ผู้เขียน หัวข้อ: ลับ ลวง พราง (Mars Magazine No.95)  (อ่าน 2569 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ลับ ลวง พราง (Mars Magazine No.95)
« เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2010, 10:14:41 »
 หลายสิ่งที่เรารู้จากหนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อครอบจักรวาลอย่างอินเทอร์เน็ตอาจเป็นเรื่องไกลตัว หรือซับซ้อนเกินกว่าความเข้าใจของเรา สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เราเครียด หรือเบื่อหน่ายโลกที่หมุนเร็วเกินไปโดยไม่รู้ตัว เราจึงลองหันมาสนใจ เข้าใจ จับตาของเราสองข้างมองโดยใช้ทักษะการสังเกตเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไร้สาระรอบตัวในสังคมที่เราคุ้นเคย และรวบรวมทำเป็น(ไร้)สารานุกรมฉบับต่างๆ ที่คุณไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ แต่เราอยากเล่าเอามันส์และใส่ข้อมูลฝากไว้ให้รกสมองคุณ

 คุ้นๆ ว่าเคยได้ยินจอห์น กัลลิเอโน แห่งคริสเตียน ดิออร์ ประกาศไว้ว่าปีนี้ “ลายพรางจะมาแทนลายเสือ” ท่าจะจริงแฮะ เพราะเราเห็นพี่ทหารสวมชุดพรางนั่งอยู่ในเต็นท์เชิงสะพานพระรามแปดทุก วี่วัน... อะล้อเล่ง...ความจริงคือเห็นดีไซเนอร์แบรนด์หรูตบเท้าออกคอลเล็กชั่นลายพราง กันหลายเจ้าต่างหาก ล่าสุดคือคอลเล็กชั่น Men Fall / Winter 2010 ของปราด้า ที่อัดลายพรางใส่กระเป๋าทรงเท่มาให้หนุ่มๆ เลือกกันละลานตาไหนๆ ก็เชื่อตามเจ๊จอห์นแล้วว่าลายพรางน่าจะอินจริง งั้น(ไร้)สารานุกรมขออัพเดตเรื่องนี้หน่อยดีกว่า เดี๋ยวจะหาว่าเอาต์!

    * ใน ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา คำว่าพรางที่เราได้ยินบ่อยที่สุดอยู่ในวลี ‘ลับ ลวง พราง’ อันเป็นชื่อหนังสือชุดขายดีของ ‘วาสนา นาน่วม’

    * พูดถึงลายพราง หลายคนนึกถึงเสธ.ทบ.ท่านหนึ่งที่สวมชุดพรางเป็นเครื่องหมายการค้า

    * ทหาร ยุคก่อนเขาไม่สวมชุดพรางไปรบกันหรอกนะ แต่จะสวมเครื่องแบบสีสันฉูดฉาดสะดุดตา ให้ดูน่าเกรงขามและแยกพวกได้ง่ายมาถึงยุคที่อาวุธถูกพัฒนาให้ใช้ในระยะไกล ได้ จึงเริ่มปรับมาใช้สีพื้นๆอย่างเขียวเข้มหรือเทาเข้ม แล้วจึงพัฒนามาเป็นสีกากี

    * เวลาพูดถึง ‘สีกากี’ เราจะนึกถึงตำรวจ ตามสีของเครื่องแบบ

    * ส่วน ชื่อสี ‘กากี’ ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับชื่อนางในวรรณคดี ‘กากี’ ผู้มากชู้ โดยรากศัพท์ของคำนี้จริงๆ มาจากภาษาเปอร์เซีย หมายถึงฝุ่น

    * ต้น กำเนิดของการใช้เครื่องแบบสีเปื้อนฝุ่นมาจากความสกปรก! เครื่องแบบสีขาวของกองทัพอังกฤษในอินเดียเปรอะเปื้อนโสโครก จนหัวหน้าหน่วยสั่งให้ทุกคนใช้ใบชา ผงกะหรี่ หรือดิน ย้อมให้เครื่องแบบเป็นสีโทนเดียวกัน ผลพลอยได้คือสีกากีช่วยเรื่องการพรางตัวได้ดีด้วย

    * ถ้า เราคุยกับคนฝรั่งเศส สีกากีของเขาอาจไม่ได้หมายถึงสีโทนน้ำตาลอย่างของเรา แต่จะเป็นสีเขียวมะกอกเข้มๆ คล้ายเขียวทหารมากกว่า

    * ใน สายตาของคน การพรางตัวด้วยลายขาว-ดำของม้าลายอาจจะดูไม่เข้าท่า แต่อย่าลืมว่าสิงโตตาบอดสีและมองไม่เห็นหรอกว่าสีขาว-ดำนั้นตัดกับสีน้ำตาล ของทุ่งหญ้า มันเห็นแค่ริ้วๆ กลืนกันไป ยิ่งถ้าม้าลายอยู่เป็นฝูงยิ่งแยกไม่ออกเลยว่ามีอาหารอันโอชะอยู่ตรงหน้า

    * ม้าลาย ที่แลดูคล้ายๆ กันหมดทุกตัวไม่เคยสับสนกันเอง เพราะลายของแต่ละตัวเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน ที่ม้าลายด้วยกันแยกออกสัตว์แต่ละประเภทมีวิธีพรางตัวแตกต่างกันไป แต่ที่เราคิดว่าเจ๋งสุดๆ คือแมงมุมชนิดหนึ่งที่พรางตัวเป็นขี้นก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกนกกิน!

    * นักวาดภาพลายพรางให้กองทัพคนแรกของโลกเป็นศิลปินชาวปารีสเขาเริ่มจากการวาดลาย ผ้าใบไว้คลุมปืนใหญ่ซึ่งได้ผลดี จนกองทัพฝรั่งเศสจัดตั้งหน่วยงานสำหรับวาดลายพรางขึ้นเป็นหน่วยแรกของโลก

    * ช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง นักมายากล แจสเปอร์ มาสเคลีน (Jasper Maskelyne) เคยช่วยกองทัพอังกฤษพรางตาศัตรู โดยใช้ผ้าใบและไม้อัดทำให้รถจี๊ปดูเหมือนรถถัง และทำให้รถถังดูเหมือนรถบรรทุกพลเรือน

    * เขา ย้ายเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ให้อยู่ห่างจากตำแหน่งจริงออกไป 3 ไมล์ โดยทำตึกปลอม ประภาคารปลอม และจำลองแสงสียามค่ำ เพื่อล่อลวงนักบินทิ้งระเบิดของเยอรมนีให้พลาดเป้า

    * ปิ กัสโซเคยอ้างว่าศิลปินแนวคิวบิสม์เป็นผู้คิดค้นลายพราง แต่แทบไม่มีหลักฐานว่ามีศิลปินแนวนี้ถูกจ้างให้วาดลายพรางจริงๆ จังๆ สักคน

    * เหล่า นักสะสมเชื่อกันว่า ถ้าฮิตเลอร์ไม่บ้าครองโลก เขาจะเป็นศิลปินที่ยอดเยี่ยม เพราะเขาควบคุมการพัฒนาลายพรางของกองทัพเยอรมนีด้วยตัวเอง ซึ่งทุกวันนี้ลายพรางเยอรมันก็ยังเป็นต้นแบบลายพรางขั้นเทพ

    * แอ นดี วอร์ฮอล ศิลปินป๊อปอาร์ตชื่อดัง วาดภาพตัวเองโดยมีโฟร์กราวด์เป็นลายพราง ไม่กี่เดือนก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1987

    * สมัย ก่อนชุดพรางแต่ละชุดเป็นงานแฮนด์เมด จึงสงวนไว้สำหรับนักแม่นปืนหรือหน่วยสอดแนมเท่านั้น เพราะอย่างนี้เครื่องแบบลายพรางของแท้จึงอาจได้ราคาจากนักสะสมสูงถึง 3-4 หมื่นบาท

    * กว่า จะมาเป็นลายพรางได้ไม่ใช่แค่นั่งจินตนาการแล้วป้ายสีเอาตามใจเดี๋ยวนี้กอง ทัพจะใช้เทคโนโลยีศึกษาเฉดสีต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมแล้วนำเข้าโปรแกรมประมวลผลออกมาเป็นสีที่ควรใช้ทำลายพราง

    * ชุด พรางของแต่ละประเทศและแต่ละหน่วยรบมีสีสันแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ เช่น ชุดพรางโทนเขียวสำหรับรบในป่าโทนน้ำตาลสำหรับทะเลทราย และสีขาวสำหรับฤดูหนาวที่หิมะปกคลุม

    * ส่วนกองทัพไทยใช้ชุดลายพรางสองแบบ คือลายพรางป่า (วู้ดแลนด์) และลายเสือ (ไทเกอร์)

    * ใน หลายประเทศที่สถานการณ์บ้านเมืองไม่สงบ จะห้ามไม่ให้พลเรือนรวมถึงนักท่องเที่ยวสวมเสื้อผ้าที่มีลายพราง เพราะกลัวว่าจะทำให้เกิดความสับสนจนเป็นอันตรายแก่ผู้สวมใส่ เช่นเดียวกับในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ของเราซึ่งห้ามพลเรือนแต่งชุดทหาร เนื่องจากเคยมีผู้ประสงค์ร้ายแต่งตัวเลียนแบบเจ้าหน้าที่มาก่อความไม่สงบ เพื่อสร้างความเกลียดชัง

    * กระทั่ง ในกรุงเทพฯ ถ้าเราสวมชุดพรางแฟชั่นแต่ดันพลั้งเผลอทำตัวกร่างหรือทำไม่ดีไม่งามไป อาจถูกปรับหรือจำคุกในข้อหาทำให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าเป็นทหาร หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่ราชการทหาร!

    * เทคโนโลยี การตรวจจับสมัยใหม่ทำให้ลายพรางต้องพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เป็นลายพรางดิจิตอล คือแตกลายเป็นพิกเซลสี่เหลี่ยมเล็กๆ เพื่อลดความชัดของเส้นขอบชุด ทำให้ผู้สวมใส่ดูกลมกลืนกับพื้นหลังได้มากที่สุด

    * การ ทาสีเพื่อพรางเรือหรือเครื่องบินรบใช้ไม่ได้แล้วในยุคนี้ทางการทหารเลยหันมา ใช้เทคโนโลยีสตีลท์ (Stealth) แทน คือหลีกเลี่ยงการตรวจจับของเรดาร์และรังสีอื่นๆ ด้วยการออกแบบเครื่องบินให้โค้ง บิดเบือนการตกกระทบของรังสี และใช้สีหรือวัสดุประเภทดูดซับรังสีมาช่วย

    * สำหรับ การพรางตัวขั้นสุดยอด ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ผ้าคลุมล่องหนของแฮร์รี พอตเตอร์ หรือผ้าคลุมกำบังกายของนินจาฮาโตริได้แล้วในห้องแล็บ โดยใช้วัสดุสังเคราะห์พิเศษร่วมกับการสั่นสะเทือนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อเบี่ยงเบนแสงที่สะท้อนเข้าตามนุษย์ไว้รอบวัตถุ ทำให้เรามองไม่เห็นวัตถุนั้นๆ ด้วยตาเปล่า