แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pradit

หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22
301
ข่าว รพศ./รพท. / "รพ. พระนารายณ์มหาราช"
« เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2010, 16:48:42 »
คำถาม "รพ. พระนารายณ์มหาราช" อยู่จังหวัดไหนครับ?

302
สรุปลำดับเหตุการณ์

1.เนื้อหาใจความสำคัญ- สตง.-ทักทวง-กระทรวงสาธารณสุข
ที่ ตผ 0020.1/5978                  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
                                     ถนนพระรามที่ 6 กทม. 10400
                     
                24   พฤศจิกายน   2552

เรื่อง   การกำหนดเงินค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายของกระทรวงสาธารณสุข
      
เรียน   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อ้างถึง.......

   สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ถึง 11 นั้น
   สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่า
   1. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 ได้กำหนดการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง โดยกำหนดค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ ตั้งแต่ 10,000 – 15,000 บาท เภสัชกรตั้งแต่ 3,000 – 4,500 บาท พยาบาลวิชาชีพ  ตั้งแต่ 1,200 – 1,800 บาท เจ้าหน้าที่ระดับปริญญาขึ้นไป ตั้งแต่ 1,200 – 1,800 บาท และต่ำกว่าปริญญา ตั้งแต่ 600 – 900 บาท นั้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ฯ การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศที่มีความแตกต่างกันในทางกายภาพ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือ ลักษณะของพื้นที่ บางแห่งเป็นพื้นที่ที่มีความทุรกันดารมาก บางแห่งมีความทุรกันดารน้อยมาก หรือ ไม่มีเลย การกำหนดอัตราเหมาจ่ายในลักษณะดังกล่าว จึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ที่มีคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานประจำในหน่วยบริการที่มีความทุรกันดารมาก แต่ได้รับค่าตอบแทนเท่ากันกับหน่วยบริการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารน้อย หรือน้อยกว่า เป็นต้น หลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4 ) ข้อ 6 พ.ศ.2551และ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 ซึ่งการกำหนดการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานในพี้นที่ทุรกันดาร และขาดแคลนบุคลากร และแก้ปัญหาความขาดแคลนบุคลากรในหน่วยบริการได้

2.เนื้อหาใจความสำคัญ-กระทรวงสาธารณสุข-ชี้แจง-สตง.
ที่ สธ 0201.041/4758                               กระทรวงสาธารณสุข
                               ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
                     
                18   ธันวาคม   2552

เรื่อง   ชี้แจงการกำหนดเงินค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายของกระทรวงสาธารณสุข
      
เรียน   ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

อ้างถึง    หนังสือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ ตผ 0020/5978 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552

สิ่งที่ส่งมาด้วย   สำเนาหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.3.3/547 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552
      
      กระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาแล้วขอเรียน ดังนี้
      1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 เป็นการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง โดยมุ้งเน้นและคำนึงถึงลักษณะงานที่ปฏิบัติในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปเป็นสำคัญ ซึ่งจะแตกต่างจากการจ่ายเงินค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ฯ (ฉบับที่ 4) และฉบับที่ 6 ซึ่งจะพิจารณาถึงพื้นที่ทุรกันดารและความขาดแคลนบุคลากร
      อย่างไรก็ตามขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ศึกษาวิเคราะห์การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ในภาพรวมทั้งหมดว่ามีความถูกต้องเหมาะสมประการใดหรือไม่ และควรมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขในลักษณะใด ซึ่งรวมถึงหลักเกณฑ์ฯ การจ่ายค่าตอบแทนฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 นี้ด้วย โดยกระทรวงสาธารณสุขจะนำข้อทักท้วงของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินดังกล่าวมาข้างต้น มาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนภายหลังจากได้รับผลการศึกษาวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)แล้ว

3.ปลัดกระทรวงสาธารณสุขยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายรพศ./รพท.

4.เลขาชมรม(ผอก)รพศ/รพท (พี่ธวัตชัย วงค์คงสวัสดิ์) กล่าวให้กำลังใจพวกเราว่า จะสนับสนุนให้ผอก.รพศ./รพท.ทั่วประเทศ จ่ายเงินค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่พวกเราโดยถ้วนหน้า


เฮ....เฮ....เฮ

303
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ  2553
เรื่อง  ข้อเสนอของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. ต่อการแก้ไขปัญหาในกระทรวงสาธารณสุข 
เรียน  ฯพณฯ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข       
สิ่งที่แนบมาด้วย  บทความเรื่อง กระทรวงสาธารณสุขจะพัฒนาอย่างไร  ของ พญ.เชิดชู  อริยศรีวัฒนา   

กระทรวงสาธารณสุขมีปัญหาในเชิงระบบหลายประการอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนาน การจะแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจะได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขรวมถึงเสนอข้อมูลรอบด้านแก่ผู้บริหาร  เพื่อนำไปใช้ประกอบในการวางนโยบายและแผนงานที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง

สมาพันธ์แพทย์รพศ/รพท แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรตัวแทนของแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข อันประกอบไปด้วยแพทย์ประมาณ 6,000 กว่าคน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่ประสบกับปัญหาดังกล่าวโดยตรง  ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบสาธารณสุขไทย นอกจากกระทบถึงขวัญและกำลังใจการทำงานของแพทย์แล้ว ยังส่งผลกระทบถึงผู้ป่วยอีกด้วย เพื่อเป็นข้อมูลแก ฯพณฯ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย จึงขอเสนอนำข้อมูลปัญหาและแนวทางการแก้ไขดังนี้ปัญหาและแนวทางแก้ไขดังนี้
 
1.กรณีปัญหาการตรวจสอบการใช้งบประมาณไทยเข้มแข็ง
คณะกรรมการตรวจสอบยังใช้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับความเป็นจริง  มีการเลือกใช้ข้อมูลเพียงบางส่วนไปนำเสนอต่อสาธารณะ การสรุปผลการตรวจสอบหลายกรณีจึงไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทางสมาพันธ์แพทย์ฯ  มีขอเสนอ ดังนี้
           1.1 ควรแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึกที่ประกอบด้วยบุคคลที่เชื่อถือได้และมีความเป็นกลาง   การระบุว่ามีความผิดทุจริตคอรัปชั่น   ควรมีหลักฐานที่ชัดเจน  มีการกระทำผิดจริง  เปิดโอกาสให้ชี้แจง อย่างเท่าเทียมกัน  หากพบว่ามีการกระทำผิดก็ควรดำเนินการจนถึงที่สุด
         1.2 การจัดสรรงบประมาณควรพิจารณาถึงภาระงานเป็นหลัก ภารกิจบริการทุติยภูมิ และตติยภูมิมีความแตกต่างจากการให้บริการแบบปฐมภูมิในโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนอย่างสิ้นเชิง บริการปฐมภูมิในโรงพยาบาลชุมชนนั้น มีต้นทุนบริการรวมถึงเทคนิคบริการที่ไม่สลับซับซ้อน ให้บริการประชาชนจำนวนไม่มาก ในขณะที่การบริการแบบทุติยภูมิและตติยภูมินั้นสลับซับซ้อนมากกว่า ใช้เทคโนโลยีบริการที่สูงกว่า ให้บริการที่ครอบคลุมประชากรจำนวนมากกว่า จึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าบริการแบบปฐมภูมิ โดยต้นทุนบริการของทั้งสองระบบนั้น จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบในด้านของจำนวนและตัวเลขได้

2. ปัญหาการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เงินงบประมาณตามรายประชากรส่งไม่ถึงหน่วยบริการทั้งหมด ทั้งนี้ในความเป็นจริง สปสช. ดำเนินการกันเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อจัดทำโครงการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวการรักษาพยาบาล  ทำให้หน่วยบริการประสบภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน บางแห่งมีปัญหามากจนอาจไม่สามารถบริหารหน่วยบริการได้ในอนาคตอันใกล้
กรณีนี้สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
 2.1 ควรแยกงบประมาณที่เป็นเงินเดือนของบุคลากรและค่าตอบแทนออกจาก เงินค่า   
รักษาพยาบาล/หัวประชากร
  2.2 เสนอให้มีการตรวจสอบ และทบทวนการทำงานของสปสช. เพราะจากบทบาทหน้าที่ในปัจจุบันสปสช.กำลังทำเกินหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนด การกระทำดัวกล่าวส่งผลกระทบต่อหน่วยบริการเป็นอย่างมาก

3. ปัญหาความขาดแคลนบุคลากร   
ขณะนี้เกิดภาวะขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ทุกในระดับ  โดยเฉพาะรพศ./รพท.    ซึ่งมีภาระงานหนัก รวมถึงภารกิจพิเศษนอกแผนปฏิบัติงาน เนื่องมาจากการที่ สปสช และกระทรวงสาธารณสุขสั่งการลงมาเป็นกรณีพิเศษมาตลอดทั้งปี
   3.1 ควรมีการกำหนดมาตรฐานภาระงานที่เหมาะสมของแพทย์   เพื่อประชาชนจะได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การจัดอัตรากำลังของแพทย์ที่ถูกสัดส่วนกับภาระงาน
   3.2 กำหนดการร่วมจ่ายของประชาชนในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น ในโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ป่วย  เช่น  ดื่มสุรา  สูบบุหรี่ ฯลฯ   หรือการใช้บริการของโรงพยาบาลนอกเวลาราชการของผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะฉุกเฉิน  หรือในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการบริการเพิ่มเติมจากบริการพื้นฐานของโรงพยาบาล ควรให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment)  เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนให้มีการดูแลสุขภาพตนเองเป็นอย่างดี รวมถึง เพื่อลดภาระ งานที่ไม่จำเป็นของบุคลากร และลดภาระทางการเงินที่โรงพยาบาลต้องแบกรับ
   3.3 จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อจ่ายค่าตอบแทนทุกประเภท อย่างเป็นธรรม และพิจารณาเร่งรัดการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ชะลอเรื่องไว้ (ตั้งแต่ สตง. ได้ทำหนังสือท้วงติงมา)  ทำให้บุคลากร ของ รพศ./รพท. สูญเสียขวัญและกำลังใจเป็นอย่างมาก
                      3.4 การจัดสรรโควตาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรอื่นๆของโรงพยาบาลต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ไม่เป็นไปตามสภาพความต้องการที่แท้จริงของโรงพยาบาลในพื้นที่ มีการจัดสรรบุคลากรให้แก่รพศ./รพท. โดยบุคคลที่ไม่เข้าใจระบบการทำงานในรพศ./รพท. และไม่เข้าใจปัญหาในพื้นที่ต่างๆ  อีกทั้งมีการใช้เหตุผลอื่นๆที่ไม่สมควร  มากกว่าความจำเป็นของพื้นที่

4. การแยกการบริหารงานบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขออกจากก.พ.     
ที่ผ่านมา ก.พ.ไม่เข้าใจงานกระทรวงสาธารณสุข มีการยุบหน่วยงานบางหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขไป (ซึ่งมีส่วนทำให้การบริหารงบประมาณไทยเข้มแข็ง มีปัญหา) ในขณะเดียวกัน กพ. ก็มีนโยบายลดจำนวนข้าราชการลง ในขณะที่บุคลากรทางสาธารณสุขยังมีจำนวนไม่พอเหมาะกับภาระงาน ทำให้เกิดความขาดแคลนบุคลากรในทุกระดับ  นอกจากนี้ค่าตอบแทนที่บุคลากรได้รับยังไม่สอดคล้องกับภาระงาน ทั้งยังมีความแตกต่างจากภาคเอกชนค่อนข้างมาก นอกจากนี้กฎระเบียบของ กพ. บางส่วนยังเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา และการพัฒนางานของโรงพยาบาล

5. ระบบคุณธรรม และหลักการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของกระทรวงสาธารณสุข         การบริหารงานในกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมา ถูกวิพากษ์ วิจารณ์ในหลายกรณีว่าไม่เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลองค์กรที่ดี (การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อน การย้าย และการโอน เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งระบบการให้รางวัล และการลงโทษ ต้องทำด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ บนพื้นฐานของกฎหมาย ความรู้ ความสามารถ และผลงานอย่างแท้จริง) ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศใช้นโยบายนี้ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2552

 การบริหารโดยไม่ชอบด้วยคุณธรรม ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาลดังกล่าว มีผลกระทบทำให้ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถจำนวนไม่น้อย ขาดขวัญ และกำลังใจในการทำงาน ประกอบกับนโยบายของท่านรัฐมนตรีสาธารณสุขที่ได้ประกาศเมื่อวันที่20 ม.ค.2553 ว่าจะยึดหลักการ 3 ประการ คือ ความโปร่งใส ความสามัคคี และการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายในสังคมสาธารณสุข ทางสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทยขอมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และ ผลักดันให้มีการดำรงไว้ซึ่งระบบธรรมาภิบาลในกระทรวงสาธารณสุข

 จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป เพื่อเป็นคุณูปการแก่วงการสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน และอนาคต


                                               ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
                           
                                                   ( พญ. พจนา กองเงิน)

304
คมชัดลึก : กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงการคลัง เตรียมประกาศใช้บัญชียาแผนไทย ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข เพื่อใช้รักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย ใช้เป็นรายการยาสมุนไพรที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ สามารถเบิกจ่ายได้ คาดใช้ได้ในเดือนมีนาคมนี้
 
(10ก.พ.) นางพรรณสิริ   กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะผู้บริหารระดับสูง เดินทางไปที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เยี่ยมชมระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน   และการให้บริการงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และมอบนโยบายการพัฒนางาน

 นางพรรณสิริ   กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรไทย ใช้รักษาโรค อาการเจ็บป่วยต่างๆ   เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายการซื้อยาแผนปัจจุบันที่มีราคาแพง โดยจะให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ใช้ยาสมุนไพรที่มีผลการวิจัยรับรองประสิทธิภาพในการรักษาทดแทนยาแผนปัจจุบันไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ส่วนโรงพยาบาลชุมชนใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 

ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ปรับปรุงบัญชียาแผนไทยที่ใช้ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข เพื่อเตรียมประกาศใช้ในการรักษาโรค หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยของประชาชน เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ   โดยสามารถเบิกค่ารักษาได้เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน    คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะทำให้ยาแผนไทยต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการรักษาโรค ได้รับการยอมรับจากบุคลากรการแพทย์ ใช้กันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น และยาแผนไทยมีราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบันหลายเท่าตัว แต่คุณภาพดีไม่แพ้กัน   

 นางพรรณศิริกล่าวต่อว่า รายการยาไทยที่จะใช้ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขครั้งนี้   จะต้องเป็นยาที่ใช้รักษาโรค หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้ทุเลาลง   ไม่รวมยาที่ใช้บำรุงสุขภาพ   หรือยาที่ใช้ป้องกันโรค ประกอบด้วยยา 3 ประเภท ได้แก่ 1.ยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติพ.ศ. 2549 ซึ่งมี 19 รายการ ได้แก่ ยาแก้ไข้ห้าราก ยาเขียวหอม ยาเหลืองปิดสมุทร ยาจันทน์ลีลา ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยาประสะไพล ยาประสะมะแว้ง ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ขมิ้นชัน ขิง ชุมเห็ดเทศ บัวบก พญายอ พริก ไพล และฟ้าทะลายโจร   2.ยาที่เป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาลซึ่งโรงพยาบาลต่างๆผลิตใช้เองทั้งยาสำเร็จ รูป เช่น การผลิตยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ยาที่ผลิตตามคัมภีร์ และยาที่ผลิตจากการศึกษาวิจัยและพัฒนา   รวมทั้งยาที่โรงพยาบาลปรุงเพื่อใช้ในผู้ป่วยแต่ละราย และ 3. ยาที่ผลิตมาจากบริษัทเอกชนในประเทศที่ได้มาตรฐานการผลิตที่ดีหรือจีเอ็มพี( GMP ) และผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว 

 ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขหลายแห่ง สามารถผลิตยาสมุนไพรที่ มีคุณภาพใช้เองในโรงพยาบาล โดยใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น    เช่น ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์   จังหวัดปราจีนบุรี   โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี หากพัฒนาให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี ก็สามารถสนับสนุนให้โรงพยาบาลอื่นๆได้

305
กทม.เตรียมความพร้อมทีมแพทย์ฉุกเฉินจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทางการแพทย์ใน สาธารณภัยกลุ่มชน แก่บุคลากรในเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจากโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน 44 แห่ง และ 8 แห่งจากมูลนิธิต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับเหตุสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในกรุงเทพมหา นครได้อย่างเป็นระบบ
 
นพ.สราวุฒิ สนธิแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการจัดอบรมครั้งนี้ว่าการเกิดภัยพิบัติและสาธารณภัยในประเทศไทย และในโลกมีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยขึ้นอีกทั้งมีความรุนแรงมากขึ้น มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุสาธารณภัยจำนวนมาก ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็มีเหตุสาธารณภัยขึ้นบ่อยครั้งและอาจเกิดเหตุ สาธารณภัยขนาดใหญ่เกิดขึ้นได้ กรุงเทพมหานครจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุสาธารณภัย

 
นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ กล่าวว่า สำนักการแพทย์ กรุงเทพหมานครโดยศูนย์เอราวัณ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการทางการแพทย์ในสาธารณภัยกลุ่มชนแก่บุคลากรในเครือข่ายระบบการแพทย์ฉุกเฉินพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 9 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติโรงพยาบาลสังกัดทบวงหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ รวมทั้งชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินจากมูลนิธิที่ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการระดับพื้นฐานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 8 มูลนิธิจำนวนรวมกว่า 180 คน เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับเหตุสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้อย่างเป็นระบบ โดยรูปแบบการมีทั้งการบรรยาย การสาธิตและฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง นอกจากจะเป็นการเสริมความรู้จากการบรรยาย การสาธิตและยังได้รับประสบการณ์จริง จากการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง ทำให้ได้รู้ข้อผิดพลาดในการฝึกปฏิบัติที่ชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินยังมีอยู่และนำไปพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้พร้อมรับสถานการณ์จริงอย่างเหมาะสมต่อไป
 
ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณกล่าวอีกว่า ในการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง ชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินต้องเตรียมพร้อมและสามารถปฏิบัติการประสานสั่ง การร่วมกับชุดปฏิบัติการอื่นตามแผนปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วย เหลือผู้ป่วยฉุกเฉินและบาดเจ็บสู่ความปลอดภัยให้ได้มากที่สุดอย่างรวดเร็ว ไม่สับสนและทุกทีมปลอดภัย การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อรองรับเหตุสาธารณภัยที่ไม่มีใครบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนเวลาใดและรุนแรงเพียงใด การเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการรับมือกับเหตุสาธารณภัยเพราะเมื่อถึงเวลานั้นจะเกิดความวุ่นวายสับสนมาก ถ้าไม่เตรียมการให้พร้อมไว้ก่อนกรุงเทพมหานครอาจจะไม่สามารถรับมือกับ เหตุการณ์สาธารณภัยขนาดใหญ่ได้

306
วันนี้(8 ก.พ.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข แถลงภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้มีการแก้ไขปัญหากรณีวิทยาลัยนครราชสีมา สาขาวิชาการพยาบาลแล้ว โดยเมื่อตรวจสอบพบว่ากระบวนการเรียนการสอนหลักสูตรได้รับการรับรองเฉพาะปี 2548-2549 แต่เมื่อปี 2550 สภาการพยาบาลได้ขอให้วิทยาลัยมีการปรับปรุงกระบวนการ ทั้งเรื่องเกณฑ์อาจารย์ที่สอนอาจารย์ที่มีชื่อแต่ไม่ได้ไปสอนจริง ซึ่งสภาการพยาบาลได้ให้ข้อมูลว่า ทางวิทยาลัยดังกล่าวได้เพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการ ดังนั้นในปี 2550 จึงได้มีมติไม่รับรองหลักสูตร จึงเป็นปัญหาสำหรับเด็กที่เรียนตั้งแต่ปี 2548 และย่างเข้าสู่ปีที่ 3 ที่ไม่มีการรับรองหลักสูตร และยังถือเป็นปัญหาของเด็กปี 1 ในปี 2550-2551 เป็นต้นมาอีกด้วย

รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า สำหรับทางแก้ปัญหา กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่าควรดำเนินการทางสถาบันและผู้บริหารสถาบันโดยเคร่งครัดตามกฎหมาย โดยกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนนักศึกษาให้แยกออกเป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก ให้สถาบันพระบรมราชชนกช่วยหาสถานที่เรียนให้เด็กที่ประสบปัญหา โดยใช้วิธีการโอนหน่วยกิตไปยังสถาบันการศึกษาใหม่ที่หาได้ ส่วนแนวทางที่ 2 ให้วิทยาลัยพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข 29 แห่ง ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสภาการพยาบาลช่วยพิจารณารับเด็กที่เรียนไม่จบหรือ แม้แต่เรียนจบแล้วไม่สามารถไปขอใบประกอบวิชาชีพได้ ให้มีโอกาสเข้ามาเรียนเพิ่มเติม จนสามารถเข้าไปขอใบประกอบวิชาชีพได้ ถือว่าเข้าเกณฑ์เป็นการเยียวยาทั้งเด็กที่จบแล้วและยังไม่จบหลักสูตร.

307
คมชัดลึก :นาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแพทยสภาอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ว่า คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ
 ที่มี นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธาน จะเปิดรับความคิดเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น.เป็นต้นไป และแพทยสภาจะทบทวนเรื่องนี้ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ซึ่ง สธ.มีตัวแทนเข้าร่วมเป็นกรรมการแพทยสภาหลายคน โดยเฉพาะ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. ร่วมเป็นกรรมการด้วย น่าจะได้ข้อยุติเร็วๆ นี้การดำเนินการใดๆ ก็ตามจะต้องไม่กระทบต่อการผลิตแพทย์เพื่อดูแลสาธารณสุขสำหรับคนไทยในปัจจุบัน รวมทั้งต้องไม่กระทบต่อการบริการของประชาชนชาวไทยด้วย
 ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภายืนยันว่าไม่ได้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ หรือหลักสูตรอินเตอร์ แต่เป็นการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทั้งฝ่ายที่คัดค้านและเห็นด้วย จะรับรองมติที่เกิดขึ้น
 ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า แนวคิดการจัดตั้งหลักสูตรแพทยนานาชาติ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ประสงค์อยากให้เป็นองค์กรอิสระ แต่หลักสูตรดังกล่าวยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ยืนยันว่า มศว เป็นมหาวิทยาลัยที่ติดดิน มีปรัชญาที่ชัดเจนว่าการช่วยคนต้องช่วยคนในถิ่นฐานก่อน โดยฉพาะในประเทศไทยมีคนที่มีชีวิตขัดสนอย่างมาก ยังต้องการความช่วยเหลือจากองค์กร สังคมอีกมากมาย เรื่องนี้ขอให้แก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผลบนฐานคิดของสังคมไทย ที่ยังต้องการความช่วยเหลือจากศาสตร์ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยอีกมาก

308
---ประชาชนต้องเดินทางจากอำเภอหนึ่งสู่ตัวจังหวัด หรืออีกอำเภอหนึ่งเพื่อรับบริการการตรวจรักษา หรือจากจังหวัดหนึ่งสู่อีกจังหวัดหนึ่งมากเกินไป(น่าจะเดินทางน้อยกว่านี้ ถ้า...)
---ประชาชนต้องตื่นแต่เช้าเพื่อเดินทางมาที่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป รอคิวตรวจ เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมาก หากมาช้าอาจต้องรอทั้งวันกว่าจะได้ตรวจ
---เมื่อได้คิวตรวจ แพทย์ก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการตรวจ ดูเหมือนตรวจไม่ละเอียด และผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ
---ยาที่ได้รับ ผู้ป่วยก็ไม่มั่นใจ เพราะรู้ว่าโรงพยาบาลพยายามใช้ยาราคาถูกๆ บางครั้งก็ดูเหมือนแพทย์ให้ยาไม่กี่อย่าง น้อยกว่าแต่ก่อน
---ในโรคที่รื้อรังซึ่งต้องพบแพทย์เป็นระยะๆ แพทย์ก็นัดตรวจแต่ครั้งบางทีนาน 3 ถึง 4 เดือน ผู้ป่วยรู้สึกนานเกินไป
---การนัดตรวจบางอย่าง เช่น การตรวจมะเร็งเต้านมโดยใช้แมมโมแกรม โรงพยาบาลบางแห่งกว่าจะนัดได้ต้องใช้เวลาถึง 3 ถึง 6 เดือน การผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลบางแห่งกว่าจะได้คิวผ่าตัดก็นานหลายเดือน การทำกายภาพบำบัดก็เหมือนกัน บางแห่งกว่าจะได้คิวก็รอจนเบื่อ
---ผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล(โดยเฉพาะแผนกอายุรกรรม และศัลยกรรมในโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป) มีมากเกินกว่าจำนวนเตียงที่มี ต้องนอนเตียงเสริม
---จำนวนพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป มีไม่พอ ไม่เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องดูแลรักษา กระทบต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
---อื่นๆ อีกมากมาย ช่วยกันบรรยายหน่อย-----------

309
ปัญหาที่เผชิญหน้า
วิกฤตวิชาชีพแพทย์
วิกฤตระบบสาธารณสุขไทย
วิกฤตกระทรวงสาธารณสุข
ปัญหาที่มีอยู่จริง---ใครรู้-ใครเห็น-ใครทำอะไร?
                           ---ที่ผ่านมาใครทำอะไร---กระทรวงสาธารณสุข-แพทยสภา-แพทยสมาคม
                                                                 ---(ราช)วิทยาลัยแพทย์-โรงเรียนแพทย์
(กระทรวงสาธารณสุขที่กลุ่มแพทย์ชนบทมีอิทธพลมายาวนานทำอะไรบ้าง /ทำเป็นหรือเปล่า/แก้ปัญหาหรือสร้างปัญหา?)
ประเด็น-คิดว่ามีปัญหาหรือเปล่า?-รู้สาเหตุของปัญหาหรือเปล่า?-รู้วิธีแก้ปัญหาหรือเปล่า?-แก้ปัญหาตรงจุดหรือเปล่า?-แก้ปัญหาหนึ่งแล้วสร้างอีกปัญหาหนึ่งหรือเปล่า?)

วิกฤต/ปัญหาที่สำคัญ
๑. ระบบคุณธรรม/ธรรมาภิบาลในกระทรวงสาธารณสุข
---เป็นรากเหง้าของทุกปัญหา
---การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้บริหารระดับต่างๆ-การแต่งตั้ง/โยกย้าย(ด้วยเกณฑ์อะไร?/เหตุผลอะไร?/โปร่งใส?/ด้วยเป้าหมายอะไร?/ผลงาน/ความสามารถอะไร? หรือด้วย..............)

ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ ทั้งหมด การทำให้บ้านเมือง มีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้  -------------------------------พระบรมราโชวาท   ๑๑ ธค. ๒๕๑๒

การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อน การย้าย และการโอน เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งระบบการให้รางวัล และการลงโทษ ต้องทำด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ บนพื้นฐานของกฎหมาย ความรู้ ความสามารถ และผลงานอย่างแท้จริง
-------นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข     ๙  มค. ๒๕๕๒

ผู้บริหารทุกระดับ เข้าสู่ตำแหน่งเพื่ออำนาจ(บริหาร) ผ่านช่องทางต่างๆ(ที่ไม่ใช่ธรรมาภิบาล) จึงทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาตัวให้อยู่ในอำนาจ(บริหาร) หรือให้มีอำนาจ(บริหาร)มากขึ้น  ไม่ใช่มุ่งทำผลงานเพื่องาน ----- เราต้องการให้คนดี(ที่มีความกล้า)ได้เป็นผู้บริหารกระทรวงฯในทุกระดับ
คนดีไม่ได้รับการส่งเสริม คนดีถูกกลั่นแกล้ง คนดีถูกมองข้าม
----------------------------------------คนดีจะหมดกำลังใจ คนดีจะสูญหาย กระทรวงฯจะ......................?

๒. ความขาดแคลน/การกระจายแพทย์
---ใคร(หน่วยงานใด/องค์กรใด)รับผิดชอบเรื่องนี้?-ทำไมถึงแก้ไม่ได้สักที หรือไม่ตั้งใจแก้?
---ใครรู้? ใครเห็น? ใครทำอะไร?
---อุปสรรค/ปัญหา คือ ๑-๒-๓-----?
---ต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น(แล้ว)กับประชาชน และสังคม เพื่อให้ทุกฝ่ายผลักดัน
                            -การรอเพื่อตรวจรักษา/วินิจฉัยที่รพศ/รพท.-ผู้ป่วยนอก-ผ่าตัดบางอย่าง-ตรวจพิเศษ
                            -ความละเอียดในการตรวจรักษา(เวลาในการตรวจผู้ป่วยแต่ละราย)-นาที?
                            -การที่ต้องถูกส่งตัวไปตรวจรักษา/วินิจฉัยจากรพช.ไปยังรพศ/รพท.(ความไม่สะดวก-ความล่าช้า-ผลการรักษาไม่ดี)
                            -ความแออัดของผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในรพศ/รพท.(เตียงเสริม)
                            -ผู้ป่วยหนักไม่มีห้องไอซียูให้นอน ต้องนอนในหอผู้ป่วยรวม
                            -ยาราคาถูกที่โรงพยาบาลจัดซื้อมาใช้รักษาผู้ป่วย คุณภาพดีหรือ?

---ข้อมูลเชิงประจักษ์
                       -การไหลออกของแพทย์-ภาพรวม-ภาพย่อย
                       -ค่าตอบแทน/ภาระงาน
                       -ความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน/ฟ้องร้อง(จำนวน-ภาพรวม-ภาพย่อย---ความรุนแรง)
                       -คุณภาพของผู้เลือกเรียนคณะแพทย์ศาสตร์/สัดส่วนชาย:หญิง
                       -การเลือกเรียนแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ
                       -จำนวนผู้ป่วย(นอก/ใน)ของรพศ/รพท-จำนวนผู้ป่วยส่งต่อ
                       -จำนวนผู้ป่วย(นอก/ใน)ของรพช-จำนวนผู้ป่วยส่งต่อ
                       -จำนวนผู้ป่วยหนักในรพศ/รพท/รพช
                       -การผ่าตัด/หัตถการในรพศ/รพท/รพช

๓. ระบบที่ไม่ต้องรับผิดชอบ
---ผู้ป่วยไม่ต้องรับผิดชอบ---ไม่ต้องจ่ายค่าตรวจรักษา---ไม่ดูแลสุขภาพตัวเอง---ร้องเรียนฟ้องร้องตามสบาย(ฟรีด้วย)
---โรงพยาบาลที่ส่งต่อผู้ป่วยไม่ต้องตามจ่าย---ส่งอย่างเดียว---ไม่อยากรับกลับ
---ผู้บริหารไม่ต้องรับผิดชอบ---ระดับโรงพยาบาล---ระดับกรมกองต่างๆ---ระดับกระทรวง?

๔. ประเด็นย่อย
๔.๑ ระบบการให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม?
๔.๒ มาตรฐานวิชาชีพ/การทำงาน?
๔.๓ ระบบการส่งต่อผู้ป่วย?
๔.๔ ระบบการสร้างสุขภาพ/ซ่อมสุขภาพ?
๔.๕ การแยกตัวออกจากกพ.?
๔.๖ ความผิดจากการประกอบวิชาชีพแพทย์ไม่เป็นคดีอาญา?

เชิญชวนเพื่อนๆสมาชิก แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่เลยครับ

310
จาก กรณีที่ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. นายกฤษดา  ศรีกัลยา ผู้พิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์  พร้อมด้วยนางเกษมศรี ศรีกัลยา ได้นำนายพินิจพงษ์ ศรีกัลยา อายุ 69 ปี อยู่บ้านเลขที่ 30/2 ถ.สุรนารายณ์15 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นบิดา เดินทางเข้ายื่นหนังสือเพื่อร้องเรียนและขอความเป็นธรรม ต่อสภาทนายความจังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากนายพินิจพงษ์ ได้เข้าทำการผ่าตัดดวงตาข้างซ้าย เพื่อรักษาอาการโรคต้อกระจก ที่โรงพยาบาลเซ็นต์เมรี่ นครราชสีมา แล้วเกิดอาการบอดสนิท แต่ทางโรงพยาบาลกลับปัดความรับผิดชอบ ไม่ยอมทำการรักษาต่อโดยให้ไปหาทางรักษาเอาเองที่ รพ.แห่งอื่นแทน อีกทั้งยังไม่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งที่จ่ายค่ารักษามีราคาสูงแต่กลับถูกปฏิเสธการรับผิดชอบในทุกด้าน โดยมีนายพลกฤต เนาว์ประโคน ประธานสภาทนายความจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนครั้งนี้
 
นาย พินิจพงษ์  ศรีกัลยา ผู้เสียหาย เล่าว่า ตนเองเริ่มมีอาการดวงตาฟ่าฟาง ซึ่งเชื่อว่า อาจจะเกิดจากการขับรถตอนกลางคืน จึงเข้าไปปรึกษาแพทย์ที่  รพ.เซ็นต์เมรี่ โดยแพทย์ระบุว่า เป็นตาต้อกระจก  ถ้าจะรักษาให้หายขาดได้จะต้องทำการผ่าตัดดวงตาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะคิดค่าผ่าตัดดวงตาข้างละ 17,000 บาท ตนจึงขอผ่าตัดทีละข้างก่อน และเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2552 ที่ผ่านมาได้ทำการผ่าตัดดวงตาข้างซ้าย ทั้งนี้หลังจากการผ่าตัดมีอาการปวดที่ดวงตา ทั้งที่กินยาที่แพทย์ให้มาสม่ำเสมอและปฎิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่ง ครัด จากนั้นอีก 3 วันเข้าไปปรึกษาแพทย์บอกเป็นอาการปกติ ขณะที่อาการปวดของตายังไม่หาย เวลาล่วงเลยผ่านไป 7 วัน จึงเข้าไปปรึกษาแพทย์อีกครั้ง แพทย์ก็ยังยืนยันว่า เป็นอาการปกติดี จากนั้นเวลาผ่านมาประมาณ 2 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเกิดอาการปวดที่ดวงตาอย่างรุนแรง ตนจึงเข้าไปพบแพทย์อีก แต่ครั้งนี้แพทย์บอกว่าไม่สามารถรักษาอาการนี้ได้แล้ว พร้อมกับแนะนำให้ไปหาทางรักษาเองที่โรงพยาบาลแห่งอื่น ตนจึงให้บุตรชายพาไปรักษาต่อที่ รพ.ราชวิถี  แพทย์วินิจฉัยว่าจอประสาทตาที่ทำการผ่าตัดนั้น เสื่อมแล้ว ตนมีความรู้สึกเสียใจมาก โชคยังดีที่ไม่ผ่าตัดทั้ง 2 ข้างตามคำบอกของแพทย์
 
ด้าน นายกฤษดา   ผู้พิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์  บุตรชายของนายพินิจพงษ์ฯ กล่าวว่า สาเหตุที่พาบิดาไปทำการรักษาที่ รพ.เอกชน เนื่องจากเชื่อว่า การให้บริการในหลายๆ ด้านสะดวกรวดเร็ว และน่าจะดีกว่า รพ.ของรัฐ จึงยอมควักเงินส่วนตัวทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษารวมกว่า 2 แสนบาท ทั้งที่ถ้าจะรักษาใน รพ.ของรัฐ ก็รักษาฟรีและสามารถเบิกได้ตามระเบียบ และหลังจากทราบผลการรักษาของบิดาแล้ว ตนได้พยายามติดต่อโรงพยาบาลเซ็นต์เมรี่ เพื่อให้ทำการรักษาต่อให้จนหายเป็นปกติ แต่ทาง รพ.กลับไม่สนใจบอกว่าให้ไปหาทางรักษาเอาเองที่ รพ.อื่นแทน และตนได้ทักท้วงให้ทาง รพ.แสดงความรับผิดชอบกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เนื่องจากตนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง จึงอยากเรียกร้องให้ทาง รพ.ออกมาแสดงรับผิดชอบ  เพราะทั้งหมดเกิดจากความผิดพลาดของทาง รพ.เอง ทั้งนี้หากบิดาของตนรับการผ่าตัดดวงตาทั้งสองข้าง ตามคำแนะนำของแพทย์ เชื่อว่ายิ่งจะทำให้การดำเนินชีวิตของบิดาตนเองมีความลำบากมากกว่านี้อย่าง แน่นอน
 
ด้าน นายพลกฤต เนาว์ประโคน ประธานสภาทนายความจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวภายหลังรับหนังสือร้องเรียนว่า จากการตรวจพยานหลักฐานที่เห็นเบื้องต้น นั้นทางโรงพยาบาลน่าจะต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ หรือให้คำปรึกษาเพื่อหาทางออก ไม่ควรจะปฏิเสธอย่างเดียว อย่างไรก็ตามทางสภาทนายความ จะเร่งดำเนินการตามที่ผู้เสียหายร้องขอมา โดยการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

311
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท
ต่อกรณี มศว.จะเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ
อันจะส่งผลในทางลบต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท

วันที่  3 กุมภาพันธ์ 2553
โดยนายแพทย์เกรียงศักดิ์  วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
สืบ เนื่องจากการที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีความพยายามที่จะเปิดหลัก สูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ  โดยให้เหตุผลเพื่อให้การแพทย์ไทยสามารถก้าวทันกระแสโลกได้  โดยได้ผลักดันผ่านสภามหาวิทยาลัยไปแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากแพทยสภา ซึ่งหากอนุมัติก็จะสามารถรับนักศึกษาแพทย์ได้ในปีการศึกษา 2553 นี้
ท่ามกลางการคัดค้านของกลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และความคลุมเครือไม่ชัดเจนต่อนโยบายการผลิตแพทย์นานาชาติของประเทศไทย ไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมาแพทยสภาก็ได้อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติของคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นที่เรียบร้อยอย่างเงียบ ๆ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 และจะมีการรับรองมติการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์2553 นี้  โดยมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากหลักสูตรนานาชาติมาเป็นหลักสูตรโปรแกรมภาษา อังกฤษ (English program)  เพื่อลดแรงต้านจากสาธารณะ  อย่างไรก็ตาม หลักสูตรนี้ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของนโยบายการผลิตบัณฑิตแพทย์ในสถาบัน ของรัฐของประเทศไทย
แม้ว่าในเบื้องต้นหลักสูตรดังกล่าวจะระบุว่าผลิตบัณฑิตแพทย์เพียงแค่ปีละ 20 คน  รับเฉพาะสัญชาติไทย เรียนจบต้องใช้ทุน 3 ปี เช่นเดียวกับแพทย์ในหลักสูตรอื่น  อย่างไรก็ตามด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าเล่าเรียนต่อปีของหลักสูตรนี้ที่มีราคาสูงถึงคนละ 1.2 ล้านบาทต่อปี ตลอด 6 ปีต้องใช้เงินเป็นค่าเล่าเรียนกว่า 7.2 ล้านบาท  ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งย่อมจะสะท้อนให้เห็นว่า  หลักสูตรนี้จะมีก็แต่ลูกหลานของคนมีเงินเท่านั้นที่มีโอกาสได้เข้าเรียนได้
ประกอบ กับมาตรการปกติในปัจจุบันที่บังคับให้ใช้ทุน 3 ปีนั้น  หากบัณฑิตแพทย์คนใดไม่ประสงค์จะใช้ทุน  ก็สามารถใช้เงินเพียง 4 แสนบาทเท่านั้น จ่ายคืนรัฐบาลเป็นการชดใช้ทุนแทน  ซึ่งคิดเป็นปริมาณเงินที่จ่ายเพื่อที่จะไม่ต้องใช้ทุนเพียง 5% ของค่าเทอมตลอดหลักสูตรภาษาอังกฤษนี้เท่านั้น  ซึ่งก็พอจะทำนายได้ว่า  ยากที่บัณฑิตแพทย์ที่พ่อแม่ผู้มีอันจะกินลงทุนลงเงินมามากขนาดนี้จะให้ลูก หลานบัณฑิตแพทย์ไปใช้ทุนยังโรงพยาบาลที่มีความขาดแคลนในชนบท  ใช้เงินอีกเพียง 4 แสนบาทในการชดใช้ทุนแทนการออกไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนก็เป็นเรื่องที่ ไม่ยากเย็นเลยและ ที่สำคัญกว่านั้น  การผลิตบัณฑิตแพทย์ด้วยการเก็บค่าเทอมสูงถึง 1.2 ล้านบาท/ปีนั้น  เป็นเงินที่สูงมากนั้น  น่าจะเป็นการมุ่งเน้นการทำรายได้ให้กับคณะและผู้บริหารของคณะมากกว่าที่จะ เกิดประโยชน์ใดๆกับสังคมไทย  การเรียนแพทย์ต้องมีการฝึกเย็บแผลผ่าตัดจริงกับผู้ป่วย  ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยที่มาเป็นเสมือนผู้ เสียสละให้นักศึกษาแพทย์ฝึกฝนความเชี่ยวชาญ  จนเมื่อเก่งแล้วจบการศึกษาแล้วก็หวังว่าจะได้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนธรรมดา ต่อไป  แต่การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษครั้งนี้ กลับเป็นการตอบสนองกระแสการผลิตแพทย์เพื่อการพานิชย์อย่างชัดเจน   
มศว.เป็น มหาวิทยาลัยของรัฐ  เป็นองค์กรที่ควรจะเป็นแบบอย่างในการผลิตแพทย์เพื่อดูแลคนไทย  โดยเฉพาะคนไทยในชนบทที่ยังขาดแคลนแพทย์อยู่อีกมาก  มศว.มิต้องเป็นห่วงการแพทย์เชิงพานิชย์ว่าจะไม่มีแพทย์ที่เก่งภาษาอังกฤษมา เข้าสู่ระบบ  เพราะสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็มีภาวะสมองไหลจากชนบทสู่เมือง จากโรงพยาบาลรัฐสู่โรงพยาบาลเอกชน และจากประเทศไทยสู่ประเทศตะวันตกอยู่แล้ว โดยที่มีต้องไปผลิตแพทย์เป็นการเฉพาะเพื่อป้อนตลาดระดับบน
มศว.ใน อดีตได้ผลิตแพทย์ที่มีอุดมการณ์ในการดูแลประชาชนในชนบทอย่างทุ่มเทหลายคน  ที่โดดเด่นมากคือ นายแพทย์วรวิทย์  ตันติวัฒนทรัพย์  แพทย์มศว.รุ่น 1 ซึ่งจบแล้วก็อาสาไปทำงานดูแลประชาชนที่ยากไร้ในพื้นที่ชายแดนที่กันดารที่สุดที่โรงพยาบาลอุ้มผาง  จังหวัดตาก  จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี  นี่คือต้นแบบและภารกิจที่ คณะแพทย์ มศว. ควรทำมากกว่าหลักสูตรแพทย์ภาษาอังกฤษที่ไม่ได้มีไว้เพื่อการตอบสนองความต้อง การของสังคมไทย
ชมรม แพทย์ชนบทเห็นว่า  การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษดังกล่าว มีความรีบเร่งในการอนุมัติหลักสูตรโดยขาดความรอบคอบและขาดการตรวจสอบจาก สาธารณะถึงข้อดีข้อเสียอย่างถี่ถ้วน  การผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์นั้นจะส่งผลในเชิงลบต่อระบบการ กระจายแพทย์ในระยะยาว และการอนุมัติในครั้งนี้จะส่งผลให้มหาวิทยาลัยอื่นๆเอาเป็นแบบอย่างได้ จนเชื่อว่าจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง  ต่อไปในอนาคตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ของรัฐอาจสนใจผลิตแพทย์หลักสูตรภาษา อังกฤษมากกว่าหลักสูตรปกติก็เป็นได้ เพราะมีผลประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยมากกว่าหลักสูตรการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท  ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนค่าเทอมเพียงปีละ 3 แสนบาทเท่านั้น
ชมรมแพทย์ชนบทขอเชิญชวนคณาจารย์ชาวศรีนครินทรวิโรฒ  ศิษย์เก่าของ คณะแพทย์ มศว. รวมทั้งนิสิตแพทย์ทุกคน  ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านการตัดสินใจที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนน้อยใน ครั้งนี้  และขอเชิญร่วมชื่นชมและเป็นกำลังใจกับอาจารย์ 6 ท่านที่กล้าออกมาสะท้อนความไม่ชอบธรรมในครั้งนี้ต่อสาธารณะ
ดังนั้นชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อสภามหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ  ได้ทบทวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้  และขอให้แพทยสภายุติการอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในระยะยาว 
วันนี้ แพทยสภามีแนวทางในการแก้ปัญหาสมองไหลจากชนบทสู่เมือง และการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในชนบทอย่างไร  สิ่งนี้คือภารกิจของแพทยสภามากกว่าการไปผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์อย่างเช่นหลักสูตรนี้

312
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยผลวิจัยพบ โรงพยาบาลเอกชนปรับตัว ชูจุดขาย "ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ" ของภูมิภาคเอเชีย (Medical Hub) ให้บริการรักษาคนไข้ต่างชาติกำลังซื้อสูง ส่งผลแพทย์และพยาบาลสมองไหลออกจากระบบ กระทบโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นักวิชาการหวั่นหากไม่เร่งแก้ปัญหาอาจเหลือแต่แพทย์มือใหม่ไว้รักษาคนจน แนะเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์เสริมเข้าสู่ระบบหรือเปิดรับแพทย์ต่างชาติ เข้ามารักษาคนไข้ต่างชาติเพื่อลดผลกระทบ
 
ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ประเทศไทยเติบโตเป็นศูนย์กลางสุขภาพของภูมิภาค (Medical Hub) ชั้นแนวหน้าของเอเชียเทียบชั้นประเทศต้นแบบอย่างสิงคโปร์ (ซึ่งไทยก็แซงหน้าด้านจำนวนคนไข้ไปแล้วด้วย) ได้ในระยะเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งทศวรรษ ส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนมาตั้งแต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 และตั้งแต่ปี 2546 ทุกรัฐบาลก็มีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของทวีปเอเชีย แต่ความสำเร็จนี้กลับส่งผลกระทบกับการโครงการหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ จากปัญหาราคาค่ารักษาที่สูงขึ้น และยิ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ ทันตแพทย์และพยาบาลรุนแรงขึ้น
 
ทั้งนี้จากการศึกษาเรื่อง "แนวทางการพัฒนาศูนย์กลางสุขภาพของประเทศไทย (Thailand Medical Hub"ซึ่งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบหมายให้ รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ รศ.นพ.ศิรชัย จินดารักษ์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำการศึกษา พบว่าโรงพยาบาลเอกชนปรับตัวหันมาให้บริการคนไข้ชาวต่างชาติที่มาทำงานและ ท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้มากขึ้นเป็นลำดับ และหลังจากรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของบริการทางด้านสุขภาพ ของเอเชีย พบว่าในปัจจุบันมีคนไข้ชาวต่างชาติที่รับการรักษาในประเทศไทย (รวมนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่มาทำงานหรือตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคนี้) มากถึงปีละ 1.4 ล้านคน
 
การปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนเพื่อรองรับคนไข้กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น  กลุ่มที่เน้นการรักษาด้วยเทคโนโลยีมาตรฐานระดับโลก กลุ่มที่เน้นการรักษาที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของสถานพยาบาล (เช่น ในด้านศัลยกรรมตกแต่ง) กลุ่มที่เน้นการรักษาด้วยเทคโนโลยีระดับสูงแต่ยังอยู่ในขั้นทดลอง (เช่น การรักษาด้วยเซลล์ต้นแบบหรือ Stem Cell) กลุ่มที่เน้นการรักษาด้านทันตกรรม และกลุ่มที่เน้นการให้บริการตรวจสุขภาพ  โดยใช้วิธีการทำตลาดในต่างประเทศที่หลากหลาย ทั้งการใช้ตัวแทนในประเทศและต่างประเทศ หรือบางแห่งทำตลาดด้วยตนเอง
 
รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า การขยายตัวของการให้บริการทางการแพทย์กับชาวต่างชาติมีผลกระทบทั้งในด้านบวก และด้านลบ โดยในด้านเศรษฐกิจนั้น บริการนี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มประมาณร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) แต่การที่คนไข้ชาวต่างชาติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ปัญหาการขาดแคลน บุคลากรทางการแพทย์ (โดยเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล) มีความรุนแรงมากขึ้น  การที่ชาวต่างชาติเข้ามาพร้อมกับกำลังซื้อที่สูงกว่าคนไทยมากมีส่วนสำคัญใน การดึงดูดแพทย์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) จากทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมทั้งอาจารย์แพทย์และทีมงานจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปสู่โรงพยาบาลเอกชนกลุ่มที่เน้นการรักษาคนไข้ต่างชาติมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตแพทย์ในระยะยาว การที่มีกำลังซื้อเข้ามาอย่างมากมีส่วนที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เอกชนเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นในระยะหลัง และมีแนวโน้มที่จะทำทั้งในสถานพยาบาลและโครงการหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ ของรัฐ (ไม่ว่าจะเป็นโครงการบัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ หรือ โครงการประกันสังคม) มีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการรักษาบุคลากรไม่ให้ถูกดึงออกไปมากจนเกิดผลกระทบ รุนแรงต่อคุณภาพบริการของโครงการเหล่านี้
 
ดังนั้น เพื่อที่จะรักษาสมดุลของผลกระทบในด้านบวกและลบนี้ คณะผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนะหลายประการ โดยนอกจากเสนอให้ผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มอย่างเต็มที่แล้ว ยังเสนอให้ปรับปรุงกฎระเบียบของแพทยสภาให้เอื้อกับการนำแพทย์ชาวต่างชาติที่ มีคุณภาพเข้ามาเพื่อบรรเทาผลกระทบในด้านการขาดแคลนบุคลากรซึ่งมีความรุนแรง มากขึ้นจากการที่มีคนไข้ต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย เพิ่มขึ้น และในกรณีที่จำนวนคนไข้ต่างชาติกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ก็เสนอให้เก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเฉพาะจากคนไข้ต่างชาติที่มีจุดประสงค์หลักใน การเดินทางมาประเทศไทยเพื่อรับบริการด้านรักษาพยาบาล แล้วนำรายได้ส่วนนี้มาอุดหนุนการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มและช่วยเพิ่ม แรงจูงใจในการรักษาและเพิ่มจำนวนอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนแพทย์ ด้วย
 
"ปัจจุบันเราก็มีปัญหาขาดแคลนแคลนบุคลกรทางการแพทย์อยู่แล้ว ถ้าบุคลากรจำนวนมากต้องไปให้บริการคนไข้ต่างชาติอีก ก็จะยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้น   อีกทั้งแพทย์ที่จะไปรักษาคนต่างชาติมักเป็นอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ทาง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝนเป็นสิบปี การที่อาจารย์แพทย์เหล่านี้ถูกดึงไปรักษาคนไข้ต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงก ว่า ก็จะมีผลกับคุณภาพการเรียนการสอนของแพทย์ไทยด้วย และการดึงแพทย์ระดับรองลงมาให้อยู่ในระบบของภาครัฐก็จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น ตามไปด้วย ซึ่งผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องนำเรื่องเหล่านี้มาพิจารณาด้วย"  รศ.ดร.อัญชนา กล่าว พร้อมกับบอกว่า ปัญหาวิกฤติทางการเมืองในประเทศไทยอาจทำให้ผู้ป่วยต่างชาติจำนวนหนึ่งยังไม่ กล้าเข้ามารักษา แต่เมื่อวิกฤตินี้หายไป ธุรกิจนี้ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และถ้าภาครัฐไม่มีมาตรการรับมือ ก็อาจเกิดปัญหาตามมามากมายทั้งในด้านการขาดแคลนแพทย์ที่รักษาคนไทย ค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนไทยก็จะแพงขึ้น และที่สำคัญต้นทุนของโครงการหลักประกันสุขภาพต่างๆ ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าจะลดผลกระทบเหล่านี้ นอกจากการเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นรวมถึงควรเปิดโอกาสให้แพทย์ ชาวต่างชาติเข้ามาด้วยแล้ว รัฐบาลควรหันไปเน้นการสนับสนุนธุรกิจเชิงสุขภาพอื่นๆ เช่น สมุนไพร สปา หรือการนวดแผนไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยส่งผลกระทบด้านลบต่อการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล ของคนไทยมากเหมือนกับการส่งเสริมธุรกิจด้านการรักษาพยาบาล

313
๓  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓
เรื่อง  ขอกล่าวโทษ
เรียน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
   ด้วยข้าพเจ้า   แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา  อายุ ๖๔ ปี  อาชีพข้าราชการบำนาญ อยู่บ้านเลขที่ ๙๙๙/๓๘ หมู่ ๒ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร  และแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล อายุ ๕๔ ปี
อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๖/๖ หมู่ ๑๗ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร  มีความประสงค์จะขอกล่าวโทษ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเคยเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งและเคยดำรงตำแหน่งคณะกรรม การหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหรือในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดังต่อไปนี้
   ข้อ๑. เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ จนถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๓ วันและเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด   ได้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐประกอบด้วยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ  ได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมาย  โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้กำหนดอัตราเงิน เดือนบุคลากรได้เอง    โดยต่างก็รู้อยู่แล้วว่าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้อำนาจไว้        ปัจจุบันเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีเงินเดือนๆ ละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท(สองแสนบาทถ้วน)  ส่วนบุคลากรคนอื่นๆ ก็จะมีเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงกว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล        เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗
   ข้อ ๒. เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ จนถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๓ วันและเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด   คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันกระทำความ ผิดต่อกฏหมาย โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  มีมติเห็นชอบ อนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไปทำงานวิจัย และงานประชาสัมพันธ์   โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจ หน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว          ทำให้ต้องสูญเงินไปนับหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้า
พนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๓. เมื่อระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๕๒ จนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ วันเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด  คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันกระทำความผิด โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไปทำโครงการ การจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ ระยะที่ ๒ (CMU Tract 2)  ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐    โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจ หน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว     ทำให้ต้องสูญเงินไปนับหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๔. เมื่อระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๕๒ จนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ วันเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด  ภายหลังที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินงการ การจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ ระยะที่ ๒ (CMU Tract 2)  ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐  แล้ว   เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรองสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(นายประทีป ธรกิจเริญ)  ได้ร่วมกันบริหารโครงการดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจหน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว     ทำให้รัฐต้องเสียหายไปหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๕. เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐  นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งในการออกข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ว่าด้วยพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐ ในข้อ ๑๒ โดยให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ มีอำนาจในการอนุมัติการจัดหาพัสดุประเภทยาเช่น  ยาต้านไวรัสเอดส์จากองค์การเภสัชกรรม   ในวงเงินครั้งละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีอำนาจเช่นนั้น  และรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใด ให้อำนาจเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เป็นผู้มีหน้าที่ซื้อยาให้แก่หน่วยบริการ
(โรงพยาบาล)             รายละเอียดปรากฎตามสำเนาข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ว่าด้วยพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐     

การกระทำดังกล่าว เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๖. เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒  รองเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ(นายประทีป ธรกิจเจริญ)  ได้อาศัยอำนาจในตำแหน่งรักษาการแทนรองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ออกประกาศรองเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การบริหารงานงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าจูงใจให้บุคลากรของผู้ให้บริการ  ทั้งๆที่ไม่มีอำนาจ หน้าที่ให้กระทำการเช่นว่านั้น   ทำให้รัฐเสียหาย เป็นเงินหลายร้อยล้านบาท   จึง      เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้าพเจ้าทั้งสองจึงขอกล่าวโทษบุคคลดังกล่าวข้างต้นว่า เป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา   ขอท่านได้โปรดรับเรื่องกล่าวโทษฉบับนี้ไว้พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป

314
                                                                   สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย
                                                                                                                                                                                                                               ร.พ.บุรีรัมย์

                                                                  2 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2553
               เรื่อง  ขอเชิญประชุมเรื่อง“ ความคืบหน้าค่าตอบแทนของบุคลากรรพศ./รพท.”
               เรียน  ประธานองค์กรแพทย์หรือตัวแทน  รพศ./รพท.
                                             
                                      เนื่องจากในเดือนพฤศจิกายน 2552  มีหนังสือทักท้วงจากสตง. ให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากร รพศ./รพท.(ฉบับที่ 7)  และให้พิจารณายกเลิก ฉบับที่ 8   ทำให้เกิดความสับสน    ปลัดฯให้ผู้อำนวยการร.พ.แต่ละที่พิจารณาเอง   บางร.พ.ถือโอกาสหยุดจ่ายชั่วคราว  บางร.พ.ขู่ว่าจะมีการเรียกเงินคืน     เพื่อรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง  และร่วมกำหนดบทบาทของสมาพันธ์ฯ 
ในการผลักดันให้ผอก.ร.พ.  จ่ายค่าตอบแทน  ตามฉบับที่7  อย่างเท่าเทียมกันทั่วทั้งประเทศ    และกำหนดรูปแบบการประสานความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูล  ในภารกิจสำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการจรรโลงธรรมาภิบาล  ในกระทรวงสาธารณสุข ในการบริหารงบประมาณของสปสช.  รวมทั้งการแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออกจาก ก.พ.   ต่อไป
                                            จึงขอเชิญท่านหรือตัวแทน  เข้าร่วมประชุม ในวันศุกร์  ที่  12  กุมภาพันธ์  2553   เวลา 13.00 – 16.00 น.   ณ  ห้องประชุมนายแพทย์ไพจิตร  ปวะบุตร อาคาร  7ชั้น 9 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  กระทรวงสาธารณสุข         
                                    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาเข้าร่วมประชุม ในวันและเวลา กล่าว
                                                                                                   
                                                                     ขอแสดงความนับถือ
                   
                                                                   ( พญ.พจนา     กองเงิน )
                                                     ประธานสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย


************ในวันเดียวกัน มีการเชิญแพทย์เข้าประชุมเรื่องจริยธรรม เกี่ยวกับ stem cell
ของแพทยสภา(เช้าถึงเที่ยง) ขอให้เพื่อนๆแจ้งชื่อเข้าประชุมของแพทยสภา(มาประชุมได้ โดยมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยง+ค่าเดินทาง คิดว่าประัธานองค์กรแพทย์ของทุกโรงพยาบาลน่าจะได้หนังสือเชิญแล้ว ตอบตกลงที่จะเข้าร่วมประชุมเลย) กินมื้อเทีียงเสร็จ สมาพันธ์ฯก็ประชุมกันต่อเลย ประหยัดเวลา และงบ จะได้คุยกันในเรื่องที่พวกเราต้องทำกันต่อในหลายๆเรื่อง เพื่อนๆมีเรื่องใดที่คิดว่าสำคัญ น่าสนใจ ก็เตรียมนำเสนอกันได้

315
จากกรณี แพทยสภาได้มีมติอนุมัติในหลักการ ของหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แทนหลักสูตรแพทย์ศาสตร์นานาชาติ ที่เสนอโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ม.ค.และจะมีการรับรองมติในการประชุมวันที่ 12 ก.พ. ท่ามกลางเสียงคัดค้านว่าจะส่งผลต่อการผลิตแพทย์ที่จะไปรักษาคนไทยในชนบท โดยเฉพาะกลุ่มคณาจารย์ 6 ท่าน จากคณะแพทยศาสตร์ มศว ได้ออกมาคัดค้านการอนุมัติหลักสูตรดังกล่าวนั้น

นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว ) กล่าวเมื่อวันที่ 3 ก.พ.  ว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.  ผู้บริหารของแพทยสภาได้ส่งอีเมล์ถึงกรรมการแพทยสภาที่มาจากการเลือกตั้ง และ ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มศว ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง เพื่อขอแนวทางปฏิบัติ ต่อกลุ่มคณาจารย์ 6 คนจากคณะแพทยศาสตร์ มศว ที่นำเสนอบทความบทบาทแพทยสภากับการผลิตบัณฑิตแพทย์เพื่อคนไทย โดยระบุว่า เป็นการกล่าวหาแพทยสภาที่ไม่ถูกต้องนัก จากนั้นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มศว ยังได้มีการเผยแพร่อีเมล์ดังกล่าว ไปยังหัวหน้าภาควิชาทุกคนของคณะแพทย มศว พร้อมกับข่าวที่กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์สนับสนุนหลักสูตรดังกล่าวด้วย

อาจารย์ ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ มศว กล่าวต่อว่า การที่มีการเวียนอีเมลล์ฉบับดังกล่าวที่ระบุว่า "เพื่อขอแนวทางปฏิบัติ" ในการดำเนินการกับแพทย์ที่คัดค้าน  เหมือนเป็นการขู่ และคุกคามว่าอย่ามายุ่ง หรือคัดค้านหลักสูตรนี้ เพราะอาจจะถูกดำเนินการอะไรบางอย่าง เพื่อให้เกิดความกลัวหรือไม่ แม้ว่าในหนังสือดังกล่าวจะไม่ได้บอกว่า จะฟ้องร้องหรือสอบสวนใดๆ แต่ก็ไม่ได้กลัว เพราะหากกล้าพูดต้องกล้ารับผิดชอบต่อคำพูด

นพ.สุธี ร์ กล่าวอีกว่า การแสดงออกครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการว่ากล่าวตัวบุคคล แต่เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการเท่านั้น หากหนังสือดังกล่าวมาจากแพทยสภาจริง จะสะท้อนถึงวุฒิภาวะของแพทยสภามากกว่า เพราะหากเป็นคนที่มีวุฒิภาวะก็ควรจะเชิญให้กลุ่มแพทย์ทั้ง 6 คน ที่ไม่เห็นด้วยเข้าให้ข้อมูล หรือ รับฟังความคิดเห็น อย่างไรก็ตามหากมีการฟ้องร้องจริงคงต้องหาคนช่วย เพราะเป็นอาจารย์แพทย์แสดงความคิดเห็นทางวิชาการ จึงไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้ และการอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถือเป็นการเลี่ยงทุกวิธีทางที่จะให้หลักสูตรดังกล่าวออกมาให้ได้มากกว่า

"คง ต้องพิจารณาว่ามีการเปลี่ยนหรือปรับหลักสูตรอย่างไรหรือไม่ แต่หากเป็นหลักสูตรเดิมก็ถือว่า ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการหลักสูตรนานาชาติ เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาเรียน ดังนั้น หลักสูตรดังกล่าวควรมีการนำกลับเข้ามาที่คณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร เพื่อปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม ไม่ใช่เป็นการพูดคุยกันระหว่างแพทยสภากับคณบดีแพทย์ มศว เท่านั้น" อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มศว กล่าว

ด้าน นายชัยรัตน์ แสงอรุณ กรรมการมูลนิธิ และที่ปรึกษาศูนย์ทนายอาสาของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์ทนายอาสา กำลังเกาะติดเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเห็นที่เกี่ยวพันกับผู้บริโภคโดยตรง หากแพทยสภาจะเอาผิด หรือดำเนินการทางกฎหมายกับคณาจารย์ทั้ง 6 คนที่ออกมาคัดค้านหลักสูตรฯ ดังกล่าว  ศูนย์ฯพร้อมให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเต็มที่

ขณะที่ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวว่า การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ จริงๆ แล้วเท่ากับการเปิดโรงเรียนแพทย์เอกชนในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ ใช้ทรัพยากรของรัฐ อาจารย์ของรัฐ เพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัย การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติควรทำในโรงเรียนแพทย์เอกชน ไม่ใช่มาทำในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ เพราะไม่ใช่ภารกิจของรัฐบาล

เลขาธิการ มูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ไม่เป็นการสนับสนุนการกระจายแพทย์ไปสู่ชนบท แต่จะทำให้ช่องว่างทางสังคม คือ คนรวยที่ลูกสอบแพทย์ไม่ได้จะสมัครมาเรียน แพทย์ในหลักสูตรนานาชาตินี้มากขึ้น เพราะไม่ต้องส่งลูกไปเรียนแพทย์ที่ต่างประเทศแล้ว

หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22