ผู้เขียน หัวข้อ: เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์นัดแต่งขาว หน้าทำเนียบ 5 ต.ค.ดัน พรบ.คนไข้  (อ่าน 1512 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9801
    • ดูรายละเอียด
เครือข่ายผู้เสียหาย ทางการแพทย์อัด รพ.เอกชน หยุดยื้อเวลาหวังให้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองคนไข้ตก นัดแต่งขาวชุมนุมหน้าทำเนียบ 5 ต.ค. นายกสมาคม รพ.เอกชนปัดลอยตัวเลี่ยงจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน โยน รบ.ขยาย ม.41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ครอบคลุมอีก 16 ล้านคน
 
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 3 ตุลาคม ตัวแทนเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ผู้ป่วยโรคไต สภาองค์กรชุมชน กลุ่มเอ็นจีโอเอดส์ เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง องค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย จำนวนกว่า 30 คน นำโดย น.ส.สาลี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เดินทางมายังบริเวณลานด้านหน้าโรงพยาบาลรามคำแหง เขตบางกะปิ เพื่อเรียกร้องกับ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายก สมาคมโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมดหยุดขัดขวางกฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข พ.ศ. .....ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในชั้นของสภาผู้แทนราษฎร
 
 
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอ วี/เอดส์ประเทศไทย ได้อ่านแถลงการณ์มีเนื้อหาโดยสรุปว่า เครือข่ายภาคประชาชนยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ทำให้แพทย์หรือผู้ให้บริการ มั่นใจในการให้บริการ เพราะหากผิดพลาดมีกลไกรับภาระแทน คนไข้ก็ไม่ต้องฟ้องร้องหมอ เพราะได้รับการชดเชยแล้ว กฎหมายฉบับนี้ยึดหลักการไม่เพ่งโทษผู้ประกอบการวิชาชีพ แต่ยอมรับว่าความผิดพลาด ความบกพร่องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งจากผู้ประกอบการวิชาชีพ และจากระบบบริการสาธารณสุขที่ยังไม่สมบูรณ์ เช่น ความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่จบใหม่ ปัญหาขาดแคลนแพทย์ การกระจายของแพทย์ที่ยังไม่ดี การขาดแคลนอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ 
 
 
ดังนั้น จึงไม่ให้ความสำคัญกับการพิสูจน์ว่าใครผิดถูก หรือเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ แต่เน้นพิสูจน์ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจริงจากการรับบริการหรือไม่ แม้แต่กรณีการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานแต่มีความเสียหายเกิดขึ้นจริง เช่น กรณีผ่าตัดเลาะผังพืดในท้องแล้วพลาดไปโดนท่อไต ทั้งๆ ที่ทำเต็มที่แล้ว ในทางวิชาการก็ยอมรับว่าเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ไม่ถือเป็นความผิด หรือประมาท สุดท้ายขอเชิญประชาชนที่ต้องการสนับสนุนร่วมชุมนุม ในวันที่ 5 ตุลาคม เวลา 08.00 น. หน้าทำเนียบรัฐบาล

ด้าน น.ส.สาลีกล่าวว่า ยืนยันว่าวันที่ 5 ตุลาคมนี้ จะมีการชุมนุมของเครือข่ายต่างๆ หลายองค์กร ซึ่งขณะนี้ตอบรับมาแล้วไม่น้อยกว่า 3,000 คน จากทั่วประเทศ โดย ผู้ที่จะมาร่วมชุมนุม ขอให้สวมเสื้อสีขาวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ทั้งนี้ ขอเรียกร้องโรงพยาบาลเอกชนต้องหยุดอยู่เบื้องหลังการคัดค้าน และขอเรียกร้องแพทย์ที่คัดค้านต่อสู้ด้วยเหตุผล หยุดบิดเบือน ใส่ร้าย และยอมให้กฎหมายได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ที่สำคัญที่สุดคือรัฐบาลต้องจริงใจ กล้าตัดสินใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชน หยุดซื้อเวลา ต้องผลักดันให้มีการพิจารณากฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม 
 
 
น.ส.สาลีกล่าวด้วยว่า กฎหมายฉบับนี้มีตัวแทนภาคประชาชนแค่ 3 คน แต่แพทย์ที่ต่อต้านมองว่าจะเข้าไปหาผลประโยชฯจากกองทุน ทั้งที่กฎหมายนี้ก็อยู่กับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข จึงอยากให้แพทย์ที่ต่อต้านหยุดบิดเบือนข้อมูล นอกจากนั้นที่คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกมาแสดงความเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็ถูกแพทย์ที่ต่อต้านระบุว่าพูดเรื่องส่วนตัวอีก และเมื่อประชุมคณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นตัวกลาง แพทย์ก็วอลก์เอ๊าต์ออกกันไม่คุยกับภาคประชาชนอีกกว่า 2 เดือนที่ผ่านมาภาคประชาชนรอแพทย์มาคุยเพื่อหาแนวทางที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ าย แต่แพทย์ไม่คุย ก็หมดเวลาแล้วที่จะถ่วงเวลาที่มีเจตนาจะให้กฎหมายฉบับนี้ตกไป ซึ่งกลุ่มที่คัดค้านมีอยู่ไม่กี่กลุ่ม ดังนั้น อยากให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแสดงความจริงใจในการช่วยเหลือประชาชนอย่าให้ได้ ชื่อว่าเป็นสภาผู้แทนองค์กรแพทย์ 
 
 
"กลุ่มที่คัดค้านขณะนี้มีอยู่ 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มแพทย์ที่ผิดหวังจากค่าตอบแทน 2.กลุ่มแพทย์โรงพยาบาลของรัฐที่มีผลประโยชน์กับโรงพยาบาลเอกชน และ 3.กลุ่มโรงพยาบาลเอกชน ที่พยายามจะขยายมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้โรงพยาบาลเอกชนลอยตัว ไม่ต้องจ่ายเงิน โดยให้รัฐจ่ายแทนทั้งหมด" น.ส.สาลีกล่าว 
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งหมดจึงสลายตัวอย่างสงบ

ด้าน นพ.เอื้อชาติกล่าวว่า ขอพูดในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมบัตรทองว่าระหว่างที่มีความคิดเห็นขัดแย้ งกันอยู่นี้ ขอให้รัฐบาลฉวยโอกาสตรงนี้ขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำให้คนอีก 16 ล้านคนที่เหลือได้รับการดูแลด้วย ส่วนเม็ดเงินมากน้อยแค่ไหนรัฐบาลก็กำหนดเองได้ ซึ่งได้เคยเสนอมติของคณะกรรมการไปให้นายกรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว เพราะประเด็นสำคัญคือเงินบัตรทองซึ่งเป็นงบรัฐบาลนั้น เป็นการเก็บภาษีเงินได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากประชาชนทั้ง 63 ล้านคน แต่เวลาจ่ายนั้นรัฐบาลจ่ายแค่ 47 ล้านคนซึ่งไม่ยุติธรรมกับอีก 16 ล้านคนที่เหลือ
 
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่โรงพยาบาลเอกชนต้องการให้ขยายมาตรา 41 เพราะอยากลอยตัวเลี่ยงจ่ายเงินสมทบใน พ.ร.บ.ดังกล่าวใช่หรือไม่ นพ.เอื้อชาติ กล่าวว่า จริงๆ แล้วโรงพยาบาลเอกชนมี 2 กลุ่ม คือคู่สัญญากับรัฐบาลซึ่งอยู่ในระบบบัตรทอง และ 2.กลุ่มที่เป็นทางเลือกซึ่งพร้อมที่จะรับผิดชอบคนไข้ของตัวเองอยู่แล้ว และรับผิดชอบได้ดี เพราะต้องการให้คนไข้เป็นลูกค้าประจำต่อไป ซึ่งไม่เห็นว่าจะมีปัญหา แต่ที่เห็นออกมาประท้วงต่อต้านก็มีแต่แพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขทั้งนั้น ซึ่งเท่าที่ติดตามดูการเรียกร้องของแพทย์ก็เป็นเหตุเป็นผลที่รัฐบาลจะต้องตั ดสินใจทำอะไรสักอย่าง ดังนั้น ถ้ารัฐบาลประชาธิปัตย์เห็นใจผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ ก็ควรขยายมาตรา 41 ขึ้นอยู่กับว่ารัฐอยากจะทำหรือเปล่า

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553 มติชนออนไลน์