ผู้เขียน หัวข้อ: เผยคนไทยเป็นวัณโรค 1.3 แสนราย ตายปีละ 1.1 หมื่น สธ.วาง 3 มาตรการป้องกัน  (อ่าน 921 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9801
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่โรงแรมแม่น้ำรามาดา นายสุรชัย เบ้าจรรยา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวภายหลังเปิดประชุมร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ผู้กำกับแผนงานวัณโรคทั้งระดับจังหวัดโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง ภาคเอกชนและเอ็นจีโอ เพื่อชี้แจงแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในประเทศไทย และแถลงข่าวเนื่องในวันวัณโรคโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 24 มีนาคมทุกปี
 
นายสุรชัยกล่าวว่า ปัจจุบันพบตัวเลขผู้ป่วยและตายจากวัณโรคในประเทศไทยค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในโลกในปี 2553 องค์การอนามัยโลกรายงานพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทั่วโลก 8.8 ล้านคน เสียชีวิต 1.4 ล้านคน ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศของโลกที่ยังมีปัญหาวัณโรครุนแรง คาดว่าไทยมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคปีละ 11,000 ราย มีผู้ป่วยวัณโรคทุกชนิดประมาณ 130,000 คน ร้อยละ 80 เป็นวัณโรคปอด มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 94,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-4 ต่อปี มาตลอด ในจำนวนนี้ร้อยละ 50 อยู่ในระยะแพร่เชื้อ และร้อยละ 16 ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย

สำหรับแนวโน้มปัญหาวัณโรคของไทย อาจรุนแรงขึ้นกว่าเดิมอีกมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1.การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ซึ่งทำให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานต่ำมีโอกาสติดเชื้อวัณโรคได้สูงกว่าคนปกติถึง 37 เท่า ที่ผ่านมาพบได้ร้อยละ 16 และ 2.จากปัญหาเชื้อดื้อยาเพราะผู้ป่วยขาดยา กินยาไม่ต่อเนื่อง ทำให้เชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น คาดว่าขณะนี้ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 1,920 ราย

นายสุรชัยกล่าวอีกว่า ในการเร่งหยุดยั้งการแพร่ระบาดของวัณโรค ปีนี้ สธ.ได้ใช้ 3 มาตรการหลัก เพื่อเร่งรัดให้เมืองไทยปลอดวัณโรค (Thailand free TB) เน้นการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก มารับการรักษาโดยเร็วและกินยาครบสูตรจนหายขาด โดย
1.เร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง
2.พัฒนาคุณภาพการรักษาด้วยระบบยาระยะสั้น โดยมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยาทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และมุ่งหวังที่จะมีการพัฒนาระบบยาที่สั้นลงจากเดิมที่เคยรักษา 6-8 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และ
3.พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ

มติชนออนไลน์   22 มีนาคม พ.ศ. 2555