ผู้เขียน หัวข้อ: แนะบัตรทองร่วมจ่ายเหมือนข้าราชการได้ กรณีเลือกใช้วัสดุการแพทย์  (อ่าน 682 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9785
    • ดูรายละเอียด
กมธ.สธ.เชิญ ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจากคณะแพทย์จุฬาฯและดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย จากNIDAมาชี้แจงการวิเคราะห์งานวิจัยของTDRIเมื่ออาทิตย์ก่อนและเชิญดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์,ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์,ดร.ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร เจ้าของงานวิจัยที่แพร่หลายในSocial mediaจากTDRI พร้อมผอ.สำนักบริหารการสาธารณสุข รองผอ.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลและผช.ผอ.สนย.ของสธ.มาร่วมชี้แจงในวันนี้(๓๐มิย.)เพื่อศึกษางานวิจัยที่มีความสำคัญชิ้นนี้ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นักวิจัยจากTDRIสนใจ จึงไปขอสนับสนุนงบฯจากสปสช.และสธ.มาดำเนินการสรุป


จากฐานข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมด๑,๐๖๗,๙๕๔คน เป็นบัตรทอง๗๓๑,๙๔๕คน สิทธิสวัสดิการข้าราชการ๓๓๖,๐๐๙คน ทุกคนเป็นผู้ป่วยในที่มีอายุมากกว่า๖๐ปี อัตราเฉลี่ยบัตรทอง๗๘ปี สวัสดิการข้าราชการ๗๔ปี ในช่วงปี๒๕๕๐-๒๕๕๔ โดยป่วยเป็นอย่างน้อย๑ใน๕โรค คือเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองและมะเร็ง พบว่าอัตราการใช้บริการของข้าราชการสูงกว่าบัตรทองอย่างชัดเจน พบอัตราการเสียชีวิตที่รพ.ของบัตรทองสูงกว่าสวัสดิการข้าราชการ๔๔%ต่อ๓๘% (อัตราตายใน๑ปีของบัตรทอง๒๒.๖๙%ของสวัสดิการข้าราชการ๑๖.๒๘%)ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยของระบบข้าราชการสูงกว่าบัตรทอง อัตราผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่หลังจำหน่ายจากรพ.๑๐วัน,๔๐วันและ๑๐๐วัน พบว่าสวัสดิการข้าราชการสูงกว่าบัตรทองทั้งหมด หลังออกจากรพ.๑๐๐วันข้าราชการยังมีชีวิตอยู่๓๔%ในขณะที่บัตรทองเหลือเพียง๐.๐๑% TDRIสรุปว่าผู้ป่วยในระบบบัตรทองมีสัดส่วนการตายที่โรงพยาบาลมากกว่า ใช้ค่ารักษาพยาบาลในช่วงปีสุดท้ายก่อนตายสูงกว่าโดยเฉพาะใน๙๐วันก่อนตาย แต่เห็นว่าผู้ป่วยบัตรทองมีข้อจำกัดในด้านข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคมและพฤติกรรมมากกว่าบัตรทอง มารักษาต่อเมื่อป่วยหนักและมักไม่ทราบถึงความรุนแรงของโรคที่เป็น โดยเฉพาะองค์ความรู้ในโรคที่เป็น เห็นว่าประเด็นหลักคือการเหลื่อมล้ำระหว่างสิทธิทั้งสอง แต่ที่ประชุมเห็นว่าถ้าจะให้สิทธิเท่ากันก็ควรทำให้สิทธิที่แย่กว่าให้เพิ่มขึ้นทัดเทียมกับสิทธิที่ดีกว่า ไม่ใช่การรวมกองทุนแล้วทำให้สวัสดิการข้าราชการถดถอยลงมาย่ำแย่เท่าบัตรทอง

ส่วนนักวิจัยทั้ง๒ท่านนั้น วิเคราะห์จากความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าผู้ป่วยมะเร็งตายมากเนื่องจากระบบบัตรทองที่ใช้สูตรสำเร็จในการรักษาเพราะต้องการลดต้นทุน กรรมาธิการหลายท่านเห้นว่าถ้าหากมีการร่วมจ่าย อาจช่วยให้ดีขึ้น
ในโรคหัวใจขาดเลือดและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดที่มีอัตราตายสูง เชื่อว่าเกี่ยวกับคุณภาพของยาและวัสดุที่ใช้รักษา เช่นstentในการใช้ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ เชื่อว่ามีข้อจำกัดจากการประมูล ทำให้ได้ของที่มีคุณภาพต่ำ แม้จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการ แต่โดยระบบต้องให้ผู้ป่วยไปรักษาตามสิทธิ ทำให้เกิดความล่าช้า เห็นว่าการร่วมจ่ายในการซื้อวัสดุอาจช่วยได้ ทั้งสองท่านเชื่อว่าวิธีการประหยัดเงินเป็นตัวตั้งกฎเกณฑ์ก่อให้เกิดผลเสียในการรักษา ทำให้ขาดการควบคุมคุณภาพจากการแข่งขันของผู้ขายยาและเวชภัณฑ์ แพทย์ไม่มีสิทธิเลือกชนิดและบริษัท ผลคือผู้ป่วยเสียชีวิตมากอย่างที่ไม่ควร มีความเห็นตรงกับTDRIว่าผู้ป่วยบัตรทองขาดการส่งเสริมป้องกันโรค ป่วยหนักกว่าเพราะมารักษาในระยะท้ายๆ แต่วิเคราะห์ว่ามีการรักษาที่ไม่ตรงตามหลักการแพทย์และ/หรือเภสัชกรรมจากระบบบัตรทอง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากบัตรทองเกินถึง ๗๑.๕๔๓คน

กมธ.สธ.เห็นว่ารายงานนี้มีฐานข้อมูลที่มาก สรุปได้ว่าผู้ป่วยบัตรทองเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการ
การจัดซื้อยาและวัสดุการแพทย์ต้องมีการควบคุมคุณภาพในการประมูล ไม่ใช่คำนึงถึงราคาถูกแต่เพียงอย่างเดียว
ควรมีการร่วมจ่ายจากผู้ป่วยได้เหมือนการร่วมจ่ายของข้าราชการในการเลือกใช้วัสดุการแพทย์ ต้องมีงานวิจัยต่อเนื่องเพราะการที่งบประมาณมีจำกัด คงยากที่จะรักษาคุณภาพการบริการเอาไว้ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน จึงต้องมีการติดตามประเมินผลและเก็บข้อมูลต่อเนื่องเพื่อให้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดินต่อไปอย่างมีคุณภาพ ครับ

เฟสบุค
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์
July 2 at 1:18am ·