ผู้เขียน หัวข้อ: เคาะวงเงินชดเชย p4p ให้ รพช.200-500 ล้าน  (อ่าน 971 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
เคาะวงเงินชดเชย p4p ให้ รพช.200-500 ล้าน
« เมื่อ: 22 มิถุนายน 2013, 00:34:15 »
เคาะแล้ววงเงินชดเชย P4P ให้ รพช.200-500 ล้านบาท ชี้เงินบำรุงเพียงพอไม่ต้องของบเพิ่ม ด้าน รพศ./รพท.60 แห่งจาก 91 แห่ง พบค่าตอบแทนลดลงรวมกัน 500 ล้านบาท ให้เวลา 1 สัปดาห์ สรุปตัวเลขชดเชยให้ชัดเจน
       
       วันนี้ (21 มิ.ย.) ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะทำงานจัดทำข้อเสนอการดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณาใน 3 ประเด็น คือ 1.มาตรการเยียวยา ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) มีตัวเลขการเยียวยาที่ชัดเจน 200-500 ล้านบาท โดยไม่มีงบประมาณเพิ่มเติม สามารถดำเนินมาตรการเยียวยาได้ภายในสัปดาห์หน้า ส่วนโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ต้องสำรวจอีกครั้งว่าตัวเลขเยียวยาเป็นเท่าไร และมีกลุ่มไหนบ้าง โดยให้เวลาดำเนินการ 1 สัปดาห์ 2.แบบการประเมินผล (KPI) ใน รพช. ให้ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ทำงานต่อและรายงานให้ที่ประชุมรับทราบ โดยนำประเด็นเรื่องการดูแลชุมชน การลดโรคติดต่อ โรคระบาด ซึ่งเป็นภาระงานของ รพช.มาคำนวณด้วย แต่จะต้องเชื่อมโยงกับ รพศ./รพท.ได้ หากมีความต้องการในระดับประเทศขึ้นต้องดำเนินงานได้ทันที และ 3.การวางระเบียบจ่ายค่าตอบแทนฉบับใหม่ ซึ่งสามารถประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพพร้อมกันและเป็นการทำอย่างสมัครใจ มอบ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดสธ.พิจารณา ทั้งนี้จะมีการประชุมคณะทำงานฯอีกครั้งในเดือนหน้า และภายใน 2 เดือนจะสามารถออกระเบียบฉบับใหม่ได้ ตามที่ รมว.สาธารณสุข กำหนดไว้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุม นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำเสนอว่า การชดเชยเยียวยาใน รพช.หากคิดจากส่วนต่างของการจ่ายค่าตอบแทนฉบับ 4 และ 6 ลบกับ ฉบับ 8 ไม่จำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติม ไม่เป็นภาระ โรงพยาบาลสามารถใช้เงินบำรุงของ รพช.บวกด้วยเงินที่จะจ่ายสมทบจาก สธ.ส่วนหนึ่งจากงบประมาณสำหรับจ่ายค่าตอบแทนที่มีอยู่ 3,000 ล้านบาท
       
       พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า การทำ P4P ของ รพศ./รพท.ทุกแห่ง พบว่า ในส่วนของแพทย์/ทันตแพทย์ ได้รับค่าตอบแทนลดลงจากเดิมได้รับ 10,000 บาทต่อเดือน เหลือราว 8,000-9,000 บาทต่อเดือน แต่ไม่ใช่ปัญหาเนื่องจากเงินที่ลดลงนำไปเกลี่ยให้กับเพื่อนร่วมงานกลุ่มอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หาก รพช.ได้รับการชดเชยเยียวยา รพศ./รพท.ก็ต้องได้รับการเยียวยาด้วย เบื้องต้นจากการรวบรวมข้อมูลจาก รพศ./รพท. 60 แห่ง จากทั้งหมด 91 แห่ง พบว่า จำนวนค่าตอบแทนที่ลดลงรวมกันแล้วประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งจะกลับไปรวบรวมข้อมูลให้ได้ครบทุกโรงพยาบาลก่อนนำเสนอตัวเลขให้คณะทำงานฯอีกครั้ง
       
       “การประเมินผลของ รพช.เท่าที่ทราบจากผู้ที่ทำงานใน รพช.ที่ไม่ได้อยู่สังกัดชมรมแพทย์ชนบทต้องการให้มีการวัดประเมินด้วยการพิจารณาจากงานประจำ ไม่ว่าจะเรียก KPI หรือ ภาระงาน (Performance) ก็ตาม โดยนำเอกสาร 48 แฟ้มที่ต้องส่งรายงานให้ สปสช.ประจำทุกเดือนอยู่แล้วมาใช้เป็นตัวประเมิน เพียงแค่ในแต่ละงานใส่ชื่อบุคคลที่ทำลงไปเท่านั้น จะแก้ปัญหาที่มีการระบุว่าทำ P4P แล้วต้องล่าแต้มลงได้ อีกทั้ง เป็นการดำเนินการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะไม่ทักท้วงด้วย ส่วนงานการลงชุมชน หรือคลินิกพิเศษก็เป็นภาระงานส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา” พญ.ประชุมพร กล่าว