แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pradit

หน้า: [1] 2 3 ... 22
1
ภรรยา "หมอศรุต" ขอพูดอีกมุม เชื่อการตายของสามีเป็นอุบัติเหตุ คาดพยายามเข้าห้องน้ำ แต่ห้องแคบและเมาหนัก กลายเป็นพุ่งตกตึก

จากกรณีเมื่อวานนี้ (23 ธ.ค.) ศาลอาญามีการตัดสินคดีที่อัยการยื่นฟ้อง นพ.ปราโมทย์ จำเลยที่ 1 และนางสาวจิตวิมล จำเลยที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา หลังจากที่ นพ.ศรุต ทวีรุจจนะ เสียชีวิตปริศนาด้วยการตกตึกในปี 2553 ซึ่งศาลตัดสินให้ทั้งคู่จำคุกคนละ 10 ปี ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีให้กับมารดาผู้ตาย ถือเป็นการปิดฉากคดีดังเมื่อ 11 ปีที่แล้ว

ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Ern Ern ซึ่งเปิดเผยว่าตนเองคือภรรยาของหมอศรุต ได้ออกมาพูดในมุมมองของตนเอง ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าการตายของสามีเป็นอุบัติเหตุ

โดยระบุว่า ในวันเกิดเหตุหมอศรุตดื่มเหล้าคนเดียวตั้งแต่ช่วงบ่าย 4-5 และโทรไปชวนหมอเอ (นามสมมุติ) และเพื่อนไปเที่ยวต่อ เมื่อออกไปเที่ยวก็โทรมาเป็นระยะ จนกระทั่งร้านปิดหมอเอโทรมาบอกตนว่า หมอศรุตเมามากน่าจะกลับไม่ไหว เลยพาไปพักที่หอพัก รู้อีกครั้งคือหมอศรุตเสียชีวิต และทางเพื่อนก็ปั๊มหัวใจจนสุดความสามารถ

"สิ่งที่หมอเอให้การคืออยู่ดีๆ หมอศรุตก็ลุกขึ้นมาแล้วพุ่งตัวออกไปเลย ไม่รู้เอาเรี่ยวแรงมาจากไหน สิ่งที่นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้านบ่อยจนปกติ คือเมื่อหมอศรุตเมากลับมาที่บ้านคือจะมีความโซซัดโซเซ พยุงตัวเองไม่ได้

มีอาการพุ่งตัวอย่างแรง เมื่อรู้สึกตัว เหมือนจะวิ่ง แรงเยอะ เหมือนวิ่งหลาว เพื่อไปเข้าห้องน้ำ แต่ห้องที่บ้านมีขนาดใหญ่มาก วิ่งได้สบาย แต่เมื่อเทียบกับห้องที่เกิดเหตุคือมีขนาดเล็กมากๆ แค่ 2 ก้าวเท่านั้น"

เมื่อฟังจากคำให้การ ทำให้เธอนึกภาพออกว่าสามีพยายามจะไปเข้าห้องน้ำ ซึ่งห้องดังกล่าวประตูระเบียงกับประตูห้องน้ำอยู่ติดกัน และมีหน้าตาเหมือนกัน หมอศรุตอาจไม่ได้วิ่งพุ่งตัวลงมาแต่วิ่งไปเปิดประตูเพราะคิดว่าเป็นห้องน้ำ เหมือนที่ทำที่บ้าน

ประกอบกับห้องแคบมากๆ ระเบียงก็แคบและเตี้ย เมื่อเจอระเบียงและพลัดตกลงมาในจังหวะที่หันหลัง และน่าจะพยายามคว้ากำแพงเอาไว้ เลยมีฝุ่นติดมือและองศาการตกเป็นไปในทิศทางการทดลอง

"เราซึ่งเป็นภรรยาผู้ตายก็ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้น และเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่คิดว่าเป็นการฆ่าตัวตาย 100% ในใจยังคงเชื่อว่าเป็นอุบัติเหตุเรื่องพลัดตกเสมอมา

เรายังคงเชื่อในความรักความมุ่งมั่นของแม่หมอศรุต และเชื่อในหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่แม่คุณหมอหามาทุกอย่าง ว่าเป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ว่าหมอศรุตไม่ได้ฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องที่ถูกต้องค่ะ"

ภรรยาของหมอศรุต ยืนยันว่าเป็นไปได้ที่หมอศรุตจะเมามาก และลุกขึ้นมาวิ่ง เพราะเคยเห็นมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งทางครอบครัวของหมอศรุตไม่เคยเห็น และไม่ทราบว่าหมอกินเหล้าหนัก แต่หากเป็นเพื่อนและคนใกล้ชิดจะรู้เรื่องนี้ดี ในฐานะคนใกล้ชิด เธอจึงเชื่อว่าไม่ใช่การฆ่าตัวตาย แต่เป็นอุบัติเหตุโดยไม่เจตนา

"หากเรื่องนี้ตัดสินตามที่ศาลตัดสิน คือชีวิตของคน 2 คน ต้องจบสิ้นอนาคต และทุกข์ทรมานยิ่งกว่า 11 ปี อย่างแน่นอน ในเรื่องนี้อาจเป็นเพียงอุบัติเหตุที่ต้องการคนผิดมารับผิดชอบ และมีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าแพะก็เป็นได้

หากการกระทำใดที่ทำกับใครไว้จะเป็นกรรมติดตัวไปตลอดกาล"

24 ธ.ค. 64
https://www.sanook.com/news/8493698/

2
ปิดฉากคดีหมอฆ่าหมอ โยนบกจากชั้น 4 อพาร์ตเมนต์ย่านบางกะปิ เมื่อปี 53 ศาลพิพากษาจำคุก นพ.ปราโมทย์ มั่นเมืองและสาวใกล้ชิด คนละ 15 ปี ทั้งสองให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 10 ปีและชดใช้ค่าเสียหาย 5 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยให้แม่ของหมอที่เสียชีวิต ก่อนได้ประกันตัวไปคนละ 5 แสนบาท เผยอัยการโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างนำพยานหลักฐานมาหักล้างกันอย่างเต็มที่จนได้ข้อสรุปเหตุจากความหึงหวง

ที่ศาลอาญา เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 ธ.ค. ศาลอ่านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 1794/ 2563 คดีระหว่างพนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.ปราโมทย์ มั่นเมือง จำเลยที่ 1 น.ส.จิตวิมล สุขสุวรรณ ปัจจุบันเป็นพนักงานราชการ จำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฝ่ายผู้เสียหายได้ร้องขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา และเนื่องจากคดีนี้เกิดเหตุเมื่อปี 53 อัยการยื่นฟ้องปี 63 ประกอบกับมีสถานการณ์โควิด ศาลจึงเร่งรัดการสืบพยานต่อเนื่องให้แล้วเสร็จใน 1 ปี จำเลยได้ประกันตัวในชั้นพิจารณา

คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าเมื่อวันที่ 18 เม.ย.53 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจำเลยทั้งสองร่วมกันโยน นพ.ศรุต ทวีรุจจนะ อายุ 28 ปี แพทย์ รพ.จุฬาลงกรณ์ กำลังศึกษาต่อด้านพยาธิวิทยา จากชั้น 4 ของอาคารไดรฟ์อินน์ อพาร์ตเม้นต์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กทม. จนถึงแก่ความตาย คดีนี้โจทก์นำพยานหลักฐาน อาทิ พยานบุคคล พยานแวดล้อม พยานทางนิติวิทยาศาสตร์และขอให้ผู้พิพากษาออกไปสืบพยานนอกศาลหรือเดินเผชิญสืบ ฝ่ายจำเลยนำพยานฝ่ายผู้ก่อสร้างอาคารคอนโดมาสืบหักล้างกันอย่างเต็มที่

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐาน รวมทั้งพยานบุคคลและพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เห็นว่า วันเกิดเหตุ นพ.ศรุตไปดื่มกับจำเลยที่ 1 และ 2 ที่ร้านอาหารย่านรัชดา ห้วยขวาง กทม. ก่อนออกมาด้วยอาการมึนเมาจนจำเลยที่ 1 ต้องพยุงขึ้นรถแท็กซี่ เมื่อมาถึงอาคารไดร์ฟอินน์ อพาร์ตเม้นต์ นพ.ศรุตล้มลงบนทางเดินจนมีภาพปรากฏในกล้องวงจรปิด ก่อนถูกพยุงมายังห้องพักของจำเลยทั้งสอง กระทั่งเกิดเหตุดังกล่าว ต่อมาแพทย์ชันสูตรศพ นพ.ศรุต พบที่ร่างกายมีบาดแผลหลายจุดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตกจากที่สูง อาทิ รอยช้ำบริเวณด้านในแขน บาดแผลถลอกที่ช่วงเอว รวมทั้งจำเลยทั้งสองยอมรับว่าในขณะเกิดเหตุมีเพียงแค่จำเลยทั้งสองกับผู้ตายอยู่ในห้องเท่านั้นและก่อนเกิดเหตุ นพ.ศรุตได้โทร.หาภรรยาเพื่อถามถึงการซื้ออาหารในตอนเช้า จึงดูไม่มีเหตุสมควรว่า นพ.ศรุตคิดสั้นฆ่าตัวตายตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง อีกทั้งมีพยานยืนยันได้ว่าผู้ตายกับจำเลยที่ 2 เคยคบหาเป็นคนรักกัน แต่ขณะเกิดเหตุจำเลย 1 และ 2 คบหาเป็นคู่รักกันแล้ว อาจเกิดความหึงหวงไม่พอใจ

ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป. อาญา ม.288 จำคุกจำเลยคนละ 15 ปี แต่จำเลยทั้ง 2 ให้การเป็นประโยชน์จึงลดโทษให้ 1 ใน 3 ตาม ป.อาญา ม.78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 และ 2 คนละ 10 ปี และให้ทั้งคู่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีให้กับมารดาผู้ตายนับจากวันที่ฟ้อง คำขออื่นให้ยก ต่อมาเวลา 16.00 น.วันเดียวกัน ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว นพ.ปราโมทย์ และ น.ส.จิตวิมล จำเลยทั้งสองในคดีนี้ โดยใช้โฉนดที่ดินเป็นหลักประกันในราคาคนละ 500,000 บาท

ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ข่าวทั่วไทย
กทม.
24 ธ.ค. 2564

3
กรมควบคุมโรคจับมือ สปสช.เตรียมกวาดล้างโรคหัด ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้เด็กไทย 3 ล้านคน ทั่วประเทศ พร้อมให้วัคซีนป้องกันคอตีบเพิ่มในผู้ใหญ่ทั่วประเทศ หลังพบภูมิต้านทานลดลง ป่วยเพิ่มขึ้น ด้าน สปสช.เร่งหาวัคซีนจากแหล่งอื่น หลังบริษัทใหญ่จากยุโรป-มะกัน หันผลิตวัคซีนรวม ราคาแพงขึ้น ยันไทยไม่ขาดแคลนวัคซีน
   
        นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในปี 2558 กรมฯได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นต้น เดินหน้าป้องกันโรคด้วยวัคซีน โดยเตรียมกวาดล้างโรคหัดด้วยการตั้งเป้าฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดให้กับเด็กไทยจำนวน 3 ล้านคนทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กไทยมีภูมิต้านทานโรคหัด รวมถึงฉีดวัคซีนโรคคอตีบเพิ่มเติมให้กับผู้ใหญ่อายุ 20-50 ปี เนื่องจากปี 2555 พบผู้ป่วยโรคคอตีบ 50 รายในบางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ จึงต้องดำเนินการเชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาด เบื้องต้นใน ต.ค.-ธ.ค.นี้ เป็นการฉีดวัคซีนให้ประชาชน 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในปี 2558 จะขยายการให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบไปทั่วประเทศ
       
       ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า สปสช.มีหน้าที่จัดหาวัคซีนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึง โดยการดำเนินงานด้านวัคซีน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัคซีนพื้นฐานที่ต้องฉีดให้กับเด็กไทยตามช่วงอายุ มีประมาณ 10 รายการ เช่น โปลิโอ คอตีบ บาดทะยัก และโรคหัด เป็นต้น และกลุ่มวัคซีนทั่วไป อาทิ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โดยมูลค่าวัคซีนที่ สปสช.ดำเนินการอยู่ที่ราว 2,000 ล้านบาทต่อปี จากมูลค่าวัคซีนรวมทั้งประเทศ 4,000 ล้านบาทต่อปี ที่น่าห่วงคือ บริษัทวัคซีนทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ มีแนวโน้มเลิกผลิตวัคซีนพื้นฐาน โดยหันไปผลิตวัคซีนใหม่หรือวัคซีนรวมหลายโรคในโดสเดียวที่ให้ผลกำไรดีกว่า ทำให้วัคซีนมีราคาแพงขึ้น สปสช.จึงร่วมกับ คร.จัดหาแหล่งผลิตวัคซีนใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานองค์การอนามัยโลก และมีราคาเหมาะสมกับประเทศไทย อาทิ จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ทดแทนในประเทศ
       
       นพ.ประทีปกล่าวว่า นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีโรงงานวัคซีนแบ่งบรรจุที่เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และบริษัทวัคซีนประเทศฝรั่งเศส รวมถึงโรงงานแบ่งบรรจุวัคซีนเอกชน สามารถนำเข้าวัคซีนมาแบ่งบรรจุรองรับการใช้วัคซีนในประเทศได้เช่นกัน จึงยืนยันได้ว่าไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนวัคซีนในประเทศแน่นอน ส่วนแผนระยะยาว อภ.ยังมีแผนจัดตั้งโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ อ.ทับกวาง จ.สระบุรี อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีอัตราการใช้จำนวนมากในแต่ละปี นับเป็นการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนให้กับประเทศ
       
       “การเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อสามารถเกิดได้ตลอด ปัจจุบันมีโรคติดเชื้อหลายโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สปสช.และกรมควบคุมโรคจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนที่จำเป็น เป็นการเพิ่มมีภูมิต้านทานโรคควบคู่กับการดูแลสุขภาพตนเองเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเจ็บป่วย” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 พฤศจิกายน 2557

4
สธ.เร่งพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุความไม่สงบ เตรียมจัดอบรมหน่วยกู้ชีพเบื้องต้น ประเมินและช่วยเหลือผู้ป่วยจุดเกิดเหตุก่อนถึงโรงพยาบาล พร้อมเตรียมแพทย์ รพช.ทุกแห่งให้ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เชื่อมต่อระบบส่งต่อทั้งทางบก อากาศ ลดการเสียชีวิต
       
       ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข และคณะตรวจเยี่ยม รพ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มอบเงินเยียวยาบุคลากรและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจำนวน 66 คน หลังจากนั้นเดินทางไปสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปัตตานี ติดตามการดำเนินงานการจัดบริการในพื้นที่พิเศษ การส่งต่อผู้ป่วย การเยียวยาบุคลากร ร่วมทั้งความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมและเครือข่ายบริการอื่นๆ
       
       ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า ได้ให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละทุ่มเท แม้มีความเสี่ยงสูงจากสถานการณ์ความรุนแรงจนบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต โดยมีบุคลากรบาดเจ็บ 29 ราย เสียชีวิต 33 ราย จากการถูกวางระเบิด วางเพลิงสถานีอนามัยและบ้านพักรวม 27 ครั้ง แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนก็ยืนหยัดที่จะดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งในสถานพยาบาลและชุมชน ตลอดจนการส่งรักษาต่อ แม้จะขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะศัลยแพทย์ แต่ก็รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลใกล้เคียงช่วยแก้ปัญหา โดยหมุนเวียนศัลยแพทย์ไปช่วยเหลือ รวมทั้งการสนับสนุนจากกองทัพบกส่งศัลยแพทย์ประจำในรพ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส แห่งละ 1 คน
       
       ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า สำหรับแผนพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ของเขตสุขภาพที่ 12 เรื่องสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรง การจัดระบบความปลอดภัย ทั้งด้านอาคารสถานที่ บุคลากร โดยการติดตั้งกล้องวงจรปิด ไซเรน รั้ว ระบบสื่อสารทางเลือก อบรมทักษะการบริหารความเสี่ยงแก่เจ้าหน้าที่จบใหม่ การเข้าช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ รวมทั้งการสร้างขวัญกำลังใจ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ส่วนระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีแผนพัฒนา ดังนี้ 1. ระบบการบริการผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุก่อนถึงโรงพยาบาลที่มีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการและหน่วยกู้ชีพเบื้องต้น (First Responder) ได้รับความร่วมมือกับภาคเอกชนและกองทัพ โดยจะอบรมพัฒนาศักยภาพหน่วยกู้ชีพให้มีครบทุกพื้นที่ สามารถประเมินและช่วยเหลือผู้ป่วยที่จุดเกิดเหตุได้ปลอดภัย
       
       ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า 2. ระบบรองรับในโรงพยาบาล โดยแพทย์ทุกคนในโรงพยาบาลชุมชน จะได้รับการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน (Southern Trauma and Emergency Care Project) ที่จัดทำหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีระบบให้คำปรึกษาผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ จัดทำข้อมูลการบาดเจ็บ รวมทั้งพัฒนามาตรฐานห้องฉุกเฉิน อบรมศัลยแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมทั้งการฝึกปฏิบัติจำลองเหตุการณ์จริง นอกจากนี้ ได้จัดระบบส่งต่อ ทำงานเป็นเครือข่ายทั้งจากหน่วยงานในพื้นที่และภาคเอกชน รวมทั้งกลาโหม ตำรวจ ในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งทางบกและทางอากาศ โดยมีโรงพยาบาลปลายทางรับส่งต่อคือสุไหงโกลก ยะลา นราธิวาส หาดใหญ่ รพ.สงขลานครินทร์ และรพ.พระมงกุฎฯ แผนการพัฒนาทั้งหมดมีเป้าหมายที่จะให้ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ลดการเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 พฤศจิกายน 2557

5
 แพทย์ชี้ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ หลักการดี แต่เนื้อหาตรงข้าม ทำแพทย์พยาบาลกลายเป็นแพะ ถูกยัดเยียดข้อหาจาก NGO นักสิทธิมนุษยชน ที่ไม่มีความรู้เรื่องการรักษามาโหวตผิดถูก แถมกำหนดโทษบุคลากรทางการแพทย์ร้ายแรงกว่าเจตนาฆ่า-คอร์รัปชัน จวกเป็นกฎหมายประชานิยมไล่แจกเงิน เอาความรู้สึกผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ แนะขยาย ม.41 ครอบคลุมทุกสิทธิแทนออกกฎหมายใหม่
   
        นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข มีอะไรหลายอย่างคล้ายกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คือชื่อกฎหมายดูดีแต่เนื้อในตรงกันข้าม เพราะเมื่อดูแต่ชื่อบวกกับหลักการและเหตุผลในการออกกฎหมาย ซึ่งเสริมด้วยการโฆษณาชวนเชื่อว่าไม่เอาผิดหมอ ไม่ฟ้องหมอ การรักษามีปัญหาก็ได้เงินไปใช้ ก็คงต้องชูสองมือสนับสนุนเต็มที่ แต่ที่บุคลากรด้านสาธารณสุขต่อต้านอย่างหนัก เพราะเอาคนที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์และไม่รู้จริงในเรื่องการรักษาพยาบาล เช่น นักสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหวผู้แสนดีในสายสาธารณสุข (NGO) นักคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น มาพัฒนาความปลอดภัย และมาโหวตถูกผิดด้วยเสียงข้างมาก ทำให้แพทย์และพยาบาลกลายเป็นแพะที่สามารถถูกยัดเยียดข้อหาพยายามฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่นได้ ซึ่งหากพิสูจน์ผิดถูกไม่ได้ก็ให้รีบจ่ายเงิน ซึ่งหลังจากจ่ายเงินและทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วยังสามารถฟ้องร้องต่อได้อีก เป็นการฉีกตำรานิติศาสตร์ ขัดหลักนิติธรรม โดยร่างพ.ร.บ.ยังระบุว่าไม่หาคนผิดถูก แต่กลับเขียนว่าต้องสำนึกผิด ต้องจ่ายเงินเยียวยาผู้บริโภคก่อน มิฉะนั้นจะไม่ให้ศาลลดโทษอาญา
       
       นพ.เมธี กล่าวอีกว่า ที่สำคัญโทษประมาทฐานช่วยคนอื่นไม่สำเร็จร้ายแรงยิ่งกว่าคดีเจตนาฆ่าหรือคอร์รัปชัน ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังมีลักษณะเป็นประชานิยม เพราะเป็นการไล่แจกเงิน ผู้บริโภคมีสิทธิรับเงินด่วนได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูกจากการได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งเงินก้อนแรกจะได้หลายแสนบาทภายในไม่เกิน 2 เดือน ได้รับอีกล้านบาทภาย 2-3 เดือน นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.ยังเอาความรู้สึกของผู้บริโภคเป็นเกณฑ์ โดยขยายอายุความการฟ้องร้องแบบไม่มีอายุความ คือเพียงสงสัยว่าอาการที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการรักษาเมื่อ 10 กว่าปีก่อนก็สามารถฟ้องร้องได้ มีสิทธิรับเงินก้อนที่สามอีก ไม่เพียงเท่านั้นเมื่อเห็นว่าเงินก้อนที่ 2 อาจได้น้อยเกินไป ก็สามารถไปฟ้องศาลได้ทันที แต่หากฟ้องแล้วแพ้คือศาลบอกหมอไม่ผิด ก็ไม่ต้องคืนเงิน ซึ่งกองทุนอาจใจดีแถมให้อีกก้อนด้วย ที่สำคัญฟ้องฟรีไม่ต้องมีทนาย เพราะศาลบอกเป็นคดีว่าด้วยการบริโภค ฟ้องได้แบบไม่ต้องวางเงินต่อศาลเหมือนคดีโกงเงินทั่วไป และทนายก็ไม่ต้องจ้าง
       
       "แพทย์พยาบาลที่ต้องทำงานช่วยชีวิตคนอื่นแบบหามรุ่งหามค่ำ กลายเป็นคนร้ายที่ก่อความเสียหายโดยไม่รู้ร้อนรู้หนาว จนต้องออกกฎหมายนำเงินภาษีไปจ่ายให้โดยไม่รู้ว่าทำผิดจริงหรือไม่ และจ่ายแล้วก็ไม่ได้ช่วยให้กระบวนการรักษาปลอดภัยขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งผมเชื่อว่าร่างกฎหมายนี้คงผ่านสภายุคนี้ไม่ยาก เพราะคงยากที่จะหาใครมาอ่านครบทุกมาตรา ซึ่งกฎหมายแบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับประชานิยมจำนำข้าว แจกแท็บเล็ต คือถูกใจทั้งผู้ให้ พอใจทั้งผู้รับ โดยไม่สนว่าระบบสาธารณสุขจะล่มจมเพราะการไล่แจกเงินโดยไม่ก่อประโยชน์ที่คุ้มค่า จะยิ่งทำให้การพัฒนาทำไม่ได้ ความเสียหายที่อ้างกันก็ยิ่งเกิด วนเป็นวัฎจักรไม่รู้จบ" ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าว
       
       นพ.เมธี กล่าวว่า อยากขอโอกาสในการชี้แจงต่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่แท้จริงของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้และเสนอแนวทางออกในช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องออกกฎหมายใหม่ ไม่ต้องตั้งกองทุนใหม่ ไม่ต้องมีงบบริหารจัดการใหม่ เพราะตอนนี้ก็มีกองทุนด้านสาธารณสุขมากมายอยู่แล้ว โดยควรขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จากที่ช่วยเหลือเฉพาะผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ครอบคลุมผู้ใช้สิทธิประกันสังคมและข้าราชการด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 พฤศจิกายน 2557

6
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยปี 56 ยอดผู้บริโภคร้องเรียนสูง 3,514 เรื่อง มากที่สุดคือบริการสุขภาพ ขณะที่กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคสุดแย่ แก้ปัญหาไม่ได้จริง ทั้งล่าช้า แถมใช้ข้อกฎหมายเอาผิดผู้บริโภคซ้ำด้านสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หนุนตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีโดยเร็ว

        รศ.ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราใช้เวลาในการเสนอ พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคมานานถึง 16 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ปัจจุบันเรื่องนี้ยังค้างอยู่ที่สภา ดังนั้นในส่วนของเราจึงถึงเวลาที่ต้องร่วมแรงร่วมใจในการปฏิรูประบบคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตามส่วนตนเชื่อว่าเมื่อเรามีสภา พ.ร.บ.องค์กรอิสระ จะเกิดเสียที แต่จากการที่รอมานานจึงคิดว่าต้องทำปฏิบัติการให้เห็นถึงความจำเป็นของการมี พ.ร.บ.จึงจำลองคณะกรรมการภาคประชาชน แต่แตกต่างจาก พ.ร.บ.คือมี 2 ชุด 1.ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 2 ชุดมาจากการเลือกตั้งโดยองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ 7 ท่าน 7 ด้าน และ 2.ผู้เชี่ยวชาญเขต 8 เขต
       
        นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคซึ่งร้องเรียนเข้ามายังเครือข่ายมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อปี 2556 พบว่า มีสูงถึง 3,514 เรื่อง ในจำนวนนี้พบว่าปัญหาที่มีการร้องเรียนมาที่สุดคือเรื่องบริการสุขภาพ 1,263 เรื่อง กิจการโทรคมนาคม 749 เรื่อง การเงินการธนาคาร 391 เรื่อง ที่อยู่อาศัย 208 เรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 196 เรื่อง สินค้าและบริการ 191 เรื่อง และอื่น 229 เรื่อง แต่กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันถือว่ามีปัญหามาก ไม่ว่าจะเป็นร้องเรียนแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง ล่าช้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ล่าสุดเป็นกรณีที่บริษัท แมคโดนัลด์ ลงบันทึกประจำวันกับผู้บริโภคที่พบแมลงสาบในช็อกโกแลตซันเดย์ ซึ่งจาการตรวจสอบไม่พบว่ามีประเทศใดเคยทำอย่างนี้มาก่อน และยังพบว่านักวิชาการ และสื่อมวลชนก็เสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเช่นเดียวกัน
       
        นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่าเกิดเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก การไม่เปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริง การทดสอบสินค้าต่อผู้บริโภค การโฆษณาผิดกฎหมาย ไม่ขออนุญาตโฆษณา โฆษณาเกินจริง หลอกลวง เป็นเท็จ ข้อมูลทางเลือกในการบริโภค ไม่เปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจของผู้บริโภค ขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องเดียวกัน ฟ้องคดีนักวิชาการ สื่อที่ให้ข้อมูลต่อสาธารณะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหาการผูกขาดกิจการพลังงาน โครงสร้างราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม คุณภาพบริการที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ความล่าช้าของบริการการรถไฟ การไม่มีประกันผู้โดยสารของการรถไฟ ไม่มีการลงทุนและสนับสนุนผู้บริโภคในการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม
       
        ดังนั้นเบื้องต้นจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการ 1.เร่งรัดการออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ในการให้ความเห็นในการตราและการบังคับใช้กฎหมาย และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานรัฐ 2.พัฒนากลไกยกเลิกสินค้าอันตรายอัตโนมัติ เช่น ยาอันตราย สารเคมีอันตราย หรือสินค้าอันตรายที่พบว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีนโยบายยกเลิกหนึ่งยกเลิกทั้งหมด 3.การเยียวยาเชิงลงโทษ ที่ทันท่วงทีและอัตโนมัติ เพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการ เช่น การเยียวยา 7.3 ล้านบาทกรณีเสียชีวิตจากรถโดยสารสาธารณะ 4.มีหน่วยงานเดียวรับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ข้อมูล รับเรื่องร้องเรียน และคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นอัตโนมัติ เป็นต้น 5.สนับสนุนองค์กรผู้บริโภค เพื่อให้มีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค การเผยแพร่ข้อมูล การเข้าถึงห้องทดลอง การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งตรวจสอบหน่วยงานรัฐในการคุ้มครองผู้บริโภคได้มากขึ้น ปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับรัฐมาก ท่ามกลางความล้มเหลวของภาครัฐ ดังนั้นตรงนี้เห็นว่าภาคประชาชนและภาคเอกชนควรร่วมมือกันทำงาน เพราะฉะนั้นถ้าข้อเสนอที่เสนอไปนั้นไม่เป็นจริงก็จะไปคุยกับคนขับรถโดยสารให้รับผิดชอบผลิตรถที่มีมาตรฐานแข่งขันกัน อยากให้ผู้ให้บริการมีความรับผิดชอบบ้าง ไม่ใช่รับผิดชอบสังคมโดยการปลูกป่าอะไรแบบนั้น แต่ขอให้รับผิดชอบในสินค้า และบริการของตัวเอง
       
        นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า เห็นด้วยว่าจะต้องขับเคลื่อนให้ พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเกิดขึ้นให้ได้ เพราะการเกิดองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภคจะนำไปสู่การปฏิรูปด้านอื่น เช่น การปฏิรูปโครงสร้างของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างของกฎหมายยังเป็นแบบเดิมคือให้อำนาจกับภาครัฐมากกว่า ขณะที่กรอบขององค์การอิสระจะเน้นที่การสร้างการมีส่วนร่วมโดยเพิ่มองค์ประกอบของภาคส่วนต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่เราต้องยืนหยัดต่อสู้กันต่อไปแม้ว่าจะผ่านมา 16 ปี แล้วยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ก็ตาม
       
        คุณชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ กรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การขับเคลื่อนเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคจะต้องทำร่วมกันทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จะละทิ้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ แต่จะต้องพยายามดึงคนดีเข้ามาร่วมงาน นอกจากนี้ยังเห็นว่าจะต้องพัฒนาองค์ความรู้ให้กับประชาชน ทำให้เกิดความแข็งไม่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งนี้เห็นว่าทั้งหมดนี้ควรเริ่มดำเนินการได้เลยโดยไม่ต้องรอให้องค์การอิสระเพื่อการบริโภคเกิดขึ้น
       
        นางสาวอรอุมา เกษตรพืชผล สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ในเรื่องของการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคที่ยังเป็นปัญหาในปัจจุบันนั้นตนเห็นว่าการไกล่เกลี่ยจะได้ผลจริงๆ จะต้องทำบนพื้นฐานของความยุติธรรม ไม่ใช่ว่าไกล่เกลี่ยไปพอให้เรื่องจบๆ ไป ซึ่งหากทำเช่นนั้นเชื่อว่าปัญหาจะไม่จบ คนที่ได้รับผลกระทบก็จะได้รับผลกระทบซ้ำๆ เพราะฉะนั้นจึงเห็นด้วยว่าจำเป็นต้องมีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคขึ้นมา นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรตั้งหน่วยงานขึ้นมาแก้ไขปัญหาผู้บริโภคอย่างครอบคลุมทั้งระบบแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One stop service)
       
        นายบัณฑิต ตั้งประเสริฐ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วตนเห็นด้วยกับการคุ้มครองผู้บริโภค และยืนดีสนับสนุนให้เกิด พ.ร.บ.องค์การอิสระ โดยให้ยึดหลักธรรมาธิบาล มีส่วนร่วม โปร่งใสในการทำงาน อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของ สคบ.ถือว่าครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะดูแลเนื่องจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีน้อย เพียง 200 กว่าคนเท่านั้นแต่ต้องดูแลคนถึง 60 กว่านล้านคน ปรับบทบาทผู้บริโภคจากผู้รับสารเป็นผู้สื่อสารเช่นอาจจะสื่อสารผ่านโลกออนไลน์มากขึ้น แต่จะต้องใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างรู้เท่าทัน

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 มีนาคม 2557

12


นี่เป็นตัวอย่างของหนังสือทำเรื่องเบิกค่าตอบแทนการชันสูตรพลิกศพ เงินส่วนนี้เป็นเงินของกระทรวงยุติธรรม ไม่ใช่เงินบำรุงของโรงพยาบาล หรืองบของกระทรวงสาธารณสุข

ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 148 ระบุว่าหากมีเหตุอันที่ต้องสงสัยว่าจะมีการตายใน 2 กรณีดังนี้ ให้มีการชันสูตรพลิกศพ คือ

1. การตายผิดธรรมชาติได้แก่

ฆ่าตัวตาย
ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
ตายโดยอุบัติเหตุ
ถูกสัตว์ทำร้าย
ตายโดยไม่ปรากฎเหตุ

2. การตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน 

ในโรงพยาบาลจะมีผู้ป่วย(ที่ admit อยู่)ตายผิดธรรมชาติบ่อยๆโดยเฉพาะจากอุบัติเหตุ ซึ่งตามกฎหมายต้องมีการชันสูตรพลิกศพ และมีค่าตอบแทนให้กับแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ หลายโรงพยาบาลทำแล้ว แต่หลายโรงพยาบาลก็ยังไม่ได้ทำ อยากชักชวนเพื่อนๆ(ในโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้ทำเรื่องนี้) สนใจและลงมือทำ เพราะไม่ได้ยุ่งยาก หรือเสียเวลามากนัก

แค่แจ้งตำรวจ และนัดเวลากับตำรวจไปชันสูตรพลิกศพ
ที่ทำกัน คือ เอาศพไปไว้ที่ห้องเก็บศพก่อน ตำรวจพร้อมเมื่อไหร่ เราก็ไปที่ห้องเก็บศพแล้วบันทึกการชันสูตรพลิกศพร่วมกับตำรวจ
(แค่ตำรวจกับแพทย์ 2 ฝ่าย)

(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ระบุว่า "การชันสูตรพลิกศพ กรณีความตายผิดธรรมชาติ ให้เจ้าพนักงานสอบสวน แห่งท้องที่ที่พบศพนั้นอยู่กับสาธารณสุขจังหวัดหรือแพทย์ประจำสถานีอนามัย หรือแพทย์ประจำโรงพยาบาลเป็นผู้ชันสูตรพลิกศพ)

จะยุ่งยากก็เฉพาะ การตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน  เท่านั้นที่จะต้องมีอีก 2 ฝ่าย คือ พนักงานอัยการ และพนักงานฝ่ายปกครอง เข้าร่วมการชันสูตรพลิกศพด้วย

ปีๆหนึ่ง โรงพยาบาลของคุณมีผู้ที่ตายผิดธรรมชาติ จำนวนเท่าไหร่ การชันสูตรพลิกศพ และค่าตอบแทนที่พึงจะได้ ขาดหายไปเท่าไหร่

13
ปัญหากำลังคนด้านสาธารณสุข เป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนานหลายปี โดยเฉพาะ “วิกฤตกำลังพยาบาล” ที่ถูกซ้ำเติมด้วย “นโยบายการควบคุมตำแหน่งข้าราชการพลเรือน” ตั้งแต่ปี 2543 หลังวิกฤติฟองสบู่แตก ทำให้บุคลากรด้านสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ช่วงปีดังกล่าวเป็นต้นมา ไม่สามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้ ยกเว้นแพทย์และทันตแพทย์ที่ยังถือว่าเป็นวิชาชีพขาดแคลน
       
       ฉะนั้น “พยาบาล” จำนวนไม่น้อยจึงมีสถานะเป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราว โดยจำนวนพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว ในสังกัด สธ.มีทั้งสิ้น 26,790 คน ในจำนวนนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพ 12,088 คน หรือร้อยละ 45 ที่ต้องต่อสัญญาจ้างงานทุก 1 ปี ทำให้ขาดความมั่นคงในอาชีพ ขาดรายได้และสวัสดิการที่ทัดเทียมกับข้าราชการ แม้ว่าภาระหน้าที่การงานจะไม่แตกต่างกัน ขณะที่ส่วนหนึ่งเดินหน้าหาอนาคตด้วยการลาออกไปทำงานในภาคเอกชน
       
       ครันก็มาถึงวัน “ทวงถามถึงสัญญา” จากเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวของโรงพยาบาลรัฐให้เป็นข้าราชการ
       
       เปิดเวทีหาทางออก “วิกฤตพยาบาล”
       
       ในการหาทางออกของวิกฤตดังกล่าว คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ร่วมด้วยหน่วยงานภาคีด้านสุขภาพ ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เปิดเวทีสาธารณะ “วิกฤตพยาบาล ระดมปัญญาร่วมหาทางออก” เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงบประมาณ ตัวแทนพยาบาลวิชาชีพ ร่วมเสนอความคิดเห็น
       
       นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า “พยาบาล” ถือเป็นกระดูกสันหลังของระบบสาธารณสุข แต่เดิมวิทยาลัยพยาบาลเป็นผู้ผลิต โดยนำคนในท้องถิ่นมาเรียนแล้วส่งกลับไปบรรจุในโรงพยาบาลท้องถิ่น จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสมองไหล แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ รัฐจึงต้องจำกัดกำลังคนในภาครัฐ
       
       ผลกระทบตามมา คือ ทำให้มีการบรรจุพยาบาลเป็นข้าราชการน้อยลง มีแต่ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว จึงเกิดการสะสมพยาบาลที่ไม่ได้บรรจุ จากจำนวนหลักร้อยเพิ่มเป็นพันจากหลักพันเพิ่มเป็นหลักหมื่นที่ไม่ได้รับการบรรจุ ตอนนี้ปัญหาเรื่องกำลังพยาบาลเปรียบเสมือนอยู่ในถ้ำมืด จึงต้องช่วยกันหาแสงสว่างของทางออกร่วมกัน...
       
       ข้อมูลจากเอกสารความจริงว่าด้วยตำแหน่งข้าราชการกับวิกฤตกำลังพยาบาล ระบุว่า ผลกระทบต่อระบบสุขภาพเมื่อบุคลากรไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ แบ่งออกเป็น 3 เรื่องสำคัญ คือ
       
       1.ผลกระทบต่อการเงินการคลังของโรงพยาบาล เช่น วิกฤตการเงินของโรงพยาบาลหลายแห่งถูกซ้ำเติมมากขึ้น เมื่อต้องนำรายได้ที่มีไม่เพียงพออยู่แล้วมาจ้างลูกชั่วคราวสายวิชาชีพเพิ่ม เพื่อให้มีกำลังคนเพียงพอกับความต้องการบริการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
       
       2.ผลกระทบต่อบุคลากรในระบบสุขภาพ สถานะลูกจ้างชั่วคราวที่รายได้น้อย สวัสดิการต่ำ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความมั่นคง มีภาระงานที่ไม่ต่างจากเพื่อนร่วมวิชาชีพที่เป็นข้าราชการอาจส่งผลให้กำลังคนใหม่ไม่เดินเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ และกำลังคนเดิมในระบบมีภาระงานมากขึ้น
       
       3.ผลกระทบต่อการให้บริการสุขภาพ การมีกำลังคนที่ไม่เพียงพอในระบบบริการสุขภาพ รวมถึงการที่กำลังคนที่เป็นทีมสุขภาพต้องอยู่ในระบบพร้อมกับความรู้สึกไม่มั่นคง ทำให้ระบบบริการสุขภาพของประเทศมีความไม่มั่นคงตามไปด้วย (อ่านเพิ่มเติมได้ทาง http://www.hsri.or.th/issue/1004)
       
       ทางแยกปลดวิกฤตพยาบาล
       
       จากเวทีวิกฤตพยาบาล ระดมปัญญาร่วมหาทางออก นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะเป็นข้าราชการทั้งหมด เพราะด้วยข้อจำกัดหลายประการ ทั้งกรอบอัตรากำลังและงบประมาณภาพรวมของประเทศ ทว่า สิ่งที่ สธ. ต้องดำเนินการ คือ การปรับบทบาทกระทรวง ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น และการบริหารกำลังคนด้วยการจ้างงานในหลายรูปแบบ
       
       ส่วนการแก้ปัญหาให้กลุ่มพยาบาลที่มีสถานะเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่เรียกร้องให้บรรจุเป็นข้าราชการนั้น ขณะนี้ สธ.ได้ยกร่างระเบียบกระทรวง “พนักงานกระทรวงสาธารณสุข” (พนง.กสธ.) ไว้แล้ว รอเพียงให้กระทรวงการคลังเห็นชอบจะมีผลบังคับใช้ทันที
       
       สาระสำคัญของร่างระเบียบดังกล่าวจะมีการแบ่งกำลังคนเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัช 2.กลุ่มสนับสนุน เช่น ธุรการ การเงิน บัญชี และ 3.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เช่น สถาปนิก วิศวะ หรือกลุ่มงานอื่นที่กระทรวงฯ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษ ทำให้หลังจากนี้จะไม่มีระบบลูกจ้างชั่วคราวอีกต่อไป
       
       “พนักงานกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวจะได้เงินเดือนมากกว่าข้าราชการ 1.2 เท่า มีสิทธิการลาเท่ากับข้าราชการ ส่วนสิทธิการรักษาพยาบาลจะนำเข้าระบบกองทุนประกันสังคม ซึ่งในอนาคตจะมีการปรับมาตรฐานทั้ง 3 กองทุนให้เท่าเทียมกัน (ประกันสังคม หลักประกันสุขภาพ และสวัสดิการข้าราชการ) อย่างไรก็ตาม พนง.กสธ.จะไม่มีบำเหน็จบำนาญ แต่จะมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสาธารณสุข โดยการหักเงินสะสมและรัฐจะสมทบในอัตราเท่าๆ กันเข้ากองทุนทุกเดือน” รองปลัด สธ.กล่าว
       
       ส่วนในเรื่องของความก้าวหน้าในวิชาชีพจะแก้ไขระเบียบบางเรื่องเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถเติบโตในสายงานได้ รวมทั้งสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับคนในครอบครัว
       
       นอกจากนี้ ในการประชุมเพื่อหาทางออกจากวิกฤติดังกล่าว เช่น “ข้อเสนอจัดอัตรากำลังและการบริหารจัดการบุคลากรในภารกิจบริการด้านสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข” โดย วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย นักวิจัยและคณะ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาในระยะสั้น คือ การปรับรูปแบบการจ้างงานเป็นรูปแบบอื่นๆ ที่มีข้อพึงให้ความสำคัญในหลายประเด็น
       
       เช่น การใช้คำว่าลูกจ้างที่ผ่านมาทำให้มีผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินหรือสินเชื่อ การปรับปรุงระบบการจ่ายค่าตอบแทน รวมถึงการพิจารณาเพิ่มตำแหน่งข้าราชการในกรณีที่จำเป็น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และแก้ปัญหาขาดแคลนในบางพื้นที่ เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว คือ การพัฒนารูปแบบการจ้างและการกำหนดค่าตอบแทนแนวใหม่ การศึกษาปัจจัยทางด้านกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับการบริหารจัดการบุคลากร พัฒนาการจัดระบบบริการที่มีการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ฯลฯ
       
       ทางด้าน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส.ได้นำเสนอข้อมูลที่เป็นแนวทางในการบริหารบุคลากร กรณีศึกษา ‘การประเมินผล 10 ปี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)’ โดยระบุว่า รพ.บ้านแพ้ว เป็นโรงพยาบาลที่มีฐานะเป็นองค์กรอิสระแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ปัจจุบันมีพยาบาลวิชาชีพจำนวน 184 คน โดยทุกตำแหน่งมีฐานะเป็นพนักงานโรงพยาบาล ไม่มีใครเป็นข้าราชการ ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข เห็นได้จากการเข้ารับบริการและอัตราการลาออกที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการลาออกของบุคลากรในสังกัดโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ
       
       รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตพยาบาลมีมานานแล้ว โดยรอการบรรจุมานานกว่า 7 ปี ส่วนการบรรจุเป็นพนักงาน กสธ.เป็นทางออกในระยะยาว แม้ว่าระบบเงินเดือนจะเท่ากับข้าราชก็ยังไม่พอ ยังไม่จูงใจ ทั้งนี้เมื่อการบรรจุพยาบาลกลับมาใช้ระบบแบบเดิมไม่ได้อาจต้องมาคิดนอกกรอบ เช่น ปลดล็อคนโยบายของรัฐเพื่อให้มีอัตราที่เหมาะสม
       
       ส่วนตัวแทนสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ เสนอว่า การบรรจุเป็นข้าราชการทั้ง 20,000 - 30,000 คนภายในปีเดียวคงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นพวกเราจึงต้องช่วยกันผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขเจรจาร่วมกับทาง ก.พ.โดยบรรจุเป็นข้าราชในปีแรกให้ได้ประมาณ 8,000 ตำแหน่ง
       
       ตัวแทนโรงพยาบาลบางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา วิกฤตพยาบาลที่ผ่านมา ยังไม่มีผู้นำในการแก้ไขปัญหา พยาบาลยังทำงานหนัก สัดส่วนบุคลากรน้อย ทำให้ประชาชนได้รับบริการตามมีตามเกิดหรือตามกำลัง เราจะหาทางออกในการบรรจุเป็นข้าราชการเป็นเป้าหมายของพยาบาล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำกับข้าราชการ การได้เงินตอบแทนไม่ใช่คำตอบเพียงอย่างเดียว เรื่องของศักดิ์ศรีก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ”
       
       นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการ สธ.กล่าวว่า ปัญหากำลังพยาบาลคนนอกยากที่จะเข้าใจ ทั้งนี้อย่าเพิ่งหวังอะไรกันมาก เพราะจะกลายเป็นการหลอกกัน มองอีกทางหนึ่ง คือ การฝากสำนักงบประมาณพิจารณาว่า นโยบายลดอัตรากำลังที่ผ่านมาช่วยลดงบประมาณมากน้อยเพียงใด คุ้มค่าหรือไม่ เพราะการแก้ระเบียบจากลูกจ้างชั่วคราวมาเป็น พนง.กสธ.ก็ยังต้องใช้งบประมาณของรัฐอยู่ดี
       
       แม้จะดูเหมือนว่าวิกฤตพยาบาลในครั้งนี้ยังดูเหมือนมืดมนไร้ทางออก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทุกฝ่ายได้หันหน้าเข้ามาพูดคุยกัน และร่วมกันเสนอทางออกจากปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า “อย่าไปยึดติดกับสิ่งหนึ่ง สิ่งใดอย่างเดียว จะบรรจุเป็นข้าราชการเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องใช้สติในการพิจารณาปัญหาที่เป็นจริง ในการนำเสนอสิ่งที่ดี เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป”


 ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 พฤศจิกายน 2555

14
ตอนที่ ๕ ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ





15
ตอนที่ ๔ ผู้ประสานงานชมรมพิทักษ์สิทธิข้าราชการ และข้าราชการบำนาญ(ผู้ได้รับผลกระทบ)





หน้า: [1] 2 3 ... 22