ผู้เขียน หัวข้อ: ฎีกายืนประหารชีวิต “สุขุม เชิดชื่น” อดีต ส.ว.จ้างวานฆ่าแพทย์ รพ.จุฬาฯ  (อ่าน 1101 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด

ศาลฎีกายืนประหารชีวิต “สุขุม เชิดชื่น” อดีต ส.ว. จ้างวานฆ่า แพทย์หญิง รพ.จุฬาลงกรณ์เมื่อ ปี 2539 เสียชีวิต คาดปมขัดแย้งธุรกิจ ส่วนมือปืนโดนจำคุกตลอดชีวิต
       
       ที่ห้องพิจารณา 905 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันนี้ (25 ต.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดี หมายเลขดำ ด.2166/2540 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 และ พล.อ.ต.สมิทธ มะกรสาร บิดาของ พญ.นิชรี มะกรสาร ผู้ตาย ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายธนศักดิ์ หรือใหม่ ยิ้มดี อายุ 35 ปี นายสราวุธ หรือตั๊ก ไชยสิงห์ อายุ 34 ปี นายชัชพัฒน์ หรือเซ้ง กิตตธนากร (เสียชีวิตศาลสั่งจำหน่ายคดี) นายวิเชียร หรือม่อน กิตติธนากร อายุ 47 ปี และนายสุขุม หรือช้าง เชิดชื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภา อายุ 50 ปี เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานจ้าง วาน ใช้ และร่วมกันฆ่า พ.ญ.นิชรี มะกรสาร อดีตวิสัญญีแพทย์ รพ.จุฬา โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน กระทำผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
       
       โดยคดีนี้ ฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2540 ระบุความผิดสรุปว่า ระหว่างวันที่ 15-25 ต.ค.2539 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันจ้างวานใช้ให้จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ร่วมกันฆ่าผู้ตาย ด้วยค่าจ้างจำนวน 500,000 บาท กระทั่งวันที่ 25 ต.ค.2539 เวลา 05.30 น. จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ร่วมกันใช้อาวุธปืนสั้นออโตเมติกไม่มีทะเบียนขนาด 11 มม. พร้อมเครื่องกระสุนจำนวน 18 นัดของจำเลยที่ 3 ที่นำมาเพื่อไปใช้ยิง พญ.นิชรี จำนวน 5 นัด จนถึงแก่ความตายขณะขับรถยนต์ออกจากบ้านพักย่านห้วยขวาง สาเหตุมาจากจำเลยที่ 5 มีความขัดแย้งกับผู้ตายเกี่ยวกับเรื่องการบริหารโรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ เนื่องจากผู้ตายสั่งปลดจำเลยที่ 5 ออกจากตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน กระทั่งเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกันทั้งในทางแพ่ง และทางอาญาหลายคดี นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่แม่ผู้ตายถูกจำเลยที่ 5 หลอกลวงให้มอบเงินจำนวน 200 ล้านบาท ไปซื้อที่ดิน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เนื้อที่ 100 ไร่ เพื่อทำสนามกอล์ฟทั้งที่ผู้ตาย และบิดาคัดค้าน รวมทั้งเรื่องการขัดธุรกิจบริษัท มิลเลียน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งค้าขายรถยนต์ และรถจักรยานยนต์มือสอง และรับทวงหนี้ จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนแต่กลับให้การปฏิเสธในชั้นศาล ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
       
       คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2547 ว่า จำเลยที่ 1, 2 และ 4 กระทำผิดหลายกรรม ให้ลงโทษทุกกรรมฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และไตร่ตรองไว้ก่อน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน พิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1, 2 และ 4 แต่คำให้การในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ไว้ตลอดชีวิต ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานจ้างวานใช้ให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289 อนุ 4 ประกอบมาตรา 84 เสมือนเป็นตัวการในการฆ่า ให้ลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว ต่อมา จำเลยที่ 1, 2, 4 และ 5 อุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาเมื่อ 26 มิ.ย.52 พิพากษายืน ต่อมา จำเลยที่ 2, 4 และ 5 ยื่นฎีกาขอสู้คดีขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ขณะที่จำเลยที่ 1 ขอรับโทษจำคุกตลอดชีวิตตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา โดยไม่ติดใจยื่นฎีกาทำให้คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่สุด ในขณะที่จำเลยที่ 3 เสียชีวิต ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลอาญาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 3 ออกจากสารบทความ
       
       ศาลฎีกาประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2, 4 และ5 ว่าจำเลยที่ 2, 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ร่วมกันฆ่าผู้ตายตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองหรือไม่เห็นว่า โจทก์มีพยานที่เป็นคนดูต้นทางให้แก่จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ให้การยืนยันสอดคล้องกับคำให้การของจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ที่ได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวน โดยมีการบันทึกภาพวิดีโอไว้เป็นหลักฐานด้วย ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ติดต่อให้ จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยได้รับค่าจ้างคนละ 1 แสนบาท โดยจำเลยที่ 3 ได้รับค่าจ้างมาทั้งหมด 5 แสนบาท ขณะที่โจทก์ยังมีคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับชั้นผู้ใหญ่เบิกความสนับสนุน ซึ่งหากจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ไม่รับสารภาพ เจ้าหน้าที่ตำรวจคงไม่สามารถติดตามพยานที่เป็นคนดูต้นมาทางมาเป็นพยานได้ เพราะหลังจากคนดูต้นทางได้รับค่าจ้าง 5 หมื่นบาทแล้วได้หลบหนีไป โดยคำให้การของพยานที่เป็นคนดูต้นทางได้ให้รายละเอียดทั้งบุคคลที่ติดต่อ สถานที่ยานพาหนะที่ใช้ จึงเชื่อได้ว่าไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำให้จำเลยจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ได้รับโทษ ส่วนที่พวกจำเลยอ้างว่า ถูกทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสารภาพนั้น ศาลเห็นว่า ในวันแถลงข่าวการจับกุมมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงนายเสนาะ เทียนทอง รมว.หมาดไทย (ตำแหน่งในขณะนั้น) แถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชนจำนวนมาก จำเลยมีสิทธิที่จะร้องเรียนหากถูกทำร้ายจริง ประกอบกับในชั้นฝากขังพวกจำเลยไม่ได้ให้การต่อศาลว่าถูกทำร้าย พวกจำเลยยังยอมรับในการตอบคำถามทนายความโจทก์ร่วมด้วยว่า ระหว่างถูกจับกุมมีแพทย์มาตรวจร่างกาย สอดคล้องกับรายงานการตรวจของแพทย์ที่ระบุว่าไม่มีบาดแผลแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นฟังไม่ขึ้น
       
       ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 5 มีปัญญาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 5 จ้างวาน จ.ส.อ.เมตตา เต็มชำนาญ (ยศในขณะนั้น) และนายมงคล หรือหมง นกทอง ให้ฆ่าผู้ตาย แล้ว จ.ส.อ.เมตตา และนายมงคล เป็นผู้ไปติดต่อให้จำเลยที่ 3 ไปจ้างวานให้พวกจำเลยก่อเหตุฆ่าผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า ตามคำให้การของนายมงคล เบิกความว่า นายมงคล เป็นพนักงานรับผิดชอบด้านการเร่งรัดหนี้สินให้บริษัทของจำเลยที่ 5 จึงมีความสนิทกับจำเลยที่ 5 ระหว่างนั้น จำเลยที่ 5 ได้พยายามร้องขอให้นายมงคล วางแผนฆ่าผู้ตาย 3 ครั้ง แต่นายมงคล ปฏิเสธรับงาน แม้ว่าภายหลังนายมงคล จะกลับคำให้การ ว่าไม่เคยได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 5 ก็ตาม แต่ในคำให้การต่อเจ้าพนักงานสอบสวนเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุเพียง 18 วัน โดยการสอบสวนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2540 นายมงคล ยังคงยืนยันตามคำให้การในครั้งแรก เชื่อว่าที่นายมงคล กลับคำให้การนั้นเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 5 ให้พ้นการความผิด ส่วน จ.ส.อ.เมตตา เบิกความว่า มีความสนิทสนมกับจำเลยที่ 5 ถึงขั้นได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้จัดการโรงเรียนโรจนเสรีนุสรณ์ ที่ผู้ตายร่วมกิจการอยู่ด้วย แต่ถูกผู้ถือหุ้นในส่วนของผู้ตายคัดค้าน ทำให้เกิดปมความขัดแย่งในการบริหารกิจการโรงเรียนขึ้น เห็นว่าเมื่อ จ.ส.อ.เมตตา มีความสนิทสนมกับจำเลยที่ 5 ย่อมรับรู้ปัญหาคับข้องใจ ที่จำเลยที่ 5 มาปรึกษา
       
       จากพยานหลักฐานโจทก์ ยังพบประเด็นความขัดแย้งในเรื่องที่จำเลยที่ 5 อาศัยความเอ็นดู รักใคร่ของนางฉลวย มารดาผู้ตาย ฉ้อฉลในธุรกิจซื้อที่ดิน จนทำให้พี่น้องของผู้ตายไม่พอใจ นอกจากนี้ ยังมีความขัดแย้งในเรื่องการซื้อขายหุ้นในบริษัท มิลเลี่ยน กรุ๊ป ทำธุรกิจซื้อขายรถยนต์ ที่ทำให้นางฉลวย สูญเสียเงินไปเกือบ 60 ล้านบาท ทำให้ผู้ตายถึงขั้นประกาศจะแฉถึงพฤติกรรมความฉ้อฉลของจำเลยที่ 5 ต่อสาธารณะ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 54 นำสืบมา ยังไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 5 มาอย่างละเอียดแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2, 4 และ 5 ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ลงโทษจำเลยที่ 2 และให้จำคุกตลอดชีวิต ส่วนส่วนจำเลยที่ 5 ลงโทษประหารชีวิต
       
       ภายหลัง นายสุขุม เชิดชื่น จำเลยที่ 5 กล่าวสั้นๆ ว่าตัวเองไม่ได้กระทำผิด หากกระทำจริงก็คงจะหลบหนีไปต่างประเทศแล้ว และหลังจากนี้จะปรึกษากับทนายความขอพระทานอภัยโทษภายใน 60 วันด้วย
       
       ด้านนายศุภวิชญ์ กัณฑ์สุข ทีมทนายความจำเลย กล่าวว่า คดีถึงที่สุดแล้ว หลังจากนี้จะยื่นฎีกาขออภัยโทษ ซึ่งจะต้องดำเนินการภายใน 60 วัน คาดว่าจะทันวันที่ 5 ธันวาคมนี้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ นายสุขุม ถูกเบิกตัวจากเรือนจำกลางบางขวาง โดยมีบุตรชาย 2 คน และญาติประมาณ 20 คน มาให้กำลังใจ และเมื่อฟังคำพิพากษาของศาลแล้วต่างก็มีอาการซึมเศร้า สำหรับนายธนศักดิ์ หรือใหม่ ยิ้มดี จำเลยที่ 1 ยอมรับโทษจำคุกตลอดชีวิตคดีถึงที่สุดแล้วตั้งแต่ชั้นศาลอุทธรณ์ โดยไม่ยื่นฎีกาแต่อย่างใด ขณะที่ฝ่ายโจทก์ร่วม มีเพียงนายฉัตรมงคล ชาติพงศธร ทนายความเท่านั้นที่มาฟังคำพิพากษา โดยกล่าวว่า ขณะนี้ พล.อ.ต.สมิทธ และ นางฉลวย บิดา-มารดา พญ.นิชรี เสียชีวิตแล้ว ขณะที่คดีความที่มีการยื่นฟ้องนายสุขุม ยังมีคดีปลอมแปลงเอกสารการซื้อขายที่ดิน ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายสุขุม เป็นเวลา 8 ปี และคดียังอยู่ระหว่างฎีกา