ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟเขียวฝูงอัลฟาเจ็ตโจมตีเมฆอันตรายสกัดลูกเห็บถล่มเหนือ  (อ่าน 1399 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
เรดาร์สำนักงานฝนหลวงภาคเหนือพบกลุ่มเมฆอันตราย ประสานทอ.ไทย ส่งฝูงบินรบอัลฟาเจ็ต กองบิน 41 เข้าโจมตี ก่อนที่จะก่อตัวเป็นพายุลูกเห็บตกใส่บ้านเรือนและพืชไร่สวนเกษตรยับ...

เมื่อ วันที่ 22 มี.ค.2554 ที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ กองบิน 41 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายทรง กลิ่นประทุม หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ได้เปิดประชุมการใช้ฝูงบินโจมตีอัลฟาเจ็ต (ALPHA JET) ของกองบิน 41 จ.เชียงใหม่ เข้าปฏิบัติการโจมตีเมฆที่จะทำให้ก่อพายุลูกเห็บขึ้นในหลายพื้นที่ของภาค เหนือ โดยมีนักบินของฝูงบินรบ ALPHA JET เข้าร่วมฟังแผนการปฏิบัติงานในครั้งนี้

นายทรง กลิ่นประทุม หัวหน้าศูนย์ปฎิบัติการฝนหลวงฯ กล่าวว่า ทางศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้พยากรณ์อากาศว่าในช่วงตั้งแต่วันที่ 22-24 มี.ค.นี้ จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตก ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อบ้านเรือน และพืชสวนไร่นาเกษตรกร ทางศูนย์ปฎิบัติการฝนหลวงฯได้เฝ้าติดตามทางจอมอร์นิเตอร์เพื่อตรวจหากลุ่ม เมฆที่จะทำให้ก่อให้เกิดพายุลูกเห็บ โดยนำเครื่องบินขึ้นตรวจการณ์ร่วมด้วยเมื่อพบว่าเมฆฝนที่มีลักษณะที่จะเป็น พายุลูกเห็บ คือ เมฆที่มีความสูงตั้ง 6 กม. ขึ้นไปและมีลักษณะที่มองแล้วเหมือนกระหล่ำ จะเป็นเมฆที่ก่อตัวอย่างรุนแรง ทางสำนักฝนหลวงฯ ก็จะส่งเครื่องบินอัลฟาเจ็ต ที่เป็นเครื่องที่กองทัพอากาศ และกระทรวงเกษตรฯได้น้อมเกล้าพระราชทานไว้ 2 เครื่องที่มีความเร็วสูงขึ้นไปปฏิบัติการโดยขบวนการวิธีเมฆเทียม

ขบวน การเมฆเทียมก็จะเกิดการเป็นฝน ทำให้เกิดเป็นเกล็ดน้ำแข็งขนาดเล็ก พอตกผ่านชั้นบรรยากาศลงมาก็จะเป็นฝนไม่ เป็นลูกเห็บ ก็จะไม่สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้น การปฎิบัติการในครั้งก็เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะทำให้เกิดพายุลูกเห็บ สำหรับโครงการนี้ทางเราเริ่มทำกันมาตั้งแต่ปี 2551 ในระยะนี้จึงเป็นระยะของการวิจัยยืนยันผลกันอยู่ แต่ก็ได้มีการน้อมเกล้าถวายรายงานให้ทรงทราบเป็นระยะ ซึ่งการทำลายเมฆฝนที่จะก่อพายุลูกเห็บเมื่อปีที่ผ่านมาก็ได้ผลเป็นอย่างดี ทุกการปฏิบัติการ จะไม่เกิดพายุลูกเห็บขึ้นมาเลย

ทางสำนักฝนหลวงฯ จะต้องเลือกที่เห็นว่าจะเกิดพายุลูกเห็บขึ้น โดยในช่วงวันสองวันความกดอากาศสูงค่อนข้างแรงจะเกิดพายุลูกเห็บขึ้นได้ ดังนั้นทางเราจึงต้องเฝ้าระวังโดยประสานความร่วมมือกับทางศูนย์ อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือไว้ด้วยและนักวิทยาศาสตร์ของเราก็จะมาร่วมกัน วิเคราะห์ว่าโอกาสการเกิดพายุลูกเห็บมีมากน้อยแค่ไหน จะต้องมีการตรวจสอบ อย่างใกล้ชิด ทั้งทางเรดาร์ฝนหลวง และเรดาณของกรมอุตุนิยมวิทยาฯ และ ทางเครื่องบินที่เรานำขึ้นไปทำเมฆฝน ก็ต้องดูว่ามีแนวโน้มที่จะให้เกิดพายุลูกเห็บได้ในบริเวณใดบ้าง หากเข้าเกณฑ์ก็จะส่งเครื่องอัลฟาเจ็ตขึ้นไป

สำหรับการใช้เครื่องบิน อัลฟาเจ็ต เข้าโจมตีสลายเมฆที่จะก่อพายุลูกเห็บ ถือเป็นเรื่องที่มีการทำกันมาตั้งแต่ปี 2551 เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ฝนหลวงฯ กระทรวงเกษตรและกองทัพอากาศ และได้ประสบความสำเร็จด้วยดี และในช่วง 22-24 มี.ค.มีแนวโน้มว่าจะเกิดพายุลูกเห็บจึงต้องมีการเฝ้าระวังหากตรวจพบก็จะส่ง เครื่องบินออกโจมตีสลายเมฆฝนที่จะทำให้เกิดพายุลูกเห็บขึ้น

ทั้งนี้ ทางศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ได้พยากรณ์อากาศว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน แล้ว คาดว่าจะแผ่ปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในช่วงเย็นวันนี้ (22 มี.ค.54) ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้ นและอากาศจะเย็นลง โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกก่อน ส่วนบริเวณอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในช่วงวันที่ 22-24 มีนาคม 2554

ไทยรัฐออนไลน์
23 มีค 2554