ผู้เขียน หัวข้อ: ประชา-รัฐร่วมจ่าย 30 บาท  (อ่าน 569 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9803
    • ดูรายละเอียด
ประชา-รัฐร่วมจ่าย 30 บาท
« เมื่อ: 05 มกราคม 2016, 23:22:11 »
 เมื่อรัฐมนตรีสาธารณสุขออกมาเสนอแนวทาง “ประชารัฐ” เพื่อจะได้มีเงินเข้ามาในระบบ 30 บาทมากขึ้น ก็มีกลุ่มที่คัดค้านและกลุ่มสนับสนุนแนวคิดนี้ดังนี้คือ
       
       กลุ่มต่อต้านแนวคิดนี้ ได้แก่
       
       1. นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1239446866082468&id=142436575783508&substory_index=0
       https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1239838992709922&id=142436575783508
       
       2. ผู้สนับสนุนแกนนำกลุ่ม "สามพรานฟอรั่ม” เช่น ส. ศิวรักษ์ http://m.manager.co.th/Politics/detail/9580000141409 ที่ออกมาขู๋ไล่รัฐบาลถ้าให้ประชาชนร่วมจ่าย
       
       3. นายนิมิตร เทียนอุดม ผู้เป็นกรรมการ (บอร์ด) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ http://m.manager.co.th/QOL/detail/9580000141306 โดยกล่าวว่าเงินในระบบ 30 บาทมีพอ แต่อยู่ที่การบริหารจัดการและยังไม่ควรให้ประชาชนร่วมจ่ายในขณะที่ ดร.อัมมาร สยามวาลา กลับลำจากที่ไม่ต้องการให้ประชาชนร่วมจ่าย เป็นให้จ่ายล่วงหน้าก่อนเหมือนระบบประกันสังคม
       
       4. วิโรจน์ ณ ระนองแห่ง TDRI ก็คัดค้านการร่วมจ่าย https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10154631995794848&id=131732549847 ชี้โครงการหลักประกันสุขภาพ ไม่เคยเป็นภาระที่เกินตัว สำหรับงบประมาณรัฐ
       
       5. ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ แห่งสำนักข่าวอิศรา ที่มีข่าวว่าได้รับงบสนับสนุนจากองค์กรพี่ของ สปสช. ซึ่งก็คือสสส. ถึงเกือบ 100 ล้านบาท ก็ออกมาโจมตีว่ารัฐมนตรีรวย 100 ล้าน จึงไม่เห็นอกเห็นใจคนจน https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=943294819050977&id=100001114032104
       
       แต่กลุ่มที่คัดค้านมักจะโจมตีหรือใส่ร้ายป้ายสีบิดเบือนข้อมูลว่ารัฐบาลต้องการล้มโครงการ 30 บาท หรือกล่าวหาว่ารัฐมนตรีรวย 100 ล้าน จึงไม่เห็นใจคนจน ทั้งๆ ที่รัฐมนตรียังไม่ได้พูดเลยว่าจะให้ประชาชนทุกคนร่วมจ่ายหรือไม่อย่างไร?
       
       กลุ่มสนับสนุนแนวคิดรัฐมนตรีสาธารณสุข ที่เสนอให้ประชาชนร่วมจ่ายเข้ากองทุน 30 บาท มักจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ของการขาดแคลนงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาท เช่น
       
       1. นพ.พินิจ หิรัญโชติ กรรมการ (บอร์ด) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และอดีตผู้อำนวยการรพ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็น1 ใน 6 รพ.นำร่องเรื่องหลักประกัน ได้ให้ความเห็นว่า จงวิจารณ์ด้วยปัญญาครับ “จาก 2545 ถึง 2559: 14ปีหลักประกันสุขภาพผู้เกี่ยวข้องคงต้องนำข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย โอกาส ปัญหาอุปสรรคไม่ว่า เรื่องเงิน คน ของและการจัดการเพื่อความยั่งยืน ความสุขของผู้ให้และผู้รับบริบาลทางการแพทย์และสาธารณสุข หลักประกันสุขภาพไม่มีทางเลิกแต่ถ้าเงินไม่พอระบบประกันสุขภาพจะไม่มีประสิทธิภาพและไม่ยั่งยืนครับ กรุณาอย่าให้ข้อมูลอันเท็จและกรุณากลับไปอ่าน พ.ร.บ.
       
       หลักประกันหลายๆ รอบว่าหลักคือการบริการสุขภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและดำรงชีวิตคงซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 3, 18(3) และหมายเหตุท้ายพรบ.ท่านก็จะทราบว่าหลักประกันฯ ไม่ได้รักษาทุกโรค ขึ้นอยู่กับเงินงบประมาณที่ได้รับซึ่งเพิ่มทุกปีจากปี 2545:1202.40บาท/หัว แต่ปัจจุบัน 2559:2900บาท/หัว เรื่องหลักประกันสุขภาพของปชช.48ล้านคนในประชากร 65 ลัานคนต้องเอาความจริงมาพูดกันและยอมรับความจริงลดความอยากได้ พอใจตามเงินที่มีและจ่ายช่วยกันตามฐานะและไม่เป็นภาระโดยผู้ยากไร้ไม่ต้องจ่ายยอมรับว่ายังมีคนยากไร้อยู่อย่าเรียกร้องว่าการดูแลรักษาเป็นสิทธิทุกเรื่องแล้วปัญหาจะแกัได้แบบพลวัตรและเป็นปัจจุบันครับ”
       
       2. นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข สนช. ก็ได้สนับสนุนแนวคิดในการ่วมจ่ายใน https://www.facebook.com/jetn.sirathranont?fref=ts
       
       “นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ"บัตรทอง"เป็นนโยบายที่ดี ช่วยคนจนให้พ้นจากการล้มละลายเวลาเจ็บป่วย เปลี่ยนจากการสงเคราะห์เป็นสิทธิของประชาชนเวลาเจ็บป่วยไปโรงพยาบาล ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวย ลดความรู้สึกของตนจนว่าตนเองจะถูกเหยียดหยามเวลาไปใช้สิทธิในโรง พยาบาล...จึงเชื่อว่าจะไม่มีใครต้องการล้มนโยบายนี้อย่างแน่นอน
       
       แต่นโยบายที่รักษาฟรีประชาชน 48 ล้านคนเศษ เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน เพราะรัฐฯเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันพร้อมเงินเดือนแทนประชาชน งบประมาณรายจ่ายด้านสุขภาพ(รวมบัตรทอง) สูง ถึงร้อยละ 16-17 ของงบประมาณแผ่นดินในปัจจุบันหรือร้อยละ 4.6 ของ GDP (รมต.ปิยะ สกล) ซึ่งการเพิ่มโดยใช้งบประมาณฯอย่างเดียวให้พอเพียงจะเป็นไปได้ยากเพราะจะกระทบกับงบประมาณของกระทรวงอื่นๆ แต่ถ้าไม่เพิ่มหรือเพิ่มงบฯให้เพียงเล็กน้อยจะกระทบต่อคุณภาพการบริการเพราะ รพ.ต่างๆ จะต้องประหยัดเพื่อความอยู่รอด คุณภาพบริการที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่มาใช้สิทธิบัตรทองโดยตรง ตามมาด้วยการล่มสลายของระบบ
       
       รมต. สธ. ต้องการเห็นความยั่งยืนของระบบ จึงตั้งคณะทำงานเพื่อหาวิธีการหาเงินอื่นๆมาเพิ่มให้กับเงินงบประมาณ ซึ่งการร่วมจ่ายหรือ Co-payment เป็นเพียงวิธีหนึ่ง ซึ่งจะต้องไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อคนยากจนเพราะจะขัดกับหลักการของนโยบายนี้ โดยเฉพาะการร่วมจ่ายณ จุดบริการที่จะต้องเป็นวิธีสุดท้ายที่ใช้เมื่อไม่มีทางเลือกอื่น
       
       ในหลักการมีผู้เสนอให้ใช้ Cost sharing ซึ่งเป็นคำที่กว้างกว่า Co-payment อาจเก็บเงินจากภาษีบาป กองทุนตำบลฯลฯ ซึ่งท่านรมต. ก็เปิดกว้างให้ปชช. เสนอความคิดเห็นเข้ามาเพื่อใช้เป็นแนวทางใน การจัดการ
       
       เมื่อรมต.พูดถึงการร่วมจ่ายก็มีผู้ออกมาต่อต้านทันควันเหมือนทุกๆครั้ง แล้วบิดเบือนไปว่ารัฐมนตรีต้องการล้มนโยบายบัตรทอง โดยผู้คัดค้านก็ไม่เสนอวิธีการแก้ไขมาให้ด้วย อ้างแต่เพียงว่ารมต.ต้องการทำลายนโยบายที่ดีของคนยากจน
       
       การไม่แตะต้องนโยบายนี้เลยนั่นแหละจะกลับเป็นตัวทำลาย เพราะถ้าอยู่เฉยๆโดยไม่ทำอะไร จะกระทบต่อคุณภาพและการเข้าถึงการบริการในระยะยาว
       
       ยุคนี้ต้องการรมต.ที่กล้าหาญ ทำในสิ่งที่ถูกต้องให้เกิด SAFE (ยั่งยืน เข้าถึง เป็นธรรม และเท่าเทียม) ตามนโยบาย ไม่ต้องการรมต.ที่เกาะเก้าอี้อยู่ไปวันวัน...ครับ”
       
       3. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และราชบัณฑิต ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาชาวิชากุมารเวชศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ ได้สนับสนุนการร่วมจ่ายเช่นกัน ดูรายละเอียดได้จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000141653
       
       4. นายสุริยะใส กตศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย มหาวิทยาลัยรังสิต ได้หนุนให้มีการปฏิรูประบบบัตรทอง ให้คนจนได้ประโยชน์จริง มีคุณภาพการรักษาดีขึ้น ไม่ทำประชานิยมแบบไร้เหตุผล และไม่ให้นำบัตรทองไปโยงการเมืองเรื่องการรับจำนำข้าว http://www.dailynews.co.th/politics/369624
       
       5. อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและบริหารความเสี่ยง สาขาวิชาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย ยังมีข้อเสนอในการแก้ปัญหาจากได้แสดงความเห็นสนับสนุนแนวคิดของรัฐมนตรีสาธารณสุขใน http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000141943 และได้เสนอทางเลือกในการร่วมจ่ายไว้อย่างมีเหตุผลที่ควรต้องนำไปพิจารณา
       
       และยังมีความเห็นสนับสนุนข้อเสนอของรมต.สาธารณสุขอีกมากมายใน Facebook จนในที่สุดรัฐมนตรีได้ออกมาชี้แจงว่า ไม่ล้มบัตรทองแต่ต้องการทำให้ดีขึ้น http://social.tnews.co.th/contents/173913/
       
       และต่อมาโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด ได้ออกมาแถลงว่ารัฐบาลไม่ต้องการล้มบัตรทอง http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000141616 ไก่อูอัดสมุนทักษิณ โอหัง โกหกบิดเบือน ยันรัฐบาลไม่ล้มโครงการ 30 บาท
       
       ต่อไปนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ที่เคยทำงานรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาท และติดตามวิเคราะห์/วิจารณ์ความเป็นมาและเป็นไปของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่การเสนอ ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเข้าสู่รัฐสภาในปี พ.ศ.2544 และติดตามความเป็นมาและเป็นไปของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช) และองค์กรพี่น้องของสปสช.มาตลอด ได้แก่ สวรส. สสส. สช. สพฉง สรพ.และกลุ่มสามพรานฟอรั่ม ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นดังต่อไปนี้
       
       ถ้าอ่านความคิดเห็นที่สนับสนุนข้อเสนอของรัฐมนตรีที่จะให้มีการร่วมจ่ายแบบ ประชา- รัฐ จะเห็นว่าต่างก็มีเหตุผลเรื่องการขาดงบประมาณและการรักษาที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานครอบคลุมทุกโรคตามที่ สปสช. โฆษณาชวนเชื่อ และต้องการให้มีการแก้ไขเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(ที่ไม่ถ้วนหน้าและไม่ได้รักษาทุกโรค)
       
       แต่ผู้ที่ออกมาคัดค้านนัก มักจะมีการกล่าวร้ายป้ายสีรัฐมนตรี (วิญญูชนไปอ่านในเอกสารที่ผู้เขียนยกมาอ้างข้างต้นนี้ให้จบ ก่อนที่จะออกมาด่าผู้เขียนและกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐมนตรี)
       
       และกลุ่มที่คัดค้านนั้นก็เคยมีผลประโยชน์กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น เป็นผู้ก่อตั้งและบริหารมูลนิธิที่ได้รับเงินจาก สปสช. หรือองค์กรพี่ของ สปสช. (สสส. เป็นต้น) หรือเป็นผู้เคยมีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการ (บอร์ด) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือเป็นอนุกรรมการใน สปสช. จนมีคำวินิจฉัยจาก คตร. ตามหนังสือที่ คสช.(คตร)/1013 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ให้ สปสช.ยุติการดำเนินการในประเด็นที่มีความเห็นไม่ตรงกับกระทรวงสาธารณสุข ทำให้ สปสช. มีคำสั่งที่ 4.03/0154 ให้ยุติการจ่ายเงินให้แก่มูลนิธิองค์กรภาคประชาชนและบุคคลไว้ก่อน
       
       การตรวจสอบของ คตร.นี้ (อาจมี ปปท.ร่วมตรวจสอบด้วย) มีผลให้หัวหน้า คสช. ใช้มาตรา 44 สั่งย้ายเลขาธิการ สปสช.พ้นจากหน้าที่เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558 และ TDRI ได้สรุปผลการสำรวจการปราบโกงไว้น่าสนใจดังนี้ (http://tdri.or.th/tdri-insight/bangkokbiz-2014-09-02) การสำรวจการปราบโกง โดยทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ควรมีตัวชี้วัด (ผลงาน) เชิงคุณภาพ ส่วนในด้านโครงสร้างควรมีความหลากหลายของกรรมการสรรหา และกรรมการองค์กรอิสระ การกำหนดงบประมาณต่อรายหัวประชากรโดยตรวจสอบความคุ้มค่าของโครงการที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน (มีความโปร่งใส) แต่การประเมินผล สปสช. มีแต่การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนและบุคลากรเท่านั้น เพิ่งมีการประเมินผลลัพธ์การรักษาจาก TDRI http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000070344 และให้ผลการรักษาที่ไม่ดี มีอัตราการตายสูง
       
       ในขณะที่นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตกรรมการ (บอร์ด) สปสช. และหัวหน้ากลุ่ม “คนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เคยเสนอไว้ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2555 ในการอภิปรายเรื่อง “ความมั่นคง ความยั่งยืน ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ว่าให้หาเงินมาเพิ่มในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยเสนอเป็นภาษีสุขภาพ และในบทความเดียวกันนี้ นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์แห่งสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.ซึ่งเป็นองค์กร เครือข่ายสวรส.ก็ยอมรับว่า ค่าใช้จ่ายในระบบหลักประกันที่เพิ่มขึ้น ก็เพราะค่ายา ค่าเทคโนโลยี และการขยายสิทธิในการประกันสุขภาพ ซึ่งเขามีข้อเสนอว่า หากรัฐบาลเพิ่มงบประมาณมากขึ้น ก็จะทำให้งบประมาณแผ่นดินยิ่งขาดดุล ควรหาทางลดรายจ่าย เช่นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน การดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำลายสุขภาพ และป้องกันโรค และเสนอให้เพิ่มงบประมาณด้วยการ “เก็บภาษีสุขภาพ” http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000130245
       
       รัฐมนตรี สธ คนก่อน ศาสตราจารย์นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน (ที่ถือหาง สปสช.มาตลอด และหาเรื่อง “เด้ง”ผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงสาธารณสุข(ปลัดกระทรวง) ไปแขวนไว้ที่สำนักนายกรัฐมนตรีจนเกือบถึงเวลาเกษียณอายุราชการ) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษางบ “30 บาท”หลังนายกรัฐมนตรีห่วงงบประมาณพุ่ง http://www.hfocus.org/content/2015/07/10342 โดยมี ดร.อัมมาร สยามวาลาเป็น นักวิชาการ TDRI เป็นที่ปรึกษา มี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธานและรายชื่อกรรมการจากหลากหลายองค์กร แต่คณะกรรมการชุดนี้ไม่มีกรรมการจากกระทรวงสาธารณสุขหรือบุคลากรสาธารณสุขทั้งผู้บริหารและหรือผู้ปฏิบัติงาน ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบริหารเงินงบประมาณหลักประกันสุขภาพเข้าเป็นกรรมการชุดนี้เลย
       
       ฉะนั้นเมื่อรัฐมนตรี สธ. คนปัจจุบันบอกว่าจะประชุมรับฟังความเห็นจากกรรมการชุดนี้จากการประชุมในวันนี้ตามข่าว http://social.tnews.co.th/contents/173913/
       
       ผู้เขียนก็ขอเสนอความคิดเห็นในนามสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทยว่า รัฐมนตรีควรฟังความคิดเห็นให้รอบด้านว่า
       
       1.มีการทุจริตประพฤติมิชอบของ สปสช.ในการเอาเงินงบประมาณที่ควรจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาท ไปให้แก่กลุ่มบุคคล มูลนิธิ หรือเอกชนที่ไม่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จนทำให้งบประมาณที่จะใช้ในการรักษาประชาชนขาดแคลนหรือไม่?
       
       2.มีการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการบริหารสำนักงานไม่สุจริต โปร่งใสตามการตรวจของสตง. ทำให้งบประมาณส่ง รพ.ขาดดุลหรือไม่?
       
       3.สปสช.จัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมแทนโรงพยาบาล แต่ซื้อยาและเครื่องมือแพทย์ที่ด้อยคุณภาพ เพราะให้ “จำนวนเงิน” เป็นเกณฑ์ในการจัดซื้อ โดยไม่นึกถึงคุณภาพของยาและเครื่องมือแพทย์ แต่ สปสช.ได้รับเงิน “ทอน”ค่ายาและนำไปใช้โดยมิชอบตามการวินิจฉัยของสตง.หรือไม่?
       .
       ผลจากข้อ 3 ทำให้ผู้ป่วยในระบบ 30 บาท มีอัตราตายมากกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการตามการวิจัยของ TDRI (อ้างแล้วข้างต้น http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000070344)
       
       4.ควรสอบสวนว่ามี “เวียนเทียน”การมาเป็นกรรมการของกลุ่มสามพรานฟอรั่ม กลุ่มมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้และการมีผลประโยชน์อันมิควรได้จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนพี่น้อง เช่น สสส. สวรส. สช. สรพ. ฯลฯ หรือไม่?
       
       5.มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาทกำลังถดถอยและส่อจะล้มละลายในไม่ช้า ถ้ารัฐมนตรีไม่แก้ไขด่วน เพราะโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประสบปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรในการทำงานดูแลรักษาประชาชนทั้งการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัยโรค การรักษาความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้มีประชาชนสูงอายุป่วยติดบ้าน ติดเตียง พิการหรือมีอากรแทรกซ้อนจากการรักษา ทำให้มีคุณภาพชีวิตไม่ดี ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับประสบปัญหาความขาดแคลน “ทรัพยากร”ในการดูแลรักษาประชาชน กล่าวคือ
       5.1 ขาดงบประมาณที่จัดสรรโดยตรงให้แก่กระทรวง ต้องไปขอจากสปสช. ที่ไม่สนใจรับฟังปัญหาจากกระทรวงสาธารณสุข
       5.2 ขาดอาคารสถานที่เครื่องมือ/เตียง ฯลฯ ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล
       5.3 ขาดบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้ตามมาตรฐาน
       
       ข้อเสนอสุดท้ายคือถึงเวลาที่กระทรวงสาธารณสุข จำเป็นอย่างเร่งด่วน ในการที่จะต้องทบทวนกฎหมายหลายฉบับ เพื่อแก้ปัญหาในระบบ การทุจริตประพพฤติมิชอบ และนานาสารพัดปัญหาที่กล่าวมาแล้ว และยังกล่าวไม่หมด ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำให้มาตรฐานการพทย์และสาธารณสุขในกระทรวงสาธารณสุข ก้าวหน้าและเท่าเทียมกับมาตรฐานของรพ.เอกชนที่รัฐบาลพยายามส่งเสริมให้เป็น Medical Hub ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึง (ได้รับ) บริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐานที่ดี ได้รับความเป็นธรรม (equity) และยั่งยืนโดยประชาชนและประเทศชาติมีส่วนร่วมในการรักษาระบบและงบประมาณให้ยั่งยืนมั่นคงต่อไป

โดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา    
5 มกราคม 2559
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000001292