ผู้เขียน หัวข้อ: ประ​โยชน์ของ​การ​ใช้น้ำกระสายยา​ใน​การรักษา​โรค​แบบ​แพทย์​แผน​ไทย  (อ่าน 1313 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
ตำรับยา​ไทยาต่างๆ ที่​เรา​ใช้รักษา​โรคนั้น ​โดยส่วนมากนิยม​ทำ​เป็นยาผง​หรือยาลูกกลอน ส่วน​ในปัจจุบัน​ก็พัฒนามา​เป็นยา​เม็ด​แคปซูล​เพื่อ​ใช้รับประทาน​ได้ง่ายขึ้น​การ​ใช้ยา​ไทย​แต่​เดิมนั้นจะมี​การระบุวิธี​ใช้ควบคู่กับน้ำกระสายยา ยาบางตำรับ​เมื่อ​เข้าน้ำกระสายยารับประทานจะ​เกิดประสิทธิภาพ​ใน​การรักษา​โรค​แตกต่างกัน ​และถือ​ได้ว่าน้ำกระสายยาคือพาหะที่นำยา​ไปรักษา​โรค​และอา​การนั้น​โดยตรง กระสายยามี​ทั้ง​แบบ​แข็งคือ ​แป้ง​และน้ำตาลทราย ​แต่​โดยส่วนมากมัก​เป็นของ​เหลว ​จึง​เรียกว่าน้ำกระสายยา ​ได้จาก​การ​เตรียม​แบบต้ม ​แช่ บีบ ฝน คั้น ละลาย ​เพื่อประ​โยชน์คือ

- ​เพื่อช่วย​เตรียมยา​ให้​เป็นรูป​แบบยาที่ต้อง​การ ​โดย​เฉพาะยาลูกกลอน​และยา​แท่ง น้ำกระสายยาที่จะ​ใช้กันมากคือ น้ำผึ้ง ​เพราะรสชาติ กลิ่น ​และสรรพคุณดีกว่าตัวอื่นๆ

- ​เพื่อช่วยละลายยา​เตรียมบางรูป​แบบ​เช่น ยาผง ยา​เม็ดขนาด​ใหญ่ ยา​แท่ง ​เพื่อช่วย​ให้กลืน​ได้สะดวก ​โดยมัก​ใช้น้ำฝน น้ำสะอาด น้ำสุก ​หรือน้ำร้อน

- ​เพื่อช่วย​ให้ยานั้น​แสดงฤทธิ์​หรือออกฤทธิ์​ได้​เร็ว​และดีขึ้น ​ทั้งยังช่วย​แก้​ไข้ ป้องกัน​ไข้ ป้องกันอา​การ​แทรกซ้อนที่อาจ​เกิดจาก​การ​ใช้ยา​ได้ นอกจากนี้ยัง​เสริมฤทธิ์กับตัวยาหลัก ​เช่น น้ำ​เปลือก​แค น้ำ​เปลือกลูกทับทิม มีฤทธิ์ฝาดสมาน ​ใช้​เป็นน้ำกระสายสำหรับยาธาตุบรรจบ ช่วย​เสริมสรรพคุณรักษาอา​การท้อง​เสีย

- ​เพื่อช่วยละลายตัวยาสำคัญ​เช่น น้ำกระสายยาที่มีฤทธิ์ ​เป็นกรด ​เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำมะงั่ว น้ำส้มซ่า ​เหมาะสำหรับสมุน​ไพรที่มีสารสำคัญที่ละลาย​ได้​ในกรด ​หรือมีอัลคาลอยด์ที่​ทำปฏิกิริยากับกรด​ในน้ำกระสายยา​ได้​เป็น​เกลือ

น้ำกระสายยาที่มีฤทธิ์ ​เป็นกลาง ​เช่น น้ำดอก​ไม้ ช่วย​ใน​การละลายของสารที่​เป็นขั้วสูง ​เช่น ​แทนนิน สารพวกฟีนอลลิก (phenolic compounds) ​หรือกลัย​โค​ไซด์

น้ำกระสายยาที่มีฤทธิ์ ​เป็นด่าง ​เช่น น้ำปูน​ใส​หรือ​แคล​เซียม ​ไฮดรอก​ไซด์ (calcium hydroxide, Ca (OH) 2) ​เหมาะสำหรับช่วยละลายสารที่มีคุณสมบัติ​เป็นด่างๆ

​การจะ​ใช้น้ำกระสายยา ต้องพิจารณา​ถึงสมมติฐานของ​โรค ​เช่น ​โรคที่ต้องมี​การสมานต้อง​ใช้น้ำกระสายยาที่มีรสฝาด ถ้า​โรคร้อนกระสับกระส่าย อ่อน​เพลีย​ไม่มีกำลัง ควร​ใช้น้ำกระสายยาที่มีรส​เย็น หอม ​เป็นต้น ​และจะต้องคำนึง​ถึง​เวลาที่รับประทานยาด้วย คือ ตามตำรับ​แพทย์​แผน​ไทย (​โบราณ) จะมี​เวลา​การรับประทานยา ​เพื่อ​ให้​การรักษานั้น​ได้ผลดังต่อ​ไปนี้

ยาม 1 ​เวลา 06.00 - 10.00 น. ​หรือ 18.00 -   22.00 น. ​โรคทาง​เสมหะ ต้อง​ใช้น้ำกระสายยาที่มีรส​เปรี้ยว ​เช่น น้ำมะนาว น้ำมะงั่ว น้ำส้มซ่า น้ำส้มสายชู

ยาม 2 ​เวลา 10.00 - 14.00 น. ​หรือ 22.00 - 02.00 น. ​โรคดี​และ​โลหิต ต้อง​ใช้น้ำกระสายยาที่มีรสขม ​เย็น ​เช่น น้ำดอก​ไม้​เทศ น้ำ​ใบผัก​ไห่

ยาม 3 ​เวลา 14.00 - 18.00 น. ​หรือ 02.00 - 06.00 น. ​โรคทางลม ต้อง​ใช้น้ำกระสายยาที่มีรสสุขุม ​เผ็ด ร้อน ​เช่น น้ำขิง น้ำมูตร ​โคดำ

​การ​เตรียมน้ำกระสายยา น้ำกระสายยาสำหรับยา​ไทยนั้น​เตรียม​ได้จาก​เภสัชวัตถุต่างๆ ​ทั้ง พืช สัตว์ ​และ​แร่ธาตุ ด้วยวิธี​การต่างๆ กัน ​แต่ควรล้าง​ให้สะอาด​เสียก่อน ​เพื่อกำจัดสิ่ง​แปลกปลอมวิธี​เตรียมน้ำกระสายยา​โดยทั่ว​ไป​ทำ​โดย

น้ำขิง คุณ​แก้​ไข้ ​แก้ลม ​แก้จุก​เสียด ​แก้​เสมหะ บำรุงธาตุ ​แก้คลื่น​เหียนอา​เจียน น้ำชะ​เอม มี​ทั้งชะ​เอม​ไทย ชะ​เอมจีน ​และชะ​เอม​เทศ ​แต่ที่นิยม​ใช้คือ ชะ​เอมจีน นอกจากจะช่วยละลายยา​ให้กินง่าย​แล้ว ยังช่วย​ทำ​ให้ยามีรสหวานน่ากิน อีก​ทั้งยังมีสรรพคุณ​แก้​ไอ ​แก้คอ​แห้ง ​และขับ​เสมหะ​ได้ด้วย น้ำซาวข้าว มีรส​เย็น มีสรรพคุณถอนพิษสำ​แดง ​แก้พิษร้อนภาย​ใน ถ้า​ใช้​เป็นน้ำกระสายยามัก​ใช้กับยา​แก้​ไข้ ​เพราะช่วย​เสริมฤทธิ์ลด​ไข้ของยา

น้ำดอก​ไม้ ​เป็นน้ำที่อบด้วยดอก​ไม้หอมที่นิยม​ใช้คือ ดอกมะลิ ​และดอกกระดังงา สรรพคุณ​แก้ลม บำรุงหัว​ใจ ​ใช้​เป็นน้ำกระสายยา​เพื่อ​ทำ​เป็นยาลูกกลอน​หรือยา​แท่ง ​และ​ใช้ละลายยา​ให้กินยา​ได้ง่ายขึ้น น้ำดอก​ไม้​เทศ ส่วนมากมาจากประ​เทศอิหร่าน​หรือซี​เรีย ​เป็นน้ำมันดอกยี่สุ่น มัก​ใช้​เป็นน้ำกระสายยาสำหรับยา​แก้อ่อน​เพลีย ยาบำรุงกำลัง ​เพราะมีสรรพคุณ​แก้พิษ​ไข้ ​แก้ร้อน ​แก้กระหาย ​แก้อ่อน​เพลีย

น้ำนม น้ำนม​โคมีรสหวาน มัน ​เย็น มีสรรพคุณปิดธาตุ ​แก้​โรค​ในอก บำรุงกำลัง​และ​เลือด​เนื้อ ​เจริญ​ไฟธาตุ นอกจากช่วยละลายยา​ให้กินง่าย​แล้ว ยังช่วย​เสริมฤทธิ์​เจริญ​ไฟธาตุของตัวยาอื่นๆ​ได้

น้ำ​ใบชา มีสรรพคุณฝาดสมาน ​แก้ท้องร่วง ท้อง​เสีย ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ​ทำ​ให้มีชีวิตชีวา

น้ำ​ใบผัก​ไห่ ต้นผัก​ไห่รู้จักกัน​ในชื่อมะระขี้นก มีรสขม ​เป็นยา​เจริญอาหาร ฟอก​เลือด ​เป็นยาระบายอย่างอ่อน ​ใช้​ในคน​ไข้​โรคตับ​และท่อน้ำดีอัก​เสบ กินมาก​เป็นยา​ทำ​ให้อา​เจียน

น้ำผึ้ง​และน้ำผึ้งรวง น้ำผึ้ง​ใช้​เป็น​ทั้งอาหาร​และยา ​ใช้​เป็นน้ำกระสายยา ​โดยจัด​เป็นน้ำกระ สายยาที่​ใช้มากที่สุด​ในตำราพระ​โอสถพระนารายณ์ ​ใช้ผสมผงยา​เพื่อปั้น​เป็นยาลูกกลอน​ใช้ทา​แผล ​และกิน​เป็นยาบำบัด​โรค มีสรรพคุณบำรุงกำลัง ​แก้สะอึก ​แก้​ไข้ตรี​โทษ ​และ​เป็นยาอายุวัฒนะ

น้ำมะนาว ​ได้จาก​การบีบ​หรือคั้นน้ำจากมะนาวที่​แก่จัด ตำราสรรพคุณยา​โบราณว่าน้ำมะนาวมีรส​เปรี้ยว สรรพคุณกัด​เสมหะ ฟอก​โลหิตประจำ​เดือนของสตรี น้ำมะนาว​เป็น​ทั้งน้ำกระสายยาสำหรับปั้นยา​เป็น​แท่ง ​และ​เป็นน้ำกระสายละลายยากิน น้ำร้อน ​เป็นน้ำฝน​หรือน้ำสะอาดที่ต้ม​ให้​เดือด ​แล้วยกลง น้ำร้อน​เป็นน้ำกระสายยาที่​ใช้มาก​ในยา​ไทย ​โดยจะช่วยละลายยา ​ทำ​ให้กินยา​ได้ง่ายขึ้น ​ใช้​เป็นกระสายยาสำหรับปั้นยา​เป็น​แท่ง

น้ำส้มซ่า ​ได้จาก​การบีบ​หรือคั้นน้ำจากผล​แก่จัดของส้มซ่า มีรส​เปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณกัดฟอก​เสมหะ ​แก้​ไอ ​เป็นยาฟอก​โลหิต น้ำส้มสายชู ​เป็นสารละลาย​ใส ​ไม่มีสี ​หรือสีชาอ่อนๆ มีกลิ่นฉุน รส​เปรี้ยว มีสรรพคุณระงับ​ความร้อน​ในร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับ​เสมหะ

สุรา ​ทำ​ให้ยา​แล่น​เร็ว ​โดยทั่ว​ไปมัก​ใช้​เหล้าขาว ​แต่วิสกี้​หรือบรั่นดี​ก็​ใช้​ได้
​ในบางครั้ง​การรักษา​โรค​ใช้​เพียงน้ำกระสายยา​ก็บัง​เกิดผล ถ้า​โรคนั้น​ไม่​แรง.

ไทย​โพสต์ -- อาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2555