ผู้เขียน หัวข้อ: (ข่าวเก่า)ป.ป.ช.มีมติฟันวินัยร้ายแรง"หมอวิชัย โชควิวัฒน์"เบิกค่าน้ำมันรถหลวง  (อ่าน 614 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ลงมติฟัน" นพ.วิชัย โชควิวัฒน์" ผิดวินัยร้ายแรง ช่วงเป็นเลขาธิการ อย. ผิดระเบียบเบิกค่าน้ำมันรถ ทำให้ราชการเสียหาย แต่รอดหวุดหวิดเพราะได้รับอานิสงส์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่า  ในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม มีมติชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงแก่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการองค์เภสัชกรรม(อภ.) ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เนื่องจากเห็นว่า กระทำผิดระเบียบการใช้รถยนต์ ทำให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรงกล่าวคือ ในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ อย. นพ.วิชัย มีรถประจำตำแหน่งอยู่แล้ว แต่ไม่ยอมใช้รถประจำตำแหน่ง  แต่กลับใช้รถยนต์ส่วนกลางของ อย.และมีการเบิกค่าน้ำมันรถจากทางราชการ แต่ถ้าใช้รถประจำตำแหน่งผู้ดำรงตำแหน่งต้องออกค่าน้ำมันเอง


"เรื่องดังกล่าว มีการถกเถียงกันใน คณะกรรมการ ป.ป.ช.อย่างกว้างขวาง เพราะ กรรมการบางคนเห็นเป็นเริ่องเล็กน้อยไม่ถึงกับผิดวินัยร้ายแรง  แต่กรรมการบางคนเห็นว่า ในฐานะเลขาธิการ อย.รู้ระเบียบการใช้รถยนต์หลวงดีอยู่แล้ว แต่ยังฝ่าฝืนทำให้ราชการต้องเสียหาย ซึ่งเสียงส่วนใหญ่จึงมีมติว่า นพ.วิชัยมีความผิดวินัยร้ายแรง"แหล่งข่าวกล่าว


แหล่งข่าวกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวกระทรวงสาธารณสุขเคยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน นพ.วิชัยแล้ว และให้ลงโทษภาคทัณฑ์ซึ่งต่อมามีการตรา พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มาบังคับใช้ซึ่งทำให้ นพ.วิชัยได้รับผลจากการล้างมลทินดังกล่าว แม้ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติว่า มีความผิดวินัยร้ายแรงก็ไม่อาจดำเนินการใดๆกับ นพ.วิชัยได้อีก เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยซึ่งได้รับโทษหรือทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ใช้บังคับโดยให้ถือว่า ผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย


นอกจากนั้น มาตรา 6  ได้บัญญัติให้ล้างมลทินแก่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัยหรือผู้ที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ยุติเรื่องหรืองดโทษไปแล้ว โดยให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัยอีกนั้น เพราะ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ มีความประสงค์ที่จะให้ลบล้างมลทินการถูกลงโทษทางวินัยหรือการดำเนินการทางวินัยที่ยุติแล้วให้มีผลเป็นที่สิ้นสุด โดยไม่อาจหยิบยกการถูกลงโทษทางวินัยหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นขึ้นพิจารณาดำเนินการใหม่เพื่อลงโทษทางวินัยหรือดำเนินการทางวินัยจากมูลเหตุเดียวกันนั้นได้อีก ไม่ว่าการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยจะเป็นการกระทำโดยกฎหมายใด ถ้าอยู่ในเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.นี้ย่อมได้รับผลจากการล้างมลทินเช่นเดียวกัน


แหล่งข่าวกล่าวว่า กรณีดังกล่าว  คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมร่วมกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 คณะที่ 2 และคณะที่ 11) ได้วินิจฉัยไว้ด้วยว่า  แม้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรงตามมาตรา 92  แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ก็ตาม ผู้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นได้อีกต่อไป

มติชนออนไลน์
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553