ผู้เขียน หัวข้อ: หัวใจวายเพราะ"สูญเสียคนสำคัญ" ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม  (อ่าน 1153 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
 ความเศร้าจากการรับทราบข่าวการเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รักเป็นอันตราย! เมื่อมีการวิจัยพบว่า มนุษย์เสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวายสูงขึ้น เมื่อคน ๆ นั้นต้องแบกรับความเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันที่รัก เช่น พ่อแม่ ลูก สามี-ภรรยา ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท โดยช่วงที่อันตรายที่สุดคือวันแรกที่ทราบข่าวนั่นเอง
       
       อย่างไรก็ดี เวลาเป็นผู้เยียวยาอาการนี้ที่ดีที่สุด เพราะความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจวาย (ในกรณีของการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก) นี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
       
       การศึกษาครั้งนี้ส่งตรงจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ศึกษาจากผู้รอดชีวิตจากอาการหัวใจวายราว 2,000 ราย โดยพบว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหัวใจวายนั้นจะเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกที่คนผู้นั้นทราบข่าวการจากไปของคนที่ตนเองให้ความสำคัญ ทั้งนี้ งานวิจัยบางชิ้นได้ชี้ว่า ระยะเวลาของความเสี่ยงนั้นอาจยาวนานขึ้นในกรณีที่ผู้เสียชีวิตเป็นสามีหรือภรรยา
       
       ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักนั้นส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่มีชีวิตอยู่ และมีความผูกพันกับบุคคลที่เสียชีวิตโดยตรง ความเศร้าโศกเสียใจ การนอนไม่หลับล้วนส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้
       
       ดร. เมอเรย์ มิทเทิลแมน แพทย์ด้านหัวใจจาก Harvard Medical School กล่าวว่า "ผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ต้องตระหนักว่า ตนเองนั้นมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายได้ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแลบุคคลผู้นั้นอยู่ก็ต้องตระหนักในเรื่องนี้เช่นกัน"
       
       Elizabeth Mostofsky หัวหน้าโครงการวิจัยกล่าวว่า สำหรับผู้ที่กำลังเศร้าโศกกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักนั้นอาจไม่มีกำลังใจมากพอที่จะดูแลตนเอง และอาจเป็นไปได้ที่จะลืมรับประทานยาที่เกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือไม่ระมัดระวังตัวจนนำมาซึ่งโรคภัยต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อน และครอบครัวควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเผื่อเกิดหัวใจวายขึ้นมาจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที สัญญาณของอาการหัวใจวายที่สามารถสังเกตได้ เช่น อาการแน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออก เป็นลม เป็นต้น
       
       "ในช่วงที่มีความเศร้าโศกเสียใจอย่างมากนั้น ไม่ควรลืมดูแลตัวเอง และควรพิจารณาอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างต่อเนื่องว่ามีส่วนสัมพันธ์กับอาการหัวใจวายมากน้อยเพียงใดด้วย" หัวหน้าโครงการวิจัยกล่าว
       
       เรียบเรียงจากเดลิเมล
ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 มกราคม 2555