ผู้เขียน หัวข้อ: "กัญชา-กัญชง"กระฉูด! สธ.ออกประกาศปลดล็อกสารสกัด บางส่วนออกจากยาเสพติดประเภท 5  (อ่าน 312 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
1ก.ย.62-สธ.ออกประกาศฯ ปลดล็อกสารสกัดในพืชกัญชงและกัญชาตามคุณสมบัติที่กำหนดไม่เป็นยาเสพติดประเภท 5 และให้ใช้เมล็ดกัญชงหรือน้ำมันหรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางได้ พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศใช้ประโยชน์กัญชงนอกเหนือจากเส้นใย หวังเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ นำรายได้เข้าประเทศ

นายอนุทิน ชาญวีรกุล.jpgนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงฯ ยกเว้นสารสกัดจากกัญชาและกัญชงและบางส่วนของพืชกัญชง ให้ไม่ต้องถูกควบคุมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5  เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยา นำรายได้เข้ามาสู่ประเทศต่อไป โดยประกาศฯ ได้กำหนดให้                    สารสกัดในพืชกัญชงและพืชกัญชา ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5  ได้แก่ แคนนาบิไดออล (CBD) บริสุทธิ์ และผลิตภัณฑ์ที่มี CBD เป็นส่วนประกอบหลักและสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในสัดส่วนที่น้อยกว่าร้อยละ 0.2 เช่นเดียวกับหลายประเทศ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการผลิตยาหรือสมุนไพร รวมทั้งในกรณีของกัญชงได้มีการยกเว้นให้เมล็ดกัญชงหรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed /Hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed extract) ให้สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ ในระยะ 5 ปีแรกยังกำหนดให้ยกเว้นเฉพาะสำหรับการผลิตในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศได้ใช้ประโยชน์จากกัญชงในการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อื่น นอกเหนือจากประโยชน์ด้านเส้นใย เพื่อพัฒนาพืชกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ

          นอกจากนี้ คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ยังได้ออกประกาศกำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ แยกพืชกัญชงกับพืชกัญชาให้ชัดเจนด้วย โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

ทางด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ อย. อยู่ระหว่างเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับกัญชง พ.ศ. 2559 จากเดิมที่มีบทเฉพาะกาล 3 ปีให้เฉพาะหน่วยงานของรัฐขออนุญาตได้  เป็นให้ภาคเอกชนสามารถขออนุญาตได้ด้วย และเปิดกว้างให้สามารถพัฒนา      การปลูกกัญชงไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากเดิมที่เน้นการใช้ประโยชน์เส้นใย พร้อมกันนี้ อย. จะต้องออกกฎ ระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เพื่อให้รองรับการนำกัญชงไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าของกัญชง เพื่อพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศต่อไป ขอให้ผู้ประกอบการที่มีความสนใจจะดำเนินการเกี่ยวกับกัญชง ติดตามความคืบหน้าได้จากเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th

1 กันยายน พ.ศ. 2562
https://www.thaipost.net/main/detail/44737