ผู้เขียน หัวข้อ: สปสช.ฟุ้งศูนย์ส่งต่อ PRCC ผู้ป่วยเข้าถึงบริการเร็วขึ้น  (อ่าน 822 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   7 กรกฎาคม 2556 13:53 น.   

   


   

       สปสช.ฟุ้งศูนย์ส่งต่อ PRCC ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น เผยปี 2555 ช่วยได้ถึงเกือบ 5 พันราย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคยากที่เกินศักยภาพโรงพยาบาลประจำ เผยมีรพ.รัฐและเอกชนทั่วประเทศกว่า 1,000 แห่งเข้าร่วมเป็นหน่วยสำรองเตียง
       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย (Patient Referral Coordinating Center: PRCC) ตามมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ตั้งแต่ปี 2547 เพื่อจัดทำระบบสำรองเตียง สำหรับรับการส่งต่อผู้ป่วยจากสถานพยาบาลในระบบปกติที่ไม่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากเกินศักยภาพ เช่น ไม่มีแพทย์เฉพาะทางที่จะให้บริการอย่างทันท่วงที ไม่มีอุปกรณ์การรักษา ไม่มีห้องหรือเตียงสำหรับผู้ป่วยหนักหรือห้องไอ ซี ยู จะมีการส่งต่อผู้ป่วยให้ไปรับบริการยังโรงพยาบาลที่มีการตกลงเป็นสถานบริการสำรองเตียง ซึ่งมีทั้งโรงพยาบาลภาครัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ทั่วประเทศ จำนวน 1,056 แห่ง ซึ่งกลไกศูนย์ประสานงานการส่งต่อนี้ ได้ส่งเสริมให้ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง 30 บาท เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพกว่า 4,000 รายต่อปี และจ่ายเงินชดเชยสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากการส่งต่อผู้ป่วยกว่า 90 ล้านบาทต่อปี
       
       นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ศูนย์ประสานการส่งต่อที่ สปสช.ตั้งขึ้น นอกจากจะช่วยประสานเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อเข้ารับบริการที่หน่วยบริการสาธารณสุขที่ศักยภาพสูงกว่า ยังรวมถึงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเอกชนที่ทำข้อตกลงกับ สปสช. โดยโรคที่มีการตกลงจะเป็นโรคและการรักษาที่ต้องรักษาทันท่วงทีหรือเป็นการรักษาเฉพาะสาขาที่ไม่มีในบริการภาครัฐในพื้นที่และไม่สามารถส่งต่อได้โดยหากไม่รักษาจะเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การผ่าตัดสมอง การใช้เครื่องช่วยหายใจ การดูแลเด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เป็นต้น ทั้งนี้ในการประสานหาเตียง จะมีเจ้าหน้าที่ในการติดต่อดำเนินงาน ตลอด 24 ชั่วโมง หากสงสัยหรือ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 1330 ได้ตลอด
       
       "ผลการดำเนินการในปี 2555 ที่ผ่านมา พบว่า ศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยของสปสช. ได้รับเรื่องให้ช่วยประสานส่งต่อผู้ป่วย 4,980 ราย ในจำนวนนี้เป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพ 4,538 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรณีผู้ป่วยเข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ รองลงมาเป็นกรณีเกินศักยภาพของโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ นอกจากนี้ยังได้ประสานหาเตียงให้ผู้ป่วยสิทธข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และสิทธิอื่นๆ เช่น คนต่างด้าว ด้วย" เลขาธิการ สปสช. กล่าว