ผู้เขียน หัวข้อ: ปิดยอด 7 วันอันตราย เมาแล้วขับ 8,575 คดี กทม. ครองแชมป์สูงสุด 530 คดี  (อ่าน 88 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า วันสุดท้ายของการคุมเข้ม 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2566 (17 เม.ย. 66) สถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติมีจำนวนทั้งสิ้น 1,910 คดี จำแนกเป็น
คดีขับรถขณะเมาสุรา 1,870 คดี คิดเป็นร้อยละ 97.9 และ
คดีขับเสพ 40 คดี คิดเป็นร้อยละ 2.1

สำหรับยอดสะสม 7 วัน (วันที่ 11 – 17 เม.ย. 66) มีจำนวนทั้งสิ้น 8,869 คดี จำแนกเป็น
คดีขับรถขณะเมาสุรา 8,575 คดีคิดเป็นร้อยละ 96.69
คดีขับรถประมาท 23 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.26
คดีขับซิ่ง 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.01 และ
คดีขับเสพ 270 คดี คิดเป็นร้อยละ 3.04

จังหวัดที่มีคดีขับรถในขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่
กรุงเทพมหานครจำนวน 530 คดี
รองลงมาร้อยเอ็ด จำนวน 473 คดี และ
อันดับสาม เชียงใหม่ จำนวน 458 คดี

เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมทั้ง 7 วันที่เข้าสู่ระบบงานคุมประพฤติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 มีจำนวน 7,141 คดี กับ ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 8,575 คดี พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1,434 คดี คิดเป็นร้อยละ 20.08

นายวีระกิตติ์ เผยอีกว่า สำหรับในช่วง 7 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนตามสถานที่ต่างๆ โดยให้บริการประชาชนแจกน้ำดื่ม อาหารเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่ม อำนวยความสะดวกจราจร ที่จุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 562 จุด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย อาสาสมัครคุมประพฤติ เครือข่ายยุติธรรมชุมชน ผู้ถูกคุมความประพฤติ และประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 12,636 คน

นายวีระกิตติ์ ยังกล่าวเน้นย้ำถึงมาตรการคุมประพฤติที่มีต่อผู้กระทำผิดที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราทุกราย ว่า จะต้องผ่านการคัดกรองแบบประเมินการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดสุรา จะส่งเข้ารับการบำบัดรักษา ณ สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำหรับผู้กระทำผิดที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ ต้องเข้ารับการแก้ไขฟื้นฟูแบบเข้มข้นในรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 3 วันต่อเนื่อง และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติ อาทิ รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และทำงานบริการสังคม เพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเมาแล้วขับ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อตนเองและครอบครัว รวมถึงสร้างความปลอดภัยให้กับสังคมต่อไป.

เดลินิวส์
18 เม.ย.2566