ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์และวิจารณ์บทความเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เผยแพร่โดย สวรส.  (อ่าน 518 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์และวิจารณ์บทความเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เผยแพร่โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กรรมการแพทยสภา
ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่ปรึกษากิติมศักด์ กรรมาธิการสาธารณสุข สนช.
23 มีค. 60

จากวารสารของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขฉบับพิเศษ ทศวรรษที่ 2 สู่ “หลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน” ใน
http://old.hsri.or.th/…/default/files/browse/hsri-journal-f…
HSRI
Forum
ปีที่ 1 ฉบับพิเศษ พฤษภาคม 2555
: ทศวรรษที่ 2 สู่ “หลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน”
ซึ่งเมื่อข้าพเจ้า(ผู้เขียน) อ่านงานวิจัยที่งตีพิมพ์ในวารสาร HSRI (Health System Research Institute) หรือชื่อภาษาไทยว่า “สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.) ฉบับพิเศษ “ทศวรรษที่สองสู่ระบบหลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน” แล้ว ก็ขอวิเคราะห์วิจารณ์ในบทความที่บอกว่าเขียนโดยนักวิจัย 2 คน ที่รับทุนวิจัยจากสวรส.คือคืออ.นวลน้อย ตรีรัตน์และแบ๊งค์ งามอรุณโชติ ผู้ซึ่งได้เขียนไว้ว่า

การเมืองและดุลอํานาจในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

การปฏิรูประบบสาธารณสุขเกิดจากทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของนพ.ประเวศ วะสี และคณะกลุ่มบุคคลที่ผลักดันให้เกิดองค์กรทั้ง 4 ก็คือนพ.ประเวศ วะสีและกลุ่มชมรมแพทย์ชนบท และเป็นประเด็นความขัดแย้งของแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทการผูกขาดบทบาทในการปฏิรูประบบสาธารณสุข (intellectual monopoly) โดยนักวิจัยทั้งสองเขียนว่า ฝ่ายที่ต่อต้านแนวคิด 30 บาทเป็นผู้มีสายสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง
แต่ทั้งสองคนนี้ได้ยกย่องว่า กลุ่มนพ.ประเวศ วะสีมีการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมเอาไว้เป็นจำนวนมากเพื่อเอามาต่อรองกับฝ่ายการเมือง เรียกได้ว่ามีความต่อเนื่องทางปัญญา (continuity of wisdom) แต่ก็ทำให้เกิดกลุ่มแนวคิดต่อต้านเครือข่ายนพ.ประเวศ

ผู้วิจัยยังเห็นอีกว่า แพทย์ที่คัดค้านนโยบาย 30 บาทเป็นพวกที่ยึดติดกับ “ระบบสงเคราะห์” และคิดว่าความขัดแย้งเหล่านี้เป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยอ้างว่ากลุ่มที่มีผลประโยชน์จากการมีกำไรที่สูงกว่าปกติก่อนจะมีสปสช.คือโรงพยาบาลและบริษัทยา ฉะนั้นเมื่อเกิดสปสช.ขึ้นมาพวกโรงพยาบาลและบริษัทยาจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อคงกำไรของตนเอาไว้ จึงต้องต่อต้านนโยบาย 30 บาท หรือวิ่งเต้นติดสินบนเพื่อเข้าไปยึดกุมการจัดการในระบบหลักประกันสุขภาพ ผู้วิจัยทั้งสองคนยังเขียนอีกว่า มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัทยาและแพทย์อย่างเห็นได้ชัด เริ่มตั้งแต่นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสปสช.คนแรก ได้สร้างบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อจัดหายาที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และประหยัด เป็นการยึดสิทธ์ในการเลือกใช้ยาไปจากแพทย์ รวมทั้งดึงเปอร์เซ็นต์ค่ายาที่ร.พ.เคยได้รับจากบริษัทยาไปด้วย
ส่วนมิติทางเศรษฐกิจ นั้นผู้วิจัยก็เขียนว่า สปสช.สามารถไปแทรกแซงและต่อรองราคายา รวมทั้งไปทำ CLยาทำให้ได้ยาราคาถูก ทำให้บริษัทยาและโรงพยาบาลสูญเสียผลประโยขน์ จึงทำให้คนเหล่านี้พยายามที่จะเข้าไปเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสรุปว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสปสช.กับกลุ่มต่อต้าน นั้นมีมิติที่ทับซ้อนกันของการเมือง อำนาจและผลประโยชน์

เมื่อข้าพเจ้า (ผู้เขียนเรื่องนี้) ได้อ่านบทความนี้แล้ว ก็ขอสรุปประเด็นที่นักวิจัยกล่าวอ้าง ที่เป็นหัวข้อใหญ่ 6 เรื่องคือ
1. มีการผูกขาดบทบาทในการปฏิรูประบบสาธารณสุขโดยกลุ่มนพ.ประเวศ วะสี เจ้าของทฤษฎี สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา
2. ฝ่ายที่ต่อต้านกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีสายสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข
3. นพ.ประเวศ วะสี มีความฉลาดทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง จึงได้สร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมเอาไว้ต่อรองกับฝ่ายการเมือง แต่ก็ทำให้เกิดกลุ่มแนวคิดต่อต้าน 30 บาท
4. ผู้วิจัยยังเห็นว่าแพทย์ที่ต่อต้านระบบ 30 บาท เป็นพวกที่ยึดติดกับระบบสงเคราะห์ (ที่ทำให้แพทย์มีอำนาจจะ “ช่วยสงเคราะห์ผู้ป่วยคนไหนก็ได้”
5. ผู้วิจัยคิดว่าความขัดแย้งเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากมี “ผู้สูญเสียผลประโยชน์” จากการที่เคยมีกำไรสูงก่อนที่จะมีระบบ 30 บาท ได้แก่แพทย์ โรงพยาบาล และบริษัทยา เนื่องจากนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คนแรก ได้สร้างบัญชียาหลักแห่งชาติขึ้นมา เพื่อจัดหายาที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยและประหยัด เป็นการยึดสิทธิ์การสั่งยาไปจากแพทย์ รวมทั้งดึงเปอร์เซ็นต์ที่โรงพยาบาลเคยได้จากบริษัทยาไปด้วย
6. ผู้วิจัยยังอ้างว่าการที่สปสช.ไปซื้อยาเอง ทำ CL ยา ทำให้สปสช.ซื้อยาได้ในราคาถูก ทำให้บริษัทยาและโรงพยาบาลเสียผลประโยชน์ไปมาก จึงทำให้ “ผู้ที่เสียผลประโยชน์” พยายามที่จะเข้าไปเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะมีทั้งผลประโยชน์และอำนาจ
จากข้อความข้างต้นทั้งหมดที่ผู้เขียนยกมาอ้างอิงนั้น ลงตีพิมพ์ในวารสาร on line ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่อ้างว่ากลุ่มผู้ต่อต้านนโยบาย 30 บาทนั้นคือกลุ่มที่สูญเสียผลประโยชน์จากที่เคยได้กำไรจากการขายยา สูญเสียอำนาจในการสั่งยาและสูญเสียผลประโยชน์ตอบแทนจากการได้รับเปอร์เซ็นต์จากการสั่งซื้อยา
ในขณะที่ทั้งสองคนเขียนยอมรับว่านพ.ประเวศ วะสี และกลุ่ม(แกนนำชมรม)แพทย์ชนบทเป็นผู้ผลักดันให้เกิดองค์กรสวส. สสส. สปสช. สช.และเป็นพวกที่มี “ความต่อเนื่องทางปัญญา”ในการสร้าง “เครือข่าย”ภาคประชาสังคมเอาไว้ต่อรองกับฝ่ายการเมือง
ซึ่งเมื่อข้าพเจ้า(ผู้เขียน) อ่านงานวิจัยที่งตีพิมพ์ในวารสาร HSRI ฉบับพิเศษ “ทศวรรษที่สองสู่ระบบหลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน” แล้ว ก็ขอวิเคราะห์วิจารณ์ดังนี้

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า บทความที่ผู้วิจัยทั้งสองเขียนนั้น มีทั้งความจริงและความห็น(ของนักวิจัย)ปนกันอยู่ ซึ่งข้าพเจ้าจะขอแยกความจริงออกจากความเห็น เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่ได้อยู๋ในแวดวงการแพทย์และสาธารณสุขได้เข้าใจเรื่องราวในระบบหลักประกันสุขภาพและระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ตามการสรุปในประเด็นต่างๆ 6 ประเด็นที่บทความในHSRI กล่าวแล้วดังนี้คือ

1.ความจริงก็คือมีการผูกขาดการบริหารงานในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจริง ระบบนี้ก่อตั้งโดยนพ.ประเวศ วะสี เจ้าของทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาและกลุ่มสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทจริง ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า กลุ่มสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท สามารถยึดตำแหน่งเลขาธิการสปสช.และกรรมการ(บอร์ด) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตลอด เช่น นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสมัยแรกและถึงแก่กรรมในขณะเป็นเลขาธิการสมัยที่ 2 และนพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการก็ได้เข้ามาเป็นเลขาธิการต่อมาจนได้ถูกคำสั่งคสช.ให้ออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558และไม่ได้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกจนครบ 2 วาระ และผู้ที่ได้รับการรับรองให้เข้ามาเป็นเลขาธิการสปสช.เป็นคนที่ 3 ก็คือนพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รองเลขาธิการสปสช. ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของสปสช.ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหลักประกันสุขภาพเขต 9 เขต 7 และรองเลขาธิการสปสช.ตามลำดับ นับได้ว่าเป็นผู้ที่ทำงานกับสปสช.มาอย่างยาวนาน

2.การที่ผู้วิจัยอ้างว่า ฝ่ายที่ต่อต้านกลุ่มนี้เป็นผู้มีสายสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ข้อนี้ก็มีทั้งที่เป็นจริง กล่าวคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในยุคปี 2555 นั้นมาจากพรรคเพื่อไทย และเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข (จะเรียกว่ามีสายสัมพันธ์กันก็ได้ แต่ไม่ใช่เป็นสายสัมพันธ์ส่วนตัว แต่เป็นสายสัมพันธ์ตามตำแหน่างหน้าที่ในราชการ) ซึ่งประสบกับปัญหาการขาดเงินงบประมาณในการทำงานรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาท และข้าราชการเหล่านั้นทั้งระดับทั่วไปหรือระดับผู้บริหาร ต่างก็ต้องรายงานให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงทราบถึงอุปสรรคในการทำงานให้การดูแลรักษาประชาชน ว่างบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่สปสช.จะต้องส่งมาให้แก่โรงพยาบาลนั้น เป็นงบประมาณขาดดุล กล่าวคือมีจำนวนเงินน้อยกว่าที่รัฐบาลจัดสรรให้สปสช. (ซึ่งน่าจะเกิดจากการรั่วไหลของงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ซึ่งทำให้รพ.กระทรวงสาธารณสุขขาดเงินทุนในการดำเนินการให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่มีสิทธิ์ในระบบ 30 บาท ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการที่มีข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสปสช.นั้น ไม่ได้หมายความว่าต่อิต้านสปสช. แต่ต้องการให้สปสช.แก้ไขการบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้สถานพยาบาลได้รับเงินมาทำงานรักษษผู้ป่วยอย่างพอเพียงตามมาตรฐานการแพทย์ที่ดี ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์เพราะต้องการผลประโยชน์ส่วนตัวแต่อย่างใด

3.ที่ผู้วิจัยกล่าวว่านพ.ประเวศ วะสี เป็นผู้มีปัญญาอย่างต่อเนื่องในการสร้างเครือข่ายประชาสังคมไว้เป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง (ในการที่จะไม่เลิกระบบ 30 บาท) เรื่องนี้เป็นจริง(ที่สุด) ที่นพ.ประเวศ วะสี สามารถสร้างเครือข่ายประชาสังคมไว้มาก ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่า เขาวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนยกร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแล้ว โดยการกำหนดให้มีกลุ่มองค์กรเอกชนทางสาธารณสุข สามารถคัดเลือกกันเองเข้ามาเป็นกรรมการ(บอร์ด)หลักประกันสุขภาพได้ถึง 5 คน และยังกำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นกรรมการได้อีกถึง 7 คน ซึ่งในการคัดเลือกกรรมการ(บอร์ด) ในวาระแรกนั้น ผู้คัดเลือกก็คือกลุ่มนพ.ประเวศ วะสี ก็สามารถคัดเลือก “พรรคพวก”หรือคนที่มีแนวคิดเหมือนกันมาเป็นกรรมการได้ใน 2 ประเภทนี้ถึง 12 คน และยังกำหนดให้มีผู้แทนเทศบาลและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 6 คน ซึ่งพวกเขาก็คงสามารถเลือกได้เองอีกทั้งหมด ทำให้มีกรรมการพวกเดียวกันเป็นต้นทุนแล้วถึง 18 คน ในจำนวนกรรมการทั้งหมด 30 คน และในวาระแรก รัฐมนตรีก็มาจากรัฐบาลที่เห็นชอบกับโครงการ 30 บาท จึงทำให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “กุมเสียงข้างมาก”ในองค์กร ทำให้สามารถ “ขับเคลื่อน”การบริหารงานได้ตามที่กลุ่มสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาต้องการ

และกรรมการที่มาจากกลุ่มองค์กรเอกชนที่ถูกกลุ่ม”สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”เลือกมา ก็ได้เป็นกรรมการติดต่อกัน 2 วาระเป็นส่วนมาก และกรรมการเหล่านี้หลายคน ยังไปตั้งองค์กรหรือมูลนิธิต่างๆไว้คอยรับงบประมาณในการทำโครงการของ ทำให้พวก NGO เหล่านี้เกิดความ “รักระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” (เนื่องจากสามารถเข้ามาเป็นกรรมการและกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานได้)
ในยุครัฐมนตรีมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีในยุคคมช. ที่เป็นสมาชิกกลุ่มสามพรานฟอรั่ม )ได้มีมติให้เลิกเก็บเงินผู้ป่วยครั้งละ 30 บาท (นัยว่าต้องการตัดความเกี่ยวเนื่องขอฃ 30 บาทกับนายทักษิณ ชินวัตร”)

ในเวลาต่อมา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยโดยนส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขต้องการจะให้มีการเก็บเงินผู้ป่วยครั้งละ 30 บาทอีก (นัยว่าต้องการแบรนด์เนม 30 บาทกลับมาอีก) ก็มีNGO รวมดัวกันเป็นกลุ่ม “คนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ออกมาต่อต้านการกลับไปเก็บเงินครั้งละ 30 บาท จนทำให้รัฐมนตรีต้องยอมออกประกาศว่ายกเว้นไม่ต้องเก็บ 30 บาทในผู้ป่วย 21 ประเภท (ซึ่งประเภทสุดท้ายคือไม่อยากจ่ายเงิน) ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ประสบความสำเร็จในการหันมาเก็บเงินครั้งละ 30 บาทอีก และแกนนำของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพก็คือกลุ่มNGO ที่ล้วนเคยเป็นบอร์ดสปสช.แล้วทั้งสิ้น นับเป็นเครือข่ายที่เหนียวแน่นและทรงพลังของกลุ่มสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

แม้เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า 30 บาททำให้โรงพยาบาลเจ๊ง ก็มีกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือเป็นบอร์ดหลักประกันสุขภาพแห่งชาติออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ประชาชนร่วมจ่ายเงินเข้าสู่ระบบ
ข้าพเจ้าเชื่อว่าการจะจัดระบบหลักประกันสุขภาพให้มีคุณภาพก็ต้องหาเงินมาเพิ่มในระบบหลักประกันสุขภาพได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีทางตรงหรือทางอ้อมเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะมีเงินเข้าไปเพิ่มในระบบให้มากขึ้น เพื่อทำให้ได้ยาดีมีคุณภาพ และการรักษาที่มีคุณภาพมาตรฐานสากลและสามารถพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการรักษาได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน

เพราะปัจจุบันนี้ แพทย์ส่วนมากที่ทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาท ซึ่งเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และนักวิชาการที่ให้ความสนใจกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่างก็ให้ความสนใจว่าเพราะเหตุใดผลลัพธ์ในการรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาทจึงเกิดความเหลื่อมล้ำกับระบบสวสดิการข้าราชการ ตามผลการวิจัยของดร.วีรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ นักวิจัยของ TDRI (1) แต่ต่อมาได้มีความเห็นของนักวิชาการแพทย์ชี้ว่าเพราะ สปสช. ต้องการประหยัดงบประมาณ โดยการจำกัดการเข้าถึงยาของผู้ป่วยและเสรีภาพการให้ยาของแพทย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการรักษา เช่น กำหนดบัญชียาหลัก ซึ่งวงการแพทย์มีการพัฒนายาตัวใหม่ๆ แต่ผู้ป่วยไม่มีสิทธิใช้ได้ หรือการกำหนดสูตรยาเฉพาะ ซึ่งเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาตัวอื่นในการรักษา เพราะใช้ยาสูตรเฉพาะตามที่ สปสช.กำหนดแล้วไม่ได้ผล แต่ก็ไม่สามารถสั่งยาตัวอื่นมาใช้ได้ ซึ่งหากสั่งยาให้ผู้ป่วย แพทย์ก็ต้องจ่ายค่ายาทั้งหมดเอง ทำให้แพทย์ไม่กล้าสั่งยา หรือการกำหนดวิธีการรักษา เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก็กำหนดให้ใช้วิธีการล้างไตผ่านช่องท้องเป็นอันดับแรกเท่านั้น ซึ่งเป้นการกำหนดโดยไม่ผ่านการวิจัยก่อนที่จะกำหนดเป็นนโยบายว่าจะเกิดผลเสียอะไรหรือไม่ สุดท้ายก็มีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก(2)

4.การที่ผู้วิจัยกล่าวว่าแพทย์ผู้ต่อต้านระบบ 30 บาทเป็นพวกติดกับระบบสงเคราะห์ก็ไม่จริง แพทย์ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ระบบ 30 บาทนั้น ส่วนใหญ่คือแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในการรักษาผู้เจ็บป่วยในระบบ 30 บาท เขาได้เห็นว่าสปสช.บังคับไม่ไห้แพทย์จ่ายยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาผู้ป่วยโดยสปสช.กำหนดให้ใช้ยารักษาผู้ป่วยเฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น ซึ่งหลายโรคไม่อาจรักษาให้หายจากยาที่มีในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสที่จะหายจากโรค และสปสช.ยังจ่ายเงินค่ารักษาผู้ป่วยน้อยกว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการรักษาผู้ป่วย ทำให้โรงพยาบาลขาดเงินทุนหมุนเวียนในการจัดการบริการรักษาผู้ป่วย
จึงออกมาวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้สปสช.แก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งยังไม่แก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จนบัดนี้ ซึ่งถ้ารัฐมนตรีและปลัดกระทรวงสาธารณสุขเอาใจใส่และช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้กับสปสช.อย่างจริงจังและรวดเร็ว ก็น่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว เพราะทั้งรมต.และปลัดต่างก็เป็นบอร์ดหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และน่าจะเสนอการแก้ไขในการประชุมบอร์ดได้ แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแต่อย่างใด

5. การที่ผู้วิจัยบอกว่าผู้ที่ต่อต้านระบบ 30 บาท คือผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการเคยได้กำไรสูง ได้แก่แพทย์ โรงพยาบาลและบริษัทยานั้นไม่เป็นความจริง กล่าวคือเป็นกาให้ความเห็นของนักวิจัยที่ไม่ได้หาข้อมูลจริงมาประกอบการวิจัย หรือหาข้อมูลไม่รอบด้าน รายงานการวิจัยนี้ ก็คือ การกล่าวหาว่า กลุ่มต่อต้านคือบริษัทยา โรงพยาบาลหรือแพทย์เป็นผู้เสียผลประโยชน์จากการที่สปสช.สร้างบัญชียาหลักแห่งชาติ และไปต่อรองและแทรกแซง.ราคายา รวมทั้งการทำ CL ยานั้น เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่สามารถแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ได้
แต่ถ้าเราติดตามข้อมูลให้รอบด้าน จะพบว่าผู้ที่คัดค้านการซื้อยาของสปสช.นั้นคือแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยที่ได้ทราบว่ายาที่สปสช.จัดซื้อเองนั้น เกิดผลลัพทธ์ไม่ดีในการรักษา และบัญชียาหลักแห่งชาติทำให้แพทย์ไม่สามารถรักษาโรคที่รุนแรงบางอย่างได้ และทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสที่จะหายจากโรค กล่าวคือทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับยานั้นมีผลลัพธ์การรักษาด้อยกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ(1) กล่าวคือการที่สปสช.บังคับให้แพทย์ใช้ยาแต่เพียงยาในบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น ทำให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “พลาดโอกาสในการที่จะได้รับยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรักษาอาการป่วยของตน” จนทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมากกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ

ผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์ตัวจริงจากระบบ 30 บาทนี้ ส่วนหนึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ไม่ได้รับยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาความเจ็บป่วยของตน แต่ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่รู้ความจริงว่ามียาที่ดีกว่าและเหมาะสมกว่าในการรักษาความเจ็บป่วยของตน มีแต่แพทย์ผู้รักษาเท่านั้นที่รู้ว่าไม่สามารถให้ยาที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดกับอาการป่วยของผู้ป่วยได้ เนื่องจากข้อจำกัดจากระเบียบข้อบังคับในการจ่ายยาของสปสช.
ทั้งนี้ทำให้แพทย์ที่มีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณทางการแพทย์รู้สึกเศร้าใจและเสียใจที่แพทย์เอง ไม่สามารถสั่งยาหรือการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ และรู้สึกอึดอัดคับข้องใจที่ต้องรักษาผู้ป่วยด้วยยาที่ไม่เหมาะสมขัดกับจริยธรรมทางการแพทย์ แต่ถ้าไม่ให้ยาเหล่านั้น ก็ต้องให้ผู้ป่วยออกเงินซื้อยาเอง ซึ่งผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจก็จะกล่าวหาว่าแพทย์เรียกรับผลประโยชน์จากผู้ป่วย แพทย์จึงต้อง “จำใจ” จ่ายยาหรือเครื่องมือแพทย์ (เช่นเล็นส์แก้วตาเทียมชนิดคุณภาพต่ำที่สปสช.ไปเหมาซื้อมา” ใส่ให้แก่ผู้ป่วย) นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคเรื้อรังและร้ายแรง เช่นมะเร็ง หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองตีบ ที่แพทย์ต้อง “จำใจ” จ่ายยาที่สปสช.ไปเหมาซื้อมาให้แก่ผู้ป่วยนั้น ทำให้ผู้ป่วยในระบบ 30 บาทมีอัตราตายสูงกว่าผู้ป่วย(ป่วยด้วยโรคเดียวกันกลุ่มอายุเดียวกัน)ในระบบสวัสดิการข้าราชการ(ที่ไม่ต้องใช้ยาที่สปสช.ไปเหมาซื้อมา) อย่างเห็นได้ชัดเจน จึงเห็นได้ว่าแพทย์ผู้ถูก”กล่าวหา”ว่าออกมาต่อต้านระบบ 30 บาทมั้น ไม่ได้สูญเสียผลประโยชน์อะไร แต่ทนมองเห็นความเสียหายที่ผู้ป่วยได้รับจากการ “บังคับใช้ยาของสปสช.”ไม่ได้

การอ้างว่าสปสช.สามารถประหยัดในการซื้อยา ทำให้รพ.ไม่ได้เปอร์เซ็นต์จากการซื้อยาเองนั้น DSIได้เคยรายงานแล้วว่า (3) สปสช.ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย(หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)ในการเอาเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพไปซื้อยาเอง สปสช.มีหน้าที่ “จ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุข” ให้แก่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล และเมื่อสปสช.เอาเงินนี้ไปซื้อยาและได้เปอร์เซ็นต์ตอบแทน สปสช.ก็ “ต้อง”เอาค่าตอบแทนนี้ไปให้แก่โรงพยาบาล ไม่ใช่เก็บเอาไปใช้เอง เพราะเงินนี้เป็นเงินที่ต้องจ่ายให้โรงพยาบาล เปรียบเหมือนแม่(รัฐบาล) ให้เงินพี่เลี้ยง(สปสช.) ไว้ไปจ่ายให้แก่ลูก(โรงพยาบาล) แต่เมื่อพี่ลี้ยงเอาเงินนั้นไปซื้อยา(แทนลูกคือรพ.) เมื่อมีเงินทอน ก็ต้องเอามาคืนให้ลูก(คือรพ.) ไม่ใช่เม้มเอาไปใช้เองแบบที่สปสช.ทำมาแล้ว

6.การอ้างซ้ำอีกครั้งว่าสปสช.สามารถซื้อยาได้ในราคาถูกรวมทั้งไปทำ CL ยามานั้น สามารถประหยัดงบประมาณได้มาก แต่สปสช.ไปซื้อยาที่ทำ CL มาโดยให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ไปซื้อยา แต่องค์การเภสัชไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสารเคมีในเม็ดยา (เพราะองค์การเภสัชได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพยาที่นำเข้าตามที่บัญญัติไว้ในม.12 และ 13 ของพ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ) ซึ่งอาจทำให้ยา CL ที่นำเข้าหรือสั่งซื้อโดยองค์การเภสัชกรรมนั้น อาจมียาที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาจากองค์การเภสัชไม่หายจากโรค ดื้อยา นอกจากนี้ ยาที่สปสช.ไปเหมาโหลซื้อมาในราคาถูกนั้น ก็เป็นยาใกล้กับวันหมดอายุ (Expire date) บางครั้งพบว่าเมื่อยามาถึงรพ.ก็หมดอายุก่อนที่จะได้จ่ายให้แก่ผู้ป่วย (ข้อมูลนี้ได้มาโดยตรงจากหัวหน้าห้องยาในรพ.รัฐขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกทม.นี่เอง) การประหยัดเงินแต่ได้ยาที่ไม่มีคุณภาพนั้น ถ้าเอามาใช้กับบุคลากรหรือญาติพีน้องของสปสช.จะยินยอมหรือไม่?
นอกจากนั้นการอ้างว่าการเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นได้ทั้งเงินและอำนาจ จนกลุ่มคนที่ต่อต้าน 30บาท ก็พยายามที่จะเข้าไปเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ก็เป็นความจริงที่สุด ที่พวก “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ในการที่กลุ่มตน “ยึดอำนาจในระบบสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพมาได้อย่างยาวนาน” ได้ทั้งเงินตามที่สมควรได้ (เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เบี้ยประชุม) และยังอาจได้รับผลประโยชน์นอกจากที่กฎหมายกำหนด เช่นได้เงินในนามมูลนิธิต่างๆ หรือองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยบริการ และได้ค่าตอบแทนจากการซื้อยา ฯลฯ
และยังได้อำนาจในการ”สั่งการหรืออกระเบียบข้อบังคับ “ ให้โรงพยาบาลหรือกระทรวงสาธารณสุข “ต้องทำตาม (ทั้งๆที่ไม่ถูกกฎหมาย) ดังที่เห็นๆกันอยู่
ส่วนการอ้างว่า กลุ่มที่คัดค้านหรือต่อต้านการทำงานของสปสช.นั้น มีความพยายามที่จะเข้าไปเป็นกรรมการ(บอร์ด)ของสปสช.เพื่อต้องการอำนาจและผลประโยชน์นั้น ก็เป็นการอ้างที่เป็นความจริงว่า คนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มนพ.ประเวศ วะสี พยายามที่จะเข้าไปเป็นกรรมการหรือเลขาธิการสปสช.เพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมต่างๆของสปสช.ดังกล่าวแล้ว

แต่กลุ่มสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของของนพ.ประเวศ วะสีนั้นสามารถยึดกุมอำนาจในการบริหารองค์กร 30 บาทเป็นเสียงข้างมากได้ตลอดมา กล่าวคือ เลขาธิการคนแรก ก็คือแกนนำชมรมแพทย์ชนบท เลขาธิการคนที่ 2 ก็คือผู้ที่เป็นรองเลขาธิการในสมัยแรก ส่วนเลขาธิการคนที่ 3 ก็คือผู้ที่เคยเป็นรองเลขาธิการมาก่อนเช่นเดียวกัน
ส่วนกรรมการบอร์ดองค์กรทั้ง 4 คือสวรส. สสส. สปสช. สช.นั้น ก็จะพบว่ากลุ่มสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาและเครือข่ายภาคประชาสังคมของเขา ต่างก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเป็นกรรมการและอนุกรรมการหลายคน

 เอกสารอ้างอิง
1. http://tdri.or.th/tdri-insight/20150605/ เมื่อเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำด้านผลลัพธ์ทางสุขภาพระหว่างระบบสวัสดิการถ้วนหน้ากับระบบข้าราชการของโอกาสการอยู่รอดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ติดตามตั้งแต่อายุ 60 ปี หลังจากเข้ารับการรักษา 10 วัน พบว่า 82% ผู้ป่วยระบบข้าราชการยังคงมีชีวิตอยู่ และ 68% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้ายังคงมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าหลัง 40 วัน พบว่า 57% ผู้ป่วยระบบข้าราชการยังคงมีชีวิตอยู่ และ29% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้ายังคงมีชีวิตอยู่

2. http://tdri.or.th/tdri-insight/20150605/ หมออภิวัฒน์ชี้ จำกัดยาและวิธีการรักษา เพราะ สปสช. ต้องการประหยัดงบประมาณ โดยการจำกัดการเข้าถึงยาของผู้ป่วยและเสรีภาพการให้ยาของแพทย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการรักษา เช่น กำหนดบัญชียาหลัก ซึ่งวงการแพทย์มีการพัฒนายาตัวใหม่ๆ แต่ผู้ป่วยไม่มีสิทธิใช้ได้ หรือการกำหนดสูตรยาเฉพาะ ซึ่งเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาตัวอื่นในการรักษา เพราะใช้ยาสูตรเฉพาะตามที่ สปสช.กำหนดแล้วไม่ได้ผล แต่ก็ไม่สามารถสั่งยาตัวอื่นมาใช้ได้ ซึ่งหากสั่งยาให้ผู้ป่วย แพทย์ก็ต้องจ่ายค่ายาทั้งหมดเอง ทำให้แพทย์ไม่กล้าสั่งยา หรือการกำหนดวิธีการรักษา เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก็กำหนดให้ใช้วิธีการล้างไตผ่านช่องท้องเป็นอันดับแรกเท่านั้น ซึ่งเป้นการกำหนดโดยไม่ผ่านการวิจัยก่อนที่จะกำหนดเป็นนโยบายว่าจะเกิดผลเสียอะไรหรือไม่ สุดท้ายก็มีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก

3. http://thaipublica.org/2015/03/public-health-services-57/ เปิดรายงานดีเอสไอระบุ สปสช. ไม่มีหน้าที่ซื้อยา-เวชภัณฑ์ แถมเอาเงินส่วนลดจากองค์การเภสัชไปใช้เอง เที่ยวต่างประเทศ ซื้อรถตู้ ให้เงินทำวิจัย – 4 ปี ได้เงินไปกว่า 240 ล้านบาท