แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - seeat

หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31 32
436
รพ.สงขลานครินทร์ กวาดรางวัล 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน จากเวทีแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ภายใต้งาน Thailand Kaizen Award 2010 อีกทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงประกาศเกียรติคุณให้กับหน่วยงานที่นำกิจกรรม Kaizen มาเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารงาน พร้อมคว้ารางวัลโทรฟี่อวอร์ด ในฐานะที่มีผลงานการพัฒนาระบบคุณภาพงานจนเข้ารอบสุดท้ายได้ตามกติกา ( 3 เรื่องขึ้นไป) และยังลุยพัฒนาคุณภาพงานเพื่อวัดระดับการดำเนินกิจกรรมและสร้างสรรค์ให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังช่วยดัน ม.อ . เบียดติดอันดับมหาวิทยาลัย 100 แห่งแรกของโลก
       
       รศ. ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ภายใต้การบริหารของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มุ่งมั่นพัฒนาคนและพัฒนางานจนนำไปสู่การได้รับรางวัล 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน ในประเภท Kaizen Suggestion System ซึ่งจัดประกวดในโครงการ Thailand Kaizen Award 2010 จัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ สสท. ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมและน่าภาคภูมิใจที่บุคลากรทุกฝ่ายพยายามผลักดันให้ระบบงานของโรงพยาบาล ฯ มีคุณภาพดีขึ้นและมากขึ้น จนสามารถคว้ามาได้ถึง 3 รางวัล จาก 5 รางวัล

ด้าน รศ.สุเมธ พีรวุฒิ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.) ในฐานะผู้บริหารโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า โรงพยาบาลได้ให้ความสำคัญที่มุ่งพัฒนาคุณภาพในเรื่องการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ จึงได้กระตุ้นให้บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ นำ Kaizen ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นเครื่องช่วยในการบริหารและต่อยอดไปสู่การบริการผู้ป่วย มาขับเคลื่อนกระบวนการด้านคุณภาพจนนำไปสู่การได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยที่มาใช้บริการจน ได้รับรางวัลการบริหารงานสู่ความเป็นเลิศ และรางวัล 5S’ Award Thailand เมื่อปี 2550 และรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติดีเด่น เมื่อปี 2552
       
       สำหรับผลงานที่คว้าเหรียญทองจากการประกวดครั้งนี้ เป็นผลงานของ นายสัมฤทธิ์ เรืองจันทร์ สังกัดภาควิชารังสีวิทยา ที่ปรับปรุงการทำงานจนได้ "ผลงานเครื่องดันลำไส้" ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาโรคลำไส้กลืนกัน ลดอาการแทรกซ้อน และลดเวลานอนพักฟื้นจากการผ่าตัดลำไส้จาก 11 วันเหลือ 3 วัน
       
       ขณะที่อีก 2 เหรียญเงิน ได้มอบให้กับผลงานกางเกงผ้าอ้อมซักได้ ของนางกฤติยา หนูเกลี้ยง สังกัดหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง ที่ลดอุบัติการณ์จากแผลกดทับ ป้องกันการติดเชื้อ และลดปริมาณการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปลงได้ 4-10 ชิ้นต่อวันต่อคน และ "ผลงานหุ่นช่วยน้อง" ของนางกาญจนา ยอดศรี สังกัดหอผู้ป่วยเด็ก ที่ปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำหัตถการการสวนปัสสาวะ การเจาะเลือดในเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนถึง 2 ขวบ สามารถลดเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน และสร้างความพึงพอใจให้แก่ญาติผู้ป่วยในระดับดีมาก

 “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีการส่งเสริมภายในองค์กรให้บุคลากรส่งผลงานเข้าประกวดทุก 3 เดือนบนเวที ส6 สร้างสรรค์/นวัตกรรม ของคณะแพทยศาสตร์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลงานที่นำไปสู่การให้บริการที่ดีเลิศต่อไป ซึ่งรางวัลที่ได้รับในครั้งนี้ ยังทำให้องค์กรได้รับรางวัลโทรฟี่อวอร์ดเพียงองค์กรเดียว ถือเป็นเครื่องหมายการันตีได้ว่า โรงพยาบาลฯ มีความมุ่งมั่นและส่งเสริมแนวคิด Kaizen ในการปรับปรุงงานและกระตุ้นถึงระดับบุคคล ในการปรับปรุงคุณภาพงานและคุณภาพเครื่องมือต่าง ๆ เป็นการเตรียมความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่ดีเลิศจากทางโรงพยาบาลอยู่ตลอดเวลา” รศ.สุเมธ กล่าว
       
       คณบดี คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. กล่าวด้วยว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในระดับโลกที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของการวิจัย ความเป็นเลิศทางวิชาการ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถติดอันดับ 1 ใน100 มหาวิทยาลัยของโลกได้ จากปัจจุบันที่อยู่ในอันดับ 101 ให้ได้ในเร็ว ๆ นี้

ผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน  2553

437
นักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังแกร่ง รักษาแชมป์โต้สาระวาทีภาษาอังกฤษระดับประเทศ เป็นสมัยที่ 2 จากเวที The 6th EU - Thailand National Inter-Varsity Debate Championship
       
       การแข่งขันการโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษระดับประเทศ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ งาน The EU - Thailand National Inter-Varsity Debate Championship ซึ่งในปีนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 แล้ว โดยครั้งนี้ จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มีผู้เข้าร่วมงานประกอบไปด้วย นิสิตนักศึกษานักเรียน ตัวแทนจากสำนักงานสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และจากสถานทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
สำหรับการแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษในปีนี้ เน้นวัตถุประสงค์มุ่งปลุกจิตสำนึกของเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีทัศนะคติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งรูปแบบในการจัดการแข่งขันนั้นจะให้มีความเป็นมิตรใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
       
       ทั้งนี้ ภายหลังจากแข่งขันกันมาตลอดสัปดาห์ จนสู่การแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศเมื่อวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ได้ทีมคู่แข่งขันรอบสุดท้าย โดยเป็นการพบกันระหว่างนักโต้วาทีจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในฐานะฝ่ายรัฐบาล และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะฝ่ายค้าน ภายใต้ญัตติ This house believes that the EU emission trading scheme can serve as a model for Thailand ซึ่งภายหลังจากการแข่งขันกันอย่างสูสี ผู้คว้าแชมป์ประจำปีนี้ ก็ได้แก่ ทีมนักศึกษาจาก วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ทีมผู้ชนะในครั้งนี้ประกอบไปด้วย หนุ่มลูกครึ่งไทย-ฟิลิปปินส์ “ปัญญารักษ์ โร้ค” หนุ่มเกาหลีอารมณ์ดี “ทาวิน คิม” และสาวมั่นจากไต้หวัน “เวน ยู เวง”
       
       คนเก่งทั้งสาม เผยว่า รู้สึกมีความสุขมากที่ได้รางวัล เพราะต่างก็ฝึกฝนกันมาเป็นอย่างหนัก และศึกษาค้นคว้าข้อมูลมานานเพื่อการแข่งขันครั้งนี้ โดยฝึกฝนกันทุกวัน วันละหลายชั่วโมง โดยเฉพาะสองหนุ่มผู้น่วมทีมนั้น ถือเป็นครั้งแรก ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศอีกด้วย
       
       “พวกเราเตรียมตัวฝึกฝนการโต้วาทีทุกคืน ทั้งที่บ้าน และที่มหาวิทยาลัย ไม่ต่ำกว่าวันละ 3 ชั่วโมง โดยมีแหล่งข้อมูลหลากหลลาย ทั้งพยายามอ่านข่าวสารจากทั่วโลก จากหนังสือพิมพ์ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เช่น นิวยอร์คไทม์” ปัญญารักษ์ กล่าว
       
       ด้านสาวไต้หวัน ผู้เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้คว้าแชมป์จากปีที่แล้ว เผยถึงเทคนิคในการโต้สาระวาทีว่า แม้อยู่บนเวทีจะรู้สึกกดดัน ตื่นเต้น แต่ก็จะคิดว่ามีเพื่อนๆกำลังลุ้น ให้กำลังใจอยู่ ก็จะทำให้ตั้งใจมากขึ้น แม้จะกดดันก็ตาม พร้อมทั้งคาดหวังว่าต้องทำได้
       
       ขณะที่หนุ่มไทย-ฟิลิปปินส์ เผยว่า เมื่ออยู่บนเวทีการแข่งขัน ก็รู้สึกเป็นเกียรติ เพราะเป็นครั้งแรกที่โต้วาทีต่อหน้าผู้ชมจำนวนมาก รวมทั้งยังรู้สึกกดดัน ตื่นเต้น แต่ในอนาคต หากมีการแข่งขันอีก ก็คงหาโอกาสเข้าร่วมเพื่อพัฒนาตัวเองอีก เพราะรู้สึกสนุกกับกิจกรรมนี้ เนื่องจากเป็นการฝึกตัวเองให้มีทักษะความรู้ในการวิเคราะห์

ด้าน เวน ยู เวง กล่าวเสริม ในฐานะผู้ที่ได้รางวัล Best Speaker อีกหนึ่งตำแหน่ง ว่าการโต้วาทีนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เธอทำได้ดีที่สุดในชีวิต
       
       “ฉันคิดว่า การโต้วาทีเปลี่ยนชีวิตทำให้เปิดโลกความคิด การวิเคราะห์ ช่วยเปลี่ยนจากเด็กขี้อาย เป็นเด็กที่กล้าแสดงออก เป็นสิ่งดีๆที่สอนให้เรารู้จักตั้งคำถามกับปัญหาหลายๆอย่าง นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน เพราะเราต้องติดตามข้อมูลจากข่าวสารต่างๆ ซึ่งฉันเองก็ไม่เคยคิดว่าจะต้องศึกษาเรื่องการเมือง เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องทุกๆอย่างที่เป็นไปบนโลก แต่การโต้วาที ก็ทำให้ฉันต้องศึกษามันมากขึ้น ทั้งยังเสริมความมั่นใจให้กับตัวเองอีกด้วย”
       
       สอดคล้องกับปัญญารักษ์ ที่บอกว่าทำให้ตนเองได้ติดตามข่าวสารอย่างหลากหลายมากกว่าเดิม ได้รู้เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก ทำให้ต้องสนใจทุกๆสิ่ง และรู้จักคิดวิเคราะห์ตาม ว่าคนอื่นๆทำอะไรกันอยู่บ้าง แล้วเรากำลังทำอะไร
       
       ส่วน คิม หนุ่มเกาหลี กล่าวปิดท้ายว่า การโต้วาทีทำให้ขาต้องอ่านตำรามากกว่าเดิม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดได้มาก
       
       “เมื่อได้ทำกิจกรรมตรงนี้ ทำให้ผมปรับใช้กับการมองสิ่งต่างๆ จากที่คิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่เมื่อเราโต้วาที ก็จะทำให้เราต้องมอง และคิดวิเคราะห์อีกมุมบ้าง ทำให้เราเข้าใจว่าคนอื่นคิดอย่างไร”

ปิดท้ายกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากพิธีกรในงานครั้งนี้อย่าง "ธนวัศ เผ่าวิบูล" ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกแชมป์เก่าปีที่แล้ว จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมเป็นความรู้ว่า การโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษนั้น มีความแตกต่างจากการโต้วาทีภาษาไทย ไม่เพียงแค่การใช้ภาษา แต่ยังรวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยเรื่องความสละสลวยในการพูด
       
       "การโต้วาทีภาษาอังกฤษ จะต้องพูดภายในระยะเวลา 7 นาที ดังนั้นการแข่งขันจึงเป็นการนำเสนอข้อมูล ให้มากที่สุดภายในระยะเวลาจำกัด จึงต้องพูดเร็วมาก และไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาที่สวยงาม เพราะหากเวลาที่เกิน 7 นาทีไปแล้ว กรรมการจะไม่นำมาคิดคะแนน"

นอกจากนี้ ในการโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ จะแบ่งออกเป็นฝ่ายรัฐบาล กับ ฝ่ายค้าน และขณะที่แต่ละฝ่ายกำลังพูดนั้น อีกฝ่ายสามารถลุกขึ้นเพื่อขอแย้ง ขอแทรกคำถาม ก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายตรงข้ามจะอนุญาตหรือไม่
       
       "ถามว่าเป็นการทำลายสมาธิคู่แข่งหรือเปล่า ก็ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายที่กำลังพูด จะเปิดโอกาสให้ถามหรือไม่ ซึ่งความจริง มันเป็นเรื่องของการออกแบบการแข่งขันเพื่อให้เพิ่มสีสัน และความสนุกมากขึ้นนั่นเอง" ธนวัศ กล่าวสรุป

ผู้จัดการออนไลน์ 6 กันยายน 2553 

438
ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศโปรอินเตอร์เอ็ด เผยแนวโน้มการศึกษาต่อในปีนี้อังกฤษมาแรงเป็นอันดับหนึ่ง และแนวโน้มใหม่ไปเรียนแพทย์ที่จีนกำลังเริ่มได้รับความนิยม
สุลักษณา กาญจนะ กรรมการผู้จัดการบริษัท โปรเฟสชั่นแนลอินเตอร์เอ็ดดูเคชั่น จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในขณะนี้คือ การศึกษาแพทย์ในประเทศจีน เพราะมีราคาไม่แพงมาก และถูกกว่าการเรียนแพทย์ในประเทศไทย โดยการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ก็ต้องมีการเรียนภาษาจีนด้วย เพื่อเป็นการประกอบใช้ชีวิตในช่วงการเรียนแพทย์ 6 ปีในประเทศจีน
       
       “การเรียนแพทย์ที่ประเทศจีนเพิ่งเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว แต่ในด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนนั้น ก็คล้ายๆกับในไทย ทั้งมี 3 ใน 6 มหาวิทยาลัยที่เป็นตัวแทนได้รับการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภา ได้แก่
       
       1. Dalian Medical Universityค่าเล่าเรียน 30,000 หยวนต่อปี
       
       2. Huazhong University of Science and Technologyค่าเล่าเรียน 30,000 หยวนต่อปี
       
       3. Zhejiang University, School of Medicineค่าเล่าเรียน 34,500 หยวนต่อปี
       
       ส่วนอีก 3 มหาวิทยาลัยที่ยังไม่ได้รับการรับรองนั้น ทางมหาวิทยาลัยกำลังยื่นเรื่องให้แพทยสภารับรองหลักสูตรอยู่ ได้แก่
       
       1. China Medical University ค่าเล่าเรียน 35,000 หยวนต่อปี
       
       2. Qingdao University ค่าเล่าเรียน 25,000 หยวนต่อปี
       
       3. Southeast University ค่าเล่าเรียน 32,400 หยวนต่อปี
       
       ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาแล้วนั้น สามารกลับมาสอบใบประกอบโรคศิสป์ที่ไทยได้พราะทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ที่จบในไทยทั้งมหาวิทยาลัยรัฐ และเอกชน หรือนักศึกษาที่จบจากต่างประเทศ จะต้องผ่านการสอบใบประกอบโรคศิลป์ ส่วนในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่นั้น ค่าครองชีพที่จีนจะไม่สูงมากเนื่องจากมหาวิทยาลัยที่เราไปเรียนไม่ได้อยู่ในเมืองหลวง มีหอพักนานาชาติที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาต่างชาติ และห้างสรรพสินค้า ที่อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยไม่มากนัก

ASTVผู้จัดการออนไลน์
8 กันยายน  2553

439
ไอ้แมงมุมเกาะหลังมอเตอร์ไซด์


จักรยานช่วยมอเตอร์ไซด์ ขนของๆๆๆๆๆๆ


จักรยาน ขนของๆๆๆๆๆๆ


จักรยาน ขนเด็กๆ


จักรยาน ขนหมูๆ


อย่างนี้ประหยัดน้ำมัน

440
งบตั้งเยอะแยะ ทำไมเงินค่าตอบแทน รพศ/รพท. ถึงไม่มีจ่ายให้หมอ

แล้วงานวิจัยของ สวรส. มีอะไรบ้างในปีที่ผ่านมา งบเป็นร้อยล้าน ช่วยบอกที

441
คุณหมอ - เสียใจกับคุณลุงด้วยนะครับ ผลออกมาแล้วว่าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถือเป็นกรณีที่แปลกมากเพราะว่าเราตรวจทุกอย่างแล้ว ผลเป็นลบหมดเลย ทั้งการตรวจร่างกาย ไม่มีไข้ ไม่มีคอแข็ง เจาะน้ำไขสันหลังก็ผลเป็นลบหมด
.......................................
เวชระเบียน รพ. ชื่อผู้ป่วย..........
คอแข็ง - ve, ไข้ - ve, การเปลี่ยนแปลงสติ -ve ,
น้ำเจาะหลัง เม็ดเลือดขาว - ve  , เชื้อโรค - ve
.......................................
ญาติผู้ป่วย - นี่แปลว่าที่รักษาไปตอนแรกไม่ได้รักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบเพราะผลเป็นลบใช่ไหมหมอ...

คุณหมอ - ครับ ถือเป็นกรณีที่หาได้ยากจริงๆ เพราะว่าผลการตรวจทุกอย่างเป็นลบหมด

ญาติผู้ป่วย - งั้นผมขอดูเวชระเบียนหน่อยนะ
.......................................
เวชระเบียน รพ. ชื่อผู้ป่วย..........
คอแข็ง + ve, ไข้ + ve, การเปลี่ยนแปลงสติ + ve ,
น้ำเจาะหลัง เม็ดเลือดขาว + ve  , เชื้อโรค + ve
.......................................
ญาติผู้ป่วย - อะไรกันหมอ ผลก็ออกมาชัดๆว่าเป็นบวก หมอรักษาพลาดนี่หว่า
จ่ายมาซะดีๆ 2 แสน
-----base on a true story

ข้อควรจำ - ไม่ควรให้เวชระเบียนตัวจริงกับญาติ ในกรณีที่ผลการรักษาไม่ดี

แม้แต่เวลารักษาจนหายหรืออาการดีขึ้น บางทีตอนมาตรวจตามนัดอาจจะมีการขอเอาเวชระเบียนไปดู

ต่อให้ตลอดการรักษา คนไข้ และญาติแสดงความชื่นชมหมออย่างมาก ก็ไม่ควรให้

ถ้าให้ดีใช้หมึกสีแปลกๆเขียนก็ดี เวลาโดนแก้จะได้ตามตัวได้

442
เบื้องหลัง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ

ณ เวลานี้ หากแพทย์ท่านใดยังไม่ทราบข่าวเรื่องการพยายามผ่านกฎหมายตัวนี้ที่ถูกรณรงค์โดยมูลนิธิ
เพื่อผู้บริโภค ต้องถามว่าแพทย์ท่านนั้นไปอยู่ ณ ซอกหลืบใดในโลก เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ฟางเส้นสุดท้ายของความอดทนของบุคลากรสาธารณสุขหลายภาคส่วนหมดลงทันที และก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรง ชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และ ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็คงนึกไม่ถึงเช่นกันว่า บุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ที่แต่ไหนแต่ไรมา เปรียบเหมือนลูกไก่ในกำมือในสายตาของมูลนิธิ กลับกระโดดออกมาต่อต้านร่างกฎหมายนี้อย่างถึงที่สุด บุคลากรที่ไม่เคยรวมตัวกันติด มีลักษณะร่วมกันคือ ตัวใครตัวมัน มีทางไปของตนเอง กลับสามารถรวมตัวกันได้ (แม้จะยังไม่เหนียวแน่นอย่างถึงที่สุด) และแสดงพลังออกมาให้เห็น สุภาษิตที่ว่า “รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย” หรือ “สามัคคีคือพลัง” ดูจะใช้ได้ดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้

ตลอดสามปีที่ผ่านมา ผู้เขียนเข้าไปรับรู้เรื่องการร่างกฎหมายนี้ตั้งแต่แรก ๆ และมีส่วนเข้าไปร่วมร่าง
และชี้แจงต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งสวรส. สช. สปสช. คณะกรรมาธิการสาธารณสุขของรัฐสภา คณะกรรมการกฤษฎีกาหลายต่อหลายครั้ง ไม่น่าจะต่ำกว่าห้าสิบครั้ง เรียกว่าไปจนเบื่อ ความรู้สึกกระตือรือร้นในการพยายามให้กฎหมายออกมามีหน้าตาดี ทำงานได้ กลายเป็นท้อแท้และสิ้นหวังกับกฎหมายนี้ หลายคนถามว่าทำไมกฎหมายถึงมีหน้าตาแบบนี้

แรกปฏิสนธิ

วันแรกที่ถูกตามตัวทางโทรศัพท์จากกระทรวงสาธารณสุขให้ไปดำเนินการในการจัดทำร่างกฎหมาย
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนและผู้ให้บริการสาธารณสุขให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการฟ้องร้อง ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยมีพื้นฐานหรือความรู้ในการร่างกฎหมายมาก่อน แม้จะจบปริญญาทางด้านกฎหมายมา แต่ในการเรียนการสอนไม่เคยมีตำราหรือวิชาใดที่พูดถึง “เทคนิคและหลักเกณฑ์การร่างกฎหมาย”ความรู้สึกแรกคือหนักใจและไม่แน่ใจว่าจะกระทำได้หรือไม่ แต่ไม่ลองไม่รู้ คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมามีทั้งตัวแทนจากสภาทนายความ แพทยสภา อัยการ เป็นต้น วันแรกที่เจอหน้าคณะกรรมการ ความรู้สึกแรกคือ เราอ่อนอาวุโสที่สุด บางคนเป็นผู้อาวุโสจากสภาทนายความ(ซึ่งภายหลังมีส่วนในการว่าความเอาผิดอดีตนายกรัฐมนตรี)บางคนเคยเป็นสนช. สสร. ในการร่างรัฐธรรมนูญ หลายคนมีตำแหน่งเป็นทางการที่ค่อนข้างใหญ่โตในองค์กรของตนเอง โจทย์ตอนแรกคือการจัดทำประมวลวิธีพิจารณาความที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องในมูลละเมิดและอาญาทางด้านสาธารณสุข แต่เมื่อประชุมกันก็ได้รับคำแนะนำจากผู้อาวุโสที่เคยมีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขประมวลกฎหมายสบัญญัติ (ประมวลวิธีพิจารณาความ) เป็นเรื่องยุ่งยากและมักไม่ได้รับความเห็นชอบดังนั้นให้มุ่งไปในเรื่องกฎหมายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันนั้นเอง ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็ได้กำลังจัดทำกฎหมายในลักษณะเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” ซึ่งมี
สวรส.เป็นแกนกลาง ส่วนคณะจัดทำมาจากภาคประชาชนเป็นส่วนใหญ่ (ทราบภายหลังว่าเกือบทั้งหมดมีความสัมพันธ์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมกับมูลนิธิอยู่ก่อนแล้ว) ดังนั้นในช่วงแรกของการจัดทำจึงมีคณะทำงานอยู่สองชุด แต่จุดประสงค์คล้าย ๆ กัน ระหว่างนั้นก็มีการประชุมข้ามคณะกันเป็นบางครั้ง โดยทางฝั่งของกระทรวงสาธารณสุขจะมีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นแกนกลาง ฝ่ายของมูลนิธิจะมาใช้ที่ประชุมของ สวรส.หรือบางครั้งก็เป็นสช. เป็นหลัก ทำให้ดูเหมือนว่ามีต้นธารมาจากกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองร่าง (ซึ่งผู้เขียนก็เข้าใจเช่นนั้น) แต่เมื่อประชุมไปสักพัก จึงเริ่มถึงบางอ้อว่า ทำไม สวรส. และ สช. ซึ่งมีแพทย์เป็นประธานจึงดูโน้มเอียงไปทางความเห็นของตัวแทนจากมูลนิธิ ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างการประชุม เมื่อถึงมาตราสำคัญ ๆ ทางฝั่งมูลนิธิจะมีการนำผู้ที่เคยพบเห็นหน้าทางสื่อสาธารณะบ่อย ๆ เข้ามาร่วมประชุม ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าไม่เหมาะสมเพราะผู้เข้าร่วมประชุมมักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการบีบให้ร่างเป็นไปตามที่ตนต้องการ

เนื้อหาของกฎหมาย

ร่างที่มาจากของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะเน้นไปในเรื่องการเยียวยาผู้ป่วยในกรณีที่มีการกระทำ
ทุรเวชปฏิบัติของแพทย์ และ อาจมีการเยียวยาในกรณีเหตุการณ์สุดวิสัยที่นาน ๆ เกิดสักครั้งแต่เป็นเรื่องรุนแรงเช่น น้ำคร่ำหลุดเข้ากระแสเลือด หรือแพ้ยารุนแรงโดยไม่ทราบมาก่อน แนวทางการยื่นคำขอคือการเพิ่มช่องทางให้เลือกรับเงินจากกองทุน และต้องยุติสิทธิในการฟ้องร้องทั้งหมดเมื่อรับเงิน เมื่อยื่นเรื่องรับเงินแล้วห้ามไปใช้ช่องทางศาลอีก เพราะต้องการส่งเสริมให้เลือกช่องนี้เป็นหลัก แต่ก็ไม่ตัดสิทธิการฟ้อง เพียงแต่เมื่อฟ้องแล้วห้ามกลับมายื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนอีก การพิสูจน์ว่าควรช่วยเหลือหรือไม่ ก็ดูว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือไม่(มิได้เรียกว่า ผู้เสียหาย) เพียงแต่ไม่เน้นการพิสูจน์ว่าใครเป็นคนทำผิด (พิสูจน์ผิดถูก แต่ไม่พิสูจน์ทราบคนกระทำ)

ส่วนร่างที่คลอดออกมาจากสวรส. นั้น เน้นการเยียวยาให้รวมไปถึงการรักษาที่ได้มาตรฐานแล้วแต่
เกิดผลไม่พึงประสงค์ เช่น ผ่าตัดช่องท้องที่มีพังผืดมากมายแล้วระหว่างผ่าตัดมีความเสียหายกับลำไส้หรือท่อไตหรือการจ่ายเงินให้หากผ่าตัดแล้วมีการติดเชื้อ ซึ่งทางการแพทย์ไม่ได้เรียกว่าการกระทำให้เกิดความเสียหายแต่เรียกว่า adverse effect ซึ่งเกิดได้ภายใต้การรักษาตามมาตรฐานแล้ว (ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่ากรณีเยียวยาลักษณะนี้ จะทำให้พรบ.นี้กลายเป็น กม.สังคมสงเคราะห์) ความแตกต่างอย่างสำคัญอีกอย่างคือ ร่างนี้เปิดให้ผู้ที่เรียกตนเองว่าผู้เสียหายสามารถรับเงินแล้วไปฟ้องต่อได้อีก เมื่อฟ้องแพ้แล้วก็ไม่ต้องคืนเงิน แถมยังอาจได้รับเงินเพิ่มเติมอีก หากฟ้องชนะกองทุนก็ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมอีก ห้ามตัดสิทธิการฟ้องทุกรูปแบบ (สิ่งที่ผู้แทนมูลนิธิกล่าวคือ “หากให้มากพอ ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะไปฟ้องต่อ” “ไม่มีใครอยากฟ้องหมอหรอก” “หมอไม่ต้องไปกังวลเรื่องเงินของกองทุน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะหาเงินมาเติมให้เอง”) คดีอาญาก็ห้ามเว้น แม้จะรู้ดีว่าแพทย์ไม่ได้เจตนา แต่ต้องคงไว้เพราะจะเป็นการรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งต้องเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยขยายอายุความทางแพ่งด้วยการฟ้องอาญา!!!

ถึงเวลารวมร่างแปลงกาย + ปัญหาเรื่องประชาพิจารณ์

กฎหมายที่ได้ออกมาทั้งสองฉบับในที่สุดก็ถูกสั่งให้รวมกันเป็นร่างเดียวกันโดยคำสั่งของรมต.สธ.ใน
ขณะนั้น ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายออกเป็นฉบับเดียวในนามของกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ออกกฎหมาย เนื้อหาในกฎหมายทั้งสองมีหลายมาตราต่างกันแบบ “ขมิ้นกับปูน” ชนิดที่ผู้เขียนเห็นว่าการรวมกันให้เป็นเนื้อเดียวแทบเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งเมื่อรวมกันแล้วคงอัปลักษณ์น่าดู เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการในสิ่งที่ขัดกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการรวมร่างในชั้นกฤษฎีกาจึงเป็นเรื่องน่าเวียนหัว
ประเด็นเรื่องการประชาพิจารณ์นั้น เป็นที่โต้เถียงมาตลอดว่า กม.นี้ของทางมูลนิธิผ่านการประชา
พิจารณ์มาแล้ว ผู้เขียนยอมรับว่าไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายหรือข้อบังคับการทำประชาพิจารณ์ แต่สิ่งที่พบเห็นคือ มีการจัดสัมมนาตามโรงแรม หรือสภาวิจัยแห่งชาติ (ตรงสถานีBTS พญาไท) เป็นครั้งคราว สิ่งที่พบเห็นในขณะนั้นคือผู้ร่วมประชุมจะเป็นคนหน้าเดิม ทั้งจากกระทรวง แพทยสภาบางท่าน(ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นความบกพร่องของแพทยสภาที่ไม่สื่อเรื่องนี้ออกไปให้กว้างขวางเหมือนกับที่สมาพันธ์วิชาชีพแพทย์ หรือชมรมรพ.ศูนย์ ทำได้ในขณะนี้) ตัวแทนจากกระทรวงก็มีทั้งผู้เขียน (ซึ่งมีโอกาสพูดไม่มาก) และผู้หลักผู้ใหญ่บางท่านที่ทุ่มเทเวลาในการทำงานเพื่อช่วยเหลือเพื่อนแพทย์และพยาบาล(แต่ติดขัดหลายอย่างที่ไม่อาจกล่าวได้) การสัมมนาในสายตาของผู้เขียนโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นที่สภาวิจัยและเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นการสัมมนาหรือการประชาพิจารณ์ที่น่ากระอักกระอ่วน ชนิดที่หากไม่ถูกบังคับหรือขอร้องให้ไปก็ไม่อยากไป นอกจากจะเสียเวลาแล้วยังอาจโดนเชือดคาเวทีง่าย ๆ เพราะผู้ร่วมประชุมส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการร่างกฎหมายน้อยมากหลายท่านเป็นชาวบ้านที่ยังไม่เคยอ่านกฎหมายนี้ทั้งฉบับ เพียงแต่รับทราบว่าจะมีกฎหมายที่ให้เงินเมื่อเกิดความไม่พอใจในผลการรักษา หลายท่านเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีในการเข้าไปรับการรักษา ซึ่งอาจมีทั้งที่ถูกและผิด แต่สิ่งที่อยู่ในใจของผู้ร่วมสัมมนาคือความรู้สึกเป็นลบต่อบุคลากรทางการแพทย์ ราวกับว่ากำลังจะออกกฎหมายเพื่อประหัตประหารหรือจัดการโจรในชุดขาว ทำให้ระยะหลังผู้เขียนได้แต่ไปเซ็นชื่อแล้วเดินออก เพราะประธานไม่
เปิดโอกาสมากนัก คนที่ขึ้นเวทีส่วนใหญ่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะให้ใครพูดได้มากได้น้อย แต่ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่รู้สึกคือ แบบนี้ไม่น่าเรียกประชาพิจารณ์ (ยกเว้นกฎหมายบัญญัติไว้ว่าใช่) แต่น่าจะเรียกว่าการสัมมนาในกลุ่มที่เป็นฝ่ายเดียวกับตน แต่มีการเชิญคนนอกเข้ามาร่วมเพื่อให้ดูว่ามีสีอื่นเข้าไปปะปน ประธานในที่ประชุมหลายครั้งเป็นคนที่มีชื่อเสียง แต่เกือบทุกครั้ง จะมาแค่เปิดประชุมแล้วไปงานอื่นต่อ แต่ออกมาให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นเรื่องเป็นราว ราวกับว่าอยู่รับฟังทุกความเห็นในห้องประชุม บางครั้งการจัดประชาพิจารณ์หรือรับฟังความเห็น ก็จัดขึ้นโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยการเมืองที่ติดแม่น้ำ ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมูลนิธิ

ประเด็นเรื่องการประชาพิจารณ์นั้น ผู้เขียนไม่ทราบว่ากฎหมายเขียนไว้อย่างไร แต่สิ่งที่เห็นคือ เป็นการ
สัมมนาในกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม รู้จักกันมาก่อน บางครั้งมีการประชุมกันไปมา
ระหว่างหน่วยงานของแต่ละคน มีการรับเบี้ยประชุมกันไปมา คนในกลุ่มหลายคนได้รับการผลักดันให้ไปมี
ตำแหน่งในแต่ละหน่วยงานของแต่ละกลุ่ม เช่น กทช. สภาวิจัย สสส. สวรส. สช. ลักษณะนี้ไม่น่าจะเรียกว่าประชาพิจารณ์ ที่ควรเป็นกลาง และ กลุ่มตัวอย่างน่าจะกว้างขวางกว่านี้มาก และไม่ควรมีความสัมพันธ์ในลักษณะนี้มาก่อน

ห้องประชุมติดแม่น้ำเจ้าพระยา-ทิวทัศน์ดี แต่บรรยากาศเครียด

ที่สนง.กฤษฎีกา มีการตั้งคณะกรรมการเป็นกรณีพิเศษเพื่อพิจารณากฎหมายฉบับนี้ โดยมีอดีตประธาน
ศาลฎีกาเป็นประธาน มีอดีตอัยการสูงสุด มีผู้พิพากษาศาลสูง มีอาจารย์แพทย์ที่มีคุณวุฒิทั้งทางด้านนิติเวชและกฎหมาย มาเป็นองค์ประชุม มีการเชิญตัวแทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แพทยสภา กระทรวงสธ. สปสช. อัยการ สนง.ไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท กท.ยุติธรรม มาเป็นหลัก ที่เหลือเข้ามาร่วมเป็นครั้งคราว แต่ระยะหลัง (ใช้เวลาเป็นปี) ตัวแทนแพทยสภาไม่ได้เข้ามา นัยว่าไม่เห็นด้วยกับการทำหน้าที่ของท่านประธาน อีกทั้งมีภารกิจที่สำคัญอื่นบรรยากาศวันแรกก็เคร่งเครียดแล้วเพราะเนื้อหาของสองร่างมันต่างกันมากจนการรวมให้เป็นเนื้อเดียวกันทำได้ยาก แค่ชื่อกฎหมายก็ต้องเรียกว่า “ทะเลาะ”กันแล้ว เพราะทางมูลนิธิยืนยันว่า เขาและคนไข้ทั่วประเทศเป็นผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคลากร (ทำให้ผู้เขียนนึกในใจว่า เราเป็นแพทย์ หรือเป็นโจรที่มีเจตนามาดร้ายประชาชนคนไทย) บางมาตราทางคณะกรรมการก็เห็นด้วยกับเรา (แต่น้อยมาก ๆๆ แสดงว่าคนส่วนใหญ่มองบุคลากรสาธารณสุขในภาพลบ) หลายมาตราคณะกรรมการก็ไม่เห็นด้วยกับทางมูลนิธิ แต่สิ่งที่รู้สึกตลอดระยะเวลาเป็นปีที่สนง.กฤษฎีกาคือ นี่น่าจะเป็นการdebateระหว่าง ตัวแทนกท.สธ. กับมูลนิธิ โดยตรง แทนที่จะเป็นการdebateระหว่างบุคลากรกับประชาชนทั่วประเทศ เพราะตลอดเวลาทางมูลนิธิทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่าเขาเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ ยิ่งกว่าสส.ที่เป็นเฉพาะเขตที่ได้รับเลือกตั้ง หลายครั้งก็มีการโต้เถียงกับท่านประธานอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องการไกล่เกลี่ย ที่ตัวแทนมูลนิธิยืนยันหนักแน่นว่า “ไม่ต้องมี ไม่ต้องไกล่เกลี่ยใด ๆ เพราะกม.นี้เขียนเพื่อจ่ายเงิน ห้ามมาต่อรองราคา” แต่ท่านประธานยืนยันหนักแน่นว่า “.....ปาก เพราะไม่ได้บังคับให้มาไกล่เกลี่ย คุณไม่อยากไกล่เกลี่ยก็ไม่ต้อง แต่ประชาชนคนอื่นอาจต้องการ ไม่ต้องมาพูดแทน อีกทั้งในกระบวนการทางศาลปกติก็มีการบังคับให้ไกล่เกลี่ยทุกรายอยู่แล้ว” วันนั้นเล่นเอาบรรยากาศอึมครึมเพราะนาน ๆจะเห็นท่านประธานฟิวส์ขาด จนระยะหลัง เลขาธิการมูลนิธิต้องเข้ามาคุมเกมเองเวลาพิจารณามาตราสำคัญ ๆ เช่น

สิทธิการฟ้องต่อ ประเด็นที่นับเป็นเรื่องร้อนอีกอย่างคือ “การระงับคดีอาญา” ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เขียนต้องการมาก แต่ดูเหมือนว่ามีน้อยคนมากที่สนับสนุน ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าแพทย์ที่เข้าไปช่วยผู้ป่วยด้วยเจตนาสุจริต แล้วเกิดพลาดพลั้งต้องมีสิทธิถูกฟ้องอาญาได้ ตัวแทนแพทยสภาถกประเด็นเรื่องนี้อย่างหนักจนแทบจะเรียกได้ว่าเกิดอาการไม่กินเส้นกัน ที่น่าเสียใจคือคณะกรรมการที่เป็นแพทย์ก็เห็นด้วยว่าแพทย์ที่มีเจตนาไปช่วยผู้ป่วยย่อมสามารถถูกฟ้องได้ ให้ไปแก้ต่างในศาล “หลายคนในนั้น มองว่าการขึ้นไปแก้ต่างในฐานะจำเลยในศาลเป็นเรื่องปกติ ที่สุดแล้วหากแน่ใจว่าตนไม่ผิด เดี๋ยวศาลก็ยกฟ้องเอง” ฟังแล้วท้อใจมาก ส่วนตัวผู้เขียน น่าจะเป็นคนแรกที่หยิบยกคำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” หรือ “Gross negligence” มาใช้ในคดีทางการแพทย์ เพราะในต่างประเทศก็มีบัญญัติคำนี้ แต่ ณ เวลานั้นส่วนใหญ่เห็นว่ากฎหมายไทยไม่มีคำนี้ มีแต่ “ประมาท” หรือ“ordinary negligence” เท่านั้น เมื่อแพทย์ประมาทก็ต้องโดนฟ้องได้ (แต่ ณ เวลาที่พิมพ์บทความนี้ คือเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ ประเทศไทยมีบัญญัติคำว่า ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไว้แล้วในกม.อย่างน้อยสองฉบับคือพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งผู้เขียนคิดว่าน่าจะถึงเวลาหยิบยกคำ ๆ นี้มาใช้บัญญัติเรื่องความรับผิดทางอาญาอันมีมูลเหตุมาจากการรักษาพยาบาล ให้แยกความผิดออกเป็นสองฐานคือประมาทธรรมดา และ ประมาทเลินเล่อย่างร้ายแรง ได้แล้ว) อีกประเด็นที่ถกเถียงกันหนักคือ การรับเงินแล้วฟ้องต่อได้หรือไม่ได้ ที่สุดแล้วก็ออกมาค่อนไปทางความต้องการของมูลนิธิ ประเด็นเรื่องสัดส่วนคณะกรรมการเป็นอีกประเด็นที่เราแพ้คนของมูลนิธิ เพราะท่านประธานมองเรื่องนี้ในลักษณะเสียงข้างมาก และคนของมูลนิธิก็ยืนยันว่าไม่ต้องมีสภาวิชาชีพหรือแพทย์เฉพาะทางมาตัดสิน แต่ให้ใช้เสียงข้างมาก (ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ผู้เขียนไม่เข้าใจว่า ทำไมตอนนี้ทางมูลนิธิถึงเปลี่ยนคำพูดว่าไม่ติดใจเรื่องสัดส่วนคณะกรรมการ บอกว่ายินยอมให้ไปแก้ในชั้นกรรมาธิการ แต่ในห้องประชุกฤษฎีกากลับคัดค้านอย่างมาก)

ลูกที่พ่อจำไม่ได้

ที่สุดแล้วกม.นี้ก็คลอดออกจากคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่เปลี่ยนชื่อเป็น “พรบ.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข” เพราะท่านประธานมองว่าชื่อเดิม เป็นชื่อที่ก้าวร้าว ขัดกับหลักการกฎหมาย แต่ที่สุดแล้วทางมูลนิธิกลับใช้วิธีกดดันแบบเดิม ๆ คือยกพลพร้อมผู้ป่วยไปให้รมต.สธ.ให้เปลี่ยนชื่อกลับ ซึ่งรมต.ก็ยินยอม ทำให้ผู้เขียนรู้สึกผิดหวังมาก และทราบดีว่า ชื่อกฎหมายนั้นสำคัญมากเมื่อเข้าไปในชั้นกรรมาธิการ กฎหมายทั้งฉบับออกมาในลักษณะที่ พ่อจำหน้าลูกไม่ได้ ว่านี่ใช่ลูกเราหรือเปล่า หลายมาตราขัดกันเอง หลายมาตราจะส่งผลเสียต่อระบบสาธารณสุขอย่างรุนแรง เกิดการกลายพันธ์ (mutation) อย่างมากชนิดที่น่าจะเป็นมะเร็งร้ายที่กัดกินระบบสาธารณสุขในระยะยาวเป็นแน่ จนหากใครเป็นพ่ออาจเกิดความรู้สึกอยากทำ criminal abortion เป็นแน่ถึงที่สุด ณ ขณะนี้ กว่าที่บทความนี้จะตีพิมพ์ ทางออกคงพอให้เห็นกันบ้างแล้ว จากการรวมกลุ่มกันของบุคลากรหลายวิชาชีพ มาจัดตั้งและทำงานร่วมกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิรูประบบสาธารณสุข โดยไม่ต้องอาศัยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคหรือกระทรวงสาธารณสุข ในอนาคตเชื่อว่าหากยังรวมตัวกันติดอยู่คงได้เห็นกฎหมายที่บัญญัติให้คุ้มครองบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอย่างสุจริตตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๐(๒) บัญญัติไว้

443
ข่าว รพศ./รพท. / Re: โตรงสร้าง องค์กรแพทย์
« เมื่อ: 05 กันยายน 2010, 22:50:03 »
โรงพยาบาลไหนมีแบบที่คุณ cherdc บรรยายมา ก็สุดยอดเลย
ขอให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงสั่งการให้เป็นแบบนี้ทั่วประเทศ เลยดีไหม

444
นี่ ซ้อน 6


นี่ก็ ซ้อน (อย่างน้อย)6 (สงสัยจะเป็น dog ด้วย)


แต่นี่ ซ้อน 8


นี่ ซ้อนแค่ 1 แต่เสียวจัง


นี่ ซ้อนแค่ 1 แต่น่าทึ่ง คิดได้ไงฟ่ะ

445
สมาพันธ์แพทย์ฯ เดินหน้าค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ และไม่ขอร่วมเป็นคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบสาธารณสุข เสนอผู้เกี่ยวข้องและแพทย์จากหลายสาขาจัดระดมความเห็นระดับชาติ ด้านปลัด สธ.พร้อมอำนวยความสะดวก
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้าพบหารือกลุ่มแพทย์ สมาพันธ์แพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ที่มีการนัดประชุมหารือเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ว่า ทางกระทรวงฯ ยินดีอำนวยความสะดวกให้แก่แพทย์กลุ่มดังกล่าว และยืนยันว่าตนไม่ใช่แพทย์เอ็นจีโอ และเข้าใจความรู้สึกของแพทย์ รพ.ศูนย์ฯ ที่ต้องรับภาระหนักทำงานมากขึ้น
       
       ด้าน พญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์แพทย์ฯ กล่าวยืนยันว่า ทาง สมาพันธ์ฯ ยังคงมีมติไม่ขอเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบสาธารณ สุข และเสนอว่าควรมีการจัดประชุม 3 เวที ซึ่งจะมีผู้แทนของสำนักงบประมาณ สำนักกฤษฎีกา สื่อมวลชน รวมถึงแพทย์จากหลายสาขา ทั้งตำรวจ ทหาร กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อระดมความคิดเห็น รวบรวมส่งประธานวิปรัฐบาลเพื่อประกอบการพิจารณาของสภา และจัดการประชุมหารือเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในระดับชาติต่อไป
       
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังซักถามผู้แทนจากแพทยสภา หลังจากวานนี้ (19 ส.ค.) ที่ประชุมแพทยสภามีมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ด้วย แต่ทางผู้แทนแพทยสภายืนยันว่าเป็นความเข้าใจผิด ซึ่งที่ประชุมยังเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขบางมาตราเท่านั้น

446
มติที่ประชุมสมาพันธ์ แพทย์ฯ เสนอ 4 ข้อแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วยฯ เร่งล่า 1 หมื่นรายชื่อร่วมกันร่าง กม.ฉบับใหม่ประกบฉบับเดิม ด้านตัวแทนแพทย์อัดเละรายละเอียด พ.ร.บ.ปัจจุบันส่งผลกระทบต่อแพทย์ยังไงต้องค้านสุดลิ่ม ขณะที่รองประธานสมาพันธ์เผยมี กม.เป็นตุ๊กตาไว้แล้ว 2 ร่าง
       
       วันนี้ (20 ส.ค.) พญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์แพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ/รพท.) กล่าวภายหลังการประชุมสัมนาร่วมเฉพาะสมาพันธ์ฯ เรื่อง ข้อสังเกตและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการ เข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ...... ว่า จากการหารือร่วมกันประมาณ 5 ชั่วโมง มติ ที่ประชุมเห็นตรงกันในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยกำหนดทางเลือกไว้ 4 ข้อ ได้แก่ 1.เสนอให้ถอนร่างออกมาทำประชาพิจารณ์จากผู้ที่เกี่ยวข้องใหม่ 2.ถอนร่างออกมาก่อนแล้วทำประชาพิจารณ์อีกรอบโดยสภาวิชาชีพ 3.ให้ยกเลิกร่างฉบับนี้แล้วแก้ไขตาม มาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 แทน และ 4.เสนอร่างใหม่เพื่อเปิดโอกาสใหเแพทย์ได้เป็นกรรมาธิการ
       
       “ทั้งนี้ ทางผู้เข้าร่วมประชุมนั้นต่างก็กับเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.แต่อยากให้มีความเป็นธรรมและสามารถคุ้มครองทั้งสองฝ่าย นั่นคือคุ้มครองทั้งแพทย์และบุคลากรผู้ให้บริการสาธารณสุข และคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ารับบริการสาธารณสุขด้วย” พญ.พจนากล่าว

พญ.สุธัญญา บรรจงภาค ประชาสัมพันธ์สมาพันธ์แพทย์ฯ กล่าวว่า เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ควรมีกรอบในการบริการที่มีคุณภาพมีการคุ้มครองที่ชัดเจน ส่วนเรื่องการเยียวยาสามารถทำได้แต่ต้องเป็นไปด้วยความสมเหตุสมผลไม่ใช่ ดำเนินการในทุกรายที่ร้องเรียน สำหรับด้านกองทุนนั้นควรมีไว้แต่ต้องไม่เบียดบังเงินของประชาชน และที่สำคัญหากผู้ได้รับผลกระทบได้รับเงินชดเชยแล้วจะต้องยุติการฟ้องร้องใน คดีอาญา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางสมาพันธ์กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อหารือกันในการร่างกฏหมายฉบับใหม่ขึ้นไปประกบฉบับปัจจุบัน เนื่องจากเห็นว่า พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันที่รอเข้าวาระนั้นมีจุดอ่อนหลายประการ ซึ่งคาดว่าจะได้รายชื่อครบภายในเดือน ส.ค.นี้
       
       ในวันเดียวกัน ระหว่างที่การประชุมหารือ นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องมีการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.มากระทั่งวันนี้ เนื่องจากได้ศึกษาประเด็นสำคัญในร่าง พ.ร.บ.แล้วพบว่ามีหลายส่วนที่ส่งผลกระทบต่อแพทย์ โดยตั้งข้อสังเกตว่า 4 ประเด็น คือ 1.ในด้านคณะกรรมการพิจารณาความเสียหายมีคุณสมบัติไร้ความสามารถในการตัดสิน ความเสียหาย เนื่องจากสัดส่วนของแพทย์ผู้ให้บริการนั้นมีน้อย 2.ผู้รับบริการทางสาธารณสุขสามารถฟ้องร้องความเสียหายตลอดชีพ ตามมาตรา 25 ที่ระบุว่า ผู้เสียหายอาจยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ต่อสำนักงาน หน่วยงานหรือองค์กรที่สำหนักงานกำหนดภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ที่ก่อให้เกิดความเกิดความเสีย หาย แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่รู้ความเสียหาย ซึ่งผู้เสียหายอาจมีความไม่แน่นอน 3.ไม่มีการประณีประนอมยอมความตามที่ผู้สนับสุน พ.ร.บ.อ้าง เพราะมาตรา 33 เขียนว่ามีการทำสัญญาประณีประนอม แต่มาตรา 37 เปิดโอกาสให้ฟ้องร้องใหม่ ในกรณีที่มีความเสียหายปรากฏภายหลัง 4.หากผู้เสียหายฟ้องศาลแพ่งแล้วแพ้สามารถขอรับเงินชดเชยใหม่ได้ เพราะตามมาตรา 34 ที่ระบุว่า หากศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยว่า ผู้ให้บริการสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการอาจพิจารณาจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้
       
       “4 ประเด็นนี้เป็นพียงบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อแพทย์ผู้ให้บริการเท่านั้น ยังมีอีกหลายมาตราที่สามารถส่งผลต่อบุคลากรผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งมันคือ ช่องโหว่ทางกฎหมายที่เห็นได้ชัด ดังนั้นแพทย์ทุกท่านควรเร่งทำความเข้าใจในรายมาตราให้ละเอียดเพื่อจะได้รับ ทราบในผลกระทบที่มี และร่วมกันเสนอข้อคิดเห็นเพื่อแก้ไขในขั้นตอนต่อไป” นพ.วิสุทธิ์กล่าว
       
       ขณะที่ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แพทย์ศัลยศาสตร์ - ประสาท รพ.ราชวิถี กล่าวว่า ใน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ควรที่จะตัดมาตรา 45 ออกทั้งหมด เนื่องจากมองว่าเป็นรายละเอียดที่ไม่มีผลใดๆ ในทางปฏิบัติ อีกทั้งเป็นการสื่อความหมายในลักษณะของการบีบบังคับให้แพทย์ต้องนำเงินไป จ่ายให้ผู้ป่วยไม่ว่าจะผิดหรือถูก เพราะตามหลักการแล้วไม่สนใจผิดถูก ตามหลักการที่พยายามกล่าวอ้าง ทั้งนี้หากแพทย์ไม่จ่ายให้สิทธิการฟ้องอาญาก็ยังมี ที่บอกว่าควรตัดออกก็เนื่องจากตามกฏหมายอาญานั้นก็มีหลายมาตราที่ศาลสามารถ ใช้พิจารณาลดโทษได้ เช่น มาตรา 64 ความไม่รู้กฏหมาของแพทย์ มาตรา 69 มีความจำเป็น และมาตรา 78 มีคุณงามความดีมาก่อน และรู้สำนึกผิด ที่พยายามบรรเทาผลร้ายโดยการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ประโยชน์แก่การพิจารณา
       
       ด้าน พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ รองประธานสมาพันธ์แพทย์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ทางสมาพันธ์ฯ ได้ดำเนินการร่าง พ.ร.บ.ขึ้นมา 2 ฉบับเพื่อใช้สำหรับเป็นตุ๊กตาในการพิจารณาปรับรุงแก้ไขกฎหมายฉบับใหม่โดย ฉบับหนึ่งเป็นร่างที่เขียนขึ้นโดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ และฉบับที่ 2 ร่างที่สมาพันธ์ฯ แพทย์ร่วมกันเขียนขึ้นโดยมีตัวแทนจากสมาพันธ์เข้าไปปรึกษากับนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่แสดงความคิดเห็นว่าควรให้ขยายมาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เพื่อร่างเป็นกฏหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ...... แทน

447
ร่าง พ.ร.บ.นี้เป็นอย่างไร คิดกันเอาเอง แต่.....
กฎหมายเลวก็ออกจากนักการเมืองเลว การเสนอกฎหมายเลวก็มาจากความคิดที่ชั่วของคนเลว

448
การช่วยเหลือผู้ที่เกิดผลกระทบจากระบบสาธารณสุขเป็นสิ่งที่ดี
การลดการฟ้องร้องบุคลากรทางสาธารณสุขก็เป็นสิ่งที่ดี
แต่เราไม่ต้องการ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฉบับนี้

หากรัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณะจากรัฐ ก็ไม่ควรเลือกปฏิบัติ ออกกฎหมายเฉพาะด้านสาธารณสุข แต่ควรออกพ.ร.บ.ช่วยเหลือเยียวยา และคุ้มครองบริการสาธารณะในทุกๆด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณูปโภค ด้านคมนาคม ด้านการศึกษา ด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ด้านกระบวนการยุติธรรม และอื่นๆ คุ้มครองให้หมดด้วยหลักเกณฑ์ที่เหมือนๆกัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น และชดเชยโดยเร็ว รวมทั้งไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ระดมเก็บเงินสมทบจากผู้ให้บริการสาธารณะนั้นๆด้วย  มีผู้เสียหายจากบริการอื่นๆของรัฐมากมาย แต่ไม่มีใครสนใจใยดี อยากร้องเรียนฟ้องร้องก็ต้องทำด้วยตัวเอง แต่ส่วนใหญ่รับชะตากรรม ถือเป็นเวรกรรม ถือเป็นเรื่องธรรมดาของประเทศไทยไปแล้ว

ไฟดับ ไฟกระชาก ไฟตก จนทำให้อุปกรณ์เครื่องไฟฟ้า คอมพิวเตอร์พังเสียหายเป็นหมื่นเป็นแสนก็ไม่รู้จะไปเรียกร้องกับใคร ส่งลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนของรัฐ ตั้งแต่อนุบาลจนจบมัธยมปีที่ 6 แล้วเอ็นทรานซ์ไม่ติดไม่มีที่เรียน ไม่มีงานทำ รัฐรับผิดชอบช่วยเหลืออะไรบ้าง ป้อมตำรวจอยู่ใกล้ๆบ้าน โจรขึ้นบ้านขนของมีค่าไปหมด ทำได้แค่ไปเขียนบันทึกแจ้งความแล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น รัฐจะช่วยบ้างไหม ขายของอยู่ในห้างสรรพสินค้าแถวๆราชประสงค์ แถวๆสยามสแควอยู่ดีๆ มีคนไปปิดล้อม ขนเอาสินค้าไป แล้วเอาไฟไปเผา รัฐช่วยเหลือเบื้องต้นหรือยัง ชดเชยให้หรือเปล่า  โดยไม่ชักช้าหรือไม่ พิสูจน์ถูกผิดเสร็จหรือยัง เป็นต้น

ไม่ค่อยอยากพูดถึงเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ มันหดหู่ยังไงชอบกล คนที่มีพื้นฐานทางสาธารณสุข และกฎหมายบ้าง อ่านจนจบก็จะรู้สึกเหมือนๆกัน เนื้อหาขัดแย้งกัน หมกเม็ด ซ่อนเร้นผลประโยชน์อื่นเอาไว้ สร้างอำนาจแฝงที่จะครอบงำระบบสาธารณสุข โดยอาศัยผู้เสียหายบังหน้า  กองทุนขนาดใหญ่สามารถเอาไปใช้อย่างไม่ถูกไม่ควร ไม่เหมาะสมได้อย่างง่ายดาย เป็นการขยายฐานอำนาจให้คนบางกลุ่มเท่านั้น  การคิดช่วยเหลือผู้เสียหาย หรือผู้ที่มีผลกระทบจากบริการสาธารณสุขนั้นไม่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ไม่จำเป็นต้องตั้งเป็นกองทุนให้ใครมาบริหาร ไม่จำเป็นต้องให้อำนาจใครมาบ่งการชี้นิ้วสั่งสอนสถานพยาบาลต่างๆว่าต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ เพียงแต่รัฐบาลมีความจริงใจเท่านั้น จริงใจที่จะให้เงินสนับสนุนโดยตรงกับสถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศเพื่อใช้ในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย ประกอบกับการแก้ไขกฎระเบียบทางราชการบางอย่าง แค่นั้นเอง

ทุกวันนี้สถานพยาบาลต่างๆก็เจอกับเรื่องร้องเรียนจากผู้ป่วย และผู้เสียหายกันเป็นประจำอยู่แล้ว โรงพยาบาลแต่ละแห่งล้วนมีความสามารถที่จะพูดคุย ไกล่เกลี่ย และประนีประนอม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายกันอย่างได้ผล หลายแห่งหลายครั้งไม่ได้ใช้เงินในการเยียวยา เพราะผู้เสียหาย หรือญาติส่วนใหญ่ไม่ได้มุ่งจะเอาเงิน ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้ออาทร และความเอาใจใส่ต่างหากที่พวกเขาอยากได้ที่สุด นี่เป็นความดีงามอย่างหนึ่งของสังคมไทย สังคมที่แนบอิงกับหลักศาสนาให้ความสำคัญกับจิตใจมากกว่าวัตถุ  เป็นความจริงที่นับวันวัตถุนิยมจะครอบงำสังคมไทยมากขึ้นๆ เพราะกระแสทุนนิยม และโลกาภิวัฒน์ แต่มันก็ไม่ถูกที่เราจะเร่งสังคมของเราเองให้เดินหน้าเข้าสู่สังคมวัตถุนิยม หากดึงรั้งไว้ได้พวกเราน่าจะช่วยกันชะลอ ติดเบรกให้กับสังคมบ้าง ถ้าวันใดความดีงามด้านจิตใจสูญพันธ์จากสังคมไทย เราจะเรียกร้องให้มันกลับมาไม่ได้อีกแล้ว

ทุกวันนี้สถานพยาบาลต่างๆก็พัฒนาคุณภาพการให้บริการกันอย่างเต็มที่อยู่แล้ว เพราะว่าบุคลากรสาธารณสุขรู้ดีว่างานสาธารณสุขไม่เคยหยุดนิ่ง มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แม้จะขาดแคลนทั้งกำลังคน และงบประมาณ แม้กระทั่งขาดขวัญกำลังใจ ก็ไม่มีใครยอมล้าหลัง โรงพยาบาลแต่ละแห่งได้พัฒนาบุคลากร ระบบ ระเบียบต่างๆขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยในการดูแลรักษาผู้ป่วย มันน่าแปลกใจที่รัฐบาลปล่อยให้เกิดความขาดแคลนขึ้น และปล่อยให้ความขาดแคลนนั้นดำรงอยู่ รัฐปล่อยให้บุคลากรสาธารณสุขของรัฐทำงานท่ามกลางความขัดสน ในขณะที่บุคลากรสาธารณสุขกระเสือกกระสนพัฒนางานของตัวเอง  มีคนเคยเปรียบเทียบบุคลากรสาธารณสุขเหมือนทหาร ไปสู้รบกับโรคภัยไข้เจ็บของประชาชน รัฐบาลส่งไปสู้โดยขาดแคลนอาวุธ ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่สี่แยกคอกวัว(10 เม.ย.) ทหารถูกส่งไปโดยปราศจากกระสุนจริง ไปสู้กับความบ้าคลั่งของฝูงชน ผลเป็นอย่างไรล่ะ ภารกิจล้มเหลว ทหารบาดเจ็บล้มตายจำนวนไม่น้อย รัฐบาลแค่สารภาพว่าคาดไม่ถึง ไม่นึกว่าประชาชนบางส่วนจะมีอาวุธ และกล้าใช้อาวุธกับทหาร

รัฐบาลคงคาดไม่ถึงในอีกหลายๆเรื่อง ความจริงก็คือ เหตุการณ์ที่สี่แยกคอกวัวกำลังเกิดขึ้นทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้  เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลของรัฐโดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป เราเสียบุคลากรทางสาธารณสุขไปตลอดเวลา เสียไปโดยการลาออก และเลิกเป็นบุคลากรสาธารณสุข  ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน โยกย้ายไปอยู่ในส่วนที่งานน้อยลง โยกย้ายไปอยู่สายงานที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ลดการทำงานที่เสี่ยง หันไปทำงานที่เสี่ยงน้อยลง เสียไปโดยการทำงานแบบขาดขวัญกำลังใจ ทำๆไปอย่างนั้นล่ะ บางส่วนถึงกับทำงานไปพร้อมกับความคับข้องใจ

นี่ก็ไม่ต่างจากทหารที่บาดเจ็บล้มตายที่สี่แยกคอกวัว รัฐบาลคงคาดไม่ถึงว่ามีประชาชนบางส่วนใช้อาวุธกับบุคลากรทางสาธารณสุข อาวุธก็คือสิทธิที่จะร้องเรียนฟ้องร้องที่มีมากในขณะนี้ แค่การข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธก็สามารถทำร้ายบุคลากรผู้ไร้เครื่องป้องกันได้ เครื่องป้องกันที่รัฐควรจะให้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 80 (แต่ก็ไม่ให้สักที)  ยิ่งเคยมีการตัดสินถึงขั้นจำคุกแพทย์ ก็ยิ่งทำให้บุคลากรขวัญอ่อนกันไปใหญ่ การข่มขู่ และการขู่กรรโชกบุคลากรทางสาธารณสุขไม่เคยเป็นข่าว สังคมไม่เคยรับรู้ สื่อมวลชนไม่เคยสนใจ ทหารที่บาดเจ็บล้มตายยังได้รับการช่วยเหลือเยียวยา แต่ไม่มีสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเหล่านั้น  

เรื่องการฟ้องร้องเป็นการทำลายความรู้สึกที่ดีๆต่อกัน ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ ไม่มีใครอยากให้มี แต่มันก็เป็นอาวุธอย่างดีสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่สามารถลดการฟ้องร้องได้อย่างแน่นอนเพราะไม่มีมาตราไหนช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอย่างที่กล่าวอ้าง มีแต่การเน้นเรื่องเงินช่วยเหลือ เงินชดเชย ความสัมพันธ์ที่ดีไม่ได้เกิดจากเงิน  ความสัมพันธ์ที่มีเงินมาข้องเกี่ยวไม่เคยยั่งยืน ไม่เคยราบรื่น และไม่เคยสงบสุขโดยเฉพาะในสังคมที่อ่อนแอเรื่องคุณธรรม และจริยธรรม ในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำมีมากเกินไป และในสังคมที่มุ่งไปสู่วัตถุนิยม ถ้าผู้ป่วยมีเงินมาล่ออยู่ข้างหน้า บุคลากรสาธารณสุขมีความหวาดระแวงอยู่เบื้องหลัง ปฏิสัมพันธ์จะเป็นในรูปแบบใด ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ดีแน่นอน

ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีอะไรบ้างที่ไม่อยากได้ และที่อยากได้ ใจจริงแล้วไม่อยากได้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ทั้งร่าง แต่ลองดูส่วนประกอบต่างๆของพ.ร.บ.ฉบับนี้กัน มีกองทุน ผู้บริหารกองทุน เงินช่วยเหลือเบื้องต้น เงินชดเชย การไกล่เกลี่ย การพัฒนาระบบความปลอดภัย  ถ้าถูกบังคับให้เลือกว่าจะเอาอะไรในร่าง
พ.ร.บ. ก็ขอเลือกเอาเฉพาะ เงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชย เพราะเป็นประโยชน์กับประชาชน

กองทุน ไม่เอาเพราะไม่โปร่งใส กองทุนถูกระบุว่าไม่ต้องตกเป็นเงินของแผ่นดิน นั่นเท่ากับว่ากองทุนนี้จะไม่ได้ถูกตรวจสอบอย่างเงินอื่นๆของรัฐ (ขนาดมีการตรวจสอบตามระบบก็ยังเห็นว่ามีการทุจริตกันมากมาย) เงินที่จะใช้ตามพ.ร.บ.นี้ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะจัดสรรมา และให้กับสถานพยาบาลโดยตรง

ผู้บริหารกองทุน(คณะกรรมการฯ)นั้น พ.ร.บ.ให้มีอำนาจกำหนดกฎ ระเบียบต่างๆได้เอง การแสวงหาผลประโยชน์จึงเกิดได้ง่าย ดังนั้นไม่เอา และไม่จำเป็น

การไกล่เกลี่ย และการพัฒนาระบบความปลอดภัยก็มีทำกันอยู่ทุกโรงพยาบาลแล้ว ไม่จำเป็นต้องจ้างคนมาไกล่เกลี่ย ไม่จำเป็นต้องให้ใครก็ไม่รู้มาชี้นิ้วว่าต้องพัฒนาอย่างไร

แต่การจะให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชยกับใครก็ต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจน มีคณะกรรมการที่มีความรู้ในเงื่อนไขนั้นๆ ไม่ใช่เอาใครก็ได้ อีกอย่างที่สำคัญ คือ ไปยุ่งกับภาคเอกชนทำไม ถ้ารัฐอยากจะทำประชานิยมก็ทำไปในภาครัฐที่ให้บริการกับประชาชนโดยเฉพาะในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพราะถือเป็นหน้าที่ของรัฐทึ่จะดูแลประชาชนผ่านกระทรวงสาธารณสุข ไม่ควรไปบังคับภาคเอกชน หรือแม้แต่ในสังกัดกระทรวงอื่นๆ เพราะประชาชนมีสิทธิที่จะเข้าใช้บริการของกระทรวงสาธารณสุขอยู่แล้ว แต่หากเลือกจะใช้บริการของภาคเอกชน หรือของสังกัดอื่น ก็มีช่องทางทางกฎหมายอื่นๆอยู่แล้ว เว้นแต่ขออาสาเข้าร่วมเองเหมือนการเข้าร่วมบัตรทองของสปสช.

ถ้าเปรียบ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เหมือนกับบ้าน ก็ยังไม่อยากสร้างบ้านใหม่ ขอขยายต่อเติมบ้านหลังเก่าดีกว่า ประหยัดกว่า คุ้มกว่า ปลอดภัยกว่า แต่ถ้าจะให้วิจารณ์แบบแปลนบ้านที่เสนอว่าจะสร้างใหม่(ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้) บอกได้ว่าออกแบบโครงสร้างผิด และจัดพื้นที่ใช้สอยไม่เหมาะสม ยากที่จะแก้ไขให้ดีได้บนโครงสร้างแบบเดิม เอาพิมพ์เขียวเก่าทิ้งไป จ้างสถาปนิกออกแบบใหม่ดีกว่า
.....................................

449
ขอแก้ไข ร่าง พ.ร.บ. ฯ ดังนี้
1.   เปลี่ยนชื่อ ร่าง พ.ร.บ. ฯ เป็น ร่าง พ.ร.บ. เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
2.   หลักการให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่าย  ทั้งฝ่ายรับและให้บริการสาธารณสุข
3.   มีระบบเยียวยา  ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  เพื่อยุติการฟ้องคดีแพ่งและอาญา
4.   มาตรา 6 ตัด (2)  ออก  แต่เพิ่ม
1)   ความเสียหายที่เกิดจากการปฏิเสธการรักษาและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการ
2)   ความเสียหายที่เกิดจากการปิดบังข้อมูลทำให้เกิดผลเสียต่อการรักษา
3)   ความเสียหายที่เกิดจากการผ่าตัดตกแต่ง  เสริมสวย
5.   มาตรา  7  คณะกรรมการ ฯ เพิ่มตัวแทนสภาวิชาชีพ  สภาละ  1  คน
6.   มาตรา 12  คณะอนุกรรมการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น  และคณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย  มีตัวแทนจากไตรภาคี  สัดส่วนเช่นเดียวกับ  ม.41  ใน พ.ร.บ. หลักประกัน ฯ
7.   ตัดมาตรา  21  ออกทั้งหมด  ยกเว้นสถานพยาบาลเอกชนเข้าร่วมตามความสมัครใจ
8.   มาตรา  22  ตัด (2)(4)  เหลือเงินตาม  ม. 41 และเงินอุดหนุนรวมทั้งดอกผล
9.   มาตรา  33  ทำสัญญาประนีประนอม รับเงินชดเชย   ควรให้ยุติคดีแพ่งและอาญา  ยกเว้นสละสิทธิ์การรับเงินชดเชย
10.   มาตรา  34  เมื่อไปฟ้องศาล ควรยุติการรับพิจารณาเงินชดเชยแม้ศาลจะยกฟ้องก็ตาม
11.   ตัดหมวด  5  การไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีออกไป  ไม่จำเป็น เพราะเป็นการเปิดช่องให้เรียกร้องเงินเพิ่มขึ้น
12.   มาตรา  50  ตัดวรรค 2  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ11 คน  ออกไป

450
ประเด็นขอแก้ไขพรบ.

1.  ชื่อ ................... ขอตัดคำว่า “ เสียหายออก”
2.  หลักการ   เปลี่ยนเป็น พัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขที่ดี
3.  เหตุผล    เปลี่ยนเป็น   ส่งเสริมบริการสาธารณสุขที่ดี และดูแลประชาชนอีก 20 ล้านคน (ปกส.+ ข้าราชการ) มีการดูแลประชาชนทุกฝ่าย ที่เกิดความเสียหายจากบริการสาธารณสุข เท่าเทียมกัน
4.  คณะกรรมการ   ให้ยึดหลัก  ตัวแทนผู้คุ้มครองสิทธิประชาชน  =  ตัวแทนผู้ให้บริการ
 และตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสังคมศาสตร์  =   ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ 
(ม.7(3)    ตัวแทนสถานพยาบาล      เปลี่ยนเป็น    ตัวแทนผู้ให้บริการ
      (5)    ผู้ทรงคุณวุฒิให้ใช้ว่า  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์  3  คน  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ 3  คน 
5.  คณะกรรมการทำงาน
   1. อนุกรรมการให้ใช้ชุดและสัดส่วนของ ม. 41
   2. กรรมการอุทธรณ์ มี กรรมการด้านสังคมศาสตร์  =  กรรมการด้านการแพทย์
6.  สำนักงานเลขานุการ  ให้ใช้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  ตามเดิม
7.  กองทุน  ได้มาดังนี้
     -  เงินโอนคงค้างบัญชี  จาก ม.41 
   -  รายปี  ให้รับจาก
   1.  สปสช.  จ่ายเงิน 1%  ของงบ สปสช. มาสมทบ
   2.  กรมบัญชีกลาง  จ่ายโดยคำนวณ ค่าใช้จ่าย/ ต่อคน ตามสปสช.
   3.  สำนักงานประกันสังคม จ่ายเช่นเดียวกับกรมบัญชีกลาง
   4.  เงินเบี้ยประกันโดยสมัครใจ  จากสถานบริการเอกชน  คำนวณ จากค่าใช้จ่าย/ คน  ของสปสช. และจำนวนคน ให้นับ  1   เตียง =   100 – 120  คน (สมมติ  1คน  นอน  รพ.  3  วัน ฉะนั้น  1 ปี  จะดูแลผู้ป่วยประมาณ 100- 120  คน)  สถานพยาบาลไม่มีเตียงให้นับ  =  1  เตียง
ตัวอย่าง
        โรงพยาบาลเอกชน 100  เตียง จะดูแลประชาชน =    100  x  100  =   10,000   คน
        ค่าใช้จ่ายต่อคน(สปสช.)                    =   1,000  ส่วน / 40 ล้าน  =   25   บาท/คนฉะนั้น  โรงพยาบาลเอกชน   100 เตียง  จ่ายเบี้ยประกัน  =   10,000 x 25  =  250,000  บาท
   คลินิก  =   โรงพยาบาล   1  เตียง           =      100    คน
                จ่ายเบี้ยประกัน        =       100 x  25   =    2,500  บาท/ปี 

8.  การชดเชยให้ใช้      ม.41 
   การชดเชยเบื้องต้น      50,000 /  120,000 / 200,000 
   การชดเชยหลังอุทธรณ์ ให้เพิ่มขึ้นรวมไม่เกิน    1,000,000    บาท   
   ส่วนที่เกิน 200,000   บาท  ให้ทะยอย จ่ายเป็นรายเดือนและให้ติดตามการดูแลผู้ป่วยด้วยว่าได้รับการดูแลหรือไม่
   กรณีความเสียหายในสถานบริการเอกชน หากไม่ได้ทำประกันจ่าย 50,000   บาท  เป็นค่าเยียวยาในแง่มนุษยธรรม
   กรณีทำประกันจ่ายค่าชดเชย เช่นเดียวกับสถานบริการของรัฐ
9.  การฟ้อง
   -   ในกรณีที่ตกลงกันได้แล้วให้ทำสัญญาว่าได้รับการชดเชยแล้วและไม่ติดใจที่จะฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญา
   -   หากไม่พอใจให้ทำสัญญาไม่ตกลงแม้ว่าจะได้รับการชดเชยตามมติอนุกรรมการและจะได้รับเงินเยียวยาขั้นต้น  50,000  บาท เป็นการชดเชยทางมนุษยธรรม
   -   หากทำสัญญาและรับเงินและไม่พอใจสามารถกลับมาฟ้องได้ใน 1 ปี แต่ต้องคืนส่วนเกิน  50,000  บาท  หากไม่สามารถคืนได้ให้กรรมการมีสิทธิฟ้องร้องหรือยึดทรัพย์สินคืน

หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31 32