ผู้เขียน หัวข้อ: เทือกเขาแอลป์-สารคดี(เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก)  (อ่าน 2579 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
ทัศนียภาพ อันงดงามราวภาพโปสการ์ดของเทือกเขาแอลป์กำลังจะเหลือไว้แค่ในภาพถ่าย หลังถูกคุกคามด้วยภาวะโลกร้อน ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของชาวบ้านและนักท่องเที่ยวผู้โปรดปรานการเล่นสกี แม้ความเจริญจะนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่จะคุ้มกันหรือไม่หาก ต้องแลกกับความสวยงามของธรรมชาติ ที่มนุษย์ไม่สามารถเนรมิตขึ้นใหม่ได้

      ราวกลางเดือนมิถุนายนของทุกปี ธารน้ำแข็งพิตซ์ทาลในออสเตรียมักลาพักร้อนด้วยการละลายกลายเป็นสายน้ำเย็น เฉียบไหลรี่ไปตามลาดเขาไทโรเลียน ก่อนจะออกสู่ชายหาดต่างๆ ไม่ต่างจากพฤติกรรมของชาวยุโรปในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคม แต่สำหรับเจ้าของรีสอร์ตสกีในแถบธารน้ำแข็ง ช่วงเวลาสี่เดือนที่หิมะละลายไม่ใช่เรื่องเล่นๆ พวกเขาจึงทดลองทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน นั่นคือการสั่งซื้อผืนผ้าคล้ายผ้าห่มสีขาวจำนวนมากมาห่มทับธารน้ำแข็งซึ่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 60,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อเก็บรักษาความเย็นตลอดช่วงฤดูร้อน วิธีนี้ดูเหมือนจะได้ผลเพราะธารน้ำแข็งละลายช้าลง และตอนนี้ลานสกีหลายแห่งในเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ต่างลุกขึ้นมาห่มผ้าให้ ธารน้ำแข็ง นี่อาจไม่ได้ช่วยให้ธารน้ำแข็งรู้สึกดีขึ้นนัก  แต่บรรดาเจ้าของรีสอร์ตคงใจชื้นขึ้นแน่ๆ
        เช้าวันหนึ่งในเดือนกรกฎาคม ฉันไปเยือนธารน้ำแข็งชตูไบกับนักธารน้ำแข็งวิทยา แอนเดรีย ฟิชเชอร์ และทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอินส์บรุคที่ขึ้นไปตรวจสุขภาพธารน้ำแข็งประจำ สัปดาห์ เพื่อวัดอัตราการละลายของธารน้ำแข็งภายใต้วัสดุปกคลุมขนาดใหญ่ชนิดต่างๆ เช่น ขนแกะ ป่าน พลาสติก หรือเส้นใยผสมจากวัสดุเหล่านี้ที่ทอดตัวเป็นแนวทับผืนหิมะเฉอะแฉะ
        ในแปลงทดลองที่คลุมด้วยพลาสติก หิมะละลายเกือบ 30 เซนติเมตรในหนึ่งสัปดาห์ ฟิชเชอร์บอกว่า "การที่มวลของธารน้ำแข็งเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นเป็นเรื่องปกติค่ะ" แต่สิ่งที่นักภูมิอากาศวิทยาชี้ว่าผิดปกติคืออัตราการละลายที่เร็วขึ้นมากใน ปัจจุบัน ทีมของฟิชเชอร์พบว่า วัสดุหลายประเภทรวมทั้งผืนผ้าขนสัตว์สีขาวแบบใหม่มีประสิทธิภาพในการชะลอการ ละลายของหิมะ โดยมีอัตราการละลายเพียง 5 เซนติเมตรต่อสัปดาห์
       แม้การเอาผ้าห่มห่มภูเขาทั้งลูกจะไม่ใช่เรื่องปกติ แต่กิจกรรมอันหลากหลายบนผืนน้ำแข็งแห่งเทือกเขาแอลป์ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสกี การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการอื่นๆ รวมถึงแรงงานอีกหลายล้านชีวิตที่พำนักอยู่ที่นั่น ทำให้พอเข้าใจได้ว่า ทำไมจึงมีบางคนอยากทำเช่นนั้น แต่เราจำเป็นต้องใช้มากกว่าผ้าห่มในการปกป้องเทือกเขาแอลป์จากการคุกคามของ ธรรมชาติและมนุษย์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้
        เดือนนี้จะมีการแข่งกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในเทือกเขาแถบเมืองตูรินของอิตาลี และภาพในโทรทัศน์ก็คงไม่พ้นภาพธรรมชาติที่ยังดูอุดมสมบูรณ์และแทบไม่ ถูกรบกวน
        แต่นั่นเป็นเพียงภาพลวงตา พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทือกเขาแอลป์ที่ทอดผ่านใจกลางทวีปยุโรปมีการใช้ประโยชน์ หนักมาหลายศตวรรษ กระทั่งทุกวันนี้มีเพียงร้อยละ 17 ของพื้นที่ทั้งหมด 191,000 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นที่ได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นเขตอุทยาน พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ได้มีจำกัดจนทำให้บริเวณหุบเขาแออัดไปด้วยสิ่งปลูก สร้างอย่างโรงงาน ทางรถไฟ โรงแรม บ้านเรือน โบสถ์ ลิฟต์สำหรับนักสกี ฟาร์ม ลานจอดรถ โกดังเก็บซุง ร้านค้า ภัตตาคาร และร้านสินค้าแฟชั่นต่างๆ ซึ่งอยู่ในวงล้อมของถนนคอนกรีต แม้เทือกเขาแอลป์ที่เห็นในโทรทัศน์จะดูโล่งว่าง แต่ที่นี่มีประชากรเกือบ 14 ล้านคน โดยสองในสามอาศัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งบางแห่งมีประชากรหนาแน่นกว่าในประเทศเนเธอร์เแลนด์เสียอีก
        มโนภาพเดิมๆของเทือกเขาแอลป์เป็นสิ่งที่ยากจะลบเลือน และเรามักลบภาพโรงเลื่อย ปั้นจั่นและสายไฟฟ้าระโยงระยางออกไปตามสัญชาตญาณ อังเดรอาส เกิทซ์ ผู้อำนวยการคณะกรรมการนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์เทือกเขาแอลป์ ตั้งข้อสังเกตว่า "คนจำนวนมากมาเที่ยวที่นี่เพราะอยากเห็นชายแก่หนวดยาวนั่งสูบไปป์อย่างมี ความสุข อยากดูเราผลิตช็อกโกแลตและเนยแข็งและมีความสุขทั้งวัน"

กุมภาพันธ์ 2549