ผู้เขียน หัวข้อ: ก.พ.เสนอว่าบุคลากรทางการแพทย์-พยาบาลจะไม่ขาดแคลนใน ปี พ.ศ. 2555--อ่านกันอีกที  (อ่าน 1932 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ก.พ.เผยสัดส่วนแพทย์-พยาบาลต่อประชากรของไทยยังขาด แต่ไม่ถึงขั้นวิกฤต

กรุงเทพฯ 20 ก.ค. 2552 - ก.พ.ศึกษาบุคลากรทางการแพทย์-พยาบาล ต่อจำนวนประชากรของไทยยังขาดแคลนอยู่ แต่ไม่ถึงขั้นวิกฤต แต่เมื่อเทียบมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ยังอยู่ในสัดส่วนที่ดีกว่า คาดอนาคตจะมีกำลังคนที่เป็นแพทย์-พยาบาล กระจายตัวเพียงพอกับความต้องการ เมื่อมีการผลิตแพทย์-พยาบาลเพิ่มขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาโครงการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังคนภาครัฐ กรณีบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งได้แก่ แพทย์และพยาบาล พบว่าจำนวนแพทย์ที่สามารถทำเวชปฏิบัติได้ของประเทศไทย มีจำนวน 31,939 คน สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรของประเทศไทยคือ 1: 1,985 คน แพทย์ภาครัฐจำนวน 21,500 คน คิดเป็นสัดส่วนต่อประชากร 1 : 2,948 คน และแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 11,025 คน คิดเป็นสัดส่วนต่อประชากร 1: 5,750 คน เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดสัดส่วนแพทย์ ต่อผู้ป่วยไว้ที่ 1: 5,000 คน และสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรของประเทศต่างๆ แล้ว แพทย์ไทยยังอยู่ในสัดส่วนที่ดีกว่า สัดส่วนของแพทย์ทั้งระบบต่อจำนวนประชากรยังมีการขาดแคลนอยู่แต่ไม่ถึงขั้นวิกฤติ การขาดแคลนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขมีปัญหามากกว่าแพทย์ในสังกัดอื่น ซึ่งมีปัญหาขาดแคลนมากในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก และ
หรือ พื้นที่ห่างไกล จึงสะท้อนว่าอุปทานไม่เป็นปัญหาแต่กระทรวงสาธารณสุขต้องหาวิธีดึงให้แพทย์ เข้าทำงานและอยู่ต่อไปในระบบ สำหรับแนวโน้มในอนาคต ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในระบบจะบรรเทาลงไปเนื่องจากกำลังการผลิตแพทย์ที่เพิ่ม ขึ้น รวมทั้งยังมีแพทย์กำลังทยอยเติมเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง จนอาจส่งผลการมีแพทย์ในระบบมากเกินฐานะทางการเงินของประเทศในอนาคต

สำหรับ กรณีพยาบาล พบว่าปัจจุบันพยาบาลที่มีใบประกอบวิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์ มีจำนวน 118,087 คน สัดส่วนของพยาบาลต่อจำนวนประชากรคือ 1: 532 คน ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดมาตรฐานไว้ 1: 500 คน การขาดแคลนพยาบาลเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ขณะเดียวกัน ภาพอนาคตชี้ว่าปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในประเทศจะบรรเทาลงไป เนื่องจากการไหลของพยาบาลไทยออกไปทำงานต่างประเทศเริ่มลดลง มีทางเลือกในประเทศไทยมากขึ้น กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น และการหมุนกลับของพยาบาลอายุมากที่ออกจากภาคเอกชนจะเร็วขึ้นและถี่ขึ้น

ทั้งนี้ คณะผู้ศึกษา ได้เสนอเป้าหมายการบริหารจัดการกำลังคนกลุ่มแพทย์และพยาบาล เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการกำกับดูแลกำลังคนกลุ่มแพทย์และพยาบาล ไว้ว่า ในปี พ.ศ.2555 ประเทศไทยจะมีกำลังคนที่เป็นแพทย์ และการกระจายตัวของแพทย์ที่เพียงพอกับความต้องการด้านสาธารณสุขของประเทศ และมีกำลังคนพยาบาลที่มีคุณภาพเพียงพอกับความต้องการด้านการสาธารณสุขของประเทศ.

-สำนักข่าวไทย

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด