรงมาเพื่อดำเนินการในส่วนนี้  โรงพยาบาลต่างๆต้องไปของบประมาณการซ่อมแซมและจัดหาอุปกรณ์ต่างๆจากสปสช. หรือทอดผ้าป่าหาเงินบริจาค มาใช้เพื่อการนี้  ทำให้หลังจากเกิดระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว โรงพยาบาลต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขก็ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เตียงเก่าๆหักๆในจำนวนเท่าเดิม อุปกรณ์ และเทคโนโลยีล้าสมัย  มีแต่จำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นจนนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รู้สึกได้ถึงความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่ จึงสั่งให้รพ.ใหญ่ไปเปิดสาขานอกเมือง
  แต่ไม่แก้ปัญหาความเจ็บป่วยของประชาชนให้ลดลง จากการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี เจ็บป่วยน้อยลง จะได้ไปลดจำนวนการไปรับการตรวจรักษาโรคจากโรงพยาบาล เพื่อให้โรงพยาบาลหายจากความแออัดของผู้ป่วย และมีภาระงานน้อยลง
  มาตรฐานการใช้ยาและการรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขก็ถูกจำกัด ตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนดว่าจะจ่ายเงินให้โรงพยาบาลเฉพาะการจ่ายยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือตามที่สปสช.กำหนดเท่านั้น ถ้าแพทย์สั่งจ่ายยารักษาผู้ป่วยนอกเหนือบัญชียาหลักหรือนอกเหนือจากที่สปสช.กำหนด สปสช.ก็จะไม่จ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาล โดยที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่มีความพยายามที่จะสะท้อนปัญหาเหล่านี้ ให้รัฐบาลหรือประชาชนทราบว่า การจำกัดชนิดยาและการรักษาโรคที่สปสช.กำหนดให้ใช้ยาแบบเก่าๆเดิมๆ ทำให้แพทย์ขาดประสบการณ์ในการใช้ยาและนวัตกรรมใหม่ๆในการรักษาโรค จะทำให้วิทยาการแพทย์ไทยในกระทรวงสาธารณสุขหลุดจากมาตรฐานที่ทันสมัย ไม่มีมาตรฐานเดียวกันกับโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยไม่ต้องไปคิดเปรียบเทียบกับนานาอารยะประเทศ
    จะเห็นได้ว่า โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย   ต่างก็มีอิสระที่จะเลือกไม่รับงบประมาณจากสปสช.ในการรักษาผู้ป่วย ทั้งนี้เพราะโรงพยาบาลเหล่านี้อาจจะเคยมีประสบการณ์ว่า ได้รับงบประมาณน้อยกว่างบประมาณที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยให้ได้มาตรฐาน จะเห็นได้ว่า โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขต่างก็ประสบกับการขาดทุนจากการที่ต้องรับรักษาผู้ป่วยตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตลอดเวลา 9 ปีหลังจากมีระบบนี้ในประเทศไทย ทั้งๆที่งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มจาก 1,200 บาท มาเป็นเกือบ 3,000 บาทในปีงบประมาณ 2555 โดยที่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้เลย
   กระทรวงสาธารณสุขจึงขาดเอกภาพในการทำงาน  เริ่มจากมีก.พ.เป็นผู้บริหารบุคลากร การวางแผนในการดำเนินงานและนโยบายก็ต้องทำตามที่สปสช.และสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กำหนด แผนการรักษาก็ทำตามสปสช. งบประมาณทั้งในการดำเนินงานและเงินเดือนบุคลากรก็ต้องไปขอจากสปสช. และงบประมาณที่ได้รับมาก็เป็นงบขาดดุล ได้รับในจำนวนจำกัดจำเขี่ย
กระทรวงสาธารณสุขมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนทั้งประเทศ แต่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถของบประมาณที่เหมาะสม เพื่อมาใช้จ่ายในการทำงาน ไม่มีความสามารถในการกำหนดตำแหน่งและจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมกับภาระงาน กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถวางแผนการในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และไม่สามารถพัฒนาอาคารสถานที่ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีของสถานบริการสาธารณสุขได้ ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการรักษาได้ เพราะถูกจำกัดเรื่องยาในการรักษาผู้ป่วย
  จึงน่าเป็นห่วงว่า ประชาชนไทยที่ต้องรับบริการสาธารณสุขจากกระทรวงสาธารณสุข จะมีความเสี่ยงอันตรายจากการไปรับบริการจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น ถ้ายังไม่มีการแก้ไขการขาดเอกภาพในการบริหารจัดการการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขให้เหมาะสมกับความจำเป็นทุกด้าน ทั้งงบประมาณ บุคลากร การพัฒนามาตรฐานสถานบริการและคุณภาพมาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
26 พ.ค. 54
เอกสารอ้างอิง 1.   http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000063251
สธ.ยัน รพช.มีแพทย์ดูแลผู้ป่วยครบ แต่ยังขาดแคลนอีก 9,772 คน

7378
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่บริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงพยาบาลบางขุนเทียน ถนนบางขุนเทียน-ชาย ทะเล เขตบางขุนเทียน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานพิธีทำบุญและบวงสรวงสถานที่เพื่อความเป็นสิริมงคลในการก่อสร้าง โดยพื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นที่ดินที่ กทม. ได้รับบริจาค ประมาณ 34 ไร่

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ศูนย์เวชศาสตร์และโรงพยาบาลบางขุนเทียนนี้จะมุ่งเน้นให้บริการด้านผู้สูงอายุแบบครบวงจร รวมถึงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ มีขนาด 100 เตียง และศูนย์รักษาโรคทั่วไป ขนาด 200 เตียง ครอบคลุมการรักษาพยาบาลในพื้นที่เขตบางขุนเทียน บางบอน ทุ่งครุ  จอมทอง ราษฎร์บูรณะ และจังหวัดใกล้เคียง คือสมุทรปราการและสมุทรสาคร รวมประมาณ 900,000 คน

โดย กทม. ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง 2,300 ล้านบาท ซึ่ง กทม.จะใช้งบผูกพันประจำปี 2554-55 จำนวน 1,300 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการในส่วนผู้ป่วยนอกได้ปลายปี 2555 ส่วนงบประมาณในการดำเนินการเฟสที่เหลืออีก 1,000 ล้านบาทนั้น กทม. จะออกสลากการกุศลผ่านทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในปี 2556  ตามมติคณะรัฐมนตรีและเงินบริจาคจากการจัดสร้างพระพุทธพรรณีศรีธรรมไภสัช และพระกริ่ง กทม.และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2556ได้.

เดลินิวส์   26 พฤษภาคม 2554

7379
จากมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.บัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่ว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้” ซึ่งต่อมาได้มีประกาศกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาฯ และประกาศกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของสถานบริการสาธารณสุข พร้อมตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนาฯ ออกมาแล้ว ก็หมายความว่าจากนี้ไปทุกคน (ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องให้ผู้ปกครองยินยอม) มีสิทธิเขียนหนังสือหรือบันทึกภาพเคลื่อนไหวแสดงเจตนาฯ โดยไม่มีการบังคับ และสามารถทำในยามแข็งแรงปกติ เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา
   
ส่วนข้อถกเถียงความหมายของ “วาระสุดท้ายของชีวิต” ได้มีคำอธิบายว่าหมายถึง “ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาได้วินิจฉัยจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ว่า ภาวะนั้นนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้จะถึงและให้หมายความรวมถึงภาวะที่มีการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ที่ทำให้ขาดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างถาวร โดยปราศจากพฤติกรรมการตอบสนองใด ๆ ที่แสดงถึงการรับรู้ได้ จะมีเพียงปฏิกิริยาสนองตอบอัตโนมัติเท่านั้น”
   
ถือเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย แต่เป็นเรื่องเก่าของ หลายประเทศ ที่มักเรียกว่า “การุณยฆาต” ซึ่งหมายถึงการทำให้บุคคลตายโดยเจตนาด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ทำให้ตายอย่างสะดวก หรือการงดเว้นการช่วยเหลือหรือรักษาบุคคล โดยปล่อยให้ตายไปเองอย่างสงบ ทั้งนี้เพื่อระงับความเจ็บปวดอย่างสาหัสของบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นป่วยเป็นโรคที่ไร้หนทางเยียวยา ซึ่งแนวคิดนี้มีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน โดยผู้คัดค้านเกรงว่า สิ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทำนั้นทำด้วยความบริสุทธิ์ใจมีเจตนาดี จริงหรือไม่ และการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยอยู่ใน “วาระสุดท้ายของชีวิต” ถูกหรือไม่ โดยก่อนหน้าได้พยายามให้การรักษาด้านอื่นหรือยัง
   
อีกทั้งอาจเปิดช่องให้มีการกระทำผิด เช่น การนำ เอาอวัยวะไปขาย หรือการฆ่าเพื่อเอามรดก ขณะที่ทุกศาสนาต่างเห็นตรงกันว่า “การุณยฆาต” เป็นบาป จึงคาดหวังว่าจากนี้ไปหน่วยงานเกี่ยวข้องจะเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานและประชาชนให้เข้าใจถึงเจตจำนง ขอบเขต ขั้นตอนของกฎหมาย และที่สำคัญสังคมต้องช่วยกันตรวจสอบ อย่าปล่อยให้เป็นเรื่องเฉพาะแพทย์กับคนไข้ มิฉะนั้นอาจเอื้อให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อเหตุวิสามัญฆาตกรรมเฉกเช่นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เราเคยพบปัญหาอยู่เนือง ๆ.

เดลินิวส์  26 พฤษภาคม 2554

7380
สช.​เผยกฎหมาย​ใหม่ ​ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้น​ไปมีสิทธิ์ตัดสิน​ใจ​เลือกขอ​ไม่รับ​การรักษาพยาบาล​เพื่อยื้อชีวิต​ได้ ​เพียง​แต่มีญาติ​ใกล้ชิด​เป็น​ผู้รับรอง​เท่านั้น ชี้​เป็น​การปฏิวัติสังคม พลิก​ความ​เชื่อ​เทค​โน​โลยีคือสุดยอด​การรักษา ​ให้หันมาทบทวนคุณค่า​การ​ใช้ชีวิต ​เชื่อ​เป็นประ​โยชน์กับทุกฝ่าย ​เร่งจัด​ทำหนังสือ​เผย​แพร่​ทำ​ความ​เข้า​ใจ​แก่​แพทย์ พยาบาลทั่วประ​เทศ

สำนักงานคณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (สช.) จัด​เวที "สช.​เจาะประ​เด็น​เรื่องบั้นปลายชีวิตลิขิต​ได้ ตามกฎกระทรวง" ที่ออกตาม​ความ​ในมาตรา 12 ของ  พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ ที่กำหนด​ให้​ผู้ป่วยสามารถ​แสดง​เจตนา รมณ์​ใน​การ​ไม่ขอรับบริ​การสาธารณสุข​เพื่อยุติ ​ความทรมานจาก​การ​เจ็บป่วย ที่ประกาศ​ในราชกิจจานุ​เบกษา ​เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2554 ​โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การสุข ภาพ​แห่งชาติ กล่าวว่า ​การที่กฎหมาย​ให้สิทธิ์​ผู้ป่วย​ใน​การ​เขียนหนังสือ​แสดง​เจตนา​ใน​การ​ไม่ขอรับ​การรักษา​เพื่อยื้อชีวิต  ​เป็นสิทธิ์ของ​ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้น​ไป ที่ยังมีสติสัมปชัญญะสามารถ​ทำ​ได้ ​แต่หาก​เป็น​ผู้ป่วยที่​ไร้สติ ​แพทย์จะต้องหารือกับญาติ​ใกล้ชิด​เพื่อ​ทำ​ความ​เข้า​ใจ​เรื่อง​การรักษาที่ตรงกันก่อน ส่วน​ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ​แต่​เป็น​โรค​เรื้อรัง​ก็สามารถ​ทำ​ได้ ​โดยต้องมีญาติ​ใกล้ชิด​เป็น​ผู้รับรอง

​เลขาธิ​การ สช. กล่าวต่อว่า ​การ​ทำหนัง สือดังกล่าวจะ​ทำ​ให้​ทั้ง​แพทย์ ​ผู้ป่วย​และญาติ​ผู้ป่วย รู้​ความต้อง​การ​และหา​แนวทาง​การดู​แล​ผู้ป่วยที่​เหมาะสมยิ่งขึ้น ขณะ​เดียวกัน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทุกระดับจะต้อง​ให้ ​ความรู้กับประชาชน​ใน​เรื่องดังกล่าวด้วย ​ซึ่งขณะ นี้ สช.​ได้จัด​ทำหนังสืออธิบาย​ถึง​การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอย่างละ​เอียด ​เพื่อ​แจกจ่าย​ให้กับ รพ.​ทั้งภาครัฐ ​และ​เอกชนทั่วประ​เทศ​แล้ว

ด้าน นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ​ผู้อำนวย​การสถาบันพัฒนา​และรองรับคุณภาพ​โรงพยา บาล กล่าวว่า ​การปฏิบัติตามกฎหมาย​ใหม่ที่ออก มานี้ รพ.จะต้องดำ​เนิน​การต่อ​ใน 4 ​เรื่อง คือ 1.ช่วย​ให้คำ​แนะนำ​แก่​ผู้ที่ต้อง​การ​ทำหนังสือ​แสดง ​เจตนา​ไม่รับ​การรักษา 2.​เมื่อ​ได้รับหนังสือดังกล่าว ​แล้วจะต้องถ่ายสำ​เนา​เ​ก็บ​ไว้ ส่วนตัวจริง​ให้คืน ​แก่​ผู้ป่วย​หรือญาติ จากนั้น​จึง​เร่งประสาน​ทำ​ความ ​เข้า​ใจกับคณะ​แพทย์ที่จะ​ทำ​การรักษา รวม​ถึง​เมื่อ มี​การย้าย รพ.จะต้องประสาน​ทำ​ความ​เข้า​ใจกับ รพ.ที่​ผู้ป่วยย้าย​ไปด้วย 3.​แจ้งอา​การ​เจ็บป่วย​ให้ ญาติทราบ  ​เพราะบางครั้งยังมี​ความจำ​เป็นที่ต้อง รักษาอา​การบางอย่างของ​ผู้ป่วยอยู่ ดังนั้นทาง รพ.จะต้อง​เรียนรู้​เรื่อง​การชั่งน้ำหนัก ​และ 4.ต้อง ปฏิบัติตาม​ความประสงค์ของ​ผู้ป่วย พร้อมกันนี้จะต้อง​ทำ​การรักษา​แบบประคับประคองอา​การ​ไปด้วย

"​แต่มีปัญหาคือ รพ.ต้อง​การ​เห็นหนังสือที่ชัด​เจนว่าสิ่ง​ไหน​ทำ​ได้ สิ่ง​ไหน​ทำ​ไม่​ได้ ​แต่​การ​เขียนรายละ​เอียด​เกิน​ไปนั้น​ผู้ป่วยถือว่า​เป็น​การ​เสียศักดิ์ศรี ​จึง​เปิด​โอกาส​ให้​ผู้ป่วย​ได้​เขียนตาม​ความต้อง​การของตัว​เอง ดังนั้น​จึง​เป็นหน้าที่ของ รพ.ที่ต้องพิจารณา​การรักษาจากหนังสือ ​ซึ่งถือว่า​เป็น​การปฏิวัติสังคมที่จะรื้อฟื้นจาก​การที่หลงผิดว่า​เทค​โน​โลยีคือสุดยอดของ​การรักษา ​ได้หันมาทบ ทวน​การมีคุณค่า​ใน​การ​ใช้ชีวิต" นพ.อนุวัฒน์กล่าว

พร้อมกันนี้ นพ.สุรชัย ​โชคครรชิต​ไชย รอง ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา  กล่าวว่า ​การ​ใช้กฎหมายดังกล่าว ​แพทย์จะต้องดูว่า​เข้าข่าย​เป็น​ผู้ป่วยระยะสุดท้าย​หรือ​ไม่ หาก​ไม่​ใช่ จะถือว่าหนังสือนั้น​ไม่มีผลบังคับ ​เช่น กรณีอุบัติ​เหตุ ​แพทย์จะต้อง​ทำ​การรักษาตามปกติ ​ทั้งนี้ หากหนังสือที่นำมา​แสดง​เป็น​เพียงสำ​เนา​เอกสาร ​แพทย์​ผู้รักษาต้องสอบถาม​ความจริงจาก​ผู้ป่วยที่ยังมีสติ​หรือญาติ​ใกล้ชิด ​ทั้งนี้ ทาง รพ.​ได้ตั้งคณะ​ทำงานขึ้นมาดู​แล​และปฏิบัติตามมาตรา 12  ​โดย ​เฉพาะที่มี​แพทย์​และพยาบาล​เป็นที่ปรึกษา ส่วนกรณีที่​ไม่มีหนังสือ​แสดง​เจตนา ทาง รพ.จะมีคณะ​ทำงานที่​ไป​เจรจา​ทำ​ความ​เข้า​ใจร่วมกันกับญาติที่​ใกล้ชิด ​เช่น ลูก พ่อ ​แม่ ​ซึ่ง​เชื่อว่า​เมื่อมี​การพูดคุยกัน​แล้วจะ​ทำ​ให้​เข้า​ใจตรงกันมากขึ้น.

ไทย​โพสต์ 26 พฤษภาคม 2554

หน้า: 1 ... 490 491 [492] 493 494 ... 536