ผู้เขียน หัวข้อ: ไททานิค-โศกนาฏกรรมทางเรือครั้งยิ่งใหญ่(สำหรับผู้ที่ชอบติดตามเรื่องไททานิค)  (อ่าน 2501 ครั้ง)

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1911 เรือไททานิกถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก ไททานิกที่ต่อเสร็จแล้วได้กลายเป็นพาหนะที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคนั้น มีความยาว 268 เมตร กว้าง 28 เมตร และความสูงวัดจากท้องเรือถึงสะพานเดินเรือ (สะพานเดินเรือหมายถึงห้องควบคุมเรือที่อยู่บนดาดฟ้า) 30 เมตร พิธีปล่อยเรือถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และมีผู้เข้าชมถึง 100,000 คน หลังจากใช้เวลาตกแต่งหลายเดือน ในที่สุด ไททานิกก็กลายเป็นเรือเดินสมุทรสุดหรูหรา ไททานิกมีระวาง 46,300 ตัน ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก 1,000 ตัน บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือได้เต็มที่ถึง 3,547 คน มีเครื่องยนต์ที่มีพลังแรงถึง 46,000 แรงม้า (เปรียบเทียบกับรถยนต์นั่งขนาดกระบอกสูบ 2,000 ซีซี. มีกำลังราว 130-140 แรงม้า) ทุ่มค่าก่อสร้างไปถึง 7,500,000 ดอลลาร์และค่าตกแต่งอีก 2,500,000 ดอลลาร์ รวมเป็น 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าคิดเทียบเป็นค่าของเงินในปัจจุบันจะเป็นมูลค่าถึง 400 ล้านดอลลาร์ (ราวสองหมื่นล้านบาท) ทีเดียว วันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือไททานิกออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์จากท่าเรือเซาแทมป์ตันในอังกฤษโดยมีจุด หมายปลายทางคือเมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ผู้โดยสารในเที่ยวนั้นประกอบด้วยบุคคลชั้นสูงในวงสังคมของอังกฤษ ยุโรป และสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก ไททานิกมีห้องชุด (suite) ระดับวีไอพีซึ่งมีดาดฟ้าชมทิวทัศน์ส่วนตัวถึง 2 ห้อง ค่าโดยสารชั้นวีไอพีนี้มีราคาสูงถึง 4,350 ดอลลาร์ (เที่ยวเดียว ที่จริงในสมัยนั้นคิดเป็นเงินปอนด์ แต่แปลงค่าเป็นเงินดอลลาร์อเมริกันเพราะให้สะดวกในการนึกเปรียบเทียบ) คิดเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบันก็ตกราว 50,000 ดอลลาร์หรือราว 250,000 บาท มีห้องชั้นหนึ่ง 67 ห้อง ราคา 150 ดอลลาร์ (ปัจจุบันราว 1,725 ดอลลาร์) ภายในห้องทั้ง 67 ห้องนี้มีการตกแต่งในสไตล์ต่าง ๆ กัน อาทิ แบบหลุยส์ แบบอิตาเลียนเรอเนซองส์ แบบดัตช์ ฯลฯ แถมบางห้องยังมีเตาผิงอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีสิ่งปรนเปรอความสุขอีกหลายอย่าง อาทิ มีห้องอบไอน้ำแบบตุรกี (Turkish Bath) มีลานสำหรับเล่นสควอชซึ่งจัดว่าเป็นเรื่องที่ทันสมัยมากในยุคนั้น มีสระว่ายน้ำ (ถือเป็นสระว่ายน้ำในเรือแห่งแรกของโลก) มีห้องออกกำลังกาย ร้านตัดผม ห้องสมุด ฯลฯ คาเฟทีเรียในเรือมีการประดับประดาอย่างหรูหรารวมทั้งมีการนำต้นปาล์มจริงๆมา ประดับอีกด้วย ทำให้เรือเดินสมุทรลำนี้เป็นเรือสำราญที่หรูหรามากชนิดที่สายการเดินเรือคิว นาร์ดตามไม่ทัน สายการเดินเรือไวต์สตาร์จัดการเดินทางรอบปฐมฤกษ์ของเรือไททานิกในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 โดยเดินทางจากท่าเรือเซาแทมป์ตันของอังกฤษไปยังเมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการเดินทางรอบปฐมฤกษ์นี้เป็นแผนการประชาสัมพันธ์เรือไททานิกด้วย ดังนั้นจึงมีบุคคลสำคัญและบุคคลในวงสังคมชั้นสูงทั้งของอังกฤษ ยุโรป และสหรัฐอเมริการ่วมเดินทางไปด้วยเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง เจ. พี มอร์แกน เจ้าของไวต์สตาร์ เจ. บรูซ อิสเมย์ ผู้จัดการไวต์สตาร์ รวมทั้งยังมีทอมัส แอนดรูวส์ วิศวกรอาวุโสของอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์และวูลฟฟ์ผู้ออกแบบและควบคุมการต่อเรือ ไททานิก แต่ต่อมามอร์แกนยกเลิกการเดินทางกะทันหันเนื่องจากล้มป่วย กัปตันเรือไททานิกก็ไม่ใช่ใครอื่น กัปตันเอ็ดเวิร์ด สมิท นั่นเอง กัปตันสมิทเป็นกัปตันเรือที่เก่งกาจและมีค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้น การเดินทางในเที่ยวนี้จะเป็นเที่ยวสั่งลาในอาชีพกัปตันเรือเพราะหลังจากนั้น กัปตันสมิทก็จะเกษียณแล้ว แม้ไททานิกจะถูกออกแบบมาให้เป็นเรือที่ใช้ในได้ในทุกฤดูกาลของปี แต่การเดินทางในช่วงนี้ก็ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะธารน้ำแข็งแถบกรีนแลนด์จะ ละลายและก่อให้เกิดภูเขาน้ำแข็งเคลื่อนตัวลงมาในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ และลอยตามกระแสน้ำในมหาสมุทรลงมาทางใต้ ออกเดินทาง ( เที่ยวสุดท้าย) ในเช้าวันเดินทาง ตามกฎการเดินเรือ เจ้าหน้าที่ประจำเรือจะต้องมีการฝึกซ้อมการใช้เรือชูชีพในกรณีเกิดเหตุฉุก เฉิน การฝึกซ้อมในเช้านั้นทำขึ้นพอเป็นพิธีเท่านั้น ดังนั้นจึงมีลูกเรือมาฝึกซ้อมเพียงไม่กี่นาย แต่เดิมไททานิกถูกออกแบบมาให้มีเรือชูชีพ 32 ลำ แต่ต่อมาถูกตัดออกเหลือเพียง 20 ลำซึ่งจุผู้โดยสารรวมกันได้เพียง 1,178 คนเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่าเกะกะ อีกทั้งเห็นว่าจำนวนเพียงเท่านี้ก็เหลือเฟือแล้วตามกฎหมายการเดินเรือในยุค นั้นที่กำหนดจำนวนเรือชูชีพตามน้ำหนักเรือเป็นเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้ โดยสาร ซึ่งในกรณีของไททานิก เรือชูชีพเพียงแค่ 962 ที่ก็เป็นการเพียงพอแล้วตามกฎหมาย ครั้นเวลาเที่ยง เรือไททานิกก็ออกเดินทางจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าก็หวุดหวิดจะเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากในช่วงนั้นเป็น ช่วงที่พนักงานเหมืองถ่านหินทำการประท้วงและนัดหยุดงาน ส่งผลให้เรือหลายลำต้องจอดแช่อยู่ที่ท่าเรือเนื่องจากไม่มีถ่านหินเป็นเชื้อ เพลิงสำหรับการเดินทาง แต่เนื่องจากไวต์สตาร์เป็นสายการเดินเรือใหญ่ จึงมีถ่านหินตุนอยู่บ้างทำให้ไททานิกสามารถออกเดินทางได้ จากการที่ท่าเรือค่อนข้างคับคั่ง เมื่อไททานิกอันเป็นเรือขนาดใหญ่มหึมาออกจากท่า ผลจากการเคลื่อนตัวของเรือทำให้น้ำกระเพื่อมและเกิดแรงดูดอันมหาศาลดึงเรือ ที่อยู่ใกล้เคียงเข้าหาเรือไททานิก เรือ นิวยอร์ก ถูกกระแสน้ำดูดจนเกือบชนเรือไททานิกโดยห่างเพียงหนึ่งเมตรกว่าๆเท่านั้นเอง โชคดีที่เบนเรือออกทัน อุบัติเหตุในครั้งนี้ก็เป็นสาเหตุเดียวกับที่เรือโอลิมปิกเกิดอุบัติเหตุชน กันจนต้องซ่อมใหญ่ก่อนหน้านี้นั่นเอง เมื่อออกจากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ไททานิกมุ่งหน้าไปยังเมืองแชร์บูร์กของฝรั่งเศสเพื่อแวะรับผู้โดยสาร 11 เมษายน ไททานิกแวะที่ท่าเรือเมืองควีนส์ทาวน์ในไอร์แลนด์ และในเวลา 13.30 น. ไททานิกก็ถอนสมอและมุ่งหน้าไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ใครจะทราบเล่าว่าการถอนสมอครั้งนั้นเป็นการถอนสมอครั้งสุดท้ายและเรือไท ทานิกจะจากไปอย่างไม่มีวันกลับ 12 - 13 เมษายน ทะเลสงบและอากาศแจ่มใส การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้โดยสารบนเรือต่างรื่นเริงกับการเดินทางอันหรูหราในครั้งนี้ 14 เมษายน ตามกำหนดการเดิม เช้าวันอาทิตย์ที่ 14 นี้จะต้องมีการซ้อมการใช้เรือชูชีพโดยมีผู้โดยสารร่วมฝึกซ้อมด้วย แต่การฝึกซ้อมได้ถูกยกเลิกไป แม้ในสมัยนั้นจะมีระบบโทรศัพท์เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่การติดต่อด้วยเสียงพูดระหว่างเรือหรือระหว่างเรือกับแผ่นดินยังไม่สามารถ ทำได้ ระบบที่มีอยู่ในตอนนั้นคือวิทยุโทรเลขซึ่งเป็นการส่งรหัสมอร์ส (Morse code) ด้วยคลื่นวิทยุ ในเรือแต่ละลำจะมีห้องวิทยุโทรเลขซึ่งมีเจ้าหน้าที่คอยรับส่งข้อความโดย เฉพาะเพราะต้องเป็นผู้ที่รู้จักรหัสมอร์ส ห้องส่งวิทยุโทรเลขบนเรือเดินสมุทรในยุคนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการแก่ ผู้โดยสาร เป็นหลัก เพราะการเดินทางโดยทางเรือนั้นต้องใช้เวลานาน จากหลายวันถึงเป็นเดือน ดังนั้นการติดต่อกับผู้ที่อยู่บนบกจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้โดยสาร ส่วนการใช้เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือนั้นเป็นวัตถุประสงค์รอง ในเรือไททานิกนี้ก็เช่นกัน ห้องวิทยุโทรเลขมีไว้เพื่อบริการผู้โดยสารเป็นหลัก เจ้าหน้าที่วิทยุโทรเลขนี้ไม่ใช่พนักงานประจำเรือ แต่เป็นพนักงานของบริษัทมาร์โคนีซึ่งเป็นต้นตำรับในการสื่อสารด้วยวิทยุ โทรเลข แม้แต่ใบโทรเลขในยุคนั้นที่จริงก็ไม่ได้เรียกว่า โทรเลข (telegram) แต่เรียกว่า มาร์โคนีแกรม (marconigram) อัตราค่าส่งวิทยุโทรเลขบนเรือไททานิกคิดเป็นเงิน 3.12 ดอลลาร์หรือเทียบเท่ากับ 36 ดอลลาร์ในสมัยนี้ซึ่งนับว่าสูงเอาการ เนื่องจากไททานิกเป็นเรือขนาดใหญ่ จุผู้โดยสารได้มาก ดังนั้นปริมาณการใช้บริการส่งวิทยุโทรเลขก็ต้องมากเป็นธรรมดา พนักงานรับส่งวิทยุโทรเลขจึงต้องทำงานค่อนข้างหนัก เมื่อว่างเว้นจากงานบริการผู้โดยสารแล้วจึงค่อยมาสะสางเรื่องการติดต่อเพื่อ การเดินเรือ อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีขั้นตอนการนำส่งข้อความแก่กัปตันเรืออย่างเป็น ระบบ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันแต่อย่างใดว่าข่าวสารจะถึงมือกัปตันหรือไม่ หรือถึงช้าเร็วเพียงใด เช้าวันที่ 14 เมษายน กัปตันสมิทสั่งเดินเครื่องเรือไททานิกเต็มที่ สำหรับสาเหตุของการเร่งเครื่องครั้งนี้มีผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่าเป็นไป ตามความต้องการของอิสเมย์ ผู้จัดการไวต์สตาร์ ที่ต้องการทำเวลาเพื่อให้ไปถึงนิวยอร์กก่อนกำหนดและเพื่อเป็นการลบสถิติที่ เรือโอลิมปิกซึ่งเป็นเรือพี่ในชุด 3 ใบเถานี้เคยทำไว้ ไททานิกจึงแล่นด้วยความเร็วถึง 22.5 นอต (1 นอตคือ 1 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง, 1 ไมล์ทะเลหรือ nautical mile นี้เท่ากับ 1.85 กิโลเมตร) ซึ่งเกือบถึงความเร็วสูงสุดของเรือ (23 นอต)

และในวันเดียวกันนี้เอง ไททานิกได้รับวิทยุโทรเลขเตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือถึง 7 ครั้ง (เอกสารบางแหล่งระบุว่า 6 ครั้ง) จากเรือเดินสมุทรในสายแอตแลนติกเหนือ อาทิ จากเรือแคโรเนีย บอลติก อเมริกา แคลิฟอร์เนียน และเมซาบา ฯลฯ และที่ร้ายก็คือ เมื่อเวลา 21.45 น. ไททานิกได้รับวิทยุโทรเลขเตือนว่ามีภูเขาน้ำแข็งและน้ำแข็งกระจัดกระจายอยู่ ในเส้นทางข้างหน้า แต่พนักงานวิทยุโทรเลขไม่ได้ส่งข้อความนั้นให้แก่กัปตันหรือเจ้าหน้าที่เรือ คนใดเลย ทั้งนี้ เพราะมัวยุ่งอยู่กับการส่งวิทยุโทรเลขให้แก่ผู้โดยสารในเรือนั่นเอง

นาทีมรณะ เวลา 22.50 น. ทะเลสงบไร้ระลอก มหาสมุทรเงียบสงัด คงมีแต่เสียงหัวเรือแหวกน้ำทะเล เรือเดินสมุทรแคลิฟอร์เนียนซึ่งอยู่ไม่ไกลนักได้ส่งข่าวเตือนภัยแก่ไททานิ กว่าเรือแคลิฟอร์เนียนต้องหยุดเรือไม่สามารถเดินทางต่อไปได้เพราะถูกห้อม ล้อมไปด้วยน้ำแข็ง เวลา 23.40 น. เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ 2 คนที่อยู่บนเสากระโดงเรือมองเห็นภูเขาน้ำแข็งในระยะกระชั้นชิด คืออยู่ห่างออกไปราว 450 เมตร และส่งสัญญาณเตือนภัย ควรทราบไว้ด้วยว่าเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์นั้นเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญมาก ตามปกติต้องว่าจ้างผู้ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษมาทำหน้าที่ ไม่ใช่ลูกเรือทั่วไปก็สามารถทำได้ และอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือกล้องส่องทางไกล แต่ในการเดินทางของไททานิกเที่ยวนี้เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ไม่มีกล้องส่อง ทางไกลเพราะหากล้องไม่พบเนื่องจากมีการย้ายที่เก็บ รวมทั้งก่อนเกิดเหตุเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์คนหนึ่งได้เปรยขึ้นมาว่าได้กลิ่น น้ำแข็งที่โชยมาจากภูเขาน้ำแข็ง แต่เนื่องจากไม่มีกล้องส่องทางไกลจึงยังไม่เห็นสิ่งใด วิลเลียม เมอร์ด็อก ซึ่งอยู่เวรในขณะนั้นสั่งให้หยุดเรือ เดินเครื่องถอยหลัง และเบนเรือไปทางซ้าย แต่ทุกอย่างสายไปเสียแล้ว เพราะภายในเวลาประมาณ 40 วินาทีเท่านั้นไททานิกที่แล่นด้วยความเร็วสูงก็พุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็ง ทางกราบขวา

เวลา 23.50 น. กัปตันสมิทได้เชิญทอมัส แอนดรูวส์ วิศวกรผู้ออกแบบเรือไททานิกให้ช่วยประเมินความเสียหายของท้องเรือ หลังจากที่แอนดรูวส์ได้สำรวจท้องเรือแล้วแจ้งให้ทราบว่าเรือไททานิกมีห้อง ผนึกน้ำ (watertight compartment เป็นปริมาตรในท้องเรือที่ถูกแบ่งซอยออกเป็นห้องๆโดยมีประตูกั้นน้ำไว้ ทั้งนี้เพื่อว่าเมื่อเรือรั่วจะได้ท่วมเฉพาะห้องผนึกน้ำเพียงห้องใดห้อง หนึ่ง ไม่ท่วมไปทั้งลำเรือ ทำให้เรือไม่จม) 16 ห้อง หากน้ำรั่วเข้าเรือเพียง 4 ห้องก็ยังสามารถลอยเรืออยู่ได้ แต่ขณะนี้มีน้ำรั่วเข้ามาถึง 5 ห้องแล้ว แอนดรูวส์ประเมินว่าเรือทั้งลำจะจมลงภายในเวลา 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น เที่ยงคืน กัปตันสมิทสั่งเจ้าหน้าที่วิทยุโทรเลขให้ส่งสัญญาณซีคิวดี (CQD เป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ สัญญาณขอความช่วยเหลือที่ใช้ในสมัยนั้นมี 2 สัญญาณ คือ CQD และ SOS) และยิงพลุขอความช่วยเหลือ รวมทั้งสั่งให้ลูกเรือเตรียมเรือชูชีพให้พร้อม 15 เมษายน เวลา 00.25 น. ผู้โดยสารในเรือเกิดความโกลาหลวุ่นวายเพราะไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น กัปตันสมิทสั่งให้ลูกเรือเริ่มพาผู้โดยสารลงเรือชูชีพ กัปตันสมิททราบดีว่าเรือชูชีพที่มีอยู่ไม่สามารถช่วยผู้โดยสารทั้งหมดได้ จึงได้สั่งให้จัดสตรีและเด็กลงเรือก่อน ในขณะเดียวกัน เรือคาร์เพเทียของสายการเดินเรือคิวนาร์ดอันเป็นคู่แข่งของไวต์สตาร์และอยู่ ห่างจากไททานิกออกไป 93 กิโลเมตรก็ได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือและรีบมุ่งหน้ามาช่วยด้วยความเร็ว เต็มพิกัด ยิ่งนาน เรือก็ยิ่งจมลงต่ำ ความโกลาหลก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ทุกคนต่างก็ทะลักมาอยู่ที่ดาดฟ้าเรือเพื่อแย่งกันลงเรือชูชีพ เจ้าหน้าที่จึงปิดกั้นทางเดินของผู้โดยสารชั้น 3 ไว้ไม่ให้ขึ้นมาที่ดาดฟ้าเรือเพื่อลดความวุ่นวายบนดาดฟ้าเรือ รวมทั้งมีการใช้อาวุธปืนยิงผู้โดยสารเพื่อควบคุมสถานการณ์ด้วย เพราะว่าขาดการฝึกซ้อมเหตุฉุกเฉิน เหล่าลูกเรือจึงจัดผู้โดยสารขึ้นเรือชูชีพได้ไม่เร็วนัก อีกทั้งด้วยความไม่มั่นใจในความแข็งแรงของเสาเดวิต (davit เสาที่ห้อยเรือชูชีพไว้ เสานี้จะมีรอกเพื่อหย่อนเรือลงน้ำด้วย) จึงบรรทุกผู้โดยสารไม่เต็มลำเรือ เรือชูชีพลำแรกที่ถูกปล่อยลงทะเลมีผู้โดยสารเพียง 28 คนเท่านั้นจากที่บรรทุกได้เต็มที่ 65 คน! และนี่เองเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้รอดตายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น สถานการณ์วิกฤตยิ่งขึ้นเรื่อยๆในขณะที่เจ้าหน้าที่พยายามเร่งช่วยสตรีและ เด็กลงเรือชูชีพ ส่วนพนักงานวิทยุโทรเลขก็พยายามส่งสัญญาณขอความช่วยเหลืออย่างไม่หยุดหย่อน ภาพชีวิตบนเรือไททานิกในขณะนั้นมีหลากหลาย มีทั้งดิ้นรน ทั้งสิ้นหวัง ระคนกันไป แม้มีเงินมากมายเท่าใดก็ไม่อาจช่วยให้ตนรอดชีวิตได้ เมื่อถึงคราวคับขัน แต่ละคนก็แสดงธาตุแท้ของตนออกมา พวกผู้ชายที่คุมสติได้ก็พยายามยิ้มรับความตายอย่างอาจหาญ บางคนกลับไปแต่งชุดใหญ่เต็มยศเพื่อรอรับความตาย บางคนก็ไปนั่งถีบจักรยานอยู่กับที่ในห้องออกกำลังกายฆ่าเวลา สตรีบางคนปฏิเสธที่จะไปกับเรือชูชีพเพราะต้องการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสามีใน ยามวิกฤตของชีวิต ในขณะที่ชายบางคนกลับเอาผ้ามาคลุมศีรษะเพื่อพรางตัวเป็นสตรีและลงไปในเรือ ชูชีพเพื่อเอาตัวรอด เหล่านักดนตรีได้แสดงสปิริตอย่างน่าชื่นชม พวกเขาพยายามเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตื่นตระหนกของคนบนเรือตลอดเวลา เมื่อห้องโถงด้านหัวเรือจมต่ำลงก็ย้ายไปเล่นที่ดาดฟ้าด้านท้ายเรือ และบรรเลงไปจนนาทีสุดท้ายของชีวิต เวลา 2.05 น. เรือชูชีพลำสุดท้ายจากไททานิกไป ขณะนั้นด้านหัวเรือจมไปหมดแล้ว คนที่ยังอยู่บนเรือพากันมาชุมนุมที่ดาดฟ้าตอนท้ายเรือ

เวลา 2.18 น. มีเสียงดังกึกก้องกัมปนาทจากบนเรือ ไฟบนเรือดับทั้งหมด จากนั้นไม่นานไททานิกก็จมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติกท่ามกลางคืนอันหนาวเหน็บ และมืดมิด คงเหลือไว้เพียงเรือชูชีพที่บรรทุกสตรีและเด็กและร่างที่ลอยคออยู่ใน มหาสมุทรเป็นจำนวนมาก ผู้ที่ลอยคออยู่ในมหาสมุทรแม้จะมีเสื้อชูชีพแต่ก็เสียชีวิตเกือบทั้งหมด เนื่องจากความหนาวเย็นของน้ำทะเล ส่วนกัปตันสมิทเชื่อว่าเสียชีวิตไปพร้อมกับเรือไททานิก ผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นบางคนเล่าว่าขณะที่ตนอยู่ในเรือชูชีพ ได้เห็นเรือลึกลับลำหนึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในระยะไกล แต่ก็ไม่มาช่วย รวมทั้งบางคนยังเล่าว่าเห็นเรือไททานิกหักออกเป็น 2 ท่อนโดยส่วนหัวจมลงไปก่อน หลังจากนั้นท่อนท้ายที่ถูกยกขึ้นมาก็หักกลาง จากนั้นท่อนท้ายเรือก็จมตามลงไป เวลา 3.30 น. เรือคาร์เพเทียมาถึงที่เกิดเหตุหลังจากที่ไททานิกจมไปกว่าหนึ่งชั่วโมง คาร์เพเทียใช้เวลาอยู่ ณ ที่เกิดเหตุจนถึง เวลา 8.50 น. จึงออกเดินทางมุ่งสู่นิวยอร์ก โดยช่วยผู้ที่รอดชีวิตจากเรือมรณะมาได้ 705 คน 18 เมษายน เวลาประมาณ 9.00 น. เรือคาร์เพเทียก็ได้มาถึงเมืองนิวยอร์ก มีผู้ที่มารอที่ท่าเรือถึงหนึ่งแสนคนเพื่อรอรับฟังข่าวภัยพิบัติทางเรือ ครั้งร้ายแรงนี้ หลังจากนั้นทั้งฝ่ายสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่างก็พยายามสอบสวนหาสาเหตุของ อุบัติภัยในครั้งนี้ รวมทั้งสรุปยอดผู้เสียชีวิต ซึ่งทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่าในคืนที่เกิดเหตุ เรือแคลิฟอร์เนียนอยู่ใกล้ไททานิกยิ่งกว่าเรือคาร์เพเทียเสียอีก แต่เหตุที่เรือแคลิฟอร์เนียนไม่ได้มาช่วยเหลือเพราะพนักงานวิทยุโทรเลขหลับ จึงไม่ได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือ ยังมีปริศนาอีกหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับความกระจ่าง เป็นต้นว่า เรือลึกลับ ที่มีผู้รอดชีวิตเห็นในช่วงเวลาที่ไททานิกกำลังอับปางนั้นคือเรือลำใดแน่ บ้างก็เชื่อว่าเป็นเรือแคลิฟอร์เนียน แต่บ้างก็คิดว่าอาจไม่ใช่เพราะหลักฐานเท่าที่สอบสวนได้ยังไม่เพียงพอที่จะ ชี้ชัดลงไปเช่นนั้นรวมทั้งเรื่องที่ว่าไททานิกอับปางในลักษณะใดกันแน่ จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตที่ว่าไททานิกหักเป็น 2 ท่อนนั้น ผู้เชี่ยวชาญในสมัยนั้นรวมทั้งคนทั่วไปไม่ค่อยให้ความเชื่อถือนัก คิดว่าผู้เล่าเห็นเหตุการณ์ไม่ชัดและเล่าผิดพลาดมากกว่า ส่วนใหญ่คงเชื่อว่าเรือไททานิกจมลงไปทั้งลำ ผลจากการที่พนักงานวิทยุโทรเลขของเรือแคลิฟอร์เนียนหลับ เป็นเหตุให้ไม่สามารถไปช่วยไททานิกได้ทัน ทำให้ต่อมามีการเพิ่มเติมกฎเกี่ยวกับการเดินเรือขึ้นมา นั่นคือเรือทุกลำต้องมีพนักงานวิทยุอยู่ประจำหน้าที่ตลอดเวลา และในปี ค.ศ. 1913 หน่วยเรือลาดตระเวนสำรวจภูเขาน้ำแข็งก็ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสำรวจเส้นทางและ แจ้งเตือนเกี่ยวกับภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือสายแอตแลนติกเหนือ

ชีวิตที่ยังเหลืออยู่ หายนะภัยไททานิกครั้งนี้มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้นกว่า 700 คนและมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ อันที่จริงแล้ว ผู้ที่รอดชีวิตจากเรือไททานิกมิได้มีแต่เพียงผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ยังมีชายด้วย จากการสรุปข้อเท็จจริงพบว่าชายที่รอดชีวิตมีทั้งผู้โดยสารชั้น 1, 2, 3 และลูกเรือ บุคคลที่รอดชีวิตบางคนที่น่ากล่าวถึงคือ เจ. บรูซ อิสเมย์ กรรมการผู้จัดการไวต์สตาร์ ผู้คนส่วนใหญ่ต่างสงสัยกันว่าอิสเมย์รอดมาได้อย่างไรทั้งๆที่ผู้ชายส่วนใหญ่ เสียชีวิตหมดเนื่องจากสละที่นั่งให้แก่สตรีและเด็ก ชีวิตในช่วงหลังของอิสเมย์ต้องล้มละลายทางเกียรติยศเพราะสังคมตราหน้าว่าเขา รอดมาได้เพราะแย่งที่ของสตรีและเด็ก บางคนก็พูดกันว่าอิสเมย์พรางตัวเป็นหญิงเพื่อลงเรือ แต่อิสเมย์ชี้แจงว่าตนลงเรือชูชีพลำสุดท้าย เมื่อเห็นยังมีที่ว่างจึงได้ลงเรือไปและก็ไม่ได้พรางตัวเป็นสตรีแต่อย่างใด

atcloud.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 พฤศจิกายน 2010, 23:45:05 โดย Meem »