แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pradit

หน้า: 1 ... 20 21 [22]
316
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว นพ.มรกต กรเกษม เลขาธิการอาหารและยาขณะนั้นได้ออกมาให้ข่าวต่อสาธารณะว่ากรณีการย้ายตนเองออกจากเลขาฯเป็นเพราะไม่สนองตอบรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุขนายบุญพันธ์ แขวัฒนะกรณี รมว.แจ้งว่ามีภาระต้องใช้จ่ายวันละ สองแสนบาท นพ.สุวิทย์,อำพล,ชูชัย,วิชัย,สงวน,ศิริวัฒน์และแกนนำอีกหลายคนของกลุ่มแพทย์ชนบทประกาศผูกเน็คไทสีดำทั่วประเทศเพื่อประท้วงการแต่งตั้งโยกย้ายคราวนั้น ทั้งๆที่เป้าหมายการดำเนินการคราวนั้นเป็นการสกัดกั้นการแต่งตั้งนพ.สำเริง แหยงกระโทกเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงฯข้ามหัวแกนนำกลุ่มนี้
      เหตุการณ์ผ่านมายุคนพ.วิทูร แสงสิงแก้ว ปลัดกระทรวงฯได้สั่งย้ายนพ
สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ จากผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนไปเป็นนายแพทย์ใหญ่ สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มแพทย์ชนบทเป็นอย่างมาก เพราะนพ.สุวิทย์ได้สร้างมิติใหม่ให้กับตำแหน่งผอก.สำนักนี้ด้วยการควบคุมงบประมาณทุกอย่างของกระทรวง สามารถสนับสนุนงานของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ   แกนนำทั้งหมดร่วมมือกันอีกครั้งและเพื่อให้มีน้ำหนักและชิงความได้เปรียบของการต่อสู้จึงพุ่งเป้า
ไปที่นายเสนาะ เทียนทอง รมว.ขณะนั้นที่ดูเหมือนว่าต้นทุนทางสังคมค่อนข้างน้อยกว่าปลัดวิทูร     ต่อมาไม่นานถึงยุคนายรักเกียรติ์ สุขธนะมีการแต่งตั้งนพ.ยิ่งเกียรติ์ ผู้ช่วยปลัดให้เป็น ผู้ตรวจราชการกระทรวงข้ามหัวแกนนำกลุ่มแพทย์ชนบทนี้อีก
ขณะนั้นมีงบประมาณลักษณะกระตุ้นเศรษฐกิจนับพันล้านบาท กลุ่มการเมืองก็ต้องการผลประโยชน์จากงบนี้จึงมีการสั่งการด้วยวาจาให้สนับสนุนบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับรัฐมนตรีหลายบริษัท   แต่งเผอิญคนที่ได้รับมอบหมายให้ไปดำเนินการคือนพ.ยิ่งเกียรติ์   กลุ่มแพทย์ชนบทเหล่านี้ได้ใช้กระแสสังคมผ่านสื่อต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพและเปลี่ยนแนวต่อสู้ด้วยยุทธศาสตร์การต่อต้านคอร์รัปชั่น ทำให้เกิดดาวรุ่ง นส.รสนา(อ้างว่าเป็นตัวแทนององค์กรอิสระ 37 องค์กร)ขณะนั้นเป็นหน้าห้องของนพ.สงวน นิตยารัมพงศ์ไม่ใช่ เอ็นจีโอที่ไหน และนพ.ยงยศ,นพ.ประวิทย์(ประธานชมรมแพทย์ชนบท)  การเคลื่อนไหวคราวนั้นใช้มาตรการเบี้ยกินขุนเพราะหากเกิดความผิดพลาดต้องสูญเสียทางกลุ่มไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง     เนื่องจากขณะนั้นแกนนำแต่ละคนอยู่ในแผงของการขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงของกระทรวงฯ ไม่พร้อมที่จะเสี่ยง
      จะเห็นได้ว่าแพทย์กลุ่มนี้มักมีปัญหากับผู้บริหารระดับสูง ในการทำงานมักกดดันทิศทางการบริหารให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ หากไม่ได้ตามที่เสนอมักมีการเคลื่อนไหวออกสู่สาธารณะในลักษณะชี้ประเด็นทุจริตซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีมาตลอด ทั้งการกำจัดฝ่ายตรงข้ามที่ขวางเส้นทางการเจริญเติบโตทางราชการของกลุ่มและการสร้างบารมีสำหรับนักการเมืองที่จะมาคุมกระทรวง แต่การต่อสู้กับรัฐมนตรีบ่อยๆไม่ใช่เรื่องสนุก แกนนำกลุ่มนี้เกิดความคิดว่าต้องปลดแอกออกจากอำนาจกำกับดูแลของนักการเมืองเสียที   สบโอกาสที่มีการปฏิวัติเมื่อปี 2549 ซึ่งเราทราบดีว่าฝ่ายปฏิวัติเองก็มีการเตรียมการน้อยมากแม้กระทั่งตัวบุคคลที่จะมาดูแลกระทรวงต่างๆทางกลุ่มจึงฉวยโอกาสนี้ด้วยการนำเสนอนพ.มงคล ณ.สงขลามาเป็นรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข นพ.อำพล จินดาวัฒนะได้รับปูนบำเหน็จเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการแต่ท่านมงคลขณะนั้นมีปัญหาสุขภาพต้องรับการผ่าตัดหัวใจและพักรักษาตัวเป็นเวลานาน   งานการต่างๆของกระทรวงฯถูกสั่งการโดยเลขาฯอำพลเกือบทั้งหมด งานแรกที่ถูกผลักดันอย่างเร่งด่วนคือ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550     ในช่วงนั้นนพ.อำพล เดินสายชี้แจงพ.ร.บ.นี้ด้วยตัวเองในที่ประชุมของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขระดับต่างๆรวมทั้งชี้แจงผ่านสื่อโทรทัศน์ว่าเป็นหน่วยงานวิชาการ    เน้นประเด็นไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ    โครงสร้างก็ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ไม่มีงบประมาณ   ต่อไปสิทธิประชาชนจะดีขึ้นขนาดที่ว่าสั่งให้หมอไม่ต้องกู้ชีพได้  มีสิทธิ์เลือกตายได้   แต่วาระแอบแฝงในพรบ.ไม่เคยกล่าวถึง   
ในมาตรา 25 ที่กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของ คสช.(คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ)ในข้อที่ 5 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ 
      บทบาทนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขโดยมีรัฐมนตรีว่าการเป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแลทั้งระบบ หากมีผู้มีอำนาจตามกฎหมายมาสวมภารกิจนี้อีกจะเกิดความสับสนรวมทั้งปัญหาการยอมรับของของชาวสาธารณสุข และบารมีของเลขาธิการคสช.(นพ.อำพล จินดาวัฒนะ)ก็ยังมีไม่เพียงพอจึงมีความจำเป็นต้องเร่งมาตรการกระจายอำนาจถ่ายโอนภารกิจกระทรวงสาธารณสุขไปยังองค์กรท้องถิ่น หาเสียงความนิยมกับผู้นำท้องถิ่นและนักเคลื่อนไหวอาชีพ(เอ็นจีโอ)ว่าจะได้กำกับหน่วยงานของรัฐและบริหารงบประมาณมหาศาลจากการที่รพ.ศูนย์,รพทั่วไปไปอยู่กับ อบจ.รพ.อำเภอไปอยู่กับเทศบาลและสถานีอนามัยไปอยู่กับ อบต. โดยหลอกใช้ชมรมสาธารณสุขอำเภอให้เป็นหัวหอกเรียกร้องอ้างว่าต้องทำควบคู่กับพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข   การเคลื่อนไหวในระยะนี้เกิดขึ้นบ่อยจนผิดสังเกตเพราะกลุ่มแพทย์ชนบทประเมินว่าภาพลักษณ์รัฐบาลย่ำแย่จากโครงการไทยเข้มแข็ง และอายุรัฐบาลอาจจะสั้นด้วยปัญหาการกดดันของพรรคร่วม   หากการถ่ายโอนหน่วยบริการระดับต่างๆเป็นไปตามแผนการ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติโดยมีนพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการก็จะออกโรงมาพบกับผู้นำท้องถิ่น นายกอบจ.นายกเทศมนตรีและนายกอบต.ว่าบทบาทการกำกับดูแลหน่วยบริการเหล่านี้เป็นหน้าที่ของ คสช.ตามกฏหมาย(พรบ.)ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของแผนล้มกระทรวงสาธารณสุข
      ความน่ากลัวของ คสช.ไม่มีเพียงลบอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข ในมาตราที่ 48 ว่าด้วยธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติและนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา 25(2)ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ของตน
มาตรานี้ต้องการผูกมัดการกำหนดนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพคล้ายคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมีอำนาจกับการลงทุนของอุตสาหกรรมใหญ่ๆทั้งๆที่ธรรมนูญดังกล่าวถูกกำหนดโดยที่ประชุม เอ็นจีโอที่ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจงานสาธารณสุขเลย
      ความทะเยอทะยานและปมความแค้นส่วนตัวของคนไม่กี่ คนได้สร้างปัญหามากมายกับระบบสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นต้องรีบแก้ไขโดยเร่งด่วนต้องใช้ขบวนการรัฐสภายกเลิก พรบ.นี้ (พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550)หรือแก้ไขอำนาจหน้าที่ของ 2 มาตรานี้
หากมีการดำเนินการในส่วนนี้จะได้ใจชาวสาธารณสุขจำนวนมากที่มีแนวคิดตรงข้ามกับกลุ่มแพทย์ชนบทซึ่งโดยข้อเท็จจริงมีไม่กี่คน รัฐมนตรีหลายท่านที่ผ่านมาไม่สนใจศึกษาผลกระทบของ พ.ร.บ.นี้ หรือดูไม่ออกถึงเลศนัยของพวกนี้   ทำให้ชาวสาธารณสุขส่วนใหญ่มองความล่มสลายของกระทรวงสาธารณสุขด้วยความเศร้าสลดและสิ้นหวัง รอคอยการนำของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์มาตลอด หากมีการนำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 เข้าทบทวนแก้ไขในสภาผู้แทน   ข้าราชการสาธารณสุขทั่วประเทศจะเริ่มมีขวัญกำลังใจ
กลุ่มแพทย์ชนบทจะต้องกลับไปปกป้องฐานอำนาจตัวเองที่วางแผนสร้างสมมานานนับสิบปี   แทนที่จะมาเคลื่อนไหวสร้างความปั่นป่วนในระบบสาธารณสุข เพราะภาระการทำลายภาพลักษณ์กระทรวงสาธารณสุขมาตลอดเป็นระยะ  เป็นเพียงงานเสริมของการเกิดของ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

317
วัน ที่ 31 ม.ค. ศ.น.พ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณบดีแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า แพทยสภาอาจได้รับแรงกดดันทำให้ไม่สามารถรับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ได้ แต่เปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นมหาวิทยาแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรนี้ โดยเจตนารมณ์เดิมตั้งใจให้เป็นการเปิดหลักสูตรนานาชาติ เพื่อรองรับเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น ลาว พม่า เป็นต้น อย่างไรก็ตามหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษจะช่วยเปิดโอกาสการศึกษาให้แก่นักเรียนไทยที่มีความสามารถด้าน ภาษาอังกฤษ โดยไม่พึ่งงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งไทยมีโรงเรียนนานาชาติเกิดขึ้นมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ และสนใจร่วมโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนอตติ้งแฮมและมหาวิทยาลัยเซาท์ ฟลอริดา เพื่อสร้างคนไทยให้เป็นผู้นำในด้านการแพทย์ในระดับสากลเช่นเดียวกันกับที่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และจีน ที่เริ่มเปิดรับนักศึกษาเรียนวิชาแพทยศาสตร์กันแล้วในปัจจุบัน

"หลัก สูตรนานาชาติมีการเปิดทุกสาขาวิชาแต่ไม่เข้าใจว่าเหตุใด หลักสูตรแพทย์ทำไมเปิดไม่ได้ ทำไมต้องกีดกันอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ไม่มีการจำกัดหรือห้ามไม่ให้คน ไทย หรือ ชาติไหนเรียนและก็ต้องใช้ผู้ป่วย ทรัพยากรของในประเทศเหมือนกัน" ศ.น.พ.สมเกียรติกล่าว

ศ.น.พ.สมเกียรติ กล่าวด้วยว่า จะนำหลักสูตรซึ่งผ่านการอนุมัติในหลักการจากแพทยสภา เข้าที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาก่อนจะเปิดรับสมัครในปีการศึกษา 2553 ซึ่งทางมหาวิทยาลัยนอตติ้งแฮมและมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดาได้ส่งหนังสือยืน ยันชัดเจนว่ามีความพร้อมอย่างเต็มที่ ส่วนกรณีที่อาจารย์แพทย์ของมศว 7 ราย คัดค้านไม่เห็นด้วยกับหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ถือเป็นความคิดเห็นที่ต่างกันเท่านั้น ทั้งนี้เชื่อว่า ในปี 2554 มหาวิทยาลัยแพทย์หลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์ และศิริราช รวมถึงมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ จะร่วมกันออกมาผลักดันให้เกิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติอย่างแน่นอน

ศ.คลินิก น.พ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการอนุมัติหลักสูตรแพทย์ภาคภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ (มศว) จากเดิมที่ขออนุมัติเป็นหลักสูตรแพทย์นานาชาติว่า การเปิดหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษก็เป็นเรื่องดีเพื่อให้นักศึกษาได้ปรับพื้นฐาน ทางภาษาเพื่อใช้ในการศึกษาต่อได้ ซึ่งขณะนี้ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กำลังจะมีการทำอาจารย์พิจารณ์เกี่ยวกับการปรับหลักสูตรให้เป็นภาษาอังกฤษ เช่นกัน แต่ต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายก่อน เพราะสิ่งสำคัญคือบุคลากรต้องมีความพร้อมที่สุด โดยจะเป็นหลักสูตรที่เน้นสอนให้แก่นักศึกษาไทยเท่านั้น การที่มศวจะเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษถือว่าเป็นการทดลอง เพื่อนำไปสู่การประเมินข้อดี ข้อเสีย ซึ่งการที่จะเปิดสอนศิริราชจะเน้นเรื่องประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักและต้อง ได้มาตรฐานสากล เพื่อนำมาพัฒนาสำหรับคนไทยต่อไป

318
คมชัดลึก :ปลัดสาธารณสุขเผยผลการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันตราย 5 โรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ/แตก และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีคนไทยป่วยสะสมกว่า 2 ล้านคน ป่วยเพิ่มเฉลี่ยนาทีละคน เร่งทุกจังหวัดสำรวจสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อวางแผนลดผู้ป่วยรายใหม่
 นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าสธ.ได้ให้สำนักระบาดวิทยา ติดตามเฝ้าระวังปัญหาการเจ็บป่วยของคนไทยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเรื้อรังระบบ ทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อรู้ขนาดปัญหาและความรุนแรง โดยเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ ผลการเฝ้าระวังตลอดปี 2551 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 44 จังหวัดรวมทั้งสิ้น 2,179,504 ราย โดยเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 645,620 ราย ความดันโลหิตสูง 1,145,557 ราย โรคหัวใจขาดเลือด 148,206 ราย โรคหลอดเลือดสมอง 107,709 ราย และโรคเรื้อรังทาง เดินหายใจ 32,412 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ เมื่อเปรียบอัตราป่วยจากทั้ง 5 โรคดังกล่าวต่อประชากรทุก 100,000 คน พบ 10 จังหวัดแรกที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และลำปาง ซึ่งจากผู้ป่วยทั้งหมดนี้ เป็นผู้ที่เริ่มป่วยในปี 2551 จำนวน 718,297 ราย เฉลี่ยเดือนละเกือบ 60,000 ราย หรือป่วยเพิ่มขึ้นนาทีละ 1 คน

319
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ,สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดราชดำเนินเสวนา หัวข้อ “ถามหาความเป็นธรรมด้านสุขภาพให้คนไทยไร้สถานะ” เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2553 โดยมี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ,นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก ,นายสุรพงษ์ กองจันทึก กรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการแก้ไขการไร้ สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา และ น.ส.ชวิดา วาทินชัย เป็นวิทยากร

นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ.ตาก กล่าวว่า ตนทำงานมา 20 ปีแล้ว ปัญหาเรื่องสุขภาพของคนไทยไร้สถานะมีมาตั้งแต่ผมเริ่มทำงาน แต่เพิ่งจะเห็นชัดๆ 5-6 ปี คนเหล่านี้ รัฐบาลไทยทำหลักประกันสุขภาพตกหล่น  ความเจ็บป่วยยังเหมือนเดิม ปัญหาคือไม่มีเจ้าภาพ โรงพยาบาลชายแดน โดยเฉพาะที่อุ้มผางนั้น ต้องช่วยเหลือด้วยการรักษาพยาบาลแล้วไม่เก็บค่าใช้จ่าย เพราะคนเหล่านี้ไม่มีเงินจ่าย บางครั้งต้องให้เงินค่าเดินทางกลับ ซึ่งขณะนี้ทำไปทำมาทางโรงพยาบาลแบกรับภาระจนจะเจ๊งแล้ว
“ตอน นี้เราถูกจำกัดการฉีดวัคซีน เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ทางการให้เฉพาะคนมีบัตร หรืออย่างกรณีวัณโรคก็ต้องกรอกเลข 13 หลัก สุดท้ายเราจะคุมอะไรไม่ได้ เพราะโรคภัยไข้เจ็บไม่สามารถแยกกันด้วยบัตรประชาชนได้ ตอนนี้ทั้งยาและวัคซีนบางตัวก็ไม่ให้เรา ผมก็ไม่รู้จะทำอย่างไร สุดท้ายเราก็จะควบคุมโรคไม่ได้ และคนที่มีบัตรก็จะตาย โรคไม่ได้แยกกันด้วยบัตร ”นพ.วรวิทย์ กล่าว

นพ.วรวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาการเข้าถึงหลักการพื้นฐานด้านสาธารณสุขของคนที่อยู่ในเมืองไทยเป็น เรื่องสำคัญ ทั้งชาวเขาที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ ผู้อพยพในศูนย์พักพิง หรือหลบหนีเข้าเมือง หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดโรคระบาด และสุดท้ายผู้ที่มีหลักประกันสุขภาพก็จะติดโรคด้วย
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช. กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายที่สำคัญของสาธารณะสุขซึ่งสช.ได้ติดตามเรื่องนี้มาโดย ตลอด ซึ่งตอนปลายปี 2549 สมัยที่ตนดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุข ได้มีความพยายามผลักดันเรื่องนี้เพราะมองว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนละส่วนกับแรงงานต่างด้าว โดยเป็นคนที่อยู่ในประเทศไทยมานานตามแนวตะเข็บชายแดน แต่พอแบ่งเขตแดนพวกเขาต้องหลุดไป ดังนั้นเขาควรได้รับบัตรประกันสุขภาพเหมือนกับคนไทย

“ตอนนี้ คนไทย 47 ล้านคนมีหลักประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่อย่างน้อยมีคนอีก 5 แสนคนยังไม่มีหลักประกันสุขภาพเลย ทำให้ไม่มีสิทธิในการรับเงินอุดหนุนต่อหัวจากรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้เคยมีการเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี แต่สำนักงบประมาณและสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)ไม่เห็นด้วยเพราะกลัวใน เรื่องความมั่นคงระยะยาว อย่างไรก็ตามพบว่ามีอีก 2 เรื่องใหญ่ที่เคลื่อนไปอย่างคืบหน้าคือ ตอนปี 2550 มีการทำธรรมนูญว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยฟังความเห็นอย่างกว้างขวางในสังคม ซึ่งทั้งรัฐบาล รัฐสภาต่างเห็นชอบ ซึ่งในข้อ 16 เขียนไว้ชัดเจนว่าหลักประกันสุขภาพต้องครอบคลุมทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทย โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติหรือสัญชาติ”  นพ.อำพล กล่าว
นพ.มงคล ณ สงขลา  กล่าวอีกว่า อยากบอกรัฐบาลว่า เจตนารมณ์ทางการเมืองสำคัญเรื่องนี้จะแก้ได้คือต้องเอาหัวใจมาพูดกันแล้ว ทุกอย่างจะแก้ปัญหาได้ และเรื่องนี้เป็นปัญหาความมั่นคง หากให้สิทธิ์พวกเขาก็จะแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงของประเทศได้

“เรื่องเงินจริงๆนั้นน้อยมาก แต่จะแก้ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ต้องมีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่สำคัญ รวมทั้งทัศนคติของหน่วยงานต่างๆ ถ้าให้สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จะเพิ่มความมั่นคงของประเทศ ต้องเปิดหัวใจ เรื่องนี้รัฐบาลน่าจะทำสำเร็จได้” นพ.มงคล กล่าว
นาย สุรพงษ์ กองจันทึก สภาทนายความและกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการ แก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯทำเรื่องนี้มาเป็นปีที่ 7 แล้วแม้เปลี่ยนตัวประธาน ซึ่งมักมีคำถามว่าทำไมต้องเอาเงินภาษีของคนไทยไปช่วยต่างชาติด้วย ซึ่งขอชี้แจงว่าภาษีที่รัฐได้ส่วนใหญ่เป็นภาษีทางอ้อมซึ่งคนที่มีปัญหาสถานะ บุคคลต่างเสียด้วยกันทั้งสิ้น ที่สำคัญพวกเขาไม่สามารถเรียกคืนภาษีได้เหมือนคนไทย นอกจากนี้กฎหมายต้องใช้บังคับกับคนทุกคนในผืนแผ่นดินไทย
นาย สุรพงษ์ กล่าวอีกว่า มีข้ออ้างว่าคนไทยเพิ่มทุกวัน ไปดูแลต่างด้าวทำไม เพราะทุกวันนี้ก็ดูแลกันไม่ไหวอยู่แล้ว จากการทำวิจัยประชากรของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า คนไทยไม่เพิ่ม และจะอยู่ที่ 65 ล้านคนไปอีก 20 ปี เพราะ ค่านิยมไม่แต่งงาน แต่งงานก็ไม่มีลูก ถึงมีลูกก็มีคนเดียว

“การจะให้หลักประกันทางสาธารณสุข ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนที่อยู่มานานแล้ว และประชากรไทยก็จะไม่เพิ่ม สำนักงบประมาณควรเข้ามาดูแลเรื่องเหล่านี้ ในด้านความมั่นคง ที่กลัววว่าคนจะทะลักเข้ามาถ้าเราเปิดให้ได้รับสิทธิ์สุขภาพถ้วนหน้านั้น ผมยืนยันว่าเข้ามาไม่ได้ เพราะเราให้บริการเฉพาะผู้มีบัตรประชาชน ปัจจุบันเราป้องกันเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว” นายสุรพงษ์ กล่าว

320
คมชัดลึก :สธ.สั่ง ตรวจสอบมูลเหตุเด็กในครรภ์เสียชีวิตหลังแม่ฉีดวัคซีนหวัด 2009 ที่สตูล แต่มั่นใจวัคซีนหวัดไม่ใช่มูลเหตุ ส่วนอีกรายล้มต้องผ่าตัดสมอง เพราะหกล้มไม่เกี่ยวฉีดวัคซีน ลั่นเดินหน้าฉีดใน 5 กลุ่มเสี่ยงต่อไป ด้านหญิงมีครรภ์ผู้โชคร้าย เผยคลอดลูกมา 3 ครั้งไร้ปัญหา แต่หลังจากฉีดวัคซีนกับแท้งลูก จี้ผ่าศพลูกพิสูจน์ เพื่อความเป็นธรรม

สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 กลายเป็นข่าวดังอีกครั้ง หลังจากที่มีรายงานข่าวระบุว่า หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ จ.สตูล 2 ราย ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลทุ่งหว้า เมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายเกี่ยวกับอาการข้างเคียง ทำให้ชักเกร็ง ขณะที่อีกรายเกิดอาการลูกในท้องไม่ดิ้น เมื่อตรวจสอบพบว่าลูกในท้องเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ

แจงหญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนทำลูกตาย
 ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 มกราคม นายสำรวม ด่านประชันกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า เด็กเสียชีวิตเพียง 1 รายเท่านั้น ส่วนอีก 1 รายได้ส่งตัวไปผ่าตัดทำคลอดที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ คือในรายของนางดวงพร แสงสุวรรณ อายุ 32 ปี อยู่บ้านเลขที่ 111/1 ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล อาชีพทำสวน โดยนางดวงพรตั้งครรภ์ได้ 8 เดือน เป็นท้องที่ 3 และรับวัคซีนในวันที่ 25 มกราคม ต่อมาวันที่ 26 มกราคม นางดวงพรมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดศีรษะ  แพทย์ให้การรักษา จากนั้นในวันที่ 27 มกราคม นางดวงพรมาที่โรงพยาบาลทุ่งหว้า ด้วยอาการชักเกร็ง ความดันโลหิตสูง จึงนำตัวส่งโรงพยาบาลหาดใหญ่ แพทย์ผ่าตัดนำเด็กในครรภ์ออกมามีน้ำหนัก 1,800 กรัม เป็นเพศชาย อยู่ในห้องผู้ป่วยโรงพยาบาลหาดใหญ่ เด็กตัวเล็ก อาการไม่ค่อยดีต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนแม่ต้องผ่าตัดสมอง ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบสาเหตุ

 ส่วนอีกรายคือนางวันทนา ละเมาะ อายุ 33 ปี อาชีพทำประมงและรับจ้าง อยู่บ้านเลขที่ 45/15 หมู่ 2 ต.ทุ่งหว้า ผู้ป่วยตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ และตั้งครรภ์มาแล้ว 4 ครั้ง โดยมารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 เมื่อวันที่ 25 มกราคม จากนั้นวันที่ 26 มกราคม ผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุ่งหว้า พร้อมบอกอาการว่า เด็กในท้องไม่ดิ้นมา 1 วันแล้ว เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าเด็กในครรภ์ไม่ดิ้น จึงนำส่งต่อที่โรงพยาบาลสตูล โดยมี นพ.พิภพ เอี้ยวสกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช ประจำโรงพยาบาลสตูล เป็นผู้ตรวจพบว่าเด็กเสียชีวิตก่อนจะมาถึงโรงพยาบาลสตูล

แม่เด็กขอความเป็นธรรม
 ขณะนี้นางวันทนาพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องนารีเวชย์ ชั้น 2 รพ.สตูล โดยแพทย์ใช้ยาเร่ง (ยาเหน็บ)สอดในช่องคลอด เพื่อให้เด็กที่เสียชีวิตในช่องคลอดหลุดออกมาเอง ส่วนแม่ปลอดภัยดี ไม่มีอาการแทรกซ้อน" นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูลกล่าว

 ด้านนางวันทนากล่าวว่า คลอดลูกมาแล้ว 3 คน ที่ผ่านมาอาการปกติหมด กระทั่งท้องนี้เป็นท้องที่ 4 โดยก่อนหน้านี้ได้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 จากนั้นต่อมาลูกก็เสียชีวิตในครรภ์ อย่างไรก็ตามจะนำศพลูกไปตรวจพิสูจน์ เพื่อขอความเป็นธรรมในเรื่องนี้ด้วย

สธ.แจงหญิงมีครรภ์ฉีดวัคซีนหวัด
  เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ศิริวัฒน์   ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา ร่วมกันแถลงว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เบื้องต้นได้รับรายงานว่า รายที่ 1 เป็นหญิงอายุ 39 ปี ครรภ์ที่ 4 อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีน 1 วัน แม่รู้สึกว่าเด็กดิ้นน้อยลง มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุ่งหว้า และส่งต่อมายังโรงพยาบาลสตูล ตรวจสอบพบว่าเด็กเสียชีวิตแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้ยากระตุ้นเพื่อเร่งคลอด โดยครั้งที่ 1 ให้ยาเหน็บกระตุ้นการคลอดเมื่อวันที่ 27 มกราคม วันนี้ (28 ม.ค.) ได้ให้ยาซ้ำอีก ขณะนี้ผู้ป่วยยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ปากมดลูกยังไม่เปิด เย็นวันนี้วางแผนจะให้ยาเหน็บกระตุ้นครั้งที่ 3 หากยังไม่เจ็บครรภ์ ปากมดลูกยังไม่เปิดก็จะผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ขณะนี้ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด        
 
 ส่วนรายที่ 2 เป็นหญิงอายุ 32 ปี ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ ได้รับวัคซีนเมื่อวันที่ 25 มกราคม หลังจากนั้น 1 วัน หกล้ม บาดเจ็บที่ศีรษะ ญาตินำส่งโรงพยาบาลทุ่งหว้า และส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 27 มกราคม มีประวัติครรภ์เป็นพิษและมีอาการชัก แพทย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบมีเลือดออกในสมอง จึงผ่าตัดสมองเพื่อช่วยชีวิตแม่ และผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้องเพื่อช่วยชีวิตเด็ก ขณะนี้ทั้งแม่และเด็กอยู่ในห้องไอซียู แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเด็กเป็นเพศชาย น้ำหนัก 1,800 กรัม ใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่วนแม่ใส่เครื่องช่วยหายใจเช่นกัน สมองยังบวม ศัลยแพทย์ระบุว่าเหตุที่เลือดออกในสมองเกิดจากอุบัติเหตุหกล้ม ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด  

สั่งตรวจสอบหาสาเหตุ
 นพ.ไพจิตร์กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข กำลังเร่งตรวจสอบว่าหญิงมีครรภ์ที่มีความผิดปกติทั้ง 2 รายดังกล่าวข้างต้น ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนหรือไม่ อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขยังคงให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 แก่กลุ่มเสี่ยงต่างๆ รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ต่อไปตามแผนและแนวทางปฏิบัติที่กำหนด เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการป่วยและการเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยง และเน้นในเรื่องความปลอดภัยของผู้รับวัคซีน เช่น การฉีดวัคซีนและเฝ้าระวังอาการ 30 นาที ในโรงพยาบาล หากมีอาการหลังฉีดวัคซีนก็จะสามารถดูแลได้โดยเร็ว ในขณะเดียวกันได้จัดระบบการเฝ้าระวังหลังฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิดด้วย  

  ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวต่อว่า จากการตรวจข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังฉีดวัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในประเทศของตน โดยกลุ่มเป้าหมายสำคัญกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับในประเทศไทย อย่างไรก็ตามจากข้อมูลในระบบเฝ้าระวังพบว่า เกิดความผิดปกติในหญิงมีครรภ์ เช่น การแท้ง และทารกตายในครรภ์ ภายหลังการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับเดียวกันกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป เมื่อไม่มีการฉีดวัคซีน ยันฉีดวัคซีนในหญิงมีครรภ์ต่อไป

321
จวกแพทยสภาอนุมัติหลักสูตรคนรวย

คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มศว ออกแถลงการณ์ อัด แพทยสภา อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ไม่ตอบสนองการขาดแคลนแพทย์ในไทย จี้ รมว.สธ.ทบทวนด่วน...

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. กลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "บทบาทแพทยสภากับการผลิตบัณฑิตแพทย์เพื่อคนไทย" คัดค้านการเร่งรัดอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ซึ่งเสนอโดย ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณบดีแพทยศาสตร์ มศว ซึ่งแพทยสภา ได้มีมติอนุมัติอย่างเงียบๆ  ไปเมื่อวันที่  14  ม.ค.  ที่ผ่านมา และจะมีการรับรองมติในช่วงต้นเดือน ก.พ.นี้ ว่า การเร่งรัดอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เป็นการกระทำที่ไม่สนองตอบต่อการขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทย แม้ว่าการอนุมัติดังกล่าวจะมีมติให้มีการชดใช้ทุนก็ตาม

แถลงการณ์กลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มศว  ระบุอีกว่า  การชดใช้ทุนเป็นเพียงการตอบโจทย์ เรื่องการชดใช้ทรัพยากรของรัฐและผู้ป่วยในการเรียนแพทย์ แต่ไม่ได้ช่วยสนับสนุนให้แพทย์อยู่ในระบบที่ชาวบ้านทั่วไปเข้าถึง  แต่กลับจะหลั่งไหลเข้าไปในระบบเอกชนที่ชาวต่างชาตินิยมเดินทางมารับบริการการรักษาในประเทศไทย  เพราะคงยากที่ผู้จ่ายเงินหลักล้านและเรียนเป็นภาษาอังกฤษ  ต้องการจะทำงานในชนบทที่ขาดแคลนแพทย์ การอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว อาจเป็นการอนุมัติที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน  เอื้อต่อโรงพยาบาลเอกชน หรือเอื้อต่อโรงเรียนแพทย์ที่ต้องการเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติแห่งต่อไป  ทางกลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มศว  จึงขอเรียกร้องให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข และ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนั่งเป็นกรรมการในแพทยสภาได้พิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน.

322
การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อน การย้าย และการโอน เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งระบบการให้รางวัล และการลงโทษ ต้องทำด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ บนพื้นฐานของกฎหมาย ความรู้ ความสามารถ และผลงานอย่างแท้จริง
-------นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข     ๙  มค. ๒๕๕๒

กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานปลัดกระทรวงประกาศนโยบายนี้ แล้วได้ดำิเนินตามนโยบายหรือเปล่า การแต่งตั้ง โยกย้าย ก็รู้ๆกันอยู่ว่า เพราะอะไร ด้วยเหตุผลอะไร แพทย์กระทรวงนี่ต้องกลายเป็นนักวิ่งกันไปหมด(เหมือนกระทรวงอื่นๆ) ความรู้ ความสามารถ ความดีไม่มีความหมาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่วนหนึ่งไม่สนใจงานโรงพยาบาลเท่างานวิ่ง เพราะผลงานไม่สำคัญ สังคมสาธารณสุขเราจะยอมอยู่กันแบบนี้ไปเรื่อยๆหรือ?

ผู้บริหารทุกระดับ เข้าสู่ตำแหน่งเพื่ออำนาจ(บริหาร) ผ่านช่องทางต่างๆ(ที่ไม่ใช่ธรรมาภิบาล) จึงทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาตัวให้อยู่ในอำนาจ(บริหาร) หรือให้มีอำนาจ(บริหาร)มากขึ้น  ไม่ใช่มุ่งทำผลงานเพื่องาน ----- เราต้องการให้คนดี(ที่มีความกล้า)ได้เป็นผู้บริหารกระทรวงฯในทุกระดับ

ระบบที่ขาดธรรมาภิบาล เป็นรากเหง้าของทุกปัญหาที่เราเผชิญอยู่ หากระบบที่ดีมีคุณธรรมไม่เกิด เราก็ไม่สามารถผ่านความยุ่งยากเหล่านี้ไปได้

ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ ทั้งหมด การทำให้บ้านเมือง มีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้  ---------พระบรมราโชวาท   ๑๑ ธค. ๒๕๑๒

เพื่อนๆ คิดอย่างไร? pradit815@hotmail.com

323
ของเก่า คือ กระทรวงฯ กำหนดมาเลยว่า แพทย์สาขาขาดแคลนมีสาขาอะไรบ้าง และจ่าย 4000 บาท/เดือน ที่สำคัญให้เลือกเอาว่า จะเอาเงินแพทย์สาขาขาดแคลน หรือเงินประจำตำแหน่ง(ซี 7 ขึ้นไป)
คือ เอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดจะเลือกเอาเงินประจำตำแหน่ง และอดได้เงินแพทย์สาขาขาดแคลน

ของใหม่ 1.โรงพยาบาลกำหนดเองว่า โรงพยาบาลของตัวเองมีแพทย์สาขาขาดแคลนอะไรบ้าง
           2. จ่าย 5000 บาท/เดือน
           3. ไม่สนใจว่าจะเป็น ซีอะไร มีเงินประจำตำแหน่งหรือไม่ คือ ซี 7 ขึ้นไป รับได้ทั้งเงินประจำตำแหน่ง และ เงินแพทย์สาขาขาดแคลน

เพื่อนๆ โรงพยาบาลไหน ยังไม่รู้ ยังไม่ได้ทำตามระเบียบใหม่ ก็รีบทำซะ รักษาผลประโยชน์ของพวกเราตามที่ระเบียบอนุญาตไว้.............ใครยังสงสัย คุยกันได้ pradit815@hotmail.com

หน้า: 1 ... 20 21 [22]