ผู้เขียน หัวข้อ: เอ็นจีโอ-โต้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข(มติชน10กค2553)  (อ่าน 2203 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ได้จัดการเสวนาเรื่อง "การเกิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการ สาธารณสุข จะทำให้หมอถูกฟ้องอาญาจริงหรือ" ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

  โดยมี นส.บุญยืน สิริธรรม จากเครือข่ายองค์กร ผู้บริโภค ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุขกรรมการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นส.สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้าน เอดส์ และประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธาน เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เข้าร่วมในการเสวนาครั้งนี้ โดยได้มีการออกแถลงการณ์เพื่อแสดงเจตนารมย์ ในการยืนยันกฏหมายคุ้มครองผู้ป่วยที่เสียหาย เพื่อการลดการฟ้องร้องแพทย์ ดังนี้

"เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ยืนยัน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข " ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมหน้า (เดือนสิงหาคมนี้) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างแพทย์และคนไข้ โดยจะช่วยไม่ให้เกิดการฟ้องแพทย์ เพราะคนไข้ที่ได้รับความเสียหายได้รับการชดเชยจากความเสียหายที่ เกิดขึ้น

 ดังนั้นผู้ที่จะได้ รับประโยชน์โดยตรงจากกฏหมายฉบับนี้ คือ คนไทยทั้งประเทศ 65 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งแพทย์และผู้ป่วย ที่ผ่านมา มีข่าวและความเห็นที่สร้างความ เข้าใจผิดในสาระสำคัญอย่างมากซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดต่อกลุ่ม แพทย์และสาธารณชนโดยรวม ทั้งนี้ กฏหมายฉบับนี้ มีหลักการสำคัญ 3 ประการคือ

1. กองทุนชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข เพื่อลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ที่ครอบคลุมผู้รับบริการ ในทุกสิทธิการรักษา เพราะเป็นที่รับรู้และยอมรับกันทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ (Medical Error) นั้น สามารถเกิดขึ้นได้

2. คณะกรรมการกลาง และสำนักงานที่เป็นอิสระ โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีองค์ประกอบจากผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำ งานคุ้มครองสิทธิด้านบริการสุขภาพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน  ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภา วิชาชีพ เพราะบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือการพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับบริการ สาธารณสุขจริงหรือไม่ โดยไม่ได้พิสูจน์ ถูกผิด และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ เพื่อ ให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม และต้องใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์

3. พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทยปัญหาเรื่องความ กังวลในเรื่องการฟ้องอาญาแพทย์นั้น หากดูจากข้อเท็จจริงไม่พบว่ามีคนไข้ที่อยากฟ้องอาญาแพทย์

   จากข้อมูลของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทั้งหมด 33 ราย ในปี 2552 ผู้ป่วยทั้ง 100 % ไม่มีความประสงค์จะฟ้องอาญา แพทย์ หรือจากข้อมูลของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่มีผู้เสียหายเข้ามาปรึกษากว่า 600 ราย มีเพียงไม่ถึง10 ราย ที่จำเป็นต้องฟ้องอาญา เพราะการพิจารณาคดีโดยแพทยสภาล่าช้า จนทำให้เกิดปัญหาการหมดอายุความของคดี ผู้เสียหายอยู่ในภาวะจำยอมที่จะ ต้องเลือกฟ้องเพื่อทำให้อายุความเพิ่มขึ้นเท่านั้น

นอกจากนี้การฟ้อง ร้องส่วนใหญ่ เป็นการฟ้องร้องโรงพยาบาลหรือกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่การฟ้องแพทย์แต่อย่างใด ดังนั้นแพทยสภา ควรเปิดเผยข้อมูลการร้องเรียนที่ชัดเจน ไม่ใช่การสร้างความตระหนกให้เกิดในหมู่แพทย์โดยที่ไม่มีข้อมูลและ ข้อเท็จจริง

เครือข่ายประชาชน ข้างตน ขอตั้งข้อสังเกตว่า การต่อต้าน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข " และขบวนการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนขณะนี้ ที่มีการเคลื่อนไหวเป็นระบบอย่างผิดปกตินั้น มีความเกี่ยวเนื่องกับการหาเสียงเลือกตั้งแพทยสภาชุดใหม่ที่กำลัง จะมีขึ้นในต้นปีหน้าหรือไม่

นอกจากนี้ เครือข่ายประชาชนข้างต้น ยังขอให้สาธารณชนจับตาและตรวจสอบการคัดค้าน การจ่ายเงินสมทบของโรงพยาบาลเอกชนนั้น เกี่ยวพันกับการที่โรงพยาบาลไม่ต้องการเปิดเผยรายได้ที่แท้จริงหรือ ไม่

สุดท้าย เครือข่ายประชาชน ขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดง ความจริงใจในการปฏิรูปการเมืองและสังคม ด้วยการผลักดัน "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข" ฉบับนี้ เพราะนี่คือรูปธรรมของการปฏิรูปสังคมที่แท้จริง

ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข กล่าวว่าสาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัตินี้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนไทยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับความเดือดร้อนจากการรักษา พยาบาล โดยกล่าวว่า กระบวนการฟ้องอาญาแพทย์ไม่ได้เกิดมาจากสาระสำคัญ ซึ่งภาคประชาชนเป็นผู้ขับเคลื่อน และนักกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา บางคน ก็ได้ให้ความเห็นว่านี่คือสิทธิพื้นฐานของประชาชนในฐานะที่เป็นพ ลเมืองไทย การฟ้องอาญาเป็นเรื่องที่สามารถทำได้อยู่แล้วโดยที่ไม่จำ เป็นต้องมีร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มารองรับแต่อย่างใด  และไม่มีผู้ป่วยคนใดที่ต้องการฟ้องแพทย์อย่างแน่นอน แต่หากทำไปเพราะเกิดจากสถานภาพจำยอม

 เนื่องจากกระบวนการ ยุติธรรมนอกศาลซึ่งก็คือแพทยสภา ซึ่งผู้ป่วยคาดหวังว่าจะสามารถ พึ่งพาได้อย่างเป็นธรรมและรวดเร็ว ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องทำการฟ้องอาญาเพื่อที่จะคงสภาพของอายุ ความไว้

แพทยสภาในปัจจุบัน นี้ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ให้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องกังวลต่อการที่ผู้ป่วยจะมาทำการฟ้องร้อง แต่นำความผิดพลาดมาพัฒนาระบบความปลอดภัยให้ผู้ป่วย บุคลากรทางสาธารณสุขในปัจจุบันเป็นที่พึ่งของประชาชนโดยแท้จริง การออกมาแสดงความเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งที่รับฟังนั้นควรใช้วิจารณญาณ เนื่องจากปัจจุบันเรามีร่างกฏหมายจำนวน 7 ฉบับ ซึ่งรอการพิจารณาจากสภา บุคลากรจึงจำเป็นต้องศึกษาสาระสำคัญด้วยตนเอง และไม่เอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง"

นส.สุภัทรา นาคะผิว กล่าวว่า การมีหรือไม่มีกฏหมายฉบับนี้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือก่อให้เกิดสิทธิ ประโยชน์เพิ่มขึ้นในเรื่องของการฟ้องคดีอาญากับแพทย์แต่อย่างใด ซึ่งก่อนหน้านี้ เราเคยมีกองทุนลักษณะนี้ในมาตรา 41 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกองทุนที่ถูกจัดตั้งขึ้นในเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ ได้รับความเสียหายจากการรับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพ

 เจตนารมย์หลักของ กฏหมายฉบับนี้ คือการขยายการคุ้มครองผู้เสียหายที่ไปรับบริการทาง สาธารณสุขให้ไปถึงผู้ที่อยู่ในกองทุนอื่นด้วย เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนั่นหมายถึงคนไทยทั้งหมด จะได้รับประโยชน์จากกองทุน

โดยพบว่าปัญหาของกอง ทุนในมาตรา 41 ที่มีผู้ร้องเรียนนั้น ได้รับการชดเชยเป็นจำนวนเงินประมาณ 73 ล้านบาท ความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์จากการได้ข้อมูลที่ผิดนั้น ไม่ได้เกิดจากภาคประชาชนเพื่อหวังที่จะให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่าง ผู้ป่วยและแพทย์ให้มากขึ้น และแพทย์จะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลประโยชน์ จากกฏหมายฉบับนี้

  ส่วนสิทธิในการฟ้องร้องคดีอาญาหรือคดีในทางแพ่งอื่นๆ เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนที่ได้รับความเสียหายอยู่แล้ว นอกจากนั้นกฏหมายฉบับนี้ยังต้องการที่จะให้มีการคุ้มครองแบบย้อน หลัง โดยคนที่มีปัญหาฟ้องร้องกับแพทย์และต้องการใช้สิทธิในกองทุน นี้ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ในกรณีที่ย้อนหลังไป 120 วัน ซึ่งจะช่วยลดคดีความต่างๆในศาลด้วย

นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา กล่าวว่า การใช้กฏหมายเดิมมาแก้ไขปัญหา ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งสองฝ่าย บุคลากรทางการแพทย์เกิดความตระหนกและหวั่นไหว ในขณะที่ทางผู้ป่วยถูกปิดกั้นหนทางในการแสวงหาความยุติธรรมในทุก รูปแบบ จึงมีการเคลื่อนไหวเพื่อขอให้รัฐบาลหาทางแก้ไขปัญหานี้มา โดยตลอด
  จนกระทั่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ได้ส่งให้มีการยกร่างฉบับนี้ ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มเครือข่ายฯเท่า นั้นที่เป็นผู้ร่างกฏหมาย แต่ประกอบด้วยหน่วยงานหลายภาคส่วน โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรรมการแพทยสภาก็ได้เข้าร่วมด้วย ทุกครั้ง แต่ก็ยังออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแคลงใจเป็นอ ย่างยิ่ง เนื่องจากนี่คือทางออกเดียวของคนไข้ ซึ่งคงไม่มีความสามารถในการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาได้แน่ นอน ส่วนสาเหตุที่ทางเครือข่ายต้องอกมาทำการเรียกร้อง เกิดจากสาเหตุ อาทิ

-หน่วยงานต่างๆมักจะ ดึงเวลา จนหมดอายุความทางแพ่ง จึงจำเป็นต้องแจ้งความเพื่อนำเอาอายุ ความที่ยาวกว่ามาใช้การฟ้องร้องคดีแพ่ง

-การเจรจาใช้เวลาในการไกล่เกลี่ยนานเกิน ไป และไม่สามารถเจรจาจบได้ในครั้งเดียว ซึ่งทำให้ความคับแค้นใจก่อตัวเพิ่ม ขึ้น การมีพระราชบัญญัติฉบับนี้จะช่วยล ดระยะเวลาความเจ็บป่วยของผู้ป่วย ลดแรงปะทะระหว่างสถานบริการทาง การแพทย์และผู้รับบริการ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้จะมี ข้อดีในการชดเชยความเสียหายไม่เพียงเฉพาะตัวเงินเท่านั้น แต่เป็นการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

 เนื่องจากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนเรื่องคดีอาญานั้น ก็แทบจะไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด โดยเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ จะยุติบทบาทในทันที หากพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะไม่มีการฟ้องร้องแพทย์และไม่มี การรวมตัวเคลื่อนไหวอีกต่อไป เนื่องจากไม่ต้องการสร้างความเดือดร้อนใดๆให้สังคมอีก หากกลุ่มใดต้องการเรียกร้อง ก็ควรจะทำการเคลื่อนไหวในสภา ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ข้อเท็จจริง
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

1.การอ้าง medical error นั้น นับเป็น Human Error อย่างหนึ่งและเรามีพ.ร.บ.ความรับผิดทางละะเมิดของเจ้าหน้าที่ สามารถให้การช่วยเหลือได้ ซึ่งต้องไปสอบสวนว่า เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ไม่ต้องไปไล่เบี้ยให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด แต่ถ้าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ต้องถูกไล่เบี้ยให้ต้องรับผิดชอบอย่างแน่นอน

และผลจากการรักษาของแพทย์ ที่ไม่ทำให้เกิดผลดีในผู้ป่วยนั้น  อาจไม่ได้เกิดจาก medical error เสมอไป ยกตัวอย่างกรณีแพ้ยาแล้วเกิดอาการรุนแรงจนตาบอด (Steven Johnson’s Syndrome) ก็ไม่ใช่ Medical Error แต่เป็นกลุ่มอาการแพ้ยาอย่างหนึ่ง หรือผู้ป่วยมีอาการตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี อาจเป็นเพราะผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยหลายๆระบบ หรือความรุนแรงของโรคในแต่ละขั้นตอนของการเจ็บป่วยไม่เหมือนกัน สภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ปฏิกิริยาของระบบในร่างกายที่มีต่อการเจ็บป่วยก็ไม่เหมือนกัน และเชื้อโรคที่ทำให้เจ็บป่วยก็อาจตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน บางคนเป็นโรคเดียวกับคนอื่น แต่เชื้อโรคก็ดื้อยา เพราะองคาพยพภายในแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งทำให้การใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วย ต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน หมอไม่อาจสั่งการรักษาเหมือนการตัดเสื้อสำเร็จรูปได้ ต้องเปลี่ยนยาใหม่ ตามสถานการณืของผู้ป่วยในแต่ละวัน

 ฉะนั้น ผู้ที่จะมาตรวจสอบการตรวจรักษาผู้ป่วย ต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาจริงๆ ไม่ใช่จะเอาใครก็ได้มาตัดสิน ซึ่งจะทำลายมาตรฐานทางการแพทย์

2.การจะบอกว่า การช่วยเหลือโดยไม่มีการพิสูจน์ถูกผิดนั้น ไม่มีปรากฏที่ใดในโลก

  ยกตัวอย่างในการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้น มีการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก รัฐบาลก็ได้ให้การเยียวยาแก่ผู้เสียหายเบื้องต้นไปแล้ว แต่ประชาชนก็ยังต้องการให้พิสูจน์หาความจริงว่า ความเสียหายเหล่านี้เป็นฝีมือของใครกันแน่ ที่จะต้องรับผิดชอบ ใช่หรือไม่?

  แต่ถ้ามาดูพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายในมาตรา 6 ของร่างรัฐบาลแล้ว ได้กำหนดไว้ว่า ผู้เสียหายจะไม่ได้รับการช่วยเหลือใน 3 กรณีดังนี้คือ

(1)  ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามธรรมดาของโรคนั้น แม้มีการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ

(2)  ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ

(3)  ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้ว ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

ทั้งนี้คณะกรรมการอาจประกาศกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นได้

ในกรณีที่มาตรา 6 กำหนดไว้เช่นนี้ ผู้เสียหายที่ตาบอดจาก Steven Johnson’s Syndrome นั้น ย่อมไม่ได้รับการช่วยเหลือ เพราะจะเข้าข่ายมาตรา6(2) ที่ว่าเป็นความเสียหายที่หลีกเลี่ยงมิได้ เพราะผู้ป่วยแพ้ยา ซึ่งหมอไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้าว่าใครจะแพ้ยาหรือไม่ แต่ถ้ากระทรวงสาธารณสุข จะให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม ก็ย่อมทำได้ เพราะเกิดความเสียหาย โดยไม่ต้องรับผิด ในฐานที่เกิดความเสียหายจริง แต่ไม่มีใครทำความผิด  อันนี้ จึงจะเข้าข่าย No Fault Compensation ที่คนไทยเอามาแปลผิดๆว่า ไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด ซึ่งที่ถูกต้องคือช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม แต่ต้องพิสูจน์ว่าบุคลากรได้ทำตามมาตรฐานแล้ว

หรือการฉีดวัคซีน แล้วมีอาการแทรกซ้อน ผู้ได้รับวัคซีนตายหรือพิการ สหรัฐอเมริกาก็จะให้เงินช่วยเหลือ โดยแพทย์ที่ฉีดวัคซีนไม่ต้องรับผิด เรียกว่า No Fault Compensation แต่ต้องพิสูจน์ว่ากระบวนการฉีดวัคซีนนั้นถูกต้อง

ข้อสังเกตจากผู้เขียน ถ้ากรรมการส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้แล้ว จะสามารถตัดสินใจตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ได้หรือไม่ว่า เหตุการณ์(ความเสียหาย)ที่เกิดขึ้นนั้น ใช่หรือไม่ใช่เหตุการณ์ใน 3 ข้อนั้น

และคณะกรรมการพวกมากลากไป ยังสามารถประกาศกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้อีก

  เหมือนเอาคนที่ไม่เคยดูฟุตบอลเลยว่าเขามีกฎกติกาอย่างไร มาเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันฟุตบอลโลก  มันย่อมเป็นการทำลายกฎ ระเบียบ กติกา มารยาท ตามมาตรฐานของกีฬาฟุตบอลไปโดยสิ้นเชิง

มาตรฐานทางการแพทย์ย่อมเสียหายแน่นอน อีกหน่อยหมอคงเลิกรักษา ผ่าตัด ทำคลอด เพราะกลัวกรรมการตัดสินให้ชดเชย แล้วประชาชนก็คงเกิดความสงสัย (เหมือนในกรณีสลายการชุมนุม) แล้วพอสภาวิชาชีพตัดสิน ก็ไม่เชื่อถืออีก  คือไม่เชื่อมาตรฐานจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ อีกหน่อยคงต้องกลับไปรักษากันเอง คลอดกับหมอตำแย เพราะในพ.ร.บ.นี้ไม่รวมหมอตำแยเข้าไปด้วย คงจะกล้าช่วยทำคลอดให้ได้ หรือต้องเอาเฮลิคอปเตอร์ไปรับเพื่อตระเวนไปหาหมอที่ยอมเสี่ยง(ที่จะถูกตัดสินอย่างไม่มีมาตรฐาน) ทำคลอดให้

3. การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการทางการแพทย์นั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ต้องแก้ปัญหาให้ได้ ว่าต้องมีการทำงานบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและคุ้มครองผู้ให้บริการที่ทำงานตามคุณภาพมาตรฐาน ตามมาตรา 80(2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550

 แต่ในปัจจุบันนี้ กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้บริหารจัดการให้การบริการทางการแพทย์มีมาตรฐาน มีประชาชนมารับบริการปีละ 200 ล้านครั้ง แต่มีแพทย์ปฏิบัติงานรักษาประชาชนเพียง 8,000 คน  (ที่เหลือเป็นแพทย์ผู้บริหารหรือเดินฉุยฉายอยู่ในกระทรวง)แพทย์ต้องรีบเร่งทำงานบริการรักษาประชาชน โดยหัวใจของความเป็นมนุษย์จนเหนื่อยล้า ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยวันละเป็น 100 ๆคน มีเวลาในการตรวจผู้ป่วย คนละ 2- 4 นาที มีเวลาทำงานสัปดาห์ละ 80-120 ชั่วโมง อดหลับอดนอน ทำงานทั้งกลางวันกลางคืน ก็เพราะแพทย์ส่วนใหญ่แล้ว มีหัวใจของความเป็นมนุษย์อันประเสริฐ ต่างก็ก้มหน้าก้มตาทำงานรับใช้ประชาชนไป ช่วยชีวิตคน เสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์ไป จนทนไม่ไหว ก็ลาออกไป คนที่ยังทนอยู่(หรืออยู่ทน) ก็ต้องรับภาระงานมากขึ้น เสี่ยงต่อความเสียหายของประชาชน แพทย์เสี่ยงต่อการฟ้องร้อง ถูกประณามหยามเหยียดจากสังคม

 แต่แทนที่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขจะช่วยแก้ปัญหาให้แพทย์ได้ทำงานอย่างมีมาตรฐาน กลับออกกฎหมายมาเพื่อลงโทษ ให้รับผิดชอบอยู่ฝ่ายเดียว แต่ผู้บริหารมองเงินกองทุนก้อนโต ที่จะได้เอามาหาผลประโยชน์ในคณะกรรมการ

ถ้าดูจากสถิติการขอรับเงินช่วยเหลือตามมาตรา 41 แห่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545พบว่า ในจำนวนประชาชนที่มารักษา 200 ล้านครั้งนี้มีการร้องเรียนขอค่าช่วยเหลือเบื้องต้นเพียง1,978 ราย คิดเป็นความเสียหายไม่ถึง0 .01 % คิดแล้วว่าอัตราความเสียหายน้อยกว่า อัตราตายจากอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเอดส์

 และเรื่องที่ร้องเรียนนั้นไม่ได้เกี่ยวกับมาตรฐานการให้การรักษาเท่านั้น ยังมีเรื่องการไม่ได้รับความสะดวก ไม่ได้รับบริการตามสิทธิ์ ถูกเรียกเก็บเงินโดยประชาชนคิดว่าตัวเองไม่ต้องจ่ายเงิน และร้องเรียนว่าไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ฉะนั้นโดยสรุปก็คือ การร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการรักษาอาจจะไม่ถึง 0.01% ด้วยซ้ำไ
และจังหวัดที่มีการร้องเรียนสูงสุดคือกทม. จังหวัดเดียวมีอัตราการร้อง
เรียนสูงถึง 61.9% เชียงใหม่อันดับ 2 มีการร้องรีเยน 8.4 % สระบุรี อันดับ 3 มีการร้องเรียน 7.1% ราชบุร๊ อันดับ 4 มีการร้องเรียน 5% และระยองอันดับ 5 มีการร้องเรียน 4.5 %

  ความเห็นของผู้เขียนทั้งหมดนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์ไทยตามเหตุผล และความเป็นจริง และคาดว่าจะเกิดความหายนะในมาตรฐานทางการแพทย์ไทยอย่างแน่นอน และหายนะนี้ ก็คงจะกระทบถึงประชาชนทุกคน เพราะคนทุกคนย่อมหนีกฎธรรมดา/ธรรมชาติในการต้องเผชิญ การเกิด แก่ เจ็บ ตายไป ไม่ได้ และการเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ย่อมต้องมีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ช่วยดูแลบ้างไม่มากก็น้อย ถ้ามาตรฐานการแพทย์ไทยล่มสลายลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว แพทย์ถูกลงโทษอย่างเดียว ก็คง ไม่มีใครอยากประกอบวิชาชีพนี้แล้ว 

แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ ก็เป็นมนุษย์ทั้งตัวและหัวใจ มิใช่เครื่องจักร จึงต้องการความรักและความเข้าใจเฉกเช่นมนุษย์คนอื่นๆเช่นเดียวกัน

 การที่ผู้เขียนเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นที่ไม่เห็นด้วยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ ก็เป็นความเห็นที่อ้างอิงหลักฐานและมีเหตุผล เพราะมองเห็นถึงความล่มสลายของระบบการแพทย์ที่มีความห่วงใยเอื้ออาทรต่อกันจะต้องล่มสลาย มาตรฐานการแพทย์ไทยจะไม่มีความหมายและไม่สารถพัฒนาได้อีกต่อไป เพราะคนดี คนเก่งจะท้อแท้และไม่อยากให้ลูกหลานมาเป็นหมอ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์อีกต่อไป เพราะการตัดสินที่ไม่ใช่อาศัยเหตุผลเชิงประจักษ์ตามหลักการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานในระดับสากล

 ส่วนการที่ใครจะสงสัยว่า ผู้เขียนอยากจะหาเสียง เพื่อมาเป็นกรรมการแพทยสภานั้น ก็มีสิทธิคิดได้ แต่ผู้เขียนเป็นพลเมืองอาวุโส ไม่ต้องทำงานมากก็พอมีเงินใช้ เพราะได้รับใช้ประชาชน ช่วยชีวิตผู้ป่วยให้รอดและเติบโตมาเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติหลายแสนคน ตลอดเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา จึงมีเวลาว่างมาก พยายามคิดหาถ้อยคำมาอธิบายแทนพี่น้องลูกหลาน และเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยหวังผลตอบแทนคือ ให้ประชาชนเข้าใจว่า ความเสียหายที่จะเกิดจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายที่จะผลักดันเข้าสภานั้น มีมากมายมหาศาลกว่า การคุ้มครองประชาชนประมาณ 0.01%
 อนึ่งสถิตินี้ ได้มาจากการบรรยายของ พ.อ.(พิเศษ)นพ.กิฎาพล วัฒนะกุล กรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขของสปสช. ที่บรรยายที่จังหวัดขอนแก่น

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เห็นด้วยกับ อ.เชิดชู อย่างยิ่ง