แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pradit

หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 22
256
คำพิพากษา-ศาลแพ่งจังหวัดตาก(3ธค2552)

ตัดสินให้จำเลยที่1กระทรวงสาธารณสุขจ่าย 2.4 ล้านบาท
เรื่องของผู้ป่วยเด็กเป็น  Herpes Encephalitis แพทย์ไม่ให้ยา Acyclovir ตั้งแต่เริ่มสงสัยว่าเป็น ถึงแม้จะช่วยชัวิตได้ แต่ขณะนี้เด็กเป็นคนพิการ นอนอย่างเดียวไม่สามารถพัฒนาได้

บางส่วนของคำพิพากษา

รองศาสตราจารย์นายแพทย์...เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 2 เป็นลูกศิษย์ และรับราชการสังกัดจำเลยที่1 ส่วนแพทย์หญิง...นายแพทย์... และแพทย์หญิง...ก็เคยเป็นผู้ร่วมงานกับจำเลยที่2มาก่อน และเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่1 จึงน่าเชื่อว่าพยานดังกล่าวจะเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยทั้งสอง พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง

ส่วนที่โจทก์ทั้งสองมีนายแพทย์...เบิกความว่าจากอาการของโจทก์ที่2 ที่มีอาการ...จึงมีเหตุให้สงสัยได้ว่าโจทก์ที่2 จะติดเชื้อไวรัสเริมในสมอง และตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า แพทย์เวรที่ร่วมรักษาโจทก์ที่2 ทำบันทึกไว้ในเอกสารประวัติการรักษาของโจทก์ที่2...ว่าสันนิษฐานว่า โจทก์ที่2น่าจะติดเชื้อไวรัสเริมในสมอง ตามหลักวิชาการทางการแพทย์ แพทย์ผู้รักษาจะต้องทำการเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจเพื่อหาเชื้อ แต่หากผลตรวจดังกล่าวล่าช้า แพทย์ผู้รักษาจะต้องให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสเริมในสมองไว้ก่อน

ดังนั้นเมื่อมีเหตุสงสัยว่าโจทก์ที่2ติดเชื้อไวรัสเริมในสมอง แม้เพียงเหตุสงสัยโดยไม่มีผลการตรวจที่บ่งชี้ชัดแจ้ง แพทย์ผู้รักษาก็จะต้องให้ยาฆ่าไวรัสในสมองทันที ปรากฎตามเอกสารทางวิชาการพร้อมด้วยคำแปล เอกสาร...ซึ่งเอกสารดังกล่าวก็ระบุว่า เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเริมในสมองต้องรักษาโดยเร็วปราศจากการรีรอ และให้ยา อะไซโคเวียร์ และยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด

และตามเอกสารทางวิชาการของสำนักวิชาการสาธารณสุข เอกสาร...ก็ระบุว่า ถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเริม ควรให้ยา Acyclovir ไปก่อนเพราะยามีผลข้างเคียงต่ำ ถ้าผู้ป่วยสมองอักเสบจากเริมจริง แต่ไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอันตราย และอัตราความพิการสูง หลังจากนั้นจึงทำการตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่...และบางครั้งก็พบผลปกติแม้ไม่มีการติดเชื้อจริง และการให้ยา Acyclovir ก็มีผลข้างเคียงต่ำ ตามเอกสารกำกับยา...

และตามเอกสารทางวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข เอกสาร...
และตามเอกสารทางวิชาการของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เอกสาร...ก็ระบุว่าให้ยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยทุกคนที่สงสัยว่าสมองอักเสบ โดยให้ยา Acyclovir ทางหลอดเลือดดำ ร่วมกับการรักษาเยื่อหุ้มสมองจากเชื้อแบคทีเรีย และริกเก็ตเชีย ตามความเหมาะสม

แต่จำเลยที่2 และแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทำการรักษาโจทก์ที่2โดยการให้ยากันชัก ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในสมอง ยาปฏิชีวนะโดยไม่ได้ให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสเริมในสมอง แก่โจทก์ที่2จึงไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เห็นว่านายแพทย์...ไม่เคยรู้จักกับคู่ความฝ่ายใด จึงถือว่าเป็นพยานคนกลาง

(ขอขอบคุณนายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์)

257
คำพิพากษา-ศาลจังหวัดยโสธร(29มค2553)

ตัดสินให้แพทย์ และโรงพยาบาลแพ้ จ่ายเงินให้โจทก์ 4 ล้านกว่าบาท
เรื่องของผู้ป่วยที่แพ้ยา Penicillin หมอให้ยากินกลุ่มอื่นแล้ว แผลที่เท้าไม่ดีขึ้น (เป็นเบาหวาน) จึงฉีดยา Chloramphenicol ผู้ป่วยแพ้ยา และเสียชีวิตในที่สุด

บางส่วนของคำพิพากษา

นาย...มีอาการแพ้อย่างรุนแรง เมื่อเวลา8.07น.ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ยาอะดรีนาลีน แก่นาย...เมื่อเวลา8.15น. หลังจากที่นาย...หยุดหายใจแล้วจึงช้ากว่าที่จะแก้ไข แม้จำเลยที่1 และพยาบาลจะช่วยกันพยายามช่วยเหลือโดยการปั้มหัวใจ แต่นาย...ก็ไม่ได้กลับมาเป็นปกติเหมือนเช่นก่อนที่จำเลยที่1จะทำการรักษา จนกระทั่งนาย...ถึงแก่ความตายดังกล่าว พฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่1ไม่ได้เอาใจใส่ ใช้ความระมัดระวังในการรักษานาย...เท่าที่ควร หากจำเลยที่1ตรึกตรองสักนิดว่า นาย...เคยแพ้ยาแบบรุนแรงมาก่อนควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ผลข้างเคียงสูง และเลือกให้ยารับประทานแทนการฉีด หากมีความจำเป็นหรือไม่แน่ใจควรจะให้แต่น้อย และเตรียมการแก้ไข ไม่ใช่ใช้ยาเพื่อหวังผลในการรักษาทันที การกระทำของจำเลยที่1 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์...โดยจำเลยที่2ในฐานะนายจ้าง หรือตัวการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย
...

กรณีของนาย...ซึ่งมีประวัติการแพ้ยารุนแรงมาก่อน จำเลยที่1 น่าจะเลือกวิธีรักษาโดยให้ยารับประทานจะเหมาะสมกว่า การที่จำเลยที่1สั่งให้พยาบาลฉีดยาดลอแรมเฟนิคอลเข้าหลอดเลือดดำของนาย...ซึ่งไม่มีความจำเป็น แม้จะหวังผลในการรักษาเพราะเห็นว่าเป็นยาที่ครอบคลุมเชื้อได้ดีกว่า แต่จำเลยที่1น่าจะเล็งเห็นผลได้ว่าการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ทำให้ยาเข้าสู่กระแสโลหิตเต็มที่ ยาออกฤกธิ์ได้รวดเร็วทันทีอาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงถึงตายได้ กรณีจึงถือว่าจำเลยที่1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการรักษานาย...เท่าที่ควร
ต่อมาหลังจากที่ได้ฉีดยาให้นาย...ประมาณ2นาที นาย...มีอาการกระวนวาย ชีพจรเต้นเร็ว หายใจไม่ออก ซึ่งเป็นลักษณะของอาการแพ้ยา กรณีดังกล่าวนี้นายแพทย์...เบิกความว่าแพทย์ต้องตรวจว่าที่ผู้ป่วยร้องกระสับกระส่าย มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น หลอดลมตีบ หรือต้องตรวจปอด และหัวใจว่าเต้นผิดปกติหรือไม่ เพื่อจะได้วิเคราะห์อาการที่เกิดขึ้น แต่ตามเวชระเบียนการรักษาไม่มีการบันทึกไว้
...
(ขอขอบคุณ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์)

258
สวัสดี “รอบรั้วการศึกษาฯ” ประจำวันที่ 17 มี.ค.วันนี้ขอติติงไปยัง “นพ.วิชัย โชควิวัฒน” ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในฐานะที่ท่านนั่งเก้าอี้ควบ 2 ตัวที่ต้องทำหน้าที่คัดคานซึ่งกันและกัน เพราะนอกจากจะนั่งเก้าอี้บริหาร อภ.แล้ว ท่านก็ยังนั่งเป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้วย พูดง่ายๆ คือ อภ.ทำหน้าที่ทดลองวัคซีนหวัด 2009 ในอาสาสมัครอยู่ แต่ท่านกลับไปมีชื่ออยู่ในคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เสียอย่างนั้น เรียกว่าคนทดลอง กับคนควบคุมมันคนคนเดียวกัน แล้วมันจะทำหน้าที่ได้อย่างไร
      
       คนแต่งตั้งก็ไม่ได้ดูให้ถี่ถ้วน แต่ตัว “หมอวิชัย”เองโดยสามัญสำนึกแล้ว ย่อมต้องรู้ดีว่าการนั่งเก้าอี้ 2 ตัวพร้อมกันย่อมไม่เหมาะสม และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะรับตำแหน่ง ก็ต้องดูว่า “หมอวิชัย” จะแสดงสปิริตต่อเรื่องนี้อย่างไร

259
คำกล่าวรายงานของศาสตรจารย์เกียรติคุณนพ.สมศักดิ์ โล่เลขา นายกแพทยสภา
กราบเรียน นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 กระผมในนามกรรมการและสมาชิกแพทยสภา มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาในวันนี้ ในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และยังดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษของแพทยสภาด้วย จึงนับได้ว่า ท่านเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งในการดำเนินงานของหน่วยงานทั้งสามได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และแพทยสภา
ก่อนที่จะมีการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕ กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทสำคัญที่สุดในการใช้อำนาจบริหารของรัฐบาลในการให้บริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณ มีบุคลากรในการดำเนินงาน และมีอำนาจสั่งการในการบริหารจัดการ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของภาครัฐโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งยังมีหน้าที่ดำเนินการใดๆก็ตาม เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ขจัดโรคติดต่ออันตราย  และภารกิจอื่นๆในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตรวจรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ ทั้งในส่วนของสาธารณะ และปัจเจกบุคคล โดยบุคลากรที่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุขนี้ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  ต่อมา รัฐบาลได้ตราพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ สำคัญคือมุ่งหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย  ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึงโดยพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯนี้ ได้กำหนดให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้น โดยให้กองทุนนี้ ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของประชาชน และให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ดูแลรักษากองทุน และจ่ายค่าบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้แก่โรงพยาบาลแทนประชาชน โดยให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้วางกฎระเบียบในการจ่ายเงิน ตามบทบัญญัติในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕
โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และการทำงานของคณะกรรมการอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีไม่สามารถสั่งการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ต้องทำตามมติของคณะกรรมการเท่านั้น
 จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุข ถูกแบ่งแยกเป็น ๒ หน่วยงาน คือกระทรวงสาธารณสุขมีบุคลากร แต่งบประมาณและอำนาจการสั่งการในการรักษาไปตกอยู่กับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอยากจะทำตามนโยบายอะไร ก็ต้องไปขอมติจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อยากได้งบประมาณอะไรก็ต้องไปขอจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ในส่วนของแพทยสภา ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้มีหน้าที่ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา ๗(๑) และให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ ตามมาตรา ๗(๕) ได้สังเกตเห็นว่า หลังจากการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕ แล้ว มีจำนวนแพทย์ลาออกจากราชการมากขึ้น(1) มีปัญหาการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น(2) ประชาชนร้องขอเงินช่วยเหลือเบื้องต้นมากขึ้น(3) รวมทั้งมีการนำคดีความไปฟ้องศาลมากขึ้น จนถึงกับมีการตัดสินให้มีการจำคุกแพทย์ในข้อหาฆ่าคนตายโดยประมาท เนื่องจากขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญี (4)ขาดแคลนจำนวนแพทย์ที่จะให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน  แพทย์ด้องทำงานหนัก มีชั่วโมงทำงานถึง สัปดาห์ละ ๑๒๐ ชั่วโมง แต่มีเวลาตรวจผู้ป่วยเพียงคนละ ๒-๔ นาที(5) ซึ่งทำให้ประชาชนเสี่ยงอันตรายจากความผิดพลาดเพราะแพทย์ไม่มีเวลาใช้ดุลพินิจอย่างเพียงพอในการรักษาผู้ป่วย
  นอกจากนั้น การที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช)เป็นผู้มีเงินงบประมาณ ทำให้สปสช. เป็นผู้ใช้อำนาจเงินในสั่งการในการให้บริการรักษาพยาบาลและการจ่ายเงินค่ารักษาประขาชน แก่โรงพยาบาล ทำให้บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขต้องตกอยู่ภายใต้ “การสั่งการ”ของผู้มีอำนาจ ๒ ฝ่าย คืออำนาจการบังคับบัญชาให้คุณให้โทษจากผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข และต้องทำตาม “คำสั่ง” ของสปสช.(6)ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้เงินค่าใช้จ่ายในการให้บริการรักษาประชาชนไปแล้ว
และประกาศหรือกฎเกณฑ์ของสปสช.บางอย่าง ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาตามแนวทางที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะโรคคิดว่าเหมาะสมที่สุด (เพราะถ้าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสั่งการรักษาที่ไม่เหมือนประกาศกำหนดของสปสช. โรงพยาบาลก็ไม่สามารถเบิกเงินค่ารักษาผู้ป่วยจากสปสาชได้)   เปรียบเหมือนกับว่าถ้าจะรักษาผู้ป่วยไปก็ต้องคลำกระเป๋าเงินไปด้วย แทนที่จะคิดหาวิธีการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ที่ดีที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
ยังมีปัญหาอีกมากมายเกี่ยวกับการฟ้องร้อง ทำให้แพทยสภาต้องทำงานการสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาการร้องเรียนการทำผิดมาตรฐานที่ดีที่สุดมากขึ้น จน ถึงกับต้องตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัว (7)
นอกจากนั้น อาจมีปัญหาอื่นๆอีกมากมายเกี่ยวกับการเงินในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
แต่สิ่งที่แพทยสภาเป็นห่วงมากอย่างหนึ่งก็คือ บุคลากรทางการแพทย์มีภาระงานมากเกินไป (8)ประชาชนมารับบริการมากเกินไปในขณะที่มีบุคลากรทางการแพทย์น้อย(9)  เป็นความเสี่ยงต่อความเสียหายต่อสุขภาพของประชาชนและบุคลากร(ขาดการพักผ่อน สุขภาพทรุดโทรม) และปัญหาการฟ้องร้อง รวมทั้งปัญหาการใช้งบประมาณด้านการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่ยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหายทั้งประชาชนและบุคลากร และเพิ่มภาระงบประมาณแผ่นดินมากขึ้นทุกปี(10)
  คณะกรรมการแพทยสภาจึงเห็นควรที่จะจัดสัมมนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในหลักประกันสุขภาพ การบริหารงบประมาณค่าใช้จ่ายในการให้หลักประกันสุขภาพ บุคลากรที่ต้องให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชน สภาวิชาชีพที่ต้องควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕๑ และรัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข และวัฒนธรรมตามมาตรา ๘๐(๒)และมาตรา ๘๒
 แพทยสภาหวังว่า การสัมมนาครั้งนี้ จะได้รับข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จากทั้งวิทยากร และผู้เข้าร่วมสัมมนา และน่าจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และระบบหลักประกันสุขภาพของประชาชนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญพ.ศ. ๒๕๕๐ดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง
(1)   สถิติแพทย์ลาออก สำนักงานปลัดกระทรวงสธ.
(2)   สถิติการฟ้องร้องแพทย แพทยสภา
(3)   สถิติการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(4)   ศาลตัดสินจำคุกแพทย์หญิง
(5)   ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข : งานวิจัยของพญ.ฉันทนา ผดุงทศและคณะ
(6)   คำสั่ง สปสช ที่สปสช.๑๘.๑๓/๐๐๒๗๐ ลว ๑๒มค.๒๕๕๓
(7)   คำสั่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมและอนุกรรมการสอบสวนของแพทยสภา
(8)   สถิติการใช้บริการทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
(9)   จำนวนบุคลากรแพทย์สธ.
(10)   งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่ขอเพิ่มทุกปี

แต่เนื่องจากสถานการณ์ด้านการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลโดยจะมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ทำให้นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ นายกรัฐมนตรี ได้ขอยกเลิกการมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา แทบจะเรียกว่าในวินาทีสุดท้าย คือเวลาประมาณเกือบ 19 นาฬิกาของวันที่ 11 มีนาคม 2553 พร้อมกับถามว่าเราจะเลื่อนการสัมมนาไปก่อนหรือไม่ แต่คณะอนุกรรมการจัดการสัมมนาก็ต้องดำเนินการต่อไป เพราะได้เตรียมพร้อมทุกสิ่งทุกอย่างไว้แล้ว โดยนายกแพทยสภามาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา และเลขาธิการแพทยสภาเป็นผู้กล่าวรายงานแทน

260
มีการพิมพ์เป็นเอกสารแจกผู้เข้าร่วมสัมมนา(12มีค) ทุกท่านแล้วครับ

261
รุมจวก สปสช.หมอปูด รพ.รัฐหลายแห่งขาดทุนยับเหตุสิทธิบัตรทองรัฐจ่ายเงินฝ่ายเดียวเสนอระบบจ่าย ร่วม คนรวยช่วยคนจน ด้าน สธ.เปิดตัวเลข รพ.ในสังกัดขาดทุน 175 แห่ง หนี้ท่วม 1.6 พันล้าน รัฐจ่ายจริงแค่ 200 ล้าน ด้าน สปสช.ยันบริหารจัดการได้ มีเงินเหลืออีก 4 หมื่นกว่าล้าน สำนักงบฯ ระบุงบสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
       
       เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา รองผู้อำนวยการด้านบริการตติยภูมิ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวภายในการสัมมนา “แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า : ปัญหา อุปสรรค สิ่งท้าทายในการพัฒนา ความสำเร็จและความเสี่ยง” ว่า ขณะนี้โรงพยาบาลรัฐหลายแห่งขาดทุน และกำลังจะล่มสลาย เพราะระบบการบริหารจัดการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่รัฐออกค่าใช้จ่ายเพียงฝ่ายเดียว จากเดิมเคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาทก็มีการสั่งยุตินโยบายทิ้ง ส่งผลให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนเกิน ทำให้โรงพยาบาลเกิดหนี้สิน ขณะที่กองทุน สปสช.กลับมีเงินเก็บในกองทุนอยู่ถึง 1-2 หมื่นล้านบาท จึงไม่เข้าใจ ว่าทำไมไม่นำเงินก้อนดังกล่าวมาขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น
   
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
       นพ.ศิริชัย กล่าวว่า ทางออกที่ดีที่ สุดต้องหันมาใช้การจ่ายร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท หรือ 50 บาท โดยเรียกเก็บในคนมีเงิน และรักษาฟรีในคนไม่มีความสามารถในการจ่าย รวมทั้งเด็กและคนชรา ซึ่งที่ผ่านมา โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เคยใช้วิธีนี้ โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท ในคนที่พอมีอันจะกิน ทำให้สามารถควบคุมจำนวนผู้ป่วยไม่ให้มากเกินไปได้ แต่สุดท้ายถูก สปสช.สั่งห้าม ทำให้ต้องหันมาใช้วิธีขอรับบริจาคแทน ไม่เช่นนั้นโรงพยาบาลอาจต้องปิด เพราะอยู่ไม่ได้
       
       ด้าน นพ.สมชัย นิจพานิช ผู้ตรวจราชการ สธ. กล่าวว่า สธ.ได้รวบรวมข้อมูล รายงานทางการเงินของโรงพยาบาลในสังกัด สธ.ปี 2552 พบว่า มีรายงานบัญชี 807 โรงพยาบาล แบ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีกำไรเป็นบวก 302 โรงพยาบาล ยอดรวมกำไรอยู่ที่ 4,329,218,538.79 บาท ส่วนโรงพยาบาลที่กระแสเงินสดสุทธิเป็นลบมีทั้งหมด 505 โรงพยาบาลยอดรวม 5,575,218,538.79 บาท แบ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีปัญหา แต่ยังบริหารจัดการได้จำนวน 330 โรงพยาบาล
       
       นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนโรงพยาบาลที่ขาดทุนและประสบปัญหาขาดสภาพคล่องมี 175 โรงพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลในพื้นที่ชายแดนมีปัญหาทางการเงินตามเกณฑ์จำนวน 7 โรงพยาบาล ขาดทุนเป็นเงินรวม 56,589,864.78 บาท โรงพยาบาลที่ไม่อยู่ในกลุ่มโรงพยาบาลชายแดนมีปัญหาการเงินตามเกณฑ์จำนวน 168 โรงพยาบาล ขาดทุนรวม 1,574,558,525.38 บาท โดยรัฐช่วยเหลือในส่วนนี้เพียง 200 ล้านบาทเท่านั้น
       
       ขณะที่ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า หลังจากจัดตั้ง สปสช.พบว่า แนวโน้มเงินสดคงเหลือของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวง ปีงบประมาณ 2545-2552 สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยปี พ.ศ.2552 มีเงินคงเหลือ 42,968 ล้านบาท จากปี 2545 มีเงินสดคงเหลือ 14,605 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเห็นได้ชัด ขณะที่หนี้สินของโรงพยาบาลเหล่านี้ปี 2552 พบประมาณ 16,000 กว่าล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อหักลบแล้วถือว่ายังสอดคล้องและรับมือได้อยู่ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนก็ลดลง โดยก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพในปี 2535-2544 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนเทียบกับรายได้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 8.17 แต่หลังมีระบบในปี 2545-2549 ลดลงเหลือร้อยละ 1.27 เท่านั้น
       
       ด้านนางชุมศรี พจนปรีชา รองผู้อำนวยการสำนักงบ ประมาณ กล่าวว่า งบประมาณทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมีจำนวนเพิ่มจาก 61,508.20 ล้านบาทในปี 2541 เป็น 178,042.10 ล้านบาท ในปี 2553 ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.89 เท่า อย่างไรก็ตาม อัตราการเพิ่มงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 1.90 ต่อปี ส่วนภายหลังมีระบบหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 12.46 ต่อปี ในขณะที่งบประมาณทั้งประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.37 และ 7.63 ต่อปีในช่วงก่อนและหลังมีระบบหลักประกันสุขภาพตามลำดับ
       
       นายสุกฤษฎ์ กิติศรีวรพันธุ์ ประธานชมรมนักกฎหมาย เพื่อความมั่นคง กล่าวว่า สปสช. มีโครงสร้างการบริหารที่แปลกประหลาดในสายตาของนักกฎหมาย เนื่องจากอยู่เหนือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แต่มีกฎหมายดูแลโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่ไม่สามารถควบคุมบริหารจัดการ โดยอำนาจทั้งหมดเป็นของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.)
       
       “แม้โครงสร้างของ สปสช.จะจัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการล้วงลูกของฝ่ายการเมือง แต่โดยหลักประชาธิปไตยควรมีการเกาะเกี่ยวของผู้บริหารด้วย เพราะหากปล่อยให้ สปสช.ดูแลกันเอง ในอนาคตจะต้องเกิดปัญหา โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณอย่างแน่นอน เห็นได้จากปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้เลขาธิการ สปสช.สามารถเซ็นอนุมัติใดๆ วงเงินถึงพันล้านบาท ซึ่งมากเกินไป” นายสุกฤษฎ์ กล่าว

262
มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิทยากร บางหัวข้อครับ
เชิญชวนสมาชิกเข้าร่วมการสัมมนาด้วย
ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ 02 590 1880-1 กด 5

263
รองเลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ระบุทั่วประเทศขาดแคลนยาเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์ หลังอย.ปรับระบบการจัดซื้อยาใหม่ เพื่อปลดล็อคบริษัทยาข้ามชาติ ล้มระบบผูกขาด  หวังให้คนไทยได้ใช้ยาดีในราคาถูก

เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขว่า พ.ต.นพ.ชาญฤทธิ์ ล้อทวีสวัสดิ์ รองเลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ  เพื่อสอบถามสถานการณ์ขาดแคลนยาเสพติดให้โทษ ประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 ที่ใช้ทางการแพทย์ พบว่าในปีที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนว่า โรงพยาบาลหลายแห่ง ไม่สามารถซื้อยาดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ได้ ทำให้ทางโรงพยาบาลเกิดปัญหาขาดแคลนยาที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งเป็นยาระงับความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด เช่น มอร์ฟีน เพทธิดีน เฟนทานิล โดยเฉพาะยาเฟนทานิลชนิดแผ่นแปะ สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ที่ไม่สามารถรับประทานยาได้ ซึ่งที่ผ่านมาทางอย.ใช้สิทธิพิเศษในการจัดซื้อ ทำการประมูล และจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศ โดยไม่มีการขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบคุณภาพ และเกิดปัญหาการขาดแคลนในที่สุด ทั้งนี้ทางแพทยสมาคมได้ทำหนังสือถึงอย.เพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริง ซึ่งทางอย. ก็ยอมรับว่า มีการขาดแคลนยาจริง ทั้งนี้ระบุว่าเป็นความผิดพลาดจากการที่โรงพยาบาลสั่งซื้อยาเป็นชื่อทางการค้า ควรสั่งเป็นชื่อสามัญทางยา

ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวยอมรับว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่อย.จัดระบบการขึ้นทะเบียนยาใหม่ รวมทั้งได้ปรับนโยบายเปิดรับยาสามัญที่มีคุณภาพ เข้าร่วมแข่งขันเสนอราคา เพื่อทำให้คนไทยได้ใช้ยาที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ซึ่งหลังจากปรับระบบแล้วพบว่า ยาที่ประมูลได้มีราคาถูกลงถึงร้อยละ 20-37 แต่ยอมรับการปรับระบบใหม่นี้ ทำให้หลายฝ่ายได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามทางอย.ยังคงจะเดินหน้าปลดล็อคเพื่อล้มระบบผูกขาดยาโดยบริษัท ข้ามชาติต่อไป ทั้งนี้หากทำสำเร็จจะทำให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงยา และมีโอกาสใช้ยาดีในราคาที่ถูกลงด้วย

264
เพื่อนๆที่ภาคเหนือเป็นอย่างไรบ้าง
ในโรงพยาบาลมีหมอกควันให้เห็นหรือเปล่า.....
โดนหมอกควันรบกวนบ้างไหม.....

265
“สิทธิ แพทย์” คือ สิทธิ์ของแพทย์โดยชอบธรรมที่จะได้รับการดูแลตั้งแต่ในเรื่องของสภาพความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต สภาพการทำงานและความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับแพทย์ (จากบทความ-สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ-นายแพทย์สยาม พิเชฐสินธุ์)

คำถาม ก็คือ ทำไมจะต้องมี มีไปทำไม.............
เรามีสิทธิ ของการเป็นพลเมืองไทย (สิทธิตามรัฐธรรมนูญ)
เรามีสิทธิ ของการเป็นข้าราชการ (สิทธิตามกพ.)
ถ้าจะบอกว่าไม่เห็นจะต้องมีสิทธิแพทย์เลย ลองแสดงความคิดเห็นกันดูว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย

ถ้าเราจะเรียกร้องสิทธิแพทย์ เราจะเอาอะไร ไปอ้างว่าเราควรมีสิทธิ ก็วิชาชีพอื่นๆก็ไม่เห็นมีสิทธิเฉพาะของวิชาชีพนั้นๆเลย
ไม่เคยเห็นครูเรียกร้องสิทธิครู ไม่เคยเห็นตำรวจเรียกร้องสิทธิตำรวจ
ไม่เคยเห็นวิศวกรเรียกร้องสิทธิวิศวกร ไม่เคยเห็น...เรียกร้องสิทธิ...อีกเยอะแยะ

เราควรเรียกร้องสิทธิแพทย์ หรือควรเรียกร้องอะไรกัน?

266
หนังสือเชิญเข้าร่วมสัมมนา จากแพทยสภาออกมาแล้วครับ ผมเพิ่งได้รับวันนี้เอง

ใจความสำคัญ

แพทยสภาจึงขอเรีัยนท่าน หรือผู้แทน/แพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ ข้าราชการในสังกัดหน่วยงานท่าน เข้าร่วมสัมมนาในวันที่ 12มีนาคม 2553 เวลา08.30-16.30 น.ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร ชั้น 9 อาคาร 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ถือเป็นวันลา และสามารถเบิกค่าพาหนะ/ค่าที่พัก/ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าใช้จ่ายต่างๆจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบราชการ

267
วันที่ 12 มีค นี้ แพทยสภาจัดสัมมนา แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผมดูหัวข้อการสัมนาแล้วน่าสนใจดี (แต่จะเกิดมรรคผลอะไรหรือเปล่าก็ไม่รู้)

ชวนเืพื่อนๆ(คนฉลาดๆแต่ไม่มีอำนาจ)ไปร่วมการสัมมนาครั้งนี้ด้วย ไปช่วยกันบอกเล่าประสบการณ์ และเสนอความคิดเห็น
เผื่อผู้มีอำนาจ(แต่ไม่....)จะทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองจริงๆ เปลี่ยนแปลงอะไรๆให้มันดีขึ้นบ้าง

268
....................ต่อจากตอนที่4
7.สาเหตุจากปัจจัยเสริมอื่นๆ ได้แก่
 
7.1 ผู้บริหารโรงพยาบาลบางคนขาดวิสัยทัศน์ในการบริหารหรือบริหารแบบรวบอำนาจ ไม่รับฟังความคิดเห็นของแพทย์ด้วยกัน หาผลประโยชน์จากโรงพยาบาลมาใส่ตนเอง ทำให้แพทย์ที่ตั้งใจทำงานรับไม่ได้
 
7.2 ปัญหาในเรื่องพนักงานของรัฐ พนักงานของรัฐมีความแตกต่างกับข้าราชการค่อนข้างมากในเรื่องของความมั่นคงใน  วิชาชีพ เพราะต้องถูกประเมินทุกปี (ทำให้บางครั้งไม่กล้าเสนอความคิดเห็น หรือเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นได้ เพราะอาจไปขัดใจผู้บังคับบัญชาได้) อำนาจในการสั่งการโดยตรงต่อข้าราชการก็ทำได้ไม่เต็มที่ กฎ ระเบียบต่างๆก็ยังไม่พร้อม ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่ที่เป็นพนักงานของรัฐรู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพการทำงาน
 
7.3 กฎหมายต่างๆที่ออกมาบังคับใช้กับแพทย์ เช่น
 
พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
พร บ.ยา (โดยเฉพาะมาตราที่ห้ามแพทย์ รวมถึงทันตแพทย์ สัตวแพทย์ จ่ายยาที่คลินิก แต่กลับไม่ห้ามร้านขายยาที่ขายยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ เหมือนกับมี double standard ซึ่งถ้าต้องการให้เป็นมาตรฐานสากล ก็ควรห้ามเภสัชกรขายยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ด้วย มิเช่นนั้นอาจทำให้ดูเหมือนมีเงื่อนงำซ่อนอยู่ พบว่าใน สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แพทย์สามารถตรวจ วินิจฉัย และจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยได้ที่คลินิก และร้านขายยาห้ามขายยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ )
 
กฎหมายชันสูตร (โดยเฉพาะถ้าต้องไปชันสูตรในพื้นที่ที่เป็นป่าเขา หุบเหว หรือที่ห่างไกลความเจริญ และถ้าเป็นในเวลากลางคืน ทำให้เป็นห่วงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแพทย์ โดยเฉพาะถ้าเป็นแพทย์ผู้หญิง นอกจากนั้นยังเบียดบังเวลาที่จะไปดูแลผู้ป่วยที่รอตรวจและผู้ป่วยฉุกเฉินอีก  ด้วย)
 
ซึ่งกฎหมายต่างๆที่ออกมาบังคับใช้กับแพทย์ ส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ที่ร่างกฎหมายแทบจะไม่มีส่วนในการถูกบังคับใช้กฎหมาย แต่แพทย์เกือบทั้งหมดที่ไม่ได้มีส่วนรับรู้มาก่อน กลับต้องมาถูกบังคับใช้โดยคนเพียงไม่กี่คน ไม่เคยมีการสอบถามความคิดเห็นหรือประชาพิจารณ์โดยแพทย์มาก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นมุมมองของรัฐกับแพทย์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ
 
7.4 จากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีส่วนทำให้
 
7.4.1 โรงพยาบาลบางแห่ง มีเงินบำรุงลดลง ทำให้การรับแพทย์เฉพาะทางเข้ามาช่วยงานและดูแลผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นเป็น  ไปไม่ได้ หรือเป็นไปได้ยาก (เพราะเงินเดือนที่จะต้องจ่ายให้แพทย์รวม อยู่ในงบรายหัวของประชากร ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่รับจากกระทรวงการคลัง) ซึ่งมีผลทำให้แพทย์ที่มีอยู่เดิมทำงานหนักเกินไป จนมีการลาออกกันอย่างมาก และจากการที่มีเงินบำรุงลดลง พบว่า
 
โรงพยาบาลบางแห่งได้ตัดค่าเวรของ แพทย์ (รวมข้าราชการส่วนอื่นด้วย) บางแห่งตัดถึง 20-25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่าเวรของแพทย์ที่รับราชการก็ต่ำอยู่แล้ว ทำให้แพทย์ที่ต้องพบกับสภาพเช่นนี้หรือแพทย์ที่ได้ทราบข่าวหมดกำลังใจในการ ทำงาน ทั้งๆที่แพทย์ไม่ได้มีส่วนผิดเลยแม้แต่น้อย
 
7.4.2 ผู้ป่วยมีความคาดหวังกับรักษาสูงมากขึ้น มีการฟ้องร้องมากขึ้น ทั้งๆที่ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค แพทย์ก็รักษาผู้ป่วยเหมือนเดิม ไม่แตกต่างกัน ตามกำลัง ความรู้ความสามารถ และเงินบำรุงที่มีในโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยและรัฐกลับลืมคำว่า “ไม่มีของดี ราคาถูก บนโลกใบนี้ ”
 
และผู้ป่วยส่วนหนึ่งคิดว่าแพทย์จะต้องรักษา ให้ได้ทุกอย่าง โดยที่ไม่ยอมดูแลสุขภาพตนเองเลย ยังดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน ไม่ออกกำลังกาย นอกจากนั้นยังมีเรื่องของอุบัติเหตุต่างๆ เมาแล้วขับ ทะเลาะวิวาท ซึ่งสาเหตุต่างๆเหล่านี้อาจทำให้การรักษาไม่เป็นไปดังความคาดหวัง ของผู้ป่วยและแพทย์ และผู้ป่วยบางคนไม่เข้าใจและต่อว่าหรือฟ้องร้องแพทย์ โดยที่ลืมไปว่าโรคภัยต่างๆที่เกิดขึ้นก็ล้วนแต่ทำตัวเองทั้งสิ้น
 
7.4.3 ภายหลังจากที่มีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค รัฐเอาใจใส่ ดูแลห่วงใยผู้รับบริการมากเป็นพิเศษ แต่รัฐกลับลืมฟันเฟืองตัวที่สำคัญที่สุดในระบบสาธารณสุข นั่นคือ ผู้ให้บริการ โดยเฉพาะแพทย์ รัฐขาดความเอาใจใส่ ดูแลแพทย์ด้วยความจริงใจ รัฐดูแลแพทย์เหมือนข้าราชการธรรมดาทั่วไป ซึ่งคงไม่ผิด ถ้าแพทย์ไม่ได้รับผิดชอบชีวิตเพื่อนมนุษย์
 
รัฐได้เพิ่มงานต่างๆให้ กับแพทย์ที่รับราชการ เช่น งานออกหน่วยปฐมภูมิ โดยที่แพทย์เกือบทั้งหมด ไม่ได้มีความต้องการที่จะทำ ซึ่งเป็นการใช้คนไม่ตรงกับงาน และงานในโรงพยาบาลก็มีมากพออยู่แล้ว และถ้ามองลึกลงไปในหน่วยงานราชการต่างๆของรัฐ จะพบว่าหน่วยงานที่มีภาคเอกชนให้การบริการคู่กับภาครัฐ นอกจากหน่วยงานการศึกษาแล้ว ก็ยังมีหน่วยงานทางสาธารณสุขนั่นเอง ซึ่งถ้ารัฐไม่ดูแลแพทย์ในระบบราชการให้ดีแล้ว ก็เหมือนเป็นการบังคับให้ย้ายไปอยู่ในภาคเอกชน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริการทางสาธารณสุขในภาครัฐ และ ก็ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐได้ไล่ ผู้ป่วยให้ไปสู่ระบบเอกชนโดยอ้อมนั่นเอง

8.   จากบทความทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทำให้มีการพูดถึง “สิทธิแพทย์” ซึ่งสิทธิแพทย์นี้ไม่ได้เป็นการต่อต้านหรือขัดแย้งกับสิทธิผู้ป่วย แต่เป็นการเสริมให้สิทธิผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น
 
“สิทธิ แพทย์” คือ สิทธิ์ของแพทย์โดยชอบธรรมที่จะได้รับการดูแลตั้งแต่ในเรื่องของสภาพความเป็น  อยู่ คุณภาพชีวิต สภาพการทำงานและความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับแพทย์ นั่นก็คือ การกำหนดเรื่องของเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เป็นธรรม กำหนดชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจ การป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับแพทย์และช่วยเหลือเมื่อมีความ เสี่ยงเกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งแพทย์ทุกคนมุ่งหวังที่จะให้มีสิทธิแพทย์เกิดขึ้น เพื่อผู้ป่วยและสิทธิผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและปฏิบัติอย่างดีที่สุด
 
สุด ท้ายผู้เขียนยังเชื่อในมาตรฐาน คุณภาพ และจรรยาบรรณของแพทย์ส่วนใหญ่ ที่เสียสละทำงานเพื่อผู้ป่วยทั้งกายและใจ ถึงแม้ว่าจะได้เงินเดือนหรือค่าตอบแทนน้อยเพียงใดก็ตาม และยังต้องแลกกับความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดตามมาด้วย เวลามีผลกระทบต่างๆเกิดขึ้นกับแพทย์ แพทย์ไม่เคยรวมกลุ่มกันประท้วงหยุดงาน ไม่เคยปฏิเสธผู้ป่วยเหมือนในบางประเทศ นั่นก็แสดงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยและสังคมของแพทย์ แต่แพทย์ส่วนใหญ่จะใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะตัว เช่น ลาออกจากราชการหรือเลิกอาชีพแพทย์
 
จึงหวังว่าทางภาครัฐคงจะรับรู้ และเข้าใจความรู้สึกของแพทย์ แพทย์ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจะได้หาทางออกร่วมกันในอันที่จะรักษาจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ในภาคราชการ ให้อยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุขและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนที่ยากไร้ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
 
ตัวผู้เขียนเองก็ยังมีความเสียใจจนถึงปัจจุบัน ที่ได้ลาออกจากระบบราชการ แต่เพราะผู้บริหารไม่อนุมัติให้ย้ายมายังโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อกลับ มาดูแลครอบครัว ทำให้มีความจำเป็นต้องลาออกจากราชการ แต่ก็หวังว่าสักวันหนึ่งคงจะได้กลับเข้ารับราชการอีกตามที่ใจต้องการ
 
และ อยากจะขอให้แพทย์ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บริหารทุกท่าน ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว (หรือทำแต่น้อยมาก) หรือไม่ได้อยู่เวรต่างๆนอกเวลาราชการ ได้โปรดอย่าลืมสิ่งที่พวกท่านเคยผ่านมาตั้งแต่สมัยเป็นแพทย์จบใหม่ งานที่หนัก ค่าตอบแทนที่ต่ำ และที่สำคัญคือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของวิชาชีพแพทย์ ได้โปรดอย่าให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่แพทย์มาทำลายความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง มาทำลาย SENIORITY ของพวกเรา
 
และถ้าจะออกกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ มาใช้กับแพทย์ส่วนใหญ่ที่ยังประกอบวิชาชีพเวชกรรมอยู่ ก็ขอให้ได้สอบถามความเห็นของแพทย์หรือมีการทำประชาพิจารณ์โดยแพทย์ส่วนใหญ่ เสียก่อน
 
ซึ่งผลประโยชน์สุดท้ายจากการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับ แพทย์ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานก็จะเกิดกับประชาชนในที่สุด และผู้เขียนคิดว่าคงจะสายเกินแก้แน่ ถ้าทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจังและแก้ปัญหาด้วยความจริงใจ ตั้งแต่บัดนี้

.....................จบแล้วครับสำหรับบทความของนายแพทย์สยาม พิเชฐสินธุ์ (เขียนไว้ตัี้้แต่ปี2546)

269
.................ต่อจากตอนที่3
5.   สาเหตุจากแพทย์ต้องการความก้าวหน้าทางการศึกษาต่อเนื่อง
 
โดย ส่วนใหญ่หลังจากแพทย์ใช้ทุนหมดพันธะการใช้ทุนกับรัฐแล้ว แพทย์ใช้ทุนบางส่วนจะเอาทุนจากรัฐไปศึกษาต่อเฉพาะทาง เพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่อไป (เกือบทั้งหมดจะเป็นทุนของโรงพยาบาลจังหวัด) บางส่วนก็จะลาออกจากราชการเพื่อไปสมัครศึกษาต่อเฉพาะทางเอง
(free training) ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก
 
แต่ ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาจะพบว่ามีการลาออกของแพทย์ใช้ทุนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทางกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้กำหนดทุนให้กับโรงพยาบาลต่างๆที่ เป็นของรัฐ ได้จัดสรรทุนโดยเน้นไปยังแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อสนองนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค และได้ลดจำนวนทุนแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นลงไปอย่างมาก
 
ซึ่งการจัดสรร ดังกล่าวไม่ตอบสนองต่อความต้องการของแพทย์ใช้ทุนส่วนใหญ่ซึ่งต้องการศึกษา ต่อเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่าเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จึงทำให้มีการลาออกของแพทย์ใช้ทุนเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากมีการเพิ่มขึ้นของการศึกษาต่อแบบ free training อย่างมากในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ
 
ซึ่งผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการ ที่รัฐคิดอยู่ฝ่ายเดียว ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆคือรัฐเป็นผู้กำหนดนโยบาย โดยไม่ปรึกษาหรือสอบถามความต้องการศึกษาต่อของแพทย์ใช้ทุน และคาดว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอีก 4-5 ปีข้างหน้า คือ ผู้ป่วยที่จะมารักษาต่อกับแพทย์เฉพาะทางจะต้องเข้าคิวรอนานขึ้นอย่างมาก เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางจะมีจำนวนลดลง แต่ความต้องการของผู้ป่วยที่จะมาพบแพทย์เฉพาะทางจะมีจำนวนมากขึ้น
 
ส่วน แพทย์เฉพาะทางที่จบแบบ free training และต้องการที่จะกลับเข้ารับราชการอีกก็ค่อนข้างลำบาก เพราะเลขที่ตำแหน่งของข้าราชการจะมีจำนวนลดน้อยลง ถึงแม้จะมีก็อาจจะไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลที่ต้องการ ทำให้พอมองเห็นภาพในอนาคตว่าคงจะเกิดวิกฤติขึ้นแน่
 
กระทรวงสาธารณสุข ควรจะเปิดศูนย์ศึกษาต่อเนื่องของแพทย์เฉพาะทาง (ให้แยกจำนวนทุนที่จัดสรรออกมาจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว) เพื่อให้แพทย์ใช้ทุนได้มาแจ้งความจำนงเกี่ยวกับสาขาและโรงพยาบาลที่ต้องการ แล้วจึงประสานงานกับโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจึงจัดสรรทุนออกมา ซึ่งจะทำให้แพทย์ใช้ทุนลาออกจากราชการน้อยลงอย่างมาก และกระทรวงสาธารณสุขควรจะเปิดตำแหน่งข้าราชการไว้พอสมควร ให้กับโรงพยาบาลที่ขอตำแหน่งสำหรับแพทย์ที่ต้องการจะกลับเข้ามารับราชการอีกครั้ง

6. สาเหตุจากคำสั่งให้ย้ายไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัด (มักพบในแพทย์ที่สังกัดกระทรวงกลาโหม)
 
ส่วนใหญ่มักจะต้องย้ายเพื่อไปติดยศ หรือย้ายหลังจากจบแพทย์เฉพาะทางซึ่งได้ทุนจากกองทัพ ทำให้แพทย์ที่มีครอบครัวหรือมีที่ทำงานนอกเวลาราชการลงตัวแล้ว มีความจำเป็นต้องลาออก บางกองทัพมีแพทย์ลาออกถึงปีละประมาณ 20-40 คน นอกจากนั้นยังพบได้ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้ทุนเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางแบบทุนส่วนกลางซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้กำหนดโรงพยาบาลที่จะต้องไปปฏิบัติงานให้เอง
.......................จบตอนที่4

270
....................ต่อจากตอนที่2
4.   สาเหตุเนื่องจากความเสี่ยงในวิชาชีพมีมากขึ้น ได้แก่
 
4.1 ความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้อง ในปัจจุบันผู้ป่วยมีการฟ้องร้องเกี่ยวกับการรักษาของแพทย์เพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่โดยเกือบจะทั้งหมดจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยต่างๆในการรักษา หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการรักษาซึ่งพบได้ในตำรารักษาโรค โดยที่ปัญหาต่างๆเหล่านี้ไม่มีแพทย์คนใดต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุของความเสี่ยงในการฟ้องร้อง ได้แก่
 
4.1.1 แพทย์มีเวลาดูแลรักษาผู้ป่วยน้อยลง เพราะจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐมีจำนวนมากขึ้น ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่ต้องตรวจผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นตั้งแต่ 50-100 คนต่อแพทย์หนึ่งคนต่อวัน ในการตรวจและอธิบายถึงสาเหตุของโรค วิธีการรักษา ผลของการรักษา และภาวะแทรกซ้อนของการรักษาให้ผู้ป่วยเข้าใจ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15-20 นาที ขึ้นไปต่อผู้ป่วยหนึ่งคน (ซึ่งจะมีส่วนทำให้การฟ้องร้องลดน้อยลง) เพราะฉะนั้น ถ้าทำงานโดยไม่หยุดพักเลยใน 1 วันทำการ แพทย์จะรักษาผู้ป่วยได้ไม่เกิน 30 คนต่อวัน
 
แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้ที่แพทย์จะทำเช่นนั้น เพราะจะมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ต้องรอตรวจ จึงทำให้เกิดคำพูดที่ว่า “ตรวจผู้ป่วยมากถูกฟ้องมาก ตรวจผู้ป่วยน้อยถูกฟ้องน้อย ทำงานมากถูกฟ้องมาก ทำงานน้อยถูกฟ้องน้อย”
 
4.1.2 ผู้ป่วยมีความคาดหวังในการรักษาสูง ผู้ป่วยส่วนมากเข้าใจว่า เวลามาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา จะต้องได้รับการวินิจฉัยหรือการรักษาที่ถูกต้อง ต้องรักษาหายและไม่มีภาวะแทรกซ้อน แม้ว่าแพทย์จะได้อธิบายถึงความเสี่ยงของการรักษา (morbidity and mortality) แล้ว แต่บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่เข้าใจหรือไม่พยายามเข้าใจ
 
ใน ความจริงของการรักษาโรคนั้น อาการบางอาการหรือโรคบางโรคจะมีลักษณะที่คล้ายหรือใกล้เคียงกัน ทำให้ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค หรือบางครั้งต้องรอดูอาการของโรคเพื่อหาคำตอบสุดท้าย
 
ซึ่งถ้าหาก ผู้ป่วยไม่เข้าใจคิดว่าแพทย์ที่ตนเองกำลังรักษาอยู่นั้นไม่เก่ง ก็จะย้ายโรงพยาบาลไปหาแพทย์คนอื่น ซึ่งก็อาจจะต้องตรวจหรือดูอาการต่อไปอีก และผู้ป่วยก็อาจจะย้ายไปอีกจนถึงแพทย์คนสุดท้าย ซึ่งก็อาจจะวินิจฉัยโรคได้เพราะได้ข้อมูลมาพร้อม ผู้ป่วยแสดงอาการของโรคที่ชัดเจนขึ้นจนตัดโรคอื่นๆได้หมด ถ้ารักษาจนหายก็อาจจะไม่มีเรื่อง (หรือแพทย์คนแรกๆอาจถูกต่อว่าหรือตำหนิได้) แต่ถ้ารักษาไม่หายหรือเสียชีวิต แพทย์ที่รักษาคนแรกก็อาจจะถูกฟ้องได้ว่ารักษาโดยไม่รอบคอบหรือประมาท ทั้งๆที่แพทย์คนแรกอาจจะเก่งและดูแลผู้ป่วยดี แต่เนื่องจากเป็นโรคที่ยากทำให้ต้องใช้เวลาในการวินิจฉัยหรือเป็นโรคที่มี ความเสี่ยงในการรักษาสูง ซึ่งลักษณะเช่นนี้พบได้อยู่บ่อยๆ จนหลายครั้งทำให้แพทย์หมดกำลังใจในการรักษาได้
 
4.1.3 ความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยและสังคมของแพทย์ โรคบางโรคมีความซับซ้อน มีความเสี่ยงและค่อนข้างยากต่อการรักษาหรือการผ่าตัด ถ้าแพทย์ทุกคนหรือแพทย์ส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะรักษาหรือกลัวที่จะถูกฟ้องร้อง ถ้าผลของการรักษาของแพทย์ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติ แพทย์จึงส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงเรียนแพทย์แทน ผู้ป่วยก็จะได้รับผลกระทบ ที่แน่นอนก็คือ จะได้รับการรักษาที่ช้าลง เนื่องจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะรับผู้ป่วยไว้รักษาเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องคอยคิวนานขึ้นในการรักษา อาการหรือความรุนแรงของโรคก็จะลุกลามมากขึ้น จนบางครั้งอาจช้าไปหรือเสียโอกาสในการรักษา ทั้งๆที่การรักษาอาจทำได้เหมือนกันในโรงพยาบาลทั่วไป แต่การรักษาก็ย่อมมีความเสี่ยง แพทย์ที่ทำการรักษาบางครั้งเหมือนยอมแบกรับความเสี่ยงด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสในการรักษาที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งถ้าผู้ป่วยและญาติไม่เข้าใจ และถ้ามีปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนในการรักษาเกิดขึ้นมา แพทย์ก็อาจจะถูกฟ้องร้องได้ว่าไม่ยอมส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ขนาดใหญ่หรือรักษาโดยประมาท นอกจากนั้น การเดินทางเข้าโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงเรียนแพทย์ ก็ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการไปเยี่ยมไปเฝ้า ทำให้ต้องสูญเสียเงินทองตามมาอีกเป็นจำนวนมาก
 
นอกจากนั้น โรคบางโรคอาจต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ หรือการตรวจทางรังสีเพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ตามตำราที่แพทย์ได้ศึกษามา (มักจะเป็นตำราต่างประเทศ) ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูง แพทย์ส่วนใหญ่มีความเข้าใจถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวย ต้องนำเข้าเทคโนโลยีในการรักษาเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในบางครั้งแพทย์ก็ตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจทางรังสีไม่ครบ ตามตำราที่ได้ศึกษา (ตรวจตามความจำเป็น ไม่ใช่เป็นการประมาท) เนื่องมาจากงบประมาณอันมีจำกัด ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ถ้าผู้ป่วยไม่เข้าใจและเอาข้ออ้างต่างๆเหล่านี้มาฟ้องร้องแพทย์ ต่อไปแพทย์ก็คงจะต้องตรวจและอธิบายผู้ป่วยอย่างละเอียด ส่งผู้ป่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการและทางรังสีทุกอย่างที่มีในตำรา จนบางครั้งอาจกลายเป็นการส่งตรวจเพื่อป้องกันตนเองในกรณีที่มีการฟ้องร้อง (protective medicine) ซึ่งแน่นอนจะทำให้ผู้ป่วยต้องรอคอยการรักษาที่ นานขึ้น (แพทย์ตรวจได้ไม่เกินวันละ 30 คน) และจะทำให้งบประมาณของระบบสาธารณสุขไทยจะต้องเพิ่มขึ้นและบานปลายมากกว่า ปัจจุบันอีกหลายเท่าตัว ซึ่งคงไม่มีรัฐบาลไหนอยากเจอสภาพเช่นนี้
 
4.1.4 การทำงานนอกเวลาราชการ (โดยเฉพาะหลังเที่ยงคืน) แพทย์ซึ่งทำงานมาแล้วทั้งวันในเวลาราชการ จะมีความอ่อนล้า อิดโรย การทำงานของสมองและการตัดสินใจเริ่มเฉื่อยลง แต่ผู้ป่วยที่มีอาการ หนักมักจะมาตอนกลางคืน ทำให้การรักษาอาจผิดพลาดได้ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ แต่เกิดจากความไม่พร้อมของร่างกายและจิตใจของแพทย์ ซึ่งมีเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ
 
4.1.5 การขาดประสบการณ์ของแพทย์ใช้ทุนที่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายจัดส่งแพทย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาไปทำงานในจังหวัด ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วย ซึ่งเรียกว่าไปเป็นแพทย์ใช้ทุน แต่ประชาชนทั่วไปกลับเข้าใจว่าแพทย์ที่ส่งไปนั้นมีความสามารถรอบด้าน
 
ซึ่ง ในความเป็นจริงถึงแม้ว่าน้องๆแพทย์ใช้ทุนเหล่านี้จะจบแพทย์แล้ว แต่ยังขาดประสบการณ์ในการวิเคราะห์และรักษาโรค โดยเฉพาะในการทำหัตถการต่างๆ ทำให้เหมือนกับว่าส่งน้องๆแพทย์ใช้ทุนไปขึ้นเขียงรอวันผิดพลาด และอย่างที่ทราบว่าในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีความคาดหวังสูง ถ้าแพทย์ทำผิดพลาดเมื่อใด ก็จะต้องถูกฟ้องร้อง แม้ว่าจะเกิดจากสาเหตุสุดวิสัยหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆก็ตาม และที่สำคัญก็คือ การขาดประสบการณ์ในการดูแลและรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยเฉพาะภาวะฉุกเฉินในเรื่องการคลอด ซึ่งมารดาที่มาคลอดและญาติมาโรงพยาบาลด้วยความหวังที่จะมีสมาชิกใหม่เกิด ขึ้น ถ้าเกิดภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวกับการคลอดในการดูแลของแพทย์ใช้ทุน แล้วมีการสูญเสียขึ้น เรื่องคงจะไม่จบง่ายๆ ซึ่งพบได้เรื่อยๆ
 
ดังนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขจึงควรปรึกษากับโรงเรียนแพทย์ให้เน้นในเรื่องภาว ะฉุกเฉินต่างๆก่อนที่จะจบการศึกษาประมาณ 1 เดือน และถ้าเป็นไปได้ให้ทุกคนอยู่ในโรงพยาบาลจังหวัด 1-2 เดือนก่อนที่จะส่งไปโรงพยาบาลชุมชน เพื่อเสริมทักษะในหัตถการต่างๆให้แน่น ความเสี่ยงต่างๆจะได้ลดลง (เนื่องจากพบว่า การฟ้องร้องแพทย์ใช้ทุนจะพบบ่อยที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เพราะเป็นช่วงที่แพทย์ใช้ทุนเริ่มไปทำงาน)
 
และกระทรวงสาธารณสุขควร ยอมรับความจริงและบอกกับประชาชนว่าแพทย์ใช้ทุนเหล่า นี้เป็นผู้เสียสละมาทำงานในชุมชน แต่ยังขาดประสบการณ์ จึงควรจะมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ซึ่งถ้าแพทย์ใช้ทุนเหล่านี้ลาออก ก็คงจะไม่มีแพทย์มาทำงานในโรงพยาบาลชุมชน
 
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เกี่ยวกับการฟ้องร้องแพทย์นั้น นอกจากแพทย์อาจจะต้องเสียเงิน เสียเวลา เสียชื่อเสียง ผลกระทบที่สำคัญที่สุดคือด้านจิตใจ แพทย์บางคนรักษาผู้ป่วยมาตลอดชีวิต ดูแลผู้ป่วยให้หายเป็นพันเป็นหมื่นคน แต่กลับมาถูกฟ้องร้องในเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจหรือเป็นเหตุสุดวิสัยที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้แพทย์หลายคนลาออกจากระบบราชการ เพราะไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ถูกฟ้องได้ มาอยู่ระบบเอกชนดีกว่า เพราะงานเบากว่า (หรืออาจจะพอๆกัน) แต่รายได้ดีกว่ามาก แพทย์บางคนถึงกับเลิกอาชีพแพทย์ไปประกอบอาชีพอื่น เช่น ไปประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือธุรกิจขายตรงต่างๆ เป็นตัวแทนขายประกัน ชีวิต ไปสอบเป็นผู้พิพากษา เป็นต้น ซึ่งนับวันก็จะมีแพทย์ลาออกจากราชการมากขึ้นเรื่อยๆ
และเป็นที่น่า สังเกตว่า ในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขได้มีการผลิตแพทย์ขึ้นโดยตรง โดยไม่ได้ผ่านระบบโรงเรียนแพทย์เหมือนที่ผ่านมา ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่เริ่มตั้งข้อสังเกตและเป็นห่วงถึงมาตรฐานและคุณภาพของ แพทย์ที่จะจบออกมา ซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้การฟ้องร้องเพิ่มขึ้นได้
 
4.2 ความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วย เชื้อที่พบบ่อยได้แก่ ไวรัสโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์) ไวรัสตับอักเสบ เชื้อวัณโรค ซึ่งถ้าแพทย์ติดเชื้อมาจากผู้ป่วยก็จะทำให้เกิดผลร้ายต่อตนเองและครอบครัว ซึ่งผลที่ตามมาจะหนักหรือเบาก็ขึ้นกับตัวเชื้อโรคที่ได้รับ 
กระทรวง สาธารณสุขควรจะจัดอุปกรณ์และเครื่องมือที่ได้รับมาตรฐานและ เพียงพอแก่แพทย์และบุคลากรทาง การแพทย์เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และมีมาตรการชดเชย สวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อจากผู้ป่วย
 
4.3 ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ บ่อยครั้งที่แพทย์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากการอยู่เวรนอกเวลาราชการในตอนกลางคืนจนถึงเช้า ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย นอนไม่พอเพียงกับความต้องการ หลังจากออกเวรในตอนเช้า อาจจะมีความจำเป็นต้องขับรถกลับบ้านหรือไปทำธุระส่วนตัว ทำให้อาจหลับในจนเกิดอุบัติเหตุ บางครั้งก็ร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้
 
4.4 ความเสี่ยงของสถาบันครอบครัว เนื่องจากเงินเดือนของแพทย์ที่รับราชการไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ทำให้แพทย์ส่วนมากต้องทำงานเสริมนอกเวลาราชการ ไม่เปิดคลินิกก็ทำงานพิเศษในโรงพยาบาลเอกชน จนบางครั้งทำให้ไม่มีเวลาดูแล ให้ความอบอุ่นแก่ครอบครัว และอบรมสั่งสอนบุตร บางครั้งอาจก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ จนกลายเป็นปัญหาสังคม หรือแม้แต่ตัวของแพทย์เองที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 59 ปี ซึ่งเกิดจากการทำงานหนัก สะสมความเครียดในการดูแลรักษาผู้ป่วย ถ้าเกิดแพทย์ผู้นั้นมีอันเป็นไปก่อนวัยอันสมควร ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ จะทำให้ครอบครัวที่อยู่ข้างหลังลำบากที่จะต้องสู้ชีวิตต่อไปโดยลำพัง ซึ่งก็อาจจะเกิดปัญหาสังคมได้อีก ถ้าไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ
..................จบตอนที่3

หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 22