ผู้เขียน หัวข้อ: แฉ 10 ความรุนแรงในเด็กที่ต้องคำนึง  (อ่าน 1032 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
แฉ 10 ความรุนแรงในเด็กที่ต้องคำนึง
« เมื่อ: 12 กันยายน 2012, 19:01:12 »
ผอ.สถาบันราชานุกูลกล่าวถึงความรุนแรงต่อเด็ก เผย 10 ความรุนแรงในเด็กที่ต้องคำนึง พบร้อยละ 50 ของผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงกับภรรยาจะทำร้ายลูกด้วย อีกทั้งเด็กที่อยู่ในครอบครัวใช้ความรุนแรง มักมีปัญหาทางอารมณ์ ...

เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่โรงแรมตะวันนา จากการอภิปรายเรื่อง "หลากหลายชีวิตกับความรุนแรง" ในการสัมมนาวิชาการด้านสตรีและครอบครัว จัดโดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รศ.นาถฤดี เด่นดวง จากคณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการวิจัยความรุนแรงในชีวิตของแรงงานหญิงข้ามชาติจากเมียนมาร์ในประเทศไทย โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง 1,501 รายใน จ.ระนอง ตาก และสมุทรสาคร พบว่า ส่วนใหญ่ยังตกอยู่ใต้มายาคติเชิงอำนาจ ระหว่างสามีภรรยาและบุคคลอื่นในครอบครัวสูง รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับการทำงานเช่น ทำงานหนักแต่ได้ค่าจ้างน้อยมาก ชั่วโมงการทำงานยาวนานในแต่ละวัน การต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในสังคมใหม่ เงื่อนไขดังกล่าวผลักให้ต้องเผชิญกับความรุนแรงในมิติครอบครัว ร้อยละ 68.4 ของแรงงานหญิงทั้งหมด รูปแบบมีทั้งบังคับกดดันการเลือกเพศบุตร ดุด่า ทำร้ายทุบตี มิติการทำงานร้อยละ 61.4 มิติจากเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะการไม่ได้รับบริการที่ดีด้านสาธารณสุข ร้อยละ 15.9 และมิติชุมชนร้อยละ 8.7 ทั้งยังพบว่าร้อยละ 49.4 ยังถูกกระทำรุนแรงในลักษณะต่างๆ ร่วมกันทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ เพศสัมพันธ์ ข้อเสนอแนะคือ แรงงานหญิงควรได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ ในการทำงาน ได้รับการคุ้มครองและความมั่นคงในการทำงาน การใช้ชีวิตในสังคมไทย การปรับเปลี่ยนถอดถอนมายาคติเชิงอำนาจ

พญ.พรรณวิมล วิปุลากร ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวถึง ความรุนแรงต่อเด็กว่า ความรุนแรงในเด็ก 10 ความจริงที่ต้องคำนึง คือ 1. ครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรง จะพบเด็กร้อยละ 30-60 ถูกทารุณกรรม 2. ร้อยละ 50 ของผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงกับภรรยาจะทำร้ายลูกด้วย 3. ผู้หญิงถูกสามีทำร้ายปีละ 1 ล้านคน ผู้หญิงได้รับบาดเจ็บจากการเข้ารับการรักษาปีละ 87,679 คน ซึ่งมากกว่าผู้ชาย 4. เด็กอายุน้อย 0-5 ปี เสียชีวิตจากการทารุณกรรม หนึ่งในสาเหตุการตายในเด็กเล็กเกิดจากการถูกทารุณกรรมในครอบครัว 5. เด็กนักเรียนมัธยมเห็นการใช้อาวุธ โดนข่มขู่ด้วยการใช้อาวุธ เห็นความรุนแรงในสังคม และเป็นเหยื่อความรุนแรง 6. เด็กในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง เป็นเหยื่อความรุนแรง เห็นการใช้ความรุนแรง มีปัญหาด้านอารมณ์ 7. เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางสังคมต่ำ มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเห็นความรุนแรง 8. พ่อแม่ประเมินการได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในเด็กต่ำกว่าที่ควรจะเป็น 9. เด็กเห็นภาพความรุนแรงจากสื่อไม่น้อยกว่า 2 แสนครั้งก่อนอายุ 18 ปี มากกว่าร้อยละ 50 ของเด็กมีสื่อของตนเอง และ 10. เด็กในประเทศไทยได้รับความรุนแรงจากสถานการณ์ภัยพิบัติทั้งจากธรรมชาติ และสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.