ผู้เขียน หัวข้อ: หวั่นกำลังซื้อคนไข้ต่างชาติทำคนไทยไม่ได้รับรักษาพยาบาลมีคุณภาพ-มติชน-4 กพ. 2553  (อ่าน 2447 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยผลวิจัยพบ โรงพยาบาลเอกชนปรับตัว ชูจุดขาย "ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ" ของภูมิภาคเอเชีย (Medical Hub) ให้บริการรักษาคนไข้ต่างชาติกำลังซื้อสูง ส่งผลแพทย์และพยาบาลสมองไหลออกจากระบบ กระทบโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นักวิชาการหวั่นหากไม่เร่งแก้ปัญหาอาจเหลือแต่แพทย์มือใหม่ไว้รักษาคนจน แนะเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์เสริมเข้าสู่ระบบหรือเปิดรับแพทย์ต่างชาติ เข้ามารักษาคนไข้ต่างชาติเพื่อลดผลกระทบ
 
ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ประเทศไทยเติบโตเป็นศูนย์กลางสุขภาพของภูมิภาค (Medical Hub) ชั้นแนวหน้าของเอเชียเทียบชั้นประเทศต้นแบบอย่างสิงคโปร์ (ซึ่งไทยก็แซงหน้าด้านจำนวนคนไข้ไปแล้วด้วย) ได้ในระยะเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งทศวรรษ ส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนมาตั้งแต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 และตั้งแต่ปี 2546 ทุกรัฐบาลก็มีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของทวีปเอเชีย แต่ความสำเร็จนี้กลับส่งผลกระทบกับการโครงการหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ จากปัญหาราคาค่ารักษาที่สูงขึ้น และยิ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ ทันตแพทย์และพยาบาลรุนแรงขึ้น
 
ทั้งนี้จากการศึกษาเรื่อง "แนวทางการพัฒนาศูนย์กลางสุขภาพของประเทศไทย (Thailand Medical Hub"ซึ่งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบหมายให้ รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ รศ.นพ.ศิรชัย จินดารักษ์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำการศึกษา พบว่าโรงพยาบาลเอกชนปรับตัวหันมาให้บริการคนไข้ชาวต่างชาติที่มาทำงานและ ท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้มากขึ้นเป็นลำดับ และหลังจากรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของบริการทางด้านสุขภาพ ของเอเชีย พบว่าในปัจจุบันมีคนไข้ชาวต่างชาติที่รับการรักษาในประเทศไทย (รวมนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่มาทำงานหรือตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคนี้) มากถึงปีละ 1.4 ล้านคน
 
การปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนเพื่อรองรับคนไข้กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น  กลุ่มที่เน้นการรักษาด้วยเทคโนโลยีมาตรฐานระดับโลก กลุ่มที่เน้นการรักษาที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของสถานพยาบาล (เช่น ในด้านศัลยกรรมตกแต่ง) กลุ่มที่เน้นการรักษาด้วยเทคโนโลยีระดับสูงแต่ยังอยู่ในขั้นทดลอง (เช่น การรักษาด้วยเซลล์ต้นแบบหรือ Stem Cell) กลุ่มที่เน้นการรักษาด้านทันตกรรม และกลุ่มที่เน้นการให้บริการตรวจสุขภาพ  โดยใช้วิธีการทำตลาดในต่างประเทศที่หลากหลาย ทั้งการใช้ตัวแทนในประเทศและต่างประเทศ หรือบางแห่งทำตลาดด้วยตนเอง
 
รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า การขยายตัวของการให้บริการทางการแพทย์กับชาวต่างชาติมีผลกระทบทั้งในด้านบวก และด้านลบ โดยในด้านเศรษฐกิจนั้น บริการนี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มประมาณร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) แต่การที่คนไข้ชาวต่างชาติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ปัญหาการขาดแคลน บุคลากรทางการแพทย์ (โดยเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล) มีความรุนแรงมากขึ้น  การที่ชาวต่างชาติเข้ามาพร้อมกับกำลังซื้อที่สูงกว่าคนไทยมากมีส่วนสำคัญใน การดึงดูดแพทย์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) จากทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมทั้งอาจารย์แพทย์และทีมงานจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปสู่โรงพยาบาลเอกชนกลุ่มที่เน้นการรักษาคนไข้ต่างชาติมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตแพทย์ในระยะยาว การที่มีกำลังซื้อเข้ามาอย่างมากมีส่วนที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เอกชนเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นในระยะหลัง และมีแนวโน้มที่จะทำทั้งในสถานพยาบาลและโครงการหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ ของรัฐ (ไม่ว่าจะเป็นโครงการบัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ หรือ โครงการประกันสังคม) มีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการรักษาบุคลากรไม่ให้ถูกดึงออกไปมากจนเกิดผลกระทบ รุนแรงต่อคุณภาพบริการของโครงการเหล่านี้
 
ดังนั้น เพื่อที่จะรักษาสมดุลของผลกระทบในด้านบวกและลบนี้ คณะผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนะหลายประการ โดยนอกจากเสนอให้ผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มอย่างเต็มที่แล้ว ยังเสนอให้ปรับปรุงกฎระเบียบของแพทยสภาให้เอื้อกับการนำแพทย์ชาวต่างชาติที่ มีคุณภาพเข้ามาเพื่อบรรเทาผลกระทบในด้านการขาดแคลนบุคลากรซึ่งมีความรุนแรง มากขึ้นจากการที่มีคนไข้ต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย เพิ่มขึ้น และในกรณีที่จำนวนคนไข้ต่างชาติกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ก็เสนอให้เก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเฉพาะจากคนไข้ต่างชาติที่มีจุดประสงค์หลักใน การเดินทางมาประเทศไทยเพื่อรับบริการด้านรักษาพยาบาล แล้วนำรายได้ส่วนนี้มาอุดหนุนการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มและช่วยเพิ่ม แรงจูงใจในการรักษาและเพิ่มจำนวนอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนแพทย์ ด้วย
 
"ปัจจุบันเราก็มีปัญหาขาดแคลนแคลนบุคลกรทางการแพทย์อยู่แล้ว ถ้าบุคลากรจำนวนมากต้องไปให้บริการคนไข้ต่างชาติอีก ก็จะยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้น   อีกทั้งแพทย์ที่จะไปรักษาคนต่างชาติมักเป็นอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ทาง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝนเป็นสิบปี การที่อาจารย์แพทย์เหล่านี้ถูกดึงไปรักษาคนไข้ต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงก ว่า ก็จะมีผลกับคุณภาพการเรียนการสอนของแพทย์ไทยด้วย และการดึงแพทย์ระดับรองลงมาให้อยู่ในระบบของภาครัฐก็จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น ตามไปด้วย ซึ่งผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องนำเรื่องเหล่านี้มาพิจารณาด้วย"  รศ.ดร.อัญชนา กล่าว พร้อมกับบอกว่า ปัญหาวิกฤติทางการเมืองในประเทศไทยอาจทำให้ผู้ป่วยต่างชาติจำนวนหนึ่งยังไม่ กล้าเข้ามารักษา แต่เมื่อวิกฤตินี้หายไป ธุรกิจนี้ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และถ้าภาครัฐไม่มีมาตรการรับมือ ก็อาจเกิดปัญหาตามมามากมายทั้งในด้านการขาดแคลนแพทย์ที่รักษาคนไทย ค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนไทยก็จะแพงขึ้น และที่สำคัญต้นทุนของโครงการหลักประกันสุขภาพต่างๆ ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าจะลดผลกระทบเหล่านี้ นอกจากการเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นรวมถึงควรเปิดโอกาสให้แพทย์ ชาวต่างชาติเข้ามาด้วยแล้ว รัฐบาลควรหันไปเน้นการสนับสนุนธุรกิจเชิงสุขภาพอื่นๆ เช่น สมุนไพร สปา หรือการนวดแผนไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยส่งผลกระทบด้านลบต่อการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล ของคนไทยมากเหมือนกับการส่งเสริมธุรกิจด้านการรักษาพยาบาล