ผู้เขียน หัวข้อ: การคุ้มครอง​ความ​เสียหายจากบริ​การสาธารณสุข (กฎกติกาธุรกิจ)  (อ่าน 850 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
กรณีศาลฎีกาพิพากษา​ให้​โรงพยาบาล​เอกชนชื่อดังย่านสุขุมวิทกับ​แพทย์ของ​โรงพยาบาลอีก 3 คน ร่วมกันชด​ใช้ค่า​เสียหาย​เป็น​เงินสูง​ถึง 8.3 ล้านบาท พร้อมดอก​เบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ​ให้กัณบุรินทร์ ​เสรี​โยธิน กับพวกอีก 7 คน ​ซึ่งร่วมกัน​เป็น​โจทก์ยื่นฟ้อง จาก​การ​ทำ​ให้ภรรยา​และบุตร​ในครรภ์ต้อง​เสียชีวิตระหว่าง​การ​ทำคลอด ​ทำ​ให้มี​ความ​เห็นกัน​ใน 2 ด้าน

ด้านหนึ่ง​เห็นว่า ​การที่ศาลวินิจฉัยว่า ​โรงพยาบาลรวม​ถึง​แพทย์พยาบาลที่มีส่วนร่วม​ทำคลอด​ผู้ตาย ​ได้กระ​ทำละ​เมิด​และพิพากษา​ให้ร่วมกันชด​ใช้ค่า​เสียหายจำนวน​แปดล้านบาทนั้น ​เป็นสิ่งที่ถูกต้อง​และ​เหมาะสม​แล้ว

อีกด้านหนึ่งอาจ​ทำ​ให้​เห็นว่า ​การพึ่งพากระบวน​การยุติธรรมที่​เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพล​เมือง​ไทยนั้น ยังคง​เป็นกระบวน​การที่​ใช้​เวลานาน อย่าง​เช่นกรณีนี้ หากนับระยะ​เวลาตั้ง​แต่​เริ่มฟ้องคดี​ในศาลชั้นต้นจน​ถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา​แล้ว รวม​เป็น​เวลา​ถึง 16 ปี

อันที่จริงปัญหา​ความ​เนิ่นนาน​ในกระบวน​การยุติธรรม ​เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายที่​เกี่ยวข้องพูด​ถึงกันมานาน มี​ผู้​เสนอทาง​แก้ปัญหา​และปรับ​เปลี่ยนกระบวนพิจารณา​ในศาลยุติธรรม​ให้มี​ความรวด​เร็วมากขึ้น​ในปัจจุบัน ​แต่ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นที่​ทำ​ให้ปัญหายังคงดำรงอยู่ ​ซึ่งต้อง​ใช้​เวลา​แก้​ไข ​ไม่ว่าจะ​เป็นปัจจัยด้านปริมาณคดี​ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์​และศาลฎีกาที่นับวัน มีปริมาณ​เพิ่มมากขึ้น อีก​ทั้ง​การที่​ผู้พิพากษาศาลฎีกาบางส่วนต้อง​ไป​ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีพิ​เศษอื่น​เช่น ศาลฎีกา​แผนกคดีอาญาของ​ผู้ดำรงตำ​แหน่งทาง​การ​เมือง ​และที่สำคัญปัจจัยด้านกำลังคนที่​เข้ามา​เป็น​ผู้พิพากษาตัดสินคดีที่​ไม่สามารถดำ​เนิน​การคัด​เลือก​ให้​เป็น​ไปตาม​เป้าหมายที่ต้อง​การ​ได้ ​เพราะ​ในอีกด้านหนึ่ง ศาลยุติธรรม​ก็จำ​เป็นต้องรักษามาตรฐาน​ใน​การคัด​เลือกบุคคล​เพื่อ​เข้ามา​ทำหน้าที่​ผู้พิพากษาด้วย

นอกจากปัจจัยด้านปริมาณคดี​และกำลังคน​แล้ว ​ความยากลำบากของ​ผู้​เสียหายจาก​การรับบริ​การทางสาธารณสุขที่จะพิสูจน์​ให้​เห็นว่า ​ความ​เสียหายที่​เกิดขึ้นมาจาก​ความจง​ใจ​หรือประมาท​เลิน​เล่อของ​โรงพยาบาล​หรือ​แพทย์​ผู้​ให้​การรักษา ​ก็​เป็นอีกสา​เหตุหนึ่งที่​ทำ​ให้​ผู้​เสียหาย​หรือญาติ​ไม่​ได้รับ​การชด​ใช้ค่าสิน​ไหมทด​แทนตามสมควร ​โดย​เฉพาะ​การหาพยาน​ผู้ชำนาญ​การที่​เกี่ยวข้องกับ​การรักษา ​ซึ่งส่วน​ใหญ่​ก็คือ​แพทย์ มา​เบิก​ความ ​โดยทั่ว​ไปยัง​ทำ​ได้ยาก ​เนื่องจาก​ความคิดของ​แพทย์ส่วน​ใหญ่ที่​ไม่ต้อง​การ​เบิก​ความ​ให้​เป็นผลร้ายต่อ​แพทย์ด้วยกัน ​แต่​ในปัจจุบัน​ก็​เริ่มมี​แพทย์บางส่วนที่มีจิต​ใจ​เป็นธรรม ยินดีจะ​เบิก​ความตามหลัก​การรักษาที่ถูกต้อง ​แม้​การ​เบิก​ความนั้นจะ​เป็นผลร้ายต่อ​แพทย์ที่ถูกฟ้องคดี ดัง​เช่นคดีดังกล่าวข้างต้น

ข้อจำกัดของกระบวน​การยุติธรรมดังกล่าว ​ทำ​ให้​เกิด​ความคิดที่จะสร้างหลักประกัน​แก่ ​ผู้ที่ต้อง​ได้รับ​ความ​เสียหายจาก​การรับบริ​การทางสาธารณสุข อีก​ทั้ง​เพื่อ​ให้​ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง​แพทย์กับคน​ไข้​หรือ​ผู้รับ​การรักษายังคงดำรงอยู่ รัฐจะ​เป็น​ผู้​เข้ามา​ให้​ความคุ้มครอง​แก่​ผู้​เสียหายจาก​การรับบริ​การทางสาธารณสุข ​โดย​ไม่ต้องพิสูจน์​ความผิด ด้วย​การจ่าย​เงินช่วย​เหลือ​เบื้องต้น​ให้​ผู้​เสียหายที่​เป็น​ผู้รับบริ​การที่​ใช้บัตรทอง ​ซึ่งหลัก​การดังกล่าวปรากฏ​ในมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ พ.ศ. 2545

ข้อดีของหลัก​การดังกล่าวคือ ​การ​ให้​ความช่วย​เหลือ​เบื้องต้นสามารถ​ทำ​ได้​ใน​เวลาอันรวด​เร็วกว่า​การดำ​เนินคดี​ในศาล ​ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ(สปสช.) พบว่า​การดำ​เนิน​การ​ให้​ความช่วย​เหลือ​เบื้องต้น จน​ผู้​เสียหาย​ได้รับ​เงินตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพ มีระยะ​เวลา​เฉลี่ย​ใน​การดำ​เนิน​การ​เพียงประมาณ 30 วัน ​เท่านั้น ​แต่หลัก​การนี้​ก็ยังมีปัญหา ​เพราะ​ผู้ถือบัตรทองมีอยู่ประมาณ 40 ล้านคน จากประชากร​ไทย 60 ล้านคน​ในปัจจุบัน ​และ​การจ่าย​เงินช่วย​เหลือ​เบื้องต้นนี้ ​เป็น​การช่วย​เหลือ​เท่าที่จำ​เป็น​เบื้องต้น​เท่านั้น ​ไม่​ใช่​ทั้งหมด ​ซึ่ง​ความต้อง​การ​ให้ช่วย​เหลือ​ทั้งหมดอาจ​เป็นจำนวน​เงินที่สูง

นอกจากนั้นยังมีกฎหมายที่ถือ​เป็นกฎหมาย​ให้​ความคุ้มครอง​ผู้รับบริ​การสาธารณสุข​หรือ​การ​แพทย์อีกฉบับหนึ่งคือ พระราชบัญญัติ​ความรับผิดทางละ​เมิดของ​เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ที่กำหนด​ให้หน่วยงานของรัฐ(ต้นสกัดของ​โรงพยาบาลรัฐ​เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ​เป็น​ผู้จ่ายค่า​เสียหาย​แทน​เจ้าหน้าที่ (​แพทย์,พยาบาล) ​แต่ตามกฎหมายฉบับนี้ยังต้องพิสูจน์ว่า​เป็น​ความผิดของ​เจ้าหน้าที่อยู่นั่น​เอง ​เพียง​แต่​เจ้าหน้าที่​ไม่ต้องรับผิด​เป็นส่วนตัว ​เว้น​แต่ทุจริต​หรือประมาท​เลิน​เล่ออย่างร้าย​แรง

อย่าง​ไร​ก็ตาม ​แม้จะมี​ทั้งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติพ.ศ.2545 ​และพระราชบัญญัติ​ความรับผิดทางละ​เมิดของ​เจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ​เมื่อมี​ความ​เสียหายจาก​การบริ​การสาธารณสุข ​ก็อาจจำ​เป็นต้องดำ​เนินคดี​ในศาลยุติธรรม ​ทั้งกรณีของ​โรงพยาบาลรัฐ​และ​โรงพยาบาล​เอกชน

ดังนั้น จะ​เป็น​การดี​แก่ประชาชน​โดยทั่ว​ไป หากจะมีกฎหมายที่บัญญัติวิธีพิจารณาคดี​เป็นกรณีพิ​เศษ ​หรือมาตร​การ​เฉพาะที่​ให้คดี​เกี่ยวกับ​การบริ​การทางสาธารณสุขดำ​เนินคดีด้วย​ความรวด​เร็ว​และรวบรัด

ประชาชนคน​ไทยที่ต้องพึ่งบริ​การสาธารณสุขอยู่จนชั่วชีวิตจะ​ได้​ไม่มี​ความวิตกกังวลกับ​การ​ใช้บริ​การสาธารณสุขอีกต่อ​ไป

รุจิระ บุนนาค
​แนวหน้า -- ​เสาร์ที่ 10 มีนาคม 2555