ผู้เขียน หัวข้อ: ตามหาธรรมาภิบาลในระบบสาธารณสุขและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตอนที่ 7  (อ่าน 709 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
การขาดธรรมาภิบาลของเลขาธิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
25 กรกฎาคม 2559

เลขาธิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านมามีอยู่ 2 คน คนแรกได้แก่นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ คือวาระพ.ศ. 2546-2550 และวาระที่ 2 พ.ศ. 2550-2551 และถึงแก่กรรมในขณะที่ดำรงตำแหน่งในวาระที่ 2

เลขาธิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคนที่ 2 คือ นพ.วินัย สวัสดิวร ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ คือวาระแรกในปีพ.ศ. 2551-2555 และวาระที่ 2 ในปีพ.ศ.2555-2559 แต่ถูกคำสั่ง ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2557 ให้ออกจากตำแหน่งก่อนหมดวาระ

ในขณะที่นพ.วินัย สวัสดิวร ถูกย้ายออกจากตำแหน่งเลขาธิการสปสช.นั้น นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช.ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้รักษาการเลขาธิการสปสช. และได้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นเลขาธิการสปสช. แต่แม้เขาจะเป็นผู้ผ่านการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา นำเสนอให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อลงมติว่าจะรับรองให้เป็นเลขาธิการหรือไม่ ปรากฎว่ามีผู้รับรอง 13 เสียง และไม่รับรอง 14 เสียง โดยนพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้ออกเสียงในการลงมติครั้งนี้

ทันทีที่ผลการลงมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปรากฎ ออกมา มีการแสดงความไม่เห็นด้วยจากกลุ่มชมรมแพทบ์ชนบท ไม่ว่าจะเป็นนพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน นพ.มงคล ณ สงขลา แกนนำชมรมแพทย์ชนบท และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทอีกหลายคน เช่น นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ (1) นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ (ปัจจุบัน เป็นกรรมการชมรมแพทย์ชนบท) และผู้อำนวยการรพ.จะนะ สงขลา โดยอ้างว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะล้มระบบ 30 บาท หรือเปลี่ยนสาระสำคัญของ 30บาท มาเป็นระบบอนาถา

แต่ผู้เขียนเรื่องนี้ อยากจะบอกประชาชนว่า สาระสำคัญของระบบ 30 บาท ตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 มาตรา 5 คือ ผู้ยากไร้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ผู้ที่ไม่ยากไร้นั้นอาจต้อง “ร่วมจ่าย” ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

ซึ่งในตอนแรกกำหนดให้ผู้ไม่ยากไร้ร่วมจ่าย 30 บาทอยู่ 27 ล้านคน และมีผู้ยากไร้ไม่ต้องร่วมจ่ายอยู่ 20 ล้านคน แต่มายกเลิกการ “ร่วมจ่าย 30 บาท”ในช่วงที่รัฐมนตรีสาธารณสุขชื่อนพ.มงคล ณ สงขลา

ทำไมสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทจึงแสดงความไม่พอใจในการที่นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ไม่ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสปสช.?

จะเห็นได้ว่าหลังจากที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลงมติไม่รับรองนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ผู้ที่กรรมการสรรหาเสนอชื่อมาให้บอร์ดแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสปสช.นั้น นอกจากกลุ่มแกนนำของสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทจะไม่พอใจและกล่าวโจมตีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว กลุ่มชมรมแพทย์ชนบทยังมีการเคลื่อนไหว “ไม่ไว้วางใจ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (3)

ในขณะที่นายนิมิตร เทียนอุดม กรรมการสรรหากล่าวว่า การที่บอร์ดไม่รับรองคนที่กรรมการสรรหาเสนอมา แสดงว่าบอร์ดไม่รับรองกรรมการสรรหา ซึ่งกรรมการสรรหาก็ต้องหมดหน้าที่ (3) ซึ่งผู้เขียนเรื่องนี้ก็เห็นด้วยว่ากรรมการสรหาชุดเก่าควรหมดหน้าที่ไป และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็ควรแต่งตั้งกรรมการสรรหาชุดใหม่ และประกาศรับสมัครผู้ที่สนใจจะเข้ามาทำงานเป็นเลขาธิการสปสช.อีกครั้งหนึ่ง

ในส่วนของกรรมการหลักประกันสุขภาพที่มาจากผู้แทนองค์การเอกชน ได้แก่นส.สารี อ๋องสมหวัง(1,2) นางสุนทรี เซ่งกิ่ง(2) นส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล(2) ก็ออกมาคัดค้านมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งๆที่คณะกรรมการ 18 เสียงได้รับรองว่าการเขียนเครื่องหมาย “ถูก” แทนเครื่องหมาย “กากะบาด” นั้นเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของกรรมการผู้นั้นแล้วว่า ไม่รับรองนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ให้มาเป็นเลขาธิการสปสช.คนใหม่

ยังมีแกนนำชมรมแพทย์ชนบทอีก 1 คน คือนพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ (4) ก็ออกมาเขียนFacebook ว่า “เป็นห่วง 30 บาท"

แต่ในที่สุด นพ.ประเวศ วะสี ได้ออกมายืนยันว่าไม่ล้ม “บัตรทอง” และปรามกลุ่มที่ออกมาโจมตีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่า “อย่าโหนกระแสขัดแย้งสธ" และไม่อยากให้กังวลเรื่องความขัดแย้งในสธ. “เพราะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย” และยังฝากชมรัฐมนตรีปิยะสกลฯว่าเป็นคนดีอยู่แล้ว มีวิสัยทัศน์ร่วมกับการทำงานในองค์กรต่างๆเป็นอย่างดี จึงไม่อยากให้กระพือเพื่อสร้างความขัดแย้ง

ทำไมนพ.ประเวศ วะสี จึงต้องออกมา “ปราม”กลุ่มที่คัดค้านมติการเลือกเลขาสปสช.ครั้งนี้ เป็นเรื่องที่น่าคิด อาจจะมองเห็นแล้วว่า นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ไม่ใช่ สปสช. และการที่บอร์ดไม่รับรองนพ.ประทีปฯ ไม่ใช่เพราะบอร์ดต้องการล้ม 30 บาท แต่บอร์ดคงไม่แน่ใจในการทำงานของนพ.ประทีป ที่ผ่านมา ว่ามีธรรมาภิบาลหรือไม่? และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม บอร์ดจึงต้องยึดเอาผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของนพ.ประทีป ธนกิจเจริญเพียงคนเดียว ที่จะได้มีตำแหน่งเลขาธิการ มาควบคุมการใช้จ่ายเงินกองทุน 30 บาท ที่มีเกือบ 2 แสนล้านบาท ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน 48 ล้านคนที่มีสิทธิในระบบ 30 บาทอย่างแท้จริง

เหตุใดบอร์ดส่วนมากจึงไม่ไว้วางใจให้นพ.ประทีป ธนกิจเจริญมาเป็นเลขาธิการสปสช.?

ถ้าดูตามประวัติ จะเห็นได้ว่านพ.ประทีป มีประสบการณ์ในการทำงานในสปสช.มาตลอดระยะเวลา 14-15 ปีของการมีสปสช. เคยเป็นผู้ช่วยเลขาธิการสปสช. เลื่อนขึ้นเป็นรองเลขาธิการสปสช. และเมื่อเลขาธิการสปสช.ถูกคำสั่งคสช.ย้ายออกจากตำแหน่งในปี 2558 นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ก็ได้รับตำแหน่งให้รักษาการแทนเลขาธิการสปสช.อยู่ตลอดมา เพิ่งมาลาออกจากการรักษาการเลขาธิการสปสช.เพื่อมาสมัครคัดเลือกเป็นเลขาธิการ แต่ยังสงวนตำแหน่งรองเลขาธิการไว้ (ซึ่งครบกำหนดเกษียณอายุแล้วในปัจจุบัน)
ฉะนั้นบอร์ดสปสช.ส่วนใหญ่คงเห็นว่าประสบการณ์ในการทำงานของนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ยังไม่สำคัญเท่าคุณสมบัติอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นเลขาธิการสปสช.นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าเมื่อคสช.สั่งย้ายนพ.วินัย สวัสดิวรออกจากตำแหน่ง สปสช.ก็ยังแต่งตั้งให้เขาเป็นที่ปรึกษาสปสช. ซึ่งถือว่าเป็นการ “ให้เกียรติ” ผู้ที่ยังมีปัญหาในเรื่องการทำงานที่ไม่เหมาะสม

ซึ่งน่าจะถือว่านพ.ประทีป ธนกิจเจริญรักษาการเลขาธิการสปสช. ดำเนินการอย่างไม่เหมาะสมกับหลักคุณธรรม เพราะถือว่าเคยทำงานร่วมกันมา จึงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา ไม่ดูว่านพ.วินัย สวัสดิวรมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเป็นที่ปรึกษาองค์กรที่เขาถูกคำสั่งจากผู้บริหารบ้านเมืองให้ออกจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังแต่งตั้งเข้ามาอีก โดยไม่ “เกรงใจ”ผู้ออกคำสั่ง

และยังมีข่าว (6) ของกลุ่มคน “รักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอาคนพิการนั่งรถเข็น มาเรียกร้องนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตรวจสอบและพิจารณาการประชุมบอร์ดสปสช.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คืออ้างว่าบอร์ดทำผิดกฎหมายเช่นเดียวกับความเห็นของกรรมการบอร์ดที่มาจากกลุ่มองค์กรเอกชนเช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่า เมื่อนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ไม่ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสปสช. เขายังสามารถไปใช้สถานที่ทำการของสปสช.จัดแถลงข่าวได้ (7) และยังยืนยันว่าจะสานต่องานของนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ต่อไป

แสดงว่าสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท ยึดติดว่า ระบบบัตรทองคือ “ระบบของกลุ่มชมรมแพทย์ชนบท” ที่เหมือนเป็น “เจ้าของกิจการ” ต้องสืบทอดอำนาจการบริหาร แต่ไป “ป้ายสี”ว่า คนที่ไม่เลือกหมอประทีปทำผิดกฎหมายบ้าง จะล้มบัตรทองบ้าง เพื่อเอาประชาชนและคนที่ไม่รู้ความจริงมาเป็นพวก
แต่ที่จริงพวกเขาทำเพื่อประชาชนหรือทำเพื่อตัวเองกันแน่ ?

นอกจากนั้น ในขณะที่นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ทำหน้าที่รองเลขาธิการสปสช. นายพทย์ประทีปได้เคยเซ็นสัญญากับผู้บริหารมูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิแพทย์ชนบท มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.) ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นการขาดธรรมาภิบาลในการผิดหลักกฎหมาย

ซึ่งการเซ็นสัญญาจ่ายเงินให้มูลนิธิต่างๆนี้นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ยังทำหน้าที่ในนามเลขาธิการสปสช. แล้ว เลขาธิการสปสช.รับรู้รับทราบหรือไม่?

นอกจากนี้ในช่วงที่มีการเลือกเลขาธิการสปสช. ได้มีคำสั่งจากรองเลขาธิการสปสช.อีกคนหนึ่ง ลงนามแต่งตั้งให้นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เป็นที่ปรึกษาสปสช. และกำหนดให้เจ้าหน้าที่สปสช.อำนวยความสะดวกให้แก่ที่ปรึกษาสปสช.คนนี้ด้วย

จะเห็นได้ว่า เมื่อนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ไม่ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสปสช. เขายังสามารถไปใช้สถานที่ทำการของสปสช.จัดแถลงข่าวได้ (7) และยังยืนยันว่าจะสานต่องานของนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์อีกต่อไป แสดงว่ากลุ่มสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท ต่างถือว่า “ระบบ 30บาท” นั้น ต้องสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทเท่านั้น ที่ควรมาเป็นเลขาธิการสปสช. โดยให้เหตุผลว่า ถ้าไม่ใช่สมาชิกชมรมแพทย์ชนบทแล้ว จะ “มีการทำลายสาระสำคัญของระบบ 30บาท”

นอกจากสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทและกลุ่ม NGO จะออกมาคัดค้านที่บอร์ดไม่เลือกหมอประทีปแล้ว ยังมีการไปดึงเอาคนที่ “เป็น Somebody (คนที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่้รู้จักในสังคม) เช่น นายปราโมทย์ นาครทรรพ และนพ.เทอดชัย ชีวเกตุ ให้ออกมาโจมตีกระบวนการที่ไม่เลือกหมอประทีปว่า “เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจที่ฉลาดแต่ไม่ยึดหลักการ มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนอย่างเป็นระบบ ขาดจิตใจที่โปร่งใส ไม่ยึดหลักการ หลักเกณฑ์ และทำผิดกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

แต่คนที่ทำผิดกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ไม่ใช่บอร์ด แต่เป็นผู้บริหารสปสช.ที่ได้ถูกชี้ประเด็นจาก “คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาในการบริหารงานและการใช้จ่ายงบประมาณของสปสช” ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2558 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2558 นั้น พบว่าสปสช.มีการบริหารงานที่ผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายและมีประเด็นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายอีกหลายประเด็น และนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ก็เป็นรองเลขาสปสช. และทำหน้าที่รักษาการเลขาสปสช.มาไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงถือได้ว่าเป็นผู้ต้องรับผิดชอบการบริหารงานที่ไม่ถูกกฎหมายของสปสช.ด้วย
จึงเป็นผู้ทำผิดกฎหมายจริงตามที่กรรมการชุดนี้ชี้ประเด็นแล้ว

ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้คงได้ส่งรายงานให้หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรีทราบ ซึ่งนายกรัฐมนตรีคงได้บอกกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพทราบ

จึงน่าจะเป็นที่มาของการไม่รับหมอประทีปมาเป็นเลขาธิการสปสช.