ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เข้ม ยกเลิกจำหน่าย "ซูโดอีเฟดรีน" ร้านยาย่อย สกัดสารตั้งต้นยาเสพติด  (อ่าน 1133 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
  ที่มหาวิทายาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณี การดำเนินการควบคุมการเบิกจ่ายยาสูตรผสม ซูโดอีเฟดรีน หลังมีการตรวจสอบปัญหายาแอคติเฟด ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารตั้งต้นยาเสพติด ว่า หลังจากที่เรามีการประกาศตามนโยบายของรัฐบาล เรื่องของการป้องกันยาเสพติด ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงมีการสั่งยกเลิกขายยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอี เฟดรีน ในส่วนของร้านขายยาปลีกย่อย และเมื่อยกเลิกแล้ว เราก็จะพบรายละเอียดในการเบิกจ่ายยาดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสถานที่ให้บริการสาธารณสุข เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น นำไปสู่กระบวนการที่พบข้อผิดสังเกต จากนั้นตั้งคณะกรรมการสอบ เช่น ที่มีบุคคลของเราเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องของเภสัชกรที่จำหน่ายยาให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์ไม่ดี นำไปใช้เป็นสารประกอบยาเสพติด

     อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของประชาชนทั่วไปที่ใช้ยาแก้หวัดหรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า ไม่มี เพราะอย่างน้อยซูโดอีเฟดรีนชนิดเดี่ยวยังใช้ได้อยู่ มีการควบคุมอยู่แล้ว แต่ขณะนี้การหารือขององค์การอาหารและยาที่ไปที่กฤษฎีกาในเรื่องการขอความเห็นว่า ถ้าซูโดอีเฟดรีนมีผลกระทบต่อจิตและประสาท เราจะขอเป็นการควบคุม ถ้าจะทำบัญชีโดยวิธีการ ถ้าใครจะสั่งจ่ายยาจะควบคุมโดยใช้บัตรประชาชน ซึ่งจะทำให้รู้ที่มาว่า ยาไปอยู่ที่ใคร ซึ่งขณะนี้ได้ทำการปิดช่องว่างตรงนี้อยู่ และปัจจุบันเองได้มีคำสั่งขอให้ระงับการสั่งจ่าย และการขายชั่วคราว จนกว่ากฤษฎีกาจะมีความเห็น และมีประกาศออกมาสามารถควบคุมได้

     ทั้งนี้ เมื่อถามว่า โรงพยาบาลภูมิภาคอื่นที่ไม่ใช่พื้นที่ภาคอีสานมีพฤติกรรมลักษณะเช่นนี้ และมีรายงานเข้ามาอีกหรือไม่ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ที่เราพบว่า มีอยู่ 10 กว่าแห่งที่ตรวจสอบแล้ว และค่อยข้างจะมีความผิดปกติชัดเจน 5 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ เมื่อถามต่อว่า มีจำกัดหรือควบคุมการจำหน่ายในร้านขายยาบ้างหรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า มีการจำกัดจำนวนหรือให้จำหน่ายตามใบสั่งแพทย์ ซึ่งหลังจากเรามีมาตรการแล้ว เราจึงพบว่ามีไปปูดอยู่ที่ใด ส่วนบทลงโทษจะมีทั้งในส่วนของความผิดทางวินัย ที่เป็นข้าราชการที่เกินกว่าระดับ 8 เป็นหน้าที่ของกระทรวงต้องดูแล ส่วนถ้าเป็นความผิดทางอาญา ก็จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนเรื่องของการกวดขันจะมอบให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อกพ.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการในส่วนของทางราชการ ให้เป็นผู้พิจารณาความผิดทางวินัย ส่วนจะบรรจุเป็นคดีพิเศษในกรมสอบสวนคดีพิเศษ อยู่ที่เสียงส่วนใหญ่

     ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากขายปกติไม่มีปัญหา นำเข้ามาโรงงานผลิตก็มีสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ควบคุมส่งไปโรงพยาบาล ก็คุมได้ แต่จากโรงพยาบาลมีการขายมีการยักยอกนำออกไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิต ซึ่งเรื่องนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สอบสวนเรื่องนี้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าสกัดเรื่องนี้ไม่ได้ ก็แก้ปัญหายาเสพติดลำบาก

     ส่วนการที่จะนำตัวผู้กระทำความผิด หรือเครือข่ายที่นำยาไปขาย มีความเป็นได้ที่จะดำเนินคดีได้หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ทางดีเอสไอจะขอเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งตนจะอนุมัติและสืบสวนสอบสวน หากพบการกระทำความผิด จับทันที

แนวหน้า  20/3/2012