ผู้เขียน หัวข้อ: อย.แจง 11 ยาห้ามเข้าแดนปลาดิบไม่มีในไทย เตือนกลุ่มซูโดฯห้ามนำออกด้วย  (อ่าน 692 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9797
    • ดูรายละเอียด
เฟซบุ๊กสถานทูตไทยในญี่ปุ่น ประกาศเตือนห้ามพกยา 11 ตัวเข้าญี่ปุ่น หลังพบชาวต่างชาติถูกจับ อย. แจงยาดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่มีในไทย ระบุยาที่มีส่วนผสมซูโดอีเฟดรีนห้ามนำออกนอกประเทศ แนะวิธีนำยาออกนอกประเทศอย่างถูกต้อง

        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เผยแพร่ข้อความเตือนว่า ตามที่มีการรายงานกรณีชาวต่างชาติถูกเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นควบคุมตัว เนื่องจากสั่งยาแก้ปวดชนิดหนึ่งเข้าประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากยาแก้ปวดชนิดนั้นเป็นยาที่รัฐบาลญี่ปุ่นห้ามนำเข้ามาประเทศ เพราะเป็นยาที่มีส่วนผสมต้องห้ามภายใต้กฎหมายของญี่ปุ่น สถานทูตฯขอแจ้งตัวอย่างรายชื่อยาที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายและห้ามนำเข้ามาในญี่ปุ่น ดังนี้
1. TYLENOL COLD
2. NYQUIL
3. NYQUIL LIQUICAPS
4. ACTIFED
5. SUDAFED
6. ADVIL COLD & SINUS
7. DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”
8. DRISTAN SINUS
9. DRIXORAL SINUS
10. VICKS INHALER และ
11. LOMOTIL นั้น
       
       ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวว่า ประกาศเตือนดังกล่าวอ้างอิงจากประเทศสหรัฐอเมริกาอีกต่อหนึ่ง ซึ่งเมื่อตรวจสอบรายชื่อยาดังกล่าวแล้วเป็นชื่อทางการค้า ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ยาหมายเลข 1, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ไม่ได้ขายในประเทศไทย โดยเป็นยาที่มีส่วนผสมของสารซูโดอีเฟดรีน ซึ่งยาที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีนนั้น ประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ในโรงพยาบาลภายใต้การควบคุมกำกับ อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่รายชื่อยาที่ปรากฏดังกล่าว แต่ยาที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีนทั้งหมดห้ามนำติดตัวออกนอกประเทศเช่นกัน นอกจากนี้ ยาสูตรแก้หวัด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางก็เป็นยาที่ต้องระวังในการนำติดตัวออกนอกประเทศด้วย เพราะส่วนใหญ่ประเทศต่าง ๆ จะห้ามนำยาที่มีส่วนผสมของสารที่กระตุ้นระบบประสาทเข้าประเทศ
       
       ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า กลุ่มที่ 2 หมายเลข 2, 3, 10 เป็นยาที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และ กลุ่มที่ 3 หมายเลข 11 คือ LOMOTIL ซึ่งเป็นกลุ่มยาแก้ท้องเสีย ประเทศไทยเพิ่งยกเลิกการขึ้นทะเบียนเมื่อปลายปีก่อน และมีสารที่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 คือ สารไดเฟนอกไซเลต แม้ว่าจะยกเลิกการขึ้นทะเบียนแล้วแต่อาจยังคงเหลือในระบบ เช่น โรงพยาบาลอาจยังจ่ายยาให้ หรือ บางบ้านยังมีการใช้ยาตัวดังกล่าวอยู่ ฉะนั้น การนำยาออกนอกประเทศจึงต้องระวังด้วย และต้องอ่านฉลากยาในกรณีที่อาจมีสารไดเฟนอกไซเลต ผสมอยู่ในยาที่มีชื่อการค้าอื่นด้วย
       
       “การนำยาออกนอกประเทศนั้น ตามระเบียบสากลอนุญาตให้นำยาจำเป็นติดตัวได้ในปริมาณไม่เกิน 30 วัน ข้อแนะนำคือ
1. ไม่ควรแกะยาออกจากแผง เพราะจะมีชื่อยา คำแนะนำการใช้ยาที่ชัดเจน
2. หากมีใบสั่งแพทย์ให้นำใบสั่งแพทย์ติดตัวไว้ด้วย และ
3. หากเป็นกลุ่มยาต้องห้าม โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับยาเสพติด หรือ ยาแก้ปวดชนิดรุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่แพทย์จ่ายภายใต้การควบคุมอยู่ เช่น เมทาโดน มอร์ฟีน โคเดอีน ยากลุ่มนี้ กฎหมายอนุญาตให้นำออกนอกประเทศได้ แต่มีกฎระเบียบว่าต้องขออนุญาตในการนำออกประเทศ พร้อมทั้งมีใบสั่งแพทย์ที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การเดินทางออกนอกประเทศนั้น แต่ละประเทศจะมีข้อห้ามในการนำยาเข้าที่ต่างกัน ควรตรวจสอบอีกครั้งในเว็ปไซต์ของทางการของประเทศนั้นๆ” โฆษก อย. กล่าว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 กรกฎาคม 2558