ผู้เขียน หัวข้อ: กมธ.สธ.ห่วง อนาคตเด็กไทย หลังผลวิจัยชี้ 10 ปีผ่านไป IQ เด็กไทยต่ำเท่าเดิม  (อ่าน 1140 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ที่อาคารรัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสาธารณสุข วุฒิสภา และคณะอนุ กมธ.พิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ใน กมธ.สาธารณสุข จัดเสวนา?“สุขภาวะของเด็กไทย: การพัฒนาทางสติปัญญาเพื่อก้าวไปสู่โลกแห่งการแข่งขัน”?โดย นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ประธาน กมธ.สาธารณสุข เป็นประธาน และเชิญผู้เกี่ยวข้องจากหลากหลายหน่วยงานเข้าร่วม มีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า?100 คน


 
โดย พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะอนุ กมธ.พิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพฯ เปิดเผยว่า ผลสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทย (ไอคิว) ปี?2554?ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้ทำการสำรวจไอคิวเด็กไทยอายุ?6-15? ปี ในโรงเรียนทั่วประเทศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่านักเรียนหลายหมื่นคนไอคิวเฉลี่ยไม่ถึง?100?คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นไอคิวที่ต่ำเพราะปกติแล้วไอคิวจะต้องเกิน?100 คะแนน จากปัญหาดังกล่าวทำให้ กมธ.สาธารณสุข รู้สึกกังวล เนื่องจากหากเปรียบเทียบการศึกษาเรื่องไอคิวของเด็กไทยเมื่อ?10?ปีก่อนก็เฉลี่ยไม่ถึง?100?คะแนน สะท้อนว่า แม้ผ่านมาถึง?10 ปี แต่ระดับไอคิวของเด็กไทยก็ยังไม่ได้ดีขึ้น

"การที่เด็กไทยไอคิวต่ำส่งผลด้านการศึกษาด้วยเพราะจะทำให้การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาลดน้อยลง แถมยังส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี)?ของเราก็จะต่ำด้วย หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ การแข่งขันและพัฒนากับนานาชาติก็คงเป็นไปได้ยากเพราะทรัพยากรบุคคลของเรามีไอคิวที่ต่ำกว่าประเทศอื่น อย่างประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไอคิวของเด็กนักเรียนเขาเฉลี่ยสูงกว่าเด็กไทยมาก นอกจากนั้นการวัดความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว)?ของเด็กไทยก็มีแนวโน้มต่ำลงเช่นกัน เช่น เรื่องของจริยธรรมกการปรับตัวและการเข้าใจคนอื่น ดังนั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่เพราะเด็กเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติ จึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขและหาทางออกอย่างจริงจัง" พญ.พรพันธุ์ กล่าว

พญ.พรพันธุ์ กล่าวอีกว่า ตัวอย่างจากประเทศภูฏาน แม้จะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่าประเทศไทยแต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระดับสติปัญญาของเด็กในประเทศอย่างมาก โดยรัฐบาลมีนโยบายสอนภาษาอังกฤษให้เด็กตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น อีกทั้งในช่องฟรีทีวี ทุกรายการจะต้องมีคำแปลภาษาอังกฤษด้านล่างเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมกัน เพราะภาษาอังกฤษถือเป็นประตูไปสู่วิชาการด้านต่างๆ ในโลก ขณะเดียวกันรายการที่ส่วนใหญ่เน้นสาระประโยชน์ เช่น?BBC CNN?สามารรถรับชมได้โดยไม่เสียค่าบริการ ขณะที่ประเทศไทยรายการที่มีสาระความรู้ ที่ผู้ปกครองควรต้องส่งเสริมให้บุตรหลานได้ดูก็มีแต่ต้องเสียค่าบริการ อีกทั้งเด็กไทยมีทั้งอินเทอร์เน็ต และแท็บเล็ต แต่ก็นิยมนำมาใช้เล่นเกมส์มากกว่า

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาของเด็กนักเรียนไทย ในปี?2554?ของกรมสุขภาพจิต สุ่มสำรวจนักเรียนจำนวน?72,780?คน ในภาพรวมของประเทศพบว่ามีเด็กที่ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ ไอคิวต่ำกว่า?90คะแนน ประมาณร้อยละ?28.4?หรือคิดเป็น?1?ใน?4?ของเด็กไทย ซึ่งถือเป็นพึงประสงค์ และส่งผลต่อการแข่งขันของเด็กไทย นอกจากนั้นยังพบว่าในระบบการศึกษาของไทยยังมีนักเรียนที่มีความบกพร่องของระดับสติปัญญาหรือมีไอคิวต่ำกว่า?70?คะแนน อยู่ถึงร้อยละ?6.5?ซึ่งตามมาตรฐานสากลกำหนดไว้ว่าไม่ควรมีสัดส่วนดังกล่าวเกินร้อยละ?2

“ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสติปัญญาของเด็กมี?3?ส่วนคือปัจจัยด้านภาวะโภชนาการ ปัจจัยจากตัวเด็ก และปัจจัยด้านการครอบครัว การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม เช่น หากพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่ลูกจะมีไอคิวสูงกว่าลูกของพ่อแม่ที่มีการศึกษาน้อยกว่า เด็กยากจนจะมีคะแนนเฉลี่ยไอคิวประมาณ?100?คะแนน ส่วนเด็กที่อยู่ในสถานะทางสังคมสูงสุดพบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยไอคิว ประมาณ 119 คะแนน เป็นต้น ดังนั้นปัญหาเรื่องไอคิวต่ำของเด็กไทยจึงเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เพราะถือเป็นปัญหาที่จะสะสมไปในระยาวได้” นพ.ทวีศิลป์ กล่า

บ้านเมือง