ผู้เขียน หัวข้อ: ย้ำ “สิทธิการตาย” ผ่านความเห็นทุกฝ่ายแล้ว แจงท้ายที่สุดญาติต้องเห็นชอบ  (อ่าน 1303 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
สช.ย้ำ “สิทธิการตาย” ผ่านความเห็นทุกฝ่ายแล้ว พร้อม ด้าน “นพ.มงคล” แจงหนังสือฯ ไม่มีการบังคับให้ทำ เพราะสุดท้ายก็ต้องคุยกับญาติ ย้ำ ไม่ควรวิตกเกินเหตุ
       
       หลังจากคณะอนุกรรมการศึกษารายละเอียดและกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับ กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีมติ 4 ข้อหลัก ทั้งเรื่องการกำหนดวาระสุดท้ายของชีวิต แพทยสภาจะเป็นผู้กำหนดนิยามของคำว่าวาระสุดท้ายของชีวิต โดยจะเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและราชวิทยาลัยต่างๆมาประชุมหารือ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมา ก่อนจะนำเสนอต่อรับมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไปนั้น

ล่าสุด วันนี้ (2 ส.ค.) นพ. อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินการตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ : การปฏิเสธการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต(สิทธิการตาย) ครั้งที่ 1 ว่า ขอยืนยันว่า การแสดงเจตนาดังกล่าวไม่ได้เป็นการบังคับ และขณะนี้ก็มีการเดินหน้าสู่แนวทางการปฏิบัติแล้ว อย่างไรก็ตาม กรณีที่คณะอนุกรรมการของแพทยสภามีมติว่าจะยื่นเรื่องให้ รมว.สธ.คนใหม่ แก้กฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว คงต้องขอติดตามว่ามติที่แท้จริงเป็นอย่างไร เนื่องจากยังไม่ผ่านมติของคณะกรรมการบริหารของแพทยสภา อย่างไรก็ตาม คงบอกไม่ได้ว่าสมควรแก้กฎกระทรวงหรือไม่ เพราะขณะนี้สิทธิดังกล่าวได้มีการใช้แล้ว ทั้งนี้ ในส่วนของ สช.ซึ่งเป็นเลขานุการในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรี สธ.เป็นรองประธาน ดังนั้น สช.ย่อมต้องเสนอรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ทางประธาน และรองประธานทราบ
       
       อนึ่ง ภายในเวทีดังกล่าว ยังจัดกิจกรรมพิเศษ “เปิดหนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12” โดยผู้แสดงเจตนา คือ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรี สธ.และ นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการบริษัทบูติกนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) โดยทั้งหมดต่างเห็นด้วยกับการแสดงเจตนาดังกล่าว เนื่องจากเป็นสิทธิที่พึงกระทำ
       
       โดย นพ.มงคล กล่าวว่า การแสดงสิทธิการตาย นี้ใช้ในกรณีที่คนป่วยไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ถึงวาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้บังคับ แม้มีหนังสือ สุดท้ายก็ต้องนั่งพูดคุยกับญาติอยู่ดี จึงไม่อยากให้คิดมาก วิตกกังวลเกินเหตุ เพราะเรื่องนี้ไม่มีอะไรเลย


ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 สิงหาคม 2554