ผู้เขียน หัวข้อ: สรพ.หนุนโรงพยาบาลใช้ “SHA ผสมผสาน HA” ลดผู้ป่วยฟ้องแพทย์  (อ่าน 2652 ครั้ง)

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
สรพ.จับมือ สสส.สนับสนุนสถานพยาบาลนำมิติด้านจิตใจ หรือ SHA ผสมผสาน HA ลดช่องว่างระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย เผยโรงพยาบาล 120 แห่งขานรับไปใช้ประสบผลสำเร็จ เล็งขยายผลสู่คลินิกทั่วประเทศ ตั้งเป้าระบบสุขภาพคนไทยเกิดความยั่งยืน

นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุลผู้ อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์การมหาชน (สรพ.) กล่าวว่า สรพ.ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำโครงการ “การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน” หรือ SHA ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งนำกระบวนการรักษาโดยการนำมิติด้าน จิตใจมาใช้ควบคู่กับการรักษาทางกายให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
       
       ทั้งนี้ SHA ได้พัฒนามาจากการทำงานการสร้างเสริมสุขภาพโดยการใช้จิตวิญญาณ จนกลายเป็นศิลปะการทำงาน ศิลปะการอยู่กับตัวเอง การอยู่กับเพื่อน การมองคนไข้ มองคนรอบตัวและมองสังคม บนพื้นฐานความรักความเมตตาและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันสนับสนุนให้มีการ บริการที่มุ่งเน้นการพัฒนามิติทางสังคม จิตใจ เพื่อให้แพทย์หรือพยาบาลได้ใช้จิตวิญญาณ ใช้ความเอื้ออาทรช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกห่างเหินกับแพทย์ ผู้ป่วยก็มีความสุข แพทย์ก็มีความสุขด้วย นอกจากนี้แล้วยังช่วยในเรื่องของการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันของเพื่อนร่วม งาน ที่ต้องพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกัน ซึ่งเมื่อบุคลากรทางการแพทย์มีความเข้าอกเข้าใจกัน มีความสามัคคีกันย่อมส่งผลดีต่อระบบการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพด้วย
       
       นพ.อนุวัฒน์กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับว่าแต่เดิมสถานพยาบาลมักจะมุ่งเน้นเรื่องของการทำ HA หรือการรับรองมาตรฐานสถานพยาบาลมากเกินไป ซึ่งใช้ระบบและกฎเกณฑ์เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพและคุณภาพ สิ่งนั้นจึงเป็นเหมือนกรอบที่สถานพยาบาลแต่ละแห่งต้องดำเนินตามกรอบ ไม่สามารถหลุดกรอบที่วางไว้ได้ จึงย่อมเกิดความเครียด เพราะจะต้องพยายามรักษามาตรฐาน และต้องแบกรับความคาดหวังของผู้ให้บริการที่มุ่งหวังจะได้รับบริการที่ดีมี ประสิทธิภาพ
       
       ดังนั้น สรพ.จึงได้สนับสนุนให้สถานพยาบาลนำ SHA มาใช้ผสมผสานกับ HA ที่มีอยู่เดิม โดยให้สถานพยาบาลเรียนรู้เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการร้องเรียนต่างแล้วนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาซึ่งก็จะทราบว่า ปัญหานั้นเกิดจากระบบงานที่ไม่เหมาะสม หรือการมุ่งเน้นแต่การรักษาให้ผู้ป่วยหายเร็วๆ ให้หมดภาระหน้าที่ไปเร็วๆ โดยไม่คำนึงถึงจิตใจหรือรับฟังปัญหาจากผู้ป่วย ดังนั้นจึงเกิดเป็นช่องโหว่ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมากมาย แต่เมื่อสถานพยาบาลยอมที่จะเรียนรู้ปัญหา เปิดใจรับฟังผู้ป่วย มองการให้บริการในหลายมิติ ทั้งตัวผู้ให้บริการ พ่อแม่ พี่น้อง ญาติพี่น้อง เสมือนเขาเป็นครอบครัวเดียวกับเรา ผู้ให้บริการสามารถให้ข้อมูลกับผู้ป่วย ผู้ป่วยก็มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น มีสิทธิ์ร้องขอ ก็จะสามารถป้องกันปัญหาที่ไม่คาดการณ์ได้และเกิดกระบวนการทำงานที่รัดกุมมาก ยิ่งขึ้น เมื่อผู้ให้บริการให้ด้วยความเต็มใจ ผู้รับบริการก็มีความสุข สถานพยาบาลก็เป็นที่ศรัทธาและเป็นที่ไว้วางใจของสังคม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการฟ้องร้อง เพราะทั้ง 2 ฝ่ายเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ก็จะไม่เกิดความสูญเสียในสิ่งที่ป้องกันได้ และอะไรที่ป้องกันได้ก็จะสามารถป้องกันได้
       
       “ปี 2554 นี้ นับเป็นปีที่ 2 ที่ สรพ.ได้ดำเนินโครงการ “การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน” หรือ SHA ซึ่งปัจจุบันมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 120 แห่งทั่วประเทศ และอนาคตจะส่งเสริมการนำมิติด้านจิตใจไปใช้ในสถานพยาบาลประเภทคลินิก ซึ่งเป็นสถานพยาบาลเบื้องต้นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เพราะสะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก แต่พบว่ายังไม่เป็นที่ศรัทธาหรือประชาชนไว้วางใจได้ ตรงนี้ทาง สรพ.จะเข้าไปส่งเสริมให้คลินิกได้นำ SHA ไปปรับใช้ใน สถานประกอบการของตัวเองต่อไป ซึ่งเมื่อเรามีสถานพยาบาลทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ที่มีจิตสำนึกการให้บริการที่ดีต่อสังคมแล้ว ก็จะส่งผลให้ระบบสุขภาพของประเทศไทยเกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น” นพ.อนุวัฒน์กล่าว


ผู้จัดการออนไลน์    
20 ธันวาคม 2553