ผู้เขียน หัวข้อ: ความเห็น-อ.เชิดชูเพิ่มเติมบทสัมภาษณ์-อ.อัมมาร์ สยามวาลากับมติชน  (อ่าน 2252 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ดิฉันขอออกความ เห็นเพิ่มเติมดังนี้
  1.ระบบ การบริการสุขภาพ3 ระบบ ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคและไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนคือ ประชาชนในระบบประกันสังคมประมาณ 10 ล้านคน ต้องจ่ายเงินของตัวเองทุกเดือน จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาล
  2.ประชาชนที่ใช้สิทธิ์บัตรทองที่เมื่อก่อนมี20ล้านคนไม่ต้องจ่ายเงินเลยใน การไปรับการรักษาพยาบาล และประชาชน 27 ล้านคนต้องจ่ายครั้งละ30บาทในการไปรับการรักษาพยาบาล แต่ในปัจจุบันประชาชน47 ล้านคนเศษๆนี้ไม่ต้องจ่ายอะไรเลยก็ไปรับการรักษาพยาบาลได้ตลอดเวลา
   3.ข้าราชการและครอบครัวยอมทำงานได้เงินเดือนน้อย เพื่อที่จะได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาล ซึ่งถือเป็นสวัสดิการสำคัญที่ข้าราชการและครอบครัวมีสิทธิ์ที่จะได้รับ
  แต่ปัจจุบันนี้ จากการดำเนินการของรัฐบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่จ่ายงบประมาณค่ารักษาตามรายหัวประชาชนต่อปี ซึ่งเริ่มจาก 1200 บาท/หัว/ปี และเพิ่มมาเป็น ประมาณ1,800บาท/หัว/ปีนั้น เป็นการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล เพราะงบค่าหัวนี้รวมงบของเงินเดือนและค่าบริหารจัดการและพัฒนาโรงพยาบาลเข้าไปด้วย โรงพยาบาลส่วนใหญ่ของรัฐบาลที่ต้องรองรับประชาชนตามสิทธิ์บัตรทอง จึงมีเงินไม่พอใช้จ่ายในการจัดหาเวชภัณท์ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาโรงพยาบาล และจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาของบุคลากรที่ต้องทำงานรับใช้ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันได้ โรงพยาบาลจึงต้องคิดหาวิธีที่จะหารายได้ของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจากแหล่งอื่น โดยกระทรวงสาธารณสุขเอง ได้คิดวิธีการหารายได้เพิ่มโดย การขึ้นราคาค่าบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล เช่น การขึ้นค่าบริการทางการแพทย์ (doctor fee) จาก 20 บาทเป็น 80-120บาทและโรงพยาบาลบาลบางแห่งเปิดคลีนิกนอกเวลาราชการและ เก็บค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นถึงครั้งละ200 บาท  ขึ้นราคาค่าบริการอื่นๆ เช่น ค่าเอ็กซเรย์ ค่าตรวจเลือด ค่าตรวจคลื่นหัวใจ ค่าตรวจพิเศษอื่นๆ รวมทั้งค่ายา ค่าห้องพิเศษ ฯลฯ เพิ่มขึ้นเป็น2 เท่าหรือมากกว่า  โดยผู้ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มนี้ก็คือประชาชนที่ไม่มีบัตรทอง และ ประชาชนที่ใช้สิทธิ์เบิกจากประกันสังคมหรือเบิกจากการประกันสุขภาพอื่น รวมทั้งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว ฯลฯ เพื่อให้โรงพยาบาลมีรายรับมากขึ้น เพื่อเอามาชดเชยเงินที่ขาดแคลนจากระบบหลักประกันสุขภาพ
   ผลจากการขึ้นค่าบริการของโรงพยาบาลนี้เอง ได้สะท้อนกลับไปยังกรมบัญชีกลางที่พบว่า งบการรักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัวได้เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ทำให้กรมบัญชีกลางหาทางลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ข้าราชการและครอบครัว (ที่นอกจากจะเป็นข้าราชการ และยังขยันขันแข็งไปรับจ้างทำงานหารายได้เพิ่มเติม ทำให้มีสิทธิ์ใช้ประกันสังคม) ให้ไปใช้สิทธิ์ประกันสังคมก่อน ซึ่งมีสิทธิ์ไม่เท่ากับสิทธิ์ของข้าราชการ จึงเป็นการออกกฎหมายมาละเมิดสิทธฺ์ข้าราชการและครอบครัว
  นี่จึงเป็นตัวอย่างการแก้ปัญหาของข้าราชการและหน่วยงานของรัฐบาลที่บิดเบี้ยว ไม่ตรงไปตรงมา แทนที่กระทรวงสาธารณสุขจะรายงานเรื่องงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ ว่าไม่พอสำหรับการทำงาน (อาจจะรายงานแล้วแต่ไม่ได้รับการแก้ไข) ก็เลยไปหาเงินจากทางอื่นแทน ทำให้ค่าใช้จ่ายไปเพิ่มอย่างมากมายมหาศาลทางอื่น ทำให้หน่วยงานอื่น (กรมบัญชีกลาง) ไปหาทางลดค่าใช้จ่ายโดยไปลิดรอนสิทธิ์ของประชาชน(ข้าราชการและครอบครัว)อีก ทีหนึ่ง
   มีเรื่องเล่ามาว่า มีข้าราชการระดับสูงของกรมบัญชีกลางป่วย ต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ท่านไม่ยอมใช้ยาที่ผลิตในประเทศ (generic drugs) ตามบัญชียาหลักแห่งชาติที่ท่านเป็นคนสำคัญในการร่างระเบียบให้ข้าราชการ อื่นๆใช้ แต่ท่านขอให้หมอเซ็นต์ยาต้นตำรับ (original)ที่ผลิตสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (ที่ท่านไม่ยอมให้ข้าราชการอื่นใช้ ถ้าจะใช้ก็ต้องขอให้คณะกรรมการยาของโรงพยาบาลนั้นๆ เซ็นต์อนุญาตเป็นพิเศษ)
   อนึ่งรัฐบาลจะสามารถขอข้อมูลค่าใช้จ่ายและบัญชีของโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง และต้องกำชับให้ข้าราชการรายงานความจริงด้วย เพราะทราบมาว่าข้าราชการหลายคนไม่กล้ารายงานเรื่องปัญหาอุปสรรคของการทำงาน เพราะกลัวไม่ได้รับการ "promote" ไปสู่ตำแหน่งที่ใหญ่กว่า
จึงเรียนมาเพื่อขอให้ บก.มติชนเผยแพร่ความเห็นนี้ เพื่อให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน จะได้ช่วยกันออกความเห็นเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาร่วมกัน
ขอแสดงความนับถือ
พญ.เชิด ชู อริยศรีวัฒนา
ข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข