ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.แจง “หมอ” แชร์ใบลาออก รับภาระงานหนักจริง กระจายบุคลากรไม่ได้ผล  (อ่าน 611 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
ปลัด สธ. แจง “หมอ” แชร์ใบลาออก รับปัญหาภาระงานหนักจริง บุคลากรกระจายตัวไม่พอพื้นที่ห่างไกล ชี้ รวมเงินเดือนในงบเหมาจ่ายบัตรทอง 15 ปี ไม่ช่วยแก้ปัญหาหมอกระจุกตัวในเมือง เร่งแก้ปัญหาเน้นงานส่งเสริมป้องกันโรค ลดเจ็บป่วย ลดมา รพ.
       
       จากกรณีแพทย์ประจำโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) แห่งหนึ่ง ใน จ.เชียงราย ได้โพสต์รูปภาพหนังสือขอลาออกจากราชการ และเขียนข้อความถึงสาเหตุการลาออก ว่า มาจากปัญหาส่วนตัวที่ไม่ได้มีใจจะเรียนแพทย์ตั้งแต่แรก และเผชิญกับปัญหาระบบสาธารณสุข คือ ภาระงานมาก บุคลากรไม่เพียงพอ ทำให้ต้องทำงานหนัก จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ
       
       วันนี้ (12 ก.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขลาออก ก็ต้องยอมรับความจริง และพยายามหาทางแก้ปัญหา ซึ่งการดูแลประชาชนแม้จะใจรัก แต่งานก็ถือว่าหนักจริงๆ ซึ่งขณะนี้ สธ. ก็พยายามมีนโยบายในการลดปัญหาการเจ็บป่วยจนต้องพบแพทย์ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การทำงานผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และการทำงานอื่นๆ เพื่อลดการเจ็บป่วยลง
       
       ทั้งนี้ ยอมรับว่า การกระจายบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ ก็มีผลต่อปัญหาลาออกด้วย เนื่องจากคนก็อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ อยากอยู่โรงพยาบาลใหญ่ คนที่จะไปอยู่โรงพยาบาลห่างไกลต้องเสียสละจริงๆ ขณะเดียวกัน ค่าตอบแทนที่เป็นแรงจูงใจก็มีผล ทุกอย่างเป็นปัจจัยได้หมด ก็ต้องพยายามปรับแก้ ซึ่งครั้งนี้ที่จะมีการปฏิรูปในหลายๆ ประเด็น ก็จะแก้ปัญหาตรงนี้ อย่างล่าสุดนายกรัฐมนตรีให้กรอบอัตรากำลังโดยให้ไปทำงานประชุมหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งมี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นผู้รับผิดชอบ
       
       เมื่อถามถึง นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น และประธานชมรมแพทย์ชนบท คัดค้านร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือร่างกฎหมายบัตรทอง ประเด็นการแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว เพราะจะทำให้มีปัญหาการกระจายตัวบุคลากร นพ.โสภณ กล่าวว่า ตนยังมองว่าจำเป็นต้องแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว เพราะจะทำให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน จะทำให้ประชาชนแต่ละจังหวัดมีงบรายหัวในการดูแลรักษา ซึ่งบางจังหวัดเมื่อหักแล้วไม่มีเงินค่ารักษาเลย ล่าสุด มีคนเอาข้อมูลมาให้ว่า รพ. ขนาดใกล้เคียงกัน หักเงินเดือนแตกต่างกัน อย่างบาง รพ. มีบุคลากรอายุมากก็ถูกหักเงินเดือนเยอะ แต่บาง รพ. มีบุคลากรหนุ่มๆ สาวๆ ก็หักเงินเดือนน้อย ซึ่งปัญหาเงินเดือนนอกจากไม่ช่วยเรื่องกระจายบุคลากรแล้ว ยังเกิดความไม่เป็นธรรมในหลายๆ ประเด็น ซึ่งตรงนี้มีข้อมูลหมด
       
       “การรวมเงินเดือนเพื่อช่วยเรื่องกระจายบุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรทำต่อ เพราะทำมา 15 ปีแล้วไม่ได้ผล และเรื่องการบริหารจัดการควรแก้ที่การบริหารจัดการ ไม่ใช่เอาเงินการดำเนินงานเรื่องซื้อยา หรือค่าบริการประชาชนมาทำ พูดง่ายๆ การบริหารจัดการไม่ควรเอาประชาชนเป็นตัวประกัน และการหักเงินเดือนก็บริหารจัดการยาก ทำให้เกิดความทุกข์ในระบบของคนให้บริการ อย่างการดูแลผู้ป่วยใน ดูแลอย่างดี แต่ทำไปทำมากลับไม่ได้เงิน บางครั้งติดลบอีก บริหารจัดการยาก ผมถามว่าใครคิดว่าบริหารเก่ง ลองให้ รพ. ที่บริหารเงินเยอะๆ มาอยู่ รพ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ก็ได้ ใครเก่งจริงมาอยู่เลย ผมบอกเลยว่า การบริหารจัดการเราต้องมองทั้งระบบ เงินไม่ใช่ของ รพ. ใด รพ. หนึ่ง แต่เป็นของแผ่นดิน เพื่อทำให้ประชาชนทุกคน” ปลัด สธ. กล่าว

โดย MGR Online       12 กรกฎาคม 2560

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
 สุดจะทน! แพทย์หนุ่มโพสต์ภาพ “ใบลาออก” จากราชการ และข้อความระบายความในใจถึงความเหนื่อยยากของอาชีพหมอ ขนาดป่วยจนหวิดตาบอดแต่ยังต้องฝืนสังขารไปตรวจคนไข้ พร้อมฉะแหลกร่ายยาวความเห็นส่วนตัวที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของ “ระบบงานราชการ” ที่สุดแสนจะโบราณเยี่ยงไดโนเสาร์ไม่มีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นสักที นับวันยิ่งแต่จะพังเละ พร้อมทิ้งท้าย ใช้เวลาเรียนหมอกว่า 6 ปี ในการสร้างหมอที่ดี 1 คน ทว่าก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี ทำให้ทุกอย่างพังลงมา ด้าน ปลัด สธ. ยอมรับขาดบุคลากรจริงและกำลังหาทางแก้ไข พร้อมแนะแพทย์ใหม่จะเป็นแพทย์ตามที่ห่างไกลใจต้องรักและมีความเสียสละ

หมอหนุ่มสับเละระบบสาธารณสุขไทย
ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Benjapol Tuamsomboon ซึ่งเป็นแพทย์ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จ. เชียงราย ได้โพสต์ภาพใบลาออกจากราชการ ระบายความอัดอั้นใจ โดยที่มีสาเหตุใจความหลักบ่นถึงการเบื่อหน่ายในระบบงานสาธารณสุข กับการที่เขามาเป็นแพทย์อยู่โรงพยาบาลชนบท เป็นหมอประจำ รพ.เล็กๆ ที่มี 30 เตียง แต่เมื่อเอาเข้าจริงๆ กลับต้องรักษาคนไข้ไม่ได้น้อยตามจำนวนเตียงเลย
โดย รพ.แห่งนี้มีหมอเพียง 3 คนที่ทำหน้าที่คอยรักษาคนไข้ ในวันหนึ่งๆ ต้องตรวจคนไข้กว่า 60-80 คน บางวันต้องตรวจถึง 100 กว่าคน เลิกงานก็ไม่เป็นเวลา ยิ่งเวลาอยู่เวร กินข้าวไม่ตรงเวลา ตอนกลางคืนอยู่เวรก็ไม่รู้ว่าจะโดนตามตอนไหน นอนหลับก็ไม่สนิท เพราะตอนกลางคืนโดนตามบ่อยๆ พอนอนไม่พอก็ส่งผลต่ออารมณ์ทำให้อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด สุขภาพกายและสุขภาพจิตเสีย

พร้อมยอมรับ จริงๆ ก่อนจะมาทำงานเป็นหมอแบบเต็มตัว ไม่เคยมีความคิดว่าจะ “ลาออก” เลย เพราะเคยคิดว่าอยากจะอยู่เป็น ผอ.รพ. ไปเรื่อยๆ แต่พอได้มาทำงานจริงๆ แล้วกลับพบความจริงที่ไม่ใช่อย่างที่คิดเอาไว้ เพราะมีอะไรเกิดขึ้นมากกว่านั้น “การมีไดโนเสาร์อยู่ในองค์กร เราอยากจะให้เค้าพัฒนาเรื่องนี้ แต่คนที่แก่กว่าเค้าก็ไม่อยากทำ บอกว่า “เค้าทำอย่างงี้กันมาตั้งนานแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร เราจะให้เค้าเปลี่ยนทำไม?” บางทีการที่เราอยู่แต่ใน Comfort zone จนชิน ถ้าไม่รู้จักพัฒนาตัวเอง อีกหน่อยก็จะอยู่แบบไดโนเสาร์แบบนี้ไปเรื่อยๆ”

ซึ่งที่แพทย์หนุ่มร่ายมานี้ยังไม่รวมถึง งานคุณภาพต่างๆ มากมาย ที่ต้องมีแบบประเมิน ตัวชี้วัดต่างๆ ที่คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด ซึ่งบางอันเขามองว่าไม่เห็นมีความจำเป็นที่จะต้องทำเลย เพราะยิ่งเป็นการเพิ่มภาระงานเปล่าๆ

พร้อมตบท้ายว่า จริงๆ ยังมีเหตุผลอย่างอื่นอีกหลากหลายประเด็น แต่อาจจะเล่าได้ไม่ทั้งหมด แต่อย่างน้อยการที่เขาได้เอาความอัดอั้นตันใจระบายออกมาเป็นตัวหนังสือ ก็ทำให้เขานั้นรู้สึกภูมิใจในตัวเองบ้าง ว่าอย่างน้อยเขาก็ทนทำงานใช้ทุนจนครบเวลาได้ เพราะเขาเชื่อว่าถ้า “ระบบสาธารณสุข” บ้านเรายังเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ ซักวันหนึ่ง เขาคงได้นั่งดูความพังเละของระบบนี้ รวมถึงไม่เสียดายที่ใช้เวลาเรียนหมอกว่า 6 ปี ในการสร้างหมอที่ดี 1 คน ทว่าก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี ทำให้ทุกอย่างพังลงมา

ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจนถึงขั้นกับต้องยื่นใบลาออกจากการเป็นแพทย์ ส่วนหนึ่งอาจมาจากการที่แพทย์หนุ่มดันเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองนั้นไม่ชอบ เมื่อพยายามฝืนทนร่ำเรียนในสิ่งที่ใจไม่รัก เลยทำให้ไม่มีแรงบันดาลใจอะไรมาผลักดันในการทำงานต่อไป

ปลัด สธ. ยอมรับหมอขาดแคลน

ภายหลังจากแพทย์หนุ่มได้ร่ายยาวถึงความอัดอั้นใจที่สุดจะทนในการเป็นหมอ และเบื่อหน่ายกับระบบราชการไทย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาเผยถึงประเด็นร้อนนี้ว่า การที่แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขลาออกไปนั้นก็ต้องยอมรับความจริง และพยายามหาทางแก้ปัญหา ซึ่งการดูแลประชาชนแม้จะใจรัก แต่งานก็ถือว่าหนักจริงๆ ซึ่งขณะนี้ สธ.ก็พยายามมีนโยบายในการลดปัญหาการเจ็บป่วยจนต้องพบแพทย์ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การทำงานผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และการทำงานอื่นๆ เพื่อลดการเจ็บป่วยลง

ทั้งนี้ ยอมรับว่าการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ ก็มีผลต่อปัญหาลาออกด้วย เนื่องจากคนก็อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ อยากอยู่โรงพยาบาลใหญ่ คนที่จะไปอยู่โรงพยาบาลห่างไกลต้องเสียสละจริงๆ ขณะเดียวกันค่าตอบแทนที่เป็นแรงจูงใจก็มีผล ทุกอย่างเป็นปัจจัยได้หมด ก็ต้องพยายามปรับแก้ ซึ่งครั้งนี้ที่จะมีการปฏิรูปในหลายๆ ประเด็น ก็จะแก้ปัญหาตรงนี้ อย่างล่าสุดนายกรัฐมนตรีให้กรอบอัตรากำลังโดยให้ไปทำงานประชุมหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งมี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นผู้รับผิดชอบ

ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น และประธานชมรมแพทย์ชนบท คัดค้านร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือร่างกฎหมายบัตรทอง ประเด็นการแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว เพราะจะทำให้มีปัญหาการกระจายตัวบุคลากร นพ.โสภณ กล่าวว่า ตนยังมองว่าจำเป็นต้องแยกเงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว เพราะจะทำให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน จะทำให้ประชาชนแต่ละจังหวัดมีงบรายหัวในการดูแลรักษา ซึ่งบางจังหวัดเมื่อหักแล้วไม่มีเงินค่ารักษาเลย ล่าสุด มีคนเอาข้อมูลมาให้ว่า รพ.ขนาดใกล้เคียงกัน หักเงินเดือนแตกต่างกัน อย่างบาง รพ.มีบุคลากรอายุมากก็ถูกหักเงินเดือนเยอะ แต่บาง รพ. มีบุคลากรหนุ่มๆ สาวๆ ก็หักเงินเดือนน้อย ซึ่งปัญหาเงินเดือนนอกจากไม่ช่วยเรื่องกระจายบุคลากรแล้ว ยังเกิดความไม่เป็นธรรมในหลายๆ ประเด็น ซึ่งตรงนี้มีข้อมูลหมด

“ การรวมเงินเดือนเพื่อช่วยเรื่องกระจายบุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรทำต่อ เพราะทำมา 15 ปีแล้วไม่ได้ผล และเรื่องการบริหารจัดการควรแก้ที่การบริหารจัดการ ไม่ใช่เอาเงินการดำเนินงานเรื่องซื้อยา หรือค่าบริการประชาชนมาทำ พูดง่ายๆ การบริหารจัดการไม่ควรเอาประชาชนเป็นตัวประกัน และการหักเงินเดือนก็บริหารจัดการยาก ทำให้เกิดความทุกข์ในระบบของคนให้บริการ อย่างการดูแลผู้ป่วยใน ดูแลอย่างดี แต่ทำไปทำมากลับไม่ได้เงิน บางครั้งติดลบอีก บริหารจัดการยาก ผมถามว่าใครคิดว่าบริหารเก่ง ลองให้ รพ.ที่บริหารเงินเยอะๆ มาอยู่ รพ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ก็ได้ ใครเก่งจริงมาอยู่เลย ผมบอกเลยว่า การบริหารจัดการเราต้องมองทั้งระบบ เงินไม่ใช่ของ รพ.ใด รพ.หนึ่ง แต่เป็นของแผ่นดิน เพื่อทำให้ประชาชนทุกคน” ปลัด สธ. กล่าว

คลินิกหมอครอบครัว ลดคนไข้ได้จริงหรือ?

ย้อนไปก่อนหน้านี้ ทาง สธ. ต่างรู้ปัญหาดีว่าการที่แพทย์ตบเท้ากันลาออกไปนั้น สาเหตุหลักหนึ่งนั้นมาจากการทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน ทาง สธ. เองก็ได้ผุด “คลินิกหมอครอบครัว” เพื่อลดคนไข้ รพ. ใหญ่ ได้ 60% ลดเวลารอคอยเหลือแค่ 44 นาที ประหยัดค่าเดินทางไปโรงพยาบาลของประชาชนคนละ 1,655 บาท เพื่อเร่งผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รองรับดูแลประชาชนทั้งประเทศ

ในประเด็นดังกล่าวนั้น ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวว่า ขณะนี้การขับเคลื่อนคลินิกหมอครอบครัวได้ผลดี สามารถดำเนินการแล้ว 596 ทีม ใน 12 เขตสุขภาพ ครอบคลุม 76 จังหวัด มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวจำนวน 700 คน ดูแลประชากร 6,287,809 คน เป็นไปตามแผนที่วางไว้ จากการประเมินผลการดำเนินงานในระยะสั้นเห็นผลชัดเจนใน 3 เรื่อง ดังนี้

1. ช่วยลดการใช้บริการที่โรงพยาบาลใหญ่ได้ถึงร้อยละ 60 มีเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้องไปรับบริการ ทำให้แพทย์สามารถเน้นการดูแลเฉพาะทางได้ 2. ลดเวลารอคอยในโรงพยาบาลใหญ่จาก 172 นาที เหลือ 44 นาที และ 3. ลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทางไปโรงพยาบาล 1,655 บาท/คน ส่วนในระยะยาวหวังผลสร้างความรู้ ความเข้าใจความสามารถในการจัดการตนเองด้านสุขภาพ (Self management) ของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย จนเกิดเป็นการสร้างสุขภาพจากภายในตัวเอง ภายในครอบครัวไปสู่การร่วมกันสร้างสุขภาพและความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้คนไทยทุกคนมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลภายในปี 2569

ทั้งนี้ การผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในช่วง 10 ปี จะผลิตจากโรงเรียนแพทย์ประมาณ 1,000 คน และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวผลิตอีก 5,200 คน ซึ่งระหว่างรอการผลิตได้มีการจัดอบรมระยะสั้น เวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับแพทย์ปฏิบัติงานในคลินิกหมอครอบครัว นอกจากนี้ ในปี 2561 ได้เพิ่มโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวอีก 71 แห่ง คาดว่า สามารถผลิตแพทย์ได้เพิ่มอีกเกือบเท่าตัว จากปีละ 270 คน เป็น 500 คน เพื่อให้มีแพทย์ในคลินิกหมอครอบครัวเพิ่มขึ้นตามแผนที่วางไว้

ด้าน นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เคยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า ผู้ป่วยนอกล้นโรงพยาบาลเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ตั้งแต่ก่อนมีบัตรทอง แต่หลังปี 2545 ปัญหาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มจาก 2.416 ครั้งต่อคนต่อปีในปี 2549 เป็น 3.589 ครั้งในปี 2559 หากคูณตัวเลข 48 ล้านคน ก็เพิ่มมากกว่า 48 ล้านครั้ง

ขณะที่บุคลากรสาธารณสุขแทบไม่เพิ่มเลย ที่ผ่านมา สปสช. และ สธ. พยายามจัดทำคลินิกชุมชนอบอุ่น แต่มีปัญหาการขยายจำนวนและหาแพทย์ไปออกตรวจ จน สธ. เสนอนโยบายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและผลักดันจนได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเริ่มเห็นทางแก้ไขปัญหา

ยกตัวอย่าง รพศ.ขอนแก่น ไม่ให้ผู้ป่วยใหม่มารับบริการผู้ป่วยนอก แต่จัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care Cluster : PCC) 4 มุมเมือง ให้แพทย์ 3 คนดูแลประชากร 30,000 คน ให้แพทย์ที่มีจิตอาสาไปอยู่ประจำ ระยะหลังให้แพทย์ที่เรียนด้านเวชศาสตร์ครอบครัวมาอยู่ประจำ ก็ช่วยสกัดผู้ป่วยที่ทะลักไป รพ.โดยไม่จำเป็นได้ โดยแพทย์ออกตรวจตอนเช้า ตอนบ่ายไปเยี่ยมบ้าน ใช้แพทย์ 3 คนต่อพยาบาลและเจ้าหน้าที่ 15 คน ถือว่าทำงานมีประสิทธิภาพมาก เป็นการทำงานในลักษณะที่ร่วมมือกับ รพ.สต. ท้องถิ่นและเอกชน วางเป้าหมายจะให้ครอบคลุมทั่วประเทศใน 10 ปี

งานนี้ก็ต้องดูกันต่อไปแบบยาวๆ ว่า นโยบายในการลดปัญหาการเจ็บป่วยจนต้องไปพบแพทย์ที่ทาง สธ. มีนโยบายออกมานั้นจะสามารถช่วยแก้ปัญหา (ลด) การลาออกของแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลได้จริงหรือไม่


12 ก.ค. 2560
https://mgronline.com/daily/detail/9600000070982