ผู้เขียน หัวข้อ: กม.​ใหม่สิทธิ์​ผู้ป่วย​เลิกรักษายื้อชีวิต  (อ่าน 1232 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
สช.​เผยกฎหมาย​ใหม่ ​ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้น​ไปมีสิทธิ์ตัดสิน​ใจ​เลือกขอ​ไม่รับ​การรักษาพยาบาล​เพื่อยื้อชีวิต​ได้ ​เพียง​แต่มีญาติ​ใกล้ชิด​เป็น​ผู้รับรอง​เท่านั้น ชี้​เป็น​การปฏิวัติสังคม พลิก​ความ​เชื่อ​เทค​โน​โลยีคือสุดยอด​การรักษา ​ให้หันมาทบทวนคุณค่า​การ​ใช้ชีวิต ​เชื่อ​เป็นประ​โยชน์กับทุกฝ่าย ​เร่งจัด​ทำหนังสือ​เผย​แพร่​ทำ​ความ​เข้า​ใจ​แก่​แพทย์ พยาบาลทั่วประ​เทศ

สำนักงานคณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (สช.) จัด​เวที "สช.​เจาะประ​เด็น​เรื่องบั้นปลายชีวิตลิขิต​ได้ ตามกฎกระทรวง" ที่ออกตาม​ความ​ในมาตรา 12 ของ  พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ ที่กำหนด​ให้​ผู้ป่วยสามารถ​แสดง​เจตนา รมณ์​ใน​การ​ไม่ขอรับบริ​การสาธารณสุข​เพื่อยุติ ​ความทรมานจาก​การ​เจ็บป่วย ที่ประกาศ​ในราชกิจจานุ​เบกษา ​เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2554 ​โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การสุข ภาพ​แห่งชาติ กล่าวว่า ​การที่กฎหมาย​ให้สิทธิ์​ผู้ป่วย​ใน​การ​เขียนหนังสือ​แสดง​เจตนา​ใน​การ​ไม่ขอรับ​การรักษา​เพื่อยื้อชีวิต  ​เป็นสิทธิ์ของ​ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้น​ไป ที่ยังมีสติสัมปชัญญะสามารถ​ทำ​ได้ ​แต่หาก​เป็น​ผู้ป่วยที่​ไร้สติ ​แพทย์จะต้องหารือกับญาติ​ใกล้ชิด​เพื่อ​ทำ​ความ​เข้า​ใจ​เรื่อง​การรักษาที่ตรงกันก่อน ส่วน​ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ​แต่​เป็น​โรค​เรื้อรัง​ก็สามารถ​ทำ​ได้ ​โดยต้องมีญาติ​ใกล้ชิด​เป็น​ผู้รับรอง

​เลขาธิ​การ สช. กล่าวต่อว่า ​การ​ทำหนัง สือดังกล่าวจะ​ทำ​ให้​ทั้ง​แพทย์ ​ผู้ป่วย​และญาติ​ผู้ป่วย รู้​ความต้อง​การ​และหา​แนวทาง​การดู​แล​ผู้ป่วยที่​เหมาะสมยิ่งขึ้น ขณะ​เดียวกัน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทุกระดับจะต้อง​ให้ ​ความรู้กับประชาชน​ใน​เรื่องดังกล่าวด้วย ​ซึ่งขณะ นี้ สช.​ได้จัด​ทำหนังสืออธิบาย​ถึง​การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอย่างละ​เอียด ​เพื่อ​แจกจ่าย​ให้กับ รพ.​ทั้งภาครัฐ ​และ​เอกชนทั่วประ​เทศ​แล้ว

ด้าน นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ​ผู้อำนวย​การสถาบันพัฒนา​และรองรับคุณภาพ​โรงพยา บาล กล่าวว่า ​การปฏิบัติตามกฎหมาย​ใหม่ที่ออก มานี้ รพ.จะต้องดำ​เนิน​การต่อ​ใน 4 ​เรื่อง คือ 1.ช่วย​ให้คำ​แนะนำ​แก่​ผู้ที่ต้อง​การ​ทำหนังสือ​แสดง ​เจตนา​ไม่รับ​การรักษา 2.​เมื่อ​ได้รับหนังสือดังกล่าว ​แล้วจะต้องถ่ายสำ​เนา​เ​ก็บ​ไว้ ส่วนตัวจริง​ให้คืน ​แก่​ผู้ป่วย​หรือญาติ จากนั้น​จึง​เร่งประสาน​ทำ​ความ ​เข้า​ใจกับคณะ​แพทย์ที่จะ​ทำ​การรักษา รวม​ถึง​เมื่อ มี​การย้าย รพ.จะต้องประสาน​ทำ​ความ​เข้า​ใจกับ รพ.ที่​ผู้ป่วยย้าย​ไปด้วย 3.​แจ้งอา​การ​เจ็บป่วย​ให้ ญาติทราบ  ​เพราะบางครั้งยังมี​ความจำ​เป็นที่ต้อง รักษาอา​การบางอย่างของ​ผู้ป่วยอยู่ ดังนั้นทาง รพ.จะต้อง​เรียนรู้​เรื่อง​การชั่งน้ำหนัก ​และ 4.ต้อง ปฏิบัติตาม​ความประสงค์ของ​ผู้ป่วย พร้อมกันนี้จะต้อง​ทำ​การรักษา​แบบประคับประคองอา​การ​ไปด้วย

"​แต่มีปัญหาคือ รพ.ต้อง​การ​เห็นหนังสือที่ชัด​เจนว่าสิ่ง​ไหน​ทำ​ได้ สิ่ง​ไหน​ทำ​ไม่​ได้ ​แต่​การ​เขียนรายละ​เอียด​เกิน​ไปนั้น​ผู้ป่วยถือว่า​เป็น​การ​เสียศักดิ์ศรี ​จึง​เปิด​โอกาส​ให้​ผู้ป่วย​ได้​เขียนตาม​ความต้อง​การของตัว​เอง ดังนั้น​จึง​เป็นหน้าที่ของ รพ.ที่ต้องพิจารณา​การรักษาจากหนังสือ ​ซึ่งถือว่า​เป็น​การปฏิวัติสังคมที่จะรื้อฟื้นจาก​การที่หลงผิดว่า​เทค​โน​โลยีคือสุดยอดของ​การรักษา ​ได้หันมาทบ ทวน​การมีคุณค่า​ใน​การ​ใช้ชีวิต" นพ.อนุวัฒน์กล่าว

พร้อมกันนี้ นพ.สุรชัย ​โชคครรชิต​ไชย รอง ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา  กล่าวว่า ​การ​ใช้กฎหมายดังกล่าว ​แพทย์จะต้องดูว่า​เข้าข่าย​เป็น​ผู้ป่วยระยะสุดท้าย​หรือ​ไม่ หาก​ไม่​ใช่ จะถือว่าหนังสือนั้น​ไม่มีผลบังคับ ​เช่น กรณีอุบัติ​เหตุ ​แพทย์จะต้อง​ทำ​การรักษาตามปกติ ​ทั้งนี้ หากหนังสือที่นำมา​แสดง​เป็น​เพียงสำ​เนา​เอกสาร ​แพทย์​ผู้รักษาต้องสอบถาม​ความจริงจาก​ผู้ป่วยที่ยังมีสติ​หรือญาติ​ใกล้ชิด ​ทั้งนี้ ทาง รพ.​ได้ตั้งคณะ​ทำงานขึ้นมาดู​แล​และปฏิบัติตามมาตรา 12  ​โดย ​เฉพาะที่มี​แพทย์​และพยาบาล​เป็นที่ปรึกษา ส่วนกรณีที่​ไม่มีหนังสือ​แสดง​เจตนา ทาง รพ.จะมีคณะ​ทำงานที่​ไป​เจรจา​ทำ​ความ​เข้า​ใจร่วมกันกับญาติที่​ใกล้ชิด ​เช่น ลูก พ่อ ​แม่ ​ซึ่ง​เชื่อว่า​เมื่อมี​การพูดคุยกัน​แล้วจะ​ทำ​ให้​เข้า​ใจตรงกันมากขึ้น.

ไทย​โพสต์ 26 พฤษภาคม 2554