ผู้เขียน หัวข้อ: รมว.สธ.กำชับเร่งค้นหาเด็กพัฒนาการล่าช้า  (อ่าน 671 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
 รมว.สธ. กำชับกรมสุขภาพจิตค้นหาเด็กพัฒนาการล่าช้า เข้าสู่กระบวนการดูแล อธิบดีกรมสุขภาพจิตเผยเด็กประถมได้รับการดูแลช่วยเหลือไอคิว/อีคิว 99%
       
       นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมกรมสุขภาพจิต ว่า หน้าที่ของกรมสุขภาพจิตมีความสำคัญมาก เพราะการดูแลเรื่องของสภาพจิตใจเป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของกรมสุขภาพจิต คือ การดูแลเด็กไทยให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย โดยจากการดำเนินการของกรมฯ ทำให้ทราบว่า มีเด็กไทยที่มีพัฒนาการล่าช้า จำเป็นต้องได้รับการดูแลติดตามใกล้ชิด หรือเข้ารับการรักษาราว 1% ของเด็กไทยใน 4 ช่วงวัยที่มีการตรวจสอบพัฒนาการ คือ 9 เดือน 1 ขวบครึ่ง 2 ขวบครึ่ง และ 3 ขวบครึ่ง ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตจะดำเนินการติดตามและค้นหาเพื่อให้เด็กได้เข้าสู่กระบวนการดูแลในการกระตุ้นพัฒนาการให้ดีขึ้น จึงเชื่อว่า อนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อเด็กไทยได้รับการดูแลเรื่องพัฒนาการเหมาะสมแล้ว จะทำให้คนในประเทศมีความแข็งแรงทั้งกายและใจ
       
       นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวนำเสนอผลงานกรมสุขภาพจิตในรอบ 9 เดือน ว่า เด็กพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ 71.03% เด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ การเรียนรู้ ไอคิว/อีคิว ได้รับการดูแลช่วยเหลือ 99.97% นอกจากนี้ การดูแลกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาคู่เครือข่าย 1 โรงพยาบาล 1 โรงเรียน (One Hospital One school) จำนวน 851 คู่เครือข่าย พบว่า มีนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 15,778 คน แยกเป็นท้องไม่พร้อม 514 คน เพศอื่น ๆ 3,445 คน สารเสพติด 8,850 คน และความรุนแรง 2,969 คน โดยได้รับการดูแลช่วยเหลือหรือส่งต่อคิดเป็น 86.9% ในส่วนของประเด็นผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเข้าถึงบริการสุขภาพจิตนั้น อัตราเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคจิต 68% และอัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 46.68%
       
       นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย หรือ ดีเอสพีเอ็ม (Developmental Surveillance and Promotion Manual :DSPM) อาจไม่ได้เหมาะสำหรับการใช้คัดกรองเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า แต่เหมาะสำหรับเจ้าหน้าที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาการเด็ก ซึ่งเมื่อนำมาใช้สามารถเพิ่มพัฒนาการเด็กได้ดี ดังนั้น การจะแก้ปัญหาพัฒนาการเด็กได้มากขึ้น จึงควรเพิ่มเรื่องการป้องกันไม่ให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า โดยเน้นในกลุ่มแม่ โดยเฉพาะแม่ที่มีฐานะบากจนและแม่วัยรุ่น ก่อนที่จะมีการคัดกรองในกลุ่มเด็ก เชื่อว่า จะสามารถลดปัญหาเด็กมีพัฒนาการล่าช้าได้

โดย MGR Online       15 สิงหาคม 2559