ผู้เขียน หัวข้อ: คุณ...อยู่ในกลุ่มรวยกระจุก หรือ จนกระจาย  (อ่าน 1198 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
มื่อเร็วๆ นี้ มีผลสำรวจชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็นการสำรวจลูกค้ากลุ่มธนาคารพิเศษที่มีเงินฝากสูงกว่า 43 ล้านบาทขึ้นไปกว่า 2,800  คน ใน 9 ตลาดหลักในเอเชีย (รวมประเทศไทย) 

ผลสำรวจดังกล่าวชี้ว่า เศรษฐีเอเชียโดยเฉลี่ยตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างเงินให้งอกเงยขึ้นไม่ต่ำกว่า 124 ล้านบาท (4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายใน 10 ปี  ซึ่งหมายความว่าเศรษฐีเอเชียเหล่านี้  ต้องการผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าปีละ 12% โดยที่เศรษฐีไทยโดยเฉลี่ยตั้งเป้าสร้างเงินไว้ที่ 100 ล้านบาทใน 10 ปี

อย่างไรก็ตาม เห็นผลสำรวจดังกล่าวแล้ว ทำให้นึกถึงว่าสังคมไทยยังหลุดไม่พ้นปัญหา 'ความเหลื่อมล้ำ' โดยยังอยู่ในสภาพของ 'คนรวยกระจุก' และ 'คนจนกระจาย'

เพราะข้อมูลในอีกด้านหนึ่ง  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์ฯ ระบุว่า ปี 2553 จำนวนคนจนในประเทศไทย ยังมีอยู่ถึง 5.08 ล้านคน (5,076,700คน) หรือคิดเป็นสัดส่วน 7.5 %  (พิจารณาจากเส้นความยากจนที่ 1,678บาทต่อคนต่อเดือน)ลดลงเมื่อเทียบปี 2552 ที่มีจำนวนคนจน 5.3ล้านคน  (5,278,900 คน )หรือคิดเป็นสัดส่วน 8.12%  และปี 2551 มีจำนวนคนจน 5.8 ล้านคน ( 5,771,900คน ) หรือคิดเป็นสัดส่วน 8.95% แม้จำนวนคนจนและสัดส่วนคนจนมีแนวโน้มลดลงก็ตาม

แต่ !!!ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างคนรวยสุดในสังคม (20 % สุดท้าย) ต่อกลุ่มที่จนสุดในสังคม (20% แรก)  ความเหลื่อมล้ำในรายได้ยังห่างกันถึง  11.31 เท่า

****พบทั่วโลกมีรายได้เฉลี่ย60 บาทต่อวันถึง 2,500ล้านคน

ที่น่าตกใจไปกว่านั้น !!!รายงานของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)ระบุว่า พบว่าคนจนกว่า 2,500 ล้านคน ทั่วโลก มีรายได้เฉลี่ยประมาณวันละ 60 บาทเท่านั้น   

ขณะที่จากจำนวนประชากรโลกทั้งหมด  มีประชากรที่ร่ำรวยที่สุด 70 ล้านคน หรือคิดเป็น 1% มีรายได้เท่ากับประชากรที่ยากจนที่สุด 3.5 พันล้านคนหรือ 50% ของประชากรโลก

คุณ.....อยู่ในกลุ่มรวยกระจุก หรือจนกระจาย  ?  และความเหลื่อมล้ำดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างไร

****เอดีบีเตือนศก.โตเร็วนำปัญหาช่องว่างรายได้

ไม่กี่วันมานี้  ธนาคารพัฒนาเอเชีย ( เอดีบี ) ยกประเด็น'ความเหลื่อมล้ำ' ขึ้นมาเตือนว่า เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชีย อาจนำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมและช่องว่างรายได้  หรือ 'กลุ่มคนด้อยโอกาส' จะถูกดึงเข้าไปสู่ “วงจรอุบาทว์”แห่งความยากจน และการถูกละเลยจากภาครัฐ

ราจัต แน็ก ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการของ เอดีบี ระบุว่า“ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันจะกระทบถึงความเชื่อมโยงในสังคม และมีผลทางการเมืองด้วย นอกจากนี้จะทำให้รัฐบาลต้องหันกลับไปใช้นโยบายประชานิยมเพื่อซื้อใจ ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในทางเศรษฐกิจ"

รี ชางยอง หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบี  ระบุว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเอเชีย  ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยในเอเชียเพิ่มมากขึ้น  ช่องว่างที่ขยายใหญ่ขึ้น แม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง แต่ละส่งผลให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง และส่งผลสะเทือนต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจได้ในที่สุด

ขณะที่ 'ลัษมณ อรรถาพิช 'เศรษฐกรประจำประเทศไทย เอดีบี ให้ข้อมูลอ้างอิงข้อมูลของสภาพัฒน์ฯว่า  กลุ่มคนรวยที่สุด 10% แรกของประเทศ มีรายได้รวมกันมากถึง 38.41% ของรายได้รวมทั้งประเทศ   กลุ่มคนชั้นกลางมีรายได้ 15.98 %  ของรายได้รวม ขณะที่กลุ่มคนจนที่สุด 10% แรกของประเทศมีรายได้เพียง 1.69% ของรายได้รวมเท่านั้น

ปัญหาความเหลื่อมล้ำในไทยเมื่อดูจากดัชนีความเหลื่อมล้ำ เหมือนกับว่าความเหลื่อมล้ำของไทยดูจะดีขึ้น แต่หากดูตัวเลขกันจริงๆ เมื่อเปรียบกับประเทศอื่นอีกหลายประเทศในเอเชีย พบว่าความเหลื่อมล้ำของไทยสูงกว่าประเทศอื่น

ข้อเสนอแนะของเอดีบีในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ คือ รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังอย่างเฉพาะเจาะจง ลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในด้านการศึกษา สุขอนามัย และด้านประกันสังคม แม้ไทยมีเครื่องมือเหล่านี้อยู่แล้ว  แต่การดำเนินการยังไม่มากพอ และแม้ว่าภาครัฐพยายามที่จะใช้นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการให้ผู้มีรายได้ต่ำมีรายได้มากขึ้น  แต่หากทำอย่างไม่เป็นระบบ และทำอย่างไม่มุ่งเน้นแบบเจาะจงไม่ยั่งยืน ในที่สุดความเหลื่อมล้ำก็จะเกิดขึ้นต่อไป

***รัฐบาลเน้น'กระจายรายได้'ควบคู่'การเติบโตศก.'ลดความเหลื่อมล้ำ

กรณีของประเทศไทย  การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นหนึ่งในเรื่องที่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเช่นกัน โดยน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในโอกาสร่วมงานวันนักข่าวครบรอบ 57 ปี  ในหัวข้อ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์  ตอบโจทย์ประเทศไทย”

ตอนหนึ่งที่นายกฯกล่าว ระบุว่า การแก้ปัญหาในมิติของเศรษฐกิจ มีความซับซ้อนalt โดยมองการแก้ไขปัญหา 3 ส่วน คือ 1.การแก้ฐานประชากรโดยยึดฐานรายได้เป็นหลัก ให้ความสำคัญในการเติมเต็มปัจจัยสี่ และปัจจัยพื้นฐานอย่างเต็มที่ และแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม และการพักชำระหนี้   2.แก้ไขปัญหาภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ประเภทของกองทุนทั้งหลาย เป็นการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ทุกนโยบายจะต้องช่วยให้สร้างรายได้และช่วยตัวเองได้   3.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว

สะท้อนผ่านนโยบายที่รัฐบาลเดินหน้าผลักดันในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท  นโยบายหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุน คือ กองทุนสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ  กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนประกันสังคม การเพิ่มโอกาสของผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและทรัพยากร  นโยบายพักหนี้ลูกหนี้ชั้นดี ที่มีมูลหนี้ต่อรายไม่เกิน 5 แสนบาท  ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านี้ยังไม่สามารถสะท้อนผลในระยะเวลาอันสั้น ประกอบกับปัญหาเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน  รวมทั้งมีการตั้งข้อสังเกตถึงนโยบายที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ในขณะนี้ว่า  ต้องทำอย่างเป็นระบบ และทำแบบยั่งยืน

***ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษานำมาสู่ค่าจ้างแรงงานที่แตกต่าง

altนอกเหนือจากความเหลื่อมล้ำที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว  ยังมีประเด็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากศึกษา สะท้อนผ่านการจ้างงาน เห็นได้จากผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  โดยฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ รายงานตัวเลขค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยเฉลี่ย สิ้นปี 2554 แยกตามการศึกษาและสาขาอาชีพ โดยแยกค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยตั้งแต่ไม่มีการศึกษา จนถึงปริญญาตรีเฉลี่ยทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ พบว่า ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานที่ไม่มีการศึกษา ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 4,789.17 ต่อเดือน แรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 5,734 บาทต่อเดือน  แรงงานที่มีการศึกษาระดับ ประถมศึกษา มีค้าจ้างเฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 6,089.98 บาท ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่  6,972.18 บาทต่อเดือน
     
ค่าจ้างของแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย  ค่าจ้างแรงงานของผู้จบมัธยมปลายสายอาชีวะ จะมีค่าจ้าง แรงงานเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดที่12,500.59 บาท ส่วนแรงงงานที่จบมัธยมปลายสายสามัญจะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่ำที่สุด 7,863.45 บาทต่อเดือน  ค่าจ้างแรงงานในสายวิชาการศึกษาซึ่งหมายถึงด้านวิเคราะห์ วิจัย วางแผนพัฒนา เทคโนโลยีในการศึกษา จะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนที่  7,960.42 บาท แรงงานระดับอนุปริญญา

มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมทุกประเภทอยู่ที่ 11,209.59 บาทต่อเดือน โดยค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของผู้จบสายสามัญ มีรายได้เฉลี่ยสูงอยู่ที่ 13,647.59บาทต่อเดือน สายอาชีวศึกษากลายเป็นสายที่ได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 11,054.49 บาทต่อเดือน ขณะที่สายวิชาการการศึกษามีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่11,443.89 บาทต่อเดือน
       
ค่าจ้างแรงงานระดับปริญญาตรี พบว่า แรงงานในระดับปริญญาตรีสิ้นปี 2554 มีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 18,210.34 บาท แยกเป็น สายวิชาการ มีค่าจ้างเฉลี่ย17,882.10 บาทต่อเดือน สายวิชาชีพ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน 17,032.20 บาท โดยในระดับปริญญาตรีนั้น สายวิชาการการศึกษาขึ้นมาเป็นสายที่มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 22,796.45 บาทต่อเดือน
         
เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยระหว่างผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี กับสูงกว่าปริญญาตรีจะเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยแบบก้าวกระโดด โดยจากค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยในปี 2554 ของแรงงานระดับปริญญาตรีที่ 18,843.53 บาทต่อเดือน เมื่อขึ้นมาเป็นแรงงานระดับปริญญาโทจะมีค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 33,881.35 บาทต่อเดือน และหากเป็นแรงงานระดับปริญญาเอก ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนจะขึ้นไปที่ 80,288.83 บาทต่อเดือน
         
****ช่องว่างรายได้เพศชาย-หญิงต่างกัน20-30%

นอกจากนี้ สมาคมเอเชีย หรือ เอเชีย โซไซตี  ในสหรัฐอเมริกา เปิดผลสำรวจสถานะผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียว่า ระบุว่าช่องว่างระหว่างรายได้ชายกับหญิง มีผู้หญิงเอเชีย 2,000 ล้านคนได้ค่าจ้างและเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชายที่มีหน้าที่การงานใกล้เคียงกัน ประเทศที่มีช่องว่างระหว่างรายได้ห่างมากที่สุด คือเกาหลีใต้  ถัดมาเป็นเนปาล บังกลาเทศ จีนและญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่มีความแตกต่างของรายได้ชาย-หญิงน้อยที่สุดได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ มองโกเลีย และไทย แต่ โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงทั่วโลกได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชาย มากถึงร้อยละ 20-30

ขณะที่ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)อ้างอิงผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 150,000 คน  สุ่มตัวอย่างจาก 148 ประเทศทั่วโลก

พบว่าสถิติผู้หญิงที่มีบัญชีธนาคารในประเทศกำลังพัฒนามีเพียง 37 % เมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีบัญชีธนาคาร 46 % แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงยังไม่อาจเข้า

ถึงสถาบันการเงินได้มากเท่าผู้ชาย   และ 80 %ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกระบุว่าจำเป็นต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ เพราะสถาบันการเงินในประเทศไม่ให้ความช่วยเหลือ ทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราสูง  รายงานของธนาคารโลกระบุว่าการกู้ยืมเงินนอกระบบกลายเป็นวงจรหนี้สิน ซึ่งทำให้คนจำนวนมากไม่อาจหลุดพ้นจากความยากจน

ในภาวะที่หลายประเทศกลับมามองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ  ปัญหาความเหลื่อมล้ำหรือช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน จึงเป็นปัญหาของประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต้องให้ความสำคัญ  รวมทั้งกรณีของไทย เพราะผลกระทบจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ หากยิ่งรุนแรงขึ้น อาจทำลายทั้งเสถียรภาพทางการเมือง และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจได้ ที่สำคัญ!การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำต้อง'เป็นระบบ' และเน้น 'ยั่งยืน'
 

ฐานเศรษฐกิจ  26 เมษายน 2012