แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 530 531 [532] 533 534 ... 537
7966
มีข่าวแจ้งว่า

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิต วราชิต ได้ประสานให้มีการพบปะ พูดคุยกันของหลายๆฝ่ายที่เกียวข้องกับ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
(เช่น ตัวแทนจากแพทยสภา-ตัวแทนจากแพทยสมาคม- ตัวแทนจากสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.- ตัวแทนจากชมรมแพทย์คลินิค- คณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร์-ตัวแทนเอ็นจีโอ)
ในวันจันทร์ที่ 2 ส.ค.นี้ที่กระทรวงสาธารณสุข เวลาประมาณ 16.00 น. เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับร่าง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

จากข่าววงใน

7967

ที่พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเวลา 14.00 น. พรรคประชาธิปัตย์  ได้มีตัวแทนแพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ ผู้แทนสาขาเภสัชกรรม สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง และคณะกรรมการศึกษาเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาการสาธารณสุขไทย นำโดย รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา ได้เดินทางมาพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารมูลนิธิ ควง อภัยวงศ์ เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .. เพราะเห็นว่าคนบางส่วนเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์แต่คนส่วนใหญ่จะเสียประโยชน์ และเป็นภาระงบประมาณระยะยาว จึงควรถอนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวออกมาก่อนแล้วนำมาพิจารณาใหม่ให้รอบคอบ โดยใช้เวลาการเข้าพบประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

 จากนั้น รศ.พญ.ประสบศรี กล่าวว่า ในภาพรวม ทุกคนที่มาวันนี้ มีความเห็นพ้องกันว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่ดีที่เราต้องผลักดันให้เกิดขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์รายละเอียดและสาระแล้ว เราคิดว่ามันยังไม่สอดคล้องกันกับเจตนารมณในหลายๆรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องที่มีอยู่ในหลายกระทรวง ซึ่งต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อหาทางออกไปด้วยกันว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ดีควรถูกนำมาปรับอย่างไรให้เหมาะสม และเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการทางการแพทย์ทั้งประเทศ เพราะร่างพ.ร.บ.นี้กินความไปถึงผู้ประกอบวิชาชีพจนถึงนักวิชาการด้านสาธารณสุข จึงถือว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวครอบคลุมกลว้างขวางมาก จึงต้องมีการทบทวนรายละเอียดที่เหมาะสม แต่ไม่ใช่ว่าเราไม่เห็นด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับไป และบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นประเด็นที่สำคัญว่าสาระยังไม่ครบถ้วน ในเวลาเดียวกันผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียก็ยังไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ นายกรัฐมนตรีจึงรับไปบริหารจัดการในแนวทางของท่าน เพื่อให้ทุกกลุ่มได้มาพูดคุยในรายละเอียดอีกครั้ง

 เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีระบุหรือไม่ว่าจะชะลอการนำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ ที่จะเริ่มในเดือน ส.ค.นี้ รศ.พญ.ประสบศรี กล่าวว่า เป็นสิทธิ์ของนายกรัฐมนตรี ทางเราไม่ไปผลักดัน หรือกดดันว่าให้ทำอะไร เราเพียงแต่เสนอข้อเท็จจริงในเรื่องของสาระสำคัญเท่านั้น แต่นายกรัฐมนตรีจะพิจารณาอย่างไรนั้น ก็ถือเป็นวิจารณญาณของท่าน ทั้งนี้ เราไม่อยากให้ร่าง
พ.ร.บ.นี้ออกมาแล้วทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์ สถานพยาบาล และคนไข้ที่อยู่ในระดับจังหวัดต่างๆ จะได้รับผลกระทบ เพราะวันนี้ความสัมพันธ์ยังดีอยู่มาก นอกจากนี้ เราไม่อยากให้ร่าง พ.ร.บ.นี้ออกมาแล้วเกิดการสั่นสะเทือนในการปรองดองของชาติ จึงควรชะลอแล้วทำให้เกิดความเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการเยียวยามากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับรัฐบาล แต่ก็ขึ้นอยู่ที่นายกรัฐมนตรีจะพิจารณา


7968
ข้อเสนอเนื้อหาที่น่าจะนำเสนอความคิดเห็นกับร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายต่อสื่อมวลชน

1.             แพทย์และบุคลากรทางด้านสาธารณสุขไม่ได้คัดค้านการที่ผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือเมื่อมีความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บ และจากกระบวนการรักษาพยาบาล

2.             บุคลากรทางด้านสาธารณสุขมีความเห็นว่าการช่วยเหลือเป็นเงินเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวเท่านั้น มิได้เป็นช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายในระยะยาว การช่วยเหลือที่ดีที่สุด คือ การทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุข หรือใกล้เคียงที่สุด ซึ่งการช่วยเหลือนี้ ได้แก่ การฟื้นฟูสุขภาพ การใช้กายอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์เทียม การฝึกอาชีพ เป็นต้น ซึ่งร่างพรบ.นี้เน้นการช่วยเหลือในรูปของเงินอย่างเดียวจึงไม่เหมาะสม

3.             นอกจากผู้ที่ได้รับความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บแล้วยังมีผู้ได้รับความเดือดร้อนและทุกข์ทรมานจากสาเหตุอื่นๆอีก ได้แก่ ผู้ได้รับบาดเจ็บจากภัยการจราจร ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากอาชญากรรม จากการจราจร เป็นต้นซึ่งควรได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งการช่วยเหลืออาจเป็นการช่วยเหลือโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสังคมสงเคราะห์ โดยเป็นการช่วยครอบคลุมประชาชนผู้เดือดร้อนทุกคน ไม่เลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

4.             หากจะมีการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็ควรจะให้การช่วยเหลือโดยประเมินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น มิใช่ประเมินจากว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นหรือไม่ ความผิดร้ายแรงเพียงใดดังร่าง ถึงแม้ว่าร่างพรบ.นี้จะมีการเขียนว่าจะไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด แต่จริงๆแล้วเนื้อหาในร่างพรบ.นี้จะมีการจ่ายเงินให้ก็ต่อเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นเท่านั้นซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเพียงพอเพราะต้องใช้เวลาในการตัดสิน และอาจได้รับการช่วยเหลือไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

5.             คณะกรรมการที่จะตัดสินว่าบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทำผิดหรือไม่ตามร่างพรบ.นี้ส่วนใหญ่ จะไม่มีความรู้ทางด้านการแพทย์ และกฎหมาย ทำให้การติดสินไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและตามหลักกฎหมาย

6.             ดังนั้นถ้าตัดสินว่าบุคลกรทางด้านสาธารณสุขไม่ได้กระทำผิด ผู้ป่วยก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ แต่ถ้าตัดสินว่าบุคลากรทางด้านสาธารณสุขกระทำความผิดบุคลากรทางด้านสาธารณสุขก็ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะคณะกรรมการที่ตัดสินถูกผิดส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางด้านสาธารณสุข แต่ผลการตัดสินสามารถนำไปเป็นมูลฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลอาญา และอื่นๆได้

7.             กฎหมายนี้มีอคติต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุข เพราะแม้แต่ชื่อก็แสดงถึงการมองถึงบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในด้านอาฆาตมาดร้าย และเนื้อหาในร่างพรบ.นี้ก็มิได้ให้ความยุติธรรมต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุข

8.             บุคลากรทางด้านการแพทย์ซึ่งเสียสละตนเองเพื่อผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว มิควรถูกผลักภาระให้ต้องมารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ก่ออีกทั้งภาระทางด้านการเงินซึ่งต้องจ่ายให้กองทุนตามร่างพรบ.นี้ ภาระด้านความรับผิดชอบทางกฎหมาย ซึ่งการช่วยเหลือควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น

9.             บุคลากรทางด้านการแพทย์จะขาดขวัญและกำลังใจเพราะ ขาดความเชื่อมั่น ความมั่นใจ จนอาจไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถ หรือแม้กระทั่งอาจลาออกจากราชการ หรือเปลี่ยนอาชีพจากทางด้านสาธารณสุขเลยก็เป็นได้

10.        ผู้ที่เสนอกฎหมายนี้อาจมีเงื่อนงำอย่างอื่นซ่อนอยู่ เพราะถ้าหากสามารถเข้าไปเป็นกรรมการในร่างพรบ.นี้ ซึ่งจะมีกองทุนอยู่จำนวนมหาศาล สามารถจะกำหนดเงินเดือน เงินตอบแทนอื่นๆ ได้เอง และสามารถนำเงินในกองทุนไปหาผลประโยชน์แอบแฝงอย่างอื่นได้

 พ.ภีศเดช

7969
สถิติการแพทย์ไทยที่น่าสนใจ
ในการวางแผนจะคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการไปโรงพยาบาลอย่างไรดี

ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์และสาธารณสุขไทย กำลังมีประเด็นร้อนเรื่องการที่รัฐบาลและสส.รวมทั้งประชาชน ได้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและมีข่าวว่า ประชาชนอยากให้มีกฎหมายนี้ แต่ฝ่ายแพทย์ที่ออกมาให้ความเห็นว่า ยังไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนี้ ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ กลุ่มแพทย์เหล่านี้ ก็อาจจะถูกมองว่า ไม่อยากให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ผู้เขียน ได้ออกมาแสดงความ “ไม่เห็นด้วย” กับร่างพ.ร.บ.นี้ แต่ไม่ใช่ว่า พวกแพทย์ไม่อยก คุ้มครองประชาชน” แต่การคุ้มครองประชาชนก็ควรจะคุ้มครองทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ให้การรักษา และฝ่ายได้รับการรักษาด้วย

 ก่อนอื่นก็ขอทำความเข้าใจกับประชาชนว่า บุคลากรทางการแพทย์นั้น ทุกสาขาวิชาชีพ ต่างก็มีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพกำกับดูแลมากกว่าวิชาชีพอื่นๆ และมีสภาวิชาชีพ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของวิชาชีพนั้นๆ คอยกำกับดูแล และบังคับให้บุคลากรในการกำกับนั้น ปฏิบัติวิชาชีพอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพนั้นๆ ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ไม่ปฏิบัติตามกรอบของคุณธรรมและจริยธรรมวิชาชีพแล้ว ก็ต้องได้รับโทษทัณฑ์จากสภาวิชาชีพ โดยไม่มีข้อยกเว้น  แต่ทำทในปัจจุบัน ในระยะแปดปีมานี้ มันเกิดอะไรขึ้นในวงการแพทย์ จึงทำให้มีการฟ้องร้อง /ร้องเรียนแพทย์เกิดขึ้นมากมาย ก็จะขอทบทวนว่า “เกิดอะไรขึ้นในวงการแพทย์บ้านเรา

  ภายในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา เกิดสิ่งใหม่ในวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย คือพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ที่ให้สิทธิแก่ประชาชน 46.9 ล้านคน ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกชนิด โดยจ่ายเงินเพียงครั้งละ 30 บาท และต่อมาในยุครัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ยกเลิกการเก็บเงินครั้งละ 30 บาท โดยนพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สธ.ในยุคนั้น อ้างว่า เสียเวลาลงบัญชี

แต่ผลพวงของระบบ 30 บาท(0 บาท) รักษาทุกโรคนี้ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย คือประชาชนไม่ต้องจ่ายเงินหรือมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างสุขภาพเลย แต่ไปเรียกร้องสิทธิ์การรักษามากขึ้น ประชาชนมีความคาดหวังสูง และเมื่อไม่ได้ตามคาดหวัง ก็มีการร้องเรียน/ฟ้องร้องมากขึ้น (เรียกร้องตามสิทธิ์ที่รัฐบาลบอกไว้)
จากสถิติของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)ซึ่งพอ.(พิเศษ)ผศ.นพ.กิฎาพล วัฒนะกุล ได้บรรยายที่จังหวัดขอนแก่น  ได้แสดงตัวเลขที่น่าสนใจว่า ในปีงบประมาณ 2553 (ตค.52-มีค. 53)ประชาชนมีการร้องเรียน388,493 เรื่อง  แต่เป็นเรื่องสอบถามข้อมูล 381,680 เรื่อง(98.25%) เป็นเรื่องการส่งต่อผู้ป่วย 1,550 เรื่อง(0.39%) และเป็นเรื่องความเสียหายจากการรักษาเพียง 1,978 เรื่องหรือ 0.51%ของเรื่องร้องเรียน

แต่ถ้าดูจำนวนครั้งที่ประชาชนไปรับการตรวจรักษาแล้ว ในแต่ละปี จะพบว่า ในจำนวนประชาชนทั้งหมด 63 ล้านคนนี้ ไปโรงพยาบาลทั้งสิ้น 200 ล้านครั้ง โดยแบ่งออกเป็นผู้ป่วยนอก 2.7 ครั้งต่อคนต่อปี รวมเป็น 140 ล้านครั้ง เป็นผู้ป่วยใน(นอนรักษาในโรงพยาบาล) อีก 11%ของประชาชนทั้งหมดคือ 6.9 ล้านคน/ปี ถ้าคิดว่าประชาชนนอนรพ.เฉลี่ยครั้งละ 3 วัน เป็นจำนวนที่แพทย์ต้องตรวจวันละอย่างน้อย รวมการผ่าตัดและรักษาอื่นๆวันละ 3 ครั้ง รวมแล้วเท่ากับแพทย์ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยในอีก62.1 ล้านครั้ง รวมแล้วแพทย์ต้องรับภาระตรวจรักษาผู้ป่วย 200,000,000 ครั้งต่อปี แต่เกิดการฟ้องร้องเรื่องความเสียหายแค่ ไม่ถึง 2,000 ครั้ง เท่ากับอัตราการเกิดความเสียหายเพียงไม่ถึง 1 ครั้งต่อการรักษา 100,000 ครั้ง หรือคิดเป็นเพียง 0.001%

  ทีนี้มาดูสถิติแพทย์ไทยบ้าง พบว่าประเทศไทยมีแพทย์ทั้งหมด37,598 คน ในจำนวนนี้ รับราชการในกระทรวงสาธารณสุขเพียง 12,000 คน แต่ในจำนวน 12,000 คนนี้ เป็นผู้บริหารตั้งแต่ระดับสูง กลาง ล่าง เสียเกือบ 4,000 คน ยังเหลือแพทย์ที่ทำงานดูแลรักษาผ่าตัดผู้ป่วยเพียงประมาณ 8,000 คนเทียบกับภาระการดูแลรักษาผู้ป่วยปีละ200,000,000 ครั้ง ทำให้แพทย์เหล่านี้ต้องทำงานสัปดาห์ละ 80-120 ชั่วโมง และมีเวลาในการตรวจผู้ป่วยนอก 2-4 นาที่ต่อผู้ป่วย 1 คน ความเสี่ยงต่อความผิดพลาดจากการตรวจรักษาผู้ป่วยก็คงจะเพิ่มขึ้น และความเสี่ยงต่อการที่จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจก็คงมากขึ้นเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่จะเกิดการฟ้องร้อง/ร้องเรียนมากขึ้น

  ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไต้หวัน (ไม่ต้องไปเปรียบกับประเทศทางยุโรป ที่เก็บภาษีแพงมาก) ที่มีประชาชนเพียง 23 ล้านคน แต่มีแพทย์จำนวน 50,000 คน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แพทย์ไทยต้องรับภาระมากกว่าแพทย์ไต้หวันอย่างเห็นได้ชัด
 
 จะเห็นได้ว่า คนไทยป่วยมากๆแล้วจึงไปหาหมอ ทำให้อัตราผู้ป่วยในมากกว่าไต้หวันถึง 10 เท่า ในขณะที่อัตราผู้ป่วยนอกของไต้หวันมีถึง 14 ครั้งต่อคนต่อปี มากกว่าอัตราผู้ป่วยนอกของไทยประมาณ 5 เท่า แสดงว่าเขารีบไปหาหมอ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่านอนโรงพยาบาลแพง เนื่องจากไต้หวัน เขากำหนดให้ประชาชนร่วมจ่ายเงินในการไปใช้บริการโรงพยาบาล อัตราการจ่ายเงินก็แตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ทันตกรรม หรือค่ายา ยกเว้นกลุ่มโรคที่มีอาการรุนแรง ผู้มีรายได้น้อย ผู้อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ทหารผ่านศึก และเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่ต้องจ่ายเงิน

ในขณะที่ไต้หวัน มีงบประมาณการประกันสุขภาพ 400,000 ล้านบาทสำหรับหระชาชน 23 ล้านคน แต่ประเทศไทยมี 3 กองทุน สำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพมี 120,000 ล้านบาท สำหรับประชาชน 46.9 ล้านคน ฟรีหมด แล้วยังไปจ่ายเงินเดือนบุคลากรอีกส่วนหนึ่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่ งบประมาณไม่พอใช้

  จากการสัมมนาแปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดโดยแพทยสภา ได้สรุปว่า
การที่ประชาชนไทยได้สิทธิฟรี ทำให้ไม่ดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ไปใช้บริการโรงพยาบาลเหมือนโรงเจ แต่คนจนจริงๆ อาจไม่สามารถไปรับบริการที่โรงพยาบาลได้ เพราะไม่มีค่ารถเดินทางไปโรงพยาบาล

เมื่อคนไปโรงพยาบาลมาก แพทยพยาบาลรับภาระงานมากเกินไป ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงอันตรายเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีความคาดหวังสูง ทำให้การฟ้องร้องสูง เพราะไม่เป็นไปตามความคาดหวัง และยังสมาารถร้องเรียนได้เงินชดเชยอีก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์แย่ลง

  มีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการแพทย์เกิดขึ้น 1,978 เรื่อง ในปีพ.ศ. 2553 โดยแยกเป็นเรื่องร้องเรียนจากเขตต่างๆของสปสช.ดังนี้คือ
1.เขตกรุงเทพมหานคร 61.9%
2.เขตเชียงใหม่ 8.4%
3. เขตสระบุรี 7.1%
4.เขต สงขลา 3.2%
5.เขตสุราษฎร์ธานี 3.2%
6.เขตขอนแก่น 2.6%
7. เขตพิษณุโลก 1.3%
8.เขตนครสวรรค์ 1.3%
9.เขต นครราชสีมา 1.3%

 เป็นเรื่องน่าคิดมากที่เขตกทม.มีศูนย์การแพทย์ที่มีศักยภาพสูงสุดอยู่มากกว่าเขตอื่นๆในประเทศไทย ทำไมจึงเกิดการร้องขอเงินช่วยเหลือมากกว่าเขตอื่นๆอย่างโดดเด่นเช่นนี้ น่าที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขของสปสช.จะไปศึกษาวิเคราะห์ในเชิงลึกต่อไป ว่า มันเป็นเพราะกทม. มีประชาชนอาศัยอยู่มากกว่าที่อื่น (หมายถึงคนต่างจังหวัดและต่างด้าวอพยพมาทำงาน โดยไม่มีทะเบียนบ้าน) ผู้ป่วยอาการวิกฤติถูกส่งต่อมาจากต่างจังหวัดเยอะ ทำให้มาถึงแล้ว แพทย์ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ หรือคนในกรุงเทพมีความคาดหวังสูงเกินไป

 มีการวิเคราะห์ของคณะกรรมการควบคุมมาตรฐานหน่วยบริการสาธารณสุขได้มาคุยเป็นการส่วนตัวกับผู้เขียนว่า โรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) หลายแห่งไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากมีบุคลากรน้อยเกินไป เช่นหมอ 1 คน ต่อผู้ป่วย 30,000 คน พยาบาล 1 คน ต่อผู้ป่วย 10,000-20,000 คน และที่PCU แห่งนี้ มีเรื่องร้องเรียนมากว่าพยาบาลไม่ยิ้มเลย


 ผู้เขียนก็อึ้งกิมกี่ไปเลย (จะหัวเราะก็มิออก จะร่ำไห้ก็มิได้!) แต่ได้ข่าวว่า ผู้บริหารจะไปจ้างประชาสัมพันธ์ให้มาทำหน้าที่ยิ้มแทนบุคลากร ! และกำลังจะออกพ.ร.บ.มาคุ้มครองผู้เสียหายและทำร้ายบุคลากรพ.ศ. ....

มีข่าวว่าพวกหมอต่อต้านกฎหมายคุ้มครองประชาชน  เพราะหมอไม่รักประชาชนหรือเปล่า? หมอไม่อยากให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองให้ปลอดภัยหรือเปล่า?

ขอตอบตามความเป็นจริงว่า หมอแทบทุกคน ส่วนใหญ่แล้วต้องรักประชาชนยิ่งกว่าตัวเองอยู่แล้ว  หมออยากรักษาประชาชนให้หายป่วย ไม่ต้องตายโดยไม่สมควรตายทุกคน เพราะถ้าหมอรักษาดี ก็จะมีชื่อเสียงขจรขจาย ถ้าหมอรักษาไม่ดี ก็จะมีชื่อเสีย เน่าเหม็นไปทุกวงการ และหมอส่วนมาก ย่อมต้องเสียสละเวลาที่ควรจะเป็นเวลาส่วนตัวกับครอบครัว ทำงานสัปดาห์ละ 80-120 ชั่วโมง เวลากินก็ไม่ได้กิน เวลานอนก็ไม่ได้นอน หวังเพียงช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปลอดภัย  โดยมีมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพกำกับอยู่แล้ว มีสภาวิชาชีพคอยลงโทษ มีกฎหมายหลายฉบับที่ลงโทษได้อยู่แล้ว
ประชาชนล่ะ จะให้กำลังใจให้หมออดทนทำงานต่อไปได้แค่ไหน?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

7970
เมื่อเอ่ยถึง “ลพบุรี” หลายคนนึกถึงจังหวัดที่เต็มไปด้วยลิงและโบราณสถานกลางเมืองซึ่งสะท้อนความเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทย แต่ใครหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเมืองละโว้ในอดีตนี้ยังมีความสำคัญต่อวงการดาราศาสตร์โลกมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ด้วย
       
       ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในคืนวันที่ 10 ธ.ค. พ.ศ.2228 เป็นอีกปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยและดาราศาสตร์โลก ในครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เสด็จทอดพระเนตรจันทรุปราคา ณ พระที่นั่งเย็น จ.ลพบุรี โดยมีคณะเจซูอิตหรือคณะสงฆ์แห่งพระเยซูชาวฝรั่งเศส 6 รูปถวายคำบรรยาย และระหว่างปรากฏการณ์คณะสงฆ์ได้บันทึกข้อมูลระหว่างเกิดคราสในแต่ละนาทีโดยละเอียด และระบุว่าคราสบังถึงหลุมใดของดวงจันทร์บ้าง
       
       ข้อมูลในหนังสือจดหมายเหตุดาราศาสตร์จากฝรั่งเศสเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดยสมาคมดาราศาสตร์ไทย ด้วยทุนสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยบันทึกของ บาทหลวง เจ.เดอฟงเตอเนย์ ซึ่งเป็น 1 ในคณะสงฆ์แห่งพระเยซู ว่าปรากฏการณ์ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรกล้องโทรทรรศน์ความยาว 12 ฟุตที่ใช้ในการสังเกตการณ์ อีกทั้งยังพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษต่อคณะสงฆ์ เช่น พระราชทานอนุญาตให้คณะสงฆ์ลุกขึ้นยืนต่อหน้าที่ประทับ และประทับเบื้องหลังคณะสงฆ์เพื่อทอดพระเนตรปรากฏการณ์ เป็นต้น
       
       นายอารี สวัสดี อุปนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่าเมืองลพบุรีถือเป็นเมืองดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเมื่อ 325 ปีดังกล่าวนั้น คณะสงฆ์แห่งพระเยซูชาวฝรั่งเศสได้เดินทางมาศึกษาปรากฏการณ์และบันทึกข้อมูลโดยละเอียดเพื่อหาเส้นละติจูด (Latitude) หรือเส้นรุ้งและเส้นลองจิจูด (Longitude) หรือเส้นแวง ของเมืองละโว้ กรุงศรีอยุธยา เพื่อเปรียบเทียบกับหอดูดาวกรุงปารีส
       
       การศึกษาปรากฏการณ์จันทรุปราคาดังกล่าวเพื่อหาตำแหน่งเส้นละติจูดและลองจิจูดนี้ นายอารีบอกแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่าเป็นพระราชประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส เพื่อสร้างแผนที่ซึ่งมีความแม่นยำและเที่ยงตรง โดยมีคณะสงฆ์ที่ได้เดินทางไปเก็บข้อมูลปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนั้นถึง 18 แห่งทั่วโลก อาทิ เมืองนูเรมเบิร์ก เยอรมนี, กรุงโรม อิตาลี, กรุงปารีส ฝรั่งเศส, กรุงมาดริด สเปน และ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
       
       “ครั้งนั้นเทคโนโลยีดาราศาสตร์ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นมาอยู่ที่ลพบุรี กล้องโทรทรรศน์ที่ดีที่สุด นาฬิกาพก นาฬิกาลูกตุ้มและอุปกรณ์วัดมุมที่ดีที่สุดมารวมอยู่ที่นี่ ข้อมูลจากการสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาถูกส่งไปให้ จิโอวานนี โดมินิโก แคสสินี* นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งเป็นศิษย์เอกของกาลิเลโอ กาลิเลอิ** และอาจกล่าวได้ว่าเป็นความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติโครงการแรกที่เข้ามาในไทย” นายอารีกล่าว
       
       สำหรับพระที่นั่งเย็นนั้น นอกจากเป็นสถานที่เสด็จทอดพระเนตรปรากฏการณ์จันทรุปราคาแล้ว ยังเป็นสถานที่เสด็จทอดพระเนตรปรากฏการณ์สุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เม.ย. พ.ศ.2231 ด้วย แต่จากบทความในหนังสือจดหมายเหตุดาราศาสตร์จากฝรั่งเศสเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยามฯ ซึ่งเขียนโดย นายอารี สวัสดี ระบุว่าไม่อาจค้นคว้าได้ว่ามีการจดบันทึกการสังเกตปรากฏการณ์ครั้งนั้นหรือไม่ เพราะเกิดการปฏิวัติในปีเดียวกันนั้น และต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตในวันที่ 10 ก.ค.2231
       
       อีกสถานที่สำคัญสำหรับดาราศาสตร์ไทยคือ “วัดสันเปาโล” ซึ่งเป็นหอดูดาวแห่งแรกของไทยที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และยังเป็นบ้านพักที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่บาทหลวงนักวิทยาศาสตร์จากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยสร้างขึ้นใน พ.ศ.2228 และมีรูปแบบคล้ายกับหอดูดาวกรุงปารีสที่สร้างขึ้นก่อนหอดูดาววัดสันเปาโลเพียง 21 ปี แต่ปัจจุบันหอดูดาววัดสันเปาโลหลงเหลือเพียงซากและโครงสร้างบางส่วนเท่านั้น ขณะที่หอดูดาวกรุงปารีสยังค่อนข้างสมบูรณ์อยู่
       
       จากความสำคัญของวัดสันเปาโลอายุกว่า 300 ปีนี้ ในปี 2552 ซึ่งเป็นปีดาราศาสตร์สากล (International Year of Astronomy) ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จึงได้สถาปนาให้เป็นหนึ่งในจุดสำคัญทางดาราศาสตร์ในประเทศไทย (Establishment of Astronomical Landmark in Thailand) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ
       
       ทั้งนี้ เราทราบถึงความรุ่งเรืองของดาราศาสตร์ยุคใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จากเอกสารที่บันทึกโดยคณะทูตและคณะสงฆ์แห่งพระเยซูจากฝรั่งเศส โดย นายภูธร ภูมะธน ประธานชมรมอนุรักษ์โบราณสถานและสิ่งแวดล้อม จ.ลพบุรี เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการสืบค้นเอกสารเกี่ยวกับดาราศาสตร์ไทยในยุคดังกล่าว ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดของหอดูดาวกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเขาได้มอบให้แก่สมาคมดาราศาสตร์ดำเนินการแปลต่อไป
       
       “ลพบุรีเป็นเมืองที่มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานการศึกษาดาราศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศ สมเด็จพระนารายณ์ทรงสนพระทัยศึกษาวิจัยด้วยตนเอง มีแง่มุมดาราศาสตร์ที่โดดเด่นมาก ทรงศึกษาด้วยพระองค์เองไม่แตกต่างกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ซึ่งสถานที่สำคัญๆ ทางดาราศาสตร์ของลพบุรีมีอย่างน้อย 2 แห่ง คือ วัดสันเปาโลและพระที่นั่งเย็น เมืองนี้เป็นเมืองที่มีหลักฐานว่าครั้งหนึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสนพระทัยเรื่องนี้ และมีหลักฐานจริง จงภูมิใจในประวัติศาสตร์ของพวกเรา” นายภูธรกล่าว
       
       แม้ความรุ่งเรืองของดาราศาสตร์ยุคใหม่ในไทยจะเหลือให้เห็นเพียงซากปรัก แต่อย่างน้อยร่องรอยที่ทิ้งไว้ได้สะท้อนให้เห็นพระราชวิสัยทัศน์อันก้าวหน้าและยาวไกลของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต และเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้น้อมนำไปเป็นแบบอย่าง
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2553 

7971
เอเอฟพี - นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานระบุ สงครามรบพุ่งภายในแผ่นดินมังกร และการรุกรานจากข้าศึกภายนอกในช่วง 2 พันปีในอดีต เกิดจากแรงขับของสภาพภูมิอากาศ ที่หนาวเย็นลง มากกว่าแรงขับจากระบบศักดินาสวามิภักดิ์, การต่อสู้ทางชนชน หรือความเลวทรามของคณะผู้ปกครองอย่างที่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลกันโดยทั่วไป
       
       ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสภาพดินฟ้าอากาศกับความวิบัติหายนะ เช่น ภัยแล้ง, น้ำท่วม และการแห่ลงมากินพืชผลในไร่นาของตั๊กแตนฝูงมหึมา ซึ่งนำไปสู่การล่มสลาย หรือการสถาปนาราชวงศ์จีนนั้น มิใช่เรื่องใหม่อะไร
       
       แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ อันโกลาหลวุ่นวายมายาวนานของจีนได้อย่างเป็นระบบ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สภาพภูมิอากาศและสังคมจีนอาจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
       
       จนกระทั่งคณะนักวิทยาศาตร์ของจีนและยุโรป ซึ่งมีนาย จาง จื้อปิน จากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของจีนในกรุงปักกิ่งเป็นหัวหน้า ได้ตัดสินใจนำข้อมูลในช่วงกว่า 1,900 ปีมาเปรียบเทียบกัน 2 ชุด
       
       ผลงานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร “ the British Journal Proceedings of the Royal Society B.” โดยพวกเขาขุดค้นลงไปในกองเอกสารประวัติศาสตร์ แล้วก็พบความถี่ของการเกิดสงคราม, ข้าวยากหมากแพง, การถล่มพืชไร่ของฝูงตั๊กแตน,ความแห้งแล้ง และอุทกภัย
       
       ขณะเดียวกัน ก็ได้จำลองแบบของสภาพภูมิอากาศในช่วงเวลาเหล่านั้น เพื่อพิจารณาเทียบเคียง
       
       “การล่มสลายของราชวงศ์ในสังคมเกษตรกรรมได้แก่ราชวงศ์ฮั่น (ค.ศ.25-220), ถัง (ค.ศ.618-907), ซ่งเหนือ (ค.ศ.960-1125), ซ่งใต้ (ค.ศ.1127-1279) และหมิง (ค.ศ.1368-1644) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระดับอุณหภูมิอากาศ ที่ต่ำ หรืออุณหภูมิอากาศ ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว” นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้สรุป
       
       นอกจากนั้น การขาดแคลนอาหารในหมู่อาณาราษฎรน่าจะทำให้ราชวงศ์เหล่านี้อ่อนแอลง ขณะเดียวกัน การขาดแคลนอาหารยังผลักดันให้พวกชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนทางภาคเหนือ ซึ่งอุณหภูมิอากาศลดต่ำลงได้ง่ายอยู่แล้ว บุกโจมตีดินแดนทางใต้ โดยอุณหภูมิอากาศ ที่ลดลงเฉลี่ย 2.0 องศาเซลเซียสต่อปี อาจทำให้ฤดูกาลเติบโตของต้นหญ้าในทุ่งราบ หดสั้นลงถึง 40 วัน
       
       งานวิจัยชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจนำไปสู่การจลาจล และสงคราม โดยตั้งข้อสังเกตว่า จักรวรรดิโรมันและมายาก็ถึงกาลอวสานในระหว่างที่สภาพอากาศมีความหนาวเย็นด้วยเช่นกัน
       
       นอกจากนั้น ยังสันนิษฐานว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศในแต่ละยุคสมัยทุก ๆ 160 หรือ 320 ปีนั้น น่าจะเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ เช่น ความผันผวนที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์, การโคจรของโลก และการเอียงของแกนโลก
       
       อย่างไรก็ตาม หลักฐานประวัติศาสตร์ ที่พวกเขาพบนั้น ชี้ว่า ภาวะโลกเย็นต่างหากเล่าคือเจ้าตัวการร้าย หาใช่ภาวะโลกร้อนอย่างที่มนุษย์ในปัจจุบันกำลังเผชิญกันแต่อย่างใด

7972
รพ.จุฬาฯ อวดนวัตกรรมหุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ ร่นเวลาตรวจจากเดิม 1 ชม.เหลือ 20 นาที ศักยภาพเยี่ยมตรวจบริการคนได้เร็วขึ้น

วันนี้ (16 ก.ค. ) ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวภายในงานแถลงข่าวนวัตกรรมไทยประดิษฐ์ “หุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ” เครื่องแรกของประเทศไทย ที่ตึก ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ว่า จากสถานการณ์การเข้าใช้บริการภายในโรงพยาบาลจุฬาฯที่มีผู้ป่วยนอกสูงถึงปีละ 1.2 ล้านราย เป็นผู้ป่วยในปีละประมาณ 5-6 หมื่นราย และส่วนใหญ่จะต้องเจาะเลือดเพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ด้วยโรคเบาหวาน จากการบิรการดังกล่าวถ้าเป้นช่วงเวลาเร่งด่วนตั้งแต่ 07.00-09.00 น.จะมีผู้ป่วยรอคิวเจาะเลือดราว 300 ราย จากผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการทั้งวันตกประมาณ 2,000 ราย ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ จากปัญหาที่มีทาง รพ.จุฬาฯ จึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว อีกทั้งเพื่อพัฒนา รพ.สู่ความเป็นเลิศระดับโลก ( World Class hospital) และมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร รพ.จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ประสานความร่วมมือกับบริษัท เซนนิเมต (ประเทศไทย) จำกัด สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติพัฒนา หุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ ที่ชื่อราเบลอน (Rabelon) ซึ่งเป็นฝีมือคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและสามารถนำมาใช้บริการใน รพ.จุฬาฯ เพื่อนำร่องและในอนาคตก็อาจจะเผยแพร่นวัตกรรมไปสู่โรงพยาบาลอีกหลายแห่งในประเทศไทย
       
       “ นวัตกรรมที่มีช่วยให้การกระบวนการในการเก็บตัวอย่างเลือดเป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวกและถูกต้อง ลดระยะเวลาในการให้บริการด้วย เพราะหุ่นยนต์ทำช่วยในการลำเลียงหลอดเลือดจากห้องเจาะเลือดไปยังห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก ทำให้ช่วงเวลาเร่งด่วนในการเจาะเลือดลดลงกว่าครึ่ง จากระบบเดิมใช้เวลาตรวจนานถึง 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้หุ่นยนต์นั้นจะใช้เวลาแค่ 20 นาที และสามารถตรวจคนไข้ได้เพิ่มขึ้นจาก 300 ราย เพิ่มเป็น 600 รายในช่วงเวลาเร่งด่วน ” ศ.นพ.อดิศร กล่าว
       
       ด้าน ศ.นพ.เทวารักษ์ วีรวัฒน์กานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านงานสนับสนุนบริการผู้ป่วย กล่าวว่า ศักยภาพการทำงานของหุ่นยนต์ฯ สามารถจำแนกหลอดเลือดได้ถึง 8 แบบที่เหมาะกับเลือดแต่ละชนิด และเมื่อเจาะเลือดแล้วเสร็จจะลำเลียงไปยังห้องตรวจวิเคราะห์เลือดทันที ซึ่งประโยชน์หลักๆ คือ ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น และจากที่ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพที่ช่วยลดเวลากระบวนการเจาะเลือด พบว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ใช้เวลา 44 นาทีต่อคน เหลือเพียง 20 นาทีต่อคนในเดือนมิถุนายน และหากเวลาไม่เร่งด่วนประมาณ 9.00 น.ขึ้นไป จะเหลือเพียงไม่ถึง 10 นาทีต่อคนเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถจัดเตรียมหลอดเลือดได้ประมาณ 1,440 หลอดต่อชั่วโมง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาหุ่นยนต์ลักษณะนี้แล้ว แต่ราคาสูงถึง 15 ล้านบาท ขณะที่ของไทยมีราคาถูกกว่ามากเพียง 4 ล้านบาทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ดังกล่าวยังเป็นเพียงหุ่นยนต์ลำเลียง ซึ่งการเจาะเลือดยังต้องใช้พยาบาลในการดำเนินการ แต่คาดว่า ในอนาคตอาจมีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีศักยภาพในการเจาะเลือดได้เอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2553 

7973
เขียนโดย Webmaster Consumerthai   
วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2010 เวลา 15:18

เครือข่ายผู้บริโภคเรียกร้องรัฐบาลเร่งออกกฎหมายคุ้มครองผู้ป่วยที่เสียหาย เพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์ ย้ำ แพทยสภาต้องจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ พร้อมจะเดินหน้าตรวจสอบการทำหน้าที่ของแพทยสภาและองค์กรวิชาชีพ consumerthai - 28 มิ.ย.53 เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ย้ำ แพทยสภาต้องจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ เพราะกฎหมาย "พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....” เป็น เครื่องมือที่สำคัญในการช่วยไม่ให้คนไข้ฟ้องแพทย์ เพราะคนไข้ที่ได้รับความเสียหายได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

พร้อมย้ำ กฎหมายฉบับนี้ มีไม่น้อยกว่า 5 ประเด็นที่เครือข่ายองค์กรข้างต้นไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องยอมรับให้รัฐบาลนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา และยืนยันหลักการกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดการฟ้องร้องของคนไข้ เพราะคนไข้หากมีความเสียหายก็จะได้รับการชดเชยที่เหมาะสม ผู้บริโภคไม่ต้องมีภาระในการฟ้องคดี

เครือข่ายองค์กรข้างต้น ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยการเข้าชื่อประชาชน ๑๐,๐๐๐ ชื่อ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขอยืนยันถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ๓ ประการ คือ ๑) การชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข ๒) ลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ ๓) พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย

เป็นที่รับรู้และยอมรับกัน ทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ (Medical Error) สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จะให้การรักษาอย่างดีที่สุดตามมาตรฐานวิชาชีพแล้วก็ตาม ดังนั้นควรมีกลไกการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการฟ้องร้อง และนำข้อผิดพลาดมาพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการต่อไป

ถึงแม้ประเทศไทยจะมี พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีกลไกการช่วยเหลือเบื้องต้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๑  โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด แต่ก็ครอบคลุมเฉพาะผู้เสียหายที่ใช้สิทธิหลักประกันแห่งชาติ (บัตรทอง) เท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมผู้เสียหายในระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น(ไม่เกินสองแสนบาท) ที่มีความจำกัดในเรื่องวงเงินงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถเยียวยาให้ผู้เสียหายสามารถมีชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมี คุณภาพชีวิตที่ดีได้
ดังนั้นเครือข่ายผู้บริโภค จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้

๑. ขอให้รัฐบาลเร่งพิจารณาและผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... โดยเร็ว และให้มีสาระสำคัญเป็นไปตามกรอบของร่างที่เสนอโดยเครือข่ายผู้บริโภคและ ประชาชน อาทิเช่น 
- สำนักงานเลขานุการตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องแยกออกจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อให้มีความเป็นกลาง เข้าถึงได้ง่าย และไม่เป็นการขัดแย้งในเชิงบทบาทหน้าที่
แต่หากจำเป็น ต้องยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง “ไม่ให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นใหม่” ก็ควรกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นสำนักงานไปพลางก่อน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว และมีฐานะเป็นผู้ซื้อบริการ มิใช่ผู้ให้บริการอย่างกระทรวงสาธารณสุข

- องค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีองค์ประกอบจากผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานคุ้มครองสิทธิด้านบริการสุขภาพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ เพราะบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือ การพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุขจริงหรือไม่ โดยไม่ได้พิจารณาว่ามีผู้ใดต้องรับผิดหรือไม่ และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ เพื่อให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรมและต้องใช้หัวใจของความเป็น มนุษย์

๒.ขอให้เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภค เพื่อให้องค์กรผู้บริโภคสามารถทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์

สุด ท้าย เครือข่ายผู้บริโภค ใคร่ขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันตรวจสอบการทำหน้าที่ของแพทยสภา และติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของกรรมการแพทยสภาบางคน รวมทั้งแพทย์บางกลุ่ม ว่าได้ทำหน้าที่เหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพแพทย์เพื่อประชาชนหรือไม่ หรือทำเพียงเพื่อผลประโยชน์ทางอำนาจและธุรกิจ

7974
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ว่า กรมอนามัยแจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการที่คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการ อนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสาระสำคัญเป็นการออกกฎหมายเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิให้กับประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ให้ได้รับบริการการอนามัยเจริญพันธุ์อย่างทั่วถึง ด้วยการจัดให้มีสถานบริการให้คำปรึกษาและให้บริการอนามัยเจริญพันธุ์ในสถาน พยาบาลทุกสังกัด อีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องต้องขัดขวางการลาคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และต้องช่วยเหลือสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมมีบุตรและไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ร่าง พ.ร.บ.นี้จะมีคณะกรรมการคุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ (กอช.) ที่มีรัฐมนตรี สธ.เป็นประธาน ปลัด สธ.และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นรองประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คนเป็นคณะกรรมการ หลังจากนี้กรมอนามัยจะนำร่างกลับเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ซึ่งได้สั่งการให้ทำประชาพิจารณ์อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนเสนอคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติและเสนอเข้าที่ประชุมคณะ รัฐมนตรี (ครม.)

นายจุรินทร์กล่าวว่า มาตรา 12 ที่กำหนดให้นักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ศึกษาต่อได้และสามารถลาคลอดได้นั้นให้คณะอนุกรรมการนำ ไปเป็นประเด็นหนึ่งในการพิจารณาอย่างรอบคอบและทำประชาพิจารณ์เพราะมีความ เห็นที่หลากหลายต่อประเด็นนี้ ทั้งในส่วนที่เกรงจะเป็นการส่งเสริมค่านิยมให้เด็กในวัยเรียนตั้งครรภ์ ขณะที่อีกส่วนเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนต่อ เพราะหากตัดโอกาสการเรียนเท่ากับเป็นการซ้ำเติมอนาคตเด็ก

"การไล่เด็กที่ตั้งครรภ์ออกจากการศึกษาแบบที่ผ่านมา ไม่ได้ทำให้ตัวเลขเด็กตั้งครรภ์ลดลง แต่กลับลงโทษเด็กจนเสียอนาคต ซึ่งการออกพ.ร.บ.นี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ที่กำหนดว่าสุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศ และสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ ซึ่งมีความจำเพาะซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม" นายจุรินทร์กล่าว

นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในแต่ละปีมีสตรีอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดประมาณร้อยละ 15 ของผู้หญิงที่คลอดในแต่ละปี ขณะที่ตามมาตรฐานสากลกำหนดให้ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี พบว่ามีการคลอดบุตรประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี เมื่อประมาณการจากที่คนไทยคลอดปีละ 8 แสนราย เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะคลอดบุตรราว 1 หมื่นรายต่อปี ส่วนอัตราการทำแท้งของคนไทยโดยภาพรวมประมาณ 1 แสนรายต่อปี
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:47:25 น.   มติชนออนไลน์ 

7975
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2553 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้อง กิจการร่วมค้าพีสแควร์ไทยคอม และ บริษัท พีสแควร์ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ได้ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณะสุข ที่ 1 และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2 กับพวกรวม 4 ราย เป็นคดีพิพาทที่ฝ่ายผู้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ ชอบด้วยกฎหมายในกรณีให้มีการยกเลิกการประกวดราคาจัดซื้อจัดคอมพิวเตอร์ มูลค่า 900 ล้านบาทโดยไม่ชอบ และเป็นการละเมิด พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1,200 ล้านบาท

ศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยในข้อสาระสำคัญของข้อพิพาทว่า ปลัดกระทรวงสาธารณะสุขมีอำนาจสั่งยกเลิกการประกวดราคาได้ ถือเป็นการกระทำที่มีอำนาจและไม่นอกเหนือหน้าที่ นอกจากนี้ยังเห็นว่าฝ่ายผู้ฟ้องคดีผิดคุณสมบัติทางเทคนิค ด้าน Hardware โดยผู้ฟ้องคดีเสนอไม่ตรงตามเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาเป็น การผิดเงื่อนไขในสาระสำคัญของทางราชการ การสั่งยกเลิกการประกวดราคา จึงเป็นการใช่ดุลพินิจโดยชอบ

สำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ขณะดำรงตำแหน่ง) ศาลเห็นว่าตำแหน่งรัฐมนตรีอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจสั่งซื้อเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าการยกเลิกการประกวดราคาเป็นการยกเลิกการประกวดราคาก่อนจะมี การเสนอให้รัฐมนตรีว่าการฯ สั่งซื้อ ดังนั้นการยกเลิกการประกวดราคาจึงเป็นเรื่องของปลัดกระทรวงสาธารณะสุขไม่ เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการ และแม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการจะได้วินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการยกเลิกการประกวดราคา ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณะสุขดำเนินการ ก็ถือว่าการวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมายแล้วจึงไม่เป็นละเมิดต่อฝ่ายผู้ฟ้องคดีและไม่จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทด แทนแก่ผู้ฟ้องคดี

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พิจารณาสั่งยกโทษ นพ.ชาตรี บานชื่น นพ.เทียม อังสาชน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ นายวริทธินันท์ จินดาถาวรกิจ และ นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ซึ่งได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนของกระทรวงสาธารณสุขฐานกระทำผิด วินัยกรณีการจัดซื้อและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง และข้อมูลโรงพยาบาล ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มูลค่า 900 ล้านบาทมาก่อนหน้านี้แล้ว

โครงการคอมพิวเตอร์เริ่มจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ สธ.ดำเนินการประกวดราคาซื้อ และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง และข้อมูลโรงพยาบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมูลค่าประมาณ 911.7 ล้านบาท ซึ่งเริ่มมีการดำเนินการในเดือนธันวาคม 2546 ในสมัยของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา โดยให้ นพ.ธวัช สุนทราจารย์ รองปลัด ขณะนั้นเป็นประธาน แต่หลังจากคณะกรรมการพิจารณาด้านเทคนิคได้สรุปผลการพิจารณาว่ามีบริษัทที่ ผ่านเกณฑ์ 2 บริษัทได้แก่ บริษัทไพร์มลิงค์ จำกัด และกิจการร่วมค้าพีสแควร์ไทยคอม เพียง 1 วัน นพ.ธวัช ก็ลาออกจากการเป็นประธานในวันที่ 8 เม.ย. 2547

ต่อมา นพ.ชาตรี บานชื่น ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ มารับหน้าที่แทนในวันที่ 9 เม.ย. 2547 และมีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมและประกวดราคาอีกหลายครั้ง จนยกเลิกการประกวดราคาในที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังจากทราบคำตัดสินของศาลปกครอง คุณหญิงสุดารัตน์ได้ให้ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายเผยแพร่ข่าวสื่อมวลชน
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:06:56 น.   มติชนออนไลน์ 

7976
เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ได้จัดการเสวนาเรื่อง "การเกิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการ สาธารณสุข จะทำให้หมอถูกฟ้องอาญาจริงหรือ" ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

  โดยมี นส.บุญยืน สิริธรรม จากเครือข่ายองค์กร ผู้บริโภค ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุขกรรมการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นส.สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้าน เอดส์ และประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธาน เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เข้าร่วมในการเสวนาครั้งนี้ โดยได้มีการออกแถลงการณ์เพื่อแสดงเจตนารมย์ ในการยืนยันกฏหมายคุ้มครองผู้ป่วยที่เสียหาย เพื่อการลดการฟ้องร้องแพทย์ ดังนี้

"เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ยืนยัน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข " ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมหน้า (เดือนสิงหาคมนี้) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างแพทย์และคนไข้ โดยจะช่วยไม่ให้เกิดการฟ้องแพทย์ เพราะคนไข้ที่ได้รับความเสียหายได้รับการชดเชยจากความเสียหายที่ เกิดขึ้น

 ดังนั้นผู้ที่จะได้ รับประโยชน์โดยตรงจากกฏหมายฉบับนี้ คือ คนไทยทั้งประเทศ 65 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งแพทย์และผู้ป่วย ที่ผ่านมา มีข่าวและความเห็นที่สร้างความ เข้าใจผิดในสาระสำคัญอย่างมากซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดต่อกลุ่ม แพทย์และสาธารณชนโดยรวม ทั้งนี้ กฏหมายฉบับนี้ มีหลักการสำคัญ 3 ประการคือ

1. กองทุนชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข เพื่อลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ที่ครอบคลุมผู้รับบริการ ในทุกสิทธิการรักษา เพราะเป็นที่รับรู้และยอมรับกันทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ (Medical Error) นั้น สามารถเกิดขึ้นได้

2. คณะกรรมการกลาง และสำนักงานที่เป็นอิสระ โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีองค์ประกอบจากผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำ งานคุ้มครองสิทธิด้านบริการสุขภาพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน  ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภา วิชาชีพ เพราะบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือการพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับบริการ สาธารณสุขจริงหรือไม่ โดยไม่ได้พิสูจน์ ถูกผิด และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ เพื่อ ให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม และต้องใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์

3. พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทยปัญหาเรื่องความ กังวลในเรื่องการฟ้องอาญาแพทย์นั้น หากดูจากข้อเท็จจริงไม่พบว่ามีคนไข้ที่อยากฟ้องอาญาแพทย์

   จากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทั้งหมด 33 ราย ในปี 2552 ผู้ป่วยทั้ง 100 % ไม่มีความประสงค์จะฟ้องอาญา แพทย์ หรือจากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่มีผู้เสียหายเข้ามาปรึกษากว่า 600 ราย มีเพียงไม่ถึง10 ราย ที่จำเป็นต้องฟ้องอาญา เพราะการพิจารณาคดีโดยแพทยสภาล่าช้า จนทำให้เกิดปัญหาการหมดอายุความของคดี ผู้เสียหายอยู่ในภาวะจำยอมที่จะ ต้องเลือกฟ้องเพื่อทำให้อายุความเพิ่มขึ้นเท่านั้น

นอกจากนี้การฟ้อง ร้องส่วนใหญ่ เป็นการฟ้องร้องโรงพยาบาลหรือกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่การฟ้องแพทย์แต่อย่างใด ดังนั้นแพทยสภา ควรเปิดเผยข้อมูลการร้องเรียนที่ชัดเจน ไม่ใช่การสร้างความตระหนกให้เกิดในหมู่แพทย์โดยที่ไม่มีข้อมูลและ ข้อเท็จจริง

เครือข่ายประชาชน ข้างตน ขอตั้งข้อสังเกตว่า การต่อต้าน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข " และขบวนการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนขณะนี้ ที่มีการเคลื่อนไหวเป็นระบบอย่างผิดปกตินั้น มีความเกี่ยวเนื่องกับการหาเสียงเลือกตั้งแพทยสภาชุดใหม่ที่กำลัง จะมีขึ้นในต้นปีหน้าหรือไม่

นอกจากนี้ เครือข่ายประชาชนข้างต้น ยังขอให้สาธารณชนจับตาและตรวจสอบการคัดค้าน การจ่ายเงินสมทบของโรงพยาบาลเอกชนนั้น เกี่ยวพันกับการที่โรงพยาบาลไม่ต้องการเปิดเผยรายได้ที่แท้จริงหรือ ไม่

สุดท้าย เครือข่ายประชาชน ขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดง ความจริงใจในการปฏิรูปการเมืองและสังคม ด้วยการผลักดัน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข" ฉบับนี้ เพราะนี่คือรูปธรรมของการปฏิรูปสังคมที่แท้จริง

ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข กล่าวว่าสาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัตินี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนไทยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับความเดือดร้อนจากการรักษา พยาบาล โดยกล่าวว่า กระบวนการฟ้องอาญาแพทย์ไม่ได้เกิดมาจากสาระสำคัญ ซึ่งภาคประชาชนเป็นผู้ขับเคลื่อน และนักกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา บางคน ก็ได้ให้ความเห็นว่านี่คือสิทธิพื้นฐานของประชาชนในฐานะที่เป็นพ ลเมืองไทย การฟ้องอาญาเป็นเรื่องที่สามารถทำได้อยู่แล้วโดยที่ไม่จำ เป็นต้องมีร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มารองรับแต่อย่างใด  และไม่มีผู้ป่วยคนใดที่ต้องการฟ้องแพทย์อย่างแน่นอน แต่หากทำไปเพราะเกิดจากสถานภาพจำยอม

 เนื่องจากกระบวนการ ยุติธรรมนอกศาลซึ่งก็คือแพทยสภา ซึ่งผู้ป่วยคาดหวังว่าจะสามารถ พึ่งพาได้อย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องทำการฟ้องอาญาเพื่อที่จะคงสภาพของอายุ ความไว้

แพทยสภาในปัจจุบัน นี้ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ให้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องกังวลต่อการที่ผู้ป่วยจะมาทำการฟ้องร้อง แต่นำความผิดพลาดมาพัฒนาระบบความปลอดภัยให้ผู้ป่วย บุคลากรทางสาธารณสุขในปัจจุบันเป็นที่พึ่งของประชาชนโดยแท้จริง การออกมาแสดงความเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งที่รับฟังนั้นควรใช้วิจารณญาณ เนื่องจากปัจจุบันเรามีร่างกฏหมายจำนวน 7 ฉบับ ซึ่งรอการพิจารณาจากสภา บุคลากรจึงจำเป็นต้องศึกษาสาระสำคัญด้วยตนเอง และไม่เอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง"

นส.สุภัทรา นาคะผิว กล่าวว่า การมีหรือไม่มีกฏหมายฉบับนี้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือก่อให้เกิดสิทธิ ประโยชน์เพิ่มขึ้นในเรื่องของการฟ้องคดีอาญากับแพทย์แต่อย่างใด ซึ่งก่อนหน้านี้ เราเคยมีกองทุนลักษณะนี้ในมาตรา 41 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกองทุนที่ถูกจัดตั้งขึ้นในเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากการรับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ

 เจตนารมย์หลักของ กฏหมายฉบับนี้ คือการขยายการคุ้มครองผู้เสียหายที่ไปรับบริการทาง สาธารณสุขให้ไปถึงผู้ที่อยู่ในกองทุนอื่นด้วย เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนั่นหมายถึงคนไทยทั้งหมด จะได้รับประโยชน์จากกองทุน

โดยพบว่าปัญหาของกอง ทุนในมาตรา 41 ที่มีผู้ร้องเรียนนั้น ได้รับการชดเชยเป็นจำนวนเงินประมาณ 73 ล้านบาท ความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์จากการได้ข้อมูลที่ผิดนั้น ไม่ได้เกิดจากภาคประชาชนเพื่อหวังที่จะให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่าง ผู้ป่วยและแพทย์ให้มากขึ้น และแพทย์จะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลประโยชน์ จากกฏหมายฉบับนี้

  ส่วนสิทธิในการฟ้องร้องคดีอาญาหรือคดีในทางแพ่งอื่นๆ เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนที่ได้รับความเสียหายอยู่แล้ว นอกจากนั้นกฏหมายฉบับนี้ยังต้องการที่จะให้มีการคุ้มครองแบบย้อน หลัง โดยคนที่มีปัญหาฟ้องร้องกับแพทย์และต้องการใช้สิทธิในกองทุน นี้ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ในกรณีที่ย้อนหลังไป 120 วัน ซึ่งจะช่วยลดคดีความต่างๆในศาลด้วย

นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา กล่าวว่า การใช้กฏหมายเดิมมาแก้ไขปัญหา ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งสองฝ่าย บุคลากรทางการแพทย์เกิดความตระหนกและหวั่นไหว ในขณะที่ทางผู้ป่วยถูกปิดกั้นหนทางในการแสวงหาความยุติธรรมในทุก รูปแบบ จึงมีการเคลื่อนไหวเพื่อขอให้รัฐบาลหาทางแก้ไขปัญหานี้มา โดยตลอด
  จนกระทั่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ได้ส่งให้มีการยกร่างฉบับนี้ ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มเครือข่ายฯเท่า นั้นที่เป็นผู้ร่างกฏหมาย แต่ประกอบด้วยหน่วยงานหลายภาคส่วน โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรรมการแพทยสภาก็ได้เข้าร่วมด้วย ทุกครั้ง แต่ก็ยังออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแคลงใจเป็นอ ย่างยิ่ง เนื่องจากนี่คือทางออกเดียวของคนไข้ ซึ่งคงไม่มีความสามารถในการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาได้แน่ นอน ส่วนสาเหตุที่ทางเครือข่ายต้องอกมาทำการเรียกร้อง เกิดจากสาเหตุ อาทิ

-หน่วยงานต่างๆมักจะ ดึงเวลา จนหมดอายุความทางแพ่ง จึงจำเป็นต้องแจ้งความเพื่อนำเอาอายุ ความที่ยาวกว่ามาใช้การฟ้องร้องคดีแพ่ง

-การเจรจาใช้เวลาในการไกล่เกลี่ยนานเกิน ไป และไม่สามารถเจรจาจบได้ในครั้งเดียว ซึ่งทำให้ความคับแค้นใจก่อตัวเพิ่ม ขึ้น การมีพระราชบัญญัติฉบับนี้จะช่วยล ดระยะเวลาความเจ็บป่วยของผู้ป่วย ลดแรงปะทะระหว่างสถานบริการทาง การแพทย์และผู้รับบริการ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้จะมี ข้อดีในการชดเชยความเสียหายไม่เพียงเฉพาะตัวเงินเท่านั้น แต่เป็นการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

 เนื่องจากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนเรื่องคดีอาญานั้น ก็แทบจะไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด โดยเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ จะยุติบทบาทในทันที หากพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะไม่มีการฟ้องร้องแพทย์และไม่มี การรวมตัวเคลื่อนไหวอีกต่อไป เนื่องจากไม่ต้องการสร้างความเดือดร้อนใดๆให้สังคมอีก หากกลุ่มใดต้องการเรียกร้อง ก็ควรจะทำการเคลื่อนไหวในสภา ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด


7977
"เอ็นจีโอ” ออกแถลงการณ์ดัน “ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ” ช่วยลดปัญหาขัดแย้งแพทย์ผู้ป่วย ด้าน “ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ” ประกาศยุติบทบาททันทีหากกฎหมายมีผลบังคับใช้ แถมไม่มีการฟ้องหมอทั้งแพ่งและอาญาอีกต่อไป เพราะผู้ป่วยได้รับการชดเชยแล้ว พร้อมวิงวอนวิชาชีพแพทย์ พยาบาล เข้าใจและเลิกต้าน ขณะที่ “ เครือข่ายผู้บริโภค ” ตั้งข้อสังเกตหมอบางกลุ่มเคลื่อนไหว ให้ข้อมูลผิดๆ เหตุหวังผลคะแนนเสียงเลือกตั้ง คกก.แพทยสภาปีหน้า

ที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 9 ก.ค.เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และศูนย์ประสานงานหลักประสุขภาพภาคประชาชน ร่วมออกแถลงการณ์ยืนยัน “ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ” ที่กำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร์ในสมัยประชุมในเดือนสิงหาคมนี้ โดย น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้   ช่วยไม่ให้เกิดการฟ้องแพทย์ เพราะเป็นการชดเชยผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย

ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากกฎหมายฉบับนี้คือคนไทยทั้งประเทศ 65 ล้านคน ทั้งนี้ที่ผ่านมามีข่าวและความเห็นที่สร้างความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของกฎหมายอย่างมาก สร้างความเข้าใจผิดต่อกลุ่มแพทย์และสาธารณชนโดยรวม ทั้งๆ ที่กฎหมายฉบับนี้มีหลักการสำคัญคือ การตั้งกองทุนชดเชยเพื่อลดการฟ้องร้อง และครอบคลุมทุกระบบการรักษา เพราะเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์สามารถเกิดขึ้นได้ โดยมีคณะกรรมกลางอิสระพิจารณา ไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ

 น.ส.บุญยืน กล่าวว่า ส่วนปัญหาการฟ้องร้องอาญาแพทย์นั้น ข้อเท็จจริงไม่มีคนไข้ที่อยากฟ้องแพทย์ จากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ในจำนวนผู้เสียหายที่เข้ามาปรึกษา 600 ราย มีไม่ถึง 10 ราย ที่ฟ้องคดีอาญา สาเหตุมาจากการพิจารณาของแพทยสภาที่ล่าช้าจนเกิดปัญหาอายุความแพ่งที่จะหมดลง จึงต้องยืนฟ้องคดีอาญาเพื่อยืดอายุความคดีแพ่งออกไป นอกจากนี้การฟ้องส่วนใหญ่เป็นการฟ้องโรงพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่การฟ้องร้องแพทย์ด้วย

 “ แพทยสภาควรพูดให้ชัด เพราะผู้เสียหายไม่ได้ฟ้องแพทย์แต่ฟ้องหน่วยงาน ดังนั้นแพทยสภาไม่ควรให้ข้อมูลที่สร้างความตื่นตระหนกให้เกิดในหมู่แพทย์ ทั้งที่ไม่เป็นข้อเท็จจริง อีกทั้งไม่ได้ทำให้การฟ้องแพทย์เพิ่มขึ้น แต่ช่วยลดปัญหาการฟ้องแพทย์ลง เพราะผู้เสียหายได้รับการเยียวยาโดยเร็ว ” น.ส.บุญยืน กล่าว และว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่าการต่อต้านของแพทย์บางกลุ่มที่เป็นขบวนการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและเคลื่อนไหวเป็นระบบอย่างผิดปกตินั้น เกี่ยวเนื่องกับการหาเสียงเลือกตั้งแพทยสภาชุดใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นในต้นปีหน้านี้หรือไม่ เนื่องจากมีอดีตกรรมการแพทยสภาบางคนเป็นคนเปิดเรื่องนี้

 ด้าน นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ก่อตั้งมา 8 ปีแล้ว เหมือนว่าเรายืนคนละฝั่งกับวิชาชีพมาโดยตลอด ซึ่งในการแก้ไขปัญหามองว่า การฟ้องร้องไม่ใช่ทางออกที่ดีเพราะทำให้บุคลากรทางการแพทย์หวั่นไหว ขณะที่คนไข้ก็ถูกปิดกั้นการหาข้อมูลทุกรูปแบบ ส่งผลให้ความขัดยังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตนก็ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งความขัดแย้งอีกต่อไป จึงเสนอขอให้รัฐบาลหาทางแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด จนมีการยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข แต่ไม่เข้าใจว่า เมื่อ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ที่มาจาการเสนอของทุกภาคส่วน ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาและกำลังเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภา ทำไมแพทยสภาเพิ่งออกมาเคลื่อนไหว ทั้งๆ ที่ในการประชุมพิจารณาในชั้นกฤษฎีกามีตัวแทนแพทยสภาเข้าร่วมทุกครั้ง หรือว่าไม่ต้องการเห็นสังคมมีความสงบสุขหรืออย่างไร เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นทางออกเพียงทางเดียงของคนไข้ ปัญหานี้เหมือนกับลูกโป่งหากถูกกดดันมากจะให้พวกเราใช้ความรุนแรงหรืออย่างไร 

 นางปรีญานันท์ กล่าวว่า ส่วนการฟ้องคดีอาญาที่แพทย์ตระหนกนั้น ขอชี้แจงให้สบายใจว่า สาเหตุเป็นการฟ้องเพื่อดึงคดีแพ่งที่มักถูกดึงโดยหน่วยงาน เพื่อให้คดีมีอายุความยืดเป็น 10 ปี และการเจราจาไกล่เกลี่ยมักใช้เวลานานมาก มีการปิดกั้นการขอเวชระเบียนทำให้เกิดความโกรธและฟ้องร้อง ขณะที่กฎหมายฉบับนี้จะทำให้การชดเชยรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ชดเชยแต่เฉพาะเรื่องเงินเท่านั้น แต่ยังช่วยรักษาต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังการเป็นยุติคดีทางแพ่งโดยสิ้นเชิง เพราะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนการฟ้องอาญาแพทย์นั้นตัดไปได้เลย เพราะเมื่อผู้ป่วยได้รับการชดเชยก็ไม่รู้จะไปจ้างทนายเพื่อฟ้องทำไมอีก

 “ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ขอประกาศว่า หาก ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขบังคับใช้เมื่อไหร่ เราจะตั้งโต๊ะแถลงข่าวประกาศเลิกเครือข่ายอย่างเป็นทางการ จะไม่มีการฟ้องหมอ หรือรวมตัวกันอีกต่อไป เพราะกลไกลที่เข้ามาดูแลแล้ว และเราเองไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งความขัดแย้ง สร้างปัญหาให้สังคม เพราะสังคมไทยวันนี้แตกแยกพอแล้ว และไม่อยากมีมือที่ 3 มาใช้ความเจ็บปวดในชีวิตพวกเรามาหาผลประโยชน์ เคลื่อนไหวทางใดทางหนึ่งต่อไป และขอวิงวอนให้ฝ่ายวิชาชีพเลิกต่อต้าน และหันมาช่วยกันหาทางออกของปัญหา หากจะเคลื่อนไหวขอให้ไปในสภาเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งคิดว่าเป็นทางออกของคนที่มีปัญญา เราเลิกทะเลาะกันเถอะ เพราะตัวเองก็เบื่อ มันหลายปีมาแล้ว ” ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าว

 น.ส.สุภรัทา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรเอกชนด้านเอดส์ กล่าวว่า ยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มุ่งให้เกิดการฟ้องอาญาแพทย์ เพียงแต่เป็นการขยาย มาตรา 41 ในการชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ครอบคลุมระบบหลักประกันอื่นๆ ด้วย ซึ่งจากข้อมูลหลังที่ได้บังคับใช้มาตราดังกล่าวในช่วง 6-7 ปี มีผู้ขอใช้สิทธิ์เพียง 810 ราย ในจำนวนนี้ผ่านเกณฑ์รับการชดเชย 660 ราย และมีการจ่ายเงินชดเชย 73 ล้านบาท หรือเฉลี่ยคนละ 100,000 บาทเท่านั้น ทั้งนี้เห็นว่าความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น มาจากการให้ข้อมูลที่ผิด ซึ่งยืนยันว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดปัญหาฟ้องร้องแพทย์ได้ ทั้งนี้อยากให้แพทย์อ่านเนื้อหาร่างกฎหมายให้ดี อย่าฟังเพียงแต่ข้อมูลที่มีคนนำเสนอ


7978
นายกแพทยสภา ขวาง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ แนะชะลอ พ.ร.บ.นี้ไปก่อนแล้วนำมาศึกษาให้รอบคอบ หวั่นประเทศชาติล่มจมเงินไม่พอจ่ายชดเชย

นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า   โดยส่วนตัวเห็นด้วยในหลักการว่า หากมี พ.ร.บ.นี้แล้วจะลดปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ลงได้ แต่เมื่อดูจากเนื้อหาข้างในวิธีการปฏิบัติไม่ได้เป็นอย่างนั้น จึงเป็นห่วงว่าประเทศชาติจะเดือดร้อน เพราะจะมีการไปเก็บเงินจาก รพ.ซึ่งถ้าเป็น รพ.รัฐอาจจะทำให้งบประมาณที่จะนำมารักษาคนไข้ก็จะน้อยลง แต่ถ้าเป็น รพ.เอกชน อาจจะไปเก็บค่ารักษาจากคนไข้เพิ่ม ผลเสียก็ตกอยู่กับคนไข้

 “ดังนั้นส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นี้   จุดยืนคือขอให้มีการชะลอและถอนเรื่องออกไปก่อน แล้วนำมาศึกษาให้ดี ๆ   โดยนำบทเรียนในต่างประเทศมาดู ที่สำคัญคนไทยเรามักจะเรียกร้องมากกว่าฝรั่ง หากมี พ.ร.บ.นี้จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายให้กับผู้เสียหายทางการแพทย์ ผมมองว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา ประเทศชาติจะล่มจมในระยะยาว เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากมาจ่ายค่าชดเชย ผลเสียก็จะตกอยู่กับคนไข้ เรื่องนี้ต้องบอกว่าเมื่อมีคนหนึ่งได้ก็ต้องมีคนหนึ่งเสีย ”นายกแพทยสภา กล่าว

7979
สธ.เร่งตั้งกรรมการสอบ SP2 เชื่อ ทุกขั้นตอนโปร่งใส จับตากรณีจัดซื้อครุภัณฑ์ยานพาหนะ โดยเฉพาะกรณีการจัดซื้อรถจักรยานยนต์และรถกระบะ โดยมีผู้ตรวจราชการสาธารณสุขทุกเขตทั่วประเทศ เป็นประธานคณะกรรมการขีดเส้นตาย 30 วัน
       
       วันนี้ (6 ก.ค. ) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ว่า นโยบายเร่งด่วนของ สธ.ในปีนี้ มีประเด็นหลักที่ต้องเร่งดำเนินการให้ทันภายในเดือน ก.ย.2553
       
       ประกอบด้วย โครงการพัฒนาบริการโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม โครงการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 2,000 แห่ง โครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งขณะนี้ทุกจังหวัดมีผลดำเนินงานคืบหน้าทุกเรื่อง โดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของพระราชกำหนดเงินกู้ ปี 2553 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับลดวงเงินเดิมจาก 11,515 ล้านกว่าบาท เหลือ 10,024 ล้านกว่า บาท ใน 5 กลุ่มรายการ ได้แก่ 1.สิ่งก่อสร้างภายใน 1 ปี 679 รายการ วงเงิน 4,340 ล้านบาทเศษ
       
       2.จัดซื้อครุภัณฑ์ที่มีสเปก 335 รายการ ได้แก่ รถยนต์บรรทุก รถยนต์โดยสาร เครื่องกำเนิดไฟฟ้า วงเงิน 253 ล้านบาทเศษ 3.จัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินที่มีเครื่องมือแพทย์ ได้แก่ เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องช่วยหายใจใช้รับส่งผู้ป่วยจาก รพ.สต.829 คัน รถกระบะ 63 คัน วงเงินรวม 1,494 ล้านบาทเศษ 4.กลุ่มสิ่งปลูกสร้างผูกพัน 5 ปี 45 รายการ วงเงิน 2,178 ล้านบาทเศษ และ 5.กลุ่มครุภัณฑ์ประจำ รพ.สต.2,000 แห่ง วงเงิน 1,484 ล้านบาทเศษ
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้จังหวัดที่ได้รับจัดสรรอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่า จะได้รายการส่วนใหญ่ภายในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ด้วยความรอบคอบ โปร่งใส เพราะวงเงินค่อนข้างสูง โดยได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการใช้เงินในโครงการไทยเข้มแข็งเป็นการเฉพาะด้วย 1 ชุด โดยเฉพาะกรณีการจัดซื้อรถจักรยานยนต์และรถกระบะ โดยมีผู้ตรวจราชการสาธารณสุขทุกเขตทั่วประเทศ เป็นประธานคณะกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
       
       ปลัด สธ.กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ สธ.ได้ปรับลดรายการต่างๆ ให้เหมาะสมแล้ว ยังมีเงินกู้ในส่วนของพระราชกำหนดเหลืออีก 1,490 ล้านบาท โดยมีนโยบายให้นำไปใช้พัฒนาสถานีอนามัยให้เป็น รพ.สต.เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ในการพัฒนา รพ.สต.ทั้งหมด กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งสำนักงานประสานการพัฒนา รพ.สต.อยู่ที่อาคาร 3 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มี นพ.เกษม เวชสุทานนท์ เป็นผู้อำนวยการ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานการพัฒนา รพ.สต.ทั่วประเทศ ทั้งเรื่องกำลังคน การใช้งบประมาณ และอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความสมบูรณ์ แบบยิ่งขึ้น และมีความพร้อมต่อการบริการประชาชนตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2553

7980
 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2552 โดยกำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม และวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2553 นี้ ณ หอประชุมจุฬาฯ
       
       อนึ่ง ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรวันแรก (พฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม) สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นอกจากนี้ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาต่างๆ ได้แก่ ม.จ.ภีศเดช รัชนี (วิทยาศาสตร์) รศ.ทญ.อัมพุช อินทรประสงค์ (ทันตแพทยศาสตร์) ศ.กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ (บริหารธุรกิจ) ภก.พล.ต.สุนันท์ โรจนวิภาต (เภสัชศาสตร์) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ (รัฐศาสตร์) ศ.กิตติคุณ ศักดา ศิริพันธุ์ (วิทยาศาสตร์) รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร (วิศวกรรมศาสตร์) รศ.สดใส พันธุมโกมล (อักษรศาสตร์) ศ.ดร.มาร์ค เกรกอรี รอบสัน (สาธารณสุขศาสตร์) และผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ ได้แก่ ศ.นพ.สุขิต เผ่าสวัสดิ์ คณะแพทยศาสตร์ ศ.นพ.ดำรง เหรียญประยูร คณะแพทยศาสตร์ ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช คณะรัฐศาสตร์ ศ.สุกัญญา สุดบรรทัด คณะนิเทศศาสตร์
       
       สำหรับกำหนดการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตคณะต่างๆ มีดังนี้
       
       วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2553
       
       รอบเช้า ประกอบด้วย ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะครุศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ / มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะสหเวชศาสตร์/ มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ /ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์
       
       รอบบ่าย ปริญญากิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ / รางวัลเงินทุนรัชดาภิเษกสมโภช / ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ / ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ / บัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา / ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย (สหสาขาวิชา)
       
       วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2553
       
       รอบเช้า ประกอบด้วย ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข / มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ / ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะเศรษฐศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
       
       รอบบ่าย ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต บัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ / บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ / บัณฑิตพยาบาลสภากาชาดไทย วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ / ผู้แทนขึ้นรับพระราชทานอนุปริญญาบัตร / ผู้รับเหรียญรางวัลในหลักสูตรปริญญาบัณฑิต / ผู้รับพระราชทานรางวัลและทุนการศึกษาในเงินทุนภูมิพล

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดรถโดยสารภายในไว้ให้บริการฟรี โดยวิ่งรถบริการทั้ง 2 ฝั่งของมหาวิทยาลัย
       
       สาย 1 วิ่งระหว่างศาลาพระเกี้ยว ถ.อังรีดูนังต์ สยามสแควร์ ถ.พญาไท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ศาลาพระเกี้ยว
       
       สาย 2 เริ่มที่อาคารจามจุรี 9 คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ ถ.พญาไท จุฬาฯ ซอย 12 สิ้นสุดที่อาคารจามจุรี 9
       
       ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของดเว้นการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาร่วมงาน เนื่องจากมหาวิทยาลัยจะปิดประตูทางเข้าออกทุกประตู ไม่อนุญาตให้บุคลภายนอกนำรถเข้ามาจอดในมหาวิทยาลัย โดยประตูคณะรัฐศาสตร์ และประตูคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะเปิดและอนุญาตเฉพาะรถบุคลากรที่มีตราติดรถยนต์ของจุฬาฯ เท่านั้น
       
       อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยได้จัดที่จอดรถสำรองไว้ที่อาคารจัตุรัสจามจุรี อาคารจามจุรี 9 อาคารวิทยกิตติ์ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ อาคารมหาจักรีสิริธร เป็นต้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2553 

หน้า: 1 ... 530 531 [532] 533 534 ... 537