แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - khunpou

หน้า: 1 ... 4 5 [6]
76
เผยผลสำรวจ ขรก.สธ. เกือบ 100% ไม่มีความสุขภายใต้ กพ.
เขียนโดย Administrator   
16 มิ.ย. 2010 21:22น.
 
กพ.บริหารกำลังคนข้า ราชการสาธารณสุขไม่ได้  จำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะด้านระเบียบของข้าราชการสาธารณสุขเพื่อจัดกำลังคน กำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน  ค่าตอบแทนฯเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องอยู่ในสังคมที่เสี่ยงภัยด้านสาธารณสุขและ การแพทย์  เชิญชวนให้ลงชื่อให้ได้ 1 หมื่นคน เพื่อเสนอกฎหมาย
 
 
  พญ.อรพรรณ์   เมธาดิลกกุล หัวหน้าคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายปฏิรูปการสาธารสุข  เปิดเผยว่า ขณะนี้คนไทยกำลังเสี่ยงกับระบบบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขซึ่งกำลังจะ  ล้มทั้งระบบ  ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล คนไข้ต้องรอนาน เพราะขาดแพทย์และบุคลากร ผู้ให้บริการที่เหลืออยู่ มีภาระงานหนักมาก ไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เมื่อมีฉุกเฉินต่อชีวิตหรือได้รับภัยพิบัติด้านสารพิษที่เกิดขึ้นบ่อย ท่านอาจต้องได้รับการดูแลจากบุคลากรที่ขาดการพักผ่อนและล้าจากภาระงานที่ หนักมาแล้ว  สาเหตุหลักที่ขาดแพทย์/บุคลากร เกิดจาก กพ.ที่ไม่ให้อัตราตำแหน่งคนทำงาน และ สปสช.โฆษณาให้คนไปใช้รักษาตามโครงการนั้นๆอย่างมาก ทำให้คนเข้าใช้บริการมากขึ้นเป็นภาระหนักอย่างรุนแรง และไม่จัดงบเพื่องานส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรคตามสภาพความจำเป็นทางสาธารณ สุข กับทั้งไม่มีมาตรการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในดูแลตนเอง ทำให้ภาวะสุขภาพของคนไทยโดยรวมตกต่ำกว่าก่อนมีการจัดงบประมาณแบบ สปสช.    ดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพของคนไทยลดต่ำ    โรคที่ป้องกันได้มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นอย่างไม่ควรจะเป็น  ปีงบประมาณ ๒๕๔๓ ภาษีที่คนไทยจ่ายได้ถูกใช้เพื่องบ สปสช.กว่า 100,000 ล้านบาท ทำให้งบด้านสาธารณสุขเพิ่มจากร้อยละ 2 ก่อนมี สปสช.เป็นร้อยละ 10 ของงบแผ่นดิน    ซึ่งผู้แทนสำนักงบประมาณนำเสนอว่าเป็นงบที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตกจะกระทบ กับ  ความอยู่รอดของระบบงบประมาณของประเทศ
 
 
 
 พญ.อรพรรณ์ เปิดเผยด้วยว่า จากการสำรวจข้าราชการสาธารณสุขฯ 2,514  คน เมื่อเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2553 พบว่าข้าราชการสาธารณสุข ร้อยละ 94 และ 91 ไม่มีความสุขอย่างมากถึงมากที่สุดในการทำงานภายใต้ระบบของ กพ. และร้อยละ 98  และ 95   ต้องการแยกออกจาก กพ. และ สปสช. รวมทั้งเสนอให้ยุบ สปสช. ตามลำดับ
 
 
 
 พญ.อรพรรณ์ กล่าวต่ออีกว่า งานรักษาพยาบาลและงานสาธารณสุข เป็นงานที่มีความรับผิดชอบสูงสุด คือรับผิดชอบต่อชีวิต ความเป็น/ความตาย/พิการ/สุขภาพ และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค เป็นงานเร่งด่วน/ รอเก็บไว้ทำภายหลังไม่ได้  งานให้บริการที่สถานีอนามัยถึงโรงพยาบาล ต้องพร้อม และมีเวร ต้องทำตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ตลอดปี เป็นงานที่ยาก/ซับซ้อน/ต้องใช้เทคนิคสูง/เสี่ยงต่อการฟ้องคดีอาญา มีโทษจำคุกฯ   กพ.บริหารกำลังคนข้าราชการสาธารณสุขไม่ได้  จำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะด้านระเบียบของข้าราชการสาธารณสุขเพื่อจัดกำลังคน กำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน  ค่าตอบแทนฯเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องอยู่ในสังคมที่เสี่ยงภัยด้านสาธารณสุขและ การแพทย์เช่นนี้ 
 
 
 
 "เนื่องด้วยเป็นปัญหาของข้าราชการและบุคลกรสาธารณสุขทุกคน รวมทั้งเป็นปัญหาของคนไทยทั้งหมด จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการสาธารณสุขของประเทศครั้งใหญ่   ในขั้นต้นจำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างกำลังคนทางสาธารณสุข และระบบงบประมาณสาธารณสุข ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและต่อผู้ทำงานให้ทำงานอย่างมีความสุขตาม ควร   ขณะนี้มีแพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์  พยาบาล นวก.สาธารณสุข ฯ กว่า 300 คน ได้อาสาช่วยกันรวมเป็นคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายปฏิรูปการสาธารณสุขอันจำ เป็นเร่งด่วน ๓ ฉบับ คือ ๑ ร่าง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข พศ... ๒ ร่างพระราชบัญญัติ การจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข พ.ศ....... และ ๓ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายอันเกี่ยวกับบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขบาง ฉบับที่ไม่เหมาะสมกับการบริหารราชการแผ่นดินในกาลปัจจุบัน พ.ศ. .... โดยกฎหมายกำหนดให้คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งได้ตามกฎหมาย จำนวน 10,000 คน โดยแนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ เกี่ยวกับสิทธิของคนไทยและแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญได้ ขณะนี้เพียง ๒ สัปดาห์ มีผู้เข้าชื่อแล้วกว่า 5 000 คนจากทุกภาคทั้งจากบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป  คณะทำงานมีความมุ่งหมายรวบรวมผู้เข้าชื่อเกินกว่า 10,000 รายชื่อ  และต้องการความเข้าใจทั่วกันว่าการทำงานครั้งนี้ ทำเพื่อประเทศชาติ" พญ.อรพรรณ์กล่าว พร้อมทั้งเชิญชวนให้ช่วยกันเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยแจ้ง ชื่อ สกุล โทรศัพท์ ที่อยู่ และ email. ไปที่ dr_orapuun @yahoo.com หรือโทรแจ้งที่ 083-2495151 ซึ่งจะต้องมีการกรอกแบบฟอร์มเสนอกฎหมาย และแนบหลักฐานประจำตัวประกอบด้วย  หากประสงค์จะติดต่อกับคณะทำงาน สามารถติดต่อได้ที่ คณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายปฏิรูปการสาธารณสุข (ข.สธ.) ทำการเฉพาะกิจ 136/6 ถ.กาญจนาภิเษก แขตทวีวัฒนา กทม. โทร. 086 9840098   patcharee_s52@hotmail.com , โทร 089 4249988  usah88@hotmail.com ,08302495151 dr_orapun@yahoo.com
 
p://www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id=34 &Itemid= 45

77
สัญญาณเตือนภัยอันตรายเมื่อแพทย์  พยาบาล........ คนเก่ง  หายไปจากกระทรวงสาธารณสุข
 
 
 
หลักการ และเหตุผล
 
      กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงที่มีบุคลากรหลากหลายวิชาชีพ / อาชีพมากที่สุดกระทรวงหนึ่ง   มีหน้าที่ให้ บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนชาวไทย  บุคลทั่วไปไม่ว่า จะเป็นผู้ลี้ภัย  ชาวต่างชาติ  นักท่อง เที่ยว  มิตรหรือศัตรูก็ช่วยไม่ละเว้น  เพราะ เป็นกระทรวงรับผิดชอบการจัดบริการที่เป็นสาธารณะ 
 
     ด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบุคลากรในกระทรวง  เช่น  แพทย์  พยาบาล  ทำงานอย่างอดทนอดกลั้นมา ตลอดไม่ว่าจะหิวหรืออิ่ม  จะหลับหรือตื่น  อด หลับอดนอน  แต่เมื่อสังคมภายนอกทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง   การศึกษาดีขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารรวดเร็วขึ้น  วัฒนธรรมประเพณีเพี้ยนไปจากเดิม  สถานการณ์ทาง การเมืองและภาวะเศรษฐกิจรุมเร้า  ผันผวนตลอดเวลา   คนเริ่มมีการเห็นแก่ตัวมากขึ้น  ฯลฯ   ทำ ให้สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อบุคลากรสาธารณสุขอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้  รวมทั้งมีปัจจัยต่างๆเข้ามามีอิทธิพลต่อ บุคลากรโดยตรง  เช่น 
 
    1.การทำงานที่มีความละเอียดอ่อน  ยุ่งยาก  ซับซ้อน  เพราะเป็นบริการที่ให้กับมนุษย์  ซึ่งมีชีวิตจิตใจ
 
    2.การถูกร้องเรียน / ฟ้องร้อง  ทำให้เสียสมาธิ  และหมดขวัญกำลังใจในการทำงาน
 
    3.เสี่ยงภัย  เสี่ยงอันตราย 
 
 3.1 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
 
  -ในยามวิกาลพยาบาลต้องเข้าเวร  ออกเวร  กลุ่ม คนร้ายหรือมิจฉาชีพสามารถฉกฉวยโอกาสได้ง่าย  ถูกชิง ทรัพย์สิน  ถูกทำร้ายร่างกาย  ถูกข่มขืน    แล้วฆ่า  ดังข่าวซึ่งเคยปรากฏบนหนังสือพิมพ์  /  โทรทัศน์
 
  -ในยามบ้านเมืองไม่สงบสุข  เช่น  เกิด จลาจล  สงคราม  สงครามกลางเมือง  ทำ ให้กระทรวงสาธารณสุข   ต้องสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าไปอ ย่างน่าเสียดาย  เนื่องจากต้องเสียชีวิตขณะปฏิบัติ หน้าที่ราชการ  และ     
 
เจ้า หน้าที่ปฏิบัติงานไม่สะดวก  ผู้ป่วยไม่ปลอดภัย  จำ เป็นต้องย้ายโรงพยาบาล  ดังปรากฏบนโทรทัศน์ /
 
หนังสือ พิมพ์ที่ผ่านมาเร็วๆนี้ลือกระฉ่อนไปทั่วโลก
 
 3.2 เสี่ยงติดเชื้อโรคต่างๆ   เพราะ การทำงานชีวิตประจำวันต้องอยู่กับผู้ป่วยในโรงพยาบาล
 
    4.มีปัญหาครอบครัว   เนื่อง จากต้องเข้าเวรเช้า  บ่าย ดึก  มีเวลาอยู่บ้าน ไม่แน่นอน  ลูกไม่มีคนดูแล  สามีไปมีผู้หญิง อื่น  บ้านถูกงัดแงะ  ฯลฯ
 
     5.สวัสดิการ  : เงินเดือน  และค่าตอบแทนน้อยไม่เพียงพอต่อการ ครองชีพ ต้องไปหาอาชีพอื่นมาเสริมรายได้
 
     6.ความ ก้าวหน้าในวิชาชีพ
 
    -บุคลากรที่เข้าทำงานใหม่  ไม่มีความหวังที่ แน่นอนว่าจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเข้าทำงานเมื่อไหร่  จึงดิ้นรนหางานที่อื่นทำ  ทำ ให้สถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมีอัตรากำลังคนไม่เพียงพอ
 
 -บุคลากรที่ทำงานมานานเงินเดือนตัน  เพราะระบบของก.พ.ยังยึดติดอยู่กับขนาดของโรงพยาบาล     
 
  จำนวน ผู้รับบริการ  ซึ่งไม่ลื่นไหลเหมือนข้าราชการครู ที่ไม่ได้ยึดกับขนาดของโรงเรียน  หรือจำนวนนักเรียน
 
 -หัว หน้างาน / หัวหน้าหอและผู้ปฏิบัติ  เงินเดือนอยู่ในระดับเดียว กันทำให้ไม่มีใครอยากจะเป็นหัวหน้า   เพราะ ต้องรับผิดชอบมากกว่า
 
 7.การย้าย / การโอน / การลาออก  ทำให้บุคลากรสูญหายไปจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างน่า เสียดาย 
 
   สิ่งที่ส่งผลกระทบตามมาคือผู้รับบริการ  ได้รับการรักษาพยาบาลล่าช้า  ไม่ครบถ้วน ฯลฯ เนื่องจากบุคลากรที่ให้บริการไม่เพียงพอ  ถึงแม้ว่าแต่ละ ปีจะมีบุคลากรใหม่เข้ามาปฏิบัติงาน  แต่บุคลากรที่มีอยู่ ก่อนก็ลาออกทุกปี  ทำอย่างนี้เป็นวัฏจักรเรื่อยมา  กลายเป็นปัญหาซ้ำซากที่กระทรวงสาธารณสุขแก้ไม่ตก  และยิ่งนานวันเข้าคนเก่งๆก็จะไม่มาสอบเรียนแพทย์  พยาบาล  ไปเรียนอย่างอื่นแทน  เช่น  กฎหมาย  วิศวะ  เศรษฐศาสตร์  ฯลฯ  สำหรับ คนเรียนจบมาแล้วก็ใช้ทุนลาออกไปทำงานต่างประเทศ  เอกชน  หรือทำงานอื่นแทน  เนื่องจากมีความเสี่ยงมากมายดังก ล่าวมาแล้ว  ผู้ที่มา เรียนคือคนสอบที่อื่นไม่ได้  ไอคิวคาบเส้นคาบดอก  กว่า จะเรียนจบก็ต้องแก้แล้วแก้อีก  เมื่อมาทำงานให้การดูแลรักษา พยาบาลก็ไม่แม่น  ผลลัพธ์สุดท้ายความเสียหายก็จะมา ตกที่ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
      เมื่อมาวิเคราะห์และมองอนาคตต่อไป ข้างหน้าอีกไม่นาน  ก็เห็นว่าปัญหาจะคืบคลานเข้ามาอีกมาก มาย  หากไม่รีบแก้ไขเสียก่อนก็คงจะสายเกินแก้  คล้ายๆ กับวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ย่ำแย่ซึ่งปรากฏแก่สายตาต่อคนทั้งโลก ต้องเศร้าโศกเพราะมีการเสียชีวิต  นับเป็นการสูญเสีย ทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  และทรัพย์สิน ครั้งยิ่งใหญ่จนประเมินค่ามิได้  เมื่อมองเห็นเป็นอย่างนี้แล้วทางกระทรวงสาธารณสุข  หรือ รัฐบาลจะปล่อยให้ปัญหาคารังคาซังเหมือนดินพอกหางหมูแล้วปล่อยให้ หางขาดกระนั้นหรือ
 
 
 
                               
 
                             นางธัญษรัตม์  ประชุมทอง
พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล พัทลุง

78
ความเป็นมาของแนวคิดการแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ.
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ
แพทยสภา
ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขมีมาอย่างยาวนาน และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเอง ไม่สามารถบริหารให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทำงานในกระทรวงอย่าง
ต่อเนื่องยาวนานได้ ได้แต่ออกมาตรการบังคับให้บุคลากรบางสาขาวิชาชีพเช่น แพทย์ พยาบาล ต้องมาทำงานชดใช้ทุนในกระทรวงสาธารณสุข แต่ภายหลังจากใช้ทุนตามระยะเวลาที่ถูกบังคับให้เข้าทำงานในกระทรวงแล้ว บุคลากรส่วนหนึ่งเลือกที่จะลาออกจากการทำงานในกระทรวงสาธารณสุข เพราะมีทางเลือกที่ดีกว่าในชีวิต
    ซึ่งทำให้ภาวะะการขาดแคลนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขมีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา บุคลากรที่ยังทำงานอยู่ก็ต้องแบกรับภาระงานหนักเกินกำลัง ตัวอย่างจาก บทคัดย่อเรื่อง “ชั่วโมงการทำงานของข้าราชการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข” ของแพทย์หญิงฉันทนา ผดุงทศและคณะ ก็เป็นประจักษ์พยานได้ดีว่า ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์นั้นมีมากมายมหาศาล เกินมนุษย์ธรรมดา ทำให้บุคลากรเหล่านี้เกิดความเครียด ขาดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจที่จะสามารถรักษาความรักความศรัทธาต่อกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน
 ในการสัมมนาเรื่อง “แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ที่จัดโดยแพทยสภาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ตามการสรุปของคณะกรรมการจัดการสัมมนานั้น ได้พบว่ามีปัญหาทั้งการขาดงบประมาณ ขาดการพัฒนา ขาดกำลังคนและขาดขวัญกำลังใจของบุคลากรจากปัญหาเหล่านี้ คือ
1.   ไม่มีตำแหน่งบรรจุบุคลากร ต้องเป็นลูกจ้าง ไม่มีความมั่นคง ไม่ก้าวหน้า เงินค่าจ้างเท่าเดิมทุกปี
2.   ซีตัน ไม่มีตำแหน่งสูงขึ้น เงินเดือนก็เลื่อนขึ้นไม่ได้
3.   ต้องรับภาระงานมาก  ต้องทำงานนอกเวลาราชการโดยไม่สามารถปฏิเสธได้ ชั่วโมงการทำงานยาวนาน แต่ค่าตอบแทนต่ำ
4.   เสี่ยงต่อความผิดพลาด และการฟ้องร้อง
5.   ขาดแรงจูงใจและขาดขวัญ กำลังใจ จึงลาออก
6.   คนที่ยังอยู่ ยิ่งต้องรับภาระมากขึ้น
7.   ลาออกมากขึ้น
8.   เจรจากับผู้บริหาร/กพ. ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
9.   พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ” ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน
10.   จึงต้องมีการปฏิรูป ระบบข้าราชการ สธ. แยกออกจากกพ.
โดยขอให้บุคลากรที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้มาร่วมเข้าชื่อ เพื่อยื่นเสนอกฎหมายในการแยกบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขออกจาก กพ. คือพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... เพื่อให้สามารถจัดสรรตำแหน่ง อัตรากำลัง และเงินเดือน/ค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับภาระงาน ความรับผิดชอบสูง เสี่ยงอันตรายจากการได้รับเชื้อโรค ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและสร้างขวัญกำลังใจ ให้บุคลากรทำงานที่ดี มีคุณภาพมาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป


79
ร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย
  ปัจจุบันนี้ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  7 เมษายน 2553แล้ว และกำลัง รอเข้าคิวการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะผ่านออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป ถ้าได้รับการลงคะแนนให้ผ่านทั้ง 2 สภา
  ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้ให้เหตุผลว่า การมีร่างพ.ร.บ.นี้ก็เพื่อที่จะเยียวยาความเสียหายจากการที่ประชาชนไปรับการบริการสาธารณสุข อย่างรวดเร็วและเป็นธรรมโดยไม่ต้องฟ้องร้อง และส่งเสริมให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและประชาชนที่เจ็บป่วย
  ที่สำคัญยังกำหนดไว้เลยว่า ศาลจะมีคำตัดสินให้ลงโทษทางอาญาแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขหรือไม่ก็ได้
  ดูตามเหตุผลของการจัดทำร่างพ.ร.บ.นี้ก็ดูดี แต่เมื่อดูรายละเอียดแล้ว ก็จะพบความ “พิกลพิการ” ของร่างพ.ร.บ.นี้อย่างมากมายดังนี้
1.   มาตรา 5 ที่กำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด
ข้อสังเกต มีหลักกฎหมายใดบ้างที่ จ่ายเงินชดเชย โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าผิดหรือไม่? ในต่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์นั้น อาจจะชดเชยความเสียหาย โดยไม่ถือว่า “เป็นความผิด” เช่น การฉีดวัคซีน แล้วเกิด “ผลอันไม่พึงประสงค์” ให้จ่ายค่าชดเชยได้ แต่ไม่ถือว่ามีความผิด เพราะเป็นผลอันไม่พึงประสงค์ของวัคซีน

2.   มาตรา 7 คณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาจ่ายเงินค่าเสียหายนั้น ไม่มีผู้แทนสภาวิชาชี ซึ่งเป็นผู้ “ทรงคุณวุฒิ” ด้านวิชาการแพทย์และสาธารณสุขอยู่เลย มีเพียงผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน ในจำนวนกรรมการทั้งหมด 18 คน ซึ่งมิใช่ผู้มีวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข อาจจะทำให้การพิจารณาจ่ายค่าชดเชย ไม่เกิดความถูกต้องตามหลักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข
3.   มาตรา 21 กำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตรา ตามที่ “คณะกรรมการ” ประกาศกำหนด เพื่อสมทบกองทุนเตรียมไว้จ่ายชดเชย โดยคำนิยามของ “สถานพยาบาล” นั้น หมายถึงสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ เอกชน คลินิกพยาบาล ผดุงครรภ์ ร้านขายยา ร้านกายภาพบำบัด การแพทย์ทางเลือก ฯลฯ ในภาครัฐก็มีโรงพยาบาลสังกัด ตำรวจ มหาดไทย กลาโหม ศึกษาธิการ สาธารณสุข และสภากาชาด
          ข้อสังเกตุ  สถานพยาบาลต่างๆเหล่านี้ ไม่เคยได้รับรู้เลยว่า จะมีการ “บังคับ” ให้จ่ายเงิน “ค่าประกันความเสียหายไว้ก่อน” ที่จะเริ่มทำการดูแลรักษาผู้ป่วย  ไม่เคยมีการทำประชาพิจารณ์หรือให้สิทธิออกความเห็นในเรื่องที่ตัวเองจะ “มีส่วนเสีย” อย่างเดียว แม้แต่น้อย (ไม่ใช่ มีส่วนได้/ส่วนเสียด้วยซ้ำ)
 ถ้าพ.ร.บ.นี้ออกมาจริง สถานพยาบาลก็คงต้อง “บวกค่าประกันความเสียหาย” เพิ่มขึ้นด้วย เพราะเอกชนก็มีต้นทุนดำเนินงานอยู่แล้ว ส่วนในซีกรัฐบาลนั้น รัฐบาลก็ต้องจ่ายเงินให้โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น เพื่อเป็น “ค่าประกันการให้บริการทางการแพทย์” เพราะถ้ารัฐบาลไม่จ่ายเพิ่ม โรงพยาบาลของรัฐบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ต้องถึงกาล “ล้มละลายและล่มสลาย” อย่างแน่นอน เพราะปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขก็ใกล้จะล้มละลายอยู่แล้ว เนื่องจากขาดเงิน ขาดคน และขาดการพัฒนา ซึ่งเป็นผลพวงจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่สปสช.ได้ค่าหัวเพิ่มทุกปี แต่โรงพยาบาลไม่เคยได้ค่าหัวเท่ากับที่สำนักงบประมาณจัดมาให้เลย
4.   มาตรา 45 กำหนดให้ประชาชนฟ้องผู้ประกอบวิชาชีพในคดีอาญาได้อีก หลังจากได้รับค่าเสียหายแล้ว
ข้อสังเกตุ มาตรานี้ คือสิ่งกระตุ้นให้เยาวชน เลิก “อยากเป็นหมอ” เพราะหมอ คือจำเลยที่ 1 ของทุกการฟ้องร้องคดีอาญา เนื่องจากหมอ เป็นผู้รับผิดชอบคนที่ 1 ในทีมงานรักษาผู้ป่วย และหมอทั้งหลาย ก็คงจะอยากเลิกอาชีพหมอ ไป “ขายเต้าฮวยดีกว่า”  นี่คือสัญญาณการล่มสลายของระบบการดูแลสุขภาพของประชาชน เพราะดูเหมือนว่า อาชีพหมอ เป็นอาชีพ ที่มีความเสี่ยงต่อการ “เข้าไปอยู่ในตาราง” เนื่องจาก “อยากช่วยชีวิตคนอื่น”ตามร่างพ.ร.บ.นี้

80
ผม นพ. ... แพทย์ประจำรพ.อ... จ. ...
เรื่องที่ผม จะขอความช่วยเหลือคือ ผมเป็นแทย์ปฏิบัติงานที่รพ.ชุมชนทำงานเข้า ปีที่ 4 ซึ่งสมควรจะได้รับค่าตอบแทนที่ทำงานในรพ.ชุมชน ปีที่4-10 เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท/เดือน
แต่ผมเพิ่งได้ 10,000 บาท/เดือน ด้วยเหตุผลที่ว่าผมจบมาตำแหน่งอยู่ รพ.ทั่วไป คือรพ. จ... รับเงินเดือน จากรพ.จ....มาตลอด 3ปี แต่ทำงานที่รพ.ชุมชนมา2 ปี  ทั้งๆที่เพื่อนคนอื่นจบมาตำแหน่งอยู่ รพ.ชุมชนและสสจ.พอเข้าปีที่4เขาก็ได้เงินค่าตอบแทน 30,000บาท/เดือน ทั้งๆที่เสสจ.เป็นคนกำหนดให้ผมเองผมไม่ได้เป็นคนเลือกลง กลายมาเป็นว่าผมต้องทำงานอีก 2 ปีหรือต้องทำงานเข้าปีที่ 6 ถึงจะได้ค่าตอบแทน 30,000/เดือน และที่แย่ไปกว่านั้นคือก่อนหน้านี้เขา จะใช้เงินบำรุงของรพ.จ่ายค่าตอบแทน ซึ่งเงินบำรุงของรพ.ผมก็มีน้อยจึง ไม่ได้ตั้งแต่เดือน พย.2552 และมาได้จากส่วนกลางเป็นตกเบิก 4เดือนและอีก1เดือนต่อๆมาก็ได้จากส่วนกลาง ซึ่งเขาก็จะเรียกคืนเงินค่าตอบ แทนที่ผมได้มาจากส่วนกลาง
ด้วยเตุผลว่ายังรับเงินเดือนจากรพ.จ.... ทั้งๆทีผมทำงานอยู่รพ.ชุมชน มาตลอด และจังหวัดนี้ก็ขาดแคลนแพทย์ ผมก็ต้องวนปฏิบัติงานทุกรพ.ชุมชน 4 แห่งใน จ.นี้ และมีข้อแย้งคือผมวนไปปฏิบัติงานในรพ.อ....ซึ่งเป็นรพ.ทั่ว ไป2เดือน  เขาบอกว่าไม่นับเป็นชุมชนผมก็ยอมรับได้ และ รพ.ชุมชนในจังหวัดนี้ ผมว่าได้ค่าเงินเวรน้อยที่สุดในประเทศ แล้วครับ คือ800บาท/8ชั่วโมง วันหยุดเวรเช้าเวรเดียวที่ได้ 1,100 บาท/ 8ชั่วโมง
ผมทำงานเหมือนคนอื่นๆทุกคนแต่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าคนอื่น ในเมื่อไม่มีใครช่วยเหลือผม สสจ.ก็ไม่ช่วยผมควรจะทำอย่างไรดีครับ
                                                                                                 ขอแสดงความนับถือ
ปล เป็นจดหมายที่ได้รับการส่งต่อมาปรึกษาว่า จะทำอย่างไรดี จึงจะได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบ ก็เอามาลงให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกให้น้องคนนี้ด้วย แต่ไม่ทราบว่าน้องอยากจะเปิดเผยตัวตนหรือเปล่า ก็เลยไม่ลงชื่อและจังหวัดที่น้องทำงานไว้ณที่นี้ ทั้งๆที่น้องควรจะร้องเรียนไปยังปลัดกระทรวงได้เลย เพื่อทวงถามถึงความเป็นธรรม ที่ควรจะได้รับจากการเสียสละไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชนหลายๆแห่งทั้งๆที่ตำแหน่งอยู่ในโรงพยาบาลจังหวัด

81
เรียน ทุกท่าน
      จากการสำรวจความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณ สุข ในช่วง ๖ เดือนที่ผ่านมา (อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล  และคณะ) พบว่า ในปัจจุบัน ระบบบริการสาธารณะด้านสาธาณสุขของบ้านเราที่มีโครงสร้างเป็นบ ริการUC หรือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ทำให้สถานนะทางสุขภาพของ ประชาชนโดยรวมดีขึ้น  บางเรื่องพบว่าเลวลง และฐานะการคลังของประเทศ ไม่อาจจะรองรับค่าใช้จ่ายที่มีแต่เพิ่มขึ้นอย่างสูงมากได้ หากปล่อยไว้ จะกระทบความมั่นคงของประเทศ ประชาชน  ประกอบกับ การดำเนินงานของ กพ.ที่ zero growth อัตรากำลังของคนทำงานกระทรวง สาธารณสุข    พบว่าจะแก้ไขปัญหาของประชาชน ต้องแก้ไขกฎหมายซึ่งเป็นที่มา ของปัญหา  ผลการสำรวจ พบว่า ต้องการให้มีคณะทำงานดำเนินการเข้าชื่อ เสนอกฎหมายด้านสาธารณสุข ๓ ฉบับดังนี้
๑. ร่าง พรบ. ข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข (*)
๒. ร่าง พรบ.การจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข (**)
๓. ร่าง พรบ.ยกเลิกกฎหมายฯ บางฉบับที่ไม่เหมาะสม (***)
         ขณะนี้ได้มีการเข้าชื่อประชาชนทั่วไปและข้าราชการทุกสาขา และผู้ทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งได้จากจัง หวัดต่างๆ และ กทม.แล้ว โดยมีคณะทำงาน ๓๐ ท่านในช่วงแรก โดยใช้แบบเข้าชื่อ ขก.1 ทั้ง ๓ พรบ.จำนวน 3 ใบ โดยแต่ละใบ  จะต้องแนบสำเนาบัตรประชาชน (หรือบัตรหมดอายุก็ได้) หรือบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตน ได้  พร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้าน ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย ขณะนี้มีเอกสารเข้าชื่อส่งมายังคณะทำงานทุกวัน จำนวนมาก  อย่างไรก็ดียังคงต้องการท่านเป็นคณะทำงาน(อาสา) ช่วยกันเชิญบุคคลเข้าชื่อ ร่าง พรบ.ทั้ง ๓  อีก
       หากท่านสมัครใจช่วย      โปรดแจ้งเมล์ตอบมาที่   พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล   dr_orapun@yahoo.com , โทร  083 2495151  นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์  usah88@hotmail.com, ดร.ทัศนีย์ บัวคำ  tasanee01@yahoo.com  โดยท่านสามารถพิมพ์แบบเข้าชื่อ ได้ที่แนบมา 3 แฟ้มพร้อมเมล์นี้
 
ด้วยความรักและเคารพ
 
พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล
หัวหน้าคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายสาธารณสุข2553
ในคณะกรรมการศึกษาและพัฒนางานสาธารณสุข (vol)

82
ตอนนี้ มีการรวมตัวกันของกลุ่มข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ในหลายสาขาวิชาชีพ รวมทั้งสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เพื่อร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในการสาธารณสุขพ.ศ. .... เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรให้ทันก่อนยุบสภา หรือไถ้าไม่ทันจริงๆ ก็ยื่นในสภาสมัยหน้า พวกเราทั้งหลายสามารถช่วยได้โดยการเตรียมการดังนี้คือ
1.กระจายข่าวเรื่องนี้ เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการดำเนินการต่อไป โดยจะมีการรวมตัวของบุคลากรทุกสาขาอาชีพในกระทรวงสธ.
2.รวบรวมรายชื่อ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ให้ครบ 10,000 ชื่อ เพื่อยื่นเสนอพ.ร.บ.นี้ต่อสภาผู้แทนราษฎณ
3. ติดต่อกับสส.ที่ท่านรู้จัก เพื่อให้สส.เหล่านี้ สนับสนุนร่างพ.ร.บ.นี้ให้ผ่านส๓าเป็นกฎหมายให้ได้
4. พวกเรากำลังจะจัดสัมมนาอีกครั้งหนึ่ง โดยขอให้แพทยสภาเป็นเจ้าภาพ เป็นการจัดจัดสัมมนาต่อยอดจากจากการสัมมนาคราวที่แล้วเมื่อวันที่ 12 มีค.
ถ้าแพทยสภาอนุมัติแล้ว ก็จะส่งรายละเอียดมาประชาสัมพันธ์ต่อไป กะไว้ว่าจะเป็นวันที่ 17 มิย,
5.จะส่งแบบฟอร์มรวบรวมรายชื่อมาในไม่ช้านี้

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานอนุกรรมการพิจารณาและปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ แพทยสภา

83
สรุปการอภิปรายเรื่อง
“มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ในสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลการของข้าราชการ”
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ  สำนักงาน ก.พ.  จังหวัดนนทบุรี


   นายจาดุร  อภิชาตบุตร นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย : ผู้ดำเนินการอภิปรายกล่าวนำว่าปัจจุบันนี้มีข่าวในสื่อมวลชนเกี่ยวกับสิทธิในสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัวอยู่บ่อยๆ โดยมีการกล่าวว่าค่าใช้จ่ายในสวัสดิการข้าราชการสูงขึ้นมากกว่าค่าใช้จ่ายในกองทุนอื่นๆ  จนทำให้รัฐบาลมีความคิดที่จะลดค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิกาการรักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัวลง  ด้วยความเป็นห่วงว่า การเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่นโยบายที่ส่งผลกระทบทางลบต่อระบบข้าราชการ สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทยและสมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสจึงจัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมให้ความรู้และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนักและเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นและร่วมหาทางแก้ปัญหาให้กับเรื่องดังกล่าวด้วยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

นายปรีชา  วัชราภัย อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน:
o   ความคาดหวังของข้าราชการทุกคนตั้งแต่เริ่มต้นการทำงาน คือ 1)มีบำเหน็จบำนาญ 2) มีเกียรติและศักดิ์ศรี 3) มีโอกาสได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 4) สวัสดิการ ในการรักษาพยาบาล โดยสิ่งที่นึกถึงอันดับแรกคือ สิทธิ์รักษาพยาบาลทั้งตัวเองและครอบครัว  สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการมีความสำคัญทางใจค่อนข้างมาก ข้าราชการหวังพึ่งในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถึงแม้บางคนจะไม่ได้ใช้เลยตลอดชีวิตการรับราชการ
o   สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่ดูแลข้าราชการ ทั้งการทำงานและการจัดระเบียบข้าราชการให้ได้สัมฤทธิ์ผลกับภารกิจของรัฐ การทำงานให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินเดือนหรือสวัสดิการ ซึ่งการจะรับราชการให้ได้ดีที่สุดขึ้นอยู่ที่การมีสุขภาพแข็งแรงของข้าราชการด้วย
o   ปัญหาการที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น ควรพิจารณาว่าต้นเหตุที่แท้จริงคืออะไร เช่น การพัฒนาของการแพทย์ที่ทำให้คนแข็งแรงขึ้น อายุยืนยาวขึ้น จึงจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น การลดสวัสดิการลงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด และคิดว่า เงิน 45,000 ล้านบาทต่อปีไม่ได้มากเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนคน 

   น.ส.สุวิภา  สุขวณิชนันท์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ กรมบัญชีกลาง :
o   งบประมาณในเรื่องค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการสูงขึ้นทุกปี จากปี 2545 ค่าเบิกจ่ายรักษาพยาบาลในภาพรวมอยู่ 20,000 ล้านบาท ปี 2551 จำนวน 54,904 ล้านบาท และ ปี 2552 เพิ่มเป็น 61,304 ล้านบาท ซึ่งใช้จ่ายเกินงบกลาง จึงได้นำเงินคงคลังมาชดเชย นับเป็นภาระหนึ่งที่ต้องควบคุมให้มีการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
o   ปัจจุบันพบว่ามีการเบิกจ่ายไม่ถูกต้อง หลังจากการทำระบบจ่ายตรงตั้งแต่ปี 2550 ค่าใช้จ่ายก็พุ่งสูงขึ้น จึงมีการตรวจสอบระบบและพบว่าราคาสูงที่รายการยา แต่จะเกิดจากราคายาสูงขึ้น หรือเกิดจากการใช้ยาฟุ่มเฟือย หรือเกิดจากการใช้ยาไม่เหมาะสมหรือเปล่า เป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างศึกษา กรมบัญชีกลางกำหนดว่ายาที่ให้เบิกได้ คือ ยาในบัญชียาหลัก และถ้าจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักก็ต้องมีคณะกรรมการแพทย์ 3 คน เซ็นต์ให้ และพบว่าจาก 34 โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายสูง ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยนอกใช้ยานอกบัญชียาหลักประมาณ 60% ของค่ารักษาทั้งหมด ปัญหาคือว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักหรือไม่
o   ขณะนี้กรมบัญชีกลางจะเสนอกระทรวงการคลังให้ตั้งคณะกรรมการมาช่วยกันศึกษาระบบการใช้จ่ายและความจำเป็นในการใช้ยานอกบัญชียาหลักของข้าราชการ

  ศ.พญ.แสงสุรีย์  จูฑา แพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็งเม็ดเลือด โรงพยาบาลรามาธิบดี:
o   เรื่องการเบิกจ่ายข้าราชการมีอยู่ 3 มุมมอง 1) มุมมองของรัฐในฐานะผู้จ่ายเงิน ซึ่งค่าใช้จ่ายของการเบิกใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลของข้าราชการเพิ่มขึ้นทุกปีจากเดิม รัฐก็ย่อมที่จะต้องการพยายามจำกัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ แต่การรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น ยาใหม่ๆ ที่ดี ที่ได้ประสิทธิภาพ ราคาก็แพงขึ้นแน่นอน การได้มาซึ่งตัวเลขต่อหัวของระบบประกันสังคม  ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสวัสดิการข้าราชการนั้นไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายต่อหัวของระบบข้าราชการคือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ไปในแต่ละปีหารด้วยจำนวนของข้าราชการแล้วออกมาเป็นรายหัว แต่ค่าใช้จ่ายของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประกันสังคม คือจำนวนเงินที่องค์กรทั้ง 2 จ่ายให้กับโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยจากระบบ ซึ่งในความจริง โรงพยาบาลอาจมีค่าใช้จ่ายสำหรับดูแลผู้ป่วยจากระบบทั้งสองมากกว่าที่รัฐบาลจัดให้
o   2) มุมมองของข้าราชการ ซึ่งยอมรับที่จะทำงานโดยได้รับเงินเดือนน้อย แต่มีเหตุจูงใจคือหากเจ็บป่วยจะได้รับสวัสดิการที่ดี  บิดา มารดา และลูก จะได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
o   3) มุมมองของแพทย์ ในฐานะผู้ให้การรักษาผู้ป่วยย่อมอยากให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วย ดังนั้นแพทย์ต้องทำตามวิธีรักษาที่คิดว่าดีที่สุดในเวลานั้น ปัจจุบันมี ยาใหม่ที่สามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง แล้วอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นสามารถทำงานได้เช่นปกติต่อไปอีกหลายสิบปี แพทย์ย่อมต้องการให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้ยาใหม่นี้และไม่สามารถบอกผู้ป่วยว่ายาที่รักษาได้ราคาสูงมากไม่คุ้ม ควรไปใช้ยาอีกชนิดที่ราคาถูกกว่าแล้วไม่นาน ก็เสียชีวิต

  รศ.ดร.ชมนาท  รัตนมณี อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต:
o   เมื่อเริ่มตกลงใจที่จะรับราชการ เพราะทราบว่าสิทธิที่ได้รับคือ บำเหน็จบำนาญและค่ารักษาพยาบาล เป็นสิ่งที่ข้าราชการทั้งหมดต้องการ ทั้งสิทธิในการรับยาจากแพทย์ หรือสิทธิในการรับการรักษาจากโรงพยาบาลอย่างเต็มที่ของความรู้ความสามารถที่แพทย์พึงมี หากรัฐบาลจะปรับเปลี่ยนระบบสวัสดิการ จะต้องใช้แต่เฉพาะกับบุคคลใหม่ที่ยังไม่ได้เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
o   ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาลต้องมีคุณธรรม เจ้าของงบคือรัฐบาล และกรมบัญชีกลาง มีหน้าที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ของรัฐให้มากที่สุด แต่ก็ต้องให้สิทธิแก่ข้าราชการมากที่สุดเท่าที่ท่านจะทำได้ ข้าราชการและอดีตข้าราชการทั้งหลาย เราก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ต้องมีจริยธรรม และสุดท้ายคือแพทย์และโรงพยาบาล ต้องมีคุณธรรม ไม่สั่งยาผิด หรือราคาสูงโดยไม่จำเป็น ทุกฝ่ายควรเชื่อมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพซึ่งกันและกัน
o   ไม่ควรนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อหาเสียงจากประชาชนให้ไม่พอใจสิทธิ์ที่พึงได้ของข้าราชการ

   นายณัฐจักร  ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา รองอธิบดีอัยการฝ่ายที่ปรึกษา สำนักงานอัยการสูงสุด:
o   การเป็นข้าราชการ สิ่งที่หวังมากที่สุดก็คือ ยามเจ็บป่วยมีคนมาดูแลเพราะข้าราชการเงินเดือนน้อยกว่ารัฐวิสาหกิจและเอกชน แต่ปัจจุบันที่ข้าราชการกำลังถูกลิดรอนสิทธิไปเรื่อยๆ ไม่ควรมีการนำค่าใช้จ่ายของข้าราชการมาเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ เพราะมีความแตกต่างกัน ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งใช้เงินต่อหัวต่ำสุดได้ ผลักภาระค่าใช้จ่ายจริงเข้าไปสู่โรงพยาบาลเกือบทุกแห่ง โรงพยาบาลจึงต้องหาทางอยู่รอดโดยการเพิ่มค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น ผลก็คือการผลักภาระเข้ามาสู่ระบบสวัสดิการข้าราชการ ปัญหาในปัจจุบันคือการผลักภาระจากระบบหนึ่งเข้ามาสู่อีกระบบหนึ่งและมากระทบกับสิทธิข้าราชการซึ่งน้อยอยู่แล้ว
o   พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาลปี 2523 กำหนดสิทธิไว้ชัดเจนเลยว่า สิทธิพื้นฐานของข้าราชการทั้งหลายมีถึงขนาดแค่ไหน เพียงใด สิทธิที่จะให้ได้กับบิดา มารดา คู่สมรส เขียนไว้ชัด ในตัวพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ หากรัฐจะมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อลิดรอนสิทธิตรงนั้น ข้าราชการสามารถฟ้องร้องได้ทั้งศาลปกครองและศาลอาญา
o   การรั่วไหลของระบบ เช่นการใช้สิทธิ์ฟุ่มเฟือยไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แล้วไม่พอใจก็ไปอีกแห่งหนึ่ง หรือทำการเบิกค่ารักษาโดยไม่จำเป็นคือพวกทุจริต ต้องดำเนินการตามกฎหมาย
o   ยกตัวอย่าง ข้าราชการที่จบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง หมดสติล้มลงบนพื้นในห้องน้ำ จากสาเหตุเนื้องอกในสมอง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง แต่การเบิกค่าใช้จ่ายตามสิทธิ์มีจำกัด ต้องจ่ายเงินเพิ่มเองจำนวนมากและในที่สุดก็เสียชีวิต บุคคลนี้หากเลือกทำงานที่รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชน ด้วยความรู้ความสามารถถึงขนาดนี้น่าจะได้รับสวัสดิการที่ดีกว่านี้ นี่คือสิ่งที่เราต้องแก้ไข เพื่อให้มีข้าราชการที่มีคุณภาพ ไม่ควรมองว่าจะตัดงบประมาณหรือลดสิทธิ์ค่ารักษาพยาของข้าราชการลงไปอีก
o   กรมบัญชีกลางควรไปตรวจสอบว่าบัญชียาหลักมีปัญหาอะไร ทำไมแพทย์ที่มีคุณวุฒิและจรรยาบรรณทั้งหลายเลือกที่จะใช้ยานอกบัญชียาหลัก และหากทางรัฐควรยึดมั่นในหลักการเพื่อให้มีข้าราชการที่มีสวัสดิการดี มีสุขภาพสมบูรณ์ และขวัญกำลังใจดี เพื่อรับใช้ประเทศชาติต่อไป
 
ความเห็นจากผู้เข้าร่วมงานสัมมนา
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมชุดที่ 15 แพทยสภา
o   สาเหตุที่ค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการใช้งบประมาณสูงขึ้นมากเป็นเพราะระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเหตุ คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จ่ายเงินให้โรงพยาบาลที่ให้บริการน้อยเกินไป และกันเงินส่วนหนึ่งไว้ที่สปสช. เพื่อบริหารจัดการเอง ทำให้โรงพยาบาลได้รับงบประมาณในการให้บริการทางการแพทย์แบบขาดทุน  โดยโรงพยาลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดทั่วประเทศคือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีโรงพยาบาลในสังกัดมากที่สุดที่ต้องรับงบประมาณจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ทำการปรับเพิ่มราคาค่าบริการทั้งหมดของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้รับงบประมาณไม่ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย และราคาค่าบริการที่เพิ่มขึ้นนี้ โรงพยาบาลไม่สามารถเรียกเก็บจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือกองทุนประกันสังคมได้ แต่จะเรียกเก็บได้เต็มราคาที่เพิ่มใหม่นี้ ได้จากงบสวัสดอการข้าราชการและประชาชนที่จ่ายเงินเองเท่านั้น เป็นเหตุให้ค่ารักษาพยาบาลของสวัสดิการข้าราชการเพิ่มขึ้นมากจนสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจน
o    เนื่องจากแต่เดิมนั้น ก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลของทางราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข   ได้รับงบประมาณน้อย แต่ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็สามารถคิดค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยได้ในราคาถูก เพื่อเป็นสวัสดิการให้ประชาชน และเป็นรายได้อีกทางหนึ่งในการดำเนินการของโรงพยาบาล แต่เมื่อมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว โรงพยาบาลไม่สามารถเก็บเงินจากผู้ป่วยที่มีสิทธิ์บัตรทองได้  และงบประมาณรายหัวจากสปสช.ก็มีน้อย(ขาดดุลหรือขาดทุน)และกระทรวงสาธารณสุขเองก็ไม่ได้รับงบประมาณในการดำเนินการโดยตรง แม้แต่งบประมาณเงินเดือนส่วนหนึ่งของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ก็ต้องเอามาจากงบประมาณรายหัวจากสปสช. โรงพยาบาลเหล่านี้ จึงต้องนำเงินบำรุงโรงพยาบาลที่เหลืออยู่มาใช้และพยายามหารายได้เพิ่ม โดยปรับขึ้นราคาค่าบริการตรวจรักษาพยาบาลและค่าบริการอื่นๆของโรงพยาบาลทั้งหมด รวมทั้งค่าห้องพิเศษ ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่ารักษา ค่าผ่าตัดฯลฯทุกชนิดในอัตราเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 30-100 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าบริการต่างๆของโรงพยาบาลนี้ จะเก็บจากประชาชนที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ไม่ได้ เพราะเป็นงบประมาณจำกัด( Fixed cost)  ฉะนั้นค่าใช้จ่ายต่างๆในการรับบริการทางการแพทย์ตามอัตราใหม่นี้ จึงมาเพิ่มขึ้นมากที่ระบบสวัสดิการข้าราชการ เพราะเป็นงบประมาณแบบปลายเปิด กล่าวคือโรงพยาบาลสามารถเรียกเก็บเงินได้ตามอัตราเพิ่มใหม่นี้ จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ตัวเลขค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการข้าราชการเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอยู่ระบบเดียว
o   ทั้งนี้เนื่องจากระบบอื่นเป็นงบประมาณตายตัว(ปลายปิด—ขอเพิ่มไม่ได้) ขอเพิ่มไม่ได้(เพิ่มเท่าที่รัฐบาลให้ก็ไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายจริง) โรงพยาบาลที่ขาดทุนจากระบบหลักประกันสุขภาพ จึงมีรายได้จากระบบสวัสดิการข้าราชการและรายได้จากค่าห้องพิเศษ (ตามอัตราเพิ่มใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546) มาช่วย “เกลี่ย”งบประมาณค่าใช้จ่ายให้โรงพยาบาลไม่ล้มละลายจากงบประมาณขาดดุลจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
o   หากต้องการความเสมอภาค ความเป็นธรรม รัฐบาลต้องแก้ไขในระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบ ไม่ใช่หันมาลงโทษลดสิทธิ์ข้าราชการ ซึ่งเป็นผลกระทบปลายทาง

นายจาดุร  อภิชาตบุตร นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
   สรุปได้ว่า  สิทธิการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อข้าราชการ ข้าราชการแต่ละท่านมีความรู้ความสามารถผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามาโดยความยากลำบาก ตกลงที่จะยอมรับเงินเดือนน้อย โดยคาดหวังถึงสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ดีแก่ตัวเองและครอบครัว ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งการใช้สวัสดิการในทางที่ผิดของข้าราชการบางกลุ่ม หรืองบประมาณที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ควรแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุโดยตรง ไม่ใช่การแก้ไขได้ด้วยวิธีการลิดรอนสิทธิ์อันพึงมีของข้าราชการ

หน้า: 1 ... 4 5 [6]