แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - seeat

หน้า: 1 ... 26 27 [28]
406
       รมช.สธ.ยันงบค่าป่วยการ อสม.เชิงรุกที่เพิ่มขึ้นอีก 206 ล้านบาทในปีหน้า เหมาะสมกับการเพิ่มขึ้นของครัวเรือนไทย ขณะที่มีอสม.ลงทะเบียนในระบบฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขแล้วมากกว่า 1 ล้านคน
       
       นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีข่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขตั้งเสนอค่าตอบแทน อสม.600 บาทต่อคนต่อเดือน ในปีงบประมาณ 2554 เป็นเงิน 7,240 ล้านบาทซึ่งมากกว่าจำนวนอสม.แท้จริงที่มีเพียง 800,000 คนว่า ทุกอย่างยืนยันอยู่บนข้อมูลข้อเท็จจริงในปี 2553 นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จ่ายค่าป่วยการให้ อสม.ทั่วประเทศ รวมทั้ง กทม.จำนวน 987,019 คน คนละ 600 บาท รวม 12 เดือนเป็นเงิน 7,029 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2554 ได้เสนอขอตั้งงบประมาณให้กับ อสม.จำนวน 1,005,000 คน วงเงิน 7,236 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 206 ล้านบาท เป็นไปตามทิศทางการเพิ่มขึ้นของครัวเรือนไทย
       
       ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อสม.แต่ละคนได้ช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนบ้านละแวกใกล้เคียงทั้งการส่งเสริม ป้องกันควบคุมโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพแจ้งข้อมูลข่าวสารสุขภาพ และกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องไม่มีภาระมากเกินจนส่งผลกระทบกับการประกอบอาชีพหรือชีวิตครอบครัวจำนวนที่เหมาะสม คือ อสม.1 คน ดูแลเพื่อนบ้านจำนวน 10-15 หลังคาเรือน
       
       “กรณีดังกล่าวไม่จำเป็นต้องตรวจสอบแก้ไขแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขตามตัวเลขที่เป็นจริงเพื่อนำไปสู่เรื่องการเสนอของบประมาณค่าตอบแทนให้แก่อสม.ได้อย่างทั่วถึงและครบถ้วน” นางพรรณสิริกล่าว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2553

407
กระทรวงสาธารณสุข เร่งเฟ้นหานายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป 16 ตำแหน่งแทนตำแหน่งว่างที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2553 โดยยึดตามระบบคุณธรรม มีคณะกรรมการ 2 ชุดร่วมคัดกรองคุณสมบัติ และต้องผ่านการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหาร ประกาศผลต้นเดือนกันยายน 2553 และเริ่มทำงานในวันที่ 1 ตุลาคม 2553
       
       นายแพทย์เสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 30 กันยายน 2553 นี้ จะมีผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ในภูมิภาคเกษียณอายุราชการ 16 คน ประกอบด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 3 คน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป 13 คน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ประกาศรับสมัครข้าราชการเข้ารับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนที่ว่างลง โดยจะแต่งตั้งตามระบบคุณธรรม เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่ง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2553

 นายแพทย์เสรี กล่าวว่า ในการคัดเลือกผู้บริหารดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด ชุดแรกได้แก่คณะกรรมการกลั่นกรองระดับเขต มีผู้ตรวจราชการประจำเขตเป็นประธาน เพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้ที่สมัครในภูมิภาคที่มีคุณสมบัติเหมาะสมขั้นต้น โดยให้เสนอชื่อผู้ที่สมัครตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดได้เขตละ 2 คน และเสนอชื่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้เขตละ 3 คน เริ่มรับสมัครตั้งแต่วันพุธที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2553 จากนั้นเสนอต่อคณะกรรมการชุดที่ 2 คือคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้ง มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข 4 คนร่วมพิจารณา โดยพิจารณาจากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกไว้แล้วตั้งแต่ปี 2550-2552 และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในปี 2553
       
       นายแพทย์เสรี กล่าวต่อว่า ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกจะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการคือ 1.มีคุณสมบัติสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการเฉพาะด้านแพทย์ ประเภทอำนวยการระดับสูงตามที่ ก.พ.กำหนดไว้ และ 2.มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การคัดเลือก โดยทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องผ่านการทดสอบ 2 เรื่องหลัก คือ สมรรถนะหลักทางการบริหารโดยสำนักงาน ก.พ. และการสอบสัมภาษณ์แสดงวิสัยทัศน์ในการบริหารและการพัฒนาสุขภาพประชาชน รวมทั้งการปัญหาสุขภาพของพื้นที่ ต่อคณะกรรมการที่แต่งตั้ง โดยผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องได้คะแนนในแต่ละหมวดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยกำหนดสอบสัมภาษณ์ในวันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2553 และประกาศผลในวันที่ 3 กันยายน 2553
       
       ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งเวียนหนังสือประกาศการรับสมัครคัดเลือกข้าราชการ ไปยังกรมวิชาการต่างๆ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2553
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2553 

408
รัฐบาลพรรค....นี้ "ทิ้งร่ม" เงินชดเชย ม.41ซึ่งเป็นหน้าที่รัฐฯ ต้องจ่ายชดเชยให้ ปชช รากหญ้าผู้ได้รับความเสียหาย 8 พันล้านต่อปี หรือ 2 % ของค่าใช้จ่ายทาง การแพทย์

ผลักภาระมาให้ ผู้ให้บริการทางการแพทย์อันได้แก่ หมอ-พยาบาลเป็นผู้จ่ายภาษีแทน คือให้การรักษาแล้วต้องจ่ายภาษี 2 % ของรายรับด้วย

โดยเงิน 8 พันล้านต่อปี ถูกโยกไป จ่ายเงินเดือน อสม. 8แสนคน คนละ 600 บาท/เดือน

เราต่อสู้กับ ความไม่เป็นธรรมในการบิดเบือน

ไม่พูดความจริงกับ ปชช

ใครได้.... ใครเสีย.....ปชช ...ต้องจ่ายค่ารักษาแพงขึ้น 2 %

ปชช.ผู้รักความเป็นธรรม

เพื่อนแพทย์ 3หมื่นคน

เพื่อนพยาบาล 1.3แสนคน

ควรไว้อาลัยให้กับ ปชช.รากหญ้าที่ต้องจ่ายค่ารักษาแพงขึ้น 2% จากการ ผลักภาระของรัฐบาลจาก ม.41

โดยการแต่งชุดดำไว้อาลัยทุกๆวัน ศุกร์

ขอฝากพระวจนะของพระเจ้าดังนี้

"ในความเชื่อ...ความ รัก...ความหวังใจ...ในสามสิ่งนี้....ความรักสำคัญที่สุด"

พวกเราเหล่าแพทย์-พยาบาล ทั้งหลาย

ที่ไม่ได้มีความรักต่อเพื่อน มนุษย์น้อยไปกว่าใครๆที่เรียกว่า NGO เลย

ไม่เช่นนั้นเราคงเลิกอาชีพรักษา ชีวิตมนุษย์ไปแล้ว

ขอให้พวกเรามีความรักต่อกันและ กัน

409
สธ.ชงร่างกฎกระทรวงควบคุม มาตรฐานคลินิกการแพทย์แผนจีน ผู้ใช้บริการบัตรทองเตรียมเฮ สธ. เผยจะดันแพทย์แผนจีนข้าระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
       
       วันนี้ (14 ก.ค.) นาง พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการการแพทย์แผนจีน ครั้งที่ 1 ว่า เนื่องจากการแพทย์แผนจีนได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า เป็นการดูแลสุขภาพที่ได้ผลดี โดยเฉพาะการฝังเข็มซึ่งสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ดี ซึ่งขณะนี้ไทยมีแพทย์แผนปัจจุบันที่ผ่านการอบรมหลักสูตรฝังเข็มระยะสั้น จำนวน 1,200 คน มีแพทย์จีนที่ได้รับการอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะในไทย จำนวน 277 คน และมีสถานพยาบาลที่เปิดให้บริการดูแลรักษาสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน จำนวน 131 แห่ง ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
       
       ดังนั้น สธ.ได้เร่งควบคุมมาตรฐานคลินิกการแพทย์แผนจีน ด้วยการจัดทำร่างมาตรฐานสถานพยาบาลสาขาการแพทย์แผนจีน ภายใต้พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2542 โดยมีการกำหนดไว้ว่า คลีนิกแพทย์แผนจีนจะต้อง มีเครื่องมือการตรวจวินิจฉัยให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขาการ แพทย์แผนจีน มียาจีน เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ที่จำเป็นเพียงพอ มีอุปกรณ์การปรุงยาขั้นพื้นฐาน กรณีที่มีการนวดและฝังเข็ม ต้องมีจำนวนเตียงให้บริการสัดส่วนไม่เกิน 10 เตียงต่อผู้ให้บริการ 1 คน สถานที่ให้บริการต้องเปิดเผย ปลอดภัย โดยร่างดังกล่าวจะเสนอคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนเพื่อพิจารณา คาดว่า อาจจะประกาศใช้ในปีหน้านี้
       
       นางพรรณสิริ กล่าวด้วยว่า จะเร่งผลักดันการแพทย์แผนจีนเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีเพียงการฝังเข็มรักษาโรคโดยแพทย์แผนปัจจุบันในโรงพยาบาลรัฐเท่า นั้นที่ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลได้ ซึ่งกระทรวงการคลังอนุมัติให้เบิกครั้งละ 100 บาท จะเสนอให้เบิกได้ตามจ่ายจริง และให้ครอบคลุมถึงการใช้สมุนไพรและการนวดจีนได้ด้วย เพื่อให้ประชาชนที่ป่วยมีทางเลือกในการรักษาโรคมากขึ้น
       
       นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบเวชระเบียนบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ใช้ บริการการแพทย์แผนจีนตามมาตรฐานรหัสโรคสากล ซึ่งขณะนี้จีนได้ทดลองใช้ที่โรงพยาบาลสู่กวง นครเซี่ยงไฮ้ รวมทั้งการติดตามข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผน จีนทั้งยา การฝังเข็ม และการนวดจีน ตลอดจนจัดทำคู่มือแนวทางการรักษาโรคโดยแพทย์แผนจีน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2554

410
“จุรินทร์”ย้ำชัดๆ ยังไม่คิดปลด “หมอไพจิตร์”พ้นปลัด สธ.รับพอใจการทำงาน แย้มอาจเป็นการปล่อยข่าวของคนจ้องเลื่อยเก้าอี้
       
       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกระแสข่าวการร่างหนังสือปลด นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.พ้นตำแหน่งด้วยเหตุ 4 ประการ อาทิ นำเงินเยียวยาทางจิตผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบทางการเมืองจำนวน 30 ล้านบาท มาใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพและเกี่ยวข้องกับการส่อทุจริตโครงการไทยเข้มแข็ง ว่า ตนยังไม่ทราบเรื่อง และไม่มีข้อมูล อย่างไรก็ตาม การพิจารณาโยกย้ายข้าราชการระดับสูงของ สธ.จะต้องดำเนินการอย่างแน่นอน เนื่องจากในวันที่ 30 ก.ย.นี้ จะมีข้าราชการเกษียณแต่การโยกย้ายจะเป็นไปเพื่อเติมเต็มในส่วนที่เกษียน โดยจะพิจารณาจากการติดตามผลงานว่าสามารถดำเนินการบรรลุผลหรือไม่อย่างไร ส่วนการพิจารณาปลดปลัด สธ.นั้น ยังไม่มีความคิดในการโยกย้าย เนื่องจากที่ผ่านมาการทำงานร่วมกันถือเป็นที่น่าพอใจและอยู่ในเกณฑ์ดี
       
       แหล่งข่าวในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เท่าที่ทราบยังไม่มีการร่างหนังสือดังกล่าว เรื่องที่เกิดขึ้นอาจเป็นความพยายามปล่อยข่าวของผู้บริหารบางคนที่ต้องการ เลื่อยขาเก้าอี้นพ.ไพจิตร์ เพื่อหวังให้ตนเองขึ้นเป็นปลัด สธ.โดยอาจจะติดต่อผ่านทางใครคนใดคนหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับรัฐมนตรี
       
       อนึ่ง ผู้บริหารระดับ สูงของ สธ.ที่จะเกษียณในวันที่ 30 ก.ย.จำนวน 5 คน ได้แก่ 1.นพ.เสรี หงษ์หยก รองปลัด สธ.2.นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต 3.นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 4.นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ 5นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 14
       
       ส่วนอธิบดี และผู้บริหารระดับอธิบดีที่ยังไม่เกษียณอายุราชการ ได้แก่ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ พญ.วิลาวัลย์ จึงประเสริฐ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย
       
       นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เพราะปกติมีภารกิจที่ต้องทำจำนวนมาก แต่ไม่ได้หวั่นไหว หรือรู้สึกท้อ ก็ยังทำงานตามปกติต่อไป เพราะรู้ดีว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวก็ต้องมีลมแรงกว่า ปกติอยู่แล้ว

411
 “จุรินทร์” ไล่แพทยสภาปรับความคิดให้ถอนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วยใหม่ ยันต้องยึดร่าง พ.ร.บ.ฉบับกระทรวงไว้เป็นหลัก ไม่ถูกใจให้ปรับแก้รายละเอียดในสภา
       
       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ…. ที่ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวออกมาว่า ในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา เมื่อเร็วๆ นี้ นายจุรินทร์ รับข้อเสนอของกลุ่มวิชาชีพแพทย์ ในการถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวออกจากการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรนั้น ว่า ตนไม่เสนอให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกแน่นอน และมองว่า แพทยสภาควรปรับความคิดใหม่ในเรื่องนี้ ทั้งนี้ ตนยืนยันที่จะเสนอใช้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไว้เป็นหลักในการพิจารณาของสภา ซึ่งขณะนี้บรรจุวาระการพิจารณาไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ สาเหตุที่จำเป็นต้องคงร่าง พ.ร.บ.นี้ไว้ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้มีมากถึง 6 ร่าง ซึ่งในส่วนของร่างของ สธ.ถือเป็นร่างที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ดังนั้น คงจะไม่ค่อยมีเหตุผลนัก ถ้าต้องถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับของ สธ.ออก เพราะร่างฉบับอื่นๆ ก็ต้องมีการพิจารณาอยู่ดี
       
       “อยากให้แพทยสภา ทบทวนเรื่องนี้ใหม่ หาก สธ.ถอนออกแล้ว จะใช้ร่าง พ.ร.บ.ใดเป็นหลัก ถ้าไม่ใช้ร่างนี้ หรือจะให้ใช้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับของภาคประชาชน ซึ่งเชื่อว่า ปัญหาก็ไม่จบ ในฐานะเป็นผู้ดูแลนโยบายร่างฉบับของสธ.ถือเป็นฉบับที่มีความเหมาะสมที่สุดใน การพิจารณา ซึ่งแพทยสภาเองก็เห็นด้วยว่า หลักการดี แต่หากไม่เห็นด้วยในรายละเอียดก็ควรพิจารณาแก้ร่าง พ.ร.บ.ในการประชุมสภา”นาย จุรินทร์ กล่าว
       
       นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ในรายละเอียด อาจต้องรับฟังความคิดเห็นของสหวิชาชีพด้วย เพราะไม่ได้มีแค่วิชาชีพแพทย์เท่านั้น ที่ผ่านมา ก็ฟังแต่แพทยสภา ยังไม่ได้ฟังสาขาวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งหากมีประเด็นเหตุผลอย่างอื่น ก็สามารถเสนอมาที่ตนได้


412
ข่าวสมาพันธ์ / หนังสือเปิดผนึก ด่วนมาก
« เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2010, 12:44:07 »
หนังสือเปิดผนึก            ด่วนมาก

 ที่ ขก.สธ. 101/151            วันที่ 9 กรกฎาคม 2553

เรื่อง   1.ขอให้ถอน นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ผู้บกพร่องด้านเงินของแผ่นดิน และคณะออกจากคณะปฏิรูปประเทศไทย เนื่องจากผิดหลักการปฏิรูปฯ  ที่ต้องนำคนดี คนสามารถ มาช่วยกันหาทางออกให้บ้านเมือง
        2.ขอให้รัฐบาลปฏิรูประบบสังคมไทยด้วยสติปัญญาของคนในชาติ ไม่ใช้คนที่บกพร่องทุจริตเงินแผ่นดิน
        3.ขอให้ยุติข้อมูลเท็จของคณะกรรมการสอบไทยเข้มแข็ง ชุด นพ.วิชัย-นพ.บรรลุ และคืนภาพลักษณ์/ระบบคุณธรรม แก่ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข  รวมผู้ถูกรายงานเท็จทั้งหมดที่เป็นข้าราชการและรัฐมนตรี
        4. ขอให้ทบทวนปลดนพ.วิชัยฯจาก 4บอร์ด/เร่งจัดหาคนดี ไม่บกพร่อง และสามารถมาบริหารงาน/เงิน แผ่นดินนี้

เรียน  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รมว.กระทรวงสาธารณสุข

อ้างถึง  แผนการปฏิรูปสังคมไทย และแผนปรองดองของคณะรัฐบาล และบรรดาข่าวสาธารณะเรื่อง นพ.วิชัย โชคฯ

   ด้วยสังคมไทย บอบช้ำจากความรุนแรง ที่ก่อตัวจากความไม่เป็นธรรมในสังคม ได้สะสม และขยายตัวต่อเนื่องซึ่งรุนแรงขึ้นในยุคนี้ เนื่องด้วยรัฐบาล แม้จะตั้งใจแก้ไขปัญหา  แต่ไม่ได้แก้ปัญหา ไม่ตัดสินใจในการแก้ปัญหา  ทั้งนี้เพราะ รัฐบาลนี้ล้อมรอบด้วยคนที่มีประวัติไม่สะอาด แต่ภาพในสังคมดูดี   แม้รัฐบาลโดยท่านนายกฯประกาศว่า จะส่งเสริมคนดี แต่นายกรัฐมนตรีก็คงส่งเสริมแต่คนที่บกพร่องทางศีลธรรม   นำคนทำผิดกฎหมาย/รายงานเท็จ  คนมีความบกพร่องในคุณธรรม  มาเป็นคณะในการปฏิรูปสังคมไทย   ไม่ใส่ใจคำทักท้วงของผู้อื่น ที่เสนอทางเลือกเพื่อการปฏิรูปสังคมไทย แม้จะมีช่องทางโทรศัพท์ก็ฉาบฉวย รัฐบาลตกอยู่ในอำนาจการนำทางความคิดของกลุ่มผู้แสวงประโยชน์ที่อ้างประชาชน

   ที่ผ่านมาในรัฐบาลยุคนี้  ได้มีปรากฏการณ์หลายกรณี เกิดขึ้นที่หน่วยราชการ ซึ่งมีภารกิจสำคัญกับชีวิตคนไทย ตั้งแต่เกิดจนตาย ซี่งเป็นสิ่งท้าทายการบริหารของรัฐบาล  แต่ก็ไม่เคยมีมาตรการแก้ไขที่มีพลังและเกิดผลดี  ส่งผลให้ปัญหารุนแรง อาจถึงขั้นการล่มสลายของความสัมพันธ์อันดีของบุคคลในสังคม และชีวิตอันสงบสุขของชาวไทย ได้แก่

   1.  ไม่ดูแลราษฎรกว่า 20 000 คน จ.สระบุรี ได้รับสารพิษ แคดเมี่ยม ไฮดราซีนฯ กว่า10 ชนิด นายกรัฐมนตรีและ รมว. สธ.ปัจจุบันทราบเรื่องชัดเจน  เป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ก็ไม่ตัดสินใจ  และไม่ทำในสิ่งที่เป็นหน้าที่เพื่อคลายทุกข์ของราษฎร ๆ ต้องเสี่ยงกับสารพิษ/สารก่อมะเร็ง  ไม่ยุติแหล่งกำเนิดมลพิษตามหลักสากล

          2.  ไม่แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้านสาธารณสุขในโครงการไทยเข้มแข็ง   เพราะฟังผู้ร้องความเท็จ  ตั้งกรรมการเป็นคนกลุ่มเดียวกับผู้ร้อง คือ นพ.วิชัย-นพ.บรรลุ กับคณะชมรมแพทย์ชนบท   สอบข้อเท็จจริงผิดหลักด้วยการโทรศัพท์ ทำรายงานเท็จ แม้นายกทักท้วงถามก่อนแถลงข่าวก็ไม่เป็นผล เผยแพร่ผลการสอบเท็จทำให้กระทรวงสาธารณสุข  และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเสียหาย รวม รมว.วิทยาฯ และ รมช.มานิต  ต่อมาพบว่ากรรมการเอง(นพ.วิชัยฯ)เป็นผู้ทุจริต เงินหลวง ถึง197 ครั้งและปปช.มีมติว่าการกระทำเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง รัฐบาลก็ไม่แก้ไขใดๆทั้งที่ทำได้

   3. ไม่นำคนบกพร่องออกจากระบบบริหารการเงินกว่า 100 000 ล้านบาท  กล่าวคือ แม้ นพ.วิชัยฯ จะทำผิดใดๆ รายงานเท็จ และ ปปช.มีมติ เมื่อ 11 พค 2553 ว่าพฤติการณ์ เป็นผิดร้ายแรง ทั้งนี้เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน   ถือว่าเป็นผู้บกพร่อง ไม่ควรเป็นผู้บริหารงบใดๆ ของแผ่นดิน และต้องสอบสวนพิจารณาโทษต่อไป  รัฐบาลก็ไม่ทำให้ถูกต้อง ไม่ทำการ ทบทวน ปลด นพ.วิชัย ออกจาก ประธาน บอร์ด อภ. / กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สปสช./ประธานกรรมการ บริหาร สช./ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ซึ่งเป็นแหล่งงบประมาณแผ่นดินที่ นพ.ผู้นี้บริหารจัดการอย่างมีคำถามตลอด 

   4. ไม่แก้ไขภาวะสุขภาพของประชาชนที่เสื่อมถอยและภาระงานที่หนักเกินของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเสียหายภายใต้ระบบ สปสช. ไม่ทำให้ประชาชนมีภาวะสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง กระทั่งข้าราชการที่ไม่ใช่ผู้บริหารจำเป็นต้องร่างกฎหมายปฏิรูประบบสาธารณสุข เข้าชื่อ แยก จาก กพ. และให้ยุบเลิก กม.ที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงบประมาณแผ่นดินด้านสาธารณสุข  คือ สปสช/สสส./สช./สวรส.และรัฐบาลยังเสนอร่าง พรบ.หนึ่ง ที่จะทำลายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการ/ผู้รับบริการ  ทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศล่มสลายในรัฐบาลนี้ เข้าสภาแล้ว

           5. ไม่ฟังสำนักงบประมาณที่ชี้ว่างบประมาณของประเทศด้านการสาธารณสุขถูกใช้อย่างน่าวิตก (หนังสือพิมพ์ เสนอว่า สปสช.ทิ้ง งบลงเหว)  ปรากฏเป็นข่าวเมื่อ 12 มีค 2553  บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข เสนอให้ยุบ สปสช.และบริหารงบประมาณ สธ.ที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ของประชาชนแต่รัฐบาลและ กระทรวงสาธารณสุข ไม่รับฟังใดๆ   

            6. ไม่นำคนดี คนสามารถ เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย เร็วๆนี้ รัฐบาลได้นำผู้ที่ดูมีภาพดีในสังคม แต่มีเบื้องหลังที่บกพร่องทางการเงินงบประมาณของแผ่นดินอย่างมาก เช่น นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ และกลุ่มบุคคลในสังกัดเดียวกัน  ให้เป็นผู้มีบทบาทในการปฏิรูปประเทศไทยภายใต้งบของแผ่นดินอีก เป็นการผิดซ้ำ ไม่เป็นทางออกที่ดีใดๆ
สำหรับสังคมไทย   

   มีปรากฎการณ์จำนวนมาก ที่เกิดขึ้น และรัฐบาลไม่ทำหน้าที่ใดๆ รับฟังคนที่เสนอความเห็นให้รัฐและประชาชนเสียหายซ้ำๆ  จนหลายคนที่ห่วงใยบ้านเมือง เริ่มเหนื่อยหน่าย   กับการเสนอหนทางออกเพื่อทางออกของสังคมไทย โดยเฉพาะด้านการสาธารณสุข      นับได้ว่าเป็นความรุนแรงของการบริหารจัดการแบบไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม  ซึ่งเหล่านี้ คือที่มา และสั่งสมปัญหาสำคัญในสังคมไทย อย่างไรก็ดีวิกฤตินี้ไดเกิดคณะทำงานปฏิรูปฯอาสากว่า 1,000 คน

   หากนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ต้องการปฏิรูปประเทศไทยจริง  ก็ชอบที่จะรับฟังให้หลากหลาย และแก้ไขปัญหาจริงจัง  ไม่เป็นผู้ก่อปัญหาเอง ด้วยการสร้างความไม่เป็นธรรมในสังคม ด้วยการทิ้งให้ประชาชน และ คนทำงานที่ดี ต้องเสียหายมากไปกว่านี้   และพร้อมให้โอกาสคนที่เห็นต่าง จาก นพ.วิชัย โชควิวัฒน์  นพ.ประเวศ วะสี  นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  และ คณะได้ทำเพื่อแผ่นดินอย่างแท้จริง  โดยขอให้ดำเนินการดังนี้

        1.ขอให้ถอน นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ผู้บกพร่องด้านเงินของแผ่นดิน และคณะออกจากคณะปฏิรูปประเทศไทย เนื่องจากผิดหลักการปฏิรูปฯ  ที่ต้องนำคนดี คนสามารถ มาช่วยกันหาทางออกให้บ้านเมือง
        2.ขอให้รัฐบาลปฏิรูประบบสังคมไทยด้วยสติปัญญาของคนในชาติ ไม่ใช้คนที่บกพร่องทุจริตเงินแผ่นดิน
        3.ขอให้ยุติข้อมูลเท็จของคณะกรรมการสอบไทยเข้มแข็ง ชุด นพ.วิชัย-นพ.บรรลุ และคืนภาพลักษณ์/ระบบคุณธรรม แก่ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข  รวมผู้ถูกรายงานเท็จทั้งหมดที่เป็นข้าราชการและรัฐมนตรี
        4.ขอให้ทบทวน ปลด นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ ออกจาก ประธาน บอร์ด องค์การเภสัชกรรม ประธาน บอร์ดบริหาร คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.)  และ จัดให้ผู้มีคุณสมบัติที่ดีทางศีลธรรม ความสามารถ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เข้าบริหารเงิน/งานของ แผ่นดินนีด่วน

   หากท่านนายก และ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบควรนำคนดีที่สามารถจริงมาทำเรื่องปฏิรูปนี้  หากเห็นว่าความเห็นนี้ไม่ใช่ความเห็นของ นพ.ประเวศฯ นพ.วิชัย และคณะ  จะทิ้งหนังสือและข้อเสนอนี้เหมือนเคย  ย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้  แต่โปรดอย่าโฆษณาให้เชื่อว่าต้องการความเห็นหลากหลายจากทุกส่วนรวมทางโทรศัพท์จากคนไทย 
                              ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

                พญ.อรพรรณ์   เมธาดิลกกุล  (หัวหน้าคณะทำงาน)

413
สรุปการสัมมนาแปดปีภายใต้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ความเป็นมาของการสัมมนา

คณะอนุกรรมการฯได้นำเสนอ โครงการสัมมนานี้ต่อคณะกรรมการแพทยสภา และได้รับการอนุมัติให้จัดสัมมนาขึ้น เมื่อวันที่ 12 มีนคม พ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้รับฟังปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จหรือความเสี่ยง ของการดำเนินงานภายใต้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 เพื่อจะได้เสนอให้ผู้มีอำนาจบริหารบ้านเมือง ได้ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพและระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้มี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพมาตรฐาน เหมาะสมกับงบประมาณ บุคลากร และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง

   เป็นที่น่าเสียดายว่า ในวันที่กำหนดจัดการสัมมนานั้น มีเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติหรือที่ เรียกว่ากลุ่มนปช.หรือมีสัญลักษณ์คือ กลุ่มเสื้อแดง ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้มาร่วมในการสัมมนา แต่วิทยากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องหลักประกันสุขภาพทั้งหลาย อันได้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และประชาชนทั่วไป ต่างก็มาร่วมสัมมนากันจนเต็มห้องประชุม “ไพจิตร ปวะบุตร” ตึกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าสัมมนา 207 คน 

   นอกจากวิทยากรจะได้เสนอความคิดเห็นและข้อเท็จจริง ทั้งตัวเลขสถิติ และผลการวิเคราะห์วิจัยแล้ว ผู้เข้าร่วมการสัมมนาต่างก็ได้ตั้งคำถามและเสนอแนวคิดอย่างกว้างขวาง ตลอดเวลาการสัมมนาตั้งแต่เวลา 8.30 น.จนถึงเวลา 16.30 น. ซึ่งผู้เขียนได้อยู่ร่วมการสัมมนาตลอดรายการ รวมทั้งได้ฟังการถอดเทปสัมมนาด้วย จึงอยากจะสรุปผลการสัมมนาโดยย่อ เอาแต่ใจความสำคัญมาเสนอให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมสัมมนา ได้ทราบเนื้อหาของการสัมมนาโดยครบถ้วน ทั้งจากวิทยากร และความเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาดังนี้

  นายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ นักกฎหมายมหาชน ได้ให้ข้อสังเกตว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 เปรียบเหมือนเป็นเนื้องอกของกระทรวงสาธารณสุข เพราะไม่มีความเชื่อมโยงด้านการบังคับบัญชาระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถึงแม้ว่ารัฐมนตรีกระทรวง สาธารณสุขเป็นประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็จริง แต่มีสิทธิออกเสียงเพียง 1 เสียงเท่ากับกรรมการคนอื่นๆ รัฐบาลหรือรัฐมนตรีจะสั่งการสปสช.ไม่ได้เลย เพราะไม่มีความเชื่อมโยงด้านอำนาจการบังคับบัญชา มีอำนาจแค่ “กำกับ ดูแล” สปสช.เท่านั้น ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถจะทำภารกิจให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรได้

ฉะนั้นถ้ารัฐบาลมีนโยบายทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างไร สปสช.ก็อ้างได้ว่าไม่สามารถทำได้ เพราะพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้บัญญัติไว้ ทำให้สปสช.เป็นสิ่งแปลกปลอมในการบริหารบ้านเมือง เป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข  นโยบายของรัฐบาล หรือทิศทางในการสาธารณสุขของประเทศ ไม่สามารถกำหนดได้จากฝ่ายการเมืองแล้ว ปลัดกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่มีอำนาจใดๆในสปสช.เลย 

แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข ก็สามารถตรวจสอบการใช้งบประมาณของสปสช.ได้ ว่าการใช้เงินเป็นไปตามหลักการใด เป็นไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่ รวมทั้งระบบเงินเดือนของสปสช. รวมทั้งการแทรกแซงการทำงานของแพทย์ด้วย

นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ กรรมการแพทยสภา ได้กล่าวว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ให้ประโยชน์กับประชาชน นับเป็นสิ่งที่ดี แต่หลักประกันนี้เองก็มีโรคแทรกซ้อน หรือมีผลตามมา เรียกว่า มีพิษมาก และรักษาแล้วไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ต้องกันเงินไว้ 1% ไว้จ่ายช่วยเหลือ อยากถามว่าเป็นสิ่งถูกต้องหรือไม่

นายสุกฤษฎิ์ ได้ให้ความเห็นว่า การจ่ายค่าชดเชยโดยไม่มีการพิสูจน์ในระบบบริการสาธารณสุขเป็นหลักเกณฑ์ไม่มีที่ใดในโลก

มีหลาย ๆ อย่างที่เราพูดกันแบบไม่มีหลักเกณฑ์ เช่น กรณีที่จะมีการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ที่มารักษาพยาบาลแล้วได้ความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์  หลักเกณฑ์นี้ ไม่มีที่ไหนในโลก   ในสายตานักกฎหมายปฏิเสธเรื่องเหล่านี้  รัฐจะรับผิดก็ต่อเมื่อผิด    มีบางกรณีที่ต้องรับผิดโดยปราศจากความผิด   แต่ว่าไม่พิสูจน์เลยนั้นไม่มี   ถ้าท่านติดตามในขณะนี้  แนวความคิดจากกลุ่มคนบางกลุ่มที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขพยายามทำเรื่องเหล่านี้ขึ้น  จะเป็นปัญหาในอนาคต 

   เมื่อมีคำถามว่า แล้วจะแก้ไขอย่างไร นายสุกฤษฎิ์ บอกว่า ต้องยุบสปสช.มาเป็นเพียง “กรม” หนึ่งในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สามารถบริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้สัมฤทธิ์ผล ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร

   นอ.(พิเศษ)นพ .อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา วิยากรคนต่อมาได้สรุปสถิติจำนวนบุคลากรและภาระงานของแพทย์ไทยว่า จำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องรับภาระทำงานบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในกระทรวงสาธารณสุข มี12,500 คน ในขณะที่จำนวนแพทย์อีกประมาณเกือบ 7,000 คนนั้นกำลังไปฝึกอบรมในโรงเรียนแพทย์หรือเป็นผู้บริหารในกระทรวงสาธารณ สุข(ไม่ได้ทำงานบริการทางการแพทย์แล้ว) ฉะนั้นจึงมีแพทย์ทำงานรับ ผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขอยู่เพียง 8.000 คนแต่ในขณะเดียวกันจำนวนประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลมีมากถึง 180-200 ล้านครั้ง ในระยะเวลา 1 ปี นับว่าแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขมีภาระงานมากเกินไป

   นอกจากนั้น จำนวนแพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขาก็ยังขาดแคลนมาก สูติแพทย์ทั้งประเทศมีอยู่ 2,200 คน ซึ่งเป็นแพทย์สาขาที่ถูกฟ้องมากที่สุด สาขาวิสัญญีทั้งประเทศมีเพียง 1,000 คน ฉะนั้นจึงไม่สามารถจะมีวิสัญญีแพทย์ประจำทำงานอยู่ครบทุกโรงพยาบาล

นายแพทย์สมศักดิ์  เจริญชัยปิยกุล   กรรมการแพทยสภา  และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยกรรมกระดูกโรงพยาบาลราชวิถี  กล่าวว่าอยากจะชี้ประเด็นของอาจารย์อิทธิพรที่บอกว่ากระทรวงสาธารณสุขมีแพทย์อยู่หมื่นสองพันห้าร้อย คน ตัวเลขสุดท้ายจริงๆ แล้วจะเห็นว่าคนที่ทำงานเป็นแพทย์รักษาคนไข้จริงๆ  จะมีประมาณแปดพันกว่าคนเท่านั้นเอง  นี่ คือประเด็นปัญหา เพราะว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้บริหาร  อันที่สองที่ผมอยากชี้ประเด็นก็คือว่ามีผู้ไปเรียนแพทย์ประจำ บ้านอยู่ประมาณตามตามตัวเลขของอ.อิทธิพร สามพันแปดร้อยคน เป็นของกระทรวงพันเจ็ด ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง   ปัญหาก็คือว่าแพทยสภาจริงๆ สามารถส่งเรียนต่อได้มากกว่านี้  แต่ว่ากระทรวงส่วนใหญ่มักจะจำกัด  ต้นสังกัดที่จะให้แพทย์ไปเรียนต่อ ทำให้แพทย์ต้องลาออก มาฝึกอบรมโดยไม่มีต้นสังกัด และเมื่อจบการฝึกอบรมแล้ว ก็ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุขได้ เพราะไม่มีตำแหน่งบรรจุ ทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมีการขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางอยู่ต่อไป

 ศาสตราจารย์แพทย์หญิง อนงค์ เพียรกิจกรรม  กรรมการแพทยสภา ได้กล่าวว่าแพทย์ขาดแคลนทั้งแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทาง ส่วนระบบการบริการทางการแพทย์นั้น เมื่อก่อนมีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้ป่วยยากจนก็ได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับการรักษาอยู่แล้ว บางครั้งก็ให้ค่ารถกลับบ้านอีกด้วย แต่ระบบหลักประกันสุขภาพฯ ให้สิทธิทั้งคนจนและคนไม่จน แต่งบประมาณน้อย ผู้ป่วยต้องมาตามระเบียบการส่งต่อที่อาจจะล่าช้า บางทีก็ตาบอดเสียก่อนที่ผู้ป่วยจะมาถึงโรงเรียนแพทย์ การรักษามะเร็งก็ส่งมาช้า ทำให้รักษาไม่หาย

นายแพทย์สมพร โพธินาม คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม    กล่าวว่าปัญหาการขาดแคลนแพทย์ใน บ้านเราเนื่องจากไม่มีหน่วยงานดูแลเรื่องนี้โดยตรง และมีการผลิตบัณฑิตแพทย์น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซีย เกาหลี หรือญี่ปุ่น นอกจากการมีแพทย์จบใหม่น้อยแล้ว เรายังมีปัญหาการกระจายแพทย์ให้ครอบคลุมทุกแห่งอีกด้วย

   ต่อมา รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ แห่งภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้บรรยายในหัวข้อการเงินหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวว่า การสร้างหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ได้สร้างความเป็นธรรม และลดภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพของกลุ่มผู้ยากไร้ แต่กลไกการจ่ายเงินปลายปิด ในระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ โดยได้อ้างบทเรียนจากยุโรป และอเมริกา ที่มีการรักษาล่าช้าและส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ความเสี่ยงสูงหรือต้องใช้เงินมากในการรักษาไปยังที่อื่น รวมทั้งได้แสดงสถิติอัตราผู้ป่วยในปีพ.ศ. 2547 ที่เสียชีวิตในระบบหลักประกันสุขภาพที่มีอัตราส่วนสูงกว่าในระบบสวัสดิการ ข้าราชการหรือประกันสังคม

    ส่วนการจ่ายเงินในระบบปลายเปิดจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงกว่า เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการใช้ทรัพยากรในการรักษาพยาบาล โดยได้เปรียบเทียบสถิติการใช้ทรัพยากรการรักษาพยาบาลเปรียบเทียบระหว่างผู้ ป่วย 3 กลุ่มคือผู้ป่วยบัตรทอง ผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีอัตราตายสูงสุด และได้เปรียบเทียบการใช้ทรัพยากรด้านการรักษาพยาบาล พบว่าการใช้ยาราคาสูง การทำผ่าตัดคลอด (cesarian section) รวมทั้งการทำ laparoscopic cholecystectomy มีมากที่สุดในระบบสวัสดิการข้าราชการซึ่งเป็นการจ่ายเงินแบบปลายเปิด

   ต่อมาเป็นการอภิปรายเรื่อง แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปัญหา อุปสรรค สิ่งท้าทายในการพัฒนา ความสำเร็จและความเสี่ยง โดยพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ผู้ดำเนินการอภิปรายได้เกริ่นนำว่า วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพทั้งในส่วนผู้ “ซื้อ” บริการ ผู้“ให้” บริการ และผู้ “รับ” บริการ

  นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช.ได้กล่าวว่า ความสำเร็จและความเสี่ยงของระบบหลักประกันสุขภาพก็คือ รัฐบาลให้งบประมาณ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบระบบบริการส่วน แพทยสภาเป็นผู้ดูแลกำกับมาตรฐานวิชาชีพ ส่วนสปสช.เป็นฝ่ายบริหารในการซื้อบริการ โดยกล่าวว่างบประมาณของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในแปดปีเพิ่มจาก 27,612 ล้านบาทในปีเริ่มแรกมาเป็น 89,385 ล้านบาท(หักงบประมาณเงินเดือนออกแล้ว) เพิ่มขึ้นถึง 224% และอ้างว่าแนวโน้มเงินสดคงเหลือของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณ สุข(สปสธ) เพิ่มขึ้น ประชาชนและผู้ให้บริการก็มีความพึงพอใจ อัตราการใช้บริการของประชาชนทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในก็เพิ่มมากขึ้น โดยผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ในอัตรา 32%ในปีพ.ศ. 2552 และผู้ป่วยในเพิ่มขึ้น ในอัตรา 23% และก็ได้อ้างถึงความครอบคลุมของการบริการทางการแพทย์หลายโครงการเช่นอัตรา ตายของผู้ป่วยเอดส์ลดลง การใช้จ่ายของครัวเรือนด้านสุขภาพลดลง มีแพทย์ลาออกจากราชการมากขึ้น มีการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้น

และที่สำคัญ นพ.ประทีปได้กล่าวว่า ความเสี่ยงของกระทรวงสาธารณสุขและระบบบริการคือ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติเ เป็นผู้กำหนดนโยบาย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้บริหารระบบ พ.ร.บงแผนและขั้นตอนกระจายอำนาข จะเป็นผู้ให้บริการสุขภาพ โดยไม่มีส่วนเกี่ยวโยงกับกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใด

ต่อมาน.ส.ชุมศรี พจนปรีชา รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณได้กล่าวว่า งบประมาณด้านการสาธารณสุข ภายหลังจากมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เพิ่มขึ้นมากถึง 12.46%ต่อปี ในขณะที่งบประมาณแผ่นดินทั้งหมดของประเทศเพิ่มขึ้นเพียง 7.63%ต่อปี ซึ่งจะทำให้เป็นภาระหนักต่องบประมาณแผ่นดินมากขึ้นในอนาคต เพราะคนไทยมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น ประชาชนมีความคาดหวังมากขึ้น โดยที่ไม่มีส่วนร่วมจ่ายเลย

ต่อมานพ.สมชัย นิจพานิช ผู้อำนวยการกองประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีภาระงานเหมือนเดิม แต่งบประมาณต้องไปขอจากสปสช. แต่เงินที่ได้มานั้น ไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายในการทำงาน ทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสธ.ขาดทุนอยู่ 1,600 ล้านบาท

   นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภาและนพ.ศิริชัย ศิลปอาชา จากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ก็ได้กล่าวว่าการให้บริการตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเหมือนเป็นโรงเจ แต่มีเงินไม่พอ ควรจะสร้างวินัยให้คนในชาติ ให้มีการออมเงินเพื่อมีส่วนร่วมจ่าย

ถึงตอนนี้ ประชาชนที่มาร่วมการสัมมนาได้แสดงความเห็นว่า ทำไมแพทย์ไม่ยินดีกับประชาชนหรือ ที่ได้รับสิทธิการรักษา แพทย์เห็นแก่เงินเกินไปหรือเปล่าที่เรียกร้องจะให้ประชาชนร่วมจ่าย ในที่สุดก็มีฝ่ายแพทย์ชี้แจงว่า ที่เราต้องการเงินเพิ่มก็เพราะงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่ายาและการรักษาที่เหมาะสม เพราะงบประมาณมีน้อย ส่วนการที่จะให้ประชาชนร่วมจ่าย ก็เพื่อให้ประชาชนตระหนักว่า การตรวจรักษานั้นมีคุณค่า ต้องใช้เวลาของบุคลากรที่มีน้อย และใช้ยาและเวชภัณฑ์ ที่มีราคาค่าใช้จ่าย การที่ประชาชนมีส่วนร่วมจ่าย จะทำให้ประชาชนมาใช้บริการอย่างเหมะสม ไม่ฟุ่มเฟือย เราก็จะมีเวลาทำงานบริการประชาชนอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน และผู้ป่วยทุกคน ก็จะได้รับยาและการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

 ต่อจากนั้นผู้อภิปรายแทบทุกคนและผู้ร่วมสัมมนา ที่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นนพ.ประทีป เมฆประสาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูเขียว นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ รองเลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย นพ.ไชยวัฒน์ ภูติยานันท์ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลเชียงคำ นส.พิกุล บัณฑิตพานิช พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เภสัชกรหญิงพัชรี ศิริศักดิ์ โรงพยาบาลฉะเชิงเทรา นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระพงศ์ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ และอีกหลายๆคน ต่างก็แสดงความเห็นไปในทางที่สอดคล้องกัน รวมทั้งสรุปความเห็นจากคำตอบแบบสอบถามที่แจกผู้เข้าสัมมนาดังนี้คือ

1. ควรแก้กฎหมายพ.ร.บ.หลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การทำงานบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว สามารถสร้างสุขภาพ ป้องกันโรค และปฐมพยาบาลได้อย่างเหมาะสม

2. ต้องปฏิรูประบบหลักประกัน สุขภาพและระบบบริการด้านสุขภาพ ทั้งในส่วนของการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร การจัดระบบบริการประชาชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ได้รับความปลอดภัยจากระบบบริการด้านสุขภาพ ไม่ควรก้าวล่วงมาตรฐานการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพ

3. พัฒนาระบบการจัดสรรบุคลากร ทุกประเภทให้เหมาะสมกับภาระงาน ได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม เป็นธรรม เทียบได้กับราคาตลาดในสาขาและวิชาชีพเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีบุคลากรที่ดี มีจำนวนเพียงพอในการให้บริการด้านสุขภาพเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ประชาชน

414
คดีที่ 1
ผู้ถูกฟ้อง---สปสช.จำเลยที่1 คกก.ควบคุมฯจำเลยที่2
ข้อกล่าวหา---แพทย์ไม่มีความชำนาญในการตรวจวินิจฉัยเป็นเหตุให้เสียชีวิต
มติ อกก.จังหวัด---เหตุสุดวิสัย (20,000 บาท)
มติ คกก.ควบคุม---เหตุสุดวิสัย (60,000 บาท) รวม 80,000 บาท
คำขอคดีปกครอง---ขอให้จ่ายเต็มอัตรา (200,000 บาท)
ผลคดี---ศาลให้จ่ายเพิ่มเติมอีก (100,000 บาท)   อยู่ระหว่างอุทธรณ์

คดีที่ 2
ผู้ถูกฟ้อง---รมว.สาธารณสุขจำเลยที่1 สปสช.จำเลยที่2 คกก.หลักประกันฯจำเลยที่ 3 คกก.ควบคุมจำเลยที่ 4 อกก.เฉพาะกิจจำเลยที่ 5 อกก.จังหวัดจำเลยที่ 6
ข้อกล่าวหา---คลอดบุตร และบุตรเสียชีวิต
มติ อกก.จังหวัด---เหตุแทรกซ้อน (20,000 บาท)
มติ คกก.ควบคุม---ยกอุทธรณ์
คำขอคดีปกครอง---ขอให้จ่ายเต็มอัตรา (200,000 บาท)
ผลคดี---อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

คดีที่ 3
ผู้ถูกฟ้อง--- คกก.หลักประกันฯจำเลยที่ 1 คกก.ควบคุมจำเลยที่ 2 เลขาธิการจำเลยที่ 3 สำนักงานสาขาจังหวัดจำเลยที่ 4 อกกก.จังหวัดจำเลยที่ 5
ข้อกล่าวหา---วินิจฉัยล่าช้าทำให้เสียชีวิต
มติ อกก.จังหวัด---เป็นไปตามพยาธิสภาพ (ไม่จ่าย)
มติ คกก.ควบคุม---ยกอุทธรณ์
คำขอคดีปกครอง---ให้ชำระค่าเสียหาย ให้กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่
ผลคดี---อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

คดีที่ 4
ผู้ถูกฟ้อง---สปสช.จำเลยที่1 อกก.กรุงเทพฯจำเลยที่ 2 คกก.ควบคุมจำเลยที่ 3
ข้อกล่าวหา---รักษาไม่ได้มาตราฐานเป็นเหตุให้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
มติ อกก.จังหวัด---เป็นไปตามพยาธิสภาพ (ไม่จ่าย)
มติ คกก.ควบคุม---ยกอุทธรณ์
คำขอคดีปกครอง---ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ผลคดี---อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

คดีที่ 5
ผู้ถูกฟ้อง---สปสช.จำเลยที่1 อกก.กรุงเทพฯจำเลยที่ 2 คกก.ควบคุมจำเลยที่ 3
ข้อกล่าวหา---รักษาไม่ได้มาตราฐานเป็นเหตุให้อวัยวะเพศไม่คืนรูป
มติ อกก.จังหวัด---ไม่ได้เกิดจากการรักษาพยาบาล (ไม่จ่าย)
มติ คกก.ควบคุม---เกิดจากผู้รับบริการ (ไม่จ่าย)
คำขอคดีปกครอง---ให้สปสช.ชดใช้ค่าเสียหาย (400,000 บาท)
ผลคดี---อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

415
ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับการศึกษา พ.ศ......

มาตรา 1
ผู้เสียหายจากการรับการศึกษามีสิทธิ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชย
ในกรณีที่ผู้รับการศึกษาได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับการศึกษา โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด

มาตรา 2
บทบัญญัติในมาตรา 1 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติสำหรับระดับไอคิวนั้นๆ ของผู้รับการศึกษา
2. ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้การศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
3. ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้การศึกษาแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

มาตรา 3
ประเภทของความเสียหาย และอัตราการจ่ายเงิน

ประเภท                                                       อัตราการจ่ายเงิน
เสียหายร้ายแรง (สอบตก ไม่มีสิทธิสอบ)                     500,000 บาท           
เสียหายมาก (เอ็นไม่ติด)                                      200,000 บาท
เสียหายเรื้อรัง (เอ็นติดคณะฯที่พ่อแม่ไม่พอใจ)               100,000 บาท

มาตรา 4
การชดเชยความเสียหายให้พิจารณาตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ถ้าผ่านการเรียนพิเศษจากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง ให้ชดเชยเป็นสองเท่า
2. ถ้าผ่านการเข้าร่วมรายการ  tutor channel ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ชดเชยเป็นสามเท่า

มาตรา 5
ให้มีคณะกรรมการคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบการศึกษา มีหน้าที่กำหนดนโยบาย และมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้เสียหาย สนับสนุนการไกล่เกลี่ย และสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบการศึกษา

มาตรา 6
ให้มีคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลื่อเบื้องต้น และเงืนชดเชย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านคุ้มครองผู้รับการศึกษา และผู้แทนสถานศึกษา และผู้แทนผู้รับการศึกษา ด้านละหนึ่งคน
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
(เหตุผล วิชาการ ความจริงไม่ต้องเอามาพิจารณาก็ได้)
การวินิจฉัยของคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการให้เป็นที่สุด

มาตรา 7
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น กองทุนหนึ่ง เพื่อจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย หรือ ทายาท
กองทุนประกอบด้วย
1. เงินที่สถานศึกษา(ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งโรงเรียนกวดวิชา)จ่ายสมทบ
2. เงินที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูจ่ายสมทบ
3. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

มาตรา 8
หากผู้เสียหาย หรือทายาทไม่ตกลงรับเงินชดเชย สามารถฟ้องต่อศาลได้

มาตรา 9
หากผู้ให้ศึกษาถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดี ฐานกระทำการโดยประมาทเกี่ยวเนื่องกับการให้การศึกษา หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ให้ศาลนำข้อเท็จจริงของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี มาตรฐานวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การรู้สำนึกในความผิด การที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การชดใช้เยียวยาความเสียหาย และการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้รับโทษ ตลอดจนเหตุผลอื่นอันสมควร มาพิจารณาประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

มาตรา 10
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

..............นักร่างกฎหมายสมัครเล่น


416
เจตนารมณ์ของ ม.41
1. เป็นมาตรการทางศีลธรรม-------------ไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด
2. บรรเทาความเดือดร้อน----------------- เน้นความรวดเร็ว
3. ลดความขัอแย้ง---------------------------win-win

ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการมาตรา 41 ปี งบประมาณ 2547-2552 (มิ.ย.)

ผลการพิจารณาทั้งหมด                              2,549  ราย
เข้าเกณฑ์                                            2,100  ราย (82.4%)
ไม่เข้าเกณฑ์                                            449  ราย (17.6%)

คำร้องอุทธรณ์                                          275   ราย
ยกคำร้อง                                               173   ราย (62.9%)
สั่งจ่าย/จ่ายเพิ่ม                                        102   ราย (37.1%)

ประเภท 1
เสียชีวิต/ทุพพลภาพอย่างถาวร                     1,170   ราย       
ประเภท 2
สูญเสียอวัยวะ/พิการ                                  335   ราย
ประเภท 3
บาดเจ็บ/เจ็บป่วยเรื้อรัง                                595   ราย 

417
พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ม.41
(ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ)

การกันเงิน
ปี 2547   กันเงินไว้                      230,000,000 บาท
ปี 2548   กันเงินไว้                          9,000,000 บาท
ปี 2549   กันเงินไว้                        25,000,000 บาท
ปี 2550   กันเงินไว้                        24,000,000 บาท
ปี 2552   กันเงินไว้                        47,000,000 บาท
การกันเงิน  ถึง    ปี 2552    336,000,000 บาท

การจ่ายเงิน ถึง มิ.ย.2552    225,000,000 บาท

419
“จุรินทร์” แจงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เป็นของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่เอ็นจีโอ ชี้กฎหมายฉบับนี้เป็นประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย เชื่อช่วยลดปัญหาฟ้องร้องแพทย์
จากการที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจาก การรับบริการ สาธารณสุข พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และล่าสุดศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้ลงนามในหนังสือถึง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ทบทวนมติดังกล่าว และดูผลกระทบวงกว้าง เพื่อที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะได้ไม่สร้าง ปัญหาต่อเนื่องไปยังหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวอ้างว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเสนอโดยกลุ่มเอ็นจีโอ ร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้กลุ่มแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีสาระ กำหนดให้ผู้เสียหายสามารถฟ้อง อาญา แพทย์ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน และสถานีอนามัย นั้น


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า กรณีร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ผู้เสียหายจากการรับบริ การสาธารณสุข พ.ศ.... อาจเป็นความเข้าใจผิด ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้เสนอร่างของคนใดคนหนึ่งเข้า สู่การประชุม พิจารณาของคณะรัฐมนตรี ตนเองเข้ามาในช่วงที่เลขาธิการ คณะรัฐมนตรีได้สอบถามว่าเห็น ด้วยกับร่างที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาแก้ไขเสร็จ เรียบร้อยแล้วหรือไม่ ได้ยืนยันว่าเห็นด้วย ซึ่งต้นร่างจริงๆ เป็นของกระทรวงสาธารณสุขเดิม ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบกับร่างที่กฤษฎีกาแก้ไข และได้ส่งต่อไปยังสภาผู้แทน ราษฎร และได้มีการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า เข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้ โดยหลักการจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งผู้รับบริการคือผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ให้บริการ ถ้าเกิดกรณีที่เป็นอุบัติเหตุ หรือเกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการ จากการบริการทางการแพทย์ ก็จะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งพิจารณาชดใช้ความเสียหายเบื้องต้น ให้กับผู้ได้รับความเสียหาย หากเป็นที่พึงพอใจก็จะเป็นการช่วยลดกรณีฟ้องร้องแพทย์และ บุคลากรสาธารณสุขลงได้ เพราะมีการชดเชยที่มีกฎหมายรองรับ รวดเร็วทันท่วงทีตามระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนด และหวังว่าจะเป็นธรรมขึ้น ในส่วนแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข ผู้ให้บริการ จะได้ไม่ถูกฟ้องร้อง หรือถ้าถูกฟ้องร้องจริง ก็มีปริมาณที่ลดลง เพราะผู้เสียหายได้รับการชดเชยได้รวดเร็วทันท่วงที ซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดไว้ตั้ง แต่เข้ามารับตำแหน่งที่กระทรวงสาธารณสุข

นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า ในส่วนรายละเอียดของร่างกฎหมาย หากมีข้อแก้ไขในรายละเอียดก็สามารถดำเนินการได้ เมื่อผ่านเข้าสู่สภาฯเมื่อผ่านวาระหนึ่งแล้ว ก็จะไปขั้นการพิจารณาของกรรมาธิการ ซึ่งเป็นขั้นที่แก้ไขรายละเอียดได้ ถ้าแก้ไขไปแล้วยังต้องปรับปรุงต่อไปอีก วุฒิสภาก็ยังปรับปรุงแก้ไขได้อีก หากไม่เห็นพ้องกัน ก็ยังสามารถตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภาได้อีก ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขก็จะตั้งหน่วยงานหรือตัวแทนของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าไปเป็น กรรมาธิการด้วย เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และเห็นพ้องต้องกันมากที่สุด เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้รับบริการและบุคลากรผู้ให้บริการ ซึ่งหากไม่ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย ฉบับดังกล่าวเข้าสู่สภาฯ กฎหมายนี้ก็ไม่มีโอกาสได้นับหนึ่ง จะติดค้างอยู่เช่นนี้ ไม่มีโอกาสบังคับใช้ในอนาคต โดยคาดว่ากฎหมายฉบับนี้ จะเข้าสู่ที่ประชุมในสมัยหน้า เข้าใจว่าจะบรรจุในระเบียบวาระต้นๆของสภาผู้แทนราษฎร

*********************************** 22 มิถุนายน 2553

แหล่ง ข่าวโดย » สำนักสารนิเทศ
[มิถุนายน อังคาร 22,พ.ศ 2553 16:27:27]

หมายเหตุ จากผู้บันทึก

ร่างที่เสนอเป็นร่างของเอ็นจีโอ ที่ตัดผู้เป็นตัวแทนสภาวิชาชีพออก จากการเป็นกรรมการ และจะทำให้มีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนมหาศาลจากทุกส่วน รัฐบาล โรงพยาบาลทุกแห่ง คลินิก ร้านขายยา สถานบริการสุขภาพทุกประเภท

เฉพาะคนป่วยที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ปีละ๑๖๐ล้านครั้ง กระทรวงสาธารณสุขก็ต้องจ่ายให้กองทุนนี้หัวละ๕บาทต่อ การใช้บริการ๑ ครั้ง ปีละเกือบหมื่นล้านบาท ที่ยังไม่รวมการเรียกเก็บจากส่วนอื่นๆ

การใช้เงินจากกองทุนนี้ ไม่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังก็ได้ เพราะ กรรมการกำหนดระเบียบเองได้ และสตง.ตรวจสอบไม่ได้เช่นเดียวกับการใช้เงินจากกองทุน สปสช. กรรมการมาจากพวกของเอ็นจีโอ ๘ คน จากรัฐและไม่ใช่พวกเอ็นจีโอ ๗ คน

จำนวนคนตายในโรงพยาบาลปี๒๕๕๒ ประมาณ๑.๗หมื่นคน รวมกับตายนอกโรงพยาบาลอีกรวมแล้ว ประมาณ ปีละ ๔แสนคน หากหัวหมอเรียกค่าเยียวยา ก็จะใช้เงินเฉพาะคนตายหัวละห้าหมื่น-สองแสนบาท ตกราวปีละ๘,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท ยังไม่นับรายที่ไม่ตาย แต่มีเหตุให้ไม่พอใจการดูแลรักษา และรายที่อาการแย่ลง อีกไม่รู้จำนวน ยังมีรายที่เป็นความพิการตามเหตุตามปัจจัยอีก รายที่โรคกลายเป็นโรคเริื้อรัง อีก

การเรียกเงินค่าเสียหายอีกโดยไม่นับครั้ง

เหตุนี้นำไปสู่การเป็นขาใหญ่ของ เอ็นจีโอ เพราะสามารถโหวตเอาเงินได้ ผลประโยชน์ตรงนี้ จะนำไปสู่อะไร? ลองคิดดู จะเกิดอะไรในวงการแพทย์และสาธารณสุขบ้านเรา เมื่อมีแรงจูงใจและคนจูงใจให้เกิด การเรียกร้องค่าเสียหายแบบ ไม่ต้องพิสูจน์

ในแง่กฎหมาย ยังมีการวิเคราะห์ว่า พรบ.ฉบับนี้ยังเป็นการแสดงความรับผิด ดังนั้น เมื่อไปฟ้องอาญาต่อ ก็ต้องชนะอีก ไม่ใช่กฎหมายจำกัดสิทธิที่จะฟ้อง ร้องเอาความผู้ให้บริการ และไม่เป็นการปกป้องผู้ให้บริการที่ตั้งใจดูแลผู้ป่วยอย่าง ซื่อตรง แต่เป็นการปกป้องคนไม่รับผิดชอบให้พ้นผิดโดยไม่ต้อง พิสูจน์หากไม่มีการฟ้องร้อง แต่หากมีการฟ้องร้อง ผู้ให้บริการทั้งหมด มีความผิด โดยไม่ต้องพิสูจน์

หน้า: 1 ... 26 27 [28]