แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pradit

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 22
61
คู่มือการร่วมประชุม 28 มค. นี้-ฉบับที่ 4

เกณฑ์ระดับความขาดแคลน(ภาพรวมของรพ.ในสปสธ)               

การสรรหาบุคลากร---การสูญเสียบุคลากร---การกำหนดให้ทำงานล่วงเวลา---ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพกำหนด---ผลกระทบของการขาดแคลนต่อการจัดบริการที่จำเป็นเร่งด่วน---รวมน้ำหนัก---ระดับความขาดแคลน
         
แพทย์   
3---2   ---3---2---2---12---2

ทันตแพทย์   
3---2---1---2---1---9---2

เภสัชกร           
1---1---2---1---1---6---1

พยาบาลวิชาชีพ       
2---2   ---3---2---2---11---2

นักเทคนิคการแพทย์           
1---1   ---2---1---1---6---1

นักกายภาพบำบัด           
1---1---1---1---1---5---1

สหวิชาชีพอื่นๆ           
1---1---1---1---1---5---1


62
คู่มือการร่วมประชุม 28 มค. นี้-ฉบับที่ 3
ค่าตอบแทนตามความขาดแคลนบุคลากรในโรงพยาบาลทั้งหมดของสปสธ.

วิชาชีพ
-จำนวนบุคลากร---ระดับ---อัตรา(บาท/คน/เดือน)---รวมต่อปี(ล้านบาท)

แพทย์
-10,800---2---20,000---2,592

ทันตแพทย์
-3,000---2---10,000---360

เภสัชกร
-4,700---1---4,500---253

พยาบาล
-66,000---2---4,000---3,168

สหวิชาชีพ
-2,300---1---2,250---62


รวม---6,435 ล้านบาท/ปี
.........................................................................................

ค่าตอบแทนตามความขาดแคลนบุคลากรในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป

วิชาชีพ   
จำนวนบุคลากร---ระดับ---อัตรา(บาท/คน/เดือน)---รวมต่อปี(ล้านบาท)

แพทย์           
6,000---2   ---20,000---1,440

ทันตแพทย์   
940---2---10,000---112

เภสัชกร   
2,000---1---4,500---108

พยาบาล   
33,200---2---4,000---1,594

สหวิชาชีพ   
1,600---1---2,250---43

รวม---3,297 ล้านบาท/ปี
............................................................................................



63
คู่มือการร่วมประชุม 28 มค. นี้-ฉบับที่ 2

ข้อเสนอหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนตามความขาดแคลนบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ

ข้อ 1.  บุคลากรที่ได้รับค่าตอบแทนตามความขาดแคลนได้แก่
1.1)    บุคลากรที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลปะ
1.2)    บุคลากรวุฒิปริญญาตรีและปฏิบัติงานลักษณะเดียวกันกับข้อ 1.1

ข้อ 2.  การจ่ายค่าตอบแทนให้ข้าราชการให้จ่ายจากเงินงบประมาณหรือเงินบำรุงสถานบริการ  และลูกจ้างชั่วคราวให้จ่ายจากเงินบำรุงสถานบริการ

ข้อ 3.  แบ่งเกณฑ์ระดับความขาดแคลนบุคลากรในแต่ละวิชาชีพและตามหน่วยบริการ โดยความเห็นชอบของหน่วยราชการต้นสังกัด เป็น 3 ระดับ ตามเอกสารแนบท้าย

ข้อ 4.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน ระดับที่ 1 ให้จ่ายตามสาขาวิชาชีพ ในอัตราต่อเดือนตามนี้
แพทย์    10,000 บาท
ทันตแพทย์     5,000 บาท
เภสัชกร        3,000  บาท
พยาบาลวิชาชีพ 2,000 บาท
สหวิชาชีพ     1,500  บาท   

ข้อ 5.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน ระดับที่ 2 ให้เพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 50

ข้อ 6.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน ระดับที่ 3 ให้เพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 100

ข้อ 7.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญและประสบการณ์ ให้จ่ายแก่บุคลากรที่มีอายุงานเกิน 3 ปีเพิ่มอีก ร้อยละ 50 ของการจ่ายในข้อ 4

ข้อ 8. ค่าตอบแทนตามความขาดแคลนไม่ปรับตามคุณวุฒิทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละสาขาวิชาชีพ                                                                                   

64
คู่มือการร่วมประชุม 28 มค. นี้-ฉบับที่ 1

ข้อเสนอหลักเกณฑ์ระดับความขาดแคลนบุคลากร
พิจารณาจากข้อมูล  5 ลักษณะ จัดน้ำหนักแต่ละลักษณะเป็น 3 ระดับ ดังนี้

1.  ความขาดแคลนในการสรรหาบุคลากร
     น้ำหนัก 3  =  สรรหาได้ยากมาก เพราะผลิตน้อย
     น้ำหนัก 2  =  สรรหาได้ค่อนข้างยาก 
     น้ำหนัก 1  =  ไม่มีปัญหาถ้าได้บรรจุเป็นข้าราชการ

2.  ความขาดแคลนตามความสูญเสียบุคลากร
น้ำหนัก 3  =  ระดับรุนแรง (ลาออกตั้งแต่ 10%ขึ้นไปของการรับเข้าใหม่)
น้ำหนัก 2  =  มีแนวโน้มสูง (ลาออกน้อยกว่า 10% ของการรับเข้าใหม่)
น้ำหนัก 1  =  ความสูญเสียน้อย

3.  การถูกกำหนดให้ต้องทำงานล่วงเวลา
น้ำหนัก 3  =  ทำงานล่วงเวลาเกินกว่ามาตรฐานมาก
น้ำหนัก 2  =  ทำงานล่วงเวลาเกินกว่ามาตรฐานปานกลาง
น้ำหนัก 1  =  ทำงานล่วงเวลาไม่เกินมาตรฐาน

4.  ความขาดแคลนตามกรอบอัตรากำลังที่องค์กรวิชาชีพกำหนด
น้ำหนัก 3  =  ขาดมาก (มากกว่า 50%)
น้ำหนัก 2  =  ขาดปานกลาง (26-50%)
น้ำหนัก 1  =  ขาดน้อย  (10-25%)

5.  ผลกระทบของการขาดแคลนต่อการจัดบริการที่จำเป็นเร่งด่วน
น้ำหนัก 3  =  กระทบมาก
น้ำหนัก 2  =  กระทบปานกลาง
น้ำหนัก 1  =  กระทบน้อย

วิธีหาระดับความขาดแคลน ให้นำน้ำหนักทั้งหมดรวมกัน และจัดระดับดังนี้
ระดับ 1  หมายถึง มีน้ำหนัก ตั้งแต่  5 – 8
ระดับ 2  หมายถึง มีน้ำหนัก ตั้งแต่  9 – 12
ระดับ 3  หมายถึง มีน้ำหนัก ตั้งแต่  13 – 15
         


65

สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
วันที่  10  มกราคม  2554

เรียน  สมาชิกสมาพันธ์ รพศ. + รพท. ที่รักทุกท่าน

   พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ได้ผ่านพวกเราไปแล้ว  โดยไม่ได้เข้าสภา จากความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจของพวกเรา ฉะนั้นตลอดเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายนทุกปี  เราต้องเอาใจใส่การเคลื่อนไหวปีหน้า  ว่าจะมี พรบ. อะไรมากดขี่ข่มเหงเราอีก  และเร็วๆนี้ เดือนกุมภาพันธ์  ทางรัฐบาลก็รับปากว่าจะเสนอเข้าอีก  เราเองทั้ง รพศ. รพท. ที่เป็น “ สหภาพแรงงาน สธ. หรือกรรมกรแพทย์ ผู้ทำงานเสี่ยง (ตัวเอง + ผู้ป่วย + ระบบ)” อยู่ในขณะนี้  จะต้องสามัคคีกันให้มากยิ่งขึ้น  มีหลายท่านที่ไม่ชอบอยู่เวรก็ขอขึ้นเป็นผู้บริหาร  ย้ายไปอยู่ สปสช. หรือลาออกไปอยู่เอกชนทำให้เราต้องยิ่งรักกันมากยิ่งขึ้น

   ขอขอบคุณแก่ผู้กล้าหาญที่ร่วมฟันฝ่าด้วยกัน  ไม่ว่า สหพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพ  แพทยสภา  แพทยสมาคม  สมาพันธ์ รพศ./รพท. เป็นผู้เริ่มเคลื่อนไหว  เพื่อความเป็นธรรม  โดยพันธกิจของ สพศท. คือ

1. การส่งต่อควรเป็นระบบ 
2. ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
3. การฟ้องร้องลดลง  รัฐบาล + กระทรวงสาธารณสุขโปรดช่วยลดคนไข้ที่ล้นตามทางเดิน  หน้าลิฟท์ให้เราด้วย  โปรดหาความมั่นคงให้  ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยฟ้องโดยไม่มีเหตุผล  และเมื่อมีกรณีฟ้องร้องเกิดขึ้นโปรดแก้ไข  จ่ายเงินให้ชัดเจน  พรบ.ไหนที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นคงและมั่นใจในการทำงาน(ได้โปรดพิจารณาทำให้ด้วย)

   ขอขอบคุณน้องๆที่เป็นห่วง และมาร่วมงานฌาปนกิจศพของ อ.นพ.วิทยา  กองเงิน  สามีพี่  ซึ่งเสียชีวิตจาก MI อย่างปัจจุบันทันด่วน  วันที่  13  ธันวาคม  2553  อ.วิทยาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง เพื่อความเป็นธรรมตั้งแต่  14  กุมภาพันธ์  52  ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ มาจนถึงกรณีเสื้อขาว 1 ก.ค. 52 และกรณีเสื้อดำ  30  ก.ค. 53  ทุกครั้งที่พี่เดินทางมากระทรวง รัฐสภา  อาจารย์ไปรับไปส่ง  ไม่มีเงื่อนไข  เบิกได้  เบิกไม่ได้  ขอให้แพทย์เราอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี  มีหลายท่านที่ปิดทองหลังพระเช่นนี้  อ.วิทยาคงดีใจที่เห็นพวกเราสามัคคีกันและเพื่อให้ได้ พรบ. ที่เป็นธรรม  เพื่ออนุชนแพทย์รุ่นต่อไปขอขอบพระคุณท่านปลัดไพจิตรและท่านประธานชัยที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในงานฌาปนกิจศพ อ.วิทยา  กองเงิน

   ขอขอบคุณที่ปรึกษา  อจ.อนงค์(ศิริราช)  อ.เชิดชู(รพ.เด็ก)  อ.ศิริชัย(รพ.วัชระภูเก็ต)  อ.เฉลิมพงษ์  (ผอ.รพ.สมุย) พญ.รุจิรา (รพ.ร้อยเอ็ด)  โดยเฉพาะอาจารย์เชิดชูผู้จุดประกายการเป็นนักสู้ที่ไม่มีวันหยุด

   ขอขอบคุณรองประธาน  พญ.ประชุมพร(สุรินทร์)  นพ.ประดิษฐ์(ราชบุรี)  พญ.สุธัญญา(นครปฐม)  นพ.วัชรพงษ์(นครศรีธรรมราช)  นพ.เพิ่มบุญ(สงขลา ซึ่งเป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของสมาพันธ์ที่ลงสมัครแพทยสภา) เลขาที่น่ารัก นพ.จิรศักดิ์ ,พญ.พัชรี(บุรีรัมย์) ที่รวมใจ รวมพลัง ตั้งแต่วันที่  14  กุมภาพันธ์ 52 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ในวันก่อตั้งสมาพันธ์ 

        ขอขอขอบคุณชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป   นพ.วีรพงษ์   นพ.ประเสริฐ (รพ.พิษณุโลก) นพ.มนัส(อุบล)  ผู้ประสานงานที่น่ารัก สุภาพ(นพ.อิทธพร  คณะเจริญ , นพ.ธนาธิป ) และผู้ประสานงานกระทรวง (นพ.อุสาห์)และผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ คือ  อ.อรรถสิทธิ์  ผู้ให้กำลังใจมาตลอด

   ขอขอบคุณเพื่อนร่วมอุดมการณ์เสื้อขาว  เสื้อดำทุกท่าน  ที่ทำเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นคน  ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแพทย์ให้ได้มีที่ยืนอยู่ในสังคมอย่างมีเกียรติ  และขอขอบคุณสหสาขาวิชาชีพทุกท่านที่เป็นกำลังใจให้ด้วยดีตลอดมา

   สุดท้าย  ขอขอบคุณประธานองค์กรแพทย์ทุกท่านที่ส่งทั้งกำลังใจและกำลังกาย  เพื่ออุดมการณ์ของพวกเรา  แพทย์ผู้ปฏิบัติต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดการทำงาน และขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับน้องๆ ที่ทำงาน  ณ  ที่ตั้ง  7,000 คน  สัมผัสผู้ป่วย  เสี่ยงต่อการฟ้องร้องตลอดเวลา  ที่ก้มหน้าทำงาน  โดยไม่บ่น  เพื่อผู้ป่วยที่ยากไร้และน่าสงสาร  โดยที่เราไม่ลืม “ความเป็นแพทย์ที่ดี” “สิทธิแพทย์” ควรมี “วันแพทย์แห่งชาติ” และคำขวัญของสมาพันธ์ “รัก  สามัคคี  มีอุดมการณ์”

   ปีใหม่นี้ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบความสุข  ความเจริญ


รักและปรารถนาดี
พญ. พจนา    กองเงิน
10   มกราคม  54


หมายเหตุ
   เดือนกุมภาพันธ์  ครบรอบ  2  ปี  การก่อตั้งสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.  จะมีการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. ขอให้ประธานองค์กรแพทย์ส่งรายชื่อท่านและทีมงาน  มาที่ นพ.ประดิษฐ์ (ราชบุรี) เพื่อรวบรวมทำเนียบ  และเชิญน้องๆมาเข้าร่วมการประชุมและสมัครทำงานให้แก่สมาพันธ์ด้วยค่ะ  (จะมีการเลือกคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อสานต่ออุดมการณ์ของเราต่อไป




พญ.พจนา   กองเงิน  0815470499  mdpodjana@hotmail.com
นพ.จิรศักดิ์  ปริวัฒนศักดิ์ 0846065650  ji.pariwattanasak@gmail.com
พญ.พัชรี   ยิ้มรัตนบวร 0897228756  peeae@hotmail.com

66








(มุมซ้ายมือ)..นพ.วิชัย โชควิวัฒน ฝ่ายสนับสนุน
(มุมขวามือ)...พญ. พจนา กองเงิน ฝ่ายคัดค้าน
(ตรงกลาง)....คนดู

จากคอลัมน์ อ่านเอาเรื่อง
โดย ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล
นิตยสาร สารคดี ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓๑๐
ธันวาคม ๒๕๕๓

67

ข้อเสนอเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนตามความขาดแคลนบุคลากร
ในโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป

ข้อที่ 1.  จ่ายค่าตอบแทนให้บุคลากรที่เป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำจากเงินงบประมาณหรือ
  เงินบำรุงสถานบริการ

ข้อที่2.  จ่ายค่าตอบแทนให้ลูกจ้างชั่วคราวที่มีชื่อตำแหน่งเดียวกับข้าราชการจากเงินบำรุงสถาน
 บริการ

ข้อที่3.   แบ่งระดับความขาดแคลนในแต่ละหน่วยงานเป็น 3 ระดับ
      ระดับที่ 1    ขาดแคลนตั้งแต่     ร้อยละ 25 ลงไป
      ระดับที่ 2   ขาดแคลนมากกว่า  ร้อยละ 25 แต่น้อยกว่าร้อยละ 50
      ระดับที่ 3   ขาดแคลนตั้งแต่      ร้อยละ 50 ขึ้นไป

ข้อที่ 4.   ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน  ระดับที่ 1 ให้จ่ายอัตราต่อเดือนตามนี้
      แพทย์      10,000   บาท
      ทันตแพทย์        5,000   บาท
      เภสัชกร        3,000   บาท
      พยาบาลวิชาชีพ     2,000   บาท
      ปริญญาตรีสาขาอื่น     2,000   บาท
      ต่ำกว่าปริญญาตรี        900   บาท

ข้อที่ 5.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน  ระดับที่ 2 ให้เพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 50

ข้อที่ 6.  ค่าตอบแทนตามความขาดแคลน  ระดับที่ 3 ให้เพิ่มจากระดับที่ 1 อีกร้อยละ 100

ข้อที่7.   ค่าตอบแทนตามความขาดแคลนไม่จ่ายเพิ่มกรณีอายุงานและวุฒิการศึกษา




               ( นายแพทย์วีระพงษ์   เพ่งวาณิชย์ )
            ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป

.................................................................................................
ลองพิจารณาดูนะครับ ว่าเหมาะสม หรือไม่ เพียงใด
เห็นด้วย หรือมีข้อเสนออย่างไร
รายละเอียดจะน่าเสนอเมื่อมีความคืบหน้า


68
ขอย้ำอีกครั้งว่า ฉบับที่ 7 มีผลบังคับใช้อยู่ คือ เจ้าหน้าที่ รพศ/รพท. จะได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบ
แต่สถานการณ์ปัจจุบัน มีการจัดสรรงบประมาณกลางไว้สำหรับค่าตอบแทนทั้งระบบแล้ว(รวมทั้งฉบับ 4, 6 และ7)
แต่รอการทบทวนระบบการจ่ายให้เป็นธรรม มีคณะกรรมการฯพิจารณาอยู่ (คงมีข้อสรุปออกมาในไม่ช้านี้ หาอ่านกระทู้เรื่องนี้ในเวบไซด์)

เนื่องจากมีงบประมาณรออยู่แล้ว การจ่ายเงินโดยใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลอาจทำให้ เงินบำรุงเสียไปโดยไม่สามารถเบิกกลับคืนมาเมื่อมีการอนุมัติใช้งบประมาณ(ที่รออยู่) ดังนั้น ทางโรงพยาบาลหลายแห่งจึงชลอการจ่ายเงิน หรือบางแห่งอาจใช้การยืมเงินของโรงพยาบาลไปก่อน

ขอยืนยันว่าเงินค่าตอบแทนจะได้แน่นอน แต่คงรอเวลา และได้เป็นเงินก้อนใหญ่(สะสมหลายเดือน)ด้วย

(เรื่องไม่ถูกต้อง..เลิกคิด เรื่องโรงพยาบาลไม่มีเงิน..คิดได้ แต่มีการพยายามการแก้ไขเรื่องนี้กันอยู่)

69


คณะกรรมการอำนวยการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ได้นำเสนอตุ๊กตาระบบสาธารณสุขในอนาคต ดังนี้
(จากการประชุม ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓)










70

คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ได้เสนอหลักการการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคน ประกอบด้วย ๓ ส่วน โดย
ส่วนแรก เป็น เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง
ส่วนที่สองเป็น ค่าตอบแทนตามระดับวิชาชีพ และความแตกต่างของระดับพื้นที่ และ
ส่วนที่สาม เป็น ค่าตอบแทนตามภาระงาน

๒๑ ธ.ค. ๒๕๕๓ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร กระทรวงสาธารณสุข
องค์กรแพทย์ของรพศ/รพท.ทั่วประเทศได้ร่วมประชุมกันในวันที่  ๒๑ ธ.ค. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา เห็นด้วยในหลักการแบ่งค่าตอบแทนเป็น ๓ ส่วนดังกล่าว โดยจะขอศึกษารายละเอียดของค่าตอบแทนส่วนที่ ๒ และ ๓ (เมื่อมีรายละเอียดออกมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มี)
และขอให้ปรับแหล่งที่มาเป็นเงินงบประมาณ รวมทั้งขอให้แก้ไขภาวะขาดแคลนกำลังคนทุกสาขาวิชาชีพ

หากระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนใหม่ยังไม่ออกมา หรือต้องใช้เวลานาน ที่ประชุมมีข้อสรุปดังนี้

1. ขอให้จ่ายค่าตอบแทนเป็น Flat rate เดิมเหมือนปี 2552 – 2553 เป็นขั้นต้นพื้นฐาน และค่าผันแปร (ค่า  K ) ที่สะท้อนภาระงาน เป็นส่วนเพิ่มเติม(Top up)  ทั้งนี้ต้องมีการร่วมพิจารณาข้อดี ข้อเสีย และปรับรูปแบบก่อน  และขอให้มีบทเฉพาะกาลออกมาด้วย  เพื่ออ้างอิงในการจ่ายค่าตอบแทนนี้

2. งบประมาณที่จ่ายค่าตอบแทน ขอสนับสนุนจากงบประมาณกลางของรัฐบาล โดยหลักการและเหตุผลดังนี้
   - เพื่อรักษาบุคลากรไว้ในระบบราชการกระทรวงสาธารณสุข เพราะ รพศ / รพท. ทั้งหมด อยู่ในภูมิภาคบางจังหวัดเป็นพื้นที่พิเศษ  เสี่ยงภัย เช่นเดียวกันกับโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่นั้น ไม่ให้บุคลากร รพศ / รพท. ถูกเลือกปฏิบัติ
   - เพื่อชดเชยกับภาระงานที่เพิ่มสูงมากใน 8 ปี ย้อนหลังที่อัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมาโดยผู้ทำงานยังเท่าเดิมหรือ ในอัตราต่ำมากบางแห่ง(บางแผนกลดลงด้วยซ้ำ)
...
๒๗ ธ.ค. ๒๕๕๓ ห้องประชุมชัยนาท นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข
ตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข(รองปลัดกระทรวง หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ตัวแทนสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ตัวแทนฝ่ายกฎหมาย)
ตัวแทนสาขาวิชาชีพต่างๆ (เภสัช ทันต พยาบาล เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด)
ตัวแทนจากรพช. รพท. รพศ. สสจ.
ได้ร่วมประชุมเพื่อรับฟังความเห็น และจัดเตรียมเป็นข้อเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนฯ
(ในวันที่ ๓๐ ธ.ค.นี้)ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการแบ่งค่าตอบแทนเป็นสามส่วนดังกล่าว

ในส่วนที่ ๒ (พื้นที่พิเศษ และความขาดแคลน)
มีการเสนอให้มีการกำหนดหลักการที่ชัดเจนเรื่องพื้นที่(criteria) (มีการพิจารณาแบ่งเป็น ๕ ระดับ)
มีการเสนอให้มีการกำหนดหลักการเรื่องความขาดแคลน และค่าตอบแทนให้ชัดเจนในทุกพื้นที่ และทุกสาขาวิชาชีพ

ในส่วนที่ ๓ (P4P)
ค่าตอบแทนตามภาระงานที่มากเกินงานปกติ (ซึ่งมีการศึกษาจาก สวรส.แล้ว) ก็มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง เพราะแต่ละสาขาวิชาชีพมีสภาพงานที่แตกต่างกัน แต่ก็เห็นด้วยในหลักการที่ผู้ที่ทำงานมากควรได้มาก

ซึ่งทั้งส่วนนี้ (๒ และ ๓) จะไม่มีการแบ่งว่าเป็นโรงพยาบาลระดับไหน ถ้าเข้าตามหลักการ และข้อกำหนดก็จะได้เหมือนกัน ซึ่งหมายความว่า ระเบียบฉบับต่างๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ (ฉบับ ๔ , ๖ หรือ ๗) จะถูกยกเลิก แล้วใช้ฉบับใหม่นี้ ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยเพราะเป็นการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมที่มีการร้องเรียน และวิพากษ์วิจารณ์กันมาตลอด แต่ดูเหมือนตัวแทนแพทย์จากรพช. จะขอใช้แบบเดิม คือ ฉบับ ๔ , ๖ และเสนอให้ปรับแก้ฉบับ ๗

ความเห็นจากที่ประชุมจะถูกนำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนฯ อย่างไรต้องติดตามกันต่อไป

71
อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรของประเทศมาเลเซียโดยรวม อยู่ที่ 1 ต่อ 1,145 ซึ่งห่างจากมาตราฐานขั้นต่ำของ WHO มาก
(WHO minimum standards  --- 1 ต่อ 600)

เป็นเรื่องที่น่าตกใจ (It is also shocking) ที่ทราบว่า อัตราส่วนของแพทย์ต่อประชากร
ในรัฐ Sabah อยู่ที่ 1 ต่อ 2,248 และในรัฐ Sarawak อยู่ที่ 1 ต่อ 1,709

รัฐมนตรีสาธารณสุข (Health Minister Datuk Seri Liow Tiong Lai) แถลงว่า รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มแพทย์ให้ได้อัตราส่วน 1 ต่อ 600 ภายในปี 2020

Healthy Malaysia
Friday, August 20, 2010

73
ถึงเพื่อนแพทย์ที่รักทุกท่าน

               การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาในวาระนี้ทางสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป(สพศท)       ได้มอบหมายให้  นพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์ ( staff กุมารแพทย์รพ.สงขลา) เป็นตัวแทนจากสมาพันธ์ฯในการสมัครกรรมการแพทยสภา ครั้งนี้เป็นโอกาสที่สำคัญของพวกเรา      ที่จะได้มีตัวแทนกรรมการแพทยสภาจากแพทย์ผู้ปฏิบัติงานจริง และเป็นผู้เคลื่อนไหวต่อสู้ที่สำคัญคนหนึ่งในสมาพันธ์ฯ   ดังนั้นการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาในวาระนี้ ทางสมาพันธ์ฯขออาสาส่งตัวแทนเข้าไปทำงานด้วยผลงานที่ทางสมาพันธ์ฯได้ทำมาแล้วโดย สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป(สพศท)       เป็นผู้นำหลักที่สำคัญในการเรียกร้องและได้มาของค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายรพศ/รพท.ที่เราได้รับที่ผ่านมา   ซึ่งทางสมาพันธ์ฯกำลังดำเนินการเพื่อให้ได้รับต่อเนื่องอย่างถาวรต่อไป และสมาพันธ์ฯ เป็นอีกหนึ่งแกนนำหลักที่สำคัญ ที่มุ่งมั่นคัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯที่ไม่เป็นธรรมกับแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์   (ซึ่งสุดท้ายได้ตกไปจากสมัยประชุมสภาผู้แทนไปแล้วที่ผ่านมา  และอาจจะถูกนำเข้าอีกในวาระหน้า เดือนกุมภาพันธ์นี้)  ทั้งนี้สมาพันธ์ฯยังคงสร้างสรรค์ผลงานตามมาอีกต่อไป  เป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน และเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความเอื้ออาทรกันระหว่างแพทย์ และประชาชนผู้มารับการรักษา     

             นอกจากนี้ทางสมาพันธ์ฯเห็นว่า การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อวงการแพทย์ของนพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์ ในอดีตที่ผ่านมา เช่น การเป็นแกนนำสำคัญที่ร่วมค้าน พรบ.หลักประกันสุขภาพ ม.41,ม.42 (ซึ่งหลังการคัดค้าน ก็ได้รับการปรับปรุงการใช้จนไม่มีปัญหา)  และการเป็นแกนนำที่สำคัญคนหนึ่งที่ร่วมค้าน ร่างพรบ.ยา ( สุดท้ายตกไป)  แสดงให้เห็นว่า นพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์  มีคุณสมบัติพร้อมที่จะทำงาน การต่อสู้ที่ผ่านมาล้วนมีอุปสรรคทั้งสิ้น  การได้มีโอกาสเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภา จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บทบาทการต่อสู้ต่อปัญหาต่างๆต่อวงการแพทย์ และสาธารณสุขเป็นไปได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น
 
             จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนๆจะสนับสนุนตัวแทนของสมาพันธ์ในการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาในครั้งนี้
                                      ด้วยความเชื่อมั่นในพลังสามัคคีของพวกเรา
 
                                                                               พญ.พจนา  กองเงิน                                           
 
                                               ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป(สพศท)     
 

  สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
  ขอเสนอตัวแทนแพทย์ผู้ปฎิบัติงาน โดยโปรดเลือก

  นพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์ หมายเลข 11

74

ขอชี้่แจงให้สมาชิกทุกท่านทราบด้วยความเคารพอย่างสูง

เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา(ถึงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔)
ทางเวบไซด์ขอความร่วมมือจากสมาชิกที่จะไม่ส่งข้อความ หรือบทความเกี่ยวกับการหาเสียงของกลุ่ม หรือชมรมใด
และทางเวบไซด์ขออนุญาติลบข้อความ หรือบทความที่เข้าข่ายดังกล่าว

อนึ่งเนื่องจากมีกรรมการกลางของสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปฯ เข้าลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการแพทยสภาในครั้งนี้ด้วย
คือ นายแพทย์เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์ (หมายเลข ๑๑)
ทางเวบไซด์ขอถือเอกสิทธิ์ในการสนับสนุนกรรมการกลางของสมาพันธ์ฯท่านนี้ โดยไม่ผูกพันธ์กับชมรม หรือกลุ่มใดๆทั้งสิ้น

ทางเวบไซด์ขอความร่วมมือ และความเห็นใจจากสมาชิกทุกท่านด้วย


75
เรื่อง ขอเชิญปรึกษาหารือพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ
................................................................
................สำนักบริหารการสาธารณสุขขอเรียนเชิญ ผู้แทนองค์กรแพทย์โรงพยาบาลละ ๒ คน เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือดังกล่าว ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องไพจิตร ปวะบุตร ชั้น ๙ อาคาร ๗ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

                                                                         ขอแสดงความนับถือ

                                                                         นายวุฒิไกร มุ่งหมาย
                                                              นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
                                                                รักษาการในตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์
                                                       รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักบริหารการสาธารณสุข

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 22