ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวิตคนไทยมากกว่า40ล้านคน ช่วยกันปรับปรุง แก้ไข คนในระบบ สาธารณสุขทำงานด้วยหัวใจ  (อ่าน 552 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับการทำงาน หลักการของระบบสุขภาพ และสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งขณะนี้เกิดจากกลุ่มคนกลุ่มเดียว ที่สร้างกฎ และไม่มีการปรับแก้ เมื่อเห็นปัญหา และกลับขยายองค์กร ครอบประเทศ ประหนึ่งสามารถนำทางชี้นำประเทศ แก้ไขปัญหา ช่วยคนยากคนจน หลักการดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว

สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ รับงบจากภาษีบาป 45-57 จำนวน 35,848 ล้านบาท แต่บุหรี่ขายดี โรงงานยาสูบกำไร 10,000 ล้าน ในปี 2559 เท่ากับ สสส.จะได้งบเพิ่มอีกจากการตัดจากภาษีบาป กลยุทธ์ที่ต้องล้างต้องเริ่มใหม่ หรือไม่เอาเงินเหล่านี้มาช่วยคนยากไร้ที่รอความตายอยู่ที่โรงพยาบาลรัฐดีกว่า

ที่ไหนได้โบนัสเพิ่ม สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนด โรค กำหนดกฎ ต้องเป็นเช่นนี้ ต้องทำแค่นั้น ต้องใช้เครื่องมือยาอย่างนี้ จึงจะเบิกได้ เปลี่ยนการให้การรักษามนุษย์มีชีวิต เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ประกาศว่าสามารถกำหนดความไม่แน่นอนในการรักษามนุษย์ เป็นความแน่นอนได้!!!!!!

ภาพที่เห็น รพ.รัฐรับภาระ ทั้งคนไข้นอก ใน เกินกว่ากำลัง 2-3 เท่า หมอเท่าเดิม บุคลากร พยาบาล และทุกคนในสาธารณระบบเท่าเดิม (ทุกคนมีครอบครัว) อยู่เวรวัน คืน งานหนักขึ้น ช้า พลาด เข้าคุก ถูกฟ้อง เพราะคนกลุ่มเดียวกันเป็นคนตัดสิน ไม่คำนึงว่าทำงานสุดชีวิตแล้วภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้าย และกลุ่มนี้ปลุกระดมให้มีการพยาบาทบุคลากรสาธารณสุข ทั้งนี้ การเยียวยาผู้ประสบเคราะห์ไม่ผิด แต่การผลักความผิด และกระพือให้ประชาชนเห็นบุคลากรเป็นคนชั่ว เป็นความอำมหิต

ต้องเข้าใจครับว่า “ชั้นนั่งรอ 4 ชั่วโมง พูดนาทีเดียว” คนที่พูดนาทีเดียว คือคนคนเดียวกันที่ตรวจแต่เช้ายันบ่าย คนไข้เป็น 100 คืนที่ผ่านมาอยู่เวร ขณะตรวจถูกคนไข้ในตาม กลับมาห้องตรวจ ถูกด่า “หมอแม่งไปไหนวะ กูรอมา 3 ชั่วโมง” ย้ำ นี่คือ รพ.รัฐ ทำมาก ทำน้อย เงินเดือนเท่านั้น ทำด้วยใจสลาย

องค์กรอื่นๆที่เป็นกลุ่มเดียวกัน โยกคน โยนงบ ให้ทุนวิจัยกันเอง คนบริหารกันเอง คิดสร้างกฎ แนวคิด ทั้งๆที่ตนเองไม่เคยปฏิบัติ การอ่าน และถามมาสร้างเป็นกฎ เป็นเรื่องมหัศจรรย์ลุ่มลึก ใช้งบประเทศที่มีจำกัดเป็นตัวตั้ง และให้กระเสือกกระสนทำกันเอง โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศล้มขาดทุน กลับพูดว่า ทำไมไม่จัดงานกฐิน งานเรี่ยไร ขอนักร้องมาวิ่งหาเงิน โรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน หมอใหญ่เดินร้องไห้ ไปหาท่านเจ้าอาวาสขอเงินมาซื้อเครื่องช่วยหายใจให้คนไข้

เวลาที่หมอ พยาบาลหมดแรง หมดใจ หมอใหญ่คือรุ่นพี่ มาไม่ไหว ถูกเหยียดหยามว่าไม่รับผิดชอบ หนีไปเปิดร้านตอนเที่ยง ดูมุมกลับ ที่ถูกตามแซะไม่ขึ้น นอนเป็นตาย บ้างไม่สบาย ที่ต้องเปิดร้าน เพราะหมอ พยาบาลมีลูก ซึ่งอยากจะได้เรียน อยากมีอนาคต ถ้าพ่อ แม่ ทำงานเกินสัปดาห์ละ 40 เป็น 80-100 ชั่วโมง เวลาอยู่กับครอบครัวไม่มี เงินเดือนไม่พอให้อนาคตต่อลูก ต่อพ่อ แม่

องค์กรเช่นนี้ ผนึกกำลังแน่น ใครแตะต้องไม่ได้ เพราะจะถูกป้ายว่าจะล้มโครงการช่วยคนยากไร้ แต่ความเป็นจริง ระบบและประเทศต้องล้มแน่เพราะไม่ถูกแก้ไข

งานทางด้านป้องกัน แบบเดียวกัน สถานีอนามัย (เรียกแบบเดิม) คนหยิบมือ ต้องส่งเสริมสุขภาพ คนเป็นหมื่น บันทึกสุขภาพครอบครัว อายุ เพศ โรค ยา การได้วัคซีน คัดกรองเบาหวาน ความดัน มะเร็งปากมดลูก ฉีดวัคซีน เฝ้าระวังโรคระบาด บันทึกสถิติเพื่อกระทรวง และคนเหล่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ จะได้อ้างได้ว่าเพราะมีตนเอง ถึงมีตัวเลขเหล่านี้และให้ท้าย ให้ทะเลาะกันเองระหว่างบุคลากรรักษาและป้องกัน แท้จริงเป็นเหยื่อทั้งสองฝ่าย ต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน...เป้าหมายที่เราต้องการ ไอซียูร้าง วอร์ดไม่มีคนไข้ ต้องกวักมือหาคนไข้ ห้องตรวจคนไข้น้อยจนน่าใจหาย นี่คือ การประเมิน KPI อะไรก็ชั่ง ที่องค์กรเหล่านี้ต้องถูกตรวจสอบ สอบสวนว่าทำไมจนถึงขณะนี้ เลวร้ายลงเรื่อยๆ

ความเห็นและคำอธิบายของอาจารย์ Yongyuth Chaiyapong ปัญหาที่แท้จริงคือคนกลุ่มนั้นต้องการยึดอำนาจโดยการนำการแพทย์ สาธารณสุข และระบบสุขภาพมาใช้เป็นกลไกในการสร้างมวลชน เพื่อนำประชาชนมาเป็นทั้งฐานอำนาจ มาเป็นทั้งตัวประกัน มาเป็นทั้งอาวุธกลยุทธ์ที่ใช้ทั้งในลักษณะของการแทรกซึม การบ่อนทำลายได้ขยายตัวไปมากมายจนยากที่จะจัดการ ความจริงทั้งหมดคืออะไรนั้นต้องบอกว่าทุกวันนี้คงเป็นที่รู้กันอย่างดี เครือข่ายที่วางไว้เป็นขุมกำลังที่เชื่อมกันนั้นซับซ้อนซ่อนเงื่อน โดยส่วนตัวแล้วมองว่านี่คือส่วนหนึ่งของสงครามชิงอำนาจที่หนักหนาสาหัสมาก บอกตรงๆว่าหลายครั้งหงุดหงิดขัดใจ แต่เมื่อมองในองค์รวมแล้วก็เข้าใจ ที่ออกมาเรียกร้องทุกวันนี้ก็เพราะการยื้อกันไปมานั้นทำร้ายชีวิตประชาชนทั้งประเทศที่คนกลุ่มนั้นลากเข้าไปเป็นตัวประกัน โดยที่ตัวประกันจำนวนมากยังไม่รู้ตัว เอากันง่ายๆ ใน สนช.เอย ใน สปท.เอย ลองตรวจสอบกันดูสิครับว่าใครเป็นใครมาจากไหน แล้วกำลังทำอะไรกันบ้าง กว่าจะรู้ทันตรงนี้รัฐบาลก็เสียรังวัดไปเยอะ หากเราเข้าใจกันเช่นนี้คงมีกำลังใจเดินหน้า ร่วมมือกันเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการปัญหาอย่างเข้มแข็งกันนะครับ

Health care system management ที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับ social welfare นั้นต้องคำนึงถึงการนำ health insurance มาใช้ประโยชน์อย่างหนัก คนที่ดำเนินการต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งใน วิทยาศาสตร์ที่สัมผัสได้กับการปฏิบัติ ที่ไม่ใช่การจัดการความเสี่ยง จัดการความรู้ (risk หรือ knowledge management) อย่างเดียว

คำถามคือตั้งแต่แรกเริ่มก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสียด้วยซ้ำไป ประเทศไทยมีคนไทยที่จบการศึกษาโดยตรงในสาขานี้ มีความเข้าใจจริงในศาสตร์จนสามารถทำงานได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมกี่คน เป็นใคร ทำงานที่ไหน แล้วได้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่างพระราชบัญญัติและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณหรือไม่อย่างไร ลากตรงนี้ออกมาวางตรงหน้ารัฐบาลและประชาชนกันครับ.
หมอดื้อ

7 พ.ค. 2560 05:01
หมอดื้อ
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา