ผู้เขียน หัวข้อ: Conflict of Interests ความทับซ้อนกันของผลประโยชน์  (อ่าน 1274 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
Conflict of Interests หรือที่ในภาษาไทยใช้ว่าความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม หรือที่นักวิชาการบางคนใช้คำว่า ความทับซ้อนกันของผลประโยชน ์หรือความขัดแย้งกันของผลประโยชน์นั้น สามารถมองได้ใน 2 ระดับ คือ

    ระดับนโยบายหรือระดับมหภาค ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายในด้าน ต่าง ๆ ของประเทศ เช่น นโยบายด้านพลังงานและนโยบายด้านการสื่อสาร เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในขอบข่ายของความขัดแย้งกันฯ ในระดับนี้ จึงได้แก่ นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง กลุ่มธุรกิจ (การเมือง) และบริษัททเอกชนขนาดใหญ่ เป็นต้น
    ระดับปฏิบัติการ ซึ่งเป็นปัญหาความขัดแย้งกันฯ ในระดับบุคคล คือ ในตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐ รวมถึงกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อ Conflict of Interests เช่น วิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้/ภาษี วิชาชีพเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น ภาครัฐ โดยสำนักงาน ก.พ. ได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการกับปัญหานี้ จึงได้มีการมอบหมาย ให้สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศ ( TDRI ) ศึกษาในระดับนโยบาย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( NIDA ) ศึกษาในระดับปฏิบัติ ตามลำดับ ปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม จะเกิดขึ้น เมื่อการตัดสินใจของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะได้รับผลกระทบจากการเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า ประโยชน์ส่วนรวม หรือเป็น “ โอกาสความน่าจะเป็น ” ที่จะทำให้รัฐบาลเสียผลประโยชน์ ในการนี้สามารถแยกได้ว่าความขัดแย้งฯ ดังกล่าวมี 2 ส่วนที่สำคัญ คือ

(1) ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมที่เกิดขึ้นจริง ( Real Conflict of Interests ) ซึ่งคือสถานการณ์ที่ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ (เจ้าหน้าที่ของรัฐ) มีผลประโยชน์ส่วนตัวซึ่งเข้ามา มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งความรับผิดชอบ และ
(2) โอกาสการเกิดความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ( Potential Conflict lf Interests ) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ผลประโยชน์ ส่วนตนมีโอกาสหรือสามารถเข้ามามีอิทธิพลต่อการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งในลักษณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจหรือ ดำเนินการตามหน้าที่ ซึ่งการที่ Potential Conflict of Interests จะมีการพัฒนาไปเป็น Real Conflict of Interests ได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่ตระหนักถึงความขัดแย้งนั้นไม่ได้ละทิ้งผลประโยชน์ส่วนตัว หรือถอนตัวออกจากสถานการณ์ ดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า ทุกกรณีของคอร์รัปชั่นเกิดจากปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม แต่ไม่อาจกล่าวได้ในทางกลับกันว่า ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นการคอร์รัปชั่น การเกิดขึ้นของความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม โดยทั่วไปมิได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มนักการเมืองอย่างที่บางคนเข้าใจกันเท่านั้น เนื่องจากสามารถเกิดขึ้นได้กับ ทั้งข้าราชการ ผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ รวมถึงในภาคเอกชนด้วยก็ได้ จากผลการศึกษาพบว่า สาเหตุปัญหาความขัดแย้งกันฯ เกิดมาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในหลายด้าน ได้แก่

    ปัจจัยด้านสังคม-วัฒนธรรม ที่นิยมและยกย่องคนรวย คนมีอำนาจบารมี หรือคนที่มีตำแหน่ง หน้าที่ระดับสูง และไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เห็นว่าตนเองไม่เดือดร้อน ตามภาษิตโบราณที่ว่า “ นิ่งเสียตำลึงทอง ” มีระบบอุปถัมภ์ที่แต่ละฝ่ายจะมีความคาดหวังต่อกันในลักษณะผลประโยชน์ ต่างตอบแทน รวมถึงการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง หรือการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนและของชาติ
    ปัจจัยด้านองค์การ ที่โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจ ส่งผลให้งาน ล่าช้าหรือเกิดช่องในการหาผลประโยชน์ให้ตนเอง
    ปัจจัยด้านกฎหมาย ที่มีช่องว่างให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ดุลยพินิจได้มากมายสามารถให้คุณให้โทษ หรือทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วหรือเตะถ่วงให้ช้าได้ รวมถึงมาตรการในการลงโทษยังอาศัยการ พิสูจน์ด้วยพยานหลักฐาน ซึ่งผู้กระทำผิดมักเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รู้ช่องทางหลบหลีกและรู้กฎหมาย และผู้รู้เห็นก็มีส่วนได้เสียกับการกระทำนั้น ทำให้หาพยานหลักฐานชี้ความผิดได้ยาก
    ปัจจัยด้านการเมืองและนโยบายในหลาย ๆ ด้านไม่ชัดเจน และมีการแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ในลักษณะการเกื้อหนุนกันระหว่างกลุ่มอำนาจทางการเมือง หรือระหว่างกลุ่มอำนาจทางการเมืองกับ เจ้าหน้าที่ระดับสูง หรือข้าราชการระดับสูงที่เกษียณแต่ยังคงมีอำนาจบารมีอยู่ 5. ปัจจัยด้านบุคคล อันได้แก่ ภูมิหลังของครอบครัว ค่านิยมส่วนบุคคลที่ได้จากกระบวนการขัดเกลา ทางสังคมที่ยังขาดคุณธรรม จริยธรรม หรือการตระหนักรู้ของบุคคล รวมถึงการขาดจิตสำนึกสาธารณะ จากการศึกษายังพบว่า สังคมไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมเท่าที่ควร ซึ่งอาจมาจาก
    มองว่าเป็นค่านิยมของตะวันตก และยังไม่ค่อยมีการเผยแพร่แนวคิดเรื่องนี้ให้เป็นที่แพร่หลาย
    ค่านิยมของคนไทยที่ไม่ค่อยตั้งข้อสงสัยหรือประมาณอะไร มองว่าหากผลประโยชน์ขัดแย้งกัน และคนที่ทำอยู่ยังทำต่อไปตราบที่อำนาจหน้าที่ยังเอื้อให้ทำได้
    มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้อื่นต้องติดตาม ต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นว่า “ ใช้อำนาจหน้าที่ในทาง มิชอบอย่างไร ” เนื่องจากสังคมยังไปยึดกับ “ หลักกฎหมาย ” มากกว่า “ หลักความขัดแย้งกันระหว่าง
    ผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ”
    การรับรู้ของคนทั่วไปอาจยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากเรื่องนี้ไม่สามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้เท่ากับ การคอร์รัปชั่น บางกรณีเป็นผลประโยชน์ “ ที่เอื้อ ” มิใช่เป็นผลประโยชน์โดยตรง และมีการผ่าน กระบวนการหรือผ่านเครือข่ายที่ซับซ้อนในการศึกษาในระดับนโยบาย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยได้ใช้กรอบการศึกษาโดยพิจารณา เรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ โดยได้จำแนกนโยบายสาธารณะออกเป็น 4 กลุ่ม   


ผลประโยชน์จากนโยบายสาธารณะ                            ค่าใช้จ่ายของนโยบายสาธารณะ

                                                   กระจาย( Distributed )                 กระจุกตัว ( Concentrated )

กระจาย ( Distributed )                    การเมืองเรื่องเสียงข้างมาก              การเมืองเรื่องผู้ประกอบการ



กระจุกตัว ( Concentrated )              การเมืองเรื่องผู้อุปถัมภ์                การเมืองเรื่องกลุ่มผลประโยชน์


     การเมืองเรื่องเสียงข้างมากคือ นโยบายสาธารณะที่ให้ความหวังว่าจะอำนวยผลประโยชน์แก่คน หมู่มาก โดยภาระค่าใช้จ่ายก็เป็นของคนหมู่มากเช่นเดียวกัน เช่น นโยบายสวัสดิการสังคม
    การเมืองเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ คือนโยบายสาธารณะที่ให้ประโยชน์แก่คนเฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ นั้น เป็นผู้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย เช่น กรณีห้ามผู้ให้บริการเคเบิลทีวีมีโฆษณา เป็นต้น นโยบายสาธารณะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ซึ่งมีต้นทุน ( Cost ) ทุกฝ่ายจะต้องจ่าย และมีผลประโยชน์ ( Benefit ) ที่บางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับ เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มอนุรักษ์ก็ดึงเป้าหมายที่เห็นว่ามีผลดีต่อสังคม แต่นโยบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้อาจจะไปกระทบผลประโยชน์ของกลุ่มอื่นได้
    การเมืองเรื่องผู้อุปถัมภ์ คือผู้ได้ผลประโยชน์จากนโยบายสาธารณะจะเป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ ในขณะ ที่สังคมส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระซึ่งเป็นภาระ ที่เมื่อเฉลี่ยแล้วจะรับไปเพียงคนละเล็กละน้อย จึงไม่ค่อยให้ความใส่ใจ หรือไม่รู้สึกว่านโยบายนั้นมีผลกระทบต่อตน เช่น กรณีที่รัฐมีนโยบายอุดหนุนทางการเงิน หรือมาตรการลดภาษีให้แก่อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง และอุตสาหกรรมนั้นสามารถมีกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ

4. การเมืองเรื่องผู้ประกอบการ คือนโยบายที่ให้ประโยชน์แก่สังคมโดยรวม และผู้ที่จะต้องแบกรับ ภาระค่าใช้จ่ายเป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ ในสังคม เช่น การที่รัฐมีนโยบายให้โรงงานหรืออุตสาหกรรมต้องผลิตสินค้า ที่ส่งผลกระทบในการทำลายสุขภาพหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น สำหรับการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในระดับปฏิบัติการนั้นได้เน้นศึกษาที่กลุ่มวิชาชีพที่คาดว่า จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม จำนวน 5 กลุ่ม คือ

(1) กลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ เช่น กลุ่มผู้ตรวจสอบบัญชี เจ้าหน้าที่สรรพากร สรรพสามิต พบว่า กลุ่มนี้อาจมีปัญหาความขัดแย้งกันฯ อันเป็นผลจากการใช้ดุลยพินิจ การขาดแนวทางปฏิบัติหรือการละเมิดหรือ ฝ่าฝืนแนวทางการปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบข้อมูลที่ขาดความโปร่งใสรวมถึงมาตรฐานวิชาชีพ ก็ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร

(2) กลุ่มวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ซึ่งมีองค์กรและมาตรฐานวิชาชีพค่อนข้างเข้มแข็ง มีการควบคุมค่อนข้างดี เกิดปัญหาในจำนวนไม่มากนัก แต่หากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบที่มี ความเสียหายรุนแรงมาก โดยเฉพาะกลุ่มวิศวกรที่มีหน้าที่หลายขั้นตอน ตั้งแต่ออกแบบจนถึงขั้นก่อสร้าง

(3) กลุ่มวิชาชีพวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ นักวิจัย ที่ปรึกษา จากการศึกษาพบว่า ไม่มีผลประโยชน์สูงมากนัก นอกจากปัญหาการขาดความรับผิดชอบ

(4) กลุ่มวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลยพินิจ เป็นที่คาดหวังของสังคมว่า จะสามารถปลอดจากการมีผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน
(5) กลุ่มเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอาจยังไม่ชัดเจนนักว่า เป็นกลุ่มวิชาชีพหรือไม่ แต่เป็นกลุ่มสถาบันที่จะเป็นกลุ่มใหญ่และมีบทบาทมากในสังคมการเมืองไทยในอนาคต หากแต่กลุ่มนี้ยังมีความอ่อนแอในหลายด้าน เช่น คุณภาพของคน ระดับการศึกษา ประสบการณ์และสำนึกในด้านวิชาชีพ ซึ่งในแง่ของความเสี่ยง กลุ่มนี้ควรเป็นกลุ่มที่สำคัญที่สุด และควรได้รับการดูแลและเน้นให้การศึกษากับกลุ่มนี้ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
 
 

รูปแบบของความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม สามารถ แบ่งได้ 7 รูปแบบ คือ

    การรับผลประโยชน์ต่าง ( Accepting Benefits ) เช่น การรับของขวัญจากบริษัทธุรกิจ บริษัท ขายยาหรืออุปกรณ์การแพทย์สนับสนุนค่าเดินทางให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ไปประชุมเรื่องอาหารและยา ที่ต่างประเทศ หรือหน่วยงานราชการรับเงินบริจาคสร้างสำนักงานจากธุรกิจที่เป็นลูกค้าของหน่วยงาน หรือ แม้กระทั่งในการใช้งบประมาณเพื่อจัดสร้างแล้วเจ้าหน้าที่ได้รับของแถม หรือผลประโยชน์อื่นตอบแทน เป็นต้น
    การทำธุรกิจกับตัวเอง ( Self-dealing ) หมายถึง สถานการณ์ที่ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะมีส่วนได้ ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานที่ตนสังกัด ตัวอย่างเช่น การใช้ตำแหน่งหน้าที่ทำให้หน่วยงาน ทำสัญญาซื้อสินค้าจากบริษัทของตนเองหรือจ้างบริษัทของตนเป็นที่ปรึกษา หรือซื้อที่ดินของตนเอง ในการจัดสร้างสำนักงาน สถานการณ์เช่นนี้เกิดบทบาที่ขัดแย้ง เช่นเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเวลาเดียวกัน
    การทำงานหลังจากออกจากตำแหน่งหน้าที่สาธารณะ หรือหลังเกษียณ ( Post - enployment ) หมายถึง การที่บุคคลลาออกจากหน่วยงานของรัฐ และไปทำงานในบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจ ประเภทเดียวกัน เช่น เป็นผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การอาหารและยา ลาออกจากงานราชการและไปทำงาน ในบริษัทผลิต หรือขายยาหรือผู้บริหารกระทรวงคมนาคมหลังเกษียณออกไปทำงานเป็นผู้บริหารของธุรกิจสื่อสาร
    การทำงานพิเศษ ( Outside employment or moonlighting ) ในรูปแบบนี้มีได้หลายลักษณะ เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะตั้งบริษัทดำเนินธุรกิจที่เป็นการแข่งขันกับหน่วยงาน หรือองค์การสาธารณะ ที่ตนสังกัด หรือการรับจ้างเป็นที่ปรึกษาโครงการโดยอาศัยตำแหน่งในราชการสร้างความน่าเชื่อถือว่าโครงการของ ผู้ว่าจ้างจะไม่มีปัญหาติดขัดในการพิจารณาจากหน่วยงานที่ที่ปรึกษาสังกัดอยู่ หรือในกรณีที่เป็นผู้ตรวจสอบ บัญชีของกรมสรรพากรก็รับงานพิเศษเป็นที่ปรึกษา หรือเป็นผู้ทำบัญชีให้กับบริษัทที่ต้องถูกตรวจสอบ
    การรู้ข้อมูลภายใน ( Inside information ) หมายถึง สถานการณ์ที่ผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะ ใช้ประโยชน์จากการรับรู้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนเอง เช่น ทราบว่าจะมีการตัดถนนตรงไหน ก็รีบไปซื้อที่ดินโดยใส่ชื่อภรรยา หรือทราบว่าจะมีการจัดซื้อที่ดินเพื่อทำโครงการของรัฐก็รีบไปซื้อที่ดิน เพื่อเก็งกำไรและขายให้กับรัฐในราคาที่สูงขึ้น
    การใช้สมบัติราชการเพื่อประโยชน์ของธุรกิจส่วนตัว ( Using you r employer's property for Private Adventage ) เช่น การนำเครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ กลับไปใช้ที่บ้าน การนำรถยนต์ในราชการไปใช้ในงานส่วนตัว
    การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง ( Pork-barreling ) เช่น การที่รัฐมนตรีอนุมัติโครงการไปลงในพื้นที่หรือบ้านเกิดของตนเอง หรือการใช้งบสาธารณะเพื่อหาเสียง
       

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม
             จากรูปแบบต่าง ๆ ข้างต้นจะเห็นว่า โอกาสที่จะเกิดปัญหามีสูงมากเพราะปัญหานี้มีขอบเขตครอบคลุม พฤติกรรมที่เข้าข่ายความขัดแย้งกว้างขวางมาก ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการกับปัญหา ความขัดแย้งกันของผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมคือ การทำให้โอกาสเกิด ปัญหาดังกล่าวมีน้อยที่สุด ซึ่งเท่าที่รวบรวมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งฯ คือ

    การกำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์หรือคุณสมบัติต้องห้าม ( Qualification and Disqualification from office ) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันในเบื้องต้นมิให้โอกาสเกิดปัญหาความขัดแย้งกัน ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม
    การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน และธุรกิจของครอบครัวให้สาธารณะทราบ ( Disclosure of Personal Interessts ) เช่น การแจ้งถึงจำนวนหุ้นส่วนหรือธุรกิจส่วนตัวว่า มีอะไรบ้าง วิธีการนี้ถึงแม้จะไม่ใช่เครื่องมือที่แก้ปัญหาได้โดยตรง แต่อย่างน้อยก็ช่วยให ้สาธารณชนสามารถวิเคราะห์ หรือมองเห็นช่องทางที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ง่ายขึ้น
    การกำหนดข้อพึงปฏิบัติ เป็นการสร้างกรอบเพื่อบอกถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรกระทำสำหรับ ข้าราชการ ให้ถือเป็นหลักจรรยาบรรณในการทำงาน ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าเป็นความผิดทาง กฎหมาย แต่สามารถบ่อนทำลายความเชื่อมั่นที่สังคมจะมีต่อข้าราชการผู้นั้น และสามารถเป็น บ่อเกิดแห่งความเสื่อมศรัทธาที่ประชาชนจะมีต่อระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งมาตรฐาน ทางคุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการทั่วไป ได้แก่
    การรับของตอบแทน ( Payment and rewards to members ) จะต้องไม่รับสิ่งของไม่ว่าจะเป็น เงินหรือการสร้างชื่อเสียงหรือนำอำนาจราชการมาใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ ์ต่อตนเอง ซึ่งรวมไปถึงการรับหน้าที่นอกเหนือจากหน้าที่ราชการที่มีส่วนได้เสียกับหน้าที่หลัก
    การตัดสินใจในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและมีเงินมาเกี่ยวข้อง ( Voting with & pecuniary interest ) ในกรณีที่ข้าราชการ/นักการเมืองจะต้องลงคะแนน ( vote ) ในเรื่องที่มีผลเกี่ยวข้องกับ ผลประโยชน์ส่วนรวม เช่น การออกกฎหมาย หรือการตัดสินใจอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อคนหมู่มากนั้น หากข้าราชการ/นักการเมืองผู้ใดมีผลประโยชน์ส่วนตัวเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจาก การตัดสินใจดังกล่าว ก็ต้องงดสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียง
    ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำงานหลังพ้นจากตำแหน่งในหน้าที่ทางราชการ ( Post - Office Employment Restrictions ) เป็นข้อกำหนดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางราชการนำข้อมูลลับ ( confidential information ) ภายในหน่วยราชการที่เขาทราบไปใช้ประโยชน์หลังออกจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว รวมถึงป้องกันการใช้สิทธิพิเศษในการติดต่อกับหน่วยงานราชการในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในหน่วยงานราชการมาแล้ว นอกจากเครื่องมือข้างต้นแล้ว ยังจำเป็นต้องมีกลไกสำหรับการบังคับใช้ ( enforcement ) กฎระเบียบที่กำหนดขึ้น เช่น การตั้งคณะกรรมการในลักษณะองค์กรกำกับดูแลเพื่อตรวจสอบ ให้ผู้อยู่ภายใต้กฎระเบียบดังกล่าวปฏิบัติตามข้อกำหนดที่บัญญัติไว้ โดยคณะกรรมการดังกล่าว ต้องมีความเป็นอิสระอย่างเพียงพอ เพราะในกรณีที่มีการละเมิดระเบียบเกิดขึ้นก็ต้องทำหน้าที่ สอบสวนข้อเท็จจริงก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรการที่เกี่ยวข้องต่อไป คาดว่าประเด็นเรื่อง “ ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ” นี้ จะถูกเผยแพร่และนำเสนอสาธารณชนในรวามกลางปีนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องราวที่สอดรับนโยบายของ รัฐบาลในการทำสงครามกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีกำลังจะปฏิบัติการใน นโยบายนี้อย่างจริงจัง ดังนั้น การจุดประกายและการสร้างความตระหนักปัญหาความขัดแย้งกัน ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมของสำนักงาน ก.พ.ในครั้งนี้จะเป็นอีกมาตรการ หนึ่งที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งยังสอดคล้องกับกระแสของโลกในอนาคตด้วย

http://audit.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=65