ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดโฉมแกนนำสามพรานฟอรั่ม ขาใหญ่วงการหมอ ทีมแบ๊คอัพแพทย์ชนบท!!  (อ่าน 7615 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
เมื่อฝุ่นควันเริ่มจาง ทุกสิ่งทุกอย่างก็ชัดเจนมากขึ้น

ซึ่งเมื่อความจริง เบื้องหลัง “ชมรมแพทย์ชนบท” ได้รับการเปิดเผย ทำให้สังคมได้รับรู้ว่า แท้จริงแล้ว ความเคลื่อนไหวของ “ชมรมแพทย์ชนบท” ที่อ้างเรื่องต่อต้านการเปลี่ยนแปลงภายในกระทรวงสาธารณสุขนั้นโยงใย กับ“สามพรานฟอรั่ม”  แบบแยกไม่ออก!!!
โดย “ชมรมแพทย์ชนบท” นั้นก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2523 และได้จัดตั้งมูลนิธิแพทย์ชนบทขึ้นมาในปี พ.ศ. 2525 เพื่อระดมเงินทุนมาทำงานของชมรม
ซึ่ง “ประธานชมรมแพทย์ชนบท” ในอดีตที่ผ่านมา ก็ได้แก่ น.พ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ , น.พ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์, น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ , น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ , น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ , น.พ.อำพล จินดาวัฒนะ, น.พ.ประทีป ธนกิจเจริญ , น.พ.พงษ์พิสุทธ์ จงอุดมสุข , น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา , น.พ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ , น.พ.วชิระ บถพิบูลย์ และล่าสุด น.พ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ซึ่งนั่งอยู่ในตำแหน่งคนปัจจุบัน
และมีบุคคลสำคัญ อย่าง น.พ.ประเวศ วะสี เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของชมรม
แล้ว “สามพรานฟอรั่ม” ล่ะ … มีใครบ้าง ??? ถึงได้มีอิทธิพลต่อ “แพทย์ชนบท” !!!
สำหรับกลุ่ม “สามพรานฟอรั่ม” นั้น ในวงการสาธารณสุข รับรู้กันเป็นอย่างดีว่า มีต้นตอมาจากพื้นที่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่ง “แพทย์กลุ่มหนึ่ง” นัดพบปะหารือกันเป็นจำนำ
โดยวงพบปะดังกล่าว นั้นว่ากันว่ามีสมาชิกคนสำคัญประกอบด้วย น.พ.ประเวศ วะสี บิ๊กเบิ้มวงการหมอ ,น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ พี่ใหญ่ชมรมแพทย์ชนบท ,น.พ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เชี่ยวชาญงานวิชาการและวิจัย ,น.พ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐบาล คมช. ,น.พ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน รวมไปถึง นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์
ซึ่งการที่ชื่อบุคคลที่เคยเป็น “อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท” ที่ซ้ำไปซ้ำมากับ “ชื่อบุคคล” ในวง “สามพรานฟอรั่ม” นั้นเป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดว่าเพราะอะไร ทั้ง “สองวง” นี้จึงมีอิทธิพลต่อกันอย่างยิ่ง
นอกจากนี้เป็นที่รู้กันภายในกระทรวงสาธารณสุขว่า “สามพรานฟอรั่ม” นั้นมีอิทธิพลต่อวงการสาธารณสุขไทยมายาวนาน และครอบคลุมจนนับได้ว่าเป็น “เครือข่าย” ที่ใหญ่ที่สุด เครือข่ายหนึ่งในวงการสาธารณสุขก็ว่าได้

สามพรานฟอรั่ม

ยกตัวอย่าง “น.พ.มงคล ณ สงขลา” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐบาล คมช. ก็รั้งตำแหน่ง “ประธานกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ”
หรือย่าง น.พ.วิชัย โชควิวัฒน พี่ใหญ่ชมรมแพทย์ชนบท นอกจากจะเคยเป็น “ประธานบอร์ดองค์การเภสัชฯ” ก็เคยครองมาแล้วทั้งตำแหน่ง “รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)” และ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

โดยในรายของ “น.พ.วิชัย โชควิวัฒน” นั้นจะชัดเจนที่สุด ในเรื่อง “กว้างขวาง” เพราะมีชื่อรวมเป็น “บอร์ด” ต่างๆ มากมาย กระทั่งช่วงส่งท้ายปีเก่า 2554 ต้อนรับปีใหม่ 2555 ถูก “สื่อมวลชน” ประจำกระทรวงสาธารณสุข ตั้งฉายาให้ว่า “หมอร้อยบอร์ด” !!!
เนื่องจากมีชื่อในคณะกรรมการในหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) องค์การเภสัชกรรม (อภ.)
ซึ่งที่น่าสนใจ ในการตั้ง “ฉายา” ของ สื่อมวลชน ให้กับบุคคลในแวดวงสาธารณสุข ในครั้งนั้นก็คือ “น.พ.ประเวศ วะสี” หัวขบวน “สามพรานฟอรั่ม” ก็ได้รับเกียรติ ถูกตั้งฉายา ว่า “หมอหลังม่านเหล็ก” !
โดยมีเหตุผลสั้นๆ ที่สื่อในขณะนั้นอธิบายฉายา “หมอหลังม่านเหล็ก” เอาไว้ว่า “น.พ.ประเวศ” คือ ผู้อยู่ “เบื้องหลัง” การเคลื่อนไหวของกลุ่มแพทย์เอ็นจีโอเกือบทั้งหมด !!!


ข่าวพาดหัว ย่ำ...สามเสน — 06 June 2013
พระนครสาส์น

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สรุปผลการสอบสวนและชี้มูลความผิด น.พ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กรณี การจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล นับร้อยตัน จากประเทศจีน ช่วงอุทกภัยปี 2554 มีการปนเปื้อนไม่ได้มาตรฐาน นั้นปรากฏว่ามีส่วนหนึ่งในผลการสอบสวนของดีเอสไอคือ ในข้อเท็จจริง องค์การเภสัชกรรม ไม่มีแผนที่จะทำการผลิตยาพาราเซตามอลและหยุดการผลิตยาพาราเซตามอล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 – 2546
โดยหลังจากนั้น “องค์การเภสัชกรรม” ได้ว่าจ้างให้ “โรงงานเภสัชกรรมทหาร” และ “บริษัท โอสถอินเตอร์ จำกัด” เป็นผู้ผลิตส่งให้องค์การเภสัชกรรม
ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า “บริษัท โอสถอินเตอร์ จำกัด” ที่ดีเอสไอ ระบุว่าเป็นผู้ผลิตยาพาราเซตามอลให้กับ “องค์การเภสัชกรรม” มายาวนานนั้นแท้จริงแล้วเป็นของใคร-ที่ไหน-อย่างไร ????
แต่ได้มีข้อมูลข้อเท็จจริงปรากฏ เกี่ยวกับการที่ “เอกชน” ผลิตยาพาราเซตามอล ให้กับ “องค์การเภสัชกรรม” ในช่วงปลายปี 2552 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย เมื่อชาวบ้าน ในจังหวัดแพร่ ได้ร้องเรียนมายังกระทรวงสาธารณสุขว่า “พบ “เส้นลวด” ปนเปื้อนอยู่ในยาพาราเซตามอลที่โรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข นำไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน”
ผลการสอบสวนพบว่า “เส้นลวด” ดังกล่าว เป็น เศษลวดจากตะแกรงร่อนยา และ“ยาพาราเซตามอล” ที่พบเส้นลวดนั้น เป็นล็อตที่ “บริษัท โอสถอินเตอร์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด” ผลิตส่งให้ “องค์การเภสัชกรรม”

หลังผลการสอบสวนมีความชัดเจน “นายวิทยา แก้วภราดรัย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้สั่งให้มีการตรวจสอบการผลิตยาพาราเซตามอลของ “บริษัท โอสถ อินเตอร์แลบบอราทอรีส์ จำกัด” ในทันที
โดยในเอกสารข่าวของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการรายงานการลงพื้นที่ของนายวิทยา เพื่อตรวจสอบ โรงงานผลิตยาพาราเซตามอล ของบริษัท โอสถอินเตอร์ แลบบารอทอรี่ส์ จำกัด เมื่อ 26 ตุลาคม 2552 อย่างชัดเจน
รวมทั้งมีการเรียกเก็บยา “พาราเซตามอล” ลอตนั้นทั้งหมด 1.2 ล้านเม็ด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นประมาณ 7 แสนบาท
แต่หลังจากนั้นเรื่องทั้งหมดก็เงียบหายเข้ากรีบเมฆ โดยไม่พบกระแสข่าวการเอาผิดใดๆกับผู้ผลิตยา ทืี่เป็นต้นตอของความเสียหายล็อตนั้น
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้ทราบว่า “บริษัท โอสถอินเตอร์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด” นั้นคือผู้ผลิตยาพาราเซตามอล รายใหญ่ ส่งให้กับ “องค์กรเภสัชกรรม”
ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกิจของ “บริษัท โอสถอินเตอร์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด” ก็พบว่า จดทะเบียนการค้า เอาไว้ตั้งแต่ 14 กรกฎาคม 2530 ประกอบธุรกิจ ขายส่งสินค้าทางเภสัชกรรมและเวชภัณฑ์ มี “กรรมการบริษัท” ทั้งสิ้น 11 คน
แต่น่าสนใจที่ กรรรมการในลำดับที่ 8 ของ “บริษัท โอสถอินเตอร์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด” นั้นปรากฏชื่อ “น.พ.มงคล ณ สงขลา” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมัยรัฐบาล คมช. แกนนำคนสำคัญของ “สามพรานฟอรัม” ร่วมอยู่ด้วย
และจากการตรวจสอบในเชิงลึก พบว่า “น.พ.มงคล ณ สงขลา” มีชื่อเข้าร่วมเป็นกรรมการบริษัท แห่งนี้ในปี 2545 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ “องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข” เริ่มหยุดการผลิตยาพาราเซตามอลเอง แล้วมอบหมายให้ “องค์การอุตสาหกรรมทหาร” และภาคเอกชน ผลิตส่งให้แทน
จากนั้นในปลายปี 2549 “น.พ.มลคล” ได้ลาออกจากการเป็น “กรรมการบริษัท” ดังกล่าว เพื่อมารับตำแหน่ง “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข” ให้กับ “รัฐบาล คมช.”
ซึ่งเมื่อ “รัฐบาล คมช.” หมดอายุขัยลง หลังการเลือกตั้ง ธันวาคม 2550 “น.พ.มงคล ณ สงขลา” กลับเข้ารับตำแหน่งกรรมการบริษัทดังกล่าวอีกครั้ง ช่วงกลางปี 2553
โดยปัจจุบัน “น.พ.มงคล ณ สงขลา” นอกจากจะเป็น “กรรมการบริษัท โอสถอินเตอร์ แลบบารอทอรีส์ จำกัด” แล้ว ยังดำรงตำแหน่ง “ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ” อยู่ใน “สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) ภายใต้การสนับสุนเป็นอย่างดีจาก “สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)” และ “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)” ที่อุดมไปด้วยบุคลากร ที่ถูกส่งตรงมาจาก “สามพรานฟอรั่ม” !!!


ข่าวพาดหัว เม้าท์แมลงสาป — 06 June 2013
พระนครสาส์น