ผู้เขียน หัวข้อ: “อนุทิน” ยัน “ฟาวิพิราเวียร์” มีเพียงพอ ตอก “แพทย์ชนบท” มีสิทธิแสดงความเห็น  (อ่าน 356 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
“อนุทิน” ตอกกลับ “แพทย์ชนบท” กล่าวหายารักษาโควิดขาดแคลน ยัน “ฟาวิพิราเวียร์” มีเพียงพอ ลั่น มีสิทธิแสดงความเห็น แต่ต้องเชื่อคนทำงาน

วันนี้ (28 ก.พ.) เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข กล่าวกรณีที่ชมรมแพทย์ชนบท ระบุ ยาฟาวิพิราเวียร์ ขาดแคลน ว่า นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะแถลงเรื่องนี้เวลา 13.30 น.ในวันเดียวกันนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ มีปริมาณเพียงพอ เนื่องจากไทยสามารถผลิตเองได้ และนำเข้ามาเสริมและยังมีการนำเข้ายาอีก 2 ยี่ห้อมาเสริม ทั้งโมโนพิราเวียร์ และ Asanovic ซึ่งมีอยู่ครบทุกหมวด นอกจากนี้ ยังมีการผลิตฟ้าทะลายโจร เรื่องยาต้องเชื่อทางการแพทย์ ส่วนคนที่ไม่เกี่ยวข้องจะมาให้ความเห็น ไม่ได้อยู่หน้างาน แต่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ที่รับผิดชอบสาธารณสุขทั้งประเทศ และยังรับผิดชอบการจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์ เพื่อที่จะมารักษา และตนได้ตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาของกระทรวงสาธารณสุข ที่ใหญ่ที่สุด ได้รายงานตลอดว่ามีปริมาณยาที่เพียงพอ หากไม่เชื่อหมอแล้วจะเชื่อใคร

“เขาเป็นชมรมแพทย์ชนบท เป็นเพียงตัวแพทย์ แต่ละคนถือว่าเป็นข้าราชการของกระทรวงสาธารณสุข ต้องรับนโยบายของกระทรวง ถ้าออกมาเป็นความเห็นชมรม ก็ต้องไปพิสูจน์กันว่าที่ออกมาบอกว่ายาไม่เพียงพอ ไม่ตรงกับสิ่งที่เป็นความจริงในทุกวันนี้ ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้ แต่ต้องเชื่อคนที่ทำงาน คนที่อยู่หน้างาน” นายอนุทิน กล่าว

28 ก.พ. 2565  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
“ชมรมแพทย์ชนบท”เผยยาฟาวิพิราเวียร์ขาดหนักมาก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2022, 21:04:24 »
เพจชมรมแพทย์ชนบท’ โพสต์ระบุว่า“ฟาวิพิราเวียร์ ขาดหนักมาก

ในท่ามกลางการระบาดของโอไมครอนอย่างหนัก แต่ฟาวิพิราเวียร์ อาวุธสำคัญกลับขาดแคลนหนักมาก หนักอย่างชนิดที่ว่า หลายโรงพยาบาลแทบไม่มีจะจ่าย หรือต้องจำกัดการจ่าย หลายโรงพยาบาลไม่ใช่ให้ในคนอายุมากกว่า 60 ปีตามที่กระทรวงสั่งการแล้ว แต่ให้ในคนอายุมากกว่า 80 ปี เพราะยามีไม่เพียงพอ

ในช่วงท้ายการระบาดของเชื้อเดลต้าราวกันยายนเป็นต้นมา ฟาวิพิราเวียร์ก็เริ่มหาง่ายเพราะองค์การเภสัชกรรมผลิตได้เอง เดือนตุลาคมเดลต้าเริ่มลดจำนวน ฟาวิมีเหลือเฟือ กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศให้จ่ายฟาวิพิราเวียร์ให้แทบทุกคนที่ติดเชื้อ มีการตามตัวชี้วัดอย่างแข็งขัน กระตุ้นการจ่ายฟาวิแม้เกินจำเป็น จนกลายเป็นที่รับรู้ของสังคมอย่างไม่ถูกต้องนักว่า ผลบวก = ฟาวิ

สิ่งที่กระทบกับทางโรงพยาบาล รพ.สต. CI และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับ เผชิญความเหนื่อยยากจากฟาวิมี 2 เด้งคือ

1. ไม่มีฟาวิจะจ่ายให้ผู้ป่วยที่ควรได้รับฟาวิ เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือ ผู้ป่วยสีเหลืองเป็นต้น ทุกข์ทั้งหมอและคนไข้
2. ต้องเหนื่อยยากกับการทำความเข้าใจกับผู้ป่วยโควิดที่เดินทางมาเพื่อรับยาฟาวิ แล้วไม่มียาให้ รายที่อายุน้อยแข็งแรงก็พอจะคุยได้ แต่รายที่อายุค่อนข้างมาก มีอาการไอมากเจ็บคอมากนี่สิ เขามาแล้วก็ไม่ได้ยาไปดังที่คาดหวัง ทำให้เป็นภาระในการอธิบายจนเกินกว่าเจ้าหน้าที่จะรับไหว

ฟาวิพิราเวียร์ขาดแคลนนั้น เป็นปัญหาที่โรงพยาบาลแก้เองไม่ได้ เพราะยาถูกผูกขาดโดยรัฐ อีกทั้งการทำความเข้าใจของกระทรวงสาธารณสุขต่อประชาชนให้เข้าใจสถานการณ์ก็ไม่มี ไม่กล้าบอกความจริงกับประชาชน การบอกให้ประชาชนเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกคนที่ต้องทานฟาวิพิราเวียร์ก็ไม่ชัดเจน

เสาร์อาทิตย์นี้ ฟาวิขาดหนักมาก จริงเท็จประการใด ส่งข่าวมาทางcomment กันด้วยนะพี่น้อง

เสียงบ่นก่นด่าเรื่องฟาวิขาดแคลนกำลังดังขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้ท่านอนุทินได้ยินหรือเปล่า”

26 ก.พ. 2565  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
อภ.ยันสำรองยาฟาวิพิราเวียร์รองรับผู้ป่วยโควิดเพียงพอ มี 24 ล้านเม็ด ผลิตเพิ่มอีก 60 ล้านเม็ด รวม 84 ล้านเม็ด เพื่อกระจาย รพ.แม่ข่ายต่างๆ

เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดโรคโควิด 19 ในประเทศ ทำให้มีความต้องการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 อภ.ได้มีการบริหารจัดการสำรอง "ยาฟาวิพิราเวียร์" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยขณะนี้มีการสำรอง 24 ล้านเม็ด และทำการผลิตเพิ่มเติมอีก 60 ล้านเม็ด รวมทั้งสิ้น 84 ล้านเม็ด เพื่อกระจายสู่หน่วยบริการแม่ข่ายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการสำรองไว้ที่หน่วยบริการต่างๆ ทั่วประเทศอีกจำนวนหนึ่ง

ยาฟาวิพิราเวียร์ทั้งหมดได้จัดสรรให้กับหน่วยบริการหรือ รพ.แม่ข่ายต่างๆ ตามการบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยกลุ่มภารกิจสำรองเวชภัณฑ์และส่งกำลังบำรุง โดย อภ.เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งกระจายตามการจัดสรรให้กับหน่วยบริการแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นหน่วยงานแม่ข่ายจะทำการบริหารจัดการและกระจายให้แก่หน่วยบริการลูกข่ายในแต่ละพื้นที่ต่อไป

26 ก.พ. 2565  ผู้จัดการออนไลน์